ปรับขนาดอักษร

กลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต

 

ภารกิจกลุ่มงาน : งานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต

      งานช่างแกะสลัก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “งานจำหลักไม้ไทย” ที่มีมาแต่โบราณเป็นงานที่เกิดจากการ

ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะแข็ง และมีความคมมากพอในการแกะสลัก

หรือจำหลักลงบนวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น หิน ผลไม้ เหล็ก โลหะ กระดูก งา เขาสัตว์

ตลอดจนของอ่อน เช่น ผลไม้ หัวของพืช สบู่ เป็นต้น


      สมัยสุโขทัยงานศิลปกรรมการแกะสลักปรากฏให้เห็นในลักษณะต่างๆ

เช่น ส่วนประกอบโบสถ์ วิหาร อาคาร สถาปัตยกรรม

ที่มีความวิจิตรงดงาม สมัยอยุธยา งานศิลปกรรมการแกะสลัก

ปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่างๆ เช่น บานประตู โบสถ์วิหาร ธรรมาสน์

ตู้พระธรรม พระไตรปิฎก พระพุทธรูปจำหลักไม้ และหน้าบัน ฯลฯ

สมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะไม้แกะสลัก ในสมัยนี้ได้รับการสืบทอด

มาจากสมัยอยุธยาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นหน้าบันไม้แกะสลัก

รูปเทพนม คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา ฯลฯ

      งานช่างไม้นับเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงในสมัยโบราณ

เป็นมรดกล้ำค่าในชั้นเชิงการช่าง มีขบวนการผลิตและเทคนิค

ในการสร้างสรรค์อย่างมีขั้นตอน ได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาโดยลำดับ

จนรู้ซึ้งถึงข้อดีและข้อเสีย ที่จะนำมายังประโยชน์ใช้สอยควบคู่ไปกับการดำรงชีพ

ให้มีรูปแบบและคุณค่าทาง ศิลปกรรม

โดยได้สืบทอดกันมาจนเป็นแบบแผนงานช่างไม้ จนถึงปัจจุบัน 

 

การซ่อมบูรณะพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย

โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

 

การสร้างเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชจำลอง

 

 

การจัดสร้างตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธี

        

   งานเฉลิมพระเกียรติ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ในมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ๕ รอบ

   งานฉลอง ๑๕๐ ปี วันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ