การจัดงานแถลงข่าวผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ๒๕๖๐
การจัดงานแถลงข่าว
ผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ปี ๒๕๖๐
ณ ห้องดำรงราชนุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนงานในภารกิจของกรมศิลปากร โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการให้บริการประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารมรดกวัฒนธรรมของชาติที่จัดเก็บรวบรวมไว้ในหลากหลายรูปแบบ เป็นข้อมูลที่มีคุณค่าทั้งในด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาประเทศ ในปี ๒๕๖๐ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้ดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยพัฒนาระบบได้แก่
|
1. ระบบ Smart Museum เป็นระบบการให้บริการข้อมูลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์พกพาโทรศัพท์มือถือ Smart Phone หรือ Tablet โดยทำการ Download Application ได้ทั้ง iOS และ Android ระบบจะทำการอ่านข้อมูล QR และ AR Code โดยแสดงข้อมูลโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในห้องจัดแสดงต่างๆ ในรูปแบบวัตถุเสมือนจริง และทำการแสดงข้อมูลอาคารโบราณสถานในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ได้แก่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ หมู่พระวิมาน ในรูปแบบ 3D Model เพื่อให้ประชาชนได้รับเรียนรู้และท่องเที่ยวพิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีข้อมูลอยู่ในมือ เป็นการสนองตอบต่อวิถีการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ให้สนใจงานด้านมรดกวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
|
2. ระบบศิลปากรออนไลน์ Silpakorn Online
เป็นการพัฒนาระบบจาก Website กรมศิลปากร บน Mobile Application ศิลปากรออนไลน์
มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวสารของกรมศิลปากรไว้ใน Application เดียว
เป็นการอำนวยความสะดวกในการให้บริการข้อมูลของกรมศิลปากรแก่ประชาชน
โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์พกพา ผ่าน Mobile Application บน Smart Phone หรือ Tablet ทั้งในระบบ iOS และ Android ระบบดังกล่าวจะให้บริการข้อมูล ครบถ้วน ทั้งข้อมูลโบราณสถาน
ข้อมูลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั่วประเทศ ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ หอสมุดแห่งชาติ
และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูลหนังสือออกใหม่ของกรมศิลปากร ฯลฯ เป็นต้น
|
|
3. ระบบ Virtual Museum พิพิธภัณฑ์เสมือน เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลและนำเสนอข้อมูลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ เช่น ข้อมูลการจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงของการจัดแสดงนิทรรศการในแต่ละอาคารจัดแสดง เป็นการนำเสนอความรู้จากแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบนเครือข่ายข้อมูลขนาดใหญ่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแบบออนไลน์และปฏิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในแต่ละพิพิธภัณฑ์แบบ Interactive ภาพโบราณวัตถุแบบ 360 องศา สามารถ Zoom In ในภาพ เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ค้นหาความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และน่าสนใจมากขึ้น |
4. ระบบคลังข้อมูล Digital จัดเก็บรวบรวมข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์และหนังสือที่เป็นลิขสิทธิ์ของกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น มีหนังสือกว่า 2,467 เรื่อง วีดีโอ และวีดีทัศน์ มากกว่า 500 เรื่อง มีคลังภาพทรงคุณค่า บันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในช่วงปี พ.ศ.2470 ถึง พ.ศ.2473 ภาพรัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสมณฑลภูเก็ต ปัตตานี งานรัชดาภิเษก รัชกาลที่ 5 เป็นต้น ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และสะดวก รวดเร็ว ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.digitalcenter.finearts.go.th หรือติดตั้งระบบ บน Smart Phone และ Tablet ด้วย Application Fine Arts Digital Centre ทั้งระบบ Android และ IOS
|
|
6. เกม รามเกียรติ์ สำหรับเด็กและเยาวชน 2 ระดับ ได้แก่
|
|