ปรับขนาดอักษร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เทศนา เรื่องนิทานมิกาทุระ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ บทละครสังคีต เรื่องวั่งตี่ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุรฤทธิ์ เลขยานนท์
เทศนา เรื่องนิทานมิกาทุระ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ บทละครสังคีต เรื่องวั่งตี่ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุรฤทธิ์ เลขยานนท์

 

ชื่อเรื่อง : เทศนา เรื่องนิทานมิกาทุระ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ บทละครสังคีต เรื่องวั่งตี่ พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุรฤทธิ์ เลขยานนท์
ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 264 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุรฤทธิ์ เลขยานนท์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ภายในเล่มได้รวมเรื่องเทศนาเอาไว้ด้วย คือ นิทานเรื่องมิกาทุระ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และบทละครสังคีต เรื่องวั่งตี่ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์และสาธารณะประโยชน์ต่อไป
 
หมายรับสั่งและใบบอก ในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวลัดดา กอสิริรกิจ
หมายรับสั่งและใบบอก ในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวลัดดา กอสิริรกิจ

 

ชื่อเรื่อง : หมายรับสั่งและใบบอก ในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวลัดดา กอสิริรกิจ
ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 102 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวลัดดา กอสิริรกิจ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ภายในเล่มได้รวมเรื่องหมายรับสั่งและใบบอกในรัชกาลที่ 5 เอาไว้ด้วย โดยหมายรับสั่งนี้ได้รวบรวมจากต้นฉบับหมายรับสั่งและใบบอกต่างๆ ในรัชกาลที่ 5 เอกสารเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 และใช้เป็นเอกสารประกอบการศึกษาประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
 
สังขารนคร น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร พิมพ์ช่วยในงาน พระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล)
สังขารนคร น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร พิมพ์ช่วยในงาน พระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล)

 

 ชื่อเรื่อง : สังขารนคร น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร พิมพ์ช่วยในงาน พระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล)
ชื่อผู้แต่ง : พระจักรานุกรกิจ
ปีที่พิมพ์ : 2498
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ร.พ.มหามกุฎราชวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 132 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ช่วยในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล) ภายในเล่มได้มีเรื่องสังขารนคร ของน.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร ซึ่งเป็นร้อยกรองบทกวีที่เปรียบเทียบตัวคนเป็นเมืองๆ หนึ่ง ที่เป็นเมืองเดินได้ ให้ข้อคิดและเป็นประโยชน์ทั้งคดีโลกและคดีธรรม
 
ลิลิตตำรานพรัตน์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิณ หังสสูต)
ลิลิตตำรานพรัตน์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิณ หังสสูต)

 

ชื่อเรื่อง : ลิลิตตำรานพรัตน์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิณ หังสสูต)
ชื่อผู้แต่ง : หลวงนรินทราภรณ์
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 106 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนางรักษ์ราชหิรัญ (ชิณ หังสสูต) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งภายในเล่มได้มีเรื่องลิลิตตำรานพรัตน์พิมพ์เป็นอนุสรณ์อยู่ด้วย โดยลิลิตตำรานพรัตน์นี้เป็นตำราแก้ว 9 ประการมี เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์ แสดงการกำเนิดและลักษณะบางประการอันให้คุณและโทษแก่เจ้าของตามคติความเชื่อแต่โบราณ
 
มงคลสูตรแปลโดยพิสดารสำนวนเทศนา ของ พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยศสุนทร (น้อม ยศสุนทร)
มงคลสูตรแปลโดยพิสดารสำนวนเทศนา ของ พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยศสุนทร (น้อม ยศสุนทร)

 

ชื่อเรื่อง : มงคลสูตรแปลโดยพิสดารสำนวนเทศนา ของ พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยศสุนทร (น้อม ยศสุนทร)
ชื่อผู้แต่ง : พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน)
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 634 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยศสุนทร (น้อม ยศสุนทร) ณ เมรุวัดธาตุทอง อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งในหนังสือได้มีเรื่องมงคลสูตรแปลโดยพิศดาร ซึ่งเป็นสำนวนเทศนาของพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) พิมพ์ไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย โดยมงคลสูตรสำนวนนี้ได้แปลถอดความจากบาลีมงคลสูตรแล้วอธิบายหลักธรรม ยกอุทาหรณ์ประกอบคำอธิบาย มีสำนวนกะทัดรัด เข้าใจง่าย
 
พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และ ธารชีวิต ของ ทวี วรคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนสำรวจมาตรากิจ (สังวร ภัทโรดม)
พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน  ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และ ธารชีวิต ของ ทวี วรคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนสำรวจมาตรากิจ (สังวร ภัทโรดม)

 

ชื่อเรื่อง : พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน  ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และ ธารชีวิต ของ ทวี วรคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนสำรวจมาตรากิจ (สังวร ภัทโรดม)
ชื่อผู้แต่ง : ศรีสุนทรโวหาร,พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรุงเทพการพิมพ์
จำนวนหน้า : 122 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน นี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ต้นสกุล    อาจารยางกูร แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2424 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จุดประสงค์เพื่อให้กุลบุตร กุลธิดา ในสมัยนั้นได้ศึกษาหาความรู้ประดับสติปัญญา และคงจะได้ใช้เป็นแบบเรียน สำหรับฝึกฝน การอ่านทำนองเดียวกับ มูลบทบรรพกิจ เนื้อเรื่องพรรณนาถึงชื่อต้นไม้ และชื่อสัตว์ต่างๆ ซึ่งท่านผู้แต่งได้อุตสาหะรวบรวม ชื่อต้นไม้ และชื่อสัตว์ เท่าที่ปรากฏในเมืองไทยไว้เป็นจำนวนมาก นับเป็นหนังสือสำคัญที่มีคุณค่าทั้งในทางอักษรศาสตร์ พฤกษศาสตร์ และสัตวศาสตร์ 
 
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสาย ศรีธวัช ณอยุธยา
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสาย ศรีธวัช ณอยุธยา

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสาย ศรีธวัช ณอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง : สาย ศรีธวัช
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 76 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 นี้ มี18 เรื่อง พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายเหตุเรื่องต่างๆ ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศการพระราชพิธี พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานไปยังประเทศต่างๆ ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ภาคปกิณณกะ นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่พิมพ์เฉพาะเรื่องอีกมากมาย หนังสือเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และกิจการบ้านเมืองตลอดจนพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
ประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2404 คณะสงฆ์วัดอนงคาราม ในความอุปถัมภ์ของนายชำนาญ และคุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตเถระ
ประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2404 คณะสงฆ์วัดอนงคาราม ในความอุปถัมภ์ของนายชำนาญ และคุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตเถระ

 

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2404 คณะสงฆ์วัดอนงคาราม ในความอุปถัมภ์ของนายชำนาญ และคุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตเถระ
ชื่อผู้แต่ง : พระมหาโพธิวงศาจารย์
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี 
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ดำรงธรรม
จำนวนหน้า : 544 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประชุมประกาศ รัชกาลที่ 4 เฉพาะภาค1 ถึงภาค 5 คือประกาศซึ่งออกตั้งแต่ พ.ศ.2394-2404 จัดพิมพ์เป็น 8 ภาค เป็นหนังสือที่สำคัญที่ให้ความรู้ทั้งในด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและอื่นๆ ทั้งยังเป็นหลักฐานให้ได้ทราบถึงธรรมเนียมประเพณีและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยในรัชสมัยของพระองค์ ส่วนในด้านสำนวนโวหาร ก็จัดได้ว่าเป็นความเรียงที่มีเนื้อความชัดเจนเหมาะสม อาจถือเป็นแบบฉบับของร้อยแก้วที่ดีได้
 
ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนศุภลักษณศึกษากร (เจียม ศุภลักษณศึกษากร)
ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนศุภลักษณศึกษากร (เจียม ศุภลักษณศึกษากร)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนศุภลักษณศึกษากร (เจียม ศุภลักษณศึกษากร)
ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสาสน์
จำนวนหน้า : 108 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่  อันมีเรื่องสวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนตรี รวม 3 เรื่องด้วยกัน เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานงานฌาปนกิจศพ ขุนศุภลักษณศึกษากร (เจียม ศุภลักษณศึกษากร) เรื่องทั้ง 3 นี้ มีอธิบายความเป็นมาซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้ ได้นำมาจัดพิมพ์ไว้ ณ เบื้องต้นของเรื่องด้วยแล้ว
 
บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำปา วัฒนศิริโรจน์
บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำปา วัฒนศิริโรจน์

 

ชื่อเรื่อง : บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำปา วัฒนศิริโรจน์
ชื่อผู้แต่ง : พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
จำนวนหน้า : 250 หน้า
สาระสังเขป : บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครว่าโดยตัวเรื่อง เป็นตอน 1 ในเรื่องเสือโคซึ่งเป็นนิทานโบราณ มีอยู่ในหนังสือปัญญาสชาดกเรียกว่า พหลคาวีชาดก ของเดิมแต่งในภาษามคธ แต่เห็นจะได้เป็นแปลเป็นภาษาไทยมานานแล้ว และมาแต่งเรื่องนิทานต่อออกไปอีกมากแต่เป็นนิทานเรื่อง 1 ซึ่งไทยชอบ
 
คำฉันท์ ดุษดีสังเวย กล่อม แล กาพย์ขับไม้ บำเรอ พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ
คำฉันท์ ดุษดีสังเวย กล่อม แล กาพย์ขับไม้ บำเรอ พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ

 

ชื่อเรื่อง : คำฉันท์ ดุษดีสังเวย กล่อม แล กาพย์ขับไม้ บำเรอ พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2470
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย
จำนวนหน้า : 114 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือคำฉันท์ ดุษดีสังเวย กล่อม แล กาพย์ขับไม้ บำเรอ พระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ เล่มนี้ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ ใช้สวดกล่อมในงานพิธีสมโภชช้างพระที่นั่ง เนื้อเรื่องได้กล่าวว่า การนมัสการเทพเจ้าตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ไหว้เทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม บางสำนวนมีเทพเจ้าเพิ่มเติม คือ พระพนัสบดี อันเป็นเจ้าป่าเข้าไปแทรกของขุนเทพกระวี มีลาขอช้าง และลาไพร ซึ่งส่วนมากขึ้นด้นด้วย “อย่าพ่อ” หรือ “อย่าแม่” สุดแต่ว่าช้างสำคัญจะเป็นช้างพัง ช้างพลาย ลาชมเมืองคือกล่าวชมว่า บ้านเมืองน่าอยู่กว่าป่า ลาสอนช้าง เป็นตอนสอนอย่างปลอบประโลมว่าอย่าดุร้าย จงเชื่อและรักหมอครวญ
 
ไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ชื่อเรื่อง : ไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา
จำนวนหน้า : 1,082 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ กล่าวถึงการเสด็จไปยุโรปครั้งหลัง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพรรณาถึงสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทอดพระเนตรเห็น และกิจการที่ทรงทราบ รวมทั้งกระแสพระราชวินิจฉัยในเรื่องนั้น ๆ พรรณาว่าด้วยถิ่นฐานบ้านเมือง แลบรรยายถึงขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ของนานาประเทศ เป็นต้น
 
 
 
ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1
ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมจดหมายเหตุ สมัยอยุธยา ภาค 1
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
จำนวนหน้า : 208 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องราวที่มีปรากฏอยู่ในเอกสารและสถานที่ต่างๆในรูปแบบจดหมายเหตุ เช่น จดหมายเหตุว่าด้วยการเจริญทางพระราชไมตรี ทางการค้า ทางพระพุทธศาสนา ทางตำราราชเสวกราชประเพณี เป็นต้น จดหมายเหตุประเภทต่างๆเหล่านี้ ได้นำมาพิมพ์ขึ้นไว้ตามลำดับศักราชและรัชสมัย โดยหนังสือเล่มนี้พิมพ์จำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีของชาวไทยสมัยอยุธยา
 
ปกิณกกถาเทศนา และ เรียงความกระทู้ธรรม
ปกิณกกถาเทศนา และ เรียงความกระทู้ธรรม

 

ชื่อเรื่อง : ปกิณกกถาเทศนา และ เรียงความกระทู้ธรรม
ชื่อผู้แต่ง : ห้อง บุนนาค
ปีที่พิมพ์ : 2492
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 74 หน้า
สาระสังเขป : ปกิณกกถาเทศนา เป็นการแสดงธรรมะเกี่ยวกับกรรมดี กรรมชั่ว สอนมนุษย์ให้ละเว้นความโลภ โกรธ หลง ที่จะฉุดชักตนลงสู่อบาย และสอนให้มีสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ เรียงความกระทู้ธรรมเป็นการอธิบายธรรมะในหัวข้อต่าง อาทิ บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา, คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ, ผู้ไม่ประมาทควรทำความเพียรให้แน่วแน่, ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น โดยหนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมมารดาอ่อนในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2512
 
ตำราพระโอสถพระนารายณ์
ตำราพระโอสถพระนารายณ์

 

ชื่อเรื่อง : ตำราพระโอสถพระนารายณ์
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2484
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า : 76 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพ นางไข่ สุจริต ณ วัดป่าโมกข์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2484 โดยมีเนื้อหาให้ความรู้เรื่องประกอบยา สรรพคุณของสมุนไพร วิธีปรุงยาแก้อาการต่างๆ เช่น ยาแก้โรคไฟธาตุเย็น ยาแก้ไข้ลิ้นหด ยาแก้ลมป่วง เป็นต้น
 
ตำนานพระพิมพ์
ตำนานพระพิมพ์

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพิมพ์
ชื่อผู้แต่ง : เซเดส์, ยอช
ปีที่พิมพ์ : 2502
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาดไทย
จำนวนหน้า : 74 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายไสว ทวีการ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 16 พฤษภาคม 2502 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ชีวประวัติของนายไสว ทวีการ และข้อมูล พร้อมด้วยภาพประกอบของพระพิมพ์ในสมัยต่างๆ อาทิ พระพิมพ์สมัยลพบุรี พระพิมพ์สมัยศรีวิชัย พระพิมพ์สมัยสุโขทัย พระพิมพ์สมัยศรีอยุธยา เป็นต้น
 
ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติ แด่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติ แด่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

 

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติ แด่ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า : 844 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความทางวิชาการแขนงที่เคยอยู่ในสายงานและวงการที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงผ่านมา โดยมีพระญาติ พระสหายและศิษยานุศิษย์เขียนขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระองค์ อาทิเช่น บทประพันธ์ของเสด็จในกรมฯ โดย สมบูรณ์ ปานเสถียร ความหลังครั้งเริ่มระบอบใหม่ โดย สนิท เจริญรัฐ  ขอบข่ายของสังคมศาสตร์ โดยฉุน ประภาวัฒน ข้อคิดในการพัฒนาราชการ โดยมาลัย หุวะนันทน์ เป็นต้น
 
 
คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน
คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน

 

ชื่อเรื่อง : คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน
ชื่อผู้แต่ง : แสง มนวิทูร เปรียญ, ผู้แปล
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร
จำนวนหน้า : 722 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือ ลลิตวิสตร เล่มนี้เป็นหนังสือทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ แปลโดย แสง มนวิทูร เปรียญ ตามเนื้อเรื่องระบุว่าเป็นพระธรรมเทศนาที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธ ส่วนผู้ที่นำพระธรรมเทศนานี้มาบอกคือพระอานนท์ ซึ่งมีคำขึ้นต้นเหมือนพระสูตรทั่วไปในนิกายหินยาน หากแต่เป็นภาษาสันสกฤตเท่านั้น
 
 
ไทย อนุสรณ์งานศพ พ.ต.หลวงสมรรถยุทธการ (ฉัตร สัตยมานะ) และ นางวงษ์ อุรัสยะนันทน์
ไทย อนุสรณ์งานศพ พ.ต.หลวงสมรรถยุทธการ (ฉัตร สัตยมานะ) และ นางวงษ์ อุรัสยะนันทน์

 

ชื่อเรื่อง : ไทย อนุสรณ์งานศพ พ.ต.หลวงสมรรถยุทธการ (ฉัตร สัตยมานะ) และ นางวงษ์ อุรัสยะนันทน์
ชื่อผู้แต่ง :
ปีที่พิมพ์ : 2503
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 234 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึง ชีวประวัติ และคำอาลัยแด่ พ.ต.หลวงสมรรถยุทธการ (ฉัตร สัตยมานะ) และ นางวงษ์ อุรัสยะนันทน์ และมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับชนชาติไทยในถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานของ ดร.วิลเลี่ยม คลิฟตันคอดต์ ได้รวบรวมบรรดาประสบการณ์ที่ได้จากการเดินทางไปเยี่ยมคนไทยในถิ่นต่างๆอาทิ ไทยในตังเกี๋ย ไทยในแค้วนเชียงตุง ไทยในกวางซี ไทยลาว ไทยยวน เป็นต้น
 
วรวรรณะวงศ์ พระโอรส พระธิดา นัดดา และปนัดดา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พุทธศักราช2505 หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต รวบรวม พิมพ์ถวาย หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี เป็นที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติ ครบ 6 รอบ
วรวรรณะวงศ์ พระโอรส พระธิดา นัดดา และปนัดดา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พุทธศักราช2505 หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต รวบรวม พิมพ์ถวาย หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี เป็นที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติ ครบ 6 รอบ

 

ชื่อเรื่อง : วรวรรณะวงศ์ พระโอรส พระธิดา นัดดา และปนัดดา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พุทธศักราช2505 หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต รวบรวม พิมพ์ถวาย หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี เป็นที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติ ครบ 6 รอบ
ชื่อผู้แต่ง : วิภาวดี รังสิต, หม่อมเจ้า
ปีที่พิมพ์ : 2505
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร
จำนวนหน้า : 54 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือวรวรรณะวงศ์ พระโอรส พระธิดา นัดดา และปนัดดา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พุทธศักราช2505 หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต รวบรวม พิมพ์ถวาย หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี เป็นที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติ ครบ 6 รอบ เล่มนี้ ได้รวบรวมพระนาม และนาม พระโอรส พระธิดา นัดดา ปนัดดา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
 
ละครพูดเรื่องกลแตก พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก,พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ
ละครพูดเรื่องกลแตก พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก,พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ

 

ชื่อเรื่อง : ละครพูดเรื่องกลแตก พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก,พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยเขษม
จำนวนหน้า : 126 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือ ละครพูดเรื่องกลแตก พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก,พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ เล่มนี้ ได้รวบรวมอาทิเช่น คารวานุสาวรีย์ คำไว้อาลัยแด่พลเอก ,พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ และบทละคอนพูดเรื่องกลแตกนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า “ศรีอยุธยา” เป็นละคอนพูด 4 องค์จบ ทรงพระราชดำริเนื้อเรื่อง ตลอดจนแบบฉากในการแสดง และทรงแสดงบทของพระเทพราชเสวีด้วยพระองค์เอง
 
ระเบียบสำนักพระราชวังที่เกี่ยวกับข้าราชการและประชาชน และประเพณีไทย โดย ม.ล.ปีย์ มาลากุล
ระเบียบสำนักพระราชวังที่เกี่ยวกับข้าราชการและประชาชน และประเพณีไทย โดย ม.ล.ปีย์ มาลากุล

 

ชื่อเรื่อง : ระเบียบสำนักพระราชวังที่เกี่ยวกับข้าราชการและประชาชน และประเพณีไทย โดย ม.ล.ปีย์ มาลากุล
ชื่อผู้แต่ง : ปีย์ มาลากุล
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงเรียนช่างพิมพ์เพ็ชรรัตน์
จำนวนหน้า : 210 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือ: ระเบียบสำนักพระราชวังที่เกี่ยวกับข้าราชการและประชาชน และประเพณีไทย โดย ม.ล.ปีย์ มาลากุล เล่มนี้ ได้รวบรวมอาทิเช่น ระเบียบการผ่านเข้าพระบรมมหาราชวัง ระเบียบการแต่งกายเข้าพระบรมมหาราชวัง ระเบียบการขออนุญาตเข้าชมพระราชฐาน ระเบียบการใช้ถ้อยคำ ราชาศัพท์ ประเพณี 
 
มิ่งมงคล ของ กองอนุศาสน์ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
มิ่งมงคล ของ กองอนุศาสน์ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

 

ชื่อเรื่อง : มิ่งมงคล ของ กองอนุศาสน์ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อผู้แต่ง : การศาสนา, กรม
ปีที่พิมพ์ : 2503
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา
จำนวนหน้า : 112 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือมิ่งมงคล ของ กองอนุศาสน์ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เล่มนี้ ได้รวบรวมมงคลสูตร ที่ 1 ถึง ที่ 11 จากมลคลสูตร 38 ประการ เพื่อมุ่งให้บุคคลประพฤติดี ปฏิบัติชอบทางกาย วา และใจ เมื่อปฏิบัติแล้วจะบังเกิดความสุข
 
พ่อของลูก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม วรรธนะพินทุ ท.ม.,ต.ช.
พ่อของลูก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม วรรธนะพินทุ ท.ม.,ต.ช.

 

ชื่อเรื่อง : พ่อของลูก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม วรรธนะพินทุ ท.ม.,ต.ช. 
ชื่อผู้แต่ง : กมล วรรธนะพินทุ เศวตามร์
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสาสน์
จำนวนหน้า : 42 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพ่อของลูก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม วรรธนะพินทุ ท.ม.,ต.ช. เล่มนี้ ได้รวบรวมการเขียนกลอนอวยพรวันคล้ายวันเกิดของนายเฉลิม วรรธนะพินทุ วันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี ซื่งได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ ศรีสัปดาห์
 
อนามัยชุมชน ของ นายแพทย์สอน ส. อันตะริกานนท์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เทพพิทักษ์
อนามัยชุมชน ของ นายแพทย์สอน ส. อันตะริกานนท์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เทพพิทักษ์

 

ชื่อเรื่อง : อนามัยชุมชน ของ นายแพทย์สอน ส. อันตะริกานนท์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เทพพิทักษ์
ชื่อผู้แต่ง : ประดิษฐ์ เทพพิทักษ์
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยพิทยา
จำนวนหน้า : 116 หน้า
สาระสังเขป : หนังสืออนามัยชุมชน ของ นายแพทย์สอน ส. อันตะริกานนท์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เทพพิทักษ์ เล่มนี้ กล่าวถึงชีวประวัติและงานในหน้าที่นายแพทย์ ประดิษฐ์ เทพพิทักษ์ และเนื้อหาเรื่องอนามัยชุมชนที่ได้บรรยายกระจายเสียง รวม 9 ครั้ง ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ของการบรรยาย แบ่งเป็น 9 ตอน 
 
 
หนังสือที่ระลึกวันสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ 7 มกราคม 2512
หนังสือที่ระลึกวันสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  7 มกราคม 2512

 

ชื่อเรื่อง : หนังสือที่ระลึกวันสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  7 มกราคม 2512 
ชื่อผู้แต่ง : อำพัน ตัณฑวรรธธนะ
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์จันหว่า
จำนวนหน้า : 72 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือที่ระลึกวันสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  7 มกราคม 2512 เล่มนี้ได้รวบรวม พระบวรฉายาลักษ์ ลายพระราชหัตถเลขา พระบวรราชอนุสาวรีย์ ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เรือหลวงปิ่นเกล้า พระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ พระราชประวัติ พระราชบุคลิลักษณะด้านต่าง ๆ 
 
สุภาษิตอิศรญาณ พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางจั่น กลิ่นเกษร
สุภาษิตอิศรญาณ พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางจั่น กลิ่นเกษร

 

ชื่อเรื่อง : สุภาษิตอิศรญาณ พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางจั่น กลิ่นเกษร
ชื่อผู้แต่ง : อิศรญาณ, มจ.
ปีที่พิมพ์ : 2499
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 36 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือสุภาษิตอิศรญาณ พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางจั่น กลิ่นเกษร เล่มนี้ได้จัดพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจั่น กลิ่นเกษร ซึ่งภาษิษอิศรญาณ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ เป็นของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 2 กรมหลวงมหิศวรินทราเมศวร ทรงแต่ง จัดเป็นสุภาษิตสอนใจได้ 
 
สารคดีชุด “เมืองไทยที่รัก”
สารคดีชุด “เมืองไทยที่รัก”

 

ชื่อเรื่อง : สารคดีชุด “เมืองไทยที่รัก”
ชื่อผู้แต่ง : โอภาส เสวิกุล
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โอเดียนบุ๊คสโตร์
จำนวนหน้า : 324 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือสารคดีชุด “เมืองไทยที่รัก”เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ของเมืองไทย อาทิเช่นพิธีโกนจุก ราชาดนตรี พระมงกุฏเกล้ากับหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์กับเมืองไทย หวยรัฐบาล ลูกเสือไทย 
 
สองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา โดย ขุนวิจิตรมาตราพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวสมัครจิต งามพินิต จ.ม.,บ.ช.
สองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา โดย ขุนวิจิตรมาตราพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวสมัครจิต งามพินิต จ.ม.,บ.ช.

 

ชื่อเรื่อง : สองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา โดย ขุนวิจิตรมาตราพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวสมัครจิต งามพินิต จ.ม.,บ.ช.
ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรมาตรา,ขุน
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 108 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือสองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา โดย ขุนวิจิตรมาตราเล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ของสองฝั่งลำแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เขียนขึ้นสำหรับออกรายการโทรทัศน์ของเทศบาลนครกรุงเทพ และอีกเรื่องหนึ่งชื่อ ตำนานสักรวา เป็นเรื่องเกี่ยวกับลำน้ำคล้ายกัน รวบรวมไว้ในเล่มนี้
 
สกุลสิงหเสนี และเครือญาติ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงตุ่ม ประเสริฐสุนทราศรัย
สกุลสิงหเสนี และเครือญาติ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงตุ่ม ประเสริฐสุนทราศรัย

 

ชื่อเรื่อง : สกุลสิงหเสนี และเครือญาติ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงตุ่ม ประเสริฐสุนทราศรัย
ชื่อผู้แต่ง : เจือ นครรราชเสนี
ปีที่พิมพ์ : 2504
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
จำนวนหน้า : 216 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือสกุลสิงหเสนี และเครือญาติ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงตุ่ม ประเสริฐสุนทราศรัย เล่มนี้ ได้เขียนประวัติสังเขปของคุณหญิงตุ่ม ประเสริฐสุนทราศรัย และได้รวบรวมลำดับวงศ์สกุลสิงหเสนีและเครือญาติ ที่ขยายเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นประโยชน์ที่เครือญาติรุ่นต่อ ๆ ไป จะได้รู้จักวงศ์สกุลและลำดับญาติได้ถูกต้อง
 
สรรพสิทธิ์คำฉันท์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พิมพ์เป็นมุทิตาอนุสรณ์ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระรัตนเวทีเป็นพระราชโมลี และทรงตั้งพระครูสุนทรโฆสิต(แจ่ม) พระครูวิบจิตรโฆษา (ทองใบ) เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
สรรพสิทธิ์คำฉันท์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พิมพ์เป็นมุทิตาอนุสรณ์ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระรัตนเวทีเป็นพระราชโมลี และทรงตั้งพระครูสุนทรโฆสิต(แจ่ม) พระครูวิบจิตรโฆษา (ทองใบ) เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท

 

ชื่อเรื่อง : สรรพสิทธิ์คำฉันท์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พิมพ์เป็นมุทิตาอนุสรณ์ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระรัตนเวทีเป็นพระราชโมลี และทรงตั้งพระครูสุนทรโฆสิต(แจ่ม) พระครูวิบจิตรโฆษา (ทองใบ) เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
ชื่อผู้แต่ง : ปรมานุชิตชิโนรส, กรมพระ
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร
จำนวนหน้า : 170 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือสรรพสิทธิ์คำฉันท์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พิมพ์เป็นมุทิตาอนุสรณ์ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระรัตนเวทีเป็นพระราชโมลี และทรงตั้งพระครูสุนทรโฆสิต(แจ่ม) พระครูวิบจิตรโฆษา (ทองใบ) เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท เล่มนี้ เรื่องเดิมเป็นนิทานอยู่ในปัญญาสชาดก ต้นฉบับเป็นหนังสือสมุดไทย 2 เล่ม นับถือกันว่าเป็นฉันท์ตำราเรื่องหนึ่ง เนื้อความมีอยู่ว่า  พระโพธิสัตว์มาประสูติเป็นเจ้าชายสรรพสิทธิ์ แห่งอลิกนคร ทรงเปรื่องปราดในศิลปศาสตร์ สามารถถอดหัวใจคนได้ เจ้าหญิงสุพรรณโสภาแห่งคีริพัชรนคร ทรงมีพระสิริรูปงดงาม พระบิดากำหนดพิธีการอภิเษกเจ้าหญิงอย่างประหลาด คือถ้าชายใดสามารถทำให้พระนางตรัสปราศรัยด้วยก็จะได้นาง มีกษัตริย์หนุ่มมาแสดงความสามารถ แต่ไม่สำเร็จ เจ้าชายสรรพสิทธิ์ทราบกิตติศัพท์เสด็จไปขอลองวิชา โดยถอดหัวใจอำมาตย์ไปไว้ในไม้เขี่ยพระประทีบ เชิงพระแท่น พระบรรจถรณ์ และในพระเขนยของพระนาง แล้วให้หัวใจนั้นเล่านิทานขึ้น 5 เรื่อง เป็นทำนองปริศนา และไขปัญหาเหล่านั้นด้วย นางสุพรรณโสภาได้สดับแก้ไข ไม่พอพระทัยจึงตรัสแย้ง เจ้าชายได้เจ้าหญิงตามสัญญา และต้องทำสงครามปราบกษัตริย์ที่ยกมาชิงนาง ต่อมาถูกยักษ์กาลจักรลักนางไป เจ้าชายทรงใช้วิชาถอดหัวใจประหารยักษ์ แล้วพานางกลับเมือง
 
สมุดภูมิราชภักดีราชานุสสรณ์ ในรัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๔๙๗
สมุดภูมิราชภักดีราชานุสสรณ์ ในรัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๔๙๗

 

ชื่อเรื่อง : สมุดภูมิราชภักดีราชานุสสรณ์ ในรัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๔๙๗
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวนหน้า : 628 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือสมุดภูมิราชภักดีราชานุสสรณ์ ในรัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๔๙๗ เล่มนี้ ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของชาติไทย โดยแบ่งเป็นภาค อาทิเช่น ภาคประวัติชาติไทย ภาควัฒนธรรมไทย ภาคประวัติการค้าของไทยแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ในขณะนั้น 
 
 
รวมพระธรรมเทศนา และ คำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรมของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ หม่อมหลวงทวีวัฒน์ สนิทวงศ์ และ คุณจรัส สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พิมพ์เป็นธรรมวิทยาธาน
รวมพระธรรมเทศนา และ คำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรมของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ หม่อมหลวงทวีวัฒน์ สนิทวงศ์ และ คุณจรัส สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พิมพ์เป็นธรรมวิทยาธาน

 

ชื่อเรื่อง : รวมพระธรรมเทศนา และ คำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรมของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ หม่อมหลวงทวีวัฒน์ สนิทวงศ์ และ คุณจรัส สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พิมพ์เป็นธรรมวิทยาธาน
ชื่อผู้แต่ง : พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 750 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือรวมพระธรรมเทศนา และ คำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรมของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ เล่มนี้ ได้รวบรวมคำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรม อาทิเช่น ศีล สมาธิ ปัญญา พระธรรมเทศนา เรื่องต่าง ๆ ในวัดต่าง ๆ 
 
 
 
พระราชหัดถเลขา เล่ม ๒
พระราชหัดถเลขา เล่ม ๒

 

ชื่อเรื่อง : พระราชหัดถเลขา เล่ม ๒
ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
 จำนวนหน้า : 286 หน้า
สาระสังเขป : พระราชหัดถเลขา คือหนังสือซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเขียนเองไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด ฤาลงพระนามด้วยพระราชหัดถ์ในหนังสือซึ่งมีไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด เข้าใจว่าเป็นของมีขึ้นใหม่เมื่อในรัชกาลที่ ๔ แต่ก่อนมา หนังสือรับสั่งมีไปถึงที่ใด ย่อมมีผู้รับสั่ง คือเสนาบดีเจ้ากระทรวงเป็นต้นเขียนหนังสืออ้างรับสั่งไป แลประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ หาได้ใช้ประเพณีลงชื่อด้วยลายมือเป็นสำคัญไม่
 
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 1
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 1

 

ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 1
ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
 จำนวนหน้า : 332 หน้า
สาระสังเขป : พระราชหัตถเลขา คือหนังสือซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเขียนเองไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด ฤาลงพระนามด้วยพระราชหัตถ์ในหนังสือซึ่งมีไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงศึกษาทราบภาษาอังกฤษก่อนเจ้านายประเทศอื่นทางตะวันออก พระปรีชาญาณปรากฎไปถึงนานาประเทศ เป็นเหตุให้ชาวต่างประเทศที่เป็นนักปราชญ์บ้าง เป็นข้าราชการบ้าง แม้จนพวกพ่อค้าแลมิชชันนารีจะใคร่คุ้นเคยกับพระองค์ ต่างเขียนหนังสือฝากเข้ามาถวายจึงมีพระราชหัดถเลขาตอบ ตามแบบอย่างฝนั่งต่างประเทศมีหนังสือไปมาถึงกัน กล่าวคือที่เขียนเองแลข้างท้ายหนังสือลงชื่อด้วยลายมือเป็นสำคัญนั้น จึงเลยอนุโลมเป็นแบบอย่างต่อมาถึงพระราชหัดถ์ซค่งทรงในภาษาไทยด้วย
 
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา

 

ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
 จำนวนหน้า : 952 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาที่พิมพ์นี้ ฉบับ 1 ฉบับกรมหลวงมหิศวรินทร์ ฉบับ 1 สองฉบับนี้ความต้องกันกับหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับบพระราชหัตถเลขานี้ ได้ความว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงชำระ แล้วบนำต้นฉบับขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรวจ ทรงแก้ไข จึงปรากฏพระราชหัตถเลขาอยู่ในต้นฉบับหลวง หอพระสมุดฯ ได้มาแต่ 22 เล่ม แต่เคราะห์ดีได้ฉบับกรมหลวงมหิศวรินทร์ มาประกอบกัน ได้เนื้อความบริบูรณ์ เป็นหนังสือ 42 เล่ม สมุดไทย
 
 
พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ ตำนานพระพิมพ์ ของ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์พระบรรทม
พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ ตำนานพระพิมพ์ ของ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์พระบรรทม

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ ตำนานพระพิมพ์ ของ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์พระบรรทม
ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
 จำนวนหน้า : 180 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ ตำนานพระพิมพ์ ของ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์พระบรรทม เล่มนี้ กล่าวถึงพระพุทธรูปสมัยต่างๆ มูลเหตุที่สร้างพระพุทธรูป และตำนานพระพิมพ์ พร้อมทั้งมีรูปภาพประกอบพระพุทธรูปในสมัยต่างๆ
 
พระประวัติประกอบพระรูป พลเอก พระวรวงศ์ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระประวัติประกอบพระรูป พลเอก พระวรวงศ์ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ

 

ชื่อเรื่อง : พระประวัติประกอบพระรูป พลเอก พระวรวงศ์ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
ชื่อผู้แต่ง : จันทบุรีสุรนาถ, กรมหมื่น 
ปีที่พิมพ์ : 2496
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
 จำนวนหน้า : 144 หน้า
สาระสังเขป : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชดำริว่า จำเดิมแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถประชวรสิ้นพระชนม์ ที่แล้วมานั้นได้ทรงบำเพ็ญปฏิการกิจพระราชทานเป็นนานัปการ บัดนี้ถึงเวลาที่จะพระราชทานเพลิงพระศพตามราชประเพณี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เตรียมการนั้นไว้พร้อมสรรพส่วนที่จะจัดหาหนังสือแจกตามธรรมเนียมอันปฏิบัติกันมาแต่รัชกาลที่ห้านั้น นอกจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสรรรูปภาพที่ทรงถ่ายและที่ผู้อื่นลางท่านได้ถ่ายไว้เป็นประวัติแห่งพระชนมชีพของพระวรวงศ์เธอพระองค์นั้นตามคราวตามสมัยพิมพ์ขึ้นเป็นเล่ม ให้มีความบรรยายพระประวัติของพระองค์ท่านประกอบกันไปด้วย
 
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบทหลวง
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบทหลวง

 

ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบทหลวง
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 210 หน้า
สาระสังเขป : ประวัติ นายกวี เหวียนระวี เมื่อยังมีชีวิตอยู่ มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ช่วยกิจการพระศาสนา การศึกษา และการแพทย์ อันเป็นประโยชน์ต่อสาธาณชนและประเทศชาติ 
 
พระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่ ลอกจากจำนวนรวมครั้งที่ ๓ ที่ ๔ แลเพิ่มเติมอีก สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ
พระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่ ลอกจากจำนวนรวมครั้งที่ ๓ ที่ ๔ แลเพิ่มเติมอีก สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ

 

ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขา ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่ ลอกจากจำนวนรวมครั้งที่ ๓ ที่ ๔ แลเพิ่มเติมอีก สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัดนวิศิษฎ
ชื่อผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2473
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 84 หน้า
สาระสังเขป : พระราชหัดเลขาของล้นเกล้าล้นกระหม่อม รัชกาลที่ 4 ในสมุดเล่มนี้มี 4 ฉบับ เบื้องต้นพระราชทานไปยังเจ้าจอมมารดาพึ่ง ซึ่งองค์หญิงอาภาพรรณนีได้รับสืบมรดกมาเก็บต้นฉบับรักษาไว้บัดนี้ ได้คัดสำเนาเอามาพิมพ์ขึ้น เพราะเหตุว่าเป็นพระราชหัดถเลขาส่วนพระองค์เฉพาะถึงคุณย่าของหญิงฉวีวิลัย ซึ่งจะปลงศพในเมรุคราวนี้ 
 
พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2
พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2

 

ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2
ชื่อผู้แต่ง : ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2504
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 216 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 เล่มนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 และพระราชประวัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2382-2394 
 
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง
ปีที่พิมพ์ : 2493
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 64 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นเรื่องราวการปาฐกถาของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยอธิบายถึง 4 ลัทธิด้วยกัน คือยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
 
พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย ของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ พุทธศิลปในประเทศไทย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล
พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย ของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ พุทธศิลปในประเทศไทย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย ของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ พุทธศิลปในประเทศไทย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล
ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง
ปีที่พิมพ์ : 2503
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 104 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือ พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทย ของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ และ พุทธศิลปในประเทศไทย ของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล เล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวารวดี (ระหว่าง พ.ศ.350-1200) มีภาพพระพุทธรูปปางต่างๆมาประกอบ มีเนื้อหาอธิบายลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยนั้นๆ
 

 

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา และปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา และปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา และปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 176 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา และปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เล่มนี้ ได้อธิบายให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจแจ่มแจ้งว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เรียกว่า “อริยสัจสี่” เป็นหนังสือดีมีสำนวนโวหารน่าอ่าน ยังเป็นประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา และมีประวัติของพันตำรวจเอก พีระเพ็ญเสนีย์ พุกกะคุปต์
 
ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4
ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4

 

ชื่อเรื่อง : ประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4 
ชื่อผู้แต่ง : สุรศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2505
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 312 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประวัติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เล่ม 4 เล่มนี้เป็นเรื่องราวประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ครั้งที่ท่านได้ตั้งโรงหมอ และโรงพยาบาล สร้างที่ทำการและบ้านเรือน รวมไปถึงการจับปราบปรามผู้ร้าย และเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์ มนตรี 
 
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 9 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 9 และภาคที่ 10 ตอนต้น)
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 9 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 9 และภาคที่ 10 ตอนต้น)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 9 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 9 และภาคที่ 10 ตอนต้น)
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 390 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 9 ภาคที่ 9 มีเรื่อง 4 เรื่อง คือ พงศาวดารเมืองเชียงรุ้ง พงศาวดารเมืองไล พงศาวดารเมืองแถง และพงศาวดารเมืองเชียงแขง เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองของชนชาติไทย เคยมาขึ้นอยู่ในพระราชอาณาจักรสยามบางยุคบางคราวแต่ก่อนมา ในคราวที่มีท้าวพระยาผู้ใหญ่ของเมืองนั้นๆ เข้ามาสวามิภักดิ์ จึงได้ถามเรื่องพงศาวดารของบ้านเมืองจดไว้เป็นความรู้ในราชการ ในภาคที่ 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครน่าน และพงศาวดารเมืองน่าน
 
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 และ 8)
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 และ 8)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 และ 8)
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 292 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 ภาคที่ 7 มีเรื่องคำให้การรวม 4 เรื่อง ดังนี้ 1.คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลีนั้น 2.คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์นั้น 3.คำให้การขุนโขลนนั้น 4.คำให้การนายจาด ในส่วนของภาคที่ 8 จะอธิบายไว้ 5 เรื่อง ดังนี้ 1.หนังสือจดหมายเหตุโหร 2.จดหมายเหตุของจมื่นก่งศิลป์นั้น 3.พระราชพงศาวดารกรุงเก่า 4.เรื่องปฐมวงศ์ 5.เรื่องตำนานพระโกศนั้น 
 
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 22 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 36(ต่อ)37 และ 38)
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 22 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 36(ต่อ)37 และ 38)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 22 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 36(ต่อ)37 และ 38)
ชื่อผู้แต่ง 
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 312 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 22 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 36(ต่อ)37 และ 38) เล่มนี้ มีเนื้อหาเรื่องจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสเนื้อหาต่อจากเล่มที่21 ภาคที่ 36 ภายในเล่มนี้จะเป็นเรื่องจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือ และพระเจ้าท้ายสระ ภาคที่ 4
 
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 21 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 35 และ 36)
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 21 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 35 และ 36)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 21 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 35 และ 36)
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : 
จำนวนหน้า : 348 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประชุมพงศาวดาร เล่ม 21 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 35 และ 36) เล่มนี้ ได้รวบรวมการประชุม เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาคที่ 2
 
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 16 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 27)
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 16 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 27)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 16 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 27)

ชื่อผู้แต่ง : 

ปีที่พิมพ์ : 2507

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา

จำนวนหน้า : 332 หน้า

สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 16 ได้รวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์เรื่องราวต่างๆอาทิ เรื่องไทยจัดการรับทูตฝรั่งเศส เรื่องสมเด็จพระนารายณ์เสด็จออกรับทูตฝรั่งเศส เรื่องโกศาปานราชทูตไทยไปถึงประเทศฝรั่งเศส เรื่องราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เรื่องสมเด็จพระนารายณ์โปรดให้บาทหลวงตาชาร์ดเป็นราชทูตพิเศษไปประเทศฝรั่งเศสกับมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เรื่องฟอลคอนเตรียมตัวต่อสู้พระเพทราชา และเรื่องสงครามฝรั่งเศสกับฮอลันดา เป็นต้น

ประชุมพงศาวดาร เล่ม 10 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 10 ตอนปลาย ภาคที่ 11-12)
ประชุมพงศาวดาร เล่ม 10 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 10 ตอนปลาย ภาคที่ 11-12)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 10 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 10 ตอนปลาย ภาคที่ 11-12)
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา
จำนวนหน้า : 420 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 10 ได้รวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองน่าน อาทิ ตระกูลเมืองน่าน เจ้าครองนครเมืองน่าน การย้ายเมืองน่าน รวมถึงการศึกระหว่างไทยกับพม่า พม่าตีกรุงศรีอยุธยา พม่ายกทัพมาตีเมืองไทย เป็นต้น
 
ประชุมพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาค 1 ระหว่างพุทธศักราช 2424 ถึงพุทธศักราช 2435
ประชุมพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาค 1 ระหว่างพุทธศักราช 2424 ถึงพุทธศักราช 2435

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาค 1 ระหว่างพุทธศักราช 2424 ถึงพุทธศักราช 2435
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
จำนวนหน้า : 268 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงบริหารราชการแผ่นดินระหว่าง พ.ศ. 2424 – 2435 ประกอบด้วย เรื่องคดีความโจรผู้ร้ายชุกชุม การทะเลาะวิวาทของคนไทย ชาวจีน และชาวต่างชาติ การปล้นชิงทรัพย์ และการเล่นการพนันซึ่งผิดพระราชบัญญัติ เป็นต้น โดยพิมพ์จำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี ศีลธรรม การเมือง การปกครองของประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5
 
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต

 

ชื่อเรื่อง : ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : รัชดารมภ์การพิมพ์
จำนวนหน้า : 142 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร มีเนื้อหาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยที่ประพฤติปฏิบัติกันมาแต่ช้านาน ประกอบด้วย ประเพณีทำบุญ ประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน และประเพณีทำศพ โดยหนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโท หลวงสุนทรเขตพิทักษ์ (ยิ้ม รมยะรูป) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 14 พฤษภาคม 2510
บุณโณวาทคำฉันท์และสุภาษิตอิศรญาณ
บุณโณวาทคำฉันท์และสุภาษิตอิศรญาณ

 

ชื่อเรื่อง : บุณโณวาทคำฉันท์และสุภาษิตอิศรญาณ
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2502
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
จำนวนหน้า : 92 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือบุณโณวาทคำฉันท์นี้ เป็นวรรณคดีซึ่งเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๑๐ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหานาค วัดท่าทรายเป็นผู้แต่ง การที่แต่งเรื่องบุณโณวาทคำฉันท์ขึ้น เข้าใจว่าเพราะเกิดความบันดาลใจจากความงดงาม และสุภาษิตอิศรญาณ เป็นพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เขียนเป็นคำประพันธ์ประเภทเพลงยาว มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตไทย หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายด้วง กรีมสกูล ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 29 เมษายน 2502
 
นิบาตชาดก เล่ม 11 เอกาทสนิบาต แล ทวาสนิบาต
นิบาตชาดก เล่ม 11 เอกาทสนิบาต แล ทวาสนิบาต

 

ชื่อเรื่อง : นิบาตชาดก เล่ม 11 เอกาทสนิบาต แล ทวาสนิบาต
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2470
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
จำนวนหน้า : 246 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุรักษโกษา (ประเวศ อมาตยกุล) กล่าวถึงประวัติโดยสังเขปของพระยาอนุรักษโกษา และมีเนื้อหาหลักเรื่องนิบาตชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมเอกทางพระพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้แปลเป็นภาษาไทย เป็นคู่มือในการศึกษาค้นคว้า เปรียบเทียบของผู้ที่ต้องการหาความรู้ในทางศาสนา และส่งเสริมศีลธรรมแก่ประชาชน ซึ่งสามารถนำธรรมะจากชาดกไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
 
นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

 

ชื่อเรื่อง : นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ภักดีประดิษฐ์
จำนวนหน้า : 130 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสะลูไร ตุลยายน ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 29 มีนาคม 2508 กล่าวถึงประวัติและคำอาลัยแด่ผู้วายชนม์ และมีเนื้อหาหลักกล่าวถึงการเนิดมนุษย์ ชาติภาษา ประวัติส่วนตัวของนางนพมาศ นิทานสอนใจ และพิธีพราหมณ์ทั้งสิ้น 12 พิธี
 
ธรรมาธรรมะสงคราม
ธรรมาธรรมะสงคราม

 

ชื่อเรื่อง : ธรรมาธรรมะสงคราม
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2500
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์
จำนวนหน้า : 52 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พระธัมมโสภโณภิกขุ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 23 ธันวาคม 2500 มีเนื้อหากล่าวถึงประวัติของผู้วายชนม์ และบทพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นบทพากย์ตามเค้าเรื่องในธรรมชาดกเอกาทศนิบาต กล่าวถึง ธรรมเทวบุตร และอธรรมเทวบุตร เสด็จไปยังชมพูทวีปเพื่อสั่งสอนมนุษย์ และใช้ความดี ความชั่วรบกันในสงคราม
 
ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน
ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน

 

ชื่อเรื่อง : ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน

ชื่อผู้แต่ง : 

ปีที่พิมพ์ : 2510

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพพระสุเมรุ

จำนวนหน้า : 128 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก ขุนวรนิติ์นิสัย ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 22 พฤษภาคม 2510 ประกอบด้วย ชีวประวัติของ ร.อ. ขุนวรนิติ์นิสัย และมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ ตำราการสู้รบและอุบายการทำสงครามในสมัยโบราณ

 
ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2474
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า : 52 หน้า
สาระสังเขป : ตำนานพระธาตุพนมเล่มนี้ พระพนมนครานุรักษ์ มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุทิศผลประโยชน์ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม หนังสือตำนานพระธาตุพนมนี้ไม่ได้ปรากฏชื่อผู้แต่ง และมีความจริงเพียงไหนไม่ได้ปรากฎชัด มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ตำนานพระธาตุพนม และคำนมัสการพระธาตุพนม
 
ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น
ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น
ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์
จำนวนหน้า : 120 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระศุลีสวามิภักดิ์(เศวตร์ พราหมณะนันทน์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2508 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ชีวประวัติของพระศุลีสวามิภักดิ์(เศวตร์ พราหมณะนันทน์) และตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ขึ้น เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นที่ไทยเราชอบเล่นมาแต่โบราณ ลักษณะการเล่นเครื่องโต๊ะสมัยรัชกาลที่ ๕ การประกวด กฎเกณฑ์ พระราชบัญญัติบังคับในการตัดสินเครื่องโต๊ะในสมัยนั้น
 
ต ปัจจัย
ต ปัจจัย

 

ชื่อเรื่อง : ต ปัจจัย
ชื่อผู้แต่ง : สงัด ญาณพโล, พระมหา
ปีที่พิมพ์ : 2507
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์
จำนวนหน้า : 24 หน้า
สาระสังเขป : ต ปัจจัย เป็นปัจจัยตัวสำคัญ สำหรับประกอบท้ายธาตุแล้วใช้เป็นกิริยากิตก์ลงในอดีตกาลแปลว่า “แล้ว” ส่วนมากพบในหนังสือบาลี หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมกฎเกณฑ์ของ ต ปัจจัย  ตามนัยแห่งคัมภีร์ “มูลกัจจายน์” และคัมภีร์ “รูปสิทธิปกรณ์” พร้อมทั้งอุทาหรณ์มาแสดงไว้
ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ใน รัชกาลที่ 6 และ บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์
ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ใน รัชกาลที่ 6 และ บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์

 

ชื่อเรื่อง : ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ใน รัชกาลที่ 6 และ บทละครเบิกโรงเรื่องดึกดำบรรพ์
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2503
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า : 114 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.พงศ์ภูวนารถ ทวีวงศ์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 21พฤษภาคม 2503 โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ชีวประวัติของม.จ.พงศ์ภูวนารถ ทวีวงศ์ และความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ใน รัชกาลที่ 6 ประกอบด้วย พระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ พระกระบี่ธุชครุฑพ่าห์ ประวัติพระอัฐิในหอพระนาค และบทละครเบิกโรง เรื่องดึกดำบรรพ์
 
ความทรงจำของข้าพเจ้า
ความทรงจำของข้าพเจ้า

 

ชื่อเรื่อง : ความทรงจำของข้าพเจ้า
ชื่อผู้แต่ง : อดิศรอุดมศักดิ์, กรมหมื่น
ปีที่พิมพ์ : 2495
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า : 42 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในงานมงคลดิถี ฉลองพระชันษาครบ 6 รอบ และเฉลิมพระอิสริยยศ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ วันที่ 24 ตุลาคม 2495 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเมืองพิษณุโลกที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อครั้งรับราชการ ณ เมืองนี้เป็นเวลา 19 ปี
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง

 

ชื่อเรื่อง : ไตรภูมิพระร่วง
ชื่อผู้แต่ง : พระญาลิไทย
ปีที่พิมพ์ : 2406
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา
จำนวนหน้า : 348 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือไตรภูมิพระร่วงนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีหลักฐานน่าเชื่อว่าฉบับเดิมได้แต่งตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย โดยพระญาลิไทย พระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย ซึ่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงนี้เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่นับถือกันแพร่หลายมาแต่โบราณ กล่าวถึงคติความเชื่อของชาวไทยในเรื่องพระพุทธศาสนา เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ เป็นต้น
 
แนะนำวัดเบญจมบพิตรดุสินตวนาราม
แนะนำวัดเบญจมบพิตรดุสินตวนาราม

 

ชื่อเรื่อง : แนะนำวัดเบญจมบพิตรดุสินตวนาราม
ชื่อผู้แต่ง : พระมหาชลธีร์ ธรรมวรางกู 
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา
จำนวนหน้า : 168 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหากล่าวถึงวัดเบญจมบพิตรดุสินตวนาราม ในเรื่องของประวัติความเป็นมาของวัด ตลอดจนศาสนวัตถุและศาสนสถานที่สำคัญภายในวัด เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของวัดให้แพร่หลายยิ่งๆ ขึ้นไป
 
เรื่องเมืองสวรรค์ ของ เสฐียรโกเศศ พิมพ์อุทิศในงานฌาปนกิจศพ นางล้วน คุ้มรอด ชื่อผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
เรื่องเมืองสวรรค์ ของ เสฐียรโกเศศ พิมพ์อุทิศในงานฌาปนกิจศพ นางล้วน คุ้มรอด ชื่อผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน

 

ชื่อเรื่อง : เรื่องเมืองสวรรค์ ของ เสฐียรโกเศศ พิมพ์อุทิศในงานฌาปนกิจศพ นางล้วน คุ้มรอด
ชื่อผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 72 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่พิมพ์อุทิศในงานฌาปนกิจศพ นางล้วน คุ้มรอด ณ วัดโปรดเกตุเชฎฐาราม วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ภายในเล่มได้รวมเรื่องเมืองสวรรค์ ของเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ไว้ด้วย ซึ่งเรื่องเมืองสวรรค์นี้มีเนื้อหากล่าวถึงเมืองสวรรค์และชาวสวรรค์ตามที่มีกล่าวไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง
 
เรียงความยอพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับได้รางวัลที่ ๑ เริ่มแต่พุทธศักราช ๒๔๖๓-๒๔๙๙
เรียงความยอพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับได้รางวัลที่ ๑ เริ่มแต่พุทธศักราช ๒๔๖๓-๒๔๙๙

 

ชื่อเรื่อง : เรียงความยอพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับได้รางวัลที่ ๑ เริ่มแต่พุทธศักราช ๒๔๖๓-๒๔๙๙
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 308 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเรียงความที่ชนะการประกวดในวาระ 50 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเรียงความเพื่อเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันกล่าวถึงพระราชกรณียกิจอันควรที่ชาวไทยจะได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ ของพระองค์ท่าน
 
เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๓ และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร
เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๓ และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร

 

ชื่อเรื่อง : เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๓ และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 142 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2510 ภายในเล่มได้รวมเรื่องเจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๓ และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน ซึ่งเอกสารเหล่านี้ถือเป็นเอกสารสำคัญในด้านประวัติศาสตร์การปกครองของไทย เพราะทำให้ทราบว่าความคิดริเริ่มที่จะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นได้มีขึ้นในเมืองไทยมาช้านานแล้ว และที่สำคัญคือความคิดเหล่านี้ได้เกิดขึ้นจากบรรดาเจ้านายและขุนนาง และได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยยังคงใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  
 
อลังการศาสตร์ ของ วาคฺภฏ (ป.ส.ศาสตรี แปล) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพคุณหญิงริ้ว เกษตรหิรัญรักษ์
อลังการศาสตร์ ของ วาคฺภฏ (ป.ส.ศาสตรี แปล) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพคุณหญิงริ้ว เกษตรหิรัญรักษ์

 

ชื่อเรื่อง : อลังการศาสตร์ ของ วาคฺภฏ (ป.ส.ศาสตรี แปล) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพคุณหญิงริ้ว เกษตรหิรัญรักษ์
ชื่อผู้แต่ง :
ปีที่พิมพ์ : 2504
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 116 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพคุณหญิงริ้ว เกษตรหิรัญรักษ์ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ภายในเล่มได้มีเรื่องอลังการศาสตร์เอาไว้ด้วย ซึ่งเรืองนี้ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต เป็นวิชาว่าด้วยการแต่งคำประพันธ์
 
เสภาเรื่องอาบูหะซัน แต่งโดยกระแสรับสั่ง เมื่อในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท ขาบ นิลกุล
เสภาเรื่องอาบูหะซัน แต่งโดยกระแสรับสั่ง เมื่อในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท ขาบ นิลกุล

 

ชื่อเรื่อง : เสภาเรื่องอาบูหะซัน แต่งโดยกระแสรับสั่ง เมื่อในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท ขาบ นิลกุล
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 110 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท ขาบ นิลกุล ณ ฌาปนสถาน กองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2510 ภายในเล่มได้รวมเสภาเรื่องอาบูหะซันเอาไว้ด้วย ซึ่งเรื่องอาบูหะซันนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสืออาหรับราตรี เรื่องนิทราชาคริช แล้วโปรดให้กวีช่วยกันแต่งเรื่องนี้เป็นเสภาสำหรับขับถวายเวลาทรงเครื่องใหญ่ จึงกลายเป็นเสภาเรื่องอาบูหะซัน โดยมีกวีแต่งอยู่ 11 คนด้วยกัน
 
สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโอ้ สุนทรศารทูล
สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโอ้ สุนทรศารทูล

 

ชื่อเรื่อง : สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโอ้ สุนทรศารทูล
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 70 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานงานฌาปนกิจศพ นายโอ้ สุนทรศารทูล ณ เมรุวัดห้วยกระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภายในเล่มได้รวมเรื่องสุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรีเอาไว้ด้วย ซึ่งสุภาษิตอิศรญาณนั้นเป็นของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 2 กรมหลวงมหิศวรินทราเมศร์ทรงแต่ง ส่วนสุภาษิตสอนเด็กนั้นไม่ปรากฏนามผู้แต่ง และสุภาษิตสอนสตรีนั้นเป็นของสุนทรภู่ 
 
สุภาษิตสามอย่าง พระอุปัชฌาย์ สอาด เสฏฐปญฺโณ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสุด ไวยบุญญา
สุภาษิตสามอย่าง พระอุปัชฌาย์ สอาด เสฏฐปญฺโณ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสุด ไวยบุญญา

 

 
ชื่อเรื่อง : สุภาษิตสามอย่าง พระอุปัชฌาย์ สอาด เสฏฐปญฺโณ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสุด ไวยบุญญา
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2502
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 124 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสุด ไวยบุญญา ณ เมรุวัดหนองน้ำส้ม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ภายในเล่มได้รวมคำกลอนสุภาษิตไว้เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานด้วย นั่นคือสุภาษิตสามอย่าง ได้แก่ สวัสดิรักษา สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนหญิง
 
สุภาษิตสอนสตรี สวัสดิรักษาคำกลอนและเพลงยาวถวายโอวาท ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนยรรยงกิจจากร [ยง (อนุบรรยงก์) ยรรยง]
สุภาษิตสอนสตรี สวัสดิรักษาคำกลอนและเพลงยาวถวายโอวาท ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนยรรยงกิจจากร [ยง (อนุบรรยงก์) ยรรยง]

 

ชื่อเรื่อง : สุภาษิตสอนสตรี สวัสดิรักษาคำกลอนและเพลงยาวถวายโอวาท ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนยรรยงกิจจากร [ยง (อนุบรรยงก์) ยรรยง]
ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 276 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ขุนยรรยงกิจจากร ยง (อนุบรรยงก์) ยรรยง ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2512 โดยได้รวมเรื่องสุภาษิตสอนสตรี สวัสดิรักษาคำกลอนและเพลงยาวถวายโอวาท ของสุนทรภู่ รวมไว้ในเล่มนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นคำกลอนที่มีคุณค่าให้ข้อคิด และเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อไป
 
สุชินคำกาพย์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒน์ภักดี (ตา เจริญยิ่ง)
สุชินคำกาพย์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒน์ภักดี (ตา เจริญยิ่ง)

 

ชื่อเรื่อง : สุชินคำกาพย์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒน์ภักดี (ตา เจริญยิ่ง)
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 154 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒน์ภักดี (ตา เจริญยิ่ง) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ณ เมรุวัดธาตุทอง ภายในเล่มได้พิมพ์เรื่องสุบินคำกาพย์ไว้เป็นกุศลสาธารณะประโยชน์รวมไว้ด้วย โดยเรื่องสุบินคำกาพย์นี้เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทั้งในด้านวรรณคดีและด้านจริยศึกษา เนื้อเรื่องเป็นนิทานคติธรรมสอนใจให้เห็นโทษของการทำบาป และคุณของการทำบุญ 
 
สำเนาพระธรรมเทศนาและคติพจน์-บทประพันธ์ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ
สำเนาพระธรรมเทศนาและคติพจน์-บทประพันธ์ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ

 

ชื่อเรื่อง : สำเนาพระธรรมเทศนาและคติพจน์-บทประพันธ์ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2500
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 278 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พุทธสรมหาเถระ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2500 ภายในเล่มได้มีเรื่องสำเนาพระธรรมเทศนา ซึ่งพระเถรานุเถระถวายและแสดงที่ประดิษฐานโกศศพเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ รวม 38 กัณฑ์ แต่ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมมาเพียง 18 กัณฑ์ นอกจากนั้นยังมีเรื่องวุฑฒาจริยานุสสติกถา และคติพจน์บทประพันธ์จากพระเถระผู้ใหญ่กับท่านผู้ทรงเกียรติรวมอยู่ด้วย
 
สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวถโท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)ป.ม.,ท.จ.ว.
สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวถโท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)ป.ม.,ท.จ.ว.

 

ชื่อเรื่อง : สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ ของ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวถโท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)ป.ม.,ท.จ.ว.
ชื่อผู้แต่ง : กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ปีที่พิมพ์ : 2492
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 250 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาเสวถโท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ป.ม.,ท.จ.ว. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 ซึ่งได้พิมพ์เรื่องสาส์นสมเด็จไว้แจกเป็นอนุสรณ์รวมอยู่ด้วย โดยเรื่องสาส์นสมเด็จเป็นลายพระหัตถ์ทรงมีไปมาโต้ตอบกันในระหว่างสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มต้นต้นแต่พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2486 
 
 
สังขารนคร น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร พิมพ์ช่วยในงาน พระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล)
สังขารนคร น.อ.หลวงสำรวจวิถีสมุทร พิมพ์ช่วยในงาน พระราชทานเพลิงศพ พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล)
ชื่อเรื่อง : สาวิตรี ความเรียง และบทละครร้อง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสมศักดิ์ ตามไท
ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 130 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายสมศักดิ์ ตามไท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม และภายในเล่มได้มีเรื่องสาวิตรี พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 พิมพ์ไว้แจกเป็นอนุสรณ์ด้วย ซึ่งเรื่องสาวิตรีเป็นเรื่องแสดงถึงอำนาจแห่งความรักและความภักดีอันยิ่งใหญ่ที่ภริยามีต่อสามี
 
 
สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาทและสุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญสุทธิ์ ณ นคร
สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาทและสุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญสุทธิ์ ณ นคร

 

ชื่อเรื่อง : สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาทและสุภาษิตสอนสตรี ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญสุทธิ์ ณ นคร
ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 110 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญสุทธิ์ ณ นคร ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2510 ซึ่งภายในเล่มได้รวมคำกลอนของสุนทรภู่เรื่องสวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนสตรีไว้แจกเป็นอนุสรณ์ด้วย
 
 
สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล ของ กรมศิลปากร พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ
สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล ของ กรมศิลปากร พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ

 

ชื่อเรื่อง : สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล ของ กรมศิลปากร พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ
ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 144 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนายนกยูง พงษ์สามารถ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ณ เมรุวัดธาตุทอง ซึ่งภายในเล่มได้มีเรื่องสมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพลของกรมศิลปากร รวมเล่มอยู่ด้วย โดยมีเนื้อหากล่าวถึงการสำรวจและขุดค้นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุจากบริเวณเขื่อนภูมิพล
 
ลิลิตพระลอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท นายแพทย์ สวน กมลนาวิน ร.น.
ลิลิตพระลอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท นายแพทย์ สวน กมลนาวิน ร.น.

 

ชื่อเรื่อง : ลิลิตพระลอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท นายแพทย์ สวน กมลนาวิน ร.น.
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 192 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนาวาโท นายแพทย์ สวน กมลนาวิน ร.น. ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โดยภายในเล่มได้มีเรื่องลิลิตพระลอพิมพ์เป็นอนุสรณ์รวมอยู่ด้วย ซึ่งหนังสือเรื่องลิลิตพระลอนั้นถือเป็นเรื่องเอกของวรรณคดี และในหมู่ผู้อ่านถือเป็นยอดของลิลิตอีกด้วย
 
ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณสร้างตลาดสำหรับเมืองสร้างเมือง พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายดาว บุปผเวส จ.ม., บช.
ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณสร้างตลาดสำหรับเมืองสร้างเมือง พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายดาว บุปผเวส จ.ม., บช.
 
 ชื่อเรื่อง : ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณสร้างตลาดสำหรับเมืองสร้างเมือง พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายดาว บุปผเวส จ.ม., บช.
ชื่อผู้แต่ง : กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 118 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายดาว บุปผเวส ณ เมรุวัดราษฎรบำรุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งในตัวเล่มได้มีเรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณสร้างตลาดสำหรับเมืองสร้างเมือง พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รวมเป็นเล่มเดียวกันเพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ด้วย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และการปกครองของไทย
 
เรื่องพระร่วง พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวิภาพร ภูมิจิตร
เรื่องพระร่วง พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวิภาพร ภูมิจิตร

 

ชื่อเรื่อง : เรื่องพระร่วง พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวิภาพร ภูมิจิตร
ชื่อผู้แต่ง : กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 68 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ที่พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนางวิภาพร ภูมิจิตร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร ซึ่งในตัวเล่มได้มีเรื่องพระร่วง พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์อยู่ด้วย โดยเรื่องพระร่วงเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย ว่าเคยมีความเจริญความเสื่อม มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นอย่างไรนั่นเอง
 
รวมเรื่องเพชรบุรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนิพัทธ์สุริยานุวงศ์ (อาย บุนนาค)
รวมเรื่องเพชรบุรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนิพัทธ์สุริยานุวงศ์ (อาย บุนนาค)

 

ชื่อเรื่อง : รวมเรื่องเพชรบุรี พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนิพัทธ์สุริยานุวงศ์ (อาย บุนนาค)
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2502
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 80 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่พิมพ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพคุณหญิงนิพัทธ์สุริยานุวงศ์ (อาย บุนนาค) เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2501 ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม โดยในตัวเล่มได้พิมพ์เรื่อง รวมเรื่องเพชรบุรี ไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รวบรวมข้อความเกี่ยวกับเพชรบุรีที่ปรากฏอยู่ในหนังสือต่างๆ
 
เพลงยาวกลบทและกลอักษร แต่งจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลที่ 3 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี
เพลงยาวกลบทและกลอักษร แต่งจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลที่ 3 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี

 

ชื่อเรื่อง : เพลงยาวกลบทและกลอักษร แต่งจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลที่ 3 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี
ชื่อผู้แต่ง : มนู นาคามดี
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์
จำนวนหน้า : 238 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เพลงยาวกลบทและกลอักษร แต่งจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลที่ 3 เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี เพลงยาวกลบทและกลอักษรนี้พิมพ์รวมอยู่ในชุดประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ เล่ม 2 จำพวกบทกลอนหมวดวรรณคดี ในการพิมพ์คราวนี้ ได้นำอธิบายตำนานเพลงยาวกลบท ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในฉบับพิมพ์แจกในงานเฉลิมพระชันษาครบ 60 ปี บริบูรณ์ ของ สมเด็จพระศรีสวิรนทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อ พ.ศ.2465 มาลงพิมพ์ไว้ด้วย
 
พระอภัยมณี (ตอนที่ 31-35) ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมนัศมานิต (ชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา)
พระอภัยมณี (ตอนที่ 31-35) ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมนัศมานิต (ชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา)

 

ชื่อเรื่อง : พระอภัยมณี (ตอนที่ 31-35) ของ สุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมนัศมานิต (ชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา)
ชื่อผู้แต่ง : สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ
จำนวนหน้า : 206 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเรื่องพระอภัยมณีนี้ สุนทรภู่ กวีเอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้แต่งขึ้น เป็นคำกลอนที่มีความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยิ่ง ความสำคัญและความดีเด่นของหนังสือเรื่องพระอภัยมณีนี้ ผู้สนใจจะศึกษาได้จากพระนิพนธ์อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์และได้ตีพิมพ์ไว้ตอนต้นของหนังสือเรื่องพระอภัยมณีที่ได้พิมพ์ออกจำหน่ายทุกเล่ม
 
พระราชหัตเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยืนยง วรโพธิ์ และเด็กหญิงสุภาวดี วรโพธิ์
พระราชหัตเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยืนยง วรโพธิ์ และเด็กหญิงสุภาวดี วรโพธิ์

 

ชื่อเรื่อง : พระราชหัตเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยืนยง วรโพธิ์ และเด็กหญิงสุภาวดี วรโพธิ์
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : 
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต
จำนวนหน้า : 150 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระราชหัตเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นี้ เจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ.รัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นครั้งแรกในงานฉลองอายุครบ 60 ทัศ เมื่อปีจอ พ.ศ.2465 พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ.2492 พระภิกษุสามเณร วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์ถวายในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ 60 พรรษา แห่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
 
พระราชปรารถ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเหตุแห่งความตายในท่ามกลางอายุ และ เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ (คัดจากพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2) พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนาคราชกำแหงประแดงบุรีนายก (ม.ร.ว. หญิง เจือ คชเสนี)
พระราชปรารถ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเหตุแห่งความตายในท่ามกลางอายุ และ เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ (คัดจากพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2) พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนาคราชกำแหงประแดงบุรีนายก (ม.ร.ว. หญิง เจือ คชเสนี)

 

ชื่อเรื่อง : พระราชปรารถ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเหตุแห่งความตายในท่ามกลางอายุ และ เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ (คัดจากพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2) พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนาคราชกำแหงประแดงบุรีนายก (ม.ร.ว. หญิง เจือ คชเสนี)
ชื่อผู้แต่ง : นาคราชกำแหงประแดงบุรีนายก,คุณหญิง
ปีที่พิมพ์ : 2501
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การพิมพ์พาณิชย์
จำนวนหน้า : 30 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงนาคราชกำแหงประแดงบุรีนายก (ม.ร.ว. หญิง เจือ คชเสนี) ณ วัดพญาปราบฯ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรสาคร พระราชปรารถ ในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเหตุแห่งความตายในท่ามกลางอายุ ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชทานให้พิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ เมื่อ พ.ศ.2431 พระราชพงศวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 2 ฉบับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ หน้า 171 ว่าด้วยเรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
 
พระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ.2417 ถึง พ.ศ.2453) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. ทองเถา ทองแถม
พระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ.2417 ถึง พ.ศ.2453) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. ทองเถา ทองแถม

 

ชื่อเรื่อง : พระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ.2417 ถึง พ.ศ.2453) พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. ทองเถา ทองแถม
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : -
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด
จำนวนหน้า : 338 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเรื่องพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ รวบรวมมาจากพระราชดำรัสซึ่งลงพิมพ์แยกย้ายอยู่ในที่ต่างๆ หลายแห่ง เช่นในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2417 ถึง พ.ศ.2453 และตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในงานศพ อำพัน บุรณศิริ เมื่อพ.ศ. 2458 มาบัดนี้เวลาล่วงเลยมานานแล้ว ทั้งฉบับก็หาอ่านได้ยาก กรมศิลปากรจึงอนุญาตให้จัดพิมพ์อีก นับเป็นการพิมพ์ครั้งที่สอง อนึ่ง ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำคำนำซึ่งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กระพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2458 มาตีพิมพ์ต่อจากคำนำนี้แล้ว
 
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเปรม เปี่ยมมงคล
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเปรม เปี่ยมมงคล

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเปรม เปี่ยมมงคล
ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีภัณฑ์,หลวง
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ลมูลจิตต์
จำนวนหน้า : 72 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ประกอบด้วยเรื่องราวดังนี้ มูลเหตุที่สร้างพระพุทธรูป พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย พระพุทธรูปสมัยทวารวดี ลักษณะพระพุทธรูปสมัยทวารวดี พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย ลักษณะพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย พระพุทธรูปสมัยลพบุรี ลักษณะพระพุทธรูปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ลักษณะพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยศรีอยุธยา ลักษณะพระพุทธรูปสมัยศรีอยุธยา พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ พร้อมรูปภาพประกอบของพระพุทธรูปแบบต่างๆ 
 
พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญเชิด ศุภมณี และนายประสิทธิ์ พรหมสาขา ณสกลนคร
พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญเชิด ศุภมณี และนายประสิทธิ์ พรหมสาขา ณสกลนคร

 

ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญเชิด ศุภมณี และนายประสิทธิ์ พรหมสาขา ณสกลนคร
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : บริษัท ชุมนุมช่าง จำกัด
จำนวนหน้า : 96 หน้า
สาระสังเขป : พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้จัดพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งมีไปพระราชทานพระบรมโอรสาธิราช ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศภาคหนึ่ง และอีกภาคหนึ่งเป็นพระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2428 พระบรมราโชวาทภาคหลังนี้ แม้จะทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเฉพาะสำหรับแนะนำสั่งสอนพระเจ้าลูกยาเอในกาลหนึ่ง แต่เนื้อความล้วนเป็นคติสอนใจที่เป็นผลให้แก่ผู้อ่านทั่วไป โดยเฉพาะกุลบุตร กุลิดา ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเล่าเรียน
 
พระบรมราโชวาทในงานวิสาขบูชาและแสดงคุณานุคุณ พระบรมราชานุศาสนี ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมราโชวาทในงานวิสาขบูชาและแสดงคุณานุคุณ พระบรมราชานุศาสนี ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทในงานวิสาขบูชาและแสดงคุณานุคุณ พระบรมราชานุศาสนี ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระ
ปีที่พิมพ์ : 2500
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 98 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเกี่ยวกับวิสาขบูชาเล่มนี้ได้ถูกตีพิมพ์ด้วยเหตุ 2 ประการคือ ประการที่ 1 พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นนับจำเดิมแต่วันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุ 2500 พรรษาซึ่งชาวโลกตื่นเต้นฉลองและเรียกว่า 25 พุทธศตวรรษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือนานาชนิดอยู่มากมาย จึงเป็นการสมควรที่จะพิมพ์หนังสือพระราชนิพนธ์ซึ่งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ประการที่ 2 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในวันมหามงคลวิสาขบูชายิ่งนัก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชามาตั้งแต่ครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศพระยุพราช หรือมหามกุฏราชกุมาร ในราชกาลที่ 5 ในวันวิสาขบูชานี้เสด็จทรงธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทั้ง 2 ราตรี 
 
พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระผจงธนสาร (สิงยุวชิต)
พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระผจงธนสาร (สิงยุวชิต)

 

ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระผจงธนสาร (สิงยุวชิต)
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2505
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์
จำนวนหน้า : 92 หน้า
สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์ที่พิมพ์ในเล่มนี้ มี 2 เรื่อง คือ พระบรมราโชวาท พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 องค์ และพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต นับว่าเป็นคำสั่งสอนทั้ง 2 เรื่อง จะต่างกันก็เพียงแต่พระบรมราโชวาทนั้นเป็นคำสอนสำหรับผู้อยู่ในวัยเล่าเรียนศึกษา ส่วนโคลงสุภาษิตเป็นคำสอนสำหรับบุคคลทุกวัย และพระบรมราโชวาทเป็นคำร้อยแก้ว ส่วนโคลงสุภาษิตเป็นคำร้อยกรอง แต่ก็ไพเราะและเป็นคติจับใจผู้อ่านผู้ฟังทั้ง 2 เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงขวนขวายให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนพลเมือง ตลอดมา ดังจะเห็นได้จากที่ได้โปรดให้จัดดตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งในเวลานั้นยังเรียกว่า “โรงสอน” แล้วโปรดให้ประกาศชักชวนข้าราชการส่งลูกหลานเข้าเรียน เมื่อพ.ศ.2417
 
พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเชื้อ ณ สงขลา
พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเชื้อ ณ สงขลา

 

ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเชื้อ ณ สงขลา
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2487
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
จำนวนหน้า : 86 หน้า
สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์ที่พิมพ์ในเล่มนี้ มี 2 เรื่อง คือ พระบรมราโชวาท พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 องค์ และพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต นับว่าเป็นคำสั่งสอนทั้ง 2 เรื่อง จะต่างกันก็เพียงแต่พระบรมราโชวาทนั้นเป็นคำสอนสำหรับผู้อยู่ในวัยเล่าเรียนศึกษา ส่วนโคลงสุภาษิตเป็นคำสอนสำหรับบุคคลทุกวัย และพระบรมราโชวาทเป็นคำร้อยแก้ว ส่วนโคลงสุภาษิตเป็นคำร้อยกรอง แต่ก็ไพเราะและเป็นคติจับใจผู้อ่านผู้ฟังทั้ง 2 เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงขวนขวายให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนพลเมือง ตลอดมา ดังจะเห็นได้จากที่ได้โปรดให้จัดดตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งในเวลานั้นยังเรียกว่า “โรงสอน”
 
พงศาวดารเมืองสงขลา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอื้อ (เอื้อน) ณ สงขลา
พงศาวดารเมืองสงขลา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอื้อ (เอื้อน) ณ สงขลา
 
ชื่อเรื่อง : พงศาวดารเมืองสงขลา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอื้อ (เอื้อน) ณ สงขลา
ชื่อผู้แต่ง : วิเชียรคิรี,พระยา (ชม ณ สงขลา)
ปีที่พิมพ์ : 2501
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้
จำนวนหน้า : 64 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเรื่อง พงศาวดารเมืองสงขลานี้ เป็นเรื่องเหมาะในการจัดพิมพ์แจกงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอื้อ (เอื้อน) ซึ่งเป็นผู้สืบสกุล ณ สงขลา ผู้หนึ่ง เพราะพงศาวดารเมืองสงขลานี้ นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองสงขลาแล้ว ยังได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของต้นสกุล ณ สงขลา สืบต่อกันลงมาในด้านเกียรติประวัติ เป็นคู่กันกับเรื่องราวของเมืองสงขลาอีกด้วย นับว่าเป็นเครื่องเชิดชูสกุล ณ สงขลา
 
พงศาวดาร มอญพม่า คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระศัลยเวทวิศิษฏ์ ป.ม., ท.ช. (สาย คชเสนี)
พงศาวดาร มอญพม่า คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระศัลยเวทวิศิษฏ์ ป.ม., ท.ช. (สาย คชเสนี)

 

ชื่อเรื่อง : พงศาวดาร มอญพม่า คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระศัลยเวทวิศิษฏ์ ป.ม., ท.ช. (สาย คชเสนี)
ชื่อผู้แต่ง : ศัลยเวทยวิศิษฏ์,พระ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 234 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเรื่องพงศาวดารมอญพม่านี้ พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ รวม 6 เรื่อง คือ 1.พงศาวดารเหนือ 2. พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ 3.เรื่องครั้งกรุงสุโขทัยตามศิลาจารึก 4.พงศาวดารเขมร 5. พงศาวดารพม่ารามัญ 6.พงศาวดารล้านช้าง หนังสือพงศาวดารมอญพม่า มีเรื่องมาแต่ พลตรี พระศัลเวทยวิศิษฏ์ เป็นผู้อยู่ในสกุลคชเสนี ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) หรือพระยาแจ่ง เชื้อสายมอญ และได้เป็นหัวหน้าพาครอบครัวมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ.2318 และได้รับราชการมีความดีความชอบในงานพระราชสงครามกับพม่าหลายครั้งจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าพระยามหาโยธา
 
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนคลองเตยบริบาล (เสริม เข็มขจร)
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนคลองเตยบริบาล (เสริม เข็มขจร)

 

ชื่อเรื่อง : ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนคลองเตยบริบาล (เสริม เข็มขจร)
ชื่อผู้แต่ง : อนุมานราชธน,พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2505
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บุญส่งการพิมพ์
จำนวนหน้า : 122 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเรื่องนี้ เป็นเรื่องหนึ่งในบรรดางานของเสฐียรโกเศศ ซึ่งผู้ทรงลิขสิทธิ์ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ได้ นอกจากหนังสือเรื่องนี้ยังมีหนังสือในด้านวรรณคดี อักษรศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศาสนา  ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมศิลป และเรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ซึ่งผู้สนใจจะขออนุญาตจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นวิทยาทานได้อีกหลายเรื่อง จะขอดูรายชื่อได้ ณ แผนกอักษรศาสตร์และวรรณคดี กองวรรณคดีและประวัติสาสตร์ กรมศิลปากร 
 
ประเพณีทำบุญ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโชติ อิงอร่าม
ประเพณีทำบุญ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโชติ อิงอร่าม

 

ชื่อเรื่อง : ประเพณีทำบุญ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโชติ อิงอร่าม
ชื่อผู้แต่ง : โชติ อิงอร่าม
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประเสริฐอักษร
จำนวนหน้า : 92 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเรื่องประเพณีทำบุญนี้ นายเสฐียร พันธรังษีเปรียญ เป็นผู้แต่งร่วมกับ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ และกรมศิลปากรได้รวบรวมพิมพ์ไว้ในประเพณีเกี่ยวกับชีวิตหลายครั้งมาแล้ว ประเพณีการทำบุญนี้เป็นประเพณีเกี่ยวกับบุคคลทั่วไปจำเป็นต้องใช้ปฏิบัติ ฉะนั้นการที่นายพันตำรวจตรีสวัสดิ์ อิงอร่าม ได้เลือกพิมพ์หนังสือนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จึงนับว่าเป็นประโยชน์ยิ่ง
 
ประเพณีเก่าของไทย ประเพณีเนื่องในการตายของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางเยื้อน เรืองญาณ
ประเพณีเก่าของไทย ประเพณีเนื่องในการตายของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางเยื้อน เรืองญาณ

 

ชื่อเรื่อง : ประเพณีเก่าของไทย ประเพณีเนื่องในการตายของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางเยื้อน เรืองญาณ
ชื่อผู้แต่ง : อนุมานราชธน,พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสาสน์
จำนวนหน้า : 90 หน้า 
สาระสังเขป : ประเพณีเนื่องในการตายนี้ เสฐียรโกเศศ ได้เขียนขึ้นรวมอยู่ในชุด “ประเพณีเก่าของไทย” โดยแบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1.ประเพณีเนื่องในการเกิด การเลี้ยงดู และการศึกษาเล่าเรียน 2. ประเพณีเนื่องในการแต่งงาน 3. ประเพณีเนื่องในสร้างบ้านปลูกเรือน 4. ประเพณีเนื่องในการเป็นอยุ่ของชาวไทย มีการทำบุญ การสนุกรื่นเริงฯ 5.ประเพณีเนื่องในการตาย การเขียนแต่ละเรื่อง ผู้เขียนไม่ได้เขียนเป็นลำดับข้างต้น เมื่อเห็นว่าตอนใดรวบรวมหลักฐานได้พอใจของผู้เขียนแล้ว ก็เขียนขึ้น เสฐียรโกเศศได้เขียนคำชี้แจงประเพณีเกี่ยวกับการตายนี้ไว้ เมื่อพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2482 ดังได้นำมาตีพิมพ์ต่อจากคำนำนี้แล้ว
 
ประเพณีเก่าของไทย ประเพณีเนื่องในการตาย ของ เสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุวิชญ์ นาคศิลป์
ประเพณีเก่าของไทย ประเพณีเนื่องในการตาย ของ เสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุวิชญ์ นาคศิลป์

 

ชื่อเรื่อง : ประเพณีเก่าของไทย ประเพณีเนื่องในการตาย ของ เสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุวิชญ์ นาคศิลป์
ชื่อผู้แต่ง : อนุมานราชธร,พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ส.การพิมพ์ 
จำนวนหน้า : 126 หน้า
สาระสังเขป : ประเพณีเนื่องในการตายนี้ เสฐียรโกเศศ ได้เขียนขึ้นรวมอยู่ในชุด “ประเพณีเก่าของไทย” โดยแบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1.ประเพณีเนื่องในการเกิด การเลี้ยงดู และการศึกษาเล่าเรียน 2. ประเพณีเนื่องในการแต่งงาน 3. ประเพณีเนื่องในสร้างบ้านปลูกเรือน 4. ประเพณีเนื่องในการเป็นอยุ่ของชาวไทย มีการทำบุญ การสนุกรื่นเริงฯ 5.ประเพณีเนื่องในการตาย การเขียนแต่ละเรื่อง ผู้เขียนไม่ได้เขียนเป็นลำดับข้างต้น เมื่อเห็นว่าตอนใดรวบรวมหลักฐานได้พอใจของผู้เขียนแล้ว ก็เขียนขึ้น เสฐียรโกเศศได้เขียนคำชี้แจงประเพณีเกี่ยวกับการตายนี้ไว้ เมื่อพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2482 
 
ประชุมโอวาท พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเกษม ปัณฑรางกูร
ประชุมโอวาท พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเกษม ปัณฑรางกูร

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมโอวาท พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเกษม ปัณฑรางกูร
ชื่อผู้แต่ง : เกษม ปัณฑรางกูร
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี
สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล อาทรการพิมพ์
จำนวนหน้า : 74 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประชุมโอวาทนี้ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสภานายกหอสมุดวชิรญาณ ได้โปรดให้พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เปรียญ เลขานุการในหอพระสมุดฯ รวบรวมขึ้นจากพระบรมราโชวาท พระโอวาทของเจ้านายและจากโอวาทของท่านผู้ทรงเกียรติคุณเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย เพื่อนำออกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (อู๋ ไกรฤกษ์) เมื่อ พ.ศ.2468
 
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ลม้าย อุทยานานนท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม.
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ลม้าย อุทยานานนท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม.

 

ชื่อเรื่อง :  ประชุมพงศาวดารภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ลม้าย อุทยานานนท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม.
ชื่อผู้แต่ง : ฟอร์บัง,เชวาลิเอร์ เดอะ
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : -
จำนวนหน้า : 218 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง เป็นเรื่องราวของเชวาลิเอร์ เดอะ ฟอร์บัง ผู้เขียนเรื่องนี้เป็นนายเรือโท เข้ามากับคณะทูตฝรั่งเศส ซึ่งสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงแต่งตั้งเป็นทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นครั้งแรก เมื่อพ.ส. 2228 ในคณะทูตครั้งนั้น เชวาลิเอร์ เดอะ โชมองต์ เป็นราชทูต เมื่อคณะทูตจะกลับออกไปจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรัสขอฟอร์บังไว้รับราชการ แล้วทรงแต่งตั้งให้เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น ออกพระศักดิสงคราม เป็นข้าราชการหนุ่มและเป็นผู้เกิดในสกุลขุนนาง นัยว่าเป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง ว่องไว แต่โทโสร้าย ปากร้าย  
 
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่าพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาประสาทวิริยกิจ(เชย ชัยประภา)
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่าพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาประสาทวิริยกิจ(เชย ชัยประภา)

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63 เรื่องกรุงเก่าพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาประสาทวิริยกิจ(เชย ชัยประภา)
ชื่อผู้แต่ง : ประสาทวิริยกิจ,พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : หจกเกษมสุวรรณ
จำนวนหน้า : 242 หน้า
สาระสังเขป : เรื่องที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63 นี่ คือ 1. เรื่องแก้คดีพระเจ้าปราสาททอง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) แก้ถวายตามความคิดเห็น 2. เรื่องตำนานกรุงเก่า ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์เรียบเรียงพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระราชพิธีรัชมงคล เมื่อ ร.ศ.123 (พ.ศ.2450) มีคำนำของผู้เรียบเรียงบอกความมุ่งหมายในการเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ พิมพ์ไว้ข้างต้นของเรื่องด้วย 
 
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 55 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงรุจิ ศรีวรรณวัฑฒ์
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 55 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงรุจิ ศรีวรรณวัฑฒ์

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 55 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงรุจิ ศรีวรรณวัฑฒ์
ชื่อผู้แต่ง : รุจิ ศรีวรรณวัฑฒ์
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เทียนทองวัฒนา
จำนวนหน้า : 44 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 55 ว่าด้วยเรื่องอังกฤษเข้ามาทำสัญญากับไทย ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อังกฤษได้ทำไมตรีกับไทยในสมัยรัตนโกสินทร์นับเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อค้าขาย ในสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี หนังสือเรื่องนี้ เดิมพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือพระราชวงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
 
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหารกับตำนานกรมทหารราบที่ 4พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิงวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ท.จ.
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหารกับตำนานกรมทหารราบที่ 4พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิงวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ท.จ.

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหารกับตำนานกรมทหารราบที่ 4พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิงวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ท.จ.
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 98 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23นี้ ประกอบด้วยเรื่องตำนานการเกณฑ์ทหาร กับเรื่องตำนานกรมทหารราบที่4 เรื่องตำนานการเกณฑ์ทหารนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงขึ้นถวาย จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 4 เพื่อจัดพิมพ์แจกเป็นครั้งแรกในงานฉลองโล่หลวง ที่กรมทหารราบที่ 4 ได้รับพระราชทานเนื่องในการชนะแข่งขันยิงปืนยาว เมื่อพ.ศ.2464 
 
ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกาญจน์ พันธ์ฤกษ์
ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกาญจน์ พันธ์ฤกษ์

 

 
ชื่อเรื่อง : ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกาญจน์ พันธ์ฤกษ์
ชื่อผู้แต่ง : 
ปีที่พิมพ์ : 2499
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : บริษัท ไทยหัตถการพิมพ์
จำนวนหน้า : 102 หน้า
สาระสังเขป : ด้วยนายเหลื่อม พันธ์ฤกษ์ ได้มาติดต่อ ณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เพื่อขออนุญาตจัดพิมพ์ประชุมกลอนสุภาษิตสุนทรภู่ อันมีเรื่องสวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนตรี ตีพิมพ์อยู่รวม 3 เรื่อง ด้วยกัน เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกาญจน์ พันธ์ฤกษ์ ผู้เป็นบิดา เรื่องทั้ง 3 นี้ มีอธิบายความเป็นมา ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์  ได้นำมาจัดพิมพ์ไว้ ณ เบื้องต้นของเรื่องด้วย
บุคคลภาษิตในสามก๊กและคติธรรมจากชัยพฤกษ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ ท.ม., ต.จ.ว., ต.ช.
บุคคลภาษิตในสามก๊กและคติธรรมจากชัยพฤกษ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ ท.ม., ต.จ.ว., ต.ช.

 

ชื่อเรื่อง : บุคคลภาษิตในสามก๊กและคติธรรมจากชัยพฤกษ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ ท.ม., ต.จ.ว., ต.ช.
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2506
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์
จำนวนหน้า : 86 หน้า
สาระสังเขป :นายเปลื้อง ณ นคร และเพื่อนๆ ร่วมชั้นร่วมรุ่นกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์ พร้อมใจกันจัดพิมพ์หนังสือ “บุคคลภาษิตในสามก๊ก” หนังสือเล่มนี้ถูกใจนายเปลื้อง ผู้เขียนได้หยิบยกเอาอุปนิสัยใจคอของบุคคลสำคัญหลายคนในสามก๊กขึ้นวาดให้เห็นเงาของนายเมืองเริง นายเมืองเริง เป็นนักกีฬาชั้นเยี่ยม เข้มแข็ง อดทนและซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ตลอดจนเพื่อนฝูง พอเข้าแบบน้ำใจกวนอู นักกีฬาเอกของสามก๊กได้อย่างดี ว่าถึงความสุภาพเรียบร้อยอ่อนโยน อันเป็นเสน่ห์ผูกสัมพันธ์กับสังคมได้ทั่วไป ก็จะดูไม่ผิดแนวของเล่าปี่เท่าไรนัก
 
บทละครเรื่องพระลอนนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางศรจิตติโยธิน (สดใส ศริจตติ)
บทละครเรื่องพระลอนนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางศรจิตติโยธิน (สดใส ศริจตติ)

 

ชื่อเรื่อง :บทละครเรื่องพระลอนนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางศรจิตติโยธิน (สดใส ศริจตติ)

ชื่อผู้แต่ง :พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ

ปีที่พิมพ์ :2511

สถานที่พิมพ์ :พระนคร

สำนักพิมพ์ :สุจินต์การพิมพ์

จำนวนหน้า :114 หน้า

สาระสังเขป :บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์นี้ เป็นพระบวรราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรเจ้า กรมพระราชวังบวรฯ มหาศักดิพลเสพ ได้ตีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง บทละคอนเรื่องพระลอที่พิมพ์ในเล่มนี้ ได้ต้นฉบับของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ ประทานมาแต่พระราชวังบวรฯ มีผู้กล่าวว่า หนังสือบทละคอนพระลอความนี้ เดิม 2 เล่มสมุดไทยด้วยกัน จบเรื่องจนเชิญศพพระลอกลับมาฝั่งไว้ที่เมืองสระบุรี ความข้อนี้จะจริงหรือฉันใดหาทราบไม่

 
บทเห่กล่อมพระบรรทม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเธียร ปั้นงา
บทเห่กล่อมพระบรรทม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเธียร ปั้นงา

 

ชื่อเรื่อง : บทเห่กล่อมพระบรรทม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเธียร ปั้นงา
ชื่อผู้แต่ง : เธียร ปั้นงา
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 86 หน้า
สาระสังเขป : บทเห่กล่อมนี้ เป็นของกวีแต่งขึ้นสำหรับข้าหลวงร้องเห่พระเจ้าลูกเธอที่ยังพระเยาว์ เวลาไกวพระอู่ให้บรรทม บทข้างต้นๆสังเกตว่าเป็นสำนวนสุนทรภู่แต่ง เมื่อในรัชกาลที่ 2 แต่จะแต่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลุกเอเป็นสามัญทั่วไป หรือจะแต่งสำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอเฉพาะพระองค์ใดในครั้งนั้น ข้อนี้สงสัยอยู่ แลได้ทราบว่าเมื่อในรัชกาลที่ 3 นั้น มีเจ้านายหลายพระองค์ คือ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณแลกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์เป็นต้น บทเห่กล่อมเหล่านี้ เห่กล่อมเจ้านายที่ยังทรงพระเยาว์ตลอดลงมาจนในรัชกาลที่ 4 ข้าหลวงท่องจำกันต่อๆมา ไม่ปรากฎว่าใครเยจดรวบรวมลงไว้ จนมาได้เห็นฉบับที่หอพระสมุดฯ ได้มา
 
บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนอง ตุลยพานิช
บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนอง ตุลยพานิช

 

ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนอง ตุลยพานิช

ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : -
สำนักพิมพ์ : ม.ป.ป.
จำนวนหน้า : 132 หน้า
สาระสังเขป :หนังสือ บทละคร เรื่อง พญาราชวังสัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ในงานนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นบทละครอย่างหนึ่งและบทเสภาอีกอย่างหนึ่ง เมื่อพิมพ์ครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์แถลงพระบรมราชาธิบายไว้ว่า เรื่อง “พญาราชวังสัน” นั้น ข้าพเจ้าได้เอาเรื่อง “โอเทลโล” ของเชกส์เปียร์เป็นหลัก แต่แต่งเป็นบทละครนอกอย่างไทยเรา และแปลงนามบุคคลในเรื่องเป็นไทยทั้งหมด บทละครนั้นข้าพเจ้าได้แต่งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2454 และได้แต่งแต่จนจบเรื่องตามของเดิม
 

 

นิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ของ สุนทรภู่ และ ประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม
นิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ของ สุนทรภู่ และ ประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม

 

ชื่อเรื่อง : นิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ของ สุนทรภู่ และ ประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม

ชื่อผู้แต่ง :สุนทรภู่

ปีที่พิมพ์ : 2510

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

 จำนวนหน้า : 126หน้า

สาระสังเขป : กาพย์เรื่องพระไชยสุริยานั้น สุนทรภู่แต่งเมื่อในรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์เข้าใจว่าจะแต่งสำหรับเป็นแบบสอนอ่านคำเทียบในศิษย์ของท่านเล่าเรียนศึกษา ครั้งต่อมาในรัชกาลที่ 5 เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจสำหรับใช้เป็นแบบเรียนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวงคงเห็นว่าคำกาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้เป็นบทกวีนิพนธ์ที่ไพเราะทั้งอ่านเข้าใจง่าย และเป็นคติ  จำนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจเป็นตอนๆตั้งแต่แม่ก กา ไปจนจบ เกย

นิราศตังเกี๋ย ของ หลวงนรเนติบัญชากิจ
นิราศตังเกี๋ย ของ หลวงนรเนติบัญชากิจ

 

ชื่อเรื่อง : นิราศตังเกี๋ย ของ หลวงนรเนติบัญชากิจ

ชื่อผู้แต่ง :นรเนติบัญชากิจ, หลวง

ปีที่พิมพ์ : 2511

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

 จำนวนหน้า : 130หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรื่องนิราศตังเกี๋ยนี้ หลวงนรเนติบัญชากิต (แวว) เป็นผู้นิพนธ์ขึ้นเป็นทำนางจดหมายเหตุ เล่าถึงการเดินทางของข้าหลวงไทยซึ่งร่วมเดินทางไปปราบปรามพวกฮ่อทางเมืองตังเกี๋ยกับกองทัพฝรั่งเศส นิพนธ์เรคื่องนิราศตังเกี๋ยจบแล้วได้นำขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการซึ่งได้ประทานลายพระหัตถ์เป็นโคลงติชมตอบ 

นำเที่ยวเมืองสุโขทัย ของ ตรี อมาตยกุล
นำเที่ยวเมืองสุโขทัย ของ ตรี อมาตยกุล

 

ชื่อเรื่อง : นำเที่ยวเมืองสุโขทัย ของ ตรี อมาตยกุล

ชื่อผู้แต่ง :ตรี อมาตยกุล

ปีที่พิมพ์ : 2508

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเกษมสุวรรณ

จำนวนหน้า : 154หน้า

สาระสังเขป : หนังสือนำเที่ยวเมืองสุโขทัยนี้ ได้กล่าวถึง ภูมิประเทศ และสภาพทั่วไปของจังหวัดสุโขทัย แนะนำการเดินไปยังสถานที่สำคัญในจังหวัดสุโขทัย และมีเนื้อหาอธิบายความเป็นมาของสถานที่นั้นพอเป็นสังเขป

เที่ยวตามทางรถไฟ พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เที่ยวตามทางรถไฟ พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

ชื่อเรื่อง : เที่ยวตามทางรถไฟ พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ชื่อผู้แต่ง :ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา

ปีที่พิมพ์ : 2509

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 146หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเที่ยวตามทางรถไฟ พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพนี้ กล่าวถึง ความสำคัญของสถานที่ และเมืองตามทางรถไฟผ่าน คือสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ เจตจำนงของพระองค์ที่นิพนธ์เรื่องนี้ขึ้นนั้นเพื่อเป็นคู่มือประกอบการท่องเที่ยว และหาความรู้แม้ว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกัขบสถานที่เหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแล้วก็ตาม

ตำราฟ้อนรำ
ตำราฟ้อนรำ

 

ชื่อเรื่อง : ตำราฟ้อนรำ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2510

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 100หน้า

สาระสังเขป : หนังสือตำราฟ้อนรำ เนื้อหาเกี่ยวกับตำรานาฏศาสตร์เรื่องราวความเป็นมาของท่ารำต่างๆ ยังมีสอดแทรกเนื้อหาตำรากับข้าวโดยหม่อมหลวงเติบ ชุมสาย มีทั้งวิธีการหุงข้าว แกงเผ็ดไก่ ส้มตำ ข้าวมันไก่ เป็นต้น มีทั้งขั้นตอนการทำ ส่วนผสม บอกไว้อย่างละเอียด

ตำราพระโอสถพระนารายณ์
ตำราพระโอสถพระนารายณ์

 

 

ชื่อเรื่อง : ตำราพระโอสถพระนารายณ์

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2508

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 104หน้า

สาระสังเขป : หนังสือตำราพระโอสถพระนารายณ์ เล่มนี้ คือ ตำราพระโอสถตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเก่า เป็นหนังสือคัมภีร์ลานผูก 1 มีตำราพระโอรสซึ่งหมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลายขนานในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประหลาดที่มีตำราขี้ผึ้งรักษาบาดแผลของหมอฝรั่งประกอบถวายในครั้งนั้นด้วย ขี้ผึ้งตามตำรานี้หมอฝรั่งพวกกุฎีจีนยังใช้รักษากันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ชื่อผู้แต่ง :ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา

ปีที่พิมพ์ : 2510

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 160หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรื่องตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับตำนานพระพุทธรูปสำคัญในพระบรมมหาราชวัง ในพระที่นั่งอัมพรสถาน และสถานที่ภายในวัดต่างๆ

ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาคหนึ่ง ภาคสอง และภาคสาม
ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาคหนึ่ง ภาคสอง และภาคสาม

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์ และประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาคหนึ่ง ภาคสอง และภาคสาม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2507

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 74หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรื่องตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2471 ได้มีชาวต่างประเทศขออนุญาตนำไปแปลพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสที่ไซ่ง่อน และภาษาดัชที่กรุงเฮก เมื่อทรงเห็นว่ามีผู้นิยมมากตลอดจนถึงชาวต่างประเทศจึงทรงชำระเรื่อง และทำรูปให้บริบูรณ์ขึ้น เมี่อ พ.ศ.2472

ชุมนุมสุภาษิตสุนทรภู่ สมาคมประมงปราณและ นางลุ้ย เทียมเพชร
ชุมนุมสุภาษิตสุนทรภู่ สมาคมประมงปราณและ นางลุ้ย เทียมเพชร

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมสุภาษิตสุนทรภู่ สมาคมประมงปราณและ นางลุ้ย เทียมเพชร

ชื่อผู้แต่ง :สุนทรภู่

ปีที่พิมพ์ : 2503

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 98หน้า

สาระสังเขป : เรื่องกลอนสุภาษิตสุนทรภู่นี้ ว่าด้วยกลอนซึ่งสุนทรภู่แต่งเป็นเรื่องสุภาษิตโดยเฉพาะ มี 3 เรื่องด้วยกัน คือ สวัสดิรักษาเรื่อง 1 เพลงยาวถวายโอวาทเรื่อง 1 และสุภาษิตสุภาษิตสอนสตรีเรื่อง 1 อีกเล่ม 1 ชื่อ “ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่”

ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ

ชื่อผู้แต่ง :จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ

ปีที่พิมพ์ : 2501

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 58หน้า

สาระสังเขป : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธ์ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอสมุดวชิรญาณ ได้ทรงนิพนธ์คำอธิบายเกี่ยวกับพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ในหนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ฉบับพิมพ์แจกในงานพระเมรุ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ พ.ศ.2457

ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อผู้แต่ง : ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช, กรมพระยา

ปีที่พิมพ์ : 2508

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 166หน้า

สาระสังเขป : หนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณได้ทรงพระนิพนธ์คำอธิบายไว้ หนังสือที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้นั้นมีเป็นอันมากแต่มักจะเป็นพระราชหัตถเลขาถึงพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าทูลละอองธุลีพระบาท ด้วยราชการแผ่นดินบ้าง ราชการในพระองค์บ้าง นอกนั้นก็เป็นหมายประกาศพระราชบัญญัติบ้าง

ชีวิวัฒน์ เที่ยวที่ต่างๆ ภาคที่ 7 พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ชีวิวัฒน์ เที่ยวที่ต่างๆ ภาคที่ 7 พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

 

ชื่อเรื่อง : ชีวิวัฒน์ เที่ยวที่ต่างๆ ภาคที่ 7 พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

ชื่อผู้แต่ง : ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช, กรมพระยา

ปีที่พิมพ์ : 2510

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 258หน้า

สาระสังเขป : หนังสือชีวิวัฒน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ทรงนิพนธ์ขึ้นครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงคุณความดีแห่งการเที่ยวในที่ต่างๆและรายงานระยะทางที่เสด็จไปยังหัวเมืองชายทะเลตะวันตกในบริเวณอ่าวไทย เมื่อ พ.ศ.2427

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติ และ บทร้อยกรองบางเรื่อง พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายกสิณ ทักษาดิพงศ์ ต.ช.,ต.ม.
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ  พระประวัติ และ บทร้อยกรองบางเรื่อง พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายกสิณ ทักษาดิพงศ์ ต.ช.,ต.ม.

 

ชื่อเรื่อง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ  พระประวัติ และ บทร้อยกรองบางเรื่อง พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายกสิณ ทักษาดิพงศ์ ต.ช.,ต.ม.

ชื่อผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์

ปีที่พิมพ์ : 2512

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 154 หน้า

สาระสังเขป :

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4-ต้นรัชกาลที่ 5)
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4-ต้นรัชกาลที่ 5)

 

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4-ต้นรัชกาลที่ 5)

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2508

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 56 หน้า

สาระสังเขป : เนื้อหาเกี่ยวกับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ซึ่งเดิมต้นฉบับเป็นสมุดไทยดำ เขียนดินสอขาวมีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติเพียงเล่มเดียว นายยิ้ม ปัณฑยางกูร ผู้เชี่ยวชาญทางจดหมายเหตุได้พบและให้คัดต้นฉบับรักษาไว้ บางตอนที่เห็นว่าผิดจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในหนังสืออื่นๆ นายยิ้ม ปัณฑยางกูร ก็ได้ทำเชิงอรรถอธิบายไว้ให้ผู้อ่านทราบด้วย

จดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2469
จดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2469

 

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2469

ชื่อผู้แต่ง : ทรงพันธุ์  ศุขสวัสดิ์

ปีที่พิมพ์ : 2507

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 112 หน้า

สาระสังเขป : เนื้อหากล่าวถึงประวัติ ม.ร.ว ทรงพันธุ์ ศุขสวัสดิ์ และจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ และนครเชียงใหม่ เสด็จจากกรุงเทพฯถึงมณฑลพิษณุโลก ทรงมีพระราชดำรัสตอบพระบรมราโชวาทพระราชทานธงลูกเสือ และลูกเสือมณฑลพายัพทรงเสด็จทั้งหมด 5 จังหวัดด้วยกัน ดังนี้ 1.พิษณุโลก 2.ลำปาง 3.เชียงราย 4.เชียงใหม่ 5.ลำพูน

โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร
โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

 

ชื่อเรื่อง : โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

ชื่อผู้แต่ง : เดชาดิศร, กรมพระยา

ปีที่พิมพ์ : 2490

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 148 หน้า

สาระสังเขป : โคลงโลกนิติเป็นโคลงสุภาษิตเก่าแก่แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเทียวเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลี และสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือคัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัมบ้าง คัมภีร์อื่นๆ เช่น ชาดก เป็นต้น ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มี

บทลครเรื่องไกรทอง พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บทลครเรื่องไกรทอง พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

ชื่อเรื่อง : บทลครเรื่องไกรทอง พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : -
จำนวนหน้า : 66 หน้า 
สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์ บทลครเรื่องไกรทอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2456 พระนิพนธ์ไกรทองเขียนเป็นบทกลอน ในแต่ละช่วงตอน มีแนวคิดเพื่อเพิ่มสติปัญญาแก่ผู้อ่าน น่าสนใจยิ่งนัก
 
 
คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม
คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : คุรุสภา ลาดพร้าว

จำนวนหน้า : 124 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมกล่าวถึง สาระสำคัญของมรดกทางศิลปวัฒนธรรม การจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมและบทบาทหน้าที่ของพระสังฆาธิการตามที่กฎหมายกำหนดในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ

งานช่างศิลปกรรมในท้องถิ่น
งานช่างศิลปกรรมในท้องถิ่น

 

ชื่อเรื่อง : งานช่างศิลปกรรมในท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2542

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ประชาชน

จำนวนหน้า : 404หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ งานช่างศิลปกรรมในท้องถิ่น กล่าวถึง ความหมายและลักษณะของศิลปกรรมประวัติและความเป็นมาของช่างศิลปกรรมรวมไปถึงงานช่างศิลปกรรมสมัยต่าง ๆ ในดินแดนของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมไปถึงความเกี่ยวข้องระหว่างงานช่างศิลปกรรมกับมนุษย์

การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนากำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ
การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนากำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ

 

ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนากำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2557

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 104 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ การวิเคราะหมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนากำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึง หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนา และในภาคผนวกจะมีโครงสร้างพระไตรปิฎก อักษรนุกรมพระสูตร อักษรนุกรมชาดก โรงเรียนและนิกายมหายานที่มีประเทศต่าง ๆ และการแตกนิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา

 

คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ : การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปแบบข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิตอล
คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ : การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปแบบข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิตอล

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ :การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปแบบข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิตอล

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 84 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ :การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปแบบข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิตอลกล่าวถึงเอกสารจดหมายเหตุและการอนุรักษ์เอกสาร การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปแบบข้อมูลเป็นแบบระบบดิจิตอล การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปแบบข้อมูลของสำนักหอสมุดแห่งชาติ และการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลดิจิตอล

คู่มือการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ : การทำสำเนาภาพถ่ายเพื่อการอนุรักษ์และจัดเก็บ
คู่มือการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ : การทำสำเนาภาพถ่ายเพื่อการอนุรักษ์และจัดเก็บ

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ : การทำสำเนาภาพถ่ายเพื่อการอนุรักษ์และจัดเก็บ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2551

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 84 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ คู่มือการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ : การทำสำเนาภาพถ่ายเพื่อการอนุรักษ์และจัดเก็บ กล่าวถึง เอกสารจดหมายเหตุและการอนุรักษ์เอกสาร การจัดเก็บ การเก็บรักษา การทำสำเนาภาพเพื่อการอนุรักษ์จัดเก็บ รวมไปถึงการจัดเก็บภาพจดหมายเหตุ

คู่มือการอนุรักษ์เอกสารต้นฉบับด้วยไมโครฟิล์ม
คู่มือการอนุรักษ์เอกสารต้นฉบับด้วยไมโครฟิล์ม

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการอนุรักษ์เอกสารต้นฉบับด้วยไมโครฟิล์ม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2522

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ทรงสิทธวรรณ

จำนวนหน้า : 84 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ คู่มือการอนุรักษ์เอกสารต้นฉบับด้วยไมโครฟิล์มกล่าวถึงต้นฉบับทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งชาติ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสำเนาต้นฉบับด้วยไมโครฟิมล์ การถ่ายไมโครฟิลม์ การจัดเก็บ และการให้บริการสืบค้นและถ่ายสำเนาเอกสารจากไมโครคฟอร์ม

คู่มือการประเมินคุณค่าและการรับมอบเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
คู่มือการประเมินคุณค่าและการรับมอบเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการประเมินคุณค่าและการรับมอบเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สกสค.ลาดพร้าว

จำนวนหน้า : 180 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือการประเมินคุณค่าและการรับมอบเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวถึงสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะกล่าวถึงความเป็นมาโครงสร้างหน้าที่การดำเนินงานต่างๆและการรับมอบเอกสารจดหมายเหตุ หลักการประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุรวมไปถึงกรณีศึกษาการประเมินคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี
หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี

 

ชื่อเรื่อง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2546

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 68หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีกล่าวถึงกำหนดการ คำกราบบังคมทูลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมประวัติความเป็นมาหอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีและหอจดหมายเหตุดอนเจดีย์เมืองสุพรรณบุรีรวมไปถึงเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับภาคตะวันตกทั้งหมด

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2556

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  ไทยควอลิติ้บุ๊ค

จำนวนหน้า : 116 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึง ลายพระหัตถ์ ของ ราชวงศ์ต่าง ๆ และลายพระราชหัตเลขา

ลิลิตปฐมสมโพธิกถา
ลิลิตปฐมสมโพธิกถา

 

ชื่อเรื่อง : ลิลิตปฐมสมโพธิกถา

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2535

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  เอดิสันเพรสโพรดักส์

จำนวนหน้า : 215 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือลิลิตปฐมสมโพธิกถากล่าวถึงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ 200 ปีสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส และลิลิตปฐมสมโพธิกถาอารัมภบทบทสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระมหาสมณเจ้าลิลิตสมโพธิกถาในประเทศต่างๆ

พระศรีอริยเมตไตรย
พระศรีอริยเมตไตรย

 

ชื่อเรื่อง : พระศรีอริยเมตไตรย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2555

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :  ธุรการเจริญกิจ

จำนวนหน้า : 206 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพระศรีอริยเมตไตรย กล่าวถึงความหมายของอริยเมตไตรย ทัศนคติกับแนวคิดความเชื่อรูปแบบประติมากรรมของพระศรีอริยเมตไตยว่าจะเป็นคติความเชื่อเรื่องพระศรีอาริยเมตไตรยในพุทธศาสนา ในดินแดนที่นับถือพุทธศาสนาหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับภาษียังมีใดในประเทศไทยและประติมากรรมของพระศรีอริยเมตไตย ในไทย

สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรขอม ภาษาไทย
สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรขอม ภาษาไทย

 

ชื่อเรื่อง : สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรขอม ภาษาไทย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า :258หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรขอม ภาษาไทยกล่าวถึง เนื้อหาและการถ่ายทอดเนื้อหาของหนังสือสมุดภาพไตรภูมิเลขที่ 7 การศึกษาวิเคราะห์สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรขอมภาษาไทยกับอักษรขอมภาษาเขมร การวิเคราะห์โดยสารสนเทศ รวมถึงรูปเล่มต้นฉบับซึ่งเป็นภาพ ของไตรภูมิฉบับอักษรขอม โดยภาพต่างๆจะกล่าวถึงไตรภูมิต่างๆ

จดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปและประธานพุทธมณฑล
จดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปและประธานพุทธมณฑล

 

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปและประธานพุทธมณฑล

ชื่อผู้แต่ง : นางสาวทรงสวรรค์ นิลกำแหง นางสาวพรรณี สุนทรโยธี และนางสุรีรัตน์ วงศ์เสงี่ยม

ปีที่พิมพ์ : 2525 

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 184 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือจดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล กล่าวถึง การดำเนินงานจัดสร้างพุทธมณฑล ความเป็นมา และความหมาย ของพุทธมณฑลการก่อตั้งและศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีกับงานสร้างพระพุทธรูปองค์ต้นแบบ การทำพระพุทธมณฑลต่างๆเช่นงานปั้น

พลิกประวัติศาสตร์ พระธาตุดอยตุง
พลิกประวัติศาสตร์ พระธาตุดอยตุง

 

ชื่อเรื่อง : พลิกประวัติศาสตร์ พระธาตุดอยตุง

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  นุชาการพิมพ์

จำนวนหน้า : 120 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพลิกประวัติศาสตร์ พระธาตุดอยตุง กล่าวถึง วัฎจักรของโลกวงค์กษัตริย์และที่ราบเชียงแสน ดอยตุงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ดอยแห่งตุง ดอยแห่งพระธาตุเจดีย์ ดอยแห่งพระธาตุเจดีย์สององค์และพระธาตุดอยตุงต่าง ๆ จะกล่าวถึง พระธาตดอยตุงในอดีตจนถึงรัตนโกสิน เรื่องของศสาสนา ประวัติศาสตร์ และการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งใหม่

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

ชื่อผู้แต่ง : สมพร อยู่โพธิ์

ปีที่พิมพ์ : 2518

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

จำนวนหน้า : 180 หน้า

สาระสังเขป หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ กล่าวถึง การกำเนิดพระพุทธรูป และกล่าวถึงพระพุทธรูปปางต่าง ๆ

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

ชื่อผู้แต่ง : สมพร อยู่โพธิ์

ปีที่พิมพ์ : 2514

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ

จำนวนหน้า : 162 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ กล่าวถึง การกำเนิดพระพุทธรูป และกล่าวถึงพระพุทธรูปปางต่าง ๆ

ฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมไทย
ฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมไทย

 

ชื่อเรื่อง : ฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมไทย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2551

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ไทภูมิ พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 132 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยกล่าวถึง พื้นฐานและพัฒนาการสังคมไทย และยังได้กล่าวถึงปรัชญาและฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมไทยรวมไปถึงองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยและการนำไปใช้อีกด้วย และสุดท้ายคือสรุปและเสนอแนะ

ปราสาทนครหลวง
ปราสาทนครหลวง

 

ชื่อเรื่อง : ปราสาทนครหลวง

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2538

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 116 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ ปราสาทนครหลวง กล่าวถึงประวัติของโบราณสถานปราสาทนครหลวงสถาปัตยกรรมไม่ว่าจะเป็นแผนผังของปราสาทนครหลวงลักษณะทางสถาปัตยกรรม ในสมัยรัชกาลต่างๆโบราณวัตถุการอนุรักษ์ โบราณสถานปราสาทนครหลวง

80 ปีแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย
80 ปีแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย

 

ชื่อเรื่อง : 80 ปีแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2533

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :  OS พริ้นติ้งเฮ้าส์

จำนวนหน้า : 148 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ  80 ปีแห่งการอนุรักษ์มรดกไทยกล่าวถึง ศิลปะกับศิลปากร และ วิวัฒนาการหน่วยงานช่างศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ สถาปัตยกรรมแห่งชาติ การสังคีตศิลป์ รวมไปถึงการศึกษาส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านนาฏศิลป์ดุริยางศิลป์และช่างศิลป์ และยังได้บอกถึงการดำเนินงานของหอสมุดแห่งชาติงานจดหมายเหตุ งานวรรณคดี งานพิพิธภัณฑ์ โบราณคดี การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทยในศตวรรษหน้าและ 80 ปีแห่งการสถาปนาศิลปากร

เวียงท่ากาน 2
เวียงท่ากาน 2

 

ชื่อเรื่อง : เวียงท่ากาน 2

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2534

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์

จำนวนหน้า : 123หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเวียงท่ากาน 2 กล่าวถึง กลุ่มโบราณสถานต่างๆเช่นกลุ่มโบราณสถานวัดพระอุโบสถ กลุ่มโบราณสถานวัดต้นโพธิ์ กลุ่มโบราณสถานวัดหัวข่วง กลุ่มโบราณสถานวัดพระเจ้าก่ำ กลุ่มโบราณสถานวัดต้นกอก ซึ่งต่างๆเหล่านี้จะกล่าวถึงตำแหน่งที่ตั้งประวัติการก่อสร้างสภาพทั่วไปโบราณสถานของกรุงขุดแต่ง

การบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง
การบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง

 

ชื่อเรื่อง : การบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2545

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 232หน้า

สาระสังเขป : หนังสือการบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง กล่าวถึง ความเป็นมาของการอนุรักษ์โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมไปถึงสภาพทั่วไปของวัดภูเขาทองสาระสำคัญทางประวัติศาสตร์รูปแบบสถาปัตยกรรมและการศึกษาวิเคราะห์และการบูรณะในปัจจุบัน

รายงานสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1
รายงานสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1

 

ชื่อเรื่อง : รายงานสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์เล่ม 1

ชื่อผู้แต่ง : นางอำไพ มหาชนะวงศ์ ...[และคนอื่นๆ]

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  หิรัญพัฒฑ์

จำนวนหน้า : 262 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือรายงานสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์เล่ม 1 กล่าวถึงการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการสำรวจโบราณสถานที่อยู่ภายในบริเวณเขตคูเมืองชั้นในซึ่งมี 11 ประเภท ได้แก่ ประเภทบรมราชวังพระราชวังและวัดประเภทศาสนสถาน ประเภทอนุสาวรีย์ประเภทป้อมและกำแพงเมืองอาคารของทางราชการสวนสาธารณะอาคารร้านค้าประเภทของสะพานท่าน้ำโดยบอกถึงรายละเอียดและความหมายต่าง ๆ

อนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม 1
อนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม 1

 

ชื่อเรื่อง : อนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม 1

ชื่อผู้แต่ง : นางสาวสุทธิพันธ์ ขุทรานนท์

ปีที่พิมพ์ : 2539

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 358 หน้า

สาระสังเขป : หนังสืออนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม 1 กล่าวถึงอนุสาวรีย์ในประเทศไทยทั้งหมด โดยบอกถึงสถานที่ตั้งลักษณะประวัติการก่อสร้าง

งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 

ชื่อเรื่อง : งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2528

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 476 หน้า

สาระสังเขป : หนังสืองานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  กล่าวถึงงานพระเมรุมาศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในพระบรมราชวงศ์ต่างๆที่ทรงได้จัดขึ้นให้สมพระเกียรติ ตั้งแต่อดีตในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปัจจุบัน

แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก
แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก

 

ชื่อเรื่อง : แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2538

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ประชาชน

จำนวนหน้า : 137 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก กล่าวถึง หลักการในการแนะนำไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์เอกสารแผนการปฏิบัติการบำรุงรักษาบุคลากรและคณะกรรมาธิการแหล่ง ยังมีนโยบายทั่วไปของอนุสัญญารวมไปถึงการประเมินเพื่อวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์และการจัดการแหล่งมรดกโลก ไม่ว่าจะเป็นการจัดการโดยโครงการทรัพยากรโครงการซ่อมบำรุงการบริหารพนักงานเจ้าหน้าที่และบุคลากรการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมการวางแผนการจัดการเมืองและเมืองที่เป็นมรดกโลกและผู้มาเยือนแหล่งมรดกโลก

งานช่างหลวง
งานช่างหลวง

 

ชื่อเรื่อง : งานช่างหลวง

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2554

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : สยามบุ๊คส์ แอนด์พับลิเคชั่นส์ จำกัด

จำนวนหน้า : 236 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ งานช่างหลวงกล่าวถึง ช่างชำนาญศิลป์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว งานช่างหลวงต่างๆศิลปากรแห่งราชสำนักงานช่างหลวงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงพระมหากรุณาธิคุณเกื้อหนุนงานช่างหลวง

คู่มือการดูแลรักษาโบราณสถาน
คู่มือการดูแลรักษาโบราณสถาน

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการดูแลรักษาโบราณสถาน

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์

จำนวนหน้า : 60 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือการดูแลรักษาโบราณสถาน กล่าวถึง ความหมายของโบราณสถานคุณค่าและความสำคัญประโยชน์ประเภทรวมไปถึงโบราณสถานโบราณที่เสื่อมสภาพ และภารกิจอะไรบ้างที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย

 

ชื่อเรื่อง : สถาปัตยกรรมไทย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2538

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 248 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ สถาปัตยกรรมไทย กล่าวถึง สถาปัตยกรรมไทยในแง่มุมต่างๆไม่ว่าจะเป็นที่อยู่เช่นบ้านไทยวังพระราชวังสมัยอยุธยาพระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รวมไปถึงวัดความเป็นมาของพุทธสถานหรือวัดพัฒนาการของวัดอาคารองค์ประกอบภายในสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ครูช่างไทยด้าน สถาปัตยกรรม

สูจิบัตรวันอนุรักษ์มรดกไทย 2538
สูจิบัตรวันอนุรักษ์มรดกไทย 2538

 

ชื่อเรื่อง : สูจิบัตรวันอนุรักษ์มรดกไทย 2538

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2538

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 44 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ สูจิบัตรวันอนุรักษ์มรดกไทย 2538 กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของสถาปัตยกรรมไทยนโยบายการดำเนินงานวันอนุรักษ์มรดกไทยแนวทางการจัดงานโครงการคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยสำเนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเหรียญที่ระลึกในวันอนุรักษ์มรดกไทย

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือประเภทเรือนอยู่อาศัย
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือประเภทเรือนอยู่อาศัย

 

ชื่อเรื่อง : สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือประเภทเรือนอยู่อาศัย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2540

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : สยามบุ๊คส์ แอนด์พับลิเคชั่นส์

จำนวนหน้า : 204 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือประเภทเรือนอยู่อาศัย กล่าวถึง แผนที่ประเทศไทยลักษณะชุมชนและบ้านเรือนพื้นถิ่นภาคเหนือตอนบนโดยบอกถึงหมู่บ้านต่าง ๆ เรือนพื้นถิ่นของภาคเหนือโดยแบ่งประเภทเป็นเรือนพื้นถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ และแนวการอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นภาคเหนือ

วันอนุรักษ์มรดกไทย 2540
วันอนุรักษ์มรดกไทย 2540

 

ชื่อเรื่อง : วันอนุรักษ์มรดกไทย 2540

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2540

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 28 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือวันอนุรักษ์มรดกไทย 2540กล่าวถึง กำหนดการวันอนุรักษ์ มรดกไทย 2540 โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเสด็จเป็นประธานในพิธี กล่าวถึงเอกลักษณ์ไทยในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในภาคต่าง ๆ อาการอีสานใต้ตะวันออกและการคงไว้ซึ่งการอนุรักษ์และการศึกษา

พิธีประกาศเกียรติคุณผู้อำนวยรับมรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่นประจำปีพุทธศักราช 2539
พิธีประกาศเกียรติคุณผู้อำนวยรับมรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่นประจำปีพุทธศักราช 2539

 

ชื่อเรื่อง : พิธีประกาศเกียรติคุณผู้อำนวยรับมรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่นประจำปีพุทธศักราช 2539

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2539

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 52 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ พิธีประกาศเกียรติคุณผู้อำนวยรับมรดกไทยดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่นประจำปีพุทธศักราช 2539 กล่าวถึง การประกาศเกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นประจำปี 2539 ประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ ด้านสร้างสรรค์ฯลฯ

หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

 

ชื่อเรื่อง : หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2553

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 152 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร กล่าวถึง พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านต่าง ๆ รวมถึงประกาศพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับพระนคร ไม่ว่าจะเป็นนโยบายและการบริหารการจัดหาหนังสือการจัดระบบหนังสือการจัดพิมพ์หนังสือการให้บริการและงานราชการของหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครรวมถึงภาคผนวกต่าง ๆ 

แผนแม่บทโครงการหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
แผนแม่บทโครงการหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

 

ชื่อเรื่อง : แผนแม่บทโครงการหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 79 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือแผนแม่บทโครงการหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ และการดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ และสุดท้ายคือผลที่คาดว่าจะได้รับ 

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พะเยา
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พะเยา

 

ชื่อเรื่อง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พะเยา

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2542

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 52 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พะเยากล่าวถึงหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพะเยา มีความเป็นมาอย่างไร ข้อมูลเอกสารต่างๆ รวมถึงการย้อนอดีตพะเยาจัดเอกสารจดหมายเหตุให้รู้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

คู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดแห่งชาติ
คู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดแห่งชาติ

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2553

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ส่งสิทธิวรรณ

จำนวนหน้า : 76 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดแห่งชาติ กล่าวถึง ความหมายและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศต่างๆการเลือกทรัพยากรสารสนเทศรวมถึงสำนักพิมพ์และแหล่งจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ การรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศและการลงทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศ

คู่มือความรู้ด้านการจัดการคลังเอกสารจดหมายเหตุ : การสำรวจเอกสารด้วยวิธีการ "UPAA METHOD"
คู่มือความรู้ด้านการจัดการคลังเอกสารจดหมายเหตุ : การสำรวจเอกสารด้วยวิธีการ

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือความรู้ด้านการจัดการคลังเอกสารจดหมายเหตุ : การสำรวจเอกสารด้วยวิธีการ "UPAA METHOD"

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2553

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 84 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือความรู้ด้านการจัดการคลังเอกสารจดหมายเหตุ : การสำรวจเอกสารด้วยวิธีการ "UPAA METHOD"กล่าวถึงเอกสารจดหมายเหตุและการอนุรักษ์เอกสารการจัดการคลังเอกสารรวมไปถึงการประเมินเอกสารจดหมายเหตุสากลและปฏิบัติการประเมินเอกสารจดหมายเหตุสากล

มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

ชื่อเรื่อง : มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2555

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 68 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือมาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวถึงเอกสารจดหมายเหตุและการอนุรักษ์เอกสารมาตรฐานการจัดเก็บเอกสาร จดหมายเหตุ เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุรวมถึงเอกสารจดหมายเหตุที่เก็บรักษาในคลังเอกสารของสำนักหอจดหมาย เหตุแห่งชาติ

ใบจุ้ม : สารนิเทศบนสิ่งทอ
ใบจุ้ม : สารนิเทศบนสิ่งทอ

 

ชื่อเรื่อง : ใบจุ้ม : สารนิเทศบนสิ่งทอ

ชื่อผู้แต่ง : นางสาวพิมพ์วรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ

ปีที่พิมพ์ : 2543

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 238 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ ใบจุ้ม : สารนิเทศบนสิ่งทอ กล่าวถึงความสำคัญของใบจุ้ม ลักษณะ สาระในใบจุ้ม อักษรและอักขรวิธีรวมถึงภาษาที่ใช้ในใบจุ้ม หลักเกณฑ์การปฏิวัติ และ คำปริวรรตและคำอ่านใบจุ้ม เลขที่ 1-21

คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุรายลักษณ์อักษรโดยไมโครฟิล์ม
คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุรายลักษณ์อักษรโดยไมโครฟิล์ม

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุรายลักษณ์อักษรโดยไมโครฟิล์ม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2549

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 84 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์อักษรโดยไมโครฟิล์ม กล่าวถึงเอกสารจดหมายเหตุและการอนุรักษ์เอกสาร ด้วยไมโครฟิล์ม การถ่ายทำไมโครฟิล์มของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติการจัดเก็บไมโครฟิล์มการให้บริการทำสำเนาไมโครฟิล์ม

 

นิทานวชิรญาณ
นิทานวชิรญาณ

 

ชื่อเรื่อง : นิทานวชิรญาณ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2555

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ยูเนี่ยนอุลตร้าไวโอเรต

จำนวนหน้า : 858 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือนิทานวชิรญาณ กล่าวถึง คำอธิบายประกอบการจัดพิมพ์นิทานวชิรญาณความเป็นมาและความหมายรวมถึงนิทานวชิรญาณ เล่ม 1,2

วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 

ชื่อเรื่อง : วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2525

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 161 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือวิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวถึง การแต่งกายตามรัชสมัยตั้งแต่รัชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นรัตนโกสินทร์สมัยใหม่รัฐนิยมและสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงการแต่งกายสมัยพ.ศ๒๕๐๐ถึงปัจจุบัน

จดหมายเหตุพระราชพิธีกาญจนภิเษก
จดหมายเหตุพระราชพิธีกาญจนภิเษก

 

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชพิธีกาญจนภิเษก

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2545

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

จำนวนหน้า : 580 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือจดหมายเหตุพระราชพิธีกาญจนาภิเษก กล่าวถึง พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรวมถึงการจัดเตรียมงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกและงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระราชพิธีและงานฉลองรวมถึงการจัดงานเฉลิมฉลองและถวายชัยมงคลเนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ตามขั้นตอนพิธีต่าง ๆ

กระบวนพยุหยาตราประวัติและพระราชพิธี
กระบวนพยุหยาตราประวัติและพระราชพิธี

 

ชื่อเรื่อง : กระบวนพยุหยาตราประวัติและพระราชพิธี

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2531

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 138 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือกระบวนพยุหยาตราประวัติและพระราชพิธีกล่าวถึงประวัติกระบวนพยุหยาตราต่างๆเช่นกระบวนพยุหยาตราทัพ กระบวนพยุหยาตราชลมารค กระบวนพยุหยาตราช้าง ขบวนพยุหยาตราม้า กระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค

ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับคำวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับคำวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

ชื่อเรื่อง : ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับคำวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2539

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : เจริญการพิมพ์

จำนวนหน้า : 88 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับคำวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวถึง ตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยาขบวนเสด็จไปพุทธบาทการรักษานครเวลาเสด็จไม่อยู่และนอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงตำราหน้าที่ต่างๆของมหาดเล็ก ชาวที่ ตำรวจ กรมวัง รวมทั้งตำราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา พระตำราทรงเครื่องต้น และ พระวิจารณ์ของสมเด็จ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 

ระบบเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
ระบบเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ

 

ชื่อเรื่อง : ระบบเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2528

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 48 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือกล่าวถึงการใช้เลข ISBN คำจำกัดความของเขตเลข ISBN กับสื่อสิ่งพิมพ์ประโยชน์การให้บริการ รวมถึงตัวอย่างต่างๆของการใช้เลข ISBN ประวัติโครงสร้างเลข ISBN

ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางกับพุทธศาสนา
ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางกับพุทธศาสนา

 

ชื่อเรื่อง : ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางกับพุทธศาสนา

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2549

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อรุณการพิมพ์

จำนวนหน้า : 76 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือชื่อเรื่องรายชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึง ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนาตามหมวดต่างๆเช่นหมวดบาลีพระไตรปิฎก หมวดอรรถกถา หมวดฎีกา หมวดอนุฎีกาพระอภิธรรม หมวดนวฎีกา หมวดโยชนา หมวดคัณฐี ฯลฯ

คู่มือการจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยเอกสารจดหมายเหตุ
คู่มือการจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยเอกสารจดหมายเหตุ

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยเอกสารจดหมายเหตุ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2551

สถานที่พิมพ์ :กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 108 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือการจัดหมวดหมู่และการทำเครื่องมือช่วยเอกสารจดหมายเหตุ กล่าวถึง ความหมายความสำคัญที่มาประเภทของเอกสารจดหมายเหตุการจัดเอกสารจดหมายเหตุและการจัดทำคำอธิบายการกำหนดรหัสเอกสารการดำเนินการในการจัดเก็บและลงบัญชีเอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์การดำเนินงานจัดเก็บและลงบัญชีเอกสาร โซตัสจดหมายเหตุก่อนถึงเครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ

เทคนิคการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

 

ชื่อเรื่อง : เทคนิคการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :ทรงสิทธิวรรณจำกัด

จำนวนหน้า : 68 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเทคนิคการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ กล่าวถึง หอสมุดแห่งชาติกับทรัพยากรสารสนเทศการจัดเก็บการให้บริการและเครื่องมือช่วยค้นรวมถึงการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยบัตรรายการการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์และการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศด้วยดรรชนีและบรรณานุกรม ด้วยการอ้างอิงด้วยประเภทฐานข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตรวมถึงผู้ให้บริการและเทคนิคการให้บริการ

ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป
ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป

 

ชื่อเรื่อง : ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2555

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 124 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป กล่าวถึง การซ่อมหนังสือทั่วไปและการซ่อมอนุรักษ์หนังสือที่ชำรุดมากชำรุดเด็กน้อยรวมถึงการพิมพ์ชื่อเรื่องหนังสือการซ่อมหนังสือปกอ่อน

คู่มือการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มละอัลบั้มภาพถ่าย
คู่มือการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มละอัลบั้มภาพถ่าย

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มละอัลบั้มภาพถ่าย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 84 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มและอัลบั้มภาพถ่ายกล่าวถึงเอกสารจดหมายเหตุการณ์การอนุรักษ์เอกสารและกระบวนการในการเก็บสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุต่างๆการเย็บเล่มเอกสารการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มรวมถึงการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มและอัลบั้มภาพถ่ายของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

คู่มือความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี
คู่มือความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ทรงสิทธิวรรณ

จำนวนหน้า : 52 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ คู่มือความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี กล่าวถึง ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีประเภทสื่อโสตทัศน์ เทคโนโลยีกับการอนุรักษ์และการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศทางด้านดนตรี รวมถึงประวัติความเป็นมาของแผ่นเสียงในสยามตามรัชกาลต่างๆสิ่งที่ควรรู้จากกฎหมายลิขสิทธิ์ 

ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรี ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศ

 

ชื่อเรื่อง : ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2551

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :ทรงสิทธิวรรณ

จำนวนหน้า : 52 หน้า

สาระสังเขป : ทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศ กล่าวถึง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีความหมายสารสนเทศด้านดนตรีรวมถึงการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศด้านดนตรีการจัดหาสารสารสนเทศด้านดนตรีต่างๆและการจัดเก็บ การจัดทำเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศด้านดนตรี

คู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classic
คู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classic

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classic

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 124 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classic กล่าวถึงความหมายและประวัติการใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆประเภทของสื่อโสตทัศน คุณค่าหลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อวิธีใช้ บรรณานุกรมรวมถึงชื่อผู้ประพันธ์เพลงประเภทเพลงและตัวอย่างบรรณานุกรมเพลงสากลคลาสสิค หมวด B

บรรณานุกรมวารสาร : สาขาสังคมศาสตร์ที่พิมพ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ 2539 - 2543
บรรณานุกรมวารสาร : สาขาสังคมศาสตร์ที่พิมพ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ 2539 - 2543

 

ชื่อเรื่อง : บรรณานุกรมวารสาร : สาขาสังคมศาสตร์ที่พิมพ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ 2539 - 2543

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2545

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 172 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือบรรณานุกรมวารสาร : สาขาสังคมศาสตร์ที่พิมพ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี พ.ศ 2539 – 2543v กล่าวถึง การรวบรวมรายชื่อวารสารในทุกสาขาวิชาของศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้อมูลบรรณานุกรมวารสารในหนังสือบรรณานุกรมเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษที่ถ่ายทอดมาจากภาษาเดิมของแต่ละประเทศ เช่นภาษาจีน ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซีย ตากาล็อก และภาษาไทย

100 ปีหอสมุดแห่งชาติ
100 ปีหอสมุดแห่งชาติ

 

ชื่อเรื่อง : 100 ปีหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2548

สถานที่พิมพ์ :กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย

จำนวนหน้า : 249 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือร้อยปีหอสมุดแห่งชาติกล่าวถึง 100 ปีแห่งการสถาปนาหอสมุดแห่งชาติจากหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครถึงหอสมุดแห่งชาติ ต่างๆ ภารกิจหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ แผนภูมิการสร้างและ อัตรากำลังของหอสมุดแห่งชาติส่วนราชการในปัจจุบันและการดำเนินการ ผู้บริหารของหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และบันทึกแห่งความทรงจํา 

พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้นสวนจิตรลดา
พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้นสวนจิตรลดา

 

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้นสวนจิตรลดา

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2556

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 204 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ พิพิธภัณฑ์โรงช้าง ต้นสวนจิตรลดา กล่าวถึง ความหมายของช้างต้นช้างเผือกช้างสำคัญ คติความเชื่อเกี่ยวกับช้าง บทบาทความสำคัญของช้างที่มีต่อสังคมไทย รวมถึงช้างที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยต่างๆช้างต้นในราชวงศ์จักรี ช้างต้นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพิธีกรรมเกี่ยวกับช้างวิธีการจับช้างและพระราชพิธีรับและสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกหรือช้างสำคัญรวมถึงเครื่องประกอบเกียรติยศของช้างต้น 

ดัชนีนิตยสารศิลปากรเล่ม 3
ดัชนีนิตยสารศิลปากรเล่ม 3

 

ชื่อเรื่อง : ดัชนีนิตยสารศิลปากรเล่ม 3

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ 2540 - 2555

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : คณะรัฐมนตรีและกิจจานุเบกษา

จำนวนหน้า : 404 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือดรรชนีนิตยสารศิลปากรเล่ม 3 กล่าวถึงดัชนีหัวข้อเรื่อง ตั้งแต่อักษร ก ถึงอักษร ฮ และดัชนีผู้แต่ง ตั้งแต่อักษร ก ถึงอักษร อ

รายงานประจำปี 2550 กรมศิลปากร
รายงานประจำปี 2550 กรมศิลปากร

 

ชื่อเรื่อง : รายงานประจำปี 2550 กรมศิลปากร

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 164 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือรายงานประจำปี 2550 กรมศิลปากร กล่าวถึง ความหมายของกรมศิลปากรรวมถึงอำนาจหน้าที่วิสัยทัศน์กฎระเบียบข้อบังคับและการใช้ทรัพยากรในกรมศิลปากรซึ่งรายงานเล่มนี้กล่าวถึงการปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ 2550 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณหรือสถิติผู้เข้าชมในการใช้บริการและรายชื่อคณะการทำงาน

ภารกิจของกรมศิลปากรในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
ภารกิจของกรมศิลปากรในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542

 

ชื่อเรื่อง : ภารกิจของกรมศิลปากรในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป

จำนวนหน้า : 108 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ ภารกิจของกรมศิลปากรในเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 กล่าวถึง องค์ประกอบของพระราชพิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อพระราชพิธีตราสัญลักษณ์ความหมายแนวทางการจัดทำโครงการหลักเกณฑ์ ที่กรมศิลปากรจะดำเนินการในคณะกรรมการรับผิดชอบ โครงการกิจกรรมของกรมศิลปากร ที่เสนอคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเข้าร่วมเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการต่างๆ และภารกิจที่กรมศิลปากรดำเนินการในกิจกรรมเชิดชูสดุดีพระเกียรติ

กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม

 

ชื่อเรื่อง : กระทรวงวัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2556

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 167 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของกระทรวงวัฒนธรรมความจำเป็นและเหตุผลในการก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไรโครงสร้างภายในกระทรวงวัฒนธรรม ต่าง ๆ ส่วนราชการและหน่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรม แบ่งเป็นองค์กรต่าง ๆ  รวมถึงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องศิลปวัฒนธรรม

กรมศิลปากรนามสงเคราะห์และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความคุ้มครองทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม
กรมศิลปากรนามสงเคราะห์และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความคุ้มครองทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม

 

ชื่อเรื่อง : กรมศิลปากรนามสงเคราะห์และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความคุ้มครองทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 164 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือกรมศิลปากรกล่าวถึงประวัติความเป็นมาโครงสร้างรายละเอียดชื่อหน่วยงานผู้บริหารพร้อมหมายเลขโทรศัพท์เพื่อการติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอกรวมทั้งเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมการบริการประชาชนตลอดจนความร่วมมือของฝ่ายต่าง ๆ  รวมถึงความรู้เรื่องของศิลปะหัตถกรรมประติมากรรมต่าง ๆ

กรมศิลปากร รายงานประจำปี 2549
กรมศิลปากร รายงานประจำปี 2549

 

ชื่อเรื่อง : กรมศิลปากร รายงานประจำปี 2549

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2549

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :บียอนด์ พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 164 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือกรมศิลปากร เป็นหนังสือเกี่ยวกับ รายงานประจำปี 2549 กล่าวถึงภาพรวมของกรมศิลปากรการดำเนินงานต่าง ๆ ของกรมศิลปากรที่ได้ตอบสนองยุทธศาสตร์และกระทรวงวัฒนธรรมภายในปี 2549 รวมถึงโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และผลปฏิบัติราชการประจำปี 2549

Arts & Culture FAAQs
Arts & Culture FAAQs

 

ชื่อเรื่อง : Arts & Culture FAAQs

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2009

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : Plan Motif Co., Ltd.

จำนวนหน้า :124 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือ Arts & Culture FAAQsกล่าวถึงวิสัยทัศน์ และ แหล่งรวบรวมศิลปะแขนงต่างๆ ขององค์กรศิลปากรผังโครงสร้างภายในองค์กร รวมถึงภาษาเอกสารประวัติศาสตร์จดหมายเหตุต่างๆ ทั้งเป็นศิลปะดั้งเดิมและศิลปะปัจจุบันสถาปัตยกรรมภายในประเทศ

สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5
สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5

 

ชื่อเรื่อง : สังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากรโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

จำนวนหน้า : 154 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในคนรัชสมัยนั้นขนบธรรมเนียมประเพณี สาธารณูปโภคและสาธารณสุข การปกครองการศึกษาศาสนารวมถึงบุคคลสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5

ระบบการวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน
ระบบการวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน

 

ชื่อเรื่อง : ระบบการวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐาน

ชื่อผู้แต่ง : นิคม มูสิกะคามะ ...[และคณะอื่นๆ]

ปีที่พิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ประชาชน จำกัด

จำนวนหน้า : 200 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือระบบการวัฒนธรรมและคุณภาพมาตรฐานกล่าวถึงความหมายของวัฒนธรรมและอารยธรรมต่าง ๆ วัฒนธรรมใน ทรรศนะโลก ในทัศนะไทย วัฒนธรรมเพื่อการศึกษาและการพัฒนา การใช้วัฒนธรรมในการแก้ไขปัญหาการศึกษาและปัญหาวัฒนธรรม โครงสร้างเนื้อหาและองค์ประกอบของวัฒนธรรม และกระบวนการฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยให้มีคุณภาพ มากยิ่งขึ้น

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

 

ชื่อเรื่อง : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2550

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 202 หน้า

สาระสังเขป : หนังสืออุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพกล่าวถึง ประวัติและความเป็นมาของเมืองศรีเทพ พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรมตั้งแต่เดิมจนถึงปัจจุบันโบราณสถานสำคัญต่าง ๆ  จารึกเมืองศรีเทพโบราณวัตถุสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น อักษร พระพุทธรูปปฏิมากรรม ต่างๆรวมถึงการ สรุปปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของชาวศรีเทพในอดีต

กระบวนพระยุหยาตรา ประวัติและพระราชพิธี
กระบวนพระยุหยาตรา ประวัติและพระราชพิธี

 

ชื่อเรื่อง : กระบวนพระยุหยาตรา ประวัติและพระราชพิธี

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2531

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย

จำนวนหน้า : 137 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือกระบวนพระยุหยาตรา ประวัติและพระราชพิธีกล่างถึง ประวัติและความเป็นมาของกระบวนพยุหยาตรา และกระบวนพยุหยาตราต่าง ๆ เช่น กระบวนพยุหยาตราทัพ กระบวนพยุหยาตราชลมารค กระบวนพยุหยาตราช้าง ม้า และกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค

เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ
เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ

 

ชื่อเรื่อง : เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2539

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 414 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศราชยาน ราชรถ และพระเมรุมาศกล่าวถึง พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีนาถ เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ราชยาน ราชรถ หน้าพระเมรุมาศ ซึ่งกล่าวถึงความหมายประวัติวิวัฒนาการและการใช้งาน องค์ประกอบความงามทางศิลปกรรม ความหมายและความเชื่อ รวมถึง พรรณนาโวหารจากวรรณกรรม เช่นราชรถในวรรณคดี เสลี่ยง วอ สีวิกา พระเมรุมาศ

เรือพระราชพิธี 1996
เรือพระราชพิธี 1996

 

ชื่อเรื่อง : เรือพระราชพิธี1996

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2539

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 180 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรือพระราชพิธีกล่าวถึงประวัติเรือพระที่นั่ง ประเภทเรือแจวพายในแม่น้ำของไทย และความเป็นมาของเรือพระราชพิธีการจัดริ้วขบวนต่างๆลักษณะหน้าที่และความเป็นมาของเรือพระที่นั่งและริ้ว กระบวนรวมถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานในกระบวนเสด็จการแต่งกายของผู้ประจำเรือกระบวนเรือต่าง ๆ  และประวัติย่อของเรือพระราชพิธีคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี

ดนตรีในพระราชพิธี
ดนตรีในพระราชพิธี

 

ชื่อเรื่อง : ดนตรีในพระราชพิธี

ชื่อผู้แต่ง : บุญตา  เขียนทองกุล

ปีที่พิมพ์ : 2548

สถานที่พิมพ์ :กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย

จำนวนหน้า : 210หน้า

สาระสังเขป : หนังสือดนตรีในพระราชพิธีกล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของพระราชพิธีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์เพื่อศึกษาวงประโคม ที่ใช้ประโคมและบรรเลงในพระราชพิธีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ การใช้เพลงตามขั้นตอนการประโคม และบรรเลงในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีที่จัดขึ้นตามวาระพิเศษ

พระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร
พระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร

 

ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2543

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : กราฟฟิกฟอร์แมทไทยแลนด์

จำนวนหน้า : 307 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร กล่าวถึง ความหมายของพระราชพิธีงานพระราชกุศลและรัฐพิธีต่างๆ ประจำปีพระราชพิธีเนื่องในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ รวมถึงพระราชพิธีอันเนื่องด้วยพระบรมวงศ์ พระราชพิธีอันเนื่องด้วยบ้านเมือง ภายในพระราชสำนัก

วิถีชีวิตชาวมอญเกาะเกร็ด เตาเผาโบราณ เปรียบเทียบระหว่างเตาหลังเต่าที่เกาะเกร็ดกับเตาทุเรียงที่เมืองศรีสัชนาลัย
วิถีชีวิตชาวมอญเกาะเกร็ด เตาเผาโบราณ เปรียบเทียบระหว่างเตาหลังเต่าที่เกาะเกร็ดกับเตาทุเรียงที่เมืองศรีสัชนาลัย

 

ชื่อเรื่อง :วิถีชีวิตชาวมอญเกาะเกร็ด เตาเผาโบราณ เปรียบเทียบระหว่างเตาหลังเต่าที่เกาะเกร็ดกับเตาทุเรียงที่เมืองศรีสัชนาลัย

ชื่อผู้แต่ง : อลิสา รามโกมท

ปีที่พิมพ์ : 2566

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ไอเดีย สแควร์

จำนวนหน้า : 112 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือวิถีชีวิตชาวมอญเกาะเกร็ดกล่าวถึง ความเป็นมาของเกาะเกร็ดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงความเป็นมาของชุมชนชาวมอญในเกาะเกร็ดวัฒนธรรมของชาวมอญ ภาษา ดนตรีนาฏศิลป์ การละเล่น วรรณกรรม อาหาร การแต่งกาย และคติความเชื่อประเพณีต่าง ๆ อีกทั้งยังกล่าวถึงเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด การผลิตการจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายมอญที่เกาะเกร็ด

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

 

ชื่อเรื่อง : นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2551

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โจเซฟ

จำนวนหน้า : 164 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย มรดกทางวัฒนธรรมของอีสาน วัตถุโบราณ ต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพิมายรวมไปถึงวัตถุโบราณชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพิมาย

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

 

ชื่อเรื่อง : นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2543

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์

จำนวนหน้า : 164 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราชและจังหวัดนครศรีธรรมราชในปัจจุบันการพัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชกล่าวถึงเมืองโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชโบราณวัตถุศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์แห่งชาตินครศรีธรรมราชต่าง ๆ

เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๓
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๓

 

ชื่อเรื่อง : เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษเล่ม ๓

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2540 - 2554

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์

จำนวนหน้า : 520 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๓ กล่าวถึง ศตวรรษแห่งการพัฒนาของกรมศิลปากรที่เกิดขึ้น รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมศิลปากรและการประมวลหนังสือที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในรอบศตวรรษต่าง ๆ ดัชนีชื่อเรื่อง ผู้แต่ง

เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๒
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๒

 

ชื่อเรื่อง : เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษเล่ม ๒

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2489 - 2539

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์

จำนวนหน้า : 520 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๒ กล่าวถึง ศตวรรษแห่งการพัฒนาของกรมศิลปากรที่เกิดขึ้น รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมศิลปากรและการประมวลหนังสือที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในรอบศตวรรษต่าง ๆ ดัชนีชื่อเรื่อง ผู้แต่ง

เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๑
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๑

 

ชื่อเรื่อง : เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษเล่ม ๑

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ :2454 - 2488

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์

จำนวนหน้า : 700 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือเรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม ๑ กล่าวถึง ศตวรรษแห่งการพัฒนาของกรมศิลปากรที่เกิดขึ้น รวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมศิลปากรและการประมวลหนังสือที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในรอบศตวรรษต่าง ๆ ดัชนีชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ชื่อผู้ตาย 

สุจิบัตร เนื่องในพิธีเปิดโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 กิจกรรมทวีปัญญา ประจำปี 2554 เรื่อง 100 ปี กำเนิดเสือป่าและเสือสยาม
สุจิบัตร เนื่องในพิธีเปิดโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 กิจกรรมทวีปัญญา ประจำปี 2554 เรื่อง 100 ปี กำเนิดเสือป่าและเสือสยาม

 

ชื่อเรื่อง :สุจิบัตร เนื่องในพิธีเปิดโครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 กิจกรรมทวีปัญญา ประจำปี 2554 เรื่อง 100 ปี กำเนิดเสือป่าและเสือสยาม

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2554

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : สามลดา

จำนวนหน้า :48 หน้า

สาระสังเขป :หนังสือ100 ปีกำเนิดเสือป่าและลูกเสือสยามกล่าวถึงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและประวัติการก่อตั้ง ลูกเสือป่า และบรรณนุกรมและสาระสังเขปหนังสือเกี่ยวกับเสือป่าและลูกเสือ

ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวหมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวหมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวหมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2541

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จำนวนหน้า : 292 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ใน พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวหมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ กล่าวถึงหมวด 4 หมวดดังนี้ หมวดวรรณคดี ว่าด้วยเรื่องของ การใช้คำให้ถูก การใช้นามข้าราชการ การใช้นามสถานที่ หมวดราชประเพณีโบราณว่าด้วยเรื่องของประเพณีโบราณต่าง ๆ ของเชื้อพระวงค์ หมวดจารีตโบราณว่าด้วยเรื่องของจารีตที่ยึดปฏิบัติมาแต่โบราณ หมวดโบราณสถานละโบราณวัตถุว่าด้วยเรื่องของโบราณสถานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕

บรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน
บรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน

 

ชื่อเรื่อง :บรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ทรงสิทธิวรรณ

จำนวนหน้า : 244 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือบรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน กล่าวถึง ประวัติ เกียรติประวัติ และผลงานของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ในแขนงต่าง ๆ รวมถึงการใช้บรรณรนุกรมงานนิพนธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามหมวดหมู่

หอสมุดแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน
หอสมุดแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน

 

ชื่อเรื่อง : หอสมุดแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2528

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : สหประชาพาณิชย์

จำนวนหน้า : 186 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือหอสมุดแห่งชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน กล่าวถึง หอสมุดแห่งชาติในอดีต การกำเนิดหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และหอสมุดต่าง ๆ  และการดำเนินงานของหอสมุดสำหรับพระนคร รวมถึงประวัติของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน การบริหารและการแบ่งส่วนราชการ การจัดหาหนังสือและโสตทัศนูปกรณ์ ระบบงานเทคนิคการควบคุมหอสมุดแห่งชาติ

คู่มือสำรวจจัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย
คู่มือสำรวจจัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือสำรวจจัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย

ชื่อผู้แต่ง :

ปีที่พิมพ์ : 2552

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :

จำนวนหน้า : 128 หน้า

สาระสังเขป :หนังสือคู่มือสำรวจจัดหารวบรวมทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย กล่าวถึง การสำรวจเอกสารโบราณวิธีการดำเนินงานในการสำรวจ ประโยชน์ของการสำรวจเพื่อนำมารวบรวมวิเคราะห์ความหมายความเป็นมา ของเรื่องราวในคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์ความสำคัญ และคุณค่าประโยชน์ของคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย 

 

คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง : สมลักษณ์ เจริญพจน์ และคนอื่นๆ

ปีที่พิมพ์ : 2548

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : กราฟิคฟอร์แมท

จำนวนหน้า : 128 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือคู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ รวมถึงแนวการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัตถุในพิพิธภัณฑ์ สถานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การจัดทำทะเบียนการดูแลรักษา การจัดแสดงนิทรรศการ การรักษาความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑสถานท้องถิ่น 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร

 

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร

ชื่อผู้แต่ง : วิสันธนีย์ โพธิสุนทร

ปีที่พิมพ์ :2542

สถานที่พิมพ์ :

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 212 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ชุมพร สถาปัตยกรรมโบราณต่าง ๆ ในจังหวัดชุมพร ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงสถานที่สำคัญและ สถานที่อันเป็นประวัติศาสตร์ของเมืองชุมพร ได้กล่าวถึง วีรกรรมของยุวชนทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และวาตภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองชุมพร 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี

 

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี

ชื่อผู้แต่ง : อนงค์ หนูแป้น…[และคนอื่นๆ]

ปีที่พิมพ์ : 2546

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ฟันนี่ พับบลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 163 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี กล่าวถึงประวัติการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสุพรรณบุรีประวัติเมืองสุพรรณในสมัยต่าง ๆ คนสุพรรณในสมัยต่าง ๆ วิถีชีวิตความเป็นอยู่กลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ประวัติบุคคลสำคัญในสุพรรณบุรี ประติมากรรม เครื่องใช้เครื่องปั้นดินเผาในสมัยต่าง ๆ วรรณกรรมเพลงพื้นบ้านสุพรรณบุรี และสุพรรณบุรีที่ตั้งอาณาเขตประชาชนการปกครองในปัจจุบัน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา

 

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

ชื่อผู้แต่ง : สิริพรรณ ธิรศิรโชติ

ปีที่พิมพ์ : 2543

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์

จำนวนหน้า : 200 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพิพิธภัณฑแห่งชาติสงขลา กล่าวถึงประวัติ ความเป็นมาของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรวมถึงประวัติเมืองสงขลาสภาพทางภูมิศาสตร์ ทะเลสาบ เกาะ ภูเขา แม่น้ำ ภูมิอากาศ และการตั้งถิ่นฐานของเมืองสงขลา กลุ่มชุมชนต่าง ๆ เมืองสงขลาในอดีต นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาไม่ว่าจะเป็น ข้าวของเครื่องใช้เงินในสมัยก่อนเครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ 

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์

 

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์

ชื่อผู้แต่ง : สรัญญา สุริยรัตนกร, กฤษฏา พิณศรี และประภัสสร โพธิ์ศรีทอง

ปีที่พิมพ์ : 2542

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 116 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์เล่มนี้ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองนครปฐม ทั้งในด้านชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ เมืองทวารวดี เมืองโบราณนครปฐม ศาสนาและความเชื่อ ศิลปกรรมสมัยทวารวดี จารึกโบราณที่ค้นพบในเมืองนครปฐม และโบราณวัตถุสมัยทวารวดีชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ

 

ชื่อเรื่อง : นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ

ชื่อผู้แต่ง : พนมบุตร จันทร์โชติ, ภัทราวรรณ ภาครส และวรางคณา เพ็ชร์อุดม

ปีที่พิมพ์ : 2550

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

จำนวนหน้า : 143 หน้า

สาระสังเขป : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิเล่มนี้ กล่าวถึงประวัติการก่อต้้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง การนำชมพิพิธภัณฯ รวมถึงแนะนำโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณฯ นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับดินแดนสุวรรณภูมิและเมืองโบราณอู่ทอง กล่าวถึงที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา พัฒนาการ และภูมิศาสตร์ของเมืองโบราณอู่ทอง และในส่วนท้ายได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูป ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่โบราณสถานคอกช้างดิน และการครองจีวรของพระพุทธรูป เป็นต้น