ปรับขนาดอักษร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์
เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์

ชื่อผู้แต่ง ทรงวิทย์ แก้วศรี

ชื่อเรื่อง เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์

ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑  

สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  อมรินทร์ การพิมพ์

ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๙

จำนวนหน้า ๓๒๐ หน้า

หมายเหตุ จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯเสด็จทรงเปิดนิทรรศการ เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๙

                หนังสือเกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ เล่มนี้ กล่าวถึงนิทรรศการประวัติ ชีวิต ผลงาน และเกียรติคุณของหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ อีกทั้งยังมีผลงานด้านต่างๆ อาทิ นาฏลีลา จินตลีลา งานเพลง โน๊ตเพลง

วรรณกรรมพระยาตรัง
วรรณกรรมพระยาตรัง

ชื่อผู้แต่ง -

ชื่อเรื่อง วรรณกรรมพระยาตรัง

ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๔

สถานที่พิมพ์ ยะลา

สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บุญจิตติการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕

จำนวนหน้า ๒๘๔ หน้า

หมายเหตุ –

                หนังสือวรรณกรรมพระยาตรัง เล่มนี้ ได้รวบรวมเนื้อเรื่องไว้ ๔ โคลง ๑ เพลงยาว ประกอบด้วย ๑.โคลงนิราศพระยาตรัง ๒.โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย ๓.โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๔.เพลงยาวพระยาตรัง ๕.โคลงกวีโบราณ

 

จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓
จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓

ชื่อผู้แต่ง -

ชื่อเรื่อง จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓

ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคลสหประชาพาณิชย์

ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๐

จำนวนหน้า ๑๗๒ หน้า

หมายเหตุ จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณ ในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติ วันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๓๐

          หนังสือจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓ นี้ เป็นหลักฐานแสดงถึงพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งของพระมหากษัตริย์ในพระบรมจักรีวงศ์ ว่าทรงตากตรำทำนุบำรุงรักษาบ้านเมืองไว้ด้วย

 

ไตรภูมิฉบับภาษาเขมร
ไตรภูมิฉบับภาษาเขมร

ชื่อผู้แต่ง ไตรภูมิ

ชื่อเรื่อง ไตรภูมิฉบับภาษาเขมร

ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด

ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๐

จำนวนหน้า ๘๔ หน้า

หมายเหตุ

                หนังสือไตรภูมิฉบับภาษาเขมร เล่มนี้ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายถึงภูมิและกำเนิดต่างๆในเทวโลก มนุษยโลก และยมโลก คล้ายกับหนังสือไตรภูมิภาษาไทย มีการกล่าวถึงชื่อเมือง และชื่อต้นไม้ต่างๆ ทั้งที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีและนอกวรรณคดี ให้ความรู้ทางคดีโลกและคดีธรรมเป็นอย่างดี

 

เครื่องมุก
เครื่องมุก

 

ชื่อผู้แต่ง วิสันธนี โพธิสุนทร

ชื่อเรื่อง เครื่องมุก

ครั้งที่พิมพ์ -

สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พิฆเณศ

ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๔

จำนวนหน้า ๑๔๔ หน้า

หมายเหตุ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ประกอบนิทรรศการพิเศษ เนื่องในงานเฉลิมพระเกียรติครบรอบวันประสูติ ๑๐๐ ปี จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๒๙ มิถุนายน ๒๕๒๔

          หนังสือเรื่องเครื่องมุกเล่มนี้ ได้นำเครื่องมุก จำนวน ๒๐๐ รายการ ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดนิทรรศการพิเศษ แสดงให้ประชาชนและผู้สนใจชม เครื่องมุกที่นำมาจัดแสดงล้วนเป็นเครื่องมุกชิ้นเยี่ยมทั้งสิ้น

 

โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนเล่ม ๒
โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนเล่ม ๒

ชื่อผู้แต่ง         ราตรี โตเพ่งพัฒน์, ผู้เรียบเรียง

ชื่อเรื่อง           โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนเล่ม ๒

 พิมพ์ครั้งที่      

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ปีที่พิมพ์           ๒๕๓๓     จำนวนหน้า       ๑๗๖     หน้า

หมายเหตุ         เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นจากการดำเนินโครงการสำรวจตรวจหาโบราณ สถานในภูมิภาคต่างเพิ่มเติมจากที่เคยสำรวจไว้แล้วและเป็นเอกสารกองโบราณ คดีหมายเลข ๑๒/๒๕๓๓ เรื่อง โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน เล่ม ๒ ข้อมูลหน่วยศิลปากรที่ ๒ มี ๗ จังหวัด คือ สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี

บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกับนานาประเทศในทิรสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓
บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกับนานาประเทศในทิรสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓

ชื่อผู้แต่ง            สุภรณ์ อัศวสันโสภณ,ผู้แปล

ชื่อเรื่อง            บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกับนานาประเทศในทิรสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓

พิมพ์ครั้งที่       ๑

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      ทสน.สหประชาพาณิชย์

ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๒    จำนวนหน้า       ๔๘๕    หน้า

หมายเหตุ       หนังสือเล่มนี้แปลจากหนังสือชุด Recorde of the Relations between Siam and Foreign Countries in the 17thCentury รวม ๕ เล่ม เนื้อหาสาระเป็นจดหมายตอบโต้ รายงานและบันทึกเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศที่เข้ามา ค้าขายในประเทศไทยในสมัยอยุธยา

ตู้ลายทอง ภาค๒ ตอนที่ ๔ ( สมัยรัตนโกสินทร์ กท.๒๘๖ – กท.๓๗๓ )
ตู้ลายทอง ภาค๒ ตอนที่ ๔ ( สมัยรัตนโกสินทร์ กท.๒๘๖ – กท.๓๗๓ )

ชื่อผู้แต่ง          ก่องแก้ว วีระประจักษ์และนิยะดา ทาสุคนธ์

ชื่อเรื่อง            ตู้ลายทอง ภาค๒ ตอนที่ ๔ ( สมัยรัตนโกสินทร์ กท.๒๘๖ – กท.๓๗๓ )และทีมลายทอง

พิมพ์ครั้งที่       ๑

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์       ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์อักษรไทย

ปีที่พิมพ์           ๒๕๓๒      จำนวนหน้า     ๔๔๗    หน้า

หมายเหตุ         คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์   หนังสือตู้ลายทองเล่มนี้รายละเอียดของเนื้อหาประกอบด้วยชื่อ ด้านฝีมือช่าง ประวัติ ขนาด สภาพ ลักษณะลาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมภาพประกอบ จำนวน ๘๘ ตู้

ชินมหานิทาน เล่ม ๑ ภาคภาษาบาลี
ชินมหานิทาน เล่ม ๑ ภาคภาษาบาลี

ชื่อผู้แต่ง        กรมศิลปากร กองหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง          ชินมหานิทาน เล่ม ๑ ภาคภาษาบาลี

พิมพ์ครั้งที่      

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์

ปีที่พิมพ์           ๒๕๓๐     จำนวนหน้า       ๒๙๑     หน้า

หมายเหตุ        จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบพระบาทสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชชินมหานิทานเป็นเอกสารวิชาการ หอสมุดแห่งชาติ อันดับที่๑/๒๕๓๐ จัดทำขึ้นเนื่องในมหามลคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ เมื่อ ๕ ธันวาคม๒๕๓๐ กรมศิลปากรมอบหมายให้กองหอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์หนังสือชินมหานิทานขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาสืบอายุพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณและขอถวายเป็นพระราชกุศล

จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะพุทธศตวรรษที่๑๒ – ๑๔ ล.1
จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะพุทธศตวรรษที่๑๒ – ๑๔ ล.1

ชื่อผู้แต่ง  :  กรมศิลปากรกองหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง  :  จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔.1.                 

พิมพ์ครั้งที่  :   ๑

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๙     จำนวนหน้า       ๓๑๑                 หน้า

หมายเหตุ  :   เอกสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ อันดับที่ ๔/๒๕๒๙ เป็นการรวบรวมคำอ่านและแปลจารึกที่พบในประเทศไทยโดยนักภาษาโบราณประกอบด้วย เทิบ ปีเต็ม จำปา เยื้องเจริญ ชะเอม แก้วคล้าย บุญเลิศ เสนานนท์และบุญนาค สะแกนอกและอาจารย์ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ เป็นผู้ตรวจสอบเรียบเรียงประวัติทะเบียนจารึก โดยจัดเป็นกลุ่มรูปแบบอักษรตามลำดับยุคสมัยเล่มที่ ๑ จารึกอักษรปัลลวะหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔

จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ครั้งที่ ๒ ของบาทหลวงตาชารด์ ค.ศ.๑๖๘๗-๑๖๘๘
จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ครั้งที่ ๒ ของบาทหลวงตาชารด์ ค.ศ.๑๖๘๗-๑๖๘๘

ชื่อผู้แต่ง        ตาชารด์,กวีย์กัปสันต์ ท. โกมลบุตร, ผู้แปล

ชื่อเรื่อง          จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ครั้งที่ ๒ ของบาทหลวงตาชารด์ ค.ศ.๑๖๘๗-๑๖๘๘

พิมพ์ครั้งที่      ๑

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์คุรุสาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๗      จำนวนหน้า       ๒๙๖     หน้า

หมายเหตุ       บาทหลวงกวีย์ ตาชารด์เป็นคณะทูตจากฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและได้รับความไว้วาง พระทัยจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในขณะที่เดินทางมาจากประเทศไทยได้บันทึกเรื่องราวต่างในประเทศไทยและนำไปตีพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสจดหมายเหตุการณ์เดินทางครั้งที่ ๒ ก็เป็นบันทึกฉบับที่ ๒

ตำนานว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าวและการเล่นว่าวต่อสู้กันในอากาศ
ตำนานว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าวและการเล่นว่าวต่อสู้กันในอากาศ

ชื่อผู้แต่ง        ภิรมย์ภักดี,พระยา ( บุญรอด เศรษฐบุตร )

ชื่อเรื่อง          ตำนานว่าวพนัน ตำราผูกว่าว วิธีชักว่าวและการเล่นว่าวต่อสู้กันในอากาศ

พิมพ์ครั้งที่     ๒

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด ( แผนกโรงงาน )

ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๐   จำนวนหน้า       ๘๘       หน้า

หมายเหตุ       หนังสืออนุสรณ์ในพิธีถวายศาลาจงพิพัฒนสุข

                      เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยตำนานว่าวพนันในประเทศไทยตำราการทำว่าวปักเป้า อุปกรณ์เล่นว่าว การทำเหนียงว่าวปักเป้า วิธีบังคับว่าวปักเป้าและตำราว่าวจุฬา รวมทั้งกติกาการเล่นว่าวสนามหลวง ร.ศ.๑๒๕

พระราชทานเพลิงศพ นางทองพูน พึ่งสุนทร จ.ช.
พระราชทานเพลิงศพ นางทองพูน พึ่งสุนทร จ.ช.

ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง            การพิจารณาปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

พิมพ์ครั้งที่       ๑

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์การศาสนา

ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๘    จำนวนหน้า    ๑๕๒  หน้า

หมายเหตุ         หนังสือเล่มนี้เป็นรายงานการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาเจดีย์โบราณที่อำเภอ พนมทวน จ.กาญจนบุรีของคณะกรรมการพิจารณาปัญหาฯ ประกอบด้วย สรุปผลการประชุม ๗ ครั้ง ประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณา ๓ ประเด็นและภาคผนวก เรื่อง วาดพงศาวดารเส้นทางเดินทัพและการสำรวจพื้นที่เดินทัพ

การพิจารณาปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
การพิจารณาปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ชื่อผู้แต่ง     กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง         การพิจารณาปัญหาเรื่องเจดีย์โบราณที่อำเอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี                       

พิมพ์ครั้งที่    ๑

สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์การศาสนา

ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๘   จำนวนหน้า   ๑๕๒   หน้า

หมายเหตุ     หนังสือเล่มนี้เป็นรายงานการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาเจดีย์โบราณที่อำเภอ พนมทวน จ.กาญจนบุรีของคณะกรรมการพิจารณาปัญหาฯ ประกอบด้วยสรุปผลการประชุม ๗ ครั้ง ประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาพิจารณา ๓ ประเด็นและภาคผนวก เรื่อง วาดพงศาวดารเส้นทางเดินทัพและการสำรวจพื้นที่เดินทัพ

ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย
ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย

ชื่อผู้แต่ง  : ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย

ชื่อเรื่อง  :  ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๙

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  เจริญวิทย์การพิมพ์

จำนวนหน้า  :  ๒๘๔ หน้า

หมายเหตุ  :  ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายชวลิลร์ กันตารัติ

 

 

                   ปกิณกะเกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นของไทย อันเป็นการรวมเนื้อหาและประเด็นที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่นต่างๆ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นจากผู้รู้หลายท่านมาประมวลเฉพาะส่วนที่สำคัญ หรือส่วนที่พอจะอธิบายความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องการละเล่นเหล่านี้

 

จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3 เล่ม 5
จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3 เล่ม 5

ชื่อผู้แต่ง          จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3

ชื่อเรื่อง           จดหมายเหตุ รัชกาลที่ 3 เล่ม 5

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      คลองสาน กรุงเทพมหาคร

สำนักพิมพ์        ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2530                 จำนวนหน้า 150 หน้า

หมายเหตุ         รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

                                พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชคุณูปการแก่ประเทศและประชาชนเป็นล้นพ้นหาที่สุดจะพรรณนาได้ พระราชกรณียกิจตลอดเวลา 27 ปี แห่งการครองราชย์ ทรงสร้างสรรค์คุณประโยชน์อเนกอนันต์อันเป็นรากฐานแห่งความเจริญวัฒนาทั้งสิ้น 

 

ถลาง  ภูเก็ต และชายฝั่งทะเลอันดามัน
ถลาง  ภูเก็ต และชายฝั่งทะเลอันดามัน

ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม

ชื่อเรื่อง  :  ถลาง  ภูเก็ต และชายฝั่งทะเลอันดามัน

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๒

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด

จำนวนหน้า  :  ๒๘๒ หน้า

หมายเหตุ  :  กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

 

 

                   ดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตกภาคใต้ของประเทศไทยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์มานานนับพันปี โดยเฉพาะเกาะถลางหรือภูเก็ตนั้น เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่เดินเรือจากอินเดียไปจีน โดยผ่าน แหลมมลายูมาตั้งแต่ต้นคริสตกาลจึงเป็นบริเวณที่สะสมวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ไว้เป็นอันมาก

 

เครื่องนมัสการและโต๊ะหมู่บูชา
เครื่องนมัสการและโต๊ะหมู่บูชา

ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม

ชื่อเรื่อง  :  เครื่องนมัสการและโต๊ะหมู่บูชา

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๓

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์พระจันทร์

จำนวนหน้า  :  ๙๐ หน้า

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงหรั่ง  กันตารัติ

 

 

                   กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่า การจัดตั้งเครื่องสักการะเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยที่มีสืบมาแต่โบราณ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณี

 

การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง
การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง

ชื่อผู้แต่ง  :  วรรณิภา  ณ สงขลา

ชื่อเรื่อง  :  การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๘

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  อมรินทร์การพิมพ์

จำนวนหน้า  :  ๑๓๐ หน้า

หมายเหตุ  :  กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส การจัดนิทรรศการ การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม

 

 

การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง เป็นหนังสือวิชาการที่ให้ความรู้ ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังโดยตรง จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อถวายท่านเจ้าอาวาสวัดที่มีจิตรกรรมฝาผนังทั่วประเทศ

บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ถึงเข้าเมืองการเวก
บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ถึงเข้าเมืองการเวก

ชื่อผู้แต่ง          ศิลปากร,กรม

ชื่อเรื่อง           บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ถึงเข้าเมืองการเวก

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      -

สำนักพิมพ์        -

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2529                 จำนวนหน้า 48 หน้า

หมายเหตุ         -

                   

                                บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน กำเนิดสุดสาคร ถึงเข้าเมืองการเวก นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์ อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของ  สุนทรภู่ และเรื่อง ประวัติสุนทรภู่ ว่า เป็นเรื่องที่สุนทรภู่ตั้งใจแต่งโดยประณีตทั้งตัวเรื่องและถ้อยคำสำนวนนับเป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งดีที่สุด เพราะเป็น หนังสือเรื่องยาวแต่งดีทั้งกลอนทั้งความคิดที่ผูกเรื่องเรื่องอื่น เช่น เสภาตอนพลายงามถวายตัวก็ดี นิราศภูเขาทองก็ดี นิราศเมืองเพชรบุรีก็ดี  แต่งดีอยากเอกก็จริง แต่เป็นเรื่องสั้น ๆ จะเปรียบกับเรื่องพระอภัยมณีไม่ได้คนทั้งหลายจึงได้ชอบอ่านกันแพร่หลาย

จักวาฬทีปนี
จักวาฬทีปนี

ชื่อผู้แต่ง          หอสมุดแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง           จักวาฬทีปนี

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        หจก.เซ็นทรัลเอ็กเพรสศึกษาการพิมพ์ 

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2523                 จำนวนหน้า 526 หน้า

หมายเหตุ         -                    

                                วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ มี ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อให้มีคัมภีร์จักกวาฬทีปนี อักษรไทย สำหรับใช้ศึกษาค้นคว้าประการหนึ่ง

๒. ให้มีหนังสือประเภทโลกศาสตร์เพื่อเผยแพร่และศึกษาแนวความคิดเรื่องโลกตามแนว

ศาสนาเพิ่มขึ้นประการหนึ่ง

๓. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้สนใจค้นคว้าศึกษาวิชาประเภทวรรณคดีบาลี

อีกประการหนึ่ง

 

หนังสือ บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หนังสือ บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อผู้แต่ง          ศิลปากร,กรม

ชื่อเรื่อง           หนังสือ บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งที่พิมพ์        2

สถานที่พิมพ์      ป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์กรมการศาสนา

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2531                 จำนวนหน้า 84 หน้า

หมายเหตุ         -

                   

                                พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เป็นวรรณคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ ด้วยทรงใช้เวลาในการพระราชนิพนธ์เพียงสิบเอ็ดวัน ทรงวางผังฉากละควรด้วยลายพระราชหัตถ์และเป็นบทละครพูดร้อยแก้วเรื่องสุดท้ายของท่าน ทรงใช้พระนามแฝงว่า “ศรีอยุธยา”

 

การอนุรักษ์ตู้ลายรดน้ำเขียนสีในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์
การอนุรักษ์ตู้ลายรดน้ำเขียนสีในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง          กุลพันธาดา  จันทร์โพธิ์ศรี

ชื่อเรื่อง           การอนุรักษ์ตู้ลายรดน้ำเขียนสีในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      ดุสิต กรุงเทพมหาคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ ห้างฯ ป.สัมพันธ์พาณิชย์

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2531                 จำนวนหน้า 28 หน้า

หมายเหตุ         -

                                หนังสือเรื่องนี้ เป็นการศึกษาเทคนิคและวิธีการใช้สีในสมัยโบราณ ที่นิยมใช้ในงานจิตรกรรมไทย เพื่อทราบถึงวิวัฒนาการของการใช้สีในแต่ละสมัย และข้อมูลที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง

 

ตู้ไทยโบราณ
ตู้ไทยโบราณ

ชื่อผู้แต่ง          ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และคณะ

ชื่อเรื่อง           ตู้ไทยโบราณ

ครั้งที่พิมพ์         -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์กรมการศาสนา

ปีที่พิมพ์          พ.ศ. ๒๕๒๑                จำนวนหน้า  ๗๘ หน้า

หมายเหตุ         -

                   ตู้และหีบหนังสือลายทอง เป็นเครื่องหมายแสดงวิวัฒนาการของกิจการห้องสมุดในประเทศไทย กล่าวคือ เมื่อแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการจัดตั้งหอพระสมุด วชิรญาน เป็นหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร มีกระแสพระราชดำว่า ควรใช้ตู้ลายทองรดน้ำของเก่าเป็นตู้สำหรับใส่หนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งงตู้เหล่านี้มีทั้งศิลปะสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์

 

งานพระเมรุมาศสมัยรัตนโกสินทร์
งานพระเมรุมาศสมัยรัตนโกสินทร์

ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร,กรม

ชื่อเรื่อง  :  งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๘

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  อมรินทร์การพิมพ์

จำนวนหน้า  :  ๔๕๑ หน้า

หมายเหตุ  :  รัฐบาลในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯถวายสนอง

พระมหากรุณาธิคุณในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

 

                   หนังสือเรื่อง “งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์” ได้ค้นคว้ารวบรวมจากเอกสารอันเกี่ยวกับงานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสิทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ เช่น จากจดหมายเหตุเก่า จากหมายกำหนดการงานพระบรมศพในแต่ละรัชสมัย เดิมผู้ค้นคว้ารวบรวมให้ชื่อเรื่องว่า “จดหมายเหตุงานพระบรมศพ” เคยนำออกพิมพ์เผยแพร่แล้วในหนังสือวารสารศิลปากร ของกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๔๙๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๗ จัดว่าเป็นเรื่องที่ประมวลพิธีการต่างๆ ในงานพระบรมศพไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้ที่สนใจศึกษาทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และขนบธรรมเนียมราชประเพณีเป็นอย่างมาก ทั้งจะเป็นประดุจตำราคู่มือสำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการรักษาและปฏิบัติการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามราชประเพณี และพระราชนิยม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาลได้มีพระบรม

ราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งไว้ ในการพระบรมศพครั้งนี้ หาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่รอบรู้ขนบประเพณีได้น้อย และในจำนวนน้อยนี้เองก็แก่เฒ่ามากแล้วด้วย จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะป้อนความรู้ให้แก่ผู้ปฏิบัติรุ่นหลังไว้บ้าง

 

จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เล่ม ๒
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ เล่ม ๒

ชื่อผู้แต่ง  :  -

ชื่อเรื่อง  :  จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๒

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๐

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์

จำนวนหน้า  :  ๑๓๘ หน้า

หมายเหตุ  :  รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนอง

พระมหากรุณาธิคุณ ในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จ

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๓๐

 

                   หนังสือชุดนี้จะเป็นหลักฐานแสดงถึงพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง ของพระมหากษัตริย์ใน

พระบรมจักรีวงศ์ ว่าทรงตรากตรำทำนุบำรุงรักษาบ้านเมืองไว้ด้วยพระวิริยานุภาพอย่างยิ่ง

และพระราชกรณียกิจเหล่านั้น ประดุจรากฐานแห่งความเจริญรุ่งเรืองของประเทศตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ทั้งสิ้น

 

นิราศพระประธมฯ
นิราศพระประธมฯ

ชื่อผู้แต่ง  :  พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท  พระราวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

ชื่อเรื่อง  :  นิราศพระประธม

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๒

ครั้งที่พิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ห้า

สถานที่พิมพ์  :  -

สำนักพิมพ์  :  -

จำนวนหน้า  :  ๗๑ หน้า

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพ นางเฉื่อย  บุญวีระ

 

                   เรื่อง นิราศพระประธม นี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวงษาสนิท ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และได้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ต่อมาพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งอุปนายกราชบัณฑิตยสภา ได้ทรงชำระ ครั้งนี้นับเป็นการพิมพ์ครั้งทีห้า ได้นำคำของผู้ชำระมาพิมพ์รวมไว้ข้างหน้าเรื่องด้วย

                   อนึ่ง ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รักษาอักขรวิธีตรมตามข้างต้นฉบับเดิมทุกประการ และเจ้าภาพได้ขออนุญาตนำเรื่องโจรจันทร์จากนิทานที่ ๑๑ ในนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพมารวมพิมพ์ไว้ด้วย

 

โคลงทศรถสอนพระรามฯ
โคลงทศรถสอนพระรามฯ

ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม

ชื่อเรื่อง  :  โคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง โคลงราชสวัสดิ์ สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนกลาง

โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๔

ครั้งที่พิมพ์  :  พระราชนิพนธ์โคลง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์พิมพ์ครั้งที่ สอง

:  สมุทรโฆษคำฉันท์ พิมพ์ครั้งที่ สี่

              :  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พิมพ์ครั้งที่ สอง

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  เจริญวิทย์การพิมพ์

จำนวนหน้า  :  ๙๕ หน้า

หมายเหตุ  :  ที่ระลึกในโอกาสเปิดศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี

 

                   เรื่องโคลงครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์นี้ ประกอบด้วยคำโคลงเรื่อง พาลีสอนน้อง ทศรถสอนพระราม และราชสวัสดิ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่อง พาลีสอนน้องนั้น เป็นตอนที่พาลีรู้ว่าตนจะตาย จึงเรียกลูกคือ องคต และน้องคือ สุครีพ มาสั่งสอนให้รู้จักประพฤติตัวในการที่จะไปเป็นข้าพระรม เรื่องทศรถสอนพระราม เป็นตอนที่ท้าวทศรถให้โอวาทพระราม เมืองทรงมอบเมืองให้ครอบครอง ส่วนเรื่องราชสวัสดินั้น เป็นเรื่องวิธุรบัณฑิตสอนบุตรในวิธุรชาดกที่ ๙ แห่งทศชาติ ซึ่งกล่าวถึงหลักความประพฤติของอำมาตย์ผู้อยู่ใกล้ชิดพระราชา

                   เรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ที่พิมพ์อยู่ในฉบับนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ต่อจากที่พระมหาราชครูได้แต่งค้างไว้ ตั้งแต่ตอนที่พระสมุทรโฆษและ

นางพินทุมดีใช้บนเริ่มด้วยความว่า

                             “พิศพระกุฏีอา    ศรมสถานตระการกล

                             แกมแก้วตระกลยน  ตประกิตประเกาะกัน”

                   จบถึงตอนที่พิทยาธร ๒ ตนรบกัน ตนหนึ่งแพ้ตกลงไปในสวนของพระสมุทรโฆษ ความว่า

                             “ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู

                             โอ้แก้วกับตนกู   ฤเห็น”

                   สำหรับเรื่องโคลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ นั้น

เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นคำโคลงที่พรรณนาถึงความรุ่งโรจน์ของปราสาทราชมนเทียรในนครลพบุรี และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ซึ่งมิได้ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารอีกด้วย

 

คู่มือการจัดพิมพ์หนังสือ
คู่มือการจัดพิมพ์หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง  : สมชาย  พุ่มสอาด

ชื่อเรื่อง  :  คู่มือการจัดพิมพ์หนังสือ

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๖

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : -

สำนักพิมพ์  :  -

จำนวนหน้า  :  ๖๕  หน้า

หมายเหตุ  :  -

 

                   คู่มือการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ได้ปรับปรุงจากหนังสือ คู่มือการจัดรูปเล่มหนังสือและการพิสูจน์อักษร ซึ่ง นายทรงวิทย์  แก้วศรี บรรณารักษ์ ๖ กองหอสมุดแห่งชาติเรียบเรียง

นางกุลทรัพย์  เกษแม่นกิจ ผู้อำนวยการกองหอสมุดแห่งชาติ ตรวจแก้ และหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์(อัดสำเนา) ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ นับว่าเป็นคู่มือสำคัญในการจัดพิมพ์หนังสือได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีข้อควรเพิ่มเติมอีกบางประการ เช่น หลักการนับต้นฉบับ การคิดคำนวณกระดาษต่อจำนวนพิมพ์ การพิมพ์ระบบออฟเซ็ท ราคามาตรฐานในการจ้างพิมพ์ของกระทรวงการคลัง ระเบียบกรมศิลปากร เรื่องการขออนุญาตพิมพ์หนังสือ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่หน้าที่เกี่ยวกับการพิมพ์หนังสือ การคำนวณราคา การสอบราคา และการประมูลราคาในการพิมพ์ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จึงได้มอบให้ นายสมชาย  พุ่มสอาด นักอักษรศาสตร์ ๗ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ รวบรวมและเรียบเรียงในสาระสำคัญเพิ่มเติมขึ้น แล้วให้ชื่อหนังสือว่า คู่มือการจัดพิมพ์หนังสือ

 

บทนาฎกรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทนาฎกรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ชื่อผู้แต่ง  : พุทธเลิศหล้านภาลัย ,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง  :  บทนาฏกรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๓

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  หสน.สหประชาพาณิชย์

จำนวนหน้า  :  ๔๔ หน้า

หมายเหตุ  :  เนื่องในวาระคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ โรงละคอนแห่งชาติ

 

                   ศิลปินนั้นมีจุดหมายในชีวิตอยู่ที่การสร้างผลงานอันเป็นอมตะ ยิ่งกว่าที่จะมุ่งประสงค์ในลาภสักการ งานศิลปะจึงต้องการความอุปถัมภ์ค้ำชูยิ่งกว่าวิชาชีพอื่น เพื่อให้ศิลปินได้มีเวลารังสรรค์งานของตนได้อย่างเต็มที่ ในรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงรับเป็นพระราชภาระอันสำคัญที่จะต้องทรงทำนุบำรุง และอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปิน กอปรกับทรงเป็นศิลปินเองด้วย บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการบริพารน้อยใหญ่และพสกนิกรถ้วนหน้า ต่างโดยพระราชนิยมนี้ จึงเป็นที่กล่าวกันว่าในรัชสมัยแห่งพระองค์ท่านนั้น เป็นยุคทองแห่งศิลปวัฒนธรรม

 

ชินมหานิทาน
ชินมหานิทาน

ชื่อผู้แต่ง  :  หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง  :  ชินมหานิทาน เล่ม ๒ ภาคภาษาไทย

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๐

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  ห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์

จำนวนหน้า  :  ๓๒๓ หน้า

หมายเหตุ  :  จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

 

 

                   ชินมหานิทาน เป็นคัมภีร์ประเภทตำนานหรือประวัติ มีเรื่องราวของประพุทธเจ้าตั้งแต่อดีตครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมาโดยลำดับจนกระทั่งถึงเสด็จดับขันธปรินิพพานและแจก

พระบรมสารีริกธาตุเป็นที่สุด

 

บันทึกเรื่องสัมพันธภาพ ระหว่าง กรุงสยามกับนานประเทศ
บันทึกเรื่องสัมพันธภาพ ระหว่าง กรุงสยามกับนานประเทศ

ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม , น.ส. สุภรณ์  อัศวสันโสภณ อ.บ.(จุฬา) แปล

ชื่อเรื่อง  :  บันทึกเรื่องสัมพันธภาพ ระหว่าง กรุงสยามกับนานประเทศ ในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๒ (พ.ศ. ๒๒๒๙ ๒๒๓๐)

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๕

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : -

สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์การศาสนา

จำนวนหน้า  :  ๒๘๑ หน้า

หมายเหตุ  :  -

 

 

                   หนังสือชุด Records of the Relations between Sian and Foreign Countries in the 17th Century นี้ เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยอยุธยา  เป็นจดหมายโต้ตอบ รายงาน และบันทึกเกี่ยวกับการค้าของพ่อค้าชาวต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงสยาม กล่าวถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจซึ่งไม่มีปรากฏในพงศาวดารของไทย นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นหลักฐานให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างกรุงสยามกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศทางตะวันตก การแก่งแย่งชองไหวชิงพริบทางการค้า ตลอดจนทำให้ทราบ

ถึงความรู้สึกนึกคิดของประเทศนั้นๆ  ที่มีต่อประเทศไทยในขณะนั้นด้วย

 

เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นฯ
เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นฯ

ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร,กรม

ชื่อเรื่อง  :  เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็น จัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓

และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๖

ครั้งที่พิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ห้า

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด (โรงพิมพ์จันหว่าเดิม)

จำนวนหน้า  :  ๑๐๗ หน้า

หมายเหตุ  :  คุณหญิงทัศนาวลัย  ศรีสงคราม  พิมพ์ถวายเนื่องในงานฉลองพระชันษาครบ ๖๐ พรรษา ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

 

 

                   เอกสารที่นำมาจัดเผยแพร่ในครั้งนี้ นับเป็นเอกสารสำคัญในด้านประวัติศาสตร์การปกครองของไทยเรื่องหนึ่ง เพราะจะช่วยให้เราผู้เป็นประชาชนได้ทราบว่า ความคิดริเริ่มที่จะมีการปกครองประเทศไทยตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ได้มีขึ้นในเมืองไทยมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่ ร.ศ. ๑๐๓ คือ พ.ศ. ๒๔๒๗ และที่สำคัญควรสนใจก็คือ  ความคิดริเริ่มระบอบประชาธิปไตยนี้  ได้เกิดขึ้นจากบรรดาเจ้านายและขุนนาง และได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุข บริหารประเทศตั้งแต่สมัยยังคงใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เอกสารนี้จะช่วยให้เราทราบถึงสติปัญญาความคิดความเฉลียวฉลาดเฉียบแหลมของเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ของไทย ว่าได้ไฝ่ใจศึกษาสภาพเหตุการณ์บ้านเมือง และมีความรู้ความคิดทันเหตุการณ์อยู่เสมอ ความคิดริเริ่มที่ได้กราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการแผ่นดินนี้

ก็เป็นไปเพื่อประสงค์จะปรับปรุงให้บ้านเมืองเข้าสู่อารยธรรมทัดเทียมกับต่างประเทศทางยุโรป และถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมิทรงสนองตอบโดยสมบูรณ์ตามความคิดเห็นที่เสนอ แต่ก็

เห็นได้ว่าได้ทรงสนองตอบในประการสำคัญหลายประการในการที่ได้ทรงแก้ไขการปกครองแผ่นดินตาม

พระราชดำรัสทีทรงแถลงใน ร.ศ. ๑๐๓ นั้น

 

การทำสมุดไทย
การทำสมุดไทย

ชื่อผู้แต่ง  : ก่องแก้ว  วีระประจักษ์

ชื่อเรื่อง  :  การทำสมุดไทย และการเตรียมใบลาน

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๑

ครั้งที่พิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์ไพศาลศิริ

จำนวนหน้า  :  ๑๕ หน้า

หมายเหตุ  : 

 

 

ในสมัยโบราณเมื่อยังไม่มีการตีพิมพ์หนังสือวรรณคดีเรื่องต่างๆ ก็ได้รับการจดบันทึก เขียน แต่งลงในสมุดไทยและใบลาน ซึ่งบรรพบุรุษของไทยได้ใช้อัจฉริยภาพคิดประดิษฐ์ขึ้นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้

แหล่งที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน พร้อมทั้งแสดงกรรมวิธีต่างๆ เป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ มีอยู่ ๒ ที่คือ

๑. สมุดไทยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้มีอาชีพทำสมุดไทยคือ นางลูกอิน  แตงเพียร เลขที่ ๑๓ หมู่ ๘ ตำบลบางซื่อ อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร

๒. ใบลาน ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเจ้าของร้านลานทอง เลขที่ ๒๐๘ ถนนสามเสน บางขุนพรหม จังหวัดกรุงเทพฯ

 

กรมพระราชวังหลัง
กรมพระราชวังหลัง

ชื่อผู้แต่ง  : ยิ้ม  บัณฑยางกูร

ชื่อเรื่อง  :  กรมพระราชวังหลัง

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๔

ครั้งที่พิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่สอง

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  บริษัท อมรโปรดัดส์ จำกัด

จำนวนหน้า  :  ๑๖๗ หน้า

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ม.ล. จวง  เสนีวงศ์  ท.ช. , ท.ม.

 

 

                   เรื่องกรมพระราชวังหลังนี้ พระยาสากลกิจประมวล (ม.ล.  แปลก  เสนีวงศ์) เป็นผู้รวบรวมหลักฐานและบันทึกเรื่องราวไว้ นายยิ้ม  บัณฑยางกูร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นผู้เรียบเรียงและตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติม และได้มอบต้นฉบับเรื่องให้กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ดำเนินการจัดพิมพ์ต่อไป

                   การพิมพ์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สอง และเจ้าภาพได้ขออนุญาตนำเรื่องพระวังหลังของนายสมภพ  จันทรประภา  ประวัติสกุลเสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ของนายเมือง  เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และวัดโพธิ์บางโอ ของ น.ณ ปากน้ำ มารวมพิมพ์ไว้ด้วย

 

เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5
เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5

ชื่อผู้แต่ง      :  จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง         : เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5

ครั้งที่พิมพ์     : พิมพ์ครั้งที่ 23

สถานที่พิมพ์   : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      : โรงพิมพ์เสรีบรรณกิจ

ปีที่พิมพ์          : 2520

จำนวนหน้า      : 88 หน้า

หมายเหตุ        : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นาง ผ่อง ชื่นคงชู

                         หนังสือเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5เล่มนี้เป็นพระราชนิพนธ์ในการเสด็จประพาสต้นเมื่อ ร.ศ. 125( พ.ศ. 2449) ทรงดำรัสให้สมเด็จหญิงน้อยทรงเขียนไว้ในในเวลาสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถตำแหน่งราชเลขาธิการฝ่ายในจัดพิมพ์ครั้งแรกเพื่อประทานตอบแทนผู้ถวายรดน้ำสงกรานต์กรมพระสุทธา สินีนาฏ ปีพ.ศ. 2466

สาวิตรีความเรียงและบทละคอนร้อง
สาวิตรีความเรียงและบทละคอนร้อง

ชื่อผู้แต่ง :  มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง         : สาวิตรีความเรียงและบทละคอนร้อง

ครั้งที่พิมพ์     : พิมพ์ครั้งที่ 16

สถานที่พิมพ์   : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     : โรงพิมพ์มหากุฏราชวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์         : 2517

จำนวนหน้า     : 111 หน้า

หมายเหตุ       : มูลนิธิมหากุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

                       เรื่องสาวิตรีมีมาในคัมภีร์มหาภารตอันเป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่องหนึ่งของอินเดีย คัมภีร์มหาภารตกล่าวถึงเรื่องสงครามระหว่างกษัตริย์พวกปาณฑพกับกษัตริย์พวกเการพซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันจนทั้งสองฝ่ายต้องล้มตายเป็นจำนวนมากและในที่สุดพวกปาณฑพเป็นฝ่ายชนะ

วรรณกรรมสดุดีและแหล่ทำขวัญภาคใต้
วรรณกรรมสดุดีและแหล่ทำขวัญภาคใต้

ชื่อผู้แต่ง       :  อุดม หนูหลง

ชื่อเรื่อง         : วรรณกรรมสดุดีและแหล่ทำขวัญภาคใต้

ครั้งที่พิมพ์     : -

สถานที่พิมพ์   : สงขลา

สำนักพิมพ์      : โรงพิมพ์สงขลาพานิชย์

ปีที่พิมพ์         :2524

จำนวนหน้า     : 160 หน้า

หมายเหตุ       : หนังสือวรรณกรรมสดุดีและแหล่ทำขวัญของภาคใต้เล่มนี้เป็นการรวบรวมวรรณกรรมเก่าของท้องถิ่นภาคใต้แล้วเลือกเรื่องมานำเสนอเป็นการเบื้องต้น จำนวน 12เรื่อง บทนำ 1เรื่อง บทไหว้ 2 เรื่อง และบทแหล่จำนวน 9เรื่อง

ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ
ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ

ชื่อผู้แต่ง       :  ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา

ชื่อเรื่อง         : ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ

ครั้งที่พิมพ์     : พิมพ์ครั้งที่ 16

สถานที่พิมพ์   : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      : อมรินทร์การพิมพ์

ปีที่พิมพ์         : 2524

จำนวนหน้า     : 124 หน้า

หมายเหตุ       : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพขุนสนิทประชากร

                      ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณมีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของประเทศไทย สมัยโบราณเริ่มตั้งแต่ชนชาวไทยยังรวมอยู่ในดินแดนทางตอนใต้ของจีน ต่อมาอพยพลงมาตั้งหลักแหล่งทางใต้ของประเทศจีนตั้งราชธานีครั้งแรกคือกรุงสุโขทัยต่อจากนั้นเป็นการบรรยายถึงการปกครองสมัยโบราณแล้วค่อยแก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาตามลำดับ

ปัญหาพระยามิลินท์
ปัญหาพระยามิลินท์

ชื่อผู้แต่ง      :  พระคันถรจนาจารย์

ชื่อเรื่อง        : ปัญหาพระยามิลินท์

ครั้งที่พิมพ์    : พิมพ์ครั้งที่ 13

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     : บริษัทบพิธ จำกัด

ปีที่พิมพ์         : 2521

จำนวนหน้า     : 196 หน้า

หมายเหตุ       : หนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจศพนางจรุงผิว ฉันทพาทไพเราะ ( จรุงผิว สิงหะ )

                       ปัญหาพระยามิลินท์หรือมิลินทปัญหาคัมภีร์แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 500ผู้แต่งต้องการอธิบายข้อพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาให้ชัดเจน จึงยกนิทานเรื่องพระนาคเสนแก้ปัญหาพระยามิลินท์โขนกราชพร้อมแต่งคำอธิบายพระธรรมวินัยประกอบโดยเดิมเป็นภาษาสันสกฤตหรือภาษาปรากฤต

ชุมนุมสุภาษิต
ชุมนุมสุภาษิต

ชื่อผู้แต่ง       -

ชื่อเรื่อง         : ชุมนุมสุภาษิต

ครั้งที่พิมพ์     : -

สถานที่พิมพ์   : ลพบุรี

สำนักพิมพ์      : โรงพิมพ์ศุนย์การทหารราบ

ปีที่พิมพ์          :2503

จำนวนหน้า      : 191 หน้า

หมายเหตุ        : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นาง สงวน นาถะภักดี

                         หนังสือชุมนุมสุภาษิตประกอบด้วย สุภาษิตพระร่วงกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สวัสดิรักษา สุภาษิตสอนสตรี สุภาษิตสอนเด็ก พิเภกสอนบุตรและบาลีสอนน้อง

การปฎิสังขรณ์พระพุทธบาทสมัย ร.๕
การปฎิสังขรณ์พระพุทธบาทสมัย ร.๕

ชื่อผู้แต่ง         พระมงคลทิพมณี

ชื่อเรื่อง           : การปฎิสังขรณ์พระพุทธบาทสมัย ร.๕

ครั้งที่พิมพ์       : -

สถานที่พิมพ์    : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์       : บริษัท ศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด

ปีที่พิมพ์           2536

จำนวนหน้า       : 343 หน้า

หมายเหตุ         : หนังสือที่ระลึกในงานออกพระเมรุพระราชทานเพลิงศพพระราชรัตนกวี ( เสวก ธมมฺวโร )

                          หนังสือการปฎิสังขรณ์พระพุทธบาทสมัย ร.5เป็นหนังสือรายงานการปฎิสังขรณ์พระพุทธบาทของพระพุฒาจารย์( มา ) สมัยดำรงพระสมณศักดิ์ พระมงคลทิพมณีอดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส มีลิขิตรายงานแก่ ร.5ให้ทรงทราบเป็นคราวๆไป

ธนาคารกสิกรไทย : การทอดกฐิน
ธนาคารกสิกรไทย : การทอดกฐิน

ชื่อผู้แต่ง          : วิจิตรวาทการ,พลตรีหลวง

ชื่อเรื่อง            : ธนาคารกสิกรไทย : การทอดกฐิน

ครั้งที่พิมพ์       : พิมพ์ครั้งที่ 14

สถานที่พิมพ์    : พระนคร

สำนักพิมพ์       : โรงพิมพ์ บริษัท คณะช่าง จำกัด

ปีที่พิมพ์           2514

จำนวนหน้า      : 76 หน้า

หมายเหตุ         : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานกฐินของธนาคารกสิกรไทย ณ วัดพรหมจริยาวาส อำเภอเมือง จ.นครสวรรค์

                          หนังสือเรื่องตำนานกฐินเล่มนี้พลตรีหลวงวิจิตรวาทการได้เรียบเรียงตั้งแต่ปีพ.ศ.2477เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรเป็นหนังสือที่กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับพิธีทอดกฐิน เพื่อพุทธศาสนิกชนนำไปปฏิบัติเป็นรูปแบบเดียวกัน

กฎหมายเล่ม ๑
กฎหมายเล่ม ๑

ชื่อผู้แต่ง      :  ราชบุรีดิเรกฤทธิ์,พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง

ชื่อเรื่อง        :กฎหมายเล่ม ๑

ครั้งที่พิมพ์    :พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ :กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์    :โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี

ปีที่พิมพ์        :2513

จำนวนหน้า   :796 หน้า

หมายเหตุ     :พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพฯพณฯพลโทอัมพร ศรีไชยยันต์

                      กฎหมายเล่ม ๑ เป็นหนังสือที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมทรงรวบรวมและจัดระเบียบ

ตำนานพระแก้วมรกต
ตำนานพระแก้วมรกต

ชื่อผู้แต่ง               -

ชื่อเรื่อง                ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา และตำนานพระพุทธสิหิงค์

ครั้งที่พิมพ์           พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์         กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์            โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง

ปีที่พิมพ์               ๒๕๒๔

จำนวนหน้า           ๑๐๒ หน้า

หมายเหตุ            พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายเดช ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

                          เนื้อเรื่องกล่าวถึงประวัติความเป็นมาและกำเนิดของพระแก้งมรกตและการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ ของพระแก้วมรกต ประวัติความเป็นมาและกำเนิดพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา และพระพุทธสิหิงค์ในเมืองไทย

พระราชกรัณยานุสร
พระราชกรัณยานุสร

ชื่อผู้แต่ง                    จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง                     พระราชกรัณยานุสร                                                                    

ครั้งที่พิมพ์                  พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์               พระนคร                                                                                       

สำนักพิมพ์                โรงพิมพ์นิยมวิทยา                                                                                          

ปีที่พิมพ์                    ๒๕๐๗ 

จำนวนหน้า                ๑๖๒ หน้า

หมายเหตุ                  -

                                พระราชกรัณยานุสรเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประเพณีและตำนานต่าง ๆ สำหรับพระนครที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นไว้ เช่น พระราชพิธีเดือน ๕  ตำนานพระราชพิธีถือน้ำ  ตำนานพระแสงศร และตำนานพระสัมพุทธพรรณี เป็นต้น

พุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบต
พุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบต

ชื่อผู้แต่ง                    วุดวิล  รอกฮิล

ชื่อเรื่อง                     พุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบต

ครั้งที่พิมพ์                 พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์              พระนคร

สำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

ปีที่พิมพ์                    ๒๕๑๐  

จำนวนหน้า                ๑๗๑ หน้า

หมายเหตุ                  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนางกิมลุ้ย  อาจารีย์

                                                            หนังสือพุทธประวัติฝ่ายมหายานในธิเบตเป็นหนังสือแนวพุทธประวัติ ผู้แต่งแบ่งเนื้อเรื่องของหนังสือออกเป็น ๔ ปริจเฉทหรือ ๔ บท เช่น ปริจเฉทที่ ๑ ว่าด้วย สร้างโลก  เกิดเพศหญิงชาย ปริจเฉทที่ ๒ ว่าด้วยพระโพธิสัตว์หนีออกบวช บำเพ็ญทุกรกิริยา ปริจเฉทที่ ๓ ว่าด้วยโปรดปัญจวัคคีย์ พระราหุลออกบวช  และปริจเฉทที่ ๔ พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท พระพุทธเจ้าทรงประชวร เป็นต้น

กฎหมายในรัชกาลที่ ๕
กฎหมายในรัชกาลที่ ๕

ชื่อผู้แต่ง           

ชื่อเรื่อง           กฎหมายในรัชกาลที่ ๕

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)

ปีที่พิมพ์                 ๒5๔๑                    

จำนวนหน้า          ๓๙๒ หน้า

หมายเหตุ         -

 

                                กฎหมายมรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๔ นี้ อธิบดีกรมอัยการในกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รวบรวมเอามาลงพิมพ์ไว้เป็นสมุดเล่มเดียวกันเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง

ตำนานคณะสงฆ์
ตำนานคณะสงฆ์

ชื่อผู้แต่ง          กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

ชื่อเรื่อง           ตำนานคณะสงฆ์

ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๖

สถานที่พิมพ์      พระนคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์สามมิตร

ปีที่พิมพ์            ๒๕๑๕                    

จำนวนหน้า        ๑๑๐ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพพระครูวินัยธรศิลป์

 

                                หนังสือตำนานคณะสงฆ์นี้ เป็นหนังสือว่าด้วยการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ในประเทศอินเดียจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ประชุมประกาศรัชกาลที่๔ พ.ศ.๒๓๔๙-๒๔๐๔
ประชุมประกาศรัชกาลที่๔  พ.ศ.๒๓๔๙-๒๔๐๔

ชื่อผู้แต่ง                  ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔

ชื่อเรื่อง                   ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๐๔

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์             -

สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์ดำรงธรรม

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๑๑

จำนวนหน้า              ๔๕๙    หน้า

หมายเหตุ                คณะสงฆ์วัดอนงคารามในความอุปถัมป์ของ นายชำนาญ  และคุณหญิงวลี  ยุวบูรณ์ พิมพ์ถวายในงานพระราชทานเพลิงศพ  พระมหาโพธิวงศาจารย์  อินทโชตเถระ

 

 

                           หนังสือประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ จัดแบ่งพิมพ์เป็น ๘ ภาค เนื่องด้วยเป็นหนังสือสำคัญที่ให้ทั้งความรู้ ทั้งในด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และอื่นๆ ทั้งยังเป็นหลักฐานให้ได้ทราบถึงธรรมเนียมประเพณี   

สังคีติยวงค์ พงศาวดาร เรื่อง สังคายนาพระธรรมวินัย
สังคีติยวงค์ พงศาวดาร เรื่อง สังคายนาพระธรรมวินัย

ชื่อผู้แต่ง                  วันรัตย์ , สมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง                   สังคีติยวงค์ พงศาวดาร เรื่อง สังคายนาพระธรรมวินัย

ครั้งที่พิมพ์               พิมพ์ครั้งที่สอง

สถานที่พิมพ์             กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์               ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๒๑

จำนวนหน้า              ๕๗๔    หน้า

หมายเหตุ                คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน จัดพิมพ์ถวายเป็นธรรมบรรณาการโดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(กลบเถระ) วัดพระเชตุพน

 

 

                           หนังสือ เรื่อง สังคีติยวงค์นี้ สมเด็จพระวัตรัตน วัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๑ แต่งขึ้นเมื่อครั้งยังเป็นพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เนื่องในโอกาสที่พระไตรปิฎกที่โปรดฯ ให้สังคายนา เสร็จเรียบร้อย โดยแต่งเป็นคัมภีร์ลานภาษามคธ ๗ ผูก เนื่องเรื่องเป็นพงศาวดารเรื่องพุทธศาสนประวัติกับเรื่องพงศาวดารของบ้านเมืองประกอบกัน   

เรื่องพระปฐมเจดีย์
เรื่องพระปฐมเจดีย์

ชื่อผู้แต่ง                  ศิลปากร , กรม

ชื่อเรื่อง                   เรื่อง พระปฐมเจดีย์

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์             พระนคร

สำนักพิมพ์               ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๐๖

จำนวนหน้า             ๒๗๑    หน้า

หมายเหตุ               พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมเพลิงศพ คุณแม่วร  สาตรพันธ์

 

 

                           พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย เป็นที่แห่งศรัทธาเลื่อมใสของบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มาแต่จาตุรทิศ ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

กิจจานุกิตย์
กิจจานุกิตย์

ชื่อผู้แต่ง                  ทองสุก  พูนจิตร์ผ่อง

ชื่อเรื่อง                   เรื่องของธนบัตร

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์             พระนคร

สำนักพิมพ์               ชวนพิมพ์

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๑๐

จำนวนหน้า              ๑๕๖    หน้า

หมายเหตุ                อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโป๊  พิโรจน์รัตน์

 

 

                           มูลเหตุที่ได้รวบรวมเรื่องของธนบัตรขึ้นนี้ก็เนื่องมาจากเหตุ 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง การจัดเรื่องราวธนบัตรเหล่านั้นเข้ารวมกันเสียจะเป็นการง่ายกับผู้ที่ต้องการจะทราบเรื่องราวของธนบัตรรวบรวมจึงได้เรื่องของธนบัตรขึ้นเป็นหมวดหมู่เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานที่ปฏิบัติอยู่โดยใช้เป็นเครื่องประกอบการแนะนำพนักงานใหม่ในสังกัดให้ทราบ เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น  ประการที่สอง หวังให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สร้างตลาดสำหรับเมือง สร้างเมือง พยากรณ์ความฝัน
ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สร้างตลาดสำหรับเมือง สร้างเมือง พยากรณ์ความฝัน

ชื่อผู้แต่ง          ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา              

ชื่อเรื่อง           ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สร้างตลาดสำหรับเมือง สร้างเมือง พยากรณ์ความฝัน

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     พระนคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ

ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๑

จำนวนหน้า       ๘๐ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายดาว บุปผเวส จ.ม.,บ.ช.

                       หนังสือลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ สร้างตลาดสำหรับเมือง สร้างเมือง พยากรณ์ความฝัน เล่มนี้ กล่าวถึงลักษณะการปกครองในสมัยโบราณ ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ด้านการปกครองได้เป็นอย่างดี ส่วนพระยากรณ์ความฝัน กล่าวถึง ลักษณะการหลับ การดูวันที่ฝัน เหตุแห่งการฝัน และการทำนายฝัน

พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปปางต่างๆ

ชื่อผู้แต่ง         สมพร อยู่โพธิ์                       

ชื่อเรื่อง           พระพุทธรูปปางต่างๆ              

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์    -        

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด               

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๔           

จำนวนหน้า      ๒๒๑ หน้า       

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.ต.ผดุง สิงหเสนี ท.ม.,ต.ช.

                      หนังสือพระพุทธรูปปางต่างเล่มนี้ กล่าวถึงการเขียนหนังสือที่เกี่ยวกับศาสนาและเป็นที่นิยมของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆหลากหลายลักษณะพร้อมภาพประกอบคำบรรยาย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเป็นย่างยิ่งและเป็นประโยชน์แก่ผู้ได้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าอย่างแท้จริง

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี

ชื่อผู้แต่ง          -                           

ชื่อเรื่อง           พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี                 

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่๒

สถานที่พิมพ์     -        

สำนักพิมพ์       -                 

ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๔           

จำนวนหน้า      ๓๒ หน้า         

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวผัน ณ นคร(บ.ม.)

                      พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ศึกษาค้นคว้าเข้าถึง พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี แผนผังราชกุล พระราชกรณียกิจทางด้านทหารและการป้องกันประเทศ เศรษฐกิจและสังคม ศาสนา ศิลปกรรม วรรณกรรม นาฏดุริยางค์และการละเล่น พระบรมราชานุสาวรีย์ สังเขปเอกสารค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีและการเขียนหนังสือราชการ

อัศวภาษิต
อัศวภาษิต

ชื่อผู้แต่ง          มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ                               

ชื่อเรื่อง            อัศวภาษิต                 

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     พระนคร         

สำนักพิมพ์       บริษัทอักษรโสภณ จำกัด          

ปีที่พิมพ์          ๒๔๙๔

จำนวนหน้า      ๒๙ หน้า         

หมายเหตุ        พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางทรัพย์สำรวจ(พิณ โชติมุกตะ)

                      หนังสืออัศวภาษิตเล่มนี้ กล่าวถึงภาษิตต่างๆทั้งของไทยและของต่างประเทศ ซึ่งผู้หนึ่งเป็นผู้ชอบรวบรวมถ้อยคำที่พอเรียกว่าภาษิตได้ จากหนังสือต่างๆข้าพเจ้าเห็นว่าถ้อยคำของท่านอัศวพาหุอันมีนามอุโฆษเป็นภาษิตอย่างดีเลิศ จึงได้เก็บรวบรวมและได้เรียกภาษิตนี้ว่า อัศวภาษิต เพื่อเป็นเกียรติยศแด่ท่านเจ้าของอัศวภาษิตนี้

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ชื่อผู้แต่ง           -                                    

ชื่อเรื่อง            สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)                

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     พระนคร         

สำนักพิมพ์       ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. แสงสว่างการพิมพ์              

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๒           

จำนวนหน้า      ๘๘ หน้า         

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ นายเตียง และ นางหวาน จิราธิวัฒน์

                      สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)ตอนที่๓๒-๓๔เล่มนี้ เป็นวรรณคดีประเภทความเรียงที่ไพเราะงดงาม สละสลวยและได้รสทางวรรณคดีเป็นอย่างดี เป็นแบบฉบับในการแปลหนังสือพงศดารและบันเทิงคดีของจีน หนังสือสามก๊กไม่ใช่เป็นพงศดารสามัญจีนเรียกว่า สามก๊กจี่แปลว่าจดหมายเหตุเรื่องสามก๊ก เป็นหนังสือซึ่งนักปราชญ์จีนคนหนึ่งเลือกเอาเรื่องในพงศดารตอนหนึ่งมาแต่งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นตำราสำหรับศึกษาอุบายการเมืองและสงคราม จึงเป็นหนังสือเรื่องหนึ่งซึ่งนับถือทั่วไปในประเทศจีนและตลอดไปจนประเทศอื่นๆ

ไตรภูมิโลกวินิจฉัย
ไตรภูมิโลกวินิจฉัย

ชื่อผู้แต่ง          ปรีชา,พระยาธรรม                          

ชื่อเรื่อง           ไตรภูมิโลกวินิจฉัย

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์     -

สำนักพิมพ์        -        

ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑

จำนวนหน้า      ๑๑๔ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายทองสุก กาญจนพันธ์

                      หนังสือเรื่องไตรภูมิโลกวินิจฉัยนี้ เดิมต้นฉบับเป็นหนังสือตัวเขียนจารลงในคัมภีร์ใบลาน มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น เตภูมิกถา ไตรภูมิกถาบ้าง ไตรภูมิโลกวินิจฉัยฯแต่นิยมเรียกกันส่วนมากว่าไตรภูมิฉบับหลวง มีเค้าโครงเรื่องอย่างเดียวกันกับไตรภูมิพระร่วง หนังสือนี้แบ่งความสำคัญออกเป็น๔ภาคด้วยกัน คือ ๑.ภาคมนุสสกถา ๒.ภาคนิริยกถา ๓.ภาคเทวดากถา ๔.ภาควิสุทธิกถา

ตำนานพระพุทธสิหิงค์
ตำนานพระพุทธสิหิงค์

ชื่อผู้แต่ง         พระโพธิรังษี              

ชื่อเรื่อง           ตำนานพระพุทธสิหิงค์

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๕

สถานที่พิมพ์    -

สำนักพิมพ์      -        

ปีที่พิมพ์          ๒๕๓๙

จำนวนหน้า      ๘๐ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางจันทิพา กระต่ายทอง

                      หนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์เล่มนี้  ต้นฉบับรจนาไว้เป็นภาษามคธ กล่าวถึงประวัติพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพพุทธเก่าแก่ที่สำคัญยิ่ง ผู้คนนิยมศรัทธาเป็นอย่างสูงแต่โบราณ เห็นได้จากสมเด็จพระบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดฯให้คัดพระราชทานไปยังประเทศลังกาแล่ะส่วนท้ายเล่มมีเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ตามพระราชพงศาวดารอีกเรื่องหหนึ่งด้วยที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุต่างๆ

จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา
จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา

ชื่อผู้แต่ง          ปรีดา ศรีชลาลัย

ชื่อเรื่อง           จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์     กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ        

ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๑

จำนวนหน้า      ๓๓๕ หน้า

หมายเหตุ        อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางประจักษ์ ศุภอรรถ

                      จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา เล่มนี้ รวบรวมจากสมุดไทยดำและกระดาเพลา ส่วนใหญ่เป็นใบบอกและจดหมายเหตุเกี่ยวกับเมืองนครราชสีมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงประวัติเจ้าพระยานครราชสีมา ประวัติย่อของเท้าสุรนารีและรวมเรื่องต่างๆ เช่น กตัญญูกตเวทีกถา ศาสนพิธี โรคหัวใจวาย วิธีบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ ฯลฯ

หัวใจสมถกรรมฐาน
หัวใจสมถกรรมฐาน

ชื่อผู้แต่ง         มหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระ                                     

ชื่อเรื่อง           หัวใจสมถกรรมฐาน

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๗

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       รุ่งโรจน์การพิมพ์

ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๗

จำนวนหน้า      ๓๐ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานครบ ๑๐๐ วัน นางบัวจิ๋น โสภา

                      หัวใจสมถกรรมฐานเป็นหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับหัวข้อธรรมที่ใช้ปฏิบัติเพื่อการขัดเกลากิเลสโดยใช้หลักธรรมอันเป็นหัวใจของสมถกรรมฐานมาประพฤติปฏิบัติคือ กายคตาสติ เมตตา พุทธานุสติ  กสิณ และจตุธาตุววัตถานะ

วิจารณ์เรื่องตำนานเสภาและระเบียบการเล่นตำนานเสภา
วิจารณ์เรื่องตำนานเสภาและระเบียบการเล่นตำนานเสภา

ชื่อผู้แต่ง         นริศรานุวัดติวงศ์,สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา     

ชื่อเรื่อง           วิจารณ์เรื่องตำนานเสภาและระเบียบการเล่นตำนานเสภา             

ครั้งที่พิมพ์

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม      

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๑

จำนวนหน้า      ๖๓ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงจำนงบริรักษ์  (เปลา เอี่ยมอักษร)

                      วิจารณ์เรื่องตำนานเสภาและเรื่องระเบียบการเล่นตำนานเสภา อธิบายถึงเรื่องราวความเป็นมาของเสภา ลักษณะที่เรียกว่าเสภา การเล่นเสภา ลักษณะและประเภทของเสภา

ที่ระลึกพิธีเปิดพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ระลึกพิธีเปิดพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อผู้แต่ง          -                                    

ชื่อเรื่อง           ที่ระลึกพิธีเปิดพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว              

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์จันวาณิชย์                 

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๘           

จำนวนหน้า      ๖๔ หน้า

หมายเหตุ         -

                      เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น ตำนานกรมพระราชวังบวรมหา        สุรสิงหนาท  พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  พระราชประวัติสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ฉบับพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และตำนานพระพุทธสิหิงค์ฉบับหลวงวิจิตรวาทการ

เครื่องยศ
เครื่องยศ

ชื่อผู้แต่ง          สายไหม  จบกลศึก                          

ชื่อเรื่อง            เครื่องยศ

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       ประเสริฐการพิมพ์                  

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๘

จำนวนหน้า      ๔๓ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเอก นิยมาคม

                       เครื่องยศเป็นหนังสือที่ว่าด้วยลักษณะและเครื่องหมายหรือเครื่องใช้ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการ เพื่อเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศตามตำแหน่งและความดีความชอบซึ่งประกอบด้วย พานหมาก ถาดหมาก สายประคำ เครื่องอาวุธ เครื่องสูง เครื่องพาหนะ เครื่องผ้าแพรพรรณและหมวกหรือมาล

ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์
ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง          มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ                      

ชื่อเรื่อง           ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์             

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     พระนคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์    

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๗

จำนวนหน้า      ๑๙๓  หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางเข็ม บุนนาค

                      ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนังสือที่ประมวลรวบรวมสุภาษิตไว้มากมายหลากหลายเรื่องโดยเฉพาะสุภาษิตที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิต เช่น ความยุติธรรม ความเพียร ความดี ความชั่ว มิตรสหาย ความสามัคคี ความรัก และความสัตย์ เป็นต้น

จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤาษีดัดตน กฤษณาสอนน้องคำฉันท์และวินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง
จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤาษีดัดตน กฤษณาสอนน้องคำฉันท์และวินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง

ชื่อผู้แต่ง          -                                    

ชื่อเรื่อง           จารึกวัดพระเชตุพน                

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       เอกรัตน์การพิมพ์          

ปีที่พิมพ์          ๒๕๓๐           

จำนวนหน้า      ๘๕ หน้า         

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสำเนา  มุนิปภา

                      หนังสือจารึกวัดพระเชตุพน เนื้อหาหลักของเรื่องกล่าวถึงโคลงภาพฤาษีดัดตนซึ่งจารึกติดไว้ตามผนังศาลารายรอบวัด เช่นดัดตนแก้ลมในอก ดัดตนแก้ขัดเอว ดัดตนแก้ลมปวดศีรษะ ดัดตนแก้ปวดท้อง  และดัดตนแก้เข่าขาตาย เป็นต้น

การละเล่นของไทย
การละเล่นของไทย

ชื่อผู้แต่ง         มนตรี   ตราโมท                     

ชื่อเรื่อง           การละเล่นของไทย

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์     สมุทรปราการ

สำนักพิมพ์       ขนิษฐ์การพิมพ์   

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๘

จำนวนหน้า      ๘๖  หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนพ บุณยเกียรติ

                   หนังสือการละเล่นของไทย กล่าวถึงการละเล่นของคนไทยในอดีต พร้อมทั้งบอกประวัติความเป็นมาและวิธีการละเล่นแต่ละประเภทไว้อย่างละเอียด เช่น การละเล่นละครชาตรี  การละเล่นหุ่น เสภาทรงเครื่อง ลำตัด และหนังใหญ่ เป็นต้น

ตำนานพระเจ้า ๗ พระองค์เชียงใหม่และประวัตินายทิพย์ช้าง
ตำนานพระเจ้า ๗ พระองค์เชียงใหม่และประวัตินายทิพย์ช้าง

 

ชื่อผู้แต่ง       -                 

ชื่อเรื่อง         ตำนานพระเจ้า ๗ พระองค์ เชียงใหม่และประวัตินายทิพย์ช้าง

ครั้งที่พิมพ์     -

สถานที่พิมพ์  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์    กรุงเทพการพิมพ์

ปีที่พิมพ์       ๒๕๑๗

จำนวนหน้า   ๑๐๖ หน้า

หมายเหตุ    พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางจินดา อินทะเคหะ

                  หนังสือเรื่องตำนานพระเจ้า ๗ พระองค์ เชียงใหม่และประวัตินายทิพย์ช้าง เล่มนี้ ต้นฉบับเป็นตัวหนังสือธรรม ภาษาทางภาคเหนือ แต่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

นิราศสุพรรณ
นิราศสุพรรณ

ชื่อผู้แต่ง        นายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร)

ชื่อเรื่อง          นิราศสุพรรณ

ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๕

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๖

จำนวนหน้า      ๒๖ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงอาคาร พาณิชยกรรม (ฟุ้ง อำไพวนิช)

                      นิราสสุพรรณเป็นสำนวนของนาย มี เพราะมีโคลงกระทู้บอกไว้ตอนท้ายว่า “เสมียนมีแต่งถวาย”เมื่อเทียบปีศักราชสันนิษฐานน่าจะแต่งเมื่อราว พ.ศ.๒๓๘๓ แผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและนายมี ขณะที่แต่งนิราศสุพรรณ มีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นพรหมสมพัตสร นายอากรเมืองสุพรรณบุรี

สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตสอนจิตและประเพณีประจำชีวิต
สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตสอนจิตและประเพณีประจำชีวิต

ชื่อผู้แต่ง         มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง           สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตสอนจิตและประเพณีประจำชีวิต

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์       พัฒนาการพิมพ์

ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๖

จำนวนหน้า       ๘๙ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ นาย ชื่น โทณะวณิก

                       สุภาษิตพระร่วง (ของเก่าและคำโคลงพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๖) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ บัญญัติพระร่วง ”พระราชนิพนธ์ในราชกาลที่ ๖ และเจ้าภาพได้จัดพิมพ์สุภาษิตสอนจิตประเพณีประจำชีวิตเข้าไปด้วยกัน

เรื่อง ประวัติศาสนาและมุตโตทัย
เรื่อง ประวัติศาสนาและมุตโตทัย

ชื่อผู้แต่ง       ประชากิจกรจักร,พระยา

ชื่อเรื่อง         เรื่อง ประวัติศาสนาและมุตโตทัย

ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ ๕

สถานที่พิมพ์   พระนคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๖

จำนวนหน้า      ๑๑๙ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ม.ร.ว เจตนีดิศ (ดิศกุล) ปัทมดิลก

                      เรื่องประวัติศาสนาเล่มนี้พระยาประชากิจกรจักร กรรมการหอพระสมุดฯ ตรวจค้นและเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ และได้ส่งไปลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเป็นคราวๆไป ต่อมาได้รวบรวมและจัดพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

บทละครพูดคำกลอน เรื่องพระร่วงและแถลงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี
บทละครพูดคำกลอน เรื่องพระร่วงและแถลงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี

ชื่อผู้แต่ง        มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง          บทละครพูดคำกลอน เรื่องพระร่วงและแถลงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี

ครั้งที่พิมพ์      -

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๗

จำนวนหน้า      ๑๑๗ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิง ชอุ่ม สุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (ชอุ่ม จารุจินดา)

                       พระราชนิพนธ์ บทละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วงนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขดัดแปลงจากบทละครร้องเรื่องพระร่วงส่วนแถลงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณตดีนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าพระร่วงน่าจะมีตัวตนจริงๆและเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดองค์หนึ่งของกรุงสุโขทัย

ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์
ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง        มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง          ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์

ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๓๑

สถานที่พิมพ์    -

สำนักพิมพ์      -

ปีที่พิมพ์         ๒๕๓๓

จำนวนหน้า     ๒๑๒ หน้า

หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางทิพย์ นิยมเหตุ

                     ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์นี้เป็นหนังสือรวบรวมสุภาษิตและคติพจน์พระราชนิพนธ์ในราชกาลที่ ๖ มีทั้งที่ทรงพระราชนิพนธ์แล้วพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มโดยเฉพาะและที่ทรงพระราชนิพนธ์แล้วพิมพ์แทรกลงในหนังสือต่างๆ

เสือโคคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก
เสือโคคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก

ชื่อผู้แต่ง        -

ชื่อเรื่อง          เสือโคคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก

ครั้งที่พิมพ์      -

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์หัตถศิลป์

ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๙

จำนวนหน้า     ๑๐๓ หน้า

หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางชะเอม บุรกสิกร

                      หนังสือเรื่องเสือโคคำฉันท์ พระมหาราชครูเป็นผู้แต่ง แต่งจบบริบูรณ์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สุภาษิตอิศรญาณหรือเรียกอักอย่างหนึ่งว่า เพลงยาวอิศรญาณของหม่อมเจ้าอิศรญาณทรงแต่ง สุภาษิตสอนเด็กไม่ปรากฎนามผู้แต่งและหนังสือเรื่องทุคตะสอนบุตรเป็นนิทานสุภาษิต

กาพย์เห่เรือ
กาพย์เห่เรือ

ชื่อผู้แต่ง          พุทธเลิศหล้านภาลัย,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง            กาพย์เห่เรือ

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด

ปีที่พิมพ์           ๒๕๓๓

จำนวนหน้า       ๒๖ หน้า

หมายเหตุ         อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลิปิธรรมศรีพยัตต์(อุบล  ศรีพยัตต์)

 

         หนังสือเรื่องกาพย์เห่เรือเป็นกาพย์สำหรับฝีพายใช้ขับเห่ในกระบวนเรือเสด็จฯ ทั้งในงานพระราชพิธีหรือเสด็จประพาสตามที่ต่าง ๆ จุดประสงค์ของการขับร้องในเวลาพายเรือก็เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนแรง และทำให้เกิดจังหวะในการพายพร้อมกัน การเห่เรือแต่เดิมน่าจะทำเป็นพิธี เช่น การเห่เรือในอินเดียก็เป็นคำขับบูชาพระราม พระลักษมณ์ กาพย์เห่เรือของไทยที่มีผู้ประพันธ์ไว้นั้นเป็นเพียงบทที่ใช้ขับร้องเล่น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบูชาหรือพิธีการแต่อย่างใด เนื้อเรื่องมักเป็นบทชมต่าง ๆ เช่น เห่ชมกระบวนเรือ หรือชมธรรมชาติในขณะเดินทาง เป็นต้น

โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ชื่อผู้แต่ง              -

ชื่อเรื่อง               โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

สถานที่พิมพ์        -

สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์              ๒๔๙๘

จำนวนหน้า         ๙๐    หน้า

หมายเหตุ            พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสรรสุรพล (เปรม  ตัณฑประภา) ณ เมรุวัดยานนาวา จังหวัดพระนคร วันที่   ๑๗  เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘

 

                        โคลสุภาษิตไทยที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้จารึกแผ่นศิลา ติดไว้ใต้รูปภาพซึ่งโปรดฯ ให้พระอาจารย์อินโข่ง วัดราชบูรณะ เขียนไว้ที่ผนังกรอบประตู และหน้าต่างพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ประเพณีทำศพ
ประเพณีทำศพ

ชื่อผู้แต่ง            -

ชื่อเรื่อง             ประเพณีทำศพ

ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๗๑

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงธรรมประทีป

ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๗                 

จำนวนหน้า      ๑๐๕ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลำจวน อบเชย

 

          หนังสือเรื่องประเพณีทำศพนี้ นับเป็นเรื่องหนึ่งที่พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร ซึ่งมีเรื่องต่าง ๆ รวม ๕ เรื่อง คือ

๑. ประเพณีทำบุญ

๒. ประเพณีเลี้ยงลูก

๓. ประเพณีบวชนาค

๔. ประเพณีแต่งงาน

๕. ประเพณีทำศพ

อธิบายวิธีทำบุญ
อธิบายวิธีทำบุญ

 ชื่อผู้แต่ง          หอพระสมุดวชิรญาณ 

ชื่อเรื่อง            อธิบายวิธีทำบุญ

ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๑๑             

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        โรงเพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๐                 

จำนวนหน้า      ๑๔๓ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพร้อยเอก หลวงพลวินัยกิจ (อำไพ ปุณณกันต์) บิดา

 

                        หนังสือเรื่องอธิบายวิธีทำบุญนี้ เดิมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ประทานกระแสพระดำริมาให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร คิดรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือ ๒ เรื่อง เรื่องหนึ่งชื่อว่า “คำสวดกุศลวิธีสำหรับคฤหัสถ์” กับอีกเรื่องหนึ่งชื่อว่า “อธิบายคำสวดกุศลวิธี” เป็นคู่กันกับหนังสือเรื่องก่อน ผู้ที่ได้รับพิมพ์หนังสือทั้งสองเรื่องดังกล่าวต่างก็พากันชอบใจ เนื่องจากหนังสือนี้เป็นประโยชน์แก่สัปบุรุษและทายกที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญให้ทานอยู่เสมอ กรรมการหอพระสมุด วชิรญาณสำหรับพระนคร จึงได้รวบรวมหนังสือดังกล่าวเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน เรียกชื่อว่า “อธิบายวิธีทำบุญ” 

บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย
บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย

ชื่อผู้แต่ง              มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง               บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธ และเพื่อนตาย

ครั้งที่พิมพ์            -

สถานที่พิมพ์          -

สำนักพิมพ์           ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ไทยวัฒนาพินิช

ปีที่พิมพ์               -

จำนวนหน้า          ๘๐    หน้า

หมายเหตุ            เป็นพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจ นางสาว กิมลี้ กรัยวิเชียร

 

 

                           บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งเจ้าภาพได้มาติดต่อ ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ กรมศิลปากรมีความยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ดังประสงค์

มงคลสูตรคำฉันท์
มงคลสูตรคำฉันท์

ชื่อผู้แต่ง              มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง               มงคลสูตรคำฉันท์

ครั้งที่พิมพ์           พิมพ์ครั้งที่ แปด

สถานที่พิมพ์         -

สำนักพิมพ์           -

ปีที่พิมพ์              ๒๕๒๔

จำนวนหน้า          ๑๔    หน้า

หมายเหตุ            พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญประจำปี วัดนรนาถสุนทริการาม กทม.

นำเที่ยวเมืองสุโขทัย
นำเที่ยวเมืองสุโขทัย

ชื่อผู้แต่ง              ตรี  อมาตยกุล

ชื่อเรื่อง               นำเที่ยวเมืองสุโขทัย

ครั้งที่พิมพ์           -

สถานที่พิมพ์        พระนคร

สำนักพิมพ์           ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกษมสุวรรณ

ปีที่พิมพ์              ๒๔๙๖

จำนวนหน้า         ๑๐๖    หน้า

หมายเหตุ           พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน พระราชทานเพลิงศพ หลวงวิญญูประเทศ(พอน  อยู่สุข)

 

 

                       เรื่อง นำเที่ยวเมืองสุโขทัยนี้ นายตรี  อมาตยกุล หัวหน้ากองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ได้เขียนขึ้นเพื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ และกระทรวงวัฒนธรรมได้พิมพ์แจกเป็นครั้งแรก ในการเปิดตึกกระทรวงวัฒนธรรมใหม่ ที่สนามเสือป่า เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗ การพิมพ์ครั้งนี้ ได้จัดพิมพ์ตามฉบับเดิมที่นายตรี  อมาตยกุลได้เขียนขึ้นไว้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยมิได้แก้ไขเพิ่มเติม

สมบัติวรรณคดี(บทอ่านทำนองเสนาะ ปีที่ ๑๐-๑๑)
สมบัติวรรณคดี(บทอ่านทำนองเสนาะ ปีที่ ๑๐-๑๑)

ชื่อผู้แต่ง          ศิลปากร,กรม กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์

ชื่อเรื่อง           สมบัติวรรณคดี(บทอ่านทำนองเสนาะ ปีที่ ๑๐-๑๑)

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        เจริญวิทย์การพิมพ์

พิมพ์ครั้งที่        -

ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๖     

จำนวนหน้า       ๒๓๒ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางพัทยา  ธรรมรักษ์

                       สมบัติวรรณคดี(บทอ่านทำนองเสนาะ ปีที่ ๑๐-๑๑) เป็นบทอ่านทำนองเสนาะที่รวบรวมคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้ว และร้อยกรอง จากวรรณคดีกวีนิพนธ์ไทยเรื่องเด่น ๆ หลายเรื่องที่มีคุณค่าและอรรถรส อันเป็นผลงานของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบัน

เรื่องอ่านเล่นและเรื่องเบ็ดเตล็ดบางเรื่องจากหนังสือวชิรญาณ
เรื่องอ่านเล่นและเรื่องเบ็ดเตล็ดบางเรื่องจากหนังสือวชิรญาณ

ชื่อผู้แต่ง          เรื่องอ่านเล่นและเรื่องเบ็ตเตล็ด

ชื่อเรื่อง            เรื่องอ่านเล่นและเรื่องเบ็ตเตล็ดบางเรื่องจากหนังสือวชิรญาณ

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์พระจันทร์

จำนวนหน้า       ๒๒๗ หน้า

ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๐

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางเรณู  สูตะบุตร 

 

                                หนังสือวชิรญาณ เป็นหนังสือพิมพ์ที่กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ ได้พิมพ์แจกแก่บรรดาสมาชิกเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจคำว่าหอพระสมุดวชิรญาณชัดเจนขึ้น หอพระสมุดวชิรญาณคือหอสมุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ฯ ทรงชักชวนให้บรรดาเจ้านายที่เป็นพระราชโอสรและพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเมื่อปีมะเส็ง ตรีศก พุทธศักราช ๒๔๒๔ แรกออกเป็นรายปักษ์ กำหนดออกเดือนละ ๒ ครั้ง คือขึ้น ค่ำ ๑ ครั้งหนึ่ง แรมค่ำ ๑ ครั้งหนึ่ง

ชานพระศรี
ชานพระศรี

ชื่อผู้แต่ง          มหินทรศักดิ์ธำรง,เจ้าพระยา

ชื่อเรื่อง           ชานพระศรี

ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์      -

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์             ๒๕๐๓                    

จำนวนหน้า        ๘๙ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพร้อยตรี หม่อมเจ้า เผ่าเพ็ญพัฒน์  เพ็ญพัฒน์

 

                                 ชานพระศรี เป็นหนังสือประเภทสุภาษิต ซึ่งเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง  เพ็ญกุล) ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำพระราชดัรัสที่ตรัสเล่าไว้ได้ แล้วนำเรื่องมาเขียนตามเค้าพระราชดำรัส ฉะนั้น ท่านจึงใช้ชื่อเรื่องว่า ชานพระศรี

หัวใจสมถกรรมฐาน
หัวใจสมถกรรมฐาน

ชื่อผู้แต่ง              วชิรญาณวโรรส , กรมพระยา

ชื่อเรื่อง                หัวใจสมถกรรมฐาน

ครั้งที่พิมพ์             -

สถานที่พิมพ์          พระนคร

สำนักพิมพ์            โรงพิมพ์ ไทยพิทยา

ปีที่พิมพ์               ๒๔๙๖

จำนวนหน้า           ๓๙    หน้า

หมายเหตุ             พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท พระชัยปริญญา(เชื้อ  พันธุ์สมบุญ)

 

 

                             กรมศิลปากรเลือกเรื่อง หัวใจสมถกรรมฐาน พระนิพนธ์ของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ไปพิมพ์สำหรับแจกเป็นที่ระลึก และได้เรื่อง พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐาน เพราผู้ตายเมื่อยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้สนในในทางนี้มาก

บทละครพูด เรื่อง นินทาสโมสร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
บทละครพูด เรื่อง นินทาสโมสร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

ชื่อผู้แต่ง              มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง               บทละครพูด เรื่อง นินทาสโมสร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖

ครั้งที่พิมพ์            -

สถานที่พิมพ์          พระนคร

สำนักพิมพ์            โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

ปีที่พิมพ์               ๒๕๐๐

จำนวนหน้า          ๙๕    หน้า

หมายเหตุ            พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาพิรุฬห์พิทยาพรรณ(สวน  พุกกะเวส)

 

 

                            บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่มากด้วยกัน มีทั้งที่เป็นความเรียง บทประพันธ์ และบทละครพูดต่าง ๆ รวมถึง เรื่อง นินทาสโมสร

ตำราวิชาไสยศาสตร์
ตำราวิชาไสยศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง                 ชุ่ม  จันโท

ชื่อเรื่อง                  ตำราวิชาไสยศาสตร์

ครั้งที่พิมพ์              -

สถานที่พิมพ์            -

สำนักพิมพ์               -

ปีที่พิมพ์                  -

จำนวนหน้า            ๓๙    หน้า

หมายเหตุ                -

 

 

                              ตำราวิชาไสยศาสตร์ และ คาถาอาคม นับเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในหลายๆ ศาสตร์ที่ได้ศึกษาถ่ายทอดกันมานานนับร้อยปี พันปี เป็นศาสตร์ที่ลึกลับ มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้ให้ความเชื่อถือไม่น้อยกว่าศาสตร์อื่น ๆ เช่น หัตถศาสตร์(ลายมือ) เวชศาสตร์(ยาสมุนไพร) โหราศาสตร์(ดูดวง) ฯลฯ

พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และตำนานพระพิมพ์ ของยอช เซเดส์
พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และตำนานพระพิมพ์ ของยอช เซเดส์

ชื่อผู้แต่ง         บริบาลบุรีภัณฑ์,หลวง และยอช เซเดส์               

ชื่อเรื่อง           พระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และตำนานพระพิมพ์ ของยอช เซเดส์

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒๕

สถานที่พิมพ์     พระนคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์รวมมิตรไทย      

ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๕

จำนวนหน้า       ๖๘ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทอง ขวัญจันทร์

 

                       หนังสือพระพุทธรูปสมัยต่างๆในประเทศไทยของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์และตำนานพระพิมพ์ ของยอช เซเดส์ เล่มนี้ ให้ความรู้ด้านโบราณคดี ด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมของไทยในพระพุทธศาสนาในสมัยต่างๆ ส่วนตำตานพระพิมพ์ มีการรวบรวมพระพิมพ์ไว้หลากหลายทั้งเก่าและใหม่ ทำด้วยโลหะบ้าง ดินเผาบ้าง ดินดิบบ้าง ซึ่งมีมูลเหตุสำคัญที่สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาด้วย

บทดอกสร้อยสุภาษิต สุภาษิตพระร่วง และสุภาษิตอิศรญาณ
บทดอกสร้อยสุภาษิต สุภาษิตพระร่วง และสุภาษิตอิศรญาณ

ชื่อผู้แต่ง          -                           

ชื่อเรื่อง           บทดอกสร้อยสุภาษิต สุภาษิตพระร่วงและสุภาษิตอิศรญาณ            

ครั้งที่พิมพ์        -        

สถานที่พิมพ์     กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       บริษัทศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด              

ปีที่พิมพ์          ๒๕๔๑           

จำนวนหน้า      ๑๐๒ หน้า       

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูประดิษฐ์สรธรรม (สงัด ญาณวิโร)

 

                   หนังสือเรื่องบทดอกสร้อยสุภาษิต สุภาษิตพระร่วงและสุภาษิตอิศรญาณ เนื้อเรื่องเป็นบทร้อยกรอง ประกอบด้วย ๓ เรื่องด้วยกันแต่มีลักษณะคำประพันธ์แตกต่างกัน คือ บทดอกสร้อยสุภาษิตจะเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็ก สุภาษิตพระร่วงเป็นประเภทร่ายสุภาพ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีสังคมไทย ส่วนสุภาษิตอิศรญาณ เป็นกลอนแปด ว่าด้วยโวหารที่คมคาย

พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต
พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต

ชื่อผู้แต่ง         มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ                      

ชื่อเรื่อง           พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต                 

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒    

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน           

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๗           

จำนวนหน้า      ๑๓๖ หน้า       

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทำงนนิธิภาพ (ไล้ โภควนิช)

 

                   หนังสือพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต เล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” แล้วตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๓ ต่อมามีการจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ การแต่งโคลงสุภาษิตนำมาตั้งเป็นกระทู้แล้วแต่งโคลงบรรยายตาม

โคลงในนิทานเทียบสุภาษิต
โคลงในนิทานเทียบสุภาษิต

ชื่อผู้แต่ง         พระสุวรรณรัศมี(พระยาสีหราชฤทธิไกร ทองคำ สีหอุไร)               

ชื่อเรื่อง           โคลงในนิทานเทียบสุภาษิต

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์       ร.พ.รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๖

จำนวนหน้า      ๒๕ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โทบุญขันธ์ ศิริมิลินทร์

 

                      หนังสือโคลงในนิทานเทียบสุภาษิต เล่มนี้ เขียนเป็นบทร้อยกรอง แบ่งพิมพ์ได้ทั้งหมดเป็น ๕ ภาค ต่อมามีผู้อ่านชอบและขอเลือกพิมพ์เป็นบางบท แต่ในหนังสือเล่มนี้มิได้นำนิทานมาตีพิมพ์ด้วย พิมพ์เฉพาะโคลงนำเรื่อง  มีทั้งหมด ๘๔ บท

ตำราพิไชยสงคราม
ตำราพิไชยสงคราม

ชื่อผู้แต่ง          -                                    

ชื่อเรื่อง           ตำราพิไชยสงคราม                 

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๖    

สถานที่พิมพ์    พระนคร         

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์พระจันทร์                 

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๒           

จำนวนหน้า      ๕๔ หน้า         

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ

 

                       หนังสือตำราพิไชยสงครามเล่มนี้ บทประพันธ์ของเนื้อเรื่องเป็นร้อยกรอง กล่าวถึงการทำศึกสงคราม แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม ว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี นอกจากนนั้นหนังสือเล่มนี้ยังมีในส่วนของตำราดูนิมิต ฤกษ์ยามและทำเลขยันต์

ประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาค ๒
ประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาค ๒

ชื่อผู้แต่ง       -

ชื่อเรื่อง         ประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาค ๒

ครั้งที่พิมพ์     -

สถานที่พิมพ์  พระนคร

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์        ๒๕๐๔

จำนวนหน้า    ๒๐ หน้า

หมายเหตุ      พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรี หลวงราชผลพิมลรักษ์

 

                    หนังสือประชุมบทเพลงไทยเดิม ภาค๒ เล่มนี้ เนื้อเรื่องจะกล่าวเกี่ยวกับบทเพลงไทยเดิม ซึ่งรวบรวมไว้หลายบทเพลงด้วยกัน เช่น เพลงเขมรไทรโยค ขิมใหญ่เขมรปากธ่อ แขกลพบุรี เขมรใหญ่ เชิดจีน ฯลฯ

บทละครพูดเรื่อง เสียสละ บทละครพูดหัวใจนักรบ และหัวใจชายหนุ่ม
บทละครพูดเรื่อง เสียสละ บทละครพูดหัวใจนักรบ และหัวใจชายหนุ่ม

ชื่อผู้แต่ง                 มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง                  บทละครพูดเรื่อง เสียสละ บทละครพูดหัวใจนักรบ และหัวใจชายหนุ่ม

ครั้งที่พิมพ์              - บทละครพูดเรื่องเสียสละ  พิมพ์ครั้งที่ สาม

                             - บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ  พิมพ์ครั้งที่ สี่

                             - หัวใจชายหนุ่ม พิมพ์ครั้งที่ สอง

สถานที่พิมพ์            นครหลวงฯ

สำนักพิมพ์              โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๑๖

จำนวนหน้า              ๓๒๓     หน้า          ราคา  ๒๕  บาท

หมายเหตุ                 -

 

 

                           บทละครพูด เรื่อง เสียสละ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ที่หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงใช้พระนามแฝงว่า “ศรีอยุธยา” เนื้อเรื่องแสดงถึงความเสียสละในความรัก แต่ผู้ที่เสียสละก็ได้รับผลสมกับที่ได้ตั้งใจไว้

ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่
ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่

ชื่อผู้แต่ง                  พญาลิไทย

ชื่อเรื่อง                   ไตรภูมิมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พญาลิไทย ฉบับตรวจสอบชำระใหม่

ครั้งที่พิมพ์                -

สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๒๕

จำนวนหน้า              ๑๕๗    หน้า

หมายเหตุ                สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานทอดกฐิน ณ วัดทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๒๓  ตุลาคม  พุทธศักราช ๒๕๒๕

 

 

                          ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วงนี้ เป็นวรรคดีทางพุทธศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่งของไทย แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถ และอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยในการนิพนธ์วรรณคดีที่แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักในพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้

ประวัติอรุณราชวราราม
ประวัติอรุณราชวราราม

ชื่อผู้แต่ง                 ประพัฒน์  ตรีณรงค์

ชื่อเรื่อง                  ประวัติวัดอรุณราชวราราม

ครั้งที่พิมพ์               พิมพ์ครั้งที่ สอง

สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์               ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดมศึกษา(แผนกการพิมพ์)

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๒๑

จำนวนหน้า              ๒๑๙    หน้า

หมายเหตุ                คณะสงฆ์วัดอรุณราชวรารามจัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพุฒาจารย์ (วน  ฐิติญาณมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

 

 

                          วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และฟากตะวันออกของถนนอรุณอมรินทร์ ระหว่างคลองนครบาล หรือ คลองวัดแจ้งกับพระราชวังเดิม ตำบลวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา  เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดมะกอกนอก แล้วเปลี่ยนเป็น วัดแจ้ง  วัดอรุณราชธาราม    และวัดอรุณราชวราราม โดยลำดับ ปัจจุบันเรียกว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ความรักของแม่ในวรรณคดี
ความรักของแม่ในวรรณคดี

ชื่อผู้แต่ง                  ปรุงศรี  วัลลิโภดม

ชื่อเรื่อง                   ความรักของแม่ในวรรณคดี

ครั้งที่พิมพ์                -

สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์               กรุงเทพการพิมพ์

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๑๗

จำนวนหน้า              ๑๒๖    หน้า

หมายเหตุ                พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ทันตแพทย์หญิง ทองเออบ (กาฬดิษย์) ต.ม. , จ.ช.

 

 

                           ความรักของแม่ในวรรณคดี ซึ่ง นางปรุงศรี  วัลลิโภดม  วิทยกรโท กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ได้คัดเลือกและรวบรวมขึ้นจากวรรณคดีสำคัญสมัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๒๔ เรื่อง ในสังคมของไทยนับแต่โบราณกาล ได้รับนับถือและยกย่องสรรเสริญว่า ความรักของมารดาต่อบุตรนั้นเป็นความรักอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ ด้วยมารดาเป็นผู้ให้ชีวิตนับตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนกระทั้งคลอดก็ต้องอดทนต่อความเจ็บปวดทุกขเวทนา ครั้งแล้วต้องเลี้ยงรักษาและอบรมสั่งสอนบุตรกระทั่งเติบใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับบุตรจึงกลายเป็นวัฒนธรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงเอกลักษณ์ของสังคมไทย

เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ชื่อผู้แต่ง                  เสฐียรโกเศศ

ชื่อเรื่อง                   เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์             พระนคร

สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์ไทยเขษม

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๐๑

จำนวนหน้า              ๑๙๕    หน้า

หมายเหตุ                พิมพ์เป็นบรรณาการในงานฌาปนกิจศพ นางโสภณ  อักษรกิจ (หยิน  สมิตะสิริ) ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม ๒๗  พฤศจิกายน  ๒๕๐๑

 

 

                           เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่างๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทยเป็นอย่างดี การจัดพิมพ์ในครั้งนี้เจ้าภาพได้เลือก เรื่อง ประเพณีเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลสารท เทศกาลเข้าพรรษา เทศการออกพรรษา ไปพระบาท และอัคนีกรีฑา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีเทศมหาชาติ และประเพณีสวดมนต์เลี้ยงพระ

ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ และ สุภาษิตสอนสตรี
ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่  และ สุภาษิตสอนสตรี

ชื่อผู้แต่ง                 สุนทรภู่

ชื่อเรื่อง                  ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ และ สุภาษิตสอนสตรี

ครั้งที่พิมพ์                -

สถานที่พิมพ์             พระนคร

สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๐๘

จำนวนหน้า              ๖๗    หน้า

หมายเหตุ                พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระภิกษุประสิทธิ์  สุวรรณสมบูรณ์

 

 

                           ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ เป็นหนังสือที่รวบรวมสุภาษิตจากหนังสือเรื่องต่างๆ เป็นต้นว่า  พระอภัยมณี โคบุตร และนิราศต่างๆ ส่วน สุภาษิตสอนสตรีนั้น สุนทรภู่เห็นจะแต่งเรื่องราวระหว่าง พ.ศ. ๒๓๘๐ จนถึง พ.ศ. ๒๓๘๓ พิเคราะห์ตามสำนวน สุนทรภู่จะแต่งขาย เป็นสุภาษิตสำหรับสตรีทั่วไปไม่บ่งว่าแต่งให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น เพลงยาวถวายโอวาท และสวัสดิรักษา

หนังสือประชุมพงศาวดาร
หนังสือประชุมพงศาวดาร

ชื่อผู้แต่ง         เจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง           หนังสือประชุมพงศาวดาร

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        กรุงเทพการพิมพ์                   

ปีที่พิมพ์            ๒๕๒๐                    

จำนวนหน้า        ๑๒๒ หน้า

หมายเหตุ         อนุสรณ์เนื่องในงานประชุมเพลิงนางเทพภูษิต  (เมี้ยน  มิลินทะเลข)

 

                         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ อธิบายเกี่ยวกับที่มาและมูลเหตุของการจัดพิพม์ประชุมพงศาวดารขึ้นไว้เป็นดวงใจความหมายว่า สมเด็จพระศรีสวรินทีราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระมาตุลามีพระประสงค์จะพิมพ์หนังสือแจกในงานพระศพหม่อมเจ้าดนัย  วรนุช ท.จ.มีรับสั่งให้กรรมการหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเลือกหาหนังสือ

 

โคลงโลกนิติจำแลง
โคลงโลกนิติจำแลง

 ชื่อผู้แต่ง           มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ

ชื่อเรื่อง             โคลงโลกนิติจำแลง

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     พระนคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร

ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๔

จำนวนหน้า       ๕๘ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางชุ่ม  สร้อยพิสุทธิ์ และ นางบรรยง  มาวิน

 

                                หนังสือโลกนิติจำแลงนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ลงในหนังสือดุสิตซึ่งออกเป็นครั้งคราว ๆ เป็นแบบล้อเลียนบุคคลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยนั้น

 

การอบรมประชาชนสำคัญอย่างไร
การอบรมประชาชนสำคัญอย่างไร

 

ชื่อผู้แต่ง          -

ชื่อเรื่อง           การอบรมประชาชนสำคัญอย่างไร

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      พระนคร

สำนักพิมพ์        ร.พ.บริษัทสหอุปกรณ์การพิมพ์ จำกัด

ปีที่พิมพ์           ๒๔๙๗

จำนวนหน้า       ๒๒ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางแก้ว อนันต์

 

                        เนื่องด้วย นายกลึง  อนันต์ บ้านตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษไชยชาญ มาแจ้งความ ณ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ว่า ในการฌาปนกิจศพ นางแก้ว  อนันต์ ผู้เป็นมารดา ณ วัดยาง ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง ในเดือนเมษายน ๒๔๙๗ นั้น เจ้าภาพมีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือเรื่อง การอบรมประชาชนสำคัญอย่างไร

กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา

ชื่อผู้แต่ง          สุนทรภู่

ชื่อเรื่อง           กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      พระนคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์

ปีที่พิมพ์            ๒๕๐๘                     

จำนวนหน้า        ๕๘ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเปล่ง  เจียมไชยศรี

 

                       กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา สุนทรภู่แต่งในรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์ เข้าใจว่าจะแต่งสำหรับเป็นแบบสอนอ่านคำเทียบให้ศิษย์ของท่านเล่าเรียนศึกษา

พระจุฬามณีเจดีย์ สัตว์ต่างๆ ในสวรรค์และอสูรพิภพ ทวีปทั้งสี่ กับ เรื่อง สัตว์นรกและเปรตวิสัย
พระจุฬามณีเจดีย์ สัตว์ต่างๆ ในสวรรค์และอสูรพิภพ ทวีปทั้งสี่ กับ เรื่อง สัตว์นรกและเปรตวิสัย

ชื่อผู้แต่ง                  -

ชื่อเรื่อง                  พระจุฬามณีเจดีย์ สัตว์ต่างๆ ในสวรรค์และอสูรพิภพ ทวีปทั้งสี่กับเรื่อง สัตว์นรกและเปรตวิสัย

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์            พระนคร

สำนักพิมพ์              โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

ปีที่พิมพ์                 ๒๕๐๙

จำนวนหน้า             ๑๒๙    หน้า

หมายเหตุ               พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางกิมหยี  หวิตวร                          

 

 

                          เรื่องพระจุฬามณีเจดีย์ เรื่องสัตว์ต่างๆ และอสูรพิภพ เรื่องทวีปทั้งสี่ และเรื่องสัตว์นรกและเปรตวิสัย ท่านผู้ทรงภูมิรู้ได้เรียบเรียง ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชประสงค์ รวบรวมจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในงานฌานกิจศพ ขุนวิสิฐแถลงการณ์ (ฉิ่ง  วัฒนะโชติ) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ผู้ให้รวบรวม นายธนิต  อยู่โพธิ์  อธิบดีกรมศิลปากร เรื่องพระจุฬามณีเจดีย์นั้น โปรดให้พระมหาเถระหลายองค์ มีพระสาสนโสภณ(อ่อน) วัดราชประดิษฐ์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(แสง) วัดราชบูรณะ ตรวจค้นจากคัมภีร์ และหนังสือต่างๆ เรียบเรียงถวาย นับได้ว่าเป็นหนังสือดี มีหลักฐาน

บุณโณวาทคำฉันท์
บุณโณวาทคำฉันท์

ชื่อผู้แต่ง                  -

ชื่อเรื่อง                  บุณโณวาทคำฉันท์

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์           พระนคร

สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์                 ๒๕๐๒

จำนวนหน้า             ๓๔    หน้า

หมายเหตุ              พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางละม่อม  เฉลยวาเรศ และ นางเยาวภา  เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

 

 

                          หนังสือบุณโณวาทคำฉันท์นี้ เป็นวรรณคดีซึ่งเกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๕ –๒๓๑๐ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหานาควัดท่าทราย เป็นผู้แต่ง นับว่าท่านเป็นกวีมีชื่อเสียงคนหนึ่งในสมัยนั้น เข้าใจว่า เพราะเกิดความบันดาลใจจากความงดงาม ตลอดจนได้เห็นได้ทราบ ความสนุกสนานในงานสมโภชพระพุทธบาท จนได้รับนับถือว่าเป็นวรรคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งสมัยอยุธยา

พิธีมังคลาภิเษก พระพิฆเศวร
พิธีมังคลาภิเษก พระพิฆเศวร

ชื่อผู้แต่ง                 ศิลปากร , กรม

ชื่อเรื่อง                  พิธีมังคลาภิเษก พระพิฆเศวร

ครั้งที่พิมพ์               -

สถานที่พิมพ์             -

สำนักพิมพ์               บริษัท สยามบุ๊คส์ แอนด์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๔๐

จำนวนหน้า              ๖๓    หน้า

หมายเหตุ                 -

 

 

                            หนังสือที่ระลึกพิธีมังคลาภิเษกพระพิฆเศวร จัดทำโดยกรมศิลปากร รายได้สมทบทุนกองทุนโบราณคดี เพื่อให้การสร้างรูปพระพิฆเศวรครั้งนี้ทรงคุณค่าและเป็นศิริมงคลแก่ผู้ที่ได้รับ คณะอนุกรรมการจัดหารายได้เข้ากองทุนโบราณคดี จึงจัดพิธีมังคลาภิเษกขึ้นในวันนี้ ประกอบทั้งพิธีพุทธและพราหมณ์

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ชื่อผู้แต่ง          ศิลปากร,กรม

ชื่อเรื่อง           พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์พี่น้องการพิมพ์

ปีที่พิมพ์            ๒๕๑๘               

จำนวนหน้า        ๑๘ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ทองอยู่  ศิลปะเดช จ.ม.

                   

                      เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ หลังจากที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว บ้านเมืองก็เกิดจลาจลแบ่งออกเป็นก๊กเป็นเหล่า สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ซึ่งขณะนั้นทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวชิรปราการ   ได้รวบรวมผุ้คนเข้าเป็นสมัครพรรคพวกปราบปรามผู้ที่ตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่าต่าง ๆ และขับไล่พม่าออกไปจากแผ่นดินไทยแล้ว จึงทรงสถาปนาเมืองหลวงของประเทศไทยขึ้นใหม่ ณ กรุงธนบุรี หลักจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีก็ทรงมีภารกิจด้านการสงครามจนตลอดรัชกาล นับได้ว่าทรงเป็นนพระมหาวีรกษัตริย์ที่ทรงพระคุณต่อชาติไทยอย่างยิ่ง ควรที่คนไทยจะใผ่ใจศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่าน

โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ และสุภาษิตพระร่วง
โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ และสุภาษิตพระร่วง

ชื่อผู้แต่ง          จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง           โคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ และสุภาษิตพระร่วง

ครั้งที่พิมพ์         -

สถานที่พิมพ์      ท่าพระจันทร์ พระนคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์            ๒๕๐๘               

จำนวนหน้า       ๔๗ หน้า

หมายเหตุ         อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพรองอำมาตย์ตรีสนัด  สุวรรณบุญย์

                    

                       พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เป็นคำสั่งสอนสำหรับบุคคลทุกวัย มีความไพเราะและเป็นคติจับใจผู้อ่าน ผู้ฟังเป็นอันมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในโอกาสต่าง ๆ กัน เป็นครั้งคราว ดังจะเห็นได้ในหมวดนานาสุภาษิต เรื่อง “ความสุจริต” ตั้งแต่บท ๑ ถึงบท ๓ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้คราวหนึ่ง

พระมหาบุรุษลักษณะ
พระมหาบุรุษลักษณะ

ชื่อผู้แต่ง                          พระมหาบุรุษลักษณะ

ชื่อเรื่อง                            พระมหาบุรุษลักษณะ

ครั้งทีพิมพ์                        -

สถานที่พิมพ์                     พระนคร

สำนักพิมพ์                       โรงพิมพ์เจริญธรรม

ปีที่พิมพ์                           ๒๕๐๑

จำนวนหน้า                       ๔๗ หน้า

หมายเหตุ                         คณะศิษยานุศิษย์พิมพ์แจกในงานหล่อพระพุทธรูปปางนาคปรกและรูปพระเพทสังวรวิมล

 

                                         เรื่องพระมหาบุรุษลักษณะ นี้ ปรากฏในคำปรารภว่า สมเด็จพระวันรัต ซึ่งรับพระสุพรรณบัฏเป็นที่สมเด็จพระอริยวงศญาณฯลฯ สถิต ณ พระศรีรัตนมหาธาตุ วรวิหาร พระอารามหลวง แปลถวายพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ในรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระวันรัตองค์นี้คือสมเด็จพระสังฆราช(มี)วัดมหาธาตุเมื่อแปลเรื่องพระมหาบุรุษลักษณะนี้ยังเป็นสมเด็จพระวันรัตและสถิตวัดราชบุรณะ ยังมิได้มาอยู่วัดมหาธาตุ เพราะเวลานั้น สมเด็จพระสังฆราช(สุก) ยังมีพระชนม์อยู่ ต่อสมเด็จพระสังฆราช(สุก)สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๕๙แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าจึงทรงตั้งสมเด็จพระวันรัต(มี)วัดราชบุรณะเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๕๙ แล้วแห่มาอยู่วัดมหาธาตุ      ณ วันจันทร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ศกเดียวกัน เพราะฉะนั้นข้อความในคำปรารภที่ว่าสมเด็จพระวันรัต ซึ่งรับ    พระสุพรรณบัฎเป็นที่สมเด็จพระอริยวงศญาณ นั้น หมายถึงว่าทรงแปลถวาย เมื่อยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต อยู่วัดราชบุรณะ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ คือก่อนเวลาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ๒ ปี

สุภาษิตรัตนภัณฑาคาร (คัดมาแต่บางบท)
สุภาษิตรัตนภัณฑาคาร (คัดมาแต่บางบท)

ชื่อผู้แต่ง            -

ชื่อเรื่อง             สุภาษิตรัตนภัณฑาคาร (คัดมาแต่บางบท)

ครั้งที่พิมพ์          -

สถานที่พิมพ์       พระนคร

สำนักพิมพ์          ร.พ.อรุณการพิมพ์

ปีที่พิมพ์             ๒๕๐๗

จำนวนหน้า        ๔๗  หน้า

หมายเหตุ          พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางยิ้ม  บุนนาค

 

                         ต้นฉบับแห่ง สุภาษิตที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ มีสุภาษิตหลายพันบท แบ่งเป็นหมวดๆ ตามประเภทของความ เริ่มด้วยบทนมัสการ บัณฑิตชื่อกาศีนาถปะรับ เก็บจากหนังสือต่างๆ ในภาษาสังสกฤตมารวมขึ้นเป็นเล่มหนึ่ง ให้ชื่อว่า "สุภาษิตรัตนภัณฑาคาร (คลังแห่งแก้ว คือสุภาษิต)" คำว่าสุภาษิตในภาษาสันสกฤต แปลความหมายไว้กว้างๆคำของกวีไพเราะ

สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและโคลงสุภาษิต
สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและโคลงสุภาษิต

ชื่อผู้แต่ง        มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง           สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและโคลงสุภาษิต

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์    ธนบุรี

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์เจริญสิน

ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๓

จำนวน            ๖๓ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ (ไชย แสง – ชูโต)

                       สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ (ไชย แสง – ชูโต) และลำดับสายตระกูล แสง ชูโต

ลัทธิเอาอย่างและโคลนติดล้อ
ลัทธิเอาอย่างและโคลนติดล้อ

ชื่อผู้แต่ง         มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง           ลัทธิเอาอย่างและโคลนติดล้อ

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์     พระนคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา

ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๖

จำนวนหน้า       ๗๙ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงอนุการรัชฏ์พัฒน์ (อู๋ รัชตะศิลปิน)

                      ลัทธิเอาอย่างและโคลนติดล้อเป็นพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยรวมพิมพ์อยู่ในหนังสือประมวลบทพระราชนิพนธ์ (ภาคปกิณกะ)

หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาต คือ โอวาทปาติโมกข์คาถา
หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาต คือ โอวาทปาติโมกข์คาถา

ชื่อผู้แต่ง         พระศาสนโศภน (แจ่ม จัตตสัลโล)

ชื่อเรื่อง           หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาต คือ โอวาทปาติโมกข์คาถา

ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์       อมรการพิมพ์

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๖ 

จำนวนหน้า      ๕๘ หน้า

หมายเหตุ        อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชวรญาณ (อุ่ม อารทัธวิริโย ป.ธ.๖)

                      หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาต คือ โอวาทปาติโมกข์คาถาฉบับนี้เป็นฉบับที่เรียบเรียงโดย พระศาสนโศภน (แจ่ม จัตตสัลโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปาโมกข์

โรเมโอและจูเลียต
โรเมโอและจูเลียต

ชื่อผู้แต่ง        เชคส์เปียร์,วิลเลียมส์

ชื่อเรื่อง          โรเมโอและจูเลียต

ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๖

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ไทยเขษม

ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๙

จำนวนหน้า       ๑๕๕ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในรัชกาลที่ ๖

                       โรเมโอและจูเลียต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลและทรงพระราชนิพนธ์ เป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕  ณ พระราชวังสนามจันทร์ โรเมโอและจูเลียต เชคส์เปียร์แต่งขึ้นจากนิทานในประเทศอิตาลี

สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็กและสุภาษิตสอนสตรี
สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็กและสุภาษิตสอนสตรี

ชื่อผู้แต่ง         อิสรญาณ,หม่อมเจ้าและสุนทรภู่

ขื่อเรื่อง           สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็กและสุภาษิตสอนสตรี

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์สามมิตร

ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๘ 

จำนวนหน้า       ๕๙ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโจ้ สุนทรศารทูล

                       สุภาษิตอิศรญาณหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเพลงยาวเจ้าอิศรยาณ มีเรื่อเล่ากันว่าเจ้าอิศรญาณ มีจิตที่ไม่ปกติ มีครั้งหนึ่งทำอะไรที่ว่าวิปริต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสประภาสว่า บ้า เจ้าอิศรญาณรุ้สึกน้อยใจจึงแต่งเพลงยาวฉบับนี้ ส่วนสุภาษิตสอนเด็กไม่ปรากฏผู้แต่ง และสุภาษิตสอนสตรี สุนทรภู่แต่งขายเมื่อตอนตกยาก

พงศาวดารจีนไซ่ฮั่น
พงศาวดารจีนไซ่ฮั่น

ชื่อผู้แต่ง         -

ชื่อเรื่อง           พงศาวดารจีนไซ่ฮั่น

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๘ 

จำนวนหน้า      ๕๔๔ หน้า

หมายเหตุ        หนังสือที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทพระยาอภัยสงคราม (จอน โชติดิลก)

                       พงศาวดารจีนเรื่องชิดก๊กไซ่ฮั่นฉบับกรมศิลปากรตรวจสอบ จัดพิมพ์เป็นครั้งแรกหลังจากกรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบ เป็นพงศาวดารจีนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลังทรงอำนวยการแปล ก่อนปี พ.ศ.๒๓๔๙

ผ้าโบราณ
ผ้าโบราณ

ชื่อผู้แต่ง         ณัฏฐภัทร จันทวิช

ชื่อเรื่อง           ผ้าโบราณ

ครั้งที่พิมพ์       - 

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์       อมรินทร์การพิมพ์

ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๑

จำนวนหน้า       ๒๗ หน้า

หมายเหตุ         วัดทัศน์ในโอกาสแสดงนิทรรศการพิเศษ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ.๒๕๒๑

                        ผ้าโบราณหนังสือที่เรียบเรียงเรื่องขึ้นโดยย่อเพื่อใช้แจกในการแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ภูษานานาพรรณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครและในเทศกาลเข้าพรรษาทุกปีกรมศิลปากรจะเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเป็นพิเศษสำหรับพระภิกษุสามเณรเข้าเยี่ยมชม

นำต้นพระยาฉัตทันต์
นำต้นพระยาฉัตทันต์

ชื่อผู้แต่ง         -

ชื่อเรื่อง          นำต้นพระยาฉัตทันต์

ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์บารมี

ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๗

จำนวนหน้า       ๗๙ หน้า

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสิน เจริญรุกข์

                       พระยาฉัตทันต์เป็นชาดกแต่งด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองหลายประเภทประกอบกาพย์ยานี กาพย์สุรางคนางและกาพย์ฉบัง เนื้อเรื่องกล่าวถึงอดีตชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระยาช้างชื่อฉัตทันต์

โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ชื่อผู้แต่ง        นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง          โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ครั้งที่พิมพ์       -

สถานที่พิมพ์    พระนคร

สำนักพิมพ์      ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวกร

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๑

จำนวนหน้า      ๗๒ หน้า

หมายเหตุ       จัดพิมพ์ในงานฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี ในพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

                     โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ต้นฉบับบเป็นสมุดไทยเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙

อัพภันตรชาดกและเสยยชาดก
อัพภันตรชาดกและเสยยชาดก

ชื่อผู้แต่ง        -

ชื่อเรื่อง          อัพภันตรชาดกและเสยยชาดก

ครั้งที่พิมพ์      -

สถานที่พิมพ์   พระนคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์คุรุสภา

ปีที่พิมพ์          ๒๔๙๑

จำนวนหน้า      ๓๗ หน้า

หมายเหตุ        พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางญาณวิจิตร (ฮับ โลจนานนท์)

                       เป็นชาดก ๒ ใน ๑๖ เรื่อง ที่สิทธิ โลจนานนท์ แปลไว้เป็นเรื่องที่อยู่ในนิบาตชาดก เล่ม ๖

บทละครเรื่อง ระเด่นลันได
บทละครเรื่อง ระเด่นลันได

ชื่อผู้แต่ง        มนตรีทรัพย์,พระมหา

ชื่อเรื่อง          บทละครเรื่อง ระเด่นลันได

ครั้งที่พิมพ์      -

สถานที่พิมพ์   พระนคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๓

จำนวนหน้า      ๓๑ หน้า

หมายเหตุ        จัดพิมพ์เนื่องในงานวันกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ

                      เรื่องระเด่นลันไดแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นเรื่องของแขกฮินดูพเนจรเข้ามาอาศัยอยู่ใกล้โบสถ์พรหมณ์ในกรุงเทพฯสีซอและร้องเพลงขอทาน  เกิดความขัดแย้งกับแขกประดู่ด้วยเรื่องแย่งผู้หญิงชาวมลายูด้วยกันเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาพระมหามนตรีทรัพย์เลยนำมาแต่งเป็นละครประเภทร้อยกรอง

เมืองพาราณสี
เมืองพาราณสี

ชื่อผู้แต่ง   -

ชื่อเรื่อง             เมืองพาราณสี

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์     พระนคร

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๒

จำนวนหน้า     ๒๕ หน้า

หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำเนียร  บุนนาค

 

                     เมืองพาราณสี เป็นเรื่องสั้น ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือวชิรญาณ ตอนที่ ๗๗ เดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เป็นถ้อยคำของพราหมณ์ ชื่อ อะจุตะนันนำ ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่อง เมืองพาราณสี

บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่
บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่

ชื่อผู้แต่ง       -

ชื่อเรื่อง         บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่

ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์เจริญธรรม

ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๐

จำนวนหน้า     ๘๓ หน้า

หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายเจตน์ ประยูรเวช

                      บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่นี้คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอักษรศาสตร์และวรรณคดีโดยรวบรวมจากบทร้อยกรองของกวีคนสำคัญ ที่แต่งพรรณาถึงสถานที่สองฝั่งน้ำตั้งแต่คลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

สุวรรณสามชาดกคำกลอน
สุวรรณสามชาดกคำกลอน

ชื่อผู้แต่ง            -

ชื่อเรื่อง             สุวรรณสามชาดกคำกลอน

ครั้งที่พิมพ์         -

สถานที่พิมพ์      -

สำนักพิมพ์        บูรณะการพิมพ์

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๔  

จำนวนหน้า    ๔๐  หน้า

หมายเหตุ      พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยโทหญิง สุทธิศรี  ผดุงเกียรติ (สุทธิศรี  บุญญภพ)

 

                    สุวรรณสามชาดกคำกลอน  เป็นหนังสือเก่ามีฉบับพิมพ์อยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่เป็นเรื่องที่แต่งโดยอาศัยเค้าเรื่อง สุวรรณสามชาดกเป็นหลักดำเนินเรื่อง

บทละครสังคีต เรื่อง วั่งตี่
บทละครสังคีต เรื่อง วั่งตี่

ชื่อผู้แต่ง        มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ชื่อเรื่อง          บทละครสังคีต เรื่อง วั่งตี่

ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์   พระนคร

สำนักพิมพ์      กรุงเทพฯ การพิมพ์

ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๙

จำนวนหน้า      ๑๐๒ หน้า

หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลุ้ย อัมพรภักดิ์

                      บทละครสังคีต เรื่อง วั่งตี่ พระราชนิพนธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเค้าโคลงเรื่อง “มิคาโด”ของนาย ว.ส. คิวเปิต (W.S.Gilpert) เป็นบทละครสั้นตลกขบขันและเสียดสีความประพฤติของขุนนางที่อยู่ห่างไกล

 

ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร

ชื่อผู้แต่ง        ศิลปากร,กรม.

ชื่อเรื่อง          ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๕

สถานที่พิมพ์   พระนคร

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์การรถไฟฯ

ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๑

จำนวนหน้า      ๑๕๔ หน้า

หมายเหตุ        อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพร้อยโทยิ้ม ตรุศบรรจง

                       หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตเล่มนี้ประกอบด้วยเรื่องประเพณีต่างๆจำนวน ๖ เรื่อง คือ ประเพณีเนื่องในการเกิดของเสถียรโกเศศ ประเพณีทำบุญของเสถียรพันธรังสี ประเพณีบวชนาคของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ประเพณีแต่งงานของพระยาราชวรานุกุล(อ่วม) ประเพณีทำศพ ของพระจรูญชวนะพัฒน์และหลวงวิศาลดรุณกรและตำนานกฐินของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ.

เรื่อง การดนตรี
เรื่อง  การดนตรี

ชื่อผู้แต่ง               เจนดุริยางค์,พระ

ชื่อเรื่อง                 เรื่อง  การดนตรี

ครั้งที่พิมพ์             -

สถานที่พิมพ์          กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์             เจริญศิลป์การพิมพ์

ปีที่พิมพ์                ๒๔๙๗

จำนวนหน้า            ๓๘ หน้า

หมายเหตุ              พิมพ์ในงานฌาปณกิจศพ นายสาโรช  อัศวรักษ์

                            

                             ธรรมชาติได้ประทานประสาทแห่งความรู้สึกให้เราไว้ ๕ อย่าง ประสาทแห่งความรู้สึกเกี่ยวกับการฟังนั้นเรียกว่า โสตประสาท คือ หู เราได้ยินเสียงต่าง ๆ ก็เพราะหูเป็นเครื่องรับเสียง คนหูหนวกหรือหูตึง พูดกันไม่รู้เรื่อง เพลงเพราะ ๆ ก็ไม่รู้ว่าเพลงเพราะ ทำให้เขาขาดสำราญใจไปมากทีเดียว

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๕
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๕

ชื่อผู้แต่ง           -

ชื่อเรื่อง            ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๕ 

ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์     -

สำนักพิมพ์       -

ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๒

หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงรุจิ  ศรีวรรณวัฑฒ์

 

                     หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๕ ว่าด้วยเรื่องอังกฤษเข้ามาทำสัญญากับไทย ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อังกฤษได้ทำไมตรีกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ นับเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อค้าขายในสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี

 

                    

แผ่นดินพระมงกุฏเกล้าฯ
แผ่นดินพระมงกุฏเกล้าฯ

 

 

ชื่อเรื่อง : แผ่นดินพระมงกุฏเกล้าฯ

ผู้แต่ง : ประยุทธ  สิทธิพัน

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๐

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : ธรรมเสวี

 

               แผ่นดินพระมงกุฏเกล้าฯ ได้กล่าวถึงชีวประวัติของบุคคลสำคัญ อันเป็นเพ็ชร์ล้ำค่างของประชาชาติไทยเราต่อไป เป็นการสรรเอาเรื่องราวของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระมหากษัตรืย์ผู้ทรงพระคุณประเสริฐแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเป็นรูปเล่มใช้ชื่อว่า "แผ่นดินพระมงกุฏเกล้าฯ"

บทละครนอก
บทละครนอก

ชื่อเรื่อง : บทละครนอก

ผู้แต่ง : พุทธเลิศหล้านภาลัย,พระบาทสมเด็จพระ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๐ สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร                      

                       บทละครนอก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รวม ๖ เรื่อง ได้แก่ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย ได้จัดพิมพ์รวมเล่มครั้งแรก เนื่องในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ ๖๐ ทิศของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธฮ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ โดยเรียงลำดับเรื่องตั้งแต่เรื่อง ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย เรียกชื่อหนังสือเล่มนั้นว่า  "ประชุมบทละครนอกพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ และทรงพระราชนิพนธ์เรียบเรียงตำนานบทละครนอกไว้ด้วย

ประชุมลำนำ ประมวลตำรากลอนกานต์ โคลงฉันท์.
ประชุมลำนำ ประมวลตำรากลอนกานต์ โคลงฉันท์.

ชื่อเรื่อง : ประชุมลำนำ ประมวลตำรากลอนกานต์ โคลงฉันท์

ผู้แต่ง : สำนักนายกรัฐมนตรี

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี

 

                   ประชุมลำนำ ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย มีคุรค่าทางวิชาการ ฉันทศาสตร์ ยังเป็นการเอาต้นบัญญัติกานต์กลอน เป็นลำนำ ที่นิยมร้องรำทำเพลงกันอยู่แต่โบราณกาล มาเขียวไว้เป็นหลักฐาน ทำให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความปรีชาสามารถของบูรพาจารย์ผู้เป็นบรรพชนต้นตระกูล ตลอดถึงบทกล่อมเด็กก็มีต้นบัญญัติมาจากลำนำ กานต์กลอนที่ท่านได้รวบรวมขึ้น เช่น วัดเอยวัดโบสถ์ฯ

พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศต่างๆ ภาคที่ ๑
พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศต่างๆ ภาคที่ ๑

ชื่อเรื่อง : พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศต่างๆ ภาคที่ ๑

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๒

สถานที่พิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : หจก.ป.สัมพันธ์พาณิชย์

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้า สโมสรเกษม เกษมศรี ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

 

                  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชสาส์นติดต่อกับต่างประเทศหลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส บรุสเซีย ออสเตรีย เดนมาร์ก ฮอลันดา ในทวีปเอเชีย ทรงติดต่อกับประเทศจีน เวียดนาม ร่างพระราชสาส์นที่พระราชทานไปยังประเทศต่างๆนั้น มีปรากฏอยู่ในสมุดข่อย ซึ่งกรมศิลปากรได้รับมาจากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นส่วนมาก และอนุญาตให้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ - ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖

ผู้แต่ง : สำนักนายกรัฐมนตรี

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สำนักนายกรัฐมนตรี

 

                  จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในรัชกาลที่ ๕ ที่พิมพ์ในเล่มนี้ เริ่มแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถึงปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ รวมเป็นเหตุการณ์ในระยะเวลา ๖ ปี นับได้ว่าเป็นหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี บางเรื่องและก็โดยมากต้องอาศัยพระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาช่วยขยายเรื่องราวให้ทราบละเอียดละออขึ้น

บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา
บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา

 

ชื่อเรื่อง : บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางเนื่อง  อุมะวิชนี ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุ

 

                 บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา เนื้อเรื่องเป็นคำเจรจาของตัวละครที่แทรกสลับกับบทละครของเดิม คำเจรจานี้พิมพ์แยกคนละฉบับกับบทละครแต่มีหมายเลขกำกับบอกไว้

โหราศาสตร์เบื้องต้นและการใช้ฤกษ์
โหราศาสตร์เบื้องต้นและการใช้ฤกษ์

 

ชื่่อเรื่อง : โหราศาสตร์ เบื้องต้นและการใช้ฤกษ์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

หมายเหตุ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก )

 

                    วิชาโหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องดวงดาวมาสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีอายุยืนหลายพันปีมาแล้วจนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่ามีแหล่งกำเนิดจากที่ใดก่อน นอกจากสันนิษฐานกันว่าเริ่มจากอินเดียตอนกลางแล้วแผ่ขยายออกไป สำหรับโหรไทยเริ่มในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีมีศิลาจารึกว่าพญาฦาไทย

จารึกสมัยสุโขทัย
จารึกสมัยสุโขทัย

ชื่อเรื่อง : จารึกสมัยสุโขทัย

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พุทธศักราช ๒๕๒๖

 

                   จารึกเป็นสิ่งที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับวิชาการด้านภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ เป็นหลักใหญ่ ในส่วนของเนื้อหาสาระถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของชนชาติ เจ้าของจารึกว่ามีอดีตความเป็นมาอย่างไร ดังนั้นในศุภสมัยฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พุทธศักราช ๒๕๒๖ กรมศิลปากร จึงดำริรวบรวมจารึกสุโขทัยทั้งหมดจัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ทางวิชาการและเพื่อน้อมเกล้าฯ สักการะถวายแด่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงมีพระราชวิริยะอุตสาหะประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๖ อันเป็นการวางรากฐานทางการศึกษาของชาติ เป็นผลให้ชาวไทยมีตัวอักษรใช้เป็นของตนเอง

คำกลอนสรรเสริญพระบารมี
คำกลอนสรรเสริญพระบารมี

ชื่อเรื่อง : คำกลอนสรรเสริญพระบารมี

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : แพร่พิทยา

 

                    หนังสือคำกลอนสรรเสริญพระบารมี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่า นอกจากจะได้รสทางวรรณคดีแล้ว ยังได้ความรู้ในเหตุการณ์สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย เนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ภาค คือ ภาคที่๑ ภาคที่๒ และภาคที่ ๓ จัดพิมพ์รวมไว้ในเล่มเดียวกันแต่ละภาคนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์คำอธิบายไว้ทั้ง ๓ ภาค

เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส)เกี่ยวกับประเทศสยาม
เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส)เกี่ยวกับประเทศสยาม

ชื่อเรื่อง : เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส)เกี่ยวกับประเทศสยาม

ผู้แต่ง : สันต์  ท.โกมลบุตร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ประดิษฐ์การพิมพ์

 

                   หนังสือเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของกระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส)เกี่ยวกับประเทศสยามเล่มนี้ เป็นเอกสารบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรุงสยามและฝรั่งเศส ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและบันทึกเหตุการณ์สำคัญในสมัยหลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต

กาพย์มหาชาติ
กาพย์มหาชาติ

ชื่อเรื่อง : กาพย์มหาชาติ

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : คลังวิทยา

 

                    หนังสือกาพย์มหาชาติ อธิบายลักษณะหนังสือที่เรียกว่า มหาชาติ ต่อจากนั้นเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับกาพย์มหาชาติโดยลงพิมพ์ในเล่มเพียง ๓ กัณฑ์ คือ กาพย์วนประเวศ กาพย์กุมารบรรพและกาพย์สักรบรรพ ตอนท้ายเรื่องเป็นการอธิบายกาพย์สักรบรรพ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม
บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม

ชื่อเรื่อง : บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม

ผู้แต่ง : เพียงฤทัย  วาสบุญมา

ครั้งที่พิมพ์ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : มาร์ค แอนด์ ทเวน มีเดียส์

 

                    หนังสือบันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม เป็นบันทึกเหตุการณ์สำคัญของสังฆราชปาลเลอ กัวซ์ ชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักในเมืองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยเขียนบรรยายถึงกรุงสยามในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ ประชาชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา ศาสนา เรื่องราวในราชสำนักสยาม ตลอดจนถึงการเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในเมืองไทย

พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา
พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

หมายเหตุ : เรียบเรียงขึ้นเนื่องในโอกาสที่กรมศิลปากรได้ดำเนินจัดทำพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และเนื่องในโอกาสครบ ๕๐ ปี โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา รวมทั้งในวาระแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ๑๐๐ ปี

 

                   หนังสือพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา เล่มนี้ กล่าวถึงความหมายของช้างต้น ช้างเผือก และช้างสำคัญ คติความเชื่อเกี่ยวกับช้าง บทบาทความสำคัญของช้างไทย ช้างสำคัญในประวัติศาสตร์ ช้างต้นในราชวงศ์จักรี ช้างต้นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช การจับช้างและพิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง พระราชพิธีรับและสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกหรือช้างสำคัญ และเครื่องประกอบเกียรติยศ

ในราชสำนักพระนารายณ์
ในราชสำนักพระนารายณ์

ชื่อเรื่อง : ในราชสำนักพระนารายณ์

ผู้แต่ง : อุดม  ประมวลวิทย์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๕

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรบริการ

 

                     ในราชสำนักพระนารายณ์ กล่าวถึงพระราชประวัติของพระเจ้าอยู่หัว "มหาราช" และยังมีเรื่องราวและประวัติชีวิตบุคลสำคัญๆในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์อีกหลายคน อาทิ เจ้าพระยาวิชเยนทร์หรือฟอลคอน ฝรั่งชาติกรีก อันเป็นชาวยุโรปคนแรกที่มารับราชการในกรุงสยามและมีบรรดาศักดิ์ได้เป็น "เจ้าพระยาคนแรกและบุคลสำคัญฝ่ายไทยคนอื่นๆ อาทิ "โกษาปาน" นักการฑูตเอกคนแรกของไทยและ "ศรีปราชญ์" ราชกวีเอกประจำราชสำนักและบุคคลอื่นๆอีกหลายคน ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยในสมัยที่ผ่านมา

พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัส
พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัส

 

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัส

ผู้แต่ง : ราชเลขาธิการ, สำนัก

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๕

สถานที่พิมพ์ : นครหลวง

สำนักพิมพ์ : บางแคโฟโต การพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพพระครูวิทยานุโยค (พลบ  เฟื่องฟุ้ง) ณ เมรุวัดนิมมนรดี

 

               พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓ ซ.ม. สูง ๔๐ ซ.ม. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัด ทั่วพระราชอาณาเขตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ นอกจากจะเป็นนิมิตรหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดแล้วยัง เป็นนิมิต หมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดีนวกัน ระหว่างพระมหากษัตราธิราชกับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัด

โคลงกลอนครูเทพ เล่ม ๒
โคลงกลอนครูเทพ เล่ม ๒

ชื่อเรื่อง : โคลงกลอนครูเทพ เล่ม ๒

ผู้แต่ง : ธรรมศักดิ์มนตรี,เจ้าพระยา

ครั้งที่พิมพ์ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                   หนังสือโคลงกลอนครูเทพ เล่มนี้ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้เขียนขึ้นอยู่ในยุคที่โคลงกลอนกำลังฟื้นฟูขึ้น แล้วจึงตกลงให้มีการจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อสบับสนุนนโยบายของรัฐบาลในรูปแบบฉันทลักษณ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน รวบรวมไว้หลายเรื่องราว

ตำนานเมืองสยาม
ตำนานเมืองสยาม

ชื่อเรื่อง : ตำนานเมืองสยาม

ผู้แต่ง : สงวน  โชติสุขรัตน์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สุนทรกิจการพิมพ์

 

                    หนังสือตำนานเมืองสยาม เล่มนี้ ได้กล่าวถึงประวัติของสยาม แบ่งออกได้ดังนี้  ยุคที่ ๑ กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๙๓ ยุคที่ ๒ กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๒ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ ยุคที่ ๓ กรุงธนบุรี เป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๓ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ ยุคที่ ๔ กรุงเทพมหานคร เป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย ตอน๒
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย  ตอน๒

ชื่อเรื่อง : เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ศิวพร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

หมายหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเชื้อ ชลธารวินิจจัย มกราคม ๒๕๐๙

       เสาภาเรื่องขุนช้างขุนแผนภาคปลาย เนื้อเรื่องในเล่มนี้เริ่มตั้งแต่ตอนที่ ๔๓ จระเข้ขวาดจนถึงตอนที่ ๗๕ อุปราชกับสาภารลาวจับพลายเพชรได้ รวมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนภาคปลายเป็น ๓๓ ตอน

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย ตอน๑
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย  ตอน๑

ชื่อเรื่อง : เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ภาคปลาย

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ศิวพร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

หมายหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเชื้อ ชลธารวินิจจัย มกราคม ๒๕๐๙

       เสาภาเรื่องขุนช้างขุนแผนภาคปลาย เนื้อเรื่องในเล่มนี้เริ่มตั้งแต่ตอนที่ ๔๓ จระเข้ขวาดจนถึงตอนที่ ๗๕ อุปราชกับสาภารลาวจับพลายเพชรได้ รวมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนภาคปลายเป็น ๓๓ ตอน

ประวัติผู้ไทย ตอน๒
ประวัติผู้ไทย ตอน๒

ชื่อเรื่อง : ประวัติผู้ไทย

ชื่อผู้แต่ง : ถวิล เกษรราช

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

       ประวัติผู้ไทยเป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติผู้ไทยค่อยข้างจะสมบรูณ์ โดยการรวบรวมจากหนังสือพงศาวดารต่าง ๆ หลายฉบับ ในการเรียบเรียงประวัติได้กล่าวถึงประวัติเมืองกุฉินารายณ์ คือ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบันซึ่งมีชาวผู้ไทยอาศัยอยู่มากที่สุด กล่าวถึงเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองบ้านเมืองโดยละเอียด ฯ

ประวัติผู้ไทย ตอน๑
ประวัติผู้ไทย ตอน๑

ชื่อเรื่อง : ประวัติผู้ไทย

ชื่อผู้แต่ง : ถวิล เกษรราช

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

       ประวัติผู้ไทยเป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติผู้ไทยค่อยข้างจะสมบรูณ์ โดยการรวบรวมจากหนังสือพงศาวดารต่าง ๆ หลายฉบับ ในการเรียบเรียงประวัติได้กล่าวถึงประวัติเมืองกุฉินารายณ์ คือ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบันซึ่งมีชาวผู้ไทยอาศัยอยู่มากที่สุด กล่าวถึงเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองบ้านเมืองโดยละเอียด ฯ

วรรณคดีพระยาพระคลัง(หน)
วรรณคดีพระยาพระคลัง(หน)

ชื่อเรื่อง : วรรณคดีพระยาพระคลัง (หน)

ชื่อผู้แต่ง : เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๕

       หนังสือวรรณคดีพระยาคลัง(หน)ได้รวบรวมผลงานทางวรรณคดีของพระยาพระคลัง(หน) จำนวน ๗ เรื่องรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน คือ กากีกลอนสุภาพ สมบัติอมรินทร์คำกลอน ลิลิตเพชรมงกุฎ ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพระศรีวิชัยชาดก อิเหนาคำฉันท์ และ กลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขาวัดราชคฤห์

หัวใจนักรบ
หัวใจนักรบ

ชื่อเรื่อง : หัวใจนักรบ

ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ตีรณสาร

ปีที่พิมพ์ : ๒๙๘

หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชเพลิงศพเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฤาชัย (พรจารุจินดา) ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๘

       หัวใจนักรบ เป็นบทละครในพระบาทสมเด็จ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จัดป็นบทละครที่มีเนื้อหาสาระและสอดแทรกไปด้วยคติเตือนใจ แนวการสอนอันสอดแทรกอยู่ในตัวละครแต่ละตัว ผู้อ่านสามารถนำมาเป็นแนวปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้

ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔

ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานณาปนกิจศพ หม่อมสาย ศรีธวัช ณ อยุธยา ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๒

       ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ หมวดปกิณกะ ภาค ๒ เนื้อหาสาระของบทพระราชนิพนธ์ แบ่งออกเป็น ๑๘ เรื่อง ประชุมพระราชนิพนธ์ดังกล่าวนี้ถือว่ามีความสำคัญทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นอย่างยิ่ง

เฉลิมเกียรติ์กษัตร์ คำฉันท์
เฉลิมเกียรติ์กษัตร์ คำฉันท์

 

 

ชื่อเรื่อง : เฉลิมพระเกียรติ์กษัตร์ คำฉัน

ผู้แต่ง : นราธิปประพันธ์พงศ์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : จงเจริญการพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางประไพ  ปัทมดิลก  เป็นกรณีพิเศษ ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วันเสาร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๒

 

               เรื่องเฉลิมเกียรติ์กษัตร์ คำฉัน นี้ ดำเนินเรื่งอราวตามประวัติศาสตร์ไทย ครั้งที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี หรือ พระเจ้าหงสาวดี ลิ้นดำ ยกกองทัพใหญ่มาตีกรุงศรีฯ ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระอัครมเหสี ได้ทรงปลอมพระองค์เป็นชาย ทางช้างโดยเสด็จสมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกรบด้วยได้ทรงตัดสินพระทัยไสช้าง เข้ารบกับข้าศึกเพื่อป้องกันพระสวามี จนถูกข้าศึกฟันจนสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เหตุการณ์ในครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึง ความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว และความเสัยสละอย่างยิ่งของสมเด็จพระสุริโยทัย ผวึ่งสมควรเฉลิมพระเกียรติเป็นวีรสตรีไทยพระองค์หนึ่ง

ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

 

 

ชื่อเรื่อง: ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราททานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาอ่อน ป.จ. ในรัชกาลที่ ๕ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒

 

                     หนังสือเรื่องนี้ จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่าน ทราบเรื่องเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น

ปมด้อยของรัฐบุรุษในโลก
ปมด้อยของรัฐบุรุษในโลก

 

 

ชื่อเรื่อง : ปมด้อยของรัฐบุรุษในโลก

ผู้แต่ง : อารยันตคุปต์

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๕

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์จำลองศิลป

 

                               ปมด้อยของรัฐบุรุษในโลก เล่มนี้ เน้นหนักไปในทางประวัติศาสตร์ เมื่อพูดรวมๆ คำว่า ด้อย มีหลายแง่หลายด้าน เช่น ด้อนในทางรูปร่าง และกิริยาวาจา ด้อยในทางวิชาความรู้ ฯลฯ เมื่อสรุปแคบๆ รวมทั้งหมดทั้งเล่ม ก็คือ ด้อยในทางมนุษย์ธรรม หรือพรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นจุดสำคัญแห่งลัทธิสากลนิยม และสมนุษย์ทั่วโลกย่อมเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกัน

นิพนธ์ต่างเรื่อง ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ
นิพนธ์ต่างเรื่อง ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ

ชื่อเรื่อง : นิพนธ์ต่างเรื่อง ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ

ชื่อผู้แต่ง : สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๙

หมายเหตุ : พิมพ์น้อมถวายเป็นสักการะในงานพระราชทางเพลิงศพเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์

ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙

       นิพนธ์ต่างเรื่องนี้บรรจุไว้ด้วยบทนิพนธ์ ๔๕ เรืื่อง โดยจัดเป็นหมวดธรรมเทศนา หมวดโอวาท หมวดบทความ และหมวดสารคดีซึ่งแต่ละเรื่องล้วนมีรสนิยมและอุดมคติสูง มีคำขวัญเพื่อปลุกใจคนในชาติให้มีความรักหวงแหนถิ่นกำเนิด เช่น                                                               คำขวัญถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือว่า ถิ่นไทยดี ถิ่นไทยอุดม ถิ่นกลางว่า ถิ่นจอมไทย                                                           และถิ่นเหนือว่า ถิ่นไทยงาม ฯ

เรียงความยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรียงความยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรื่อง : เรียงความยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง : -

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : เจริญผลการพิมพ์

 

                   เรียงความยอพระเกียรติ เล่มนี้ ทางจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าๆในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราชาธิราชเจ้าแห่งสยามประเทศนี้ขึ้น ในวาระคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ท่าน มหาวิทยาลัยจึงจัดให้มีการประกวดเรียงความ เพื่อเทอดทูนพระเกียรติคุณของพระองค์และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯแห่งพระองค์นั้น และเป็นการรวบรวมเรียงความที่ชนะการประกวดมาพิมพ์ไว้ มีการกล่าวถึงพระราชกรณียกิจอันควรที่เราจะได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าของพระองค์ท่าน

ชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
ชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมตำรากลอน หอพระสมุดวชิรญาณ

ผู้แต่ง ; วชิรญาณ หอพระสมุด

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                      หนังสือ ชุมนุมตำรากลอน เล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดวชิรญาณ ได้มีรับสั่งให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณรวบรวมขึ้นและพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๕๗ ตำรากลอนซึ่งได้รวบรวมมาลงพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ มี๕ เรื่อง คือ ๑.ฉันท์ วรรณพฤติ ตำราแต่งฉันท์ ๒. ตำราฉันท์ มาตราพฤติ ๓. หนังสือกาพย์ สาร วิลาสินี ๔. หนังสือเรื่อง ศิริวิบุลยกิติ ตำราแต่งกลอน กลบทเป็นหนังสือเก่า ๕. ตำราแต่งโคลง ของพระโหราธิบดี

บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๙
บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๙

ชื่อเรื่อง : บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๙

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๐

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : ศิวพร

หมายเหตุ : พิมพ์ในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิดครบ ๕ รอบ ของ พณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐

 

                   หนังสือเรื่อง บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๔๙๙ เล่มนี้ ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการงานของกระทรวง ทบวง กรม และองค์การต่างๆ เมื่อครั้งรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยแบ่งหัวข้อเรื่องไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ และได้กล่าวถึงเกี่ยวกับ คณะรัฐบาลชุดที่๑ถึงชุดที่๖ คำแถลงนโยบายของรัฐบาล กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ฯลฯ

ชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย เล่ม ๑
ชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย เล่ม ๑

 

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย เล่ม ๑

ผู้แต่ง : -

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                หนังสือ "ชุมนุมฉันท์ดุษฎีสังเวย" นี้ ประกอบด้วยฉันท์สรรเสริญพระพุทธรูปสำคัญ ฉันท์ดุษฎีสังเวยในงานพระราชพิธีต่างๆ และฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ซึ่งกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณได้เลือดสรรจากหนังสือดุษฎีสังเวยที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาก่อนรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตลอดมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมารวมพิมพ์ไว้เป็นเล่มเดียวกันครั้งแรก เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาศรีสุธรรม ศุภราชบรมนารถนิตยภักดีพิริยพาหะ (เจริญ  จารุจินดา)

อธิบายราชินิกุลบางช้าง
อธิบายราชินิกุลบางช้าง

 

 

ชื่อเรื่อง : อธิบายราชินิกุลบางช้าง

ผู้แต่ง : -

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๑

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

หมายเหตุ : พิมพ์อุทิศถวายสนองพระคุณ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัคราเทวี

 

                   คำว่า "ราชนิกุล" กับคำว่า "ราชินิกุล" หมายความต่างกัน ดังนี้ คือ ราชนิกุลเป็นพระญสติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมชนกนาถ ราชินิกุลเป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนับทางฝ่ายสมเด็พระบรมราชชนนี ต่างกันอีกอย่าง ซึ่งราชนิกุลย่อมเป็นเชื้อเจ้า เพราะสืบเชื้อสายลงมาจากเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในพระราชวงศ์ร่วมสกุลเดียวกัน ดังใช้นามสกุลว่า "ณ อยุธยา" อยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ราชินิกุลมีหลายพวกหลายสกุล

นิทานโบราณคดี
นิทานโบราณคดี

 

ชื่อเรื่อง : นิทานโบราณคดี

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางเนียร  ลพานุกรม

 

                หนังสือนิทานโบราณคดี เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่ในสมัยที่ล่วงมาแล้วและองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ชาวไทยพากันยกย่องสรรเสริญด้วยได้ทรงมอบมรดกวิทยาการไว้แก่อนุชนรุ่นหลังนี้เป็นจำนวนมาก นิทานโบราณคดีนี้ จึงนับเป็นมรดกอันหาค่าเปรียบมิได้ชิ้นหนึ่งในจำนวนมาก

 

ประวัติศาสตร์วัดไทย
ประวัติศาสตร์วัดไทย

 

ชื่อหนังสือ : ประวัติศาสตร์วัดไทย

ผู้แต่ง :  พิทักษ์  สายันห์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : เอกศิลปการพิมพ์

 

                วัดไทยมีมากมายกว่า ๒๕,๐๐๐ วัดรวมทั้งพระอารามหลวงและอารามราษฎร์วัดได้ถูกสร้างขึ้นมามายก็เพราะความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวพุทธ วัดที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก็มีมาก ซึ่งเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างไว้หลังจากเสร็จศึกสงครามแล้ว การสร้างเรื่องราวประวัติวัดไทยก็เหมือนกับการอ่านพงศาวดารของไทยเหมือนกันเพราะวัดกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยนั้นเกี่ยวต่อเนื่องกัน

ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

 

ชื่อหนังสือ : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่

ผู้แต่ง : คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างหอสมุดแห่งชาติรัชมัคลาภิเษก เชียงใหม่

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๓๒

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ

 

      หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมัคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อบันทึกประวัติหอสมุดแห่งชาติ รัชมัคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อบันทึกคุณงามความดีของผู้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริจาคทุนทรัพย์ และเพื่อให้ข้อมูลสังเขปของ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ โดยมีจุดมุ่งหมายว่า หอสมุดแห่งชาติแห่งนี้ จะเป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้และข่าวสารระดับชาติในภาคเหนือ

รายงานการวิจัยพุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา
รายงานการวิจัยพุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

ชื่อเรื่อง :  รายงานการวิจัยพุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา

ผู้แต่ง :  สุทธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : มงคลการพิมพ์

 

                    การวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทราบลักษณะทั่วๆไปของการนับถือพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันออกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนการจัดปกครองสงฆ์และบทบาทของสถาบันสงฆ์ในสมัยนั้นรวมทั้งความเกี่ยวโยงระหว่างพุทธศาสนากับวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ ทั้งในช่วงเวลาเดียวและที่มีผลสืบต่อมาถึงปัจจุบัน

 

 

 

ที่ระลึกในพิธีเปิด หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
ที่ระลึกในพิธีเปิด หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา

ชื่อเรื่อง             : ที่่ระลึกในพิธีเปิด หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา

ผู้แต่ง                : นครราชสีมา,จังหวัด

ปีที่พิมพ์            : ๒๕๓๐

สถานที่พิมพ์      : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์         : อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ

หมายเหตุ          : หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

 

                          หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เล่มนี้ ได้กล่าวถึง คำขวัญ ความเป็นมา พิธีวางศิลาฤกษ์ ผลงานของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประวัติความเป็นมาของขังหวัดนครราชสีมา ในเรื่องของเพลงพื้นบ้าน การแข่งเรือ เครื่องปั้น การทอผ้าไหม การก่อสร้างกำแพงและซุ้มประตู ของดีเมืองโคราช โครงการโคราชพัฒนา นามสกุลของชาวโคราชฯลฯ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพยะยาดำรงราชานุภาพเสด็จทวีปยุโรป พ.ศ. ๒๔๓๔
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพยะยาดำรงราชานุภาพเสด็จทวีปยุโรป พ.ศ. ๒๔๓๔

ชื่อเรื่อง            : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จทวีปยุโรป พ.ศ. ๒๔๓๔

ผู้แต่ง               : ดำรงราชานุภาพ,l,สมเด็จฯกรมพระยา

ปีที่พิมพ์           : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์    : พระนคร

สำนักพิมพ์       : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ        : พรบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พิมพืในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๑

 

                        หนังสือสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จทวีปยุโรป พ.ศ. ๒๔๓๔ เล่มนี้ กล่าวถึง การเสด็จทวีปยุโรปของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่อนดำรงราชานุภาพ อธิบดีกระทรวงธรรมการ เพื่อถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระเจ้าแผ่นดินบ้างและเพื่อเจริญทางพระราชไมตรีบ้าง ในการเสด็จทวีปยุโรปครั้งนั้นรวม ๘ ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมนี รุสเซีย ตุรกี กรีซ และอิตาลี

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

 

ชื่อเรื่อง : นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช

ผุ้แต่ง : กรมศิลปากร

พิมพ์ครั้งที่ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลปการพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด

 

       หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราชให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบัน พัฒนาการทางโบราณและประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช

หลักไทย
หลักไทย

ชื่อเรื่อง            : หลักไทย

ผู้แต่ง               : วิจิตรมาตรา,ขุน

พิมพ์ครั้งที่       : ๗

ปีที่พิมพ์          : ๒๕๑๘

สถานที่พิมพ์   : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      : บัณฑิตการพิมพ์

 

                        หนังสือเรื่อง หลักไทย เล่มนี้ ได้พิมพ์มาแล้วหลายครั้ง ส่วนเล่มนี้จัดพิมพืเป็นครั้งที่ ๗ มีการจัดพิมพ์ตามต้นฉบับเดิม คือ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ภาค คือ ภาคหนึ่ง กล่าวถึง ชาติ ยุโบราณประวัติ เช่น อาณาจักรไทยมุง สมัยนครปา ยุคมัธยมประวัติ เช่น อาณาจักรไทยน่านเจ้า สมัยเอกราชนครโยนก ยุคปัจจุบันประวัติ ภาคสอง กล่างถึง ศาสนา เช่น ไทยกับศาสนา ภาคสาม กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ เช่น ไทยกับพระมหากษัตริย์ และเพิ่มเติมด้วยภาคผนวก กล่าวถึงลำดับรัชกาลพระเจ้าแผ่นดินตามยุคสมัยและราชวงศ์ต่างๆ

รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช
รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

 

ชื่อหนังสือ : รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง : วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์

 

         รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชให้รายละเอียดเกี่ยวกับดินแดนภาคใต้สมัยไพลสะโตซีน ดินแดนภาคใต้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณในภาคใต้ นครศรีธรรมราชในสมัยศรีวิชัย อาณาจักรตามพรลิงค์ ข้อสังเกตลางประการเกี่ยวกับอาณาจักรตามพรลิงค์ นครศรีธรรมราชสมัยสุโขทัย ( พ.ศ. ๑๗๐๐-๒๐๐๐ ) ฯลฯ

จดหมายหลวงอุดมสมบัติ
จดหมายหลวงอุดมสมบัติ

 

ชื่อหนังสือ :  จดหมายหลวงอุดมสมบัติ

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร

หมายเหตุ :  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆังพร โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนี

 

                หนังสือจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติเป็นเอกสารสำคัญเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์อธิบายเรื่องราวอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ เช่น เรื่องเมืองประเทศราชมลายู ๔ เมือง เรื่องพระยาปัตตานี พระยาไทรตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อเสียกรุงเก่า เมืองปัตตานีกับเมืองไทรในเวลาครั้งกรุงธนบุรี เรื่องไทยตีเมืองปัตตานีครั้งแรก เมื่อในรัชกาลที่ ๑ เรื่องอังกฤษขอเช่าเกาะหมากจากเมืองไทรเมื่อเวลาเป็นอิสระ ฯลฯ

เทศน์มหาชาติ
เทศน์มหาชาติ

 

ชื่อเรื่อง : เทศม์หาชาติ

พิมพ์ครั้งที่ : ๘

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : วรวุฒิการพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมรรคาคำณวน ( ละมูล  ปิ่นแสง )

 

             หนังสืือเทศมหาชาตินี้คือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยพระบุพจริยาของพระพุทธองค์ในอดีตชาติ เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญพระบารมีเป็นชาติสุดท้าย ชาดกนี้ชั้นเดิมเป็นภาษามคธหรือภาษาบาลี เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธพจน์นับเนืองอยู่ในขุททกนิกาย ฝ่ายพระสุตตันตปิฎก พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นคาถา คือคำประพันธ์ประเภทฉันท์ตลอดเรื่องมีความยาวกำหนดเป็นคาถาถึง ๑๐๐๐ คาถาซึ่งไทยเรานิยมเรียกว่า " คาถาพัน " 

ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม
ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม

 

ชื่อเรื่อง :  ประมวลพระราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม

ผู้แต่ง    :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ :  ๖

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ดำรงธรรม

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาตรี ขุนฤทธิไกรรณการ ต.ม.,จ.ช. ( รอด  โคปาะสุต )

 

                 หนังสือประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม พระนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนหนังสือเรื่องชาติพันธุวิทยา ว่าด้วยชนชาติเผ่าต่างๆในประเทศไทยเป็นหนังสือทางวิชาการที่น่าสนใจและจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องความเป็นมาแห่งมนุษยชาติเผ่าต่างๆในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ตำนานพระพิมพ์
ตำนานพระพิมพ์

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพิมพ์

พิมพ์ครั้งที่ : ๑๗

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์จำลองศิลป์

หมายเหตุ :  อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนสันธานธนานุรักษ์ ( นายชัยประสิทธิ์  สันธานา)

 

               หนังสือเรื่องตำนานพระพิมพ์ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตำนานพระพิมพ์ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆในประเทศไทย มูลเหตุที่สร้างพระพุทธรูป พุทธศิลป์ในประเทศไทย พระพุทธรูปอินเดียรุ่นเก่าที่พบในประเทศไทย พุทธศิลปแบบทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ ) พุทธศิลป์แบบศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ ) เป็นต้น

นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

 

ชื่อหนังสือ : นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศรีเมืองการพิมพ์

 

               หนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาให้ความรู้ความเข้าใจในด้านประวติศาสตร์และโบราณคดีของโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป

นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร

 

ชื่อหนังสือ :  นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร

ผู้แต่ง :  สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร

พิมพ์ครั้งที่ :  ๒

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๔๖

สถานที่พิมพ์  :   สุโขทัย

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์วิทยา คอมพิวเตอร์-ออฟเซท

 

                        หนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์และประมวลบทพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะ
สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์และประมวลบทพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะ

 

ชื่อหนังสือ :  สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์และประมวลบทพระนิพนธ์ภาคปกิณกะ

ผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

หมายเหตุ :   พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญส่ง  บรรจงโพธิ์กลางและฌปนกิจศพ นายสุรชัย  บรรจงโพธิ์กลาง

 

                 สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์รวบรวมเรื่่องราวในการสืบราชสมบัติโปลันด์จากที่ต่างๆและสรรเอามาร้อยกรองโดยความมุ่งหมายจะให้ผู้ศึกษาทราบเหตุการณ์จากหลายทางต่างกันที่สุดที่จะเป็นได้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาประวัติศาสตร์

กลอนไดอารีซึมทราบตามเสด็จไทรโยค โคลงนิราศท้าวสุภัตติการภักดีและกลอนนารีรมย์
กลอนไดอารีซึมทราบตามเสด็จไทรโยค โคลงนิราศท้าวสุภัตติการภักดีและกลอนนารีรมย์

 

ชื่อเรื่อง : กลอนไดอารีซึมทราบตามเสด็จไทรโยค โคลงนิราสท้าวสุภัตติการภักดีและกลอนนารีรมย์

ผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์จันหว่า

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้า อมรสมานลักษณ์ กิติยากร ต.จ.

 

                     หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมกลอนไดอารีซึมทราบตามเสด็จไทรโยค โคลงนิราศท้าวสุภัตติการภักดี และกลอนนารีรมย์ รวมเป็นเล่มเดียวกัน

ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก จันทบุรี

 

ชื่อหนังสือ : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก จันทบุรี

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๓๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  อมรินทร์

 

               หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรีให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการก่อสร้างหอสมุดแห่งชาติรัชมัคลาภิเษก จันทบุรี พระราชพิธีรัชมัคลาภิเษก ประวัติเมืองจันทบุรี วิเคราะห์เรื่องเมืองจันทบุรี ภูมิศาสตร์จังหวัดจันทบุรี พระพุทธเจ้าหลวงกับเมืองจันทบุรี เป็นต้น

 

พระสุธนคำฉันท์
พระสุธนคำฉันท์

ชื่อเรื่อง          : พระสุธนคำฉันท์

ผู้แต่ง             : อิศรานุภาพ, พระยา

ปีที่พิมพ์         : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                      หนังสือพระสุธนคำฉันท์ เล่มนี้ เป็นวรรณคดีที่ได้รับความนิยมมากในสมัยอยุธยา มีลักษณะคำประพันธ์ชนิดของกาพย์และฉันท์ คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๔ โตฏกฉันท์ ๑๒ และสัททฺลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙  

 

กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่องานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕
กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่องานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕

ชื่อเรื่อง          : กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่องานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕

ผู้แต่ง             : -

ปี่ที่พิมพ์         : ๒๔๖๔

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     : โรงพิมพืโสภณพิพรรฒธนากร

หมายเหตุ      : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ทรงพิมพ์เป็นของชำร่วยในงานฉลองพระสุพรรณบัตร เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๖๔

 

                      หนังสือเรื่อง กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปอิน เมื่อานรัชฎาภิเศกในรัชกาลที่ ๕ เล่มนี้ กล่าวถึงลับแลแต่งประทีปและโคมไฟเป็นเครื่องสักการะทรงพระราชอุทิศถวายเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัชกาลที่๑ถึงรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดจนขุนนางที่มีเกียรติคุณปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการร่วมกันทรงนิพนธ์และแต่งขึ้นสำหรับใช้ประดับลับแลและโคมประทีปในงานรัชดาภิเษกที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

 

ชื่อเรื่อง : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง : ชิน อยู่ดี

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด การพิมพ์พระนคร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๓

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายปรีชา เมธาคุณวุฒิ ณ วัดธาตุทอง พระโขนง กรุงเทพฯ

       สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยกล่าวถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ตามยุคสมัยต่าง ๆ คือ สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่ และ พัฒนาการในยุคต่อมา คือ ยุคหินใหญ่ พัฒนาการทางศิลปกรรมอันแสดงถึงร่องรอยแห่งอารยธรรมในแต่ละยุคสมัย ศิลปะกรรมเหล่านี้ เช่น ศิลปกรรมในถ้ำและภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ และภาพจำหลักบนผนังถ้ำต่าง ๆ 

การศึกษาวิจัยเรื่องวัดช้างล้อม
การศึกษาวิจัยเรื่องวัดช้างล้อม

 

ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิจัยเรื่องวัดช้างล้อม

ชื่อผู้แต่ง : กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์ จำกัด

ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.

       การศึกษาวิจัยเรื่องวัดช้างล้อมโดยคณะผู้เชี้ยวชาญทางโบราณคดีของกรมศิลปากร ได้ศึกษาเกี่ยวกับศิลปกรรมทางโบราณคดีของวัดช้างล้อม รูปทรงทางสถาปัจยกรรมของพระเจดีย์ตลอดถึงพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดช้างล้อมซึ่งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัยฯ

ไทยดำรำพัน
ไทยดำรำพัน

 

ชื่อเรื่อง : ไทยดำรำพัน

ชื่อผู้แต่ง : ม.ศรีบุษรา

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศิริพรการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๒

       ไทยดำรำพันเนื้อเรื่องว่าด้วยประวัติความเป็นมาของชาวไทยดำ ไทยขาว การอพยพของชาวไทยดำ ชาวไทยขาว เข้ามาในสยามประเทศ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยดำในประเทศไทย การพูด การเจรจา และการใช้ภาษาของชาวไทยดำ

ทศชาติ(ฉบับความย่อ)
ทศชาติ(ฉบับความย่อ)

ชื่อเรื่อง : ทศชาติ

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : ม.ป.ท.

สำนักพิมพ์ : -

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๘

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูพินิจสมาจาร (หลวงพ่อโด่อินฺทโชโต) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๘

       ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีในสิบชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ ชาติที่ ๑ เสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ชาติที่ ๒ เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี ชาติที่ ๓ เสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสามทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี ชาติที่ ๔ เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี ชาติที่ ๕ เสวยพระชาติเป็นพระมโหสถทรงบำเพ็ญบารมี ชาติที่ ๖ เสวยพระชาติเป็นพระภูริทัตทรงบำเพ็ญศีลบารมี ชาติที่ ๗ เสวยพระชาติเป็นพระจันทกุมารทรงบำเพ็ญขันติบารมี ชาติที่ ๘ เสวยพระชาติเป็นพรหมนารททรงบพเพ็ญอุเบกขาบารมี ชาติที่ ๙ เสวยพระชาติเป็นพระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญสัจจบารมี ชาติที่ ๑๐ ชาติสุดท้ายเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี

การอนุรักษ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยงมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การอนุรักษ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยงมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ชื่อเรื่อง : การอนุรักษ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยงมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : -

ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.

       การอนุรักษ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงค เนื้อเรื่องกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดใหญ่ชัยมงคลตามที่ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารอย่างละเอียดและการอนุรักษ์องค์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลโดยการเสริมความแข็งแรง ทางโครงสร้างขององค์พระเจดีย์เพื่อป้องกันการทรุดเอียง ทั้งนี้ การอนุรักษ์พระเจดีย์อยู่ภายใต้การควบคุมโดยผู้เชียวชาญของกรมศิปากรฯ

คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอน ๒
คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอน ๒

ชื่อเรื่อง          : คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน

ผู้แต่ง             : แสง มนวิทูร เปรียญ

ปีที่พิมพ์         : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์   : พระนคร

สำนักพิมพื      : หจก.ศิวพร

 

                       หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน เล่มนี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่อง พระพุทธประวัติ มีการเริ่มเรื่องด้วยนิทานแสดงเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ลลิตวิสตระ สุตตันตปริยาย จากนั้น กล่าวถึงพระโพธิสัตว์อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต พรรณนาเรื่องไปในทางปาฏิหาริย์ และอลังการต่างๆและนำเอาหมวดธรรมและสุภาษิตมาแทรกในระหว่างเรื่องด้วย

คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอน ๑
คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอน ๑

ชื่อเรื่อง           : คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน

ผู้แต่ง              : แสง มนวิทูร เปรียญ

ปีที่พิมพ์          : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์   : พระนคร

สำนักพิมพ์      : หจก.ศิวพร

 

                       หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน เล่มนี้ เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่อง พระพุทธประวัติ มีการเริ่มเรื่องด้วยนิทานแสดงเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา ลลิตวิสตระ สุตตันตปริยาย จากนั้น กล่าวถึงพระโพธิสัตว์อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต พรรณานา เรื่องไปในทางปาฏิหาริย์ และอลังการต่างๆและนำเอาหมวดธรรมและสุภาษิตมาแทรกในระหว่างเรื่องด้วย 

พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอน๒
พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอน๒

 

ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสิบสองเดือน

ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานทีพิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กลมศิปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

       กล่าวถึงพระราชพิธี ๑๒ เดือน ที่มีมาในกฎมณเทียรบาลครั้งกรุงเก่า พระราชพิธี ๑๒ เดือน ทีทำในกรุงรัตนโกสินนั้น พระบรมราชาธิบาย พระราชพิธี ๑๒ เดือน ตามแบบโบราณ มีพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิ พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีกะติเกยา พระราชพิธีลอยพระประทีป การพระราชกุศลแจกเบี้ยหวัด พระราชพิธีไล่เรือ พระราชพิธีบุษยาภิเษก พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ฯลฯ

พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอน๑
พระราชพิธีสิบสองเดือน ตอน๑

 

ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสิบสองเดือน

ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานทีพิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กลมศิปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

       กล่าวถึงพระราชพิธี ๑๒ เดือน ที่มีมาในกฎมณเทียรบาลครั้งกรุงเก่า พระราชพิธี ๑๒ เดือน ทีทำในกรุงรัตนโกสินนั้น พระบรมราชาธิบาย พระราชพิธี ๑๒ เดือน ตามแบบโบราณ มีพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิ พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีกะติเกยา พระราชพิธีลอยพระประทีป การพระราชกุศลแจกเบี้ยหวัด พระราชพิธีไล่เรือ พระราชพิธีบุษยาภิเษก พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ฯลฯ

จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙

ชื่อเรื่อง         : จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙

ผู้แต่ง            :  -

ครั้งที่พิมพ์     : ๕

ปีที่พิมพ์        : ๒๕๑๐

สำนักพิมพ์    : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล

หมายเหตุ     : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง                                          วันที่ ๒๘ พศจิกายน ๒๕๑๐

 

                     หนังสือจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัว เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙ เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องราวและเหตุการณ์ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประภาสหัวเมืองต่างๆในมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ ซึ่งมีเรื่องราวความเป้นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีของหัวเมืองฝ่ายเหนือไดเเป็นอย่างดี 

รวมเรื่องเมืองนครราชสีมา
รวมเรื่องเมืองนครราชสีมา

ชื่อเรื่อง          : รวมเรื่องเมืองนครราชสีมา

ผู้แต่ง             : -

ปีที่พิมพ์         : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์   : พระนคร

สำนักพิมพ์      : ประจักษ์วิทยา

หมายเหตุ       : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญเหลือ พลราษฎร์บำรุง ณ เมรุสมานมิตร วัดแจ้งใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

 

                       หนังสือรวมเรื่องนครราชสีมาเล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องต่างๆไว้ ดังนี้ เมืองนครราชสีมา จากเที่ยวตามทางรถไฟ จดหมายเหตุเมืองนครราชสีมา การสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ทรงจัดราชการที่นครราชสีมา สารตราเจ้าพระจักรีเรื่องจัดราชการเมืองนครราชสีมา เลกข้าเจ้าบ่าวข้าราชการ รายงานสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา พระยาช้างกรุงรัตนโกสินทร์

โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ชื่อเรื่อง          : โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ผู้แต่ง              : ตรัง,พระยา

ปีที่พิมพ์           : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์     : -

สำนักพิมพ์        : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ

หมายเหตุ         : จัดพิมพ์ในวันพระราชสมภพ ครบ ๒๐๑ ปี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒

                         โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เล่มนี้ พระยาตรังเป็นผู้แต่ง ซึ่งมีชื่อเสียงในกรุงรัตนโกสินทร์คนหนึ่ง มีโคลงและกลอน ซึ่งพระยาตรังแต่งตั้งแต่ในรัชกาลที่๑ มาจนรัชกาลที่๒ และ รัชกาล๓ ปรากฎอยู่หลายเรื่อง คือ โคลงกระทู้ ของเก่าบางบท โคลงนิราศ มหาชาติกัณฑ์ มัทรีกัณฑ์ พระยาตรังจะถนัดแต่งโคลงดั้น สำนวนโคลงพระยาตรัง เช่น "โวหารกล้า"

สยามในอดีต
สยามในอดีต

 

ชื่อเรื่อง : สยามในอดีต

ชื่อผู้แต่ง : ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : แพร่พิทยา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๕

       ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ร.๕ ทรงซื้อทาส เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงประภาสรถราง เสด็จประภาสต้นพระราชทานเงินขันหมาก พระวิมาดาเธอผู้สร้างโรงเลี้ยงเด็กเจ้าดารารัศมี เพชรประดับมงกุฎ ร.๕ เมื่อ ร.๖ สร้างบทละคร ศึกเสือป่าของ ร.๖ ตลอดจน ๑๐๐ ปีในชีวิตเจ้าจอมมารดาอ่อน สมเด็จพระบรมราชชนก

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร

 

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพร

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๒

       ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุมพรเรื่องราวเกี่ยวกับชุมพรในแง่มุมต่าง ๆ ประกอบด้วยสภาพภูมิศาสตร์เมืองการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของชุมชนในชุมพร ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับชุมพรนอกจากนั้นยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา  และมรดกวัฒนธรรมดีเด่นของชุมพร

บางกอกแก้วกำศรวล หรือ นิราศนครศรีธรรมราช
บางกอกแก้วกำศรวล หรือ นิราศนครศรีธรรมราช

 

 

ชื่อเรื่อง : บางกอกแก้วกำศรวล หรือ นิราศนครศรีธรรมราช

ชื่อผู้แต่ง : อังคาร  กัลยาณพงศ์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : เจริญวิทย์การพิมพ์

หมายเหตุ : จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสงานฉลองครบรอบ ๑๐ ปี ของห้องสมุดอนุมานราชธน ณ หอสมุดแห่งชาติ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๑

 

                     ในงานฉลองหอสมุด ได้ตีพิมพ์บางบทจากสวนแก้วที่อังคารแต่งขึ้นใหม่ โดยที่สวนแก้วทั้งเล่มไม่แล้วเสร็จสมเจตน์จำนงผู้เขียน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อันมีผลโยงมาถึงนักคิดนักเขียนอย่างอังคารด้วย ด้วยเหตุแห่งความผันผวนเช่นนี้ ทำให้อังคารมีแรงบันดาลใจให้ร้อยกรอง นิราศนครศรีธรรมราช ขึ้นมาได้นับเป็นเล่มที่มีท่วงทีทำนอง ลำนำภูกระดึง ทั้งยังเป็นการเล่าชีวประวัติแทรกไว้ และรวมผลงานที่กระจัดกระจายไว้ด้วย ดังผู้เขียนให้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า บางกอกแก้วกำศรวล

ชุมนุมพระนิพนธ์
ชุมนุมพระนิพนธ์

 

 

ชื่อเรื่อง : ชุมนุมพระนิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง : กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร , พระวรวงศ์เธอ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : พระจันทร์

หมายเหตุ :  ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส            วันอาทิตย์ที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗

 

                  หนังสือชุมนุมพระนิพนธ์ ของ พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทลาภพฤฒิยากร ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ต่างเรื่อง ทรงอุทิศพระราชกุศลแห่งวิทยาทานแด่พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นปัจจัยเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ จะมีรายละเอียด อาทิ พระพุทธศานา สถาบันพระมหากษัตริย์ และประเพณีเกี่ยวข้อง นาฎวรรณคดี และชีวประวัติ

    

น้อยอินทเสนของพระขรรค์เพชร
น้อยอินทเสนของพระขรรค์เพชร

 

 

ชื่อเรื่อง : น้อยอินทเสนของพระขรรค์เพชร

ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

หมายเหตุ : จัดพิมพ์โดยเสร็จพระกุศลซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาศิริโสภาพัณณวดีทรงบำเพ็ญคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ ครบ ๕๐ ปี

 

               เรื่องน้อยอินทเสน เป็นบทละครพูดชวนหัว ๓ องค์จบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยใช้พระนามแฝงว่า "พระขรรค์เพชร" การที่ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้นเพราะได้รับแรงบันดาลใจจาก หนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่ง จึงทรงเก็บความคิดจากหนังสือฉบับนั้นมาผูกเป็นเค้าโครงเรื่อง น้อยอินทเสน เป็นเรื่องเสียดสีสังคม และเยาะเย้ยผู้หญิงผู้ดีที่เห่อยศ

ร้อง รำ ทำ เพลง ของเสฐียรโกเศศ
ร้อง รำ ทำ เพลง ของเสฐียรโกเศศ

 

 

ชื่อเรื่อง  : ร้อง รำ ทำเพลง ของ เสฐียรโกเศศ

ผู้แต่ง : อนุมานราชธน , พระยา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๐

สถานที่พิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : -

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวัยวุฒิปรีชา (ม.ล.ไวยวัฒน์  กุญชร) ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐

 

                 การร้อง คิดว่าเกิดจากการเปล่งเสียงอุทาน อันเกิดขึ้น แต่ความดีใจ เศร้าใจ และเปล่งออกเพื่อให้สงบ ให้พร้อมเพียง จึงไม่เป็นภาษาอะไร เช่น เฮโล โห่ฮิ้ว เป็นต้น ภายหลังแทรกคำที่เป็นภาษาเข้าประกอบ เช่น โอละเห่ โอละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกทำขนมแชงม้า

                 รำ การฟ้อนรำเห็นจะสืบมาแต่การโลดเต้น อันเป็นไปด้วยความดีใจ เช่นดีใจที่ต่อสู้ชนะ อย่างที่เรียกกันว่า เต้นแร้ง เต้นกา ทำเพลง คำว่าเพลงในที่นี่หมายถึง เครื่องมือที่ทำให้เป็นเพลง มีฆ้อง กลอง เป็นต้น เครื่องประโคมให้เป็นเพลงมีใช้เป็นหลักอยู่ ๒ ชนิเ คือ มโหรีกับปี่พาทย์

ประชุมโอวาท
ประชุมโอวาท

 

 

ชื่อเรื่อง :  ประชุมโอวาท

ชื่อผู้แต่ง : เกษม  ปัณฑรางกูร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล อาทรการพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเกษม ปัณฑรางกูร ณ เมรุวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๒

 

                 หนังสือประชุมโอวาทนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณ ได้โปรดให้พระพินิทวรรณการ (แสง  สาลิตุล) เปรียญ  เลขานุการในหอสมุดวชิรญาณ รวบรวมขึ้นจากพระบรมราโชวาท พระโอวาทของเจ้านาย และจากโอวาทของท่านผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย เพื่อนำออกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาจักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์ (อู๋ ไกรฤกษ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘

โคลงเรื่องมังทรารบเชียงใหม่
โคลงเรื่องมังทรารบเชียงใหม่

 

 

ชื่อเรื่อง : โคลงเรื่องมังทรารบเชียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง : สิงฆะ  วรรณสัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๒

สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่

สำนักพิมพ์ : ศูนย์หนังสือเชียงใหม่

 

               เหตุการณ์ในหนังสือเล่มนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดแก่ชาวเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๔๖ ถูดกวาดต้อนไปเป็นเชลย และ "มังทรา" หรือ "มังตรา" (เป็นคำเรียกกษัตริย์พม่า) ในโคลงเรื่องนี้ หมายถึง พระเจ้าสุทโธธรรมราชาของพม่าผู้แต่ง ภายหลังเป็นเจ้าเมืองเถิน การกวาดต้อนผู้คนออกจากเชียงใหม่ ไปทางอำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด แม่เหาะ กองลอย เมืองยวม(ขุนยวม) เมืองทราง ข้ามแม่น้ำสาละวิน เข้าเขตพม่า

บทละครของกรมศิลปากร
บทละครของกรมศิลปากร

 

 

ชื่อเรื่อง : บทละครของกรมศิลปากร

ผู้แต่ง : ศิลปากร , กรม

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สยามรัฐ

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางแช่มช้อย  ดุริยพันธุ์ ณ ฌาปนสถานกรมตำรวจ วัดตรีทศเทพ วันที่ 24 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2527

 

               บทละครของกรมศิลปากรที่รวมพิมพ์ทั้งหมดในเล่มนี้ เป็นบทละครที่กรมศิลปากรได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ ใช้ประกอบการแสดงนาฎกรรม ณ โรงละครกรมศิลปากรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 - 2500 โดยมี นายเหนี่ยว และนางแช่มช้อย  ดุริยพันธ์ุ  เป็นผู้ร่วมขับร้องสมัยที่ท่านทั้งสองรับราชการที่กองการสังคีต กรมศิลปากร ดังมีรายชื่อเรื่องเรียงตามลำดับ พ.ศ. ดังนี้

               1. เรื่องไกรทอง

               2. เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวแตกทัพ

               3. เรื่องอิเหนา ตอนประสันต่อนก

               4. เรื่องสุวรรณหงษ์

               5. เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีพบนางละเวง

               6. เรื่องพระราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา

               7. เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก

               8. เรื่องมโนราห์

               9. เรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ

              10. เรื่องรถเสน

พระนิพนธ์บางเรื่อง
พระนิพนธ์บางเรื่อง

 

 

ชื่อเรื่อง : พระนิพนธ์บางเรื่อง

ชื่อผู้แต่ง : วิวัฒนไชย , พระองค์เจ้า

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๔

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์จันหว่า

หมายเหตุ : พิมพ์สนองพระเดชพระคุณในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ณ พระเมรุในสุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๔

 

                   พระนิพนธ์บางเรื่อง เป็นหนังสือที่กล่าวถึง พระประวัติ ของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงเป็นผู้ดำริห์ริเริ่มก่อตั้งธนาคารไทยทนุ จำกัด และทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของธนาคาร เพื่อเป็นอนุสรณ์และเชิดชู พระเกียรติคุณ และพระจริยาวัตรของพระองค์ธนาคารจึงได้ รวบรวม พระดำรัส และบทความ ซึ่งได้เคยประทานในโอกาสต่าง ๆ กัน

 

 

มนุสสปฎิวัติ ฉะบับพิมพ์ครั้งที่ ๒
มนุสสปฎิวัติ ฉะบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

 

 

ชื่อเรื่อง : มนุสสปฎิบวัติ ฉะบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ , หลวง

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๔๒

สถานที่พิมพ์ : พระนคร 

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

 

                    ปาฐกถา  มนุสสปฏิวัติ (HUMAN RBVOLUTION) หลวงวิจิตรวาทการ แสดงที่สโมสรกลาโหม วิชาการอันเกี่ยวกับเรื่อง มนุสสปฏิวัตจิ มี สามทาง ทางที่หนึ่ง เกี่ยวกับตัวมนุสส์ คือ ความผันแปรในรูปธรรมหรือ ความคิดที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ ทางที่สองเกี่ยวกับฐานะของมนุสส์ในสังคม คือ การเปลี่ยนสภาพมนุสส์จากความเป็นทาส ความสูง ต่ำ และการแบ่งชั้นวรรณ ให้กลายเป็นเสรีภาพ และสมภาพ ทางที่สาม คือ การเปลี่ยน ลักษณะนิสัยใจมนุสส์ จากสภาพอันไม่พึงปรารถนา ให้เข้าสู่สภาพอันพึงปรารถนา

บทประพันธ์ บทละครโทรทัศน์บางเรื่อง และบทเพลง
บทประพันธ์ บทละครโทรทัศน์บางเรื่อง และบทเพลง

ชื่อเรื่อง          : บทประพันธ์ บทละครโทรทัศน์บางเรื่อง และบทเพลง

ผู้แต่ง             : วิม  อิทธิกุล

ปีที่พิมพ์         : ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์   : -

สำนักพิมพ์      : -

หมายเหตุ       : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายวิม  อิทธิกุล ณ เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๓

 

                       หนังสือบทประพันธ์ บทละครโทรทัศน์บางเรื่อง และบทเพลง เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ไว้สามสามแบบ คือ หนึ่งบทประพันธ์ว่าด้วยเรื่องปาฏิหาริย์มีจริง เรื่องลุงเปลี่ยน เรื่องย้ายพระพุทธรูปริมฝั่งโขง สองบทละครโทรทัศน์ว่าด้วยละครโทรทัศน์ฉากเดียวจบเรื่องกระสุนอาฆาต เรื่องสิ่งที่ได้มาจากโรงเรียน เรื่องคุณครูฉลอง ต่อด้วยรายการชั่วโมงสะเทือนขวัญเรื่องวันสยอง และสามว่าด้วยบทเพลงต่างๆ

รักชาติอย่างไร
รักชาติอย่างไร

 

 

ชื่อเรื่อง : รักชาติอย่างไร

ผู้แต่ง : ธวัช  รัตนาภิชาติ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                  กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของชาติมีความประสงค์จะน้อมนำนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ในวันที่จะได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ และสำนึกถึงคุณค่าในเอกลักษณ์ และศิลปวัฒนธรรมของชาติ จะได้มีความผูกพันยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้ภาคภูมิ และรักประเทศชาติ ซึ่งเป็นการสอดคล้อง กับนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน จึงได้มอบให้ นายธวัช รัตนาภิชาติ นักอักษรศาสตร์ ๕ หัวหน้างานวัฒนธรรมและจารีตประเพณี กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นผู้เรียบเรียงเรื่อง

ปลุกใจเสือป่า
ปลุกใจเสือป่า

 

 

ชื่อเรื่อง : ปลุกใจเสือป่า

ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จ

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๕๗

สถานที่พิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : -

 

              ความมุ่งหมายเดิมนั้น มิได้ตั้งใจจะแต่งเป็นหนังสือเล่ม ข้อความเป็นเครื่องปลุกใจให้รู้สึกน่าที่ของตนอันเป็นคนไทย ควรจะรู้สึกอย่างไร ประพฤติอย่างไร จึงจะนับว่ามิได้เกิดมาเสียชาติ เนื้อหารมีการอธิบาย เสือป่าคืออะไร , ความมุ่งหมายในการที่ตั้งของกองเสือป่าขึ้น เป็นต้น

บทละคอนพูดเรื่องหัวใจนักรบ
บทละคอนพูดเรื่องหัวใจนักรบ

 

 

ชื่อเรื่อง : บทละคอนเรื่องหัวใจนักรบ

ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ท่านผู้หญิงกิมไล้ สุธรรมมนตรี ท.ว.จ. , วปร. ๒ ณเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒

 

              บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ วรรณคดีสโมสรได้ยกย่องว่าเป็นยอดของบทละคอนพูด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อปลุกใจประชาชนชาวไทย ให้เกิดความรักชาติ รู้จักหน้าที่ของตนที่มีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และเห็นความสำคัญของกองเสือป่า ซึ่งพระองค์ได้ทรงจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ กระทรวงศึกษาธิการได้เคยคัดเลือกให้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนด้วย

อธิบายพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อธิบายพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรื่อง              : อธิบายพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง                 : ปิ่น  มาลากุล

ปีที่พิมพ์             : ๒๕๒๑

สถานที่พิมพ์       : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์          : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                           หนังสืออธิบายพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวด ข. โขน ลคร เล่มนี้ ได้รวบรวมงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทโขน ละคร ที่มีการแบ่งตามหมวดพระราชนิพนธ์ คือ โขน ละครรำ ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด พร้อมด้วยคำอธิบายชื่อเรื่องนั้นๆไว้

พระประวัติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
พระประวัติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย

 

 

ชื่อเรื่อง : พระประวัติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ่าวิวัฒนไชย

ผู้แต่ง : วิวัฒนไชย , พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพฺ์ : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล

หมาเหตุ : กระทรวงการคลังพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชททานเพลิงพระศพพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ณ เมรุหน้าพลัลพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริรทราวาศ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๔

โคลงนิราศฉะเชิงเทรา
โคลงนิราศฉะเชิงเทรา

ชื่อเรื่อง               : โคลงนิราศฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง                  : กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

ครั้งที่พิมพ์          : ๒

ปีที่พิมพ์             : ๒๕๒๔

สถานที่พิมพ์      : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์         : โรงพิมพ์ปรเมษฐ์การพิมพ์

หมายเหตุ          : พิมพืเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนอง  ตัณฑิกุล ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๔

 

                         หนังสือโคลงนิราศฉะเชิงเทราเล่มนี้ เป็นโคลงที่ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับการเดินทางทางเรือไปจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเดินทางผ่านสถานที่ต่างๆ ได้แก่ บ้านบางพลี ศีรษะจรเข้ บ้านหอมสิน บ้านพร้าว บางผึ้ง ท่าสะอ้าน ทุ่งโพ สามภูดาษ บางตรูด บางพระ บางปรง สำปทวน แปดริ้ว และต่อไปถึงคุ้งพญาพายเรือ บางขนาก บางแตน และแม่น้ำชัยนาท เป็นสุดทาง และได้รวบรวมเรื่องประวัติของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประวัติพระพุทธโสธร

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณฯ
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณฯ

ชื่อเรื่อง              : พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชปรารภในพระบาทสมเด้จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุกับสำเนากระแสพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขาและประกาศการศึกษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง                 : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ

ปีท่ีพิมพ์             : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์      : พระนคร

สำนักพิมพ์         : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

หมายเหตุ          : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่เอม  หิมะทองคำ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง พระนคร

 

                          พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งไปพระราชทาน พระบรมโอรสาธิราช ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศภาคหนึ่ง และอีกภาคหนึ่ง เป็นพระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๘ เนื้อความเป็นคติสอนใจที่เ)้นผลได้แก่ผู้อ่านทั่วไป โดยเฉพาะกุลบุตร กุลธิดา ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเล่าเรียน

เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย
เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย

ชื่อเรื่อง                   : เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย

ผู้แต่ง                      : ธนิต  อยู่โพธิ์

ครั้งที่พิมพ์               : ๒

ปีที่พิมพ์                  : ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์            : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์               : โรงพิมพ์การศาสนา

 

                                 หนังสือเรื่องเครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสายเล่มนี้ ได้กล่าวถึงตำนานและเครื่องดนตรีหลากหลายประเภทไว้ ได้แก่ เครื่องตี เครื่องตีทำด้วยไม้ เครื่องตีทำด้วยโลหะ เครื่องตีขึงด้วยหนัง เครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสี ซึ่งจะบอกถึงลักษณะ ชนิด วิธีทำ และการนำเครื่องดนตรีแต่ละประเภทไปใช้ตามโอกาสต่างๆ

พระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ชื่อเรื่อง         : พระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด้จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

ผู้แต่ง            : เพลินพิศ  กำราญ

ปีที่พิมพ์        : ๒๕๒๑

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     : หจก.อุดมศึกษา (แผนกการพิมพ์)

 

                      หนังสือพระราชพิธีอภิเษกสมรส สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เล่มนี้ ได้รวบรวมเกี่ยวกับราชประเพณีซึ่งปฏิบัติสืบมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน พระราชพิธีหมั้น พระราชพิธีอภิเษกสมรส เสด้จออกมหาสมาคม ทรงบาตร คณะฑูตเฝ้าฯ การเฉลิมฉลองเนื่องในพระราชพิธีอภิเษกสมรส การก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีอภิเษกสมรส

 

 

เมืองราชบุรี
เมืองราชบุรี

ชื่อเรื่อง             : เมืองราชบุรี

ผู้แต่ง                : ตรี  อมาตยกุล

ปีที่พิมพ์            : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์      : พระนคร

สำนักพิมพ์         : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

หมายเหตุ          : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการประชุมเพลิงศพ คุณหญิงประพันธ์ดำรัสลักษณ์ (ชื่น  ศุขะวณิช) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๙

 

                         หนังสือเรื่องเมืองราชบุรีเล่มนี้ ได้กล่าวถึงเรื่องว่าด้วยกรุงทวารวดี จารึกถ้ำฤาษี เขางู การขุดค้นทางโบราณคดีบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และประวัติความเป็นมาของเมืองราชบุรีในด้านต่างๆที่สำคัญ

พระแก้วมรกต
พระแก้วมรกต

ชื่อเรื่อง              : พระแก้วมรกต

ผู้แต่ง                 : กรมศิลปากร.

ปี่ที่พิมพื             : ๒๕๒๘

สถานที่พิมพ์       : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์          : ภาพพิมพ์

 

                           หนังสือเรื่องพระแก้วมรกต เล่มนี้ ได้แบ่งออกเป็นสามบท บทแรกกล่าวถึงหลักฐานที่มาเกี่ยวกับประวัติของพระแก้วมรกต ได้แก่ ลักษณะของตำนานพระแก้วมรกตฉบับต่างๆ บทที่สองว่าด้วยข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพระแก้วมรกต โดยเทียบกับศิลปะแบบอินเดีย ลังกา ชวา ไทย บทสุดท้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสำคัญและพระราชพิธีอันเนื่องด้วยพระแก้วมรกต อาทิ พระราชพิธีประจำปี พระราชพิธีเนื่องในโอกาสพิเศษ ฯลฯ

เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ชื่อเรื่อง                : เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ผู้แต่ง                   : พระยาอนุมานราชธน

ปีที่พิมพ์               : ๒๕๑๓

สถานที่พิมพ์         : ธนบุรี

สำนักพิมพ์            : สัตยการพิมพ์

หมายเหตุ             : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.ต.อารี  กาญจนาภา ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๓

 

                             หนังสิอเทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนตืเลี้ยงพระ เล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของไทยสมัยโบราณ  เช่น การเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ประวัติวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา
ประวัติวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง              : ประวัติวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง                 : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์             : ๒๕๒๙

สถานที่พิมพ์       : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์          : สหประชาพาณิชย์

 

                           หนังสือประวัติวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร จังหวัดสงขลา เล่มนี้ ว่าด้วยเรื่อง ชั้น ที่ตั้ง พื้นที่ อาณาเขตของวัด รวมถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาตใต้ ศิลปะและโบราณคดีภาตใต้ ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา การสร้างวัด ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญ ความสำคัญของวัด การบูรณะปฏิสังขรณ์ การศึกษา ขนมธรรมเนียมประเพณี ลำดับและประวัติเจ้าอาวาส และงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ

 

นครศรีธรรมราชในอดีต
นครศรีธรรมราชในอดีต

 

 

ชื่อเรื่อง : นครศรีธรรมราชในอดีต

ผู้แต่ง : นครศรีธรรมราช

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์

 

               จุดมุ่งหมายของหนังสือ " นครศรีธรรมราชในอดีต" เล่มนี้ นอกจากจะเป็นบันทึกเหตุการณ์หรืออนุทินกิจกรรมในครั้งที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้ร่วมเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีอายุได้สองปีแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านต่างๆของนครศรีธรรมราช เช่น เศรษฐกิจ สังคม และการปกครองในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยได้รวบรวมบทความจากนักประวัติศาสตร์ไทยหลายท่่าน ทั้งที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ หรือเมื่อครั้งประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง "ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมนครศรีธรรมราช"

คัมภีร์นะ ๑๐๘
คัมภีร์นะ ๑๐๘

 

 

ชื่อเรื่อง : คัมภีร์นะ ๑๐๘

ผู้แต่ง : เทพ  สาริกบุตร

ปีที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญกิจ

 

               คัมภีร์นะ ๑๐๘ คัมภีร์ที่รวบรวมนะอักขระวิเศษต่างๆ การลงนะ นะเมตตา-มหาละลวย นะอุด , มหาเสน่ห์ , คงทน ฯลฯ คลังแห่งตำราไสยสาสตร์ - โหราศาสตร์เป็นผู้รวบรวม จัดพิมพ์โบราณคัมภีร์เหล่านี้ ได้ค้นคว้า รวบรวมตำรับอันกล่าวด้วย นะอักขระวิเศษต่างๆ นำมาประมวลไว้เป็นฉบับเดียวกัน และจัดพิมพ์ขึ้นเป็นคัมภีร์พิเศษ คือ "คัมภีร์นะ ๑๐๘"

ล่องใต้
ล่องใต้

 

 

ชื่อเรื่อง : ล่องใต้

ผู้แต่ง : การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์ : กรงุเทพฯ

สำนักพิมพ์ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

             วาสสารพิเศษที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนปีการท่องเที่ยว มุ่งหวังที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยในแต่ละภูมิภาค เป็นหนังสือประเภทคู่มือนำเที่ยว มีข้อมูลเดินทางในด้านประวัติศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ล่องใต้ ประกอบด้วย เรื่องราวของ ๑๔ จังหวัด ภาคใต้ ทั้งหมด นับตั้งแต่ชุมพร อันเป็นประตูของภาคใต้จนถึงยะลา ซึ่งเป็นจังหวัดใต้สุดของไทย

รวมเรื่อง ของ พระยุติชาญดำรงเวทย์
รวมเรื่อง ของ พระยุติชาญดำรงเวทย์

ชื่อเรื่อง : รวมเรื่อง ของพระยุติชาญดำรงเวทย์

ผู้แต่ง : ยุติชาญ ดำรงเวทย์ , พระ (บุญมี โกศิน)

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : บริษัท บพิธ จำกัด

หมายเหตุ : พิมะ์เป็นบรรณษการ ในงานฌาปนกิจศพ นางยุติชาญดำรงเวทย์ (กิมเน้ย  โกศิน) ณ เมรุ วัดธาตุทอง

 

              รวมเรื่อง ของ พระยุติชาญดำรงเวทย์ ในเล่มจะประกอบไปด้วย พระนิพนธ์ ของสมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริยารา , พระธรรมเทศนา โดย พระรัตนเวที วัดพระเชตุพน , พระธรรมเทศนา โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ เนื่องในการบำเพ็ญกุศลสตมวาร (ทำบุญครบ ๑๐๐ วัน) , บทประพันธ์ของ พระยุติชาญดำรงเวทย์ (บุญมี  โกศิน)

พระแสงราชศัสตรา
พระแสงราชศัสตรา

 

 

ชื่อเรื่อง : พระแสงราชศัสตรา

ผู้แต่ง : มหาดไทย , กระทรวง

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกมังกร  พรหมโยธี ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

 

              เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่อง พระแสงราชศัลตรา , เบญจราชกกุธภัณฑ์ เบญจราชกกุธภัณฑ์ที่ใช้ประจำในราชสำนักไทย การใช้พระแสงราชศัลตราในงานพระราชพิธีต่างๆ โอกาสที่จะใช้พระแสงราชศัลตรา ฯลฯ

ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยอยุธยา ภาค๑
ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยอยุธยา ภาค๑

 

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยอยุธยา ภาค๑

ผู้แต่ง : นายกรัฐมนตรี , สำนัก

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐ 

สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี

 

               หนังสือเล่มนี้เป็นสมุดโผวเขียนตัวอักษรเฉียง และสมุดไทยขาว อักษรไทยเขียนด้วยเส้นหมึก เป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่แสดงออกซึ่งวัฒนธรรมและโบราณคดี แยกพิมพ์เป็นเอกเทศ เรียกว่า ประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยอยุธยา เป็นเรื่องที่องค์พระมหากษัตริย์ ทรงพระราชูทิศพระราชทานที่ดินไร่นาอันเป็นของหลวงให้แก่พระสงฆ์แห่งพุทธศาสนา ใช้บำรุงรักษาวัดวาอาราม รวมทั้งผู้คน ชาย หญิง ซึ่งเรียกว่าถวายข้าพระโยมสงฆ์ให้แก่วัดเป็นเด็ดขาด

ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย
ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย

 

 

ชื่อเรื่อง : ภาคใต้ของไทยหรือมาเลเซีย

ผู้แต่ง : ประสิทธิ์  รุ่งเรืองรัตนสกุล

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ปะการัง

 

            ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่หลากหลาย และสลับซับซ้อน มีทั้งปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน โจรเรียกค่าไถ่ ฝ่ายคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และฝ่ายคิมมิวนิสต์มาลายา เป็นต้น ในระยะหลังๆนี้ มีเหตุการณืรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที นับตั้งแต่มีการระเบิดสถานีรถไฟ การจับครูเรียกค่าไถ่ โดยขบวนการแบ่งแยกดินแดน หนังสือเล่มนี้ เป็นการศึกษาความร่วมมือทางทหารระหว่าง ไทย-มาเลเซีย เป็นรูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างไทย - มาเลเซีย ที่ร่วมกับใช้กำลังทหารปราบปราม "โจรจีนคอมมิวนิสต์"

ดอกตุลิปดำและบางเรื่องจากสารานุกรมไทย
ดอกตุลิปดำและบางเรื่องจากสารานุกรมไทย

 

 

ชื่อเรื่อง : ดอกตุลิปดำและบางเรื่องจากสารานุกรมไทย

ผู้แต่ง : พระปฏิเวทย์วิศิษฎ์ (สาย  เลขยานนท์)

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๓

สถานที่พิมพฺ :  พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โรงเรียนเนติศึกษา

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระปฏิเวทย์วิศิษฎ์ (สาย  เลขยานนท์)  ท.ม. , ต.ช.  ณ เมรุวัดธาตุทอง  พระโขนง

 

          เรื่อง The Black Tulip  (ดอกตุลิปดำ) ของ อเลกซอง  ดูมาส์  เป็นเรื่องที่มีส่วนเท้าความถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อยู่บ้าง  คือ เรื่องของพี่น้องสกุล เดอวิตต์ ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว ประเทศไทยเริ่มรับอิทธิพลวรรณกรรมของตะวันตก การแปลวรรณกรรมต่างประเทศเริ่มแพร่หลายเฉพาะเรื่อง " ดอกตุลิปดำ" ภาคภาษาไทยนี้ พระยาปฏิเวทย์วิศิษฎ์ ได้แปลขึ้นเมื่อง พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยใช้นามปากกาว่า "สายัณห์" การแปลนั้นใข้วิธีแปลและเรียบเรียงเพื่อให้ถ้อยคำสำนวนอ่านเข้าใจง่าย

แผ่นดินสมเด็จพระปกเกล้า
แผ่นดินสมเด็จพระปกเกล้า

 

ชื่อเรื่อง : แผ่นดินสมเด็จพระปกเกล้า

ชื่อผู้แต่ง : วิชัย ประสังสิต

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร วช,ประสังสิต

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๕

       กล่าวถึงประวัติแลระบบการปกครองประเทศไทย วิวัฒนาการการปกครองประเทศต่าง ๆ พระราชพินัยกรรมสิ้นสำคัญของรัชกาลที่ ๕ พระราชประวัติสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ตลอดจนพระราชกรณียกิจที่สำคัญ กำหนดพระราชทานระบบรัฐธรรมนูญ คณะปฏิวัติเข้ายึดอำนาจการปกครองการยึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ ร.๗ พระราชทานระบบประชาธิปไตย ตลอดจนการสละราชสมบัติของ ร.๗

อดีตนิทาน ของ พระยามนูเนตร์บรรหาร
อดีตนิทาน ของ พระยามนูเนตร์บรรหาร

 

 

ชื่อเรื่อง : อดีตนิทาน ของ พระยามนูเนตตร์บรรหาร

ผู้แต่ง : มนูเนตร์บรรหาร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยเขษม

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ นางพรหมทัตตเวที ณ วัดธาตุทอง พระนคร

 

          "อดีตนิทาน" เรียบเรียงโดย พระยามนตรีเนตร์บรรหาร พิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในหนังสือเล่มนี้มีนิทานอยู่หลายสิบเรื่อง สำนวนในหนังสือจะเป็นสำนวนเมื่อ ๕๐ ปีกว่ามาแล้ว แต่เรื่องราวในนิทานในหนังสือเล่มนี้ ได้ให้ความบันเทิงเป็นอย่างดี นิทานที่น่าสนใจ อาทิ หนามยอกเอาหนามบ่ง , แก้วจุกขวดราคา ๕ ชั่ง เป็นต้น

เที่ยวภาคใต้
เที่ยวภาคใต้

 

 

ชื่อเรื่อง : เที่ยวภาคใต้

ผู้แต่ง : ปราโมทย์  ทัศนาสุวรรณ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : โอเดียนสโตร์

 

         เที่ยวภาคใต้ เป็นการแนะนำจังหวัดต่างๆ ทั้ง ๑๔ จังหวัดแบบย่อ ๆ ฉบับกระเป๋า เช่น ชุมพรประตูบ้านของภาคใต้ , ข้ามคอคอดกระไปสู่ระนอง เมืองแร่นอง สุราษฏร์ธานีเมืองคนดีของปักษ์ใต้ สงขลาเมืองสารพัดบันเทิง

ปักขคณนาวิธี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปักขคณนาวิธี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

 

ชื่อเรื่อง : ปักขคณนาวิธี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๔

สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานทำบุญ หน้าพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ครบ ๑๐๐ วัน

 

           หนังสือปักขคณาวิธีนี้ เป็นตำราคำนวณปักษ์ที่เลื่อนไปโดยลำดับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใช้ในคณะสวฆ์ธรรมยุติติกนิกาย ยังใช้สวดท้ายสวดมนต์มาจนทุกวันนี้ แต่ที่ใช้สวดนั้นสวดใช้เฉพาะตอนที่เปลี่ยน 

ที่ระลึกในพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง
ที่ระลึกในพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง

 

 

ชื่อเรื่อง : ที่ระลึกพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง

ผู้แต่ง : ศิลปากร , กรม

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๖

สถานที่พิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้ง

 

          หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงสภาพทั่วไปของจังหวัดพัทลุง จัดหวัดที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ จังหวัดหนึ่งของภาคใต้ เคยมีความสำคัญด่านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมแต่อดีต จากหลักฐานที่ปรากฏทั้งที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ตำนาน ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อ และวิถีชีวิตของประธานในท้ิงถิ่น

           วังเจ้าเมืองพัทลุง เป็นอาคารทรงไทย แบ่งเป็น ๒ กลุ่มอาคาร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน กลุ่มอาคารที่ตั้งอยู่ติดกับถนนราเมศร์อภัยบริรักษ์ เรียกกันว่า "วังเก่า" เป็นบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์(น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง ส่วนกลุ่มอาคารที่ตั้งอยู่ริมคลองลำปำ เรียกว่า "วังใหม่" หรือ "วังใหม่ชายคลอง" เป็นบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์(เนตร จันทโรวงศ์) เป็นผู้ว่าราชการเมืองพัทลุงคนสุดท้าย

สมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
สมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี

ชื่อเรื่อง                 : สมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง                    : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์             : ๒

ปีที่พิมพ์                : ๒๕๒๒

สถานที่พิมพ์          : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

หมายเหตุ              : นายชวย  ศรสงคราม พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ณ วัดโขลงสุวรรณคีรี จังหวัดราชบุรี

 

                               หนังสือสมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี ได้รบวรวมการสำรวจ และการค้นพบโบราณสถาน ศิลปโบราณวัตถุสมัยทวารวดี มีอายุราวพันกว่าปี ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญแห่งหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและแบบอย่างของศิลปะ เช่น จารึกถ้ำฤาษี เมืองโบราณที่บ้านคูบัว ฯลฯ

เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

ชื่อเรื่อง           : เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

ผู้แต่ง              : -

ปีที่พิมพ์          : ๒๕๑๔

สถานที่พิมพ์    : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์       : โรงพิมพ์การศาสนา

 

                         หนังสือเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เล่มนี้ กล่าวถึงประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ระเบียบวิธีการคัดเลือกผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา และรายชื่อข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓

พิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอสมุดแห่งชาติและโรงละครแห่งชาติ ฯลฯ
พิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอสมุดแห่งชาติและโรงละครแห่งชาติ ฯลฯ

 

ชื่อเรื่อง : พิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอสมุดแห่งชาติและโรงละครแห่งชาติ ฯลฯ

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๗

หมายเหตุ : พิมพ์ในอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

       นายนุ่ม อยู่ในธรรม วัดมกุฏกษัตริยาราม ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ นายนุ่ม อยู่ในธรรมพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีฯ พิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จ.สุโขทัยพิธีเปิด พช.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี พิธีเปิด พช.ชาติพระนคร พิธีวางศิลากฤษ์ก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี พิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติท่่าวาสุรี ตลอดจน พิธีเปิดป้ายพระนาม พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวาราวดีปูชนียบพิตร

 

       

ที่ระลึกหอสมุดแห่งชาติครบรอบ๘๖ปี
ที่ระลึกหอสมุดแห่งชาติครบรอบ๘๖ปี

 

ชื่อเรื่อง : ที่ระลึกหอสมุดแห่งชาติครบรอบ ๘๖ปี

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานทีพิมพ์ : กรุงเทพ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๔

 

       ให้รายละเอียดเกี่ยวกับห้องสมุดชนบทในประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ : พัฒนาการในรอบ ๘๖ ปีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เอกสารโบราณ การดำเนินงานด้านบริการของหอสมุดแห่งชาติ การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพัฒนางานของหอสมุดแห่งชาติ ระบบสารนิเทศแห่งชาติหอสมุดแห่งชาติกับการพัฒนาตารางเลขหมู่หนังสือ

ปัญญาสชาดก ภาคที่ ๕
ปัญญาสชาดก ภาคที่ ๕

 

 

ชื่อหนังสือ : ปัญญาสชาดก ภาคที่ ๕ สุวรรณกุมารชาดก

ผู้แต่ง : ชาดก

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๘

สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานปลงศพ นางเลี่ยม กุยศรีกุล วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ณ วัดยานนาวา

 

         หนังสือปัญญาสชาดกนี้ คือ ประชุมนิทานเก่าแก่ที่เล่ากันในเมืองไทยแต่โบราณ ๕๐ เรื่อง พระสงฆ์ชาวเชียงใหม่ รวบรวมแต่งเป็นชาดกไว้ในภาษาบาลี เมื่อพระพุทธศักราชประมาณราวในระหว่าง ๒๐๐๐ จน ๒๒๐๐ ปี มีลักษณะแยกกันเป็น ๒ อย่าง อย่่างหยึ่งเรียกว่า "ปัญญาสชาดกบั้นปลาย" แต่ไม่มีปรากฏว่ามี "บั้นต้น"  อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "ปัญญาสชาดกปฐมภาค (คือภาคแรก)"  "ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค (คือภาคหลัง)"

ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี

 

ชื่อเรื่อง :  ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

หมายเหตุ : ที่ระลึก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษประกอบพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี

 

                      หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรีให้รายละเอียด พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก  หอสมุดแห่งชาติ ขุมทรัพย์ทางปัญญา ประวัติการก่อสร้าง และดำเนินการของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี  ๖ จังหวัดภาคตะวันตกของไทย 

ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา

 

ชื่อหนังสือ :  ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

 

                     หนังสือที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  คนดีศรีทักษิณ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ  ฯพณฯพลเอกเปรมติณสูลานนท์กับการดำเนินงานก่อสร้างหอสมุดแห่งชาติในส่วนภูมิภาค   ๑๔ จังหวัดภาคใต้ของไทย และการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

 

ชื่อเรื่อง :  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๓๒

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด

หมายเหตุ :  กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี พุทธศักราช ๒๕๓๒

 

                    หนังสืออุทยานประวัติศสตร์พระนครคีรี ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี ประวัติศาสตร์พระนครคีรี พระนครคีรีก่อนการบูรณะ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี การบูรณะอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีและสรุปผลการบูรณะอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี

มหาชาติพระราชนิพนธ์ ใน รัชกาลที่ ๔
มหาชาติพระราชนิพนธ์ ใน รัชกาลที่ ๔

 

 

ชื่อเรื่อง : มหาชาติพระราชนิพนธ์ ใน รัชกาลที่ ๔

ผู้แต่ง : มหาชาติ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าจงกลนี วัฒนวงศ์ ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

 

     หนังสือมหาชาติพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ มีอยู่ ๕ กัณฑ์ คือ วัปเวศน์กัณฑ์ ๑ จุลพนกัณฑ์ ๑ มหาพนกัณฑ์ ๑ สักรบรรพกัณฑ์ ๑ ฉกษัตร์กัณฑ์ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นสำหรับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ถวายเทศน์ เมื่อทรงผนวชเป็นสามเณร

ประมวลเรื่องการเมืองต่างประเทศ
ประมวลเรื่องการเมืองต่างประเทศ

 

 

ชื่อเรื่อง : ประมวลเรื่องการเมืองต่างประเทศ

ผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ, หลวง

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๗๘

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ : สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์สจี โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ณ วัดเบญจมบพิตร

 

       หลวงวิจิตรวาทการ เคยเขียนลงหนังสือพิมพ์ไทยใหม่หลายเรื่อง เป็นบทนำของหนังสือพิมพ์นั้น ตั้งแต่ตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๔ และตอนต้น พ.ศ. ๒๔๗๕ เวลาล่วงมาถึง ๓ ปี เศษ เรื่อง การเมืองต่างประเทศในเวลานั้นเท่ากับเป็นบันทึกเหตุการณ์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ แก่นักศึกษาการเมืองต่าประเทศในสมัยนี้บ้าง

เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี
เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี

ชื่อเรื่อง         : เอกสารตรวจราชการเมืองนครไชยศรี

ผู้แต่ง             : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ครั้งที่พมพ์      : ๒

ปีที่พิมพ์         : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์   : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ

หมายเหตุ         พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส

 

                          หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งทรงพระยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จตรวงราชการหัวเมืองมณฑลกรุงเก่า มณฑลไชยศรี มณฑลราชบุรี และมณฑลปราจีนบุรี ทรงเรียบเรียงเอกสารตรวจราชการนี้ไว้อย่างละเอียด ทั้งในด้านสถาบันบ้านเมือง การคมนาคม การค้าขาย การเกษตร การปกครอง การศาสนา การศาล และอื่นๆ

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

 

ชื่อเรื่อง :  นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

พิมพ์ครั้งที่ :  ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๑

สถานที่พิมพ์ :  นครราชสีมา

สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์โจเซฟ

 

                      พิพิธภัณฑสถานแห่งาติ พิมาย เป็นพิพิธภัณฑสถานทางศิลปะ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี จัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันนับเป็นภารกิจสำคัญของกรมศิลปากร

๑๐๐ปีหอสมุดแห่งชาติ
๑๐๐ปีหอสมุดแห่งชาติ

 

ชื่อเรื่อง : ๑๐๐ปีหอสมุดแห่งชาติ

ผู้แต่ง : สำนักหอสมุดแห่งชาติ

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๘

 

       เนื้อหากล่าวถึงประวัติความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ และพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ รวมถึงประณิธานของประชาชนที่มีต่อหอสมุดแห่งชาตินอกจากนั้นยังกล่าวถึงภารกิจและหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบันตลอดจนส่วนราชการของหอสมุดแห่งชาติ พร้อมทั้งแสดการดำเนินงานตามภารหน้าที่โดยสรุป และ รวบรวมผู้บริหารหอสมุดแห่งชาติในอดีตจนถึงปัจจุบันนอกจากนั้นยังแสดงภาพความทรงจำที่เกี่ยวกับ กิจกรรมที่ประทับใจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองและเรื่องราวสุวรรณภูมิ
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองและเรื่องราวสุวรรณภูมิ

 

ชื่อเรื่อง : นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองและเรื่องราวสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๕๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน )

 

                     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นพบจากการบูรณะเมืองโบราณอู้ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านโบราณคดี เกี่ยวกับวัฒนธรรมโบราณของท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทองในเบื้องลึกต่อไป

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

 

ชื่อเรื่อง :  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : ๒

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๔๓

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สมาพันธ์ จำกัด

 

                  หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประวัติเมืองสงขลา การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

 

 

 

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

 

ชื่อเรื่อง : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๓๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  บริษัทเซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด

หมายเหตุ  :  กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านเผือ จังหวัดอุดรธานี

 

                     ภูพระบาทเป็นภูเล็กๆ ลูกหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติบนภูพระบาทประกอบด้วยโขดหิน เพิงหินทรายรูปร่างแปลกตาสัตว์และพรรณไม้หลากหลายชนิด แล้วสิ่งหนึ่งที่ได้สำรวจพบก็คือร่องรอยอารยธรรมของมนุษย์สมัยโบราณได้เคยประทับติดไว้บนภูแห่งนี้นานกว่า ๓,๐๐๐ ปี

 

คู่มือวรรณคดีสัญจร สู่พระพุทธบาท
คู่มือวรรณคดีสัญจร สู่พระพุทธบาท

 

ชื่อเรื่อง : คู่มือวรรณคดีสัญจร สู่พระพุทธบาท

ผู้แต่ง  : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ : สระบุรี

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายทวี  ภู่พัฒน์

 

                  พระพุทธบาทในจังหวัดสระบุรี มีความสำคัญอยู่มากเป็นแหล่งที่เกิดสถาปัตยกรรมและมัณฑนะศิลปอันวิจิตรบรรจง เป็นแหล่งให้เกิดวรรณกรรมอันลือชื่อและเป็นบุณยสถานแห่งสำคัญที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยหลั่งไหลกันมาสักการบูชา 

ซาไกเจ้าแห่งขุนเขา และสมุนไพร
ซาไกเจ้าแห่งขุนเขา และสมุนไพร

 

ชื่อเรื่อง : ซาไกเจ้าแห่งขุนเขา และสมุนไพร

ผู้แต่ง : ไพบูลย์ ดวงจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อนงค์ศิลป์

 

       หนังสือเล่มนี้เป็นเชิงกึ่งวิชาการ กึ่งเรื่องเล่า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะแนะนำให้รู้จักกับเพื่อนมนุษย์ ที่อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทย ทราบถึงชาวเงาะกลุ่มต่างๆ ถิ่นที่อยู่อาศัย การแต่งกาย ลักษณะสังคม ภาษา ความเชื่อ ประเพณี ฯลฯ

ประวัติสังเขป พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชกับเรื่องเมืองนคร
ประวัติสังเขป พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชกับเรื่องเมืองนคร

 

 

ชื่อเรื่อง : ประวัติสังเขป พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชกับเรื่องเมืองนคร

ผู้แต่ง : เจริญชัย  พุทธรัต

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙

สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช

สำนักพิมพ์ : ร.พ. ศิริสวัสดิ์ ท่าวัง นครศรีธรรมราช

 

       ประวัติสังเขป ผู้เขียนได้รวบรมประวัติสังเขปของพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และเรื่องราวสังเขปของเมืองนครศรีธรรมราชในอดีต อาทิพระบรมธาตุจากกุสินารา . พระทันตธาตุมาสู่สุวรรณภูมิ , รูปทรงสัณฐานองค์มหาเจดีย์ประวัติเมืองละคอน

นิราศนรก
นิราศนรก

ชื่อเรื่อง : นิราศนรก

ผู้แต่ง     : จวบ  หงสกุล

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์    : โรงพิมพ์แพร่การช่าง

หมายเหตุ    : พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงมหาโยธา ต.จ.(ลินจง แสง-ชูโต) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง

 

                      หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการประพฤติและการปฏิบัติตน ไม่อยู่ในศีลในธรรม โดยจะให้คนประพฤติในศีลธรรมนั้น มี ๒ ทาง คืออบรมให้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนา อีกทางหนึ่ง คือทำให้คนเกิดความกลัว ซึ่งพอพูดถึงนรก ก้จะทำให้คนเรากลัว เพราะกลัวบาปกรรม ไม่กล้าประพฤติชั่ว

วัดพระโคะ สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทย
วัดพระโคะ สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทย

 

ชื่่อเรื่อง : วัดพระโคะ สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทย

ผู้แต่ง : บุญเหิม  เอกอุรุl

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔

สถานที่พิมพ์ : สงขลา

สำนักพิมพ์ : สุเมธการพิมพ์

หมายเหตุ :  พิมพ์ขึ้นเพื่อามทบทุนพัฒนาวัดพระโคะ ( วัดราชประดิษฐาน )

 

             วัดพระโคะตั้งอยู่ที่ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นวัดหนึ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องในทางประวัติศาสตร์ เพราะมีปูชนียสถานโบราณวัตถุหลายอย่าง วัดพระโคะนอกจากมีรอยพระพุทธบาทแล้วยังมีพระพุทธเจดีย์ พระพุทธไสยาสน์บรรจุพระบรมธาตุทั้งนั้นยังมีพระพุทธรูปสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด กับมีแก้ววิเศษของสมเด็จเจ้าหลวงพ่อทวดอีกด้วย

 

บทความธรรมมะบางเรื่อง
บทความธรรมมะบางเรื่อง

 

ชื่อเรื่อง : บทความธรรมะบางเรื่อง

ผู้แต่ง : แนบ  มหานีรานนท์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเนื่องในงานฌาปนกิจศพ นางวรี  โกสัยสุก

 

             หนังสือเรื่องบทความบางเรื่อง มี ๔ เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องความจริงตามคำสอนของพระพุทธศาสนา เรื่องมีตนเป็นที่พึ่ง เรื่อง วิปัสสนากรรมฐานกับสมถะกรรมฐานต่างกันอย่างไร และ เรื่องวิสุทธิ  ตอนศีลวิสุทธิ

พระโอวาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระโอวาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

ชื่อหนังสือ : พระโอวาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ผู้แต่ง : พระยาดำรงราชานุภาพ

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์

 

                  หนังสือพระโอวาทสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้รวมคติที่ข้าราชการควรยึดถือเป็นทางดำรงตนเพื่อความรุ่งเรืองในส่วนบุคคลและหน้าที่ราชการ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาและอยู่ในบังคับบัญชา

ยอพระเกียรติ ๓ รัชกาล
ยอพระเกียรติ ๓ รัชกาล

 

ชื่อเรื่อง : ยอพระเกียรติ ๓ รัชกาล

ผู้แต่ง : พระยาไชยวิชิต ( เผือก )

พิมพ์ครั้งที่ : ๔

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : บางกระบือการพิมพ์

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางประทิณ ช้างขวัญยืน

 

                    เรื่องยอพระเกียรติได้พรรณนาถึงกรุงเก่าแล้วสรรเสริญพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๓ รัชกาล ที่ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทรขึ้นเป็นราชธานีใหม่

 

บทละคอนเรื่องเงาะป่า
บทละคอนเรื่องเงาะป่า

 

ชื่อเรื่อง :  บทละคอนเรื่องเงาะป่า

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ :  ๑๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางรักษ์วรัยการ ( จร  โคบุตร )

 

               พระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่านี้เป็นวรรณคดีเอกเรื่องหนึ่งมีแนวเรื่องและฉากเหตุการณ์แตกต่างจากเรื่องอื่นๆแปลกออกไปและยังให้ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับบุคคลประเภทที่เราเรียกว่า "เงาะ" ตลอดจนภาษาของเขา ทั้งสำนวนกลอนก็ไพเราะลึกซึ้ง ผู้อ่านจะได้รับทั้งความรู้ ความเพลิดเพลินและความรู้สึกสะเทือนใจตามลักษณะของวรรณคดีเอกครบถ้วน

นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

 

ชื่อเรื่อง :  นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ผู้แต่ง :  จิรา  จงกล

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๗

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อัมรินทร์การพิมพ์

 

                  หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโบราณสถานวังหน้าที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วัฒนธรรมสมัยประวัติศาสตร์สมัยอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย ประติมากรรมเทวรูปโบราน ประติมากรรมศิลปชวา เป็นต้น

 

 

 

นิทานโบราณ ( บางเรื่อง)
นิทานโบราณ ( บางเรื่อง)

 

ชื่อเรื่อง : นิทานโบราณคดี ( บางเรื่อง )

ผู้แต่ง : พระยาดำรงราชานุภาพ

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก ธะทรง สุวรรณศร

 

                นิทานโบราณคดีนี้นับเป็นหนังสือที่มีค่ายิ่งเรื่องหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่ในสมัยที่ล่วงมาแล้วให้รายละเอียดนิทานเรื่อง พระพุทธรูปประหลาด นิทานเรื่องห้ามไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ นิทานเรื่องค้นเมืองโบราณ นิทานเรื่องโจรแปลกประหลาด นิทานเรื่องลานช้าง นิทานเรื่องโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และนิทานเรื่องเมืองไทยมีพระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์

 

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ชื่อเรื่อง : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง :  ตรี  อามาตยกุล

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางริ้ว  ประกาศสุขการ

 

                เรื่องจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้รายละเอียดเกี่ยวกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตำนานเมือง ประวัติวัดโลกยสุธา วัดบรมวงศ์อิศรวรารามและพิพิธภัณฑสถานเจ้าสามพระยา ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อ  พ.ศ ๒๕๐๔ เป็นต้น

 

ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน
ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน

 

ชื่อเรื่อง : ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน

พิมพ์ครั้งที่ :  ๕

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก  ขุนวรนิติ์นิสัย ( สอน  นิธินันทน์ )

 

                หนังสือเรื่องตำราพิไชยสงคราม คำกลอน แบ่งเป็น ๓ แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม แผนก ๑ ว่าด้วยอุบายสงครามแผนก ๑ ว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธีแผนก ๑ การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ แต่มาเชื่อถือกันแก่กล้าขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาตำราพิไชยสงคราม

สยามมาตาเทวีเครื่องประทีปในวรรณคดี
สยามมาตาเทวีเครื่องประทีปในวรรณคดี

 

ชื่อเรื่อง : สยามมาตาเทวี เครื่องประทีปในวรรณคดี

ผู้แต่ง : เรวดี  เทียนประภาส

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๗

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : บริษัทการพิมพ์สตรีสาร

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจนางประสาตรสิทธิแพทย์ (หร่วม สุกุมลนันทน์ )

 

            เรื่องสยามมาตาเทวี เครื่องประทีปในวรรณคดี มีข้อความเป็นทำนองเรื่องทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ของประเทศไทย ซึ่งในสมัยที่แต่งยังเรียกว่าประเทศสยามอยู่ เรื่องเครื่องประทีปในวรรณคดี เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องความรู้เพื่อให้ทราบว่าเครื่องประทีปของไทยแต่เดิมมีอย่างไรแล้วเจริญคลี่คลายเป็นวิวัฒนาการมาอย่างไร

เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕
เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕

ชื่อเรื่อง : เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งที่พิมพ์ :  ครั้งที่ ๗

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนจิตรการโกศล  ( จิตร  ขุนนาค ) 

 

                   การเสด็จประพาสต้นเริ่มมีครั้งแรกเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๓ (  พ.ศ ๒๔๔๗ ) รายการเสด็จประพาสต้น ครั้งนี้ นายทรงอนุภาพได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นไว้โดยพิสดารเหตุที่จะเรียกว่าประพาสต้นนั้นเกิดแต่เมื่อเสด็จในคราวนี้ เวลาจะประพาสมิให้ใครรู้ว่าเสด็จไป

ประเพณีทำบุญเมืองไทย
ประเพณีทำบุญเมืองไทย

ชื่อเรื่อง : ประเพณีทำบุญเมืองไทย

ผู้แต่ง :  สนั่น  บุณยศิริพันธ์ุ

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๘๔

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ :  พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางดำรงรถการ ( บุญมา  แคร่น้อย )

 

                  ประเพณีทำบุญเมืองไทย เป็นหนังสือทางธรรมให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีถวายทาน ฯ วิธีตรวจน้ำ วิธีนมัสการและบูชาพระฯ วิธีอาราธนาฯ วิสาขบูชาพิธี ฯ  และวิธีอุโบสถ ฯ

เมขลา-รามสูร
เมขลา-รามสูร

 

 

ชื่อเรื่อง : เมขลา-รามสูร

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การพิมพ์พาณิชย์

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาว ไขศรี  ชิตินทร

 

 

               เรื่่องเมขลา-รามสูร จินตกวีแต่ก่อนๆ เมื่อต้องการจะเปรียบเทียบความคมของแววตาหญิงงามที่ชท้ายชายมาประสบว่ามีแสงคมแปลบกระทบหัวใจผู้ที่ต้องสายตา กระทำให้ผู้นั้นเกิดอาการวิปลาสใจวาบหวามงงจังงัง ก็มักนำเอาเรื่องเมขลารามสูรขึ้นมาเปรียบอ้าง

อ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดี
อ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดี

 

 

ชื่อเรื่อง : อ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดี

ผู้แต่ง : เฮอร์น,ลาฟดาดิโอ

ปีที่พิมพ์ิ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

หมายเหตุ : กรมศิลปากรพิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรซึ่งเข้าชมหอสมุดแห่งชาติในเทศการเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๑

 

               เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมาคมวรรณคดีสองเรื่องนี้แปลและเรียบเรียงจาก  On Reading in Relation to Literature และเรื่อง Note upon the Abuse and the Use of Literary Societies ของท่าน ลาฟคาดิโอ เฮอร์น

 

เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา
เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

 

ชื่อเรื่อง : เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา

ผู้แต่ง :  นันทา  สุตกุล / แปล

ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : คุรุสภาลาดพร้าว

 

                  เป็นเรื่องที่บรรดาพ้อค้าชาวฮอลันดา ซึ่งเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถจนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้บันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่ตนพบเห็นไว้ ยังมีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถจนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองมีเรื่องราวมี่น่าสนใจ คือ เรื่องการค้าขายของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง

ประชุมพระราชนิพนธ์
ประชุมพระราชนิพนธ์

 

 

ชื่อเรื่อง :  ประชุมพระราชนิพนธ์

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งที่พิมพ์ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลียงเซียงจงเจริญ

หมายเหตุ : พิมพืแจกเป็นอนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ขุนวรรณวุฒิวิจารณ์ (ทองปาน  จิตะสมบัติ )

 

                    ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโคลงปราบดาภิเษก บทละคอนเรื่องสังข์ศิลป์ไชย เพลงยาวสังวาส กระแสพระราชดำริเรื่องเมืองเขมร นิทานแทรกในเรื่องนางนพมาศ บทกลอนเบ็ดเตล็ดตลอดจน บทสักวา บทสร้อยเพลง โคลงฤษีดัดตน โคลงปทกลอนและเพลงยาวปลงสังขาร

 

                

ลิลิตพระลอ
ลิลิตพระลอ

 

 

ชื่อเรื่อง : ลิลิตพระลอ

ปีที่พิมพ์ :๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ: พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท นายแพทย์ สวน กมลนาวิน

 

             หนังสือลิลิตพระลอนับได้ว่าเป็นลิลิตเรื่องเอก ในลิลิต ๓ เรื่อง คือ ๑ เรื่องยวนพ่าย ๒ เรื่องพระลอ  ๓ เรื่องตะเลงพ่าย ที่นับถือกันว่าเป็นตำรามาแต่โบราณกาล 

แหลมโพธิ แหล่งเศรษฐกิจของศรีวิชัย
แหลมโพธิ  แหล่งเศรษฐกิจของศรีวิชัย

 

 

ชื่อเรื่อง: แหลมโพธิแหล่งเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

 

             ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของเมืองไชยาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของเมือไชยา การติดต่อทางวัฒนธรรมกับภายนอก การขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองไชยา ผลการขุดค้นทางโบราณคดีและการศึกษาวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบตลอดจนการศึกษาทางด้านปฐพีวิทยาของหลุมทดสอบ

 

กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราชลมารค

 

 

ชื่อเรื่อง : กระบวนพยุหยาตราชลมารค

ผู้แต่ง : ณัฏฐภัทร  จันทวิช

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บุ้นกวง

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญอายุครบ ๘๐ ปีพระปรีชาเฉลิม (ติลกะเถระ)

 

                พุทธชัยมงคล ๘ เป็นเรื่องชัยชนะของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับสวัสดิมงคลของคนทั่วๆไปมีเรื่องพระยามาร เรื่องอาฬวกยักษ์ เรื่องช้างนาฬาคิรี เรื่ององคุลิมาลโจร เรื่องนางจิญจมาณวิกา เรื่องสัจจกนิครนถ์ เรื่องนันโทปนันทนาคราชและเรื่องพกาพรหม

ธรรมาธรรมะสงครามบทละคอนเรื่องพระเกียรติรถ บทละคอนร้องเรื่องพระเกียรติรถและบทละคอนเรื่องขุนช้างขุนแผน
ธรรมาธรรมะสงครามบทละคอนเรื่องพระเกียรติรถ บทละคอนร้องเรื่องพระเกียรติรถและบทละคอนเรื่องขุนช้างขุนแผน

 

 

ชื่อเรื่อง : ธรรมาธรรมะสงครามบทละคอนเรื่องพระเกียรติรถบทละคอนร้องเรื่องพระเกียรติรถและบทละคอนเรื่องขุนช้างขุนแผน (ชุดแต่งงานพระไวย )

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์แพร่การช่าง

 

               เป็นหนังสือพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกโท พระไผทราชสถาปิต (ประชิต  สถาปิตานนท์)และฌาปนกิจศพนางไผทราชสถาปิต ( สารี่  สถาปิตานนท์ )ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม บทละคอนเรื่องพระเกียรติรถและบทละคอนเรื่องขุนช้างขุนแผนชุดแต่งงานพระไวย

 

 

สูจิบัตร พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดแต่งกลอนสุภาพเนื่องในวาระครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปี สุนทรภู่
สูจิบัตร พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดแต่งกลอนสุภาพเนื่องในวาระครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปี สุนทรภู่

 

 

ชื่อเรื่อง : สูจิบัตร พิธีพระราชทานรางวัลการประกวดแต่งกลอนสุภาพเนื่องในวาระครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปี สุนทรภู่

ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๒๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

 

                    สูจิบัตรที่กรมศิลปากรพิมพ์เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามยรมราชกุมารีเสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลการประกวดแต่งกลอนสุภาพเนื่องในวาระครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปีสุนทรภู่ ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์หอวชิราวุธานุสรณ์เมื่อวันอังคารที่ ๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

 

 

ชื่อเรื่อง : กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ผู้แต่ง : สุนิสา  มั่นคง

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  อาทิตย์โพรดักส์ กรุ๊ป

 

                    เป็นหนังสือพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ( วังหน้า ) ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อรำลึกและเผยแพร่พระเกียรติคุณของทุกพระองค์ที่มีต่อบ้านเมือง รวมทั้งสิ่งก่อสร้างในพระราชวังบวรสถานมงคลที่ประทับของกรมพระราชว่งบวรสถานมงคลนั้นเป็นสถานที่ที่สวยงามและมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี

พระอภัยมณี
พระอภัยมณี

 

 

ชื่อเรื่อง : พระอภัยมณี ( ตอน ๓๑-๓๕ )

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมันัศมานิต (ชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา ) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม

 

                  หนังสือเรื่องพระอภัยมณีนี้สุนทรภู่กวีเอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นผู้แต่งขึ้นเป็นคำกลอนที่มีความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยิ่ง

บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ
บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ

 

 

ชื่อเรื่อง : บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ

พิมพ์ครั้งที่ : ๗

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สุจินต์การพิมพ์

 

                 บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์นี้เป็นพระบวรราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรฯมหาศักดิพลเสพในฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๔และฉบับต่อมามีพระนิพนธ์อธิบายของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า บทละคอนเรื่อง พระลอมี ๓ ความด้วยกัน ความเก่าที่สุดเป็นพระราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพในรัชกาลที่ ๓ ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ไม่ทราบว่ามีจึงแต่งบทละคอนเรื่องพระลอขึ้นใหม่เมื่อรัชกาลที่ ๕ อีกความหนึ่งนับเป็นความที่สอง ต่อมาในรัชกาลนั้นเมื่อกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงหัดละคอนรำทรงพระนิพนธ์บทละคอนเรื่องพระลอขึ้นอีความหนึ่ง รวมเป็น ๓ ความด้วยกัน

บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา

 

 

ชื่อเรื่อง : บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : จงเจริญการพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีพระวรราชชายาในรัชกาลที่ ๖

 

                 บทละครพูดคำฉันท์มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ ๕ องค์ พระยาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือแต่งดีเพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูดอันเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดีแต่งได้โดยยากในทางภาษาทรงปรุงชื่อตัวละครและภูมิประเทศถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ

เล่าเรื่องบารมี ๓๐ ทัศ
เล่าเรื่องบารมี ๓๐ ทัศ

 

 

ชื่อเรื่อง: เล่าเรื่องบารมี ๓๐ ทัศ

ผู้แต่ง :  ชนินท์  สุขเกษี

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อรุณการพิมพ์

 

                    หนังสือเล่าเรื่องบารมี ๓๐  ได้รวบรวมแนวทางข้อประพฤติปฏิบัติของสุเมธ ดาบสเริ่มแต่บำเพ็ญทานบารมีเป็นต้นมา รวมเป็น บารมี ๓๐ ทัศ พร้อมทั้งมีตัวอย่างชาดกในชาตินั้น ๆ มาประกอบเป็นแนวปฏิบัติของผู็สนใจในทางศาสนา

หมานซู
หมานซู

 

 

ชื่อเรื่อง : หมานซู

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ครุสภาลาดพร้าว

 

                    เหฺนจดหมายเหตุจีนโบราณว่าด้วยเรื่องราวของพวกหมานซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศจีนแถบมณฑลยูนนาน "หมาน" เป็นชื่อโบราณใช้มากกว่า ๒,๐๐๐ ปีมีปรากฎในพระราชพงศาวดารจีน (สื่อจี้) ซึ่งชื่อพม่าเขียนแต่งหมายถึงชนชาติต่างๆที่ไม่ใช่หั้น บรรดาที่อยู่ด้านใต้ของประเทศจีนทั้งหมด

ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารและบทความเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย
ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารและบทความเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย

 

 

ชื่อเรื่อง : ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารและบทความเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย

ผู้แต่ง : ลำดวน  สุขพันธ์ุ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์การพิมพ์

 

                   วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหารเดิมเป็นวัดราษฏร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ยกฐานะนั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๙๑ มีนามว่าวัดพระธาตุไชยาและต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลื่อนฐานะวัดพระธาตุไชยาเป็นพระอรามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหารและพระราชทานนามใหม่ว่า " วัดพระบรมธาตุไชยา" เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ 

 

จินดามณี
จินดามณี

 

 

ชื่อเรื่อง : จินดามณี

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

 

                 จินดามณี เป็นหนังสือสำคัญเรื่องหนึ่งในวรรณคดีของไทย ใช้เป็นแบบเรียนตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อหานอกจากจะเป็นการสอนพื้นฐานอักขรวิธีเบื้องต้นแล้วยังเน้นในเรื่องของการประพันธ์ร้อยกรองแบบต่างๆ

ปิยสีลเถรานุสรณ์
ปิยสีลเถรานุสรณ์

 

 

ชื่อเรื่อง : ปิยสีลเถรานุสรณ์

ผู้แต่ง : คระศิษยานุศิษย์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สถานที่พิมพ์ : บพิธการพิมพ์

หมายเหตุ : งานพระราชทานเพลิงพระศพพระครูสรวุฒิพิศิษฐ์ ( แทน ปิยสีโล ป.ธ.๓) อดีตเจ้าคณะ ๔วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร

 

              หนังสือปิยสีลเถรานุสรณ์เป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชทานเพลิงศพ พระครูสรวุฒิพิศิษฐ์  รวบรวมประวัติชีวิตและผลงานของท่านที่ได้ทำประโยชน์แก่พระศาสนา ประเทศชาติไว้เป็นอันมาก เช่น เป็นเจ้าคณะ ๔ วัดมหาธาตุ สร้างห้องสมุดที่วัดเวียง อำเภอไชยา ๑ หลัง ฯลฯ

หอสมุดแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน
หอสมุดแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน

 

ชื่อเรื่อง : หอสมุดแห่งชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สหประชาพาณิชย์

หมายเหตุ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์ในมหามงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาเสมอด้วยสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชเจ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

                 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติในอดีต (พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๗๐) กำเนิดหอสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร หอมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ การดำเนินงานหอพระสมุดสำหรับพระนครหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๔๗๐-๒๕๒๘) ระบบงานของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๒๘ ระบบงานหอสมุดแห่งชาติสาขา ตลอดจนศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม
เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม

 

ชื่อเรื่อง : เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม

ผู้แต่ง : เพียงฤทัย  ตันติธีรวิทย์ (แปล)

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สหประชาพาณิชย์

 

             เนื่้อหาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางของบรรดาบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสที่เดินทางเข้ามาสู่ประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทำให้ทราบถึงเส้นทางการเดินทางโดยเรือจากยุโรปมาถึงประเทศไทยในสมัยนั้นได้ทราบถึงความยากลำบากในการเดินทาง สอดแทรกไว้ด้วยเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ผ่านมาจวบจนถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องราวของประเทศไทยและชนชาติต่างๆที่อาศัยอยู่ตลอดจนบทบาทของบาทหลวงในสมัยนั้นอีกด้วย

เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์และเครื่องสาย
เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์และเครื่องสาย

 

 

ชื่อเรื่อง : เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมโรงมโหรี ปีพาทย์ และเครื่องสาย

ผู้แต่ง : ธนิต  อยู่โพธิ์

ครั้งที่พิมพ์ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา

 

          เครื่องดนตรีไทยพร้อมด้วยตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตำนานเครื่องดนตรีไทยตลอดจนเครื่องดนตรีไทยประเภทต่างๆ อาทิ เครื่องตี เครื่องตีทำด้วยไม้ ทำด้วยโลหะขึงด้วยหนัง เครื่องเป่า เครื่องดีดตลอดจนเครื่องสี ซึ่งเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะให้รายละเอียดและภาพประกอบ

พระราชนิพนธ์ด้านปลุกใจให้รักชาติ
พระราชนิพนธ์ด้านปลุกใจให้รักชาติ

 

 

ชื่อเรื่อง : พระราชนิพนธ์ด้านปลุกใจให้รักชาติ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเลิงศพ คุณหญิงชลขันธ์พินิต (ผกามาศ  เหมสว่าง ) บ.ม. ณ ฌาปนสถานกองทับบก วัดโสมนัสวิหาร

 

                    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนิพนธ์ขึ้นโดยให้พระนามแปลว่า  อัศวพาหุ ทรงมีพระราชประสงค์ปลุกใจคนไทยให้ตระหนักในความสำคัญของชาติไทย ให้รู้จักรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีของชาติตลอดจนมีความสามัคคีภายในชาติ

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๑
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๑

 

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๑ จดหมายเหตุ เรื่อง การจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง :  หลวงจินดาสหกิจ (ละม้าย  ธนะศิริ ) แปล

พิมพ์ครั้งที่ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด

 หมายเหตุ : ธนาคารแห่งประเทศไทย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. ทองเถา  ทองแถม

 

             ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๑ ได้รวบรวมจดหมายเหตุต่างๆที่เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๒๓๑ ถึง ๒๒๓๒ กล่าวถึงประวัติโดยย่อของคอนสแตนติน พอลคอน เข้ามามีบทบาททางการเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาวิชเยนทร์ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการจจลครั้งใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนการขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจากรุงศรีอยุธยาหลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตแล้ว 

                 

พระเป็นเจ้าของพราหมณ์
พระเป็นเจ้าของพราหมณ์

 

ชื่อเรื่อง : พระเป็นเจ้าของพราหมณ์

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายปลาเงิน  กนิษฐานนท์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร

 

                พระเป็นเจ้าของพราหมณ์ กล่าวถึงพระนารายน์ อาวุธพระนาราย์ อาภรณ์พระนารายน์  พระลักษมี พญาคุรุต พญาอนันตนาคราชอวตาร เทวดา ตลอดจนฟษีประกอบด้วยวาลมีกิ นารท วสิษฐ์ สันัตกุมาร กสป วิภาณฑก ฤษยศถุงค์ สุยัชนา วามเทพ ชาวาลี

การรู้จัดดูคน
การรู้จัดดูคน

 

 

ชื่อเรื่อง : การรู้จักดูคน

ผู้แต่ง : ธนิต  อยู่โพธิ์

ครั้งที่พิมพ์ : ๖

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : จงเจริญการพิมพ์

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางประทุม ไกรปราบ ณ เมรุวัดยางสุทธาราม

 

                 การรู้จักดูคนเป็นคติธรรม โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับวีรชนผู้มีใจกว้าง มีความโอบอ้อมอารี มีความกล้าหาญ วิสัยโจร ผู้มีปัญญา คนขี้ฉ้อ ผิดกำเนิด มาลตี กุมุทเทวีและยอดแห่งศิลปิน

ประชุมบทกลอน
ประชุมบทกลอน

 

 

ชื่อเรื่อง : ประชุมบทกลอน

ผู้แต่ง : พระมหามนตรี )ทรัพย์ )

พิมพ์ครั้งที่ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางศุภรัตกาษายานุกิจ ( เนื่อง  จันทรสูต )

 

                 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบทละครเรื่องระเด่นลันได เพลงยาวแต่งว่าจมื่นราชามาตย์  เพลงยาวกลบทกบเต้นสามตอน ตลอดจนโคลงภาพฤาษีดัดตน

พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช
พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช

 

 

ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช

ผู้แต่ง : เพลินพิศ  กำราญ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

 

             ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชวึ่งเชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชเป็นเทพยดาศักศ์สิทธิ์ที่อภิบาลรักษาประเทศไทย ประวัติพระสยามเทวาธิราช พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวราชในรัชกาลปัจจุบัน

ตำนานพระพุทธบาทอธิบายเรื่องพระบาทนิราศพระบาทและลิลิตทศพร
ตำนานพระพุทธบาทอธิบายเรื่องพระบาทนิราศพระบาทและลิลิตทศพร

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพุทธบาทอธิบายเรื่องพระบาทนิราศพระบาทและลิลิตทศพร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรประเสริฐ

หมายเหตุ :  พล.ต.ท.จำเนียร วาสนะสมสิทธิ์และภรรยา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ พระภิษุ วาส พวงร้อย วาสนะสมสิทธิ์ และ นางมา พวงร้อย วาสนะสมสิทธิ์ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส

 

                 เรื่องตำนานพระพุทธบาท เป็นนิยายประวัติกล่าวถึงเรื่องราวของพระพุทธบาทอันเป็นปูชนียสถานสำคัญของประเทศไทยเป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นศัรทธาและความเชื่อถือซึ่งพุทธศาสนิกชนมีต่อรอยพระพุทธบาท

                 อธิบายเรื่องพระบาท เป็นเรื่องที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคติโบราณที่นับถือรอยพระพุทธบาทเป็นเจติยสถาน ประวัติพระพุทธบาทอันเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของไทยรวมทั้งเรื่องราวในพระราชพงศาวดารที่พระมหากษัตริย์ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ทรงพระราชศรัทธาเสด็จขึ้นไปนมัสการและบูรณะปฎิสังขรณ์พระพุทธบาท

     

 

 

 

มอญที่เกี่ยวกับไทย
มอญที่เกี่ยวกับไทย

 

 

ชื่อเรื่อง : มอญที่เกี่ยวกับไทย

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

พิมพ์ครั้งที่ : ๗

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูบวรธรรมกิจ ( หลวงปู่เทียน )

 

                 เรื่องมอญที่เกี่ยวกับไทยนี้ได้รวบรวมเกี่ยวกับพระนเรศวรหงสา ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ มะกะโท หนังสือราชาธิราช คำอธิบายพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ พงศาวดารมอญ-พม่า ฉบับพิมพ์ ร.ศ. ๑๑๘ คำให้การชาวกรุงเก่า ไทยได้พระธรรมศาสตร์มาจากมอญ ฯลฯ

ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น
ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น

 

ชื่อเรื่อง : ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น

ผู้แต่ง : สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พิมพ์ครั้งที่ : ๖

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ สะพานแดง บางซื่อ

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกเอก พระยาราชเวศม์ผดุง ท.ม.,ต.จ.ว. (สาย  สายะวิบูลย์ )

 

           ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อให้จัดพิมพ์แจกในงานพระศพพระบวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดา ซึ่งทรงเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในด้านการเล่นเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่๕

นิทานเรื่องพระร่วง
นิทานเรื่องพระร่วง

 

ชื่่อเรื่อง : นิทานเรื่องพระร่วง

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ครั้งที่พิมพ์ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ร.พ. มหามกุฏราชวิทยาลัย

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรร์ในงานฌาปนกิจศพ นางเจียรนัย  บุญศิริ

 

            นิทานเรื่องพระร่วงคำกลอนนี้ เป็นหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์พระร่วง เรื่องเกี่ยวกับพระร่วงของเราที่เล่ากันมาก็เป็นนิทานแสดงอภินิหารของพระองค์ เช่น ปลาพระร่วง ข้าวตอกพระร่วง พระร่วงลองดาบหรือลองพระขรรค์ และอื่นๆ

สรรพสิทธิ์คำฉันท์
สรรพสิทธิ์คำฉันท์

 

ชื่อเรื่อง : สรรพสิทธิ์คำฉันท์

ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

พิมพ์ครั้งที่ :  ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศิวพร

 

                หนังสือเรื่องสรรพสิทธิ์คำฉันท์นี้เรื่องเดิมเป็นนิทานอยู่ในปัญญาสชาดก ต้นฉบับเป็นหนังสือสมุดไทย ๒ เล่ม นับถือกันว่าเป็นฉันท์ตำราเรื่องหนึ่ง หนังสือเรื่องสรรพสิทธ์คำฉันท์นี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรีได้ทรงจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกประทานผู้ซึ่งถวายรดน้ำสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. ๒๔๖๗

บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย
บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย

 

ชื่อเรื่อง : บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนีบยนายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำปา  วัฒนศิริโรจน์ ณ. เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม

 

               เรื่องคาวีเป็นตอน ๑ ในเรื่องเสือโคซึ่งเป็นนิทานโบราณมีอยู่ในหนังสือปัญญาสชาดก เรียกว่า พหลคาวีชาดกของเดิมแต่งในภาษาเมคธ ส่วนเรื่อง สังข์ศิลป์ชัย เป็นเรื่องโบราณมีบทละครเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงเก่า

 

 

 

ลิลิตนารายณ์สิบปาง
ลิลิตนารายณ์สิบปาง

 

ชื่อเรื่อง : ลิลิตนารายณ์สิบปาง

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ : ๖

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

หมายเหตุ :  จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตรราชสุดาทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

               หนังสือลิลิตนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงการอวตารปางต่างๆทั้ง ๑๐ ปางของพระนารายณ์

หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาตคือโอวาทปาติโมกข์คาถา
หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาตคือโอวาทปาติโมกข์คาถา

 

ชื่อเรื่อง : หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาตคือโอวาทปาติโมกข์คาถา

ผู้แต่ง : พระศาสนโศภน 

พิมพ์ครั้งที่ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

หมายเหตุ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระราชวรญาณ

 

             หนังสือเทศน์จาตุรงคสันนิบาตคือโอวาทปาติโมกข์คาถา นี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ ฉบับ ฉบับนี้เป็นของพระศาสนโศภน ซึ่งได้เรียบเรียงขึ้นเมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปาโมกข์ วัดมกุฏกษัตริยาราม ส่วนอีกฉบับหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม หนังสือเทศน์จาตุรงสันนิบาต คือโอวาทปาตโมกข์คาถา

นิราศพระแท่นดงรัง
นิราศพระแท่นดงรัง

 

ชื่อเรื่อง : นิราศพระแท่นดงรัง ของสามเณรกลั่น

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ศิวพร

 

                 เรื่องนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น สำนวนนี้ได้แต่งขึ้นในคราวติดตามพระภิกษุสุนทรภู่ไปนมัสการพระแท่นดงรัง สถานที่กล่าวถึงในนิราศพระแท่นดงรังและแผนที่แสดงเส้นทางผ่านไปพระแท่นดงรัง

บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๕
บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๕

 

ชื่อเรื่อง : บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๕

ผู้แต่ง : ไพโรจน์  เกษแม่นกิจ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                 บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรราที่ ๑๗ เล่ม ๕ นี้เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาเป็นจดหมายโต้ตอบและรายงานเกี่ยวกับการค้าของพ่อค้าต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจหลายประการซึ่งไม่มีปรากฏในพระราชพงศาวดารของไทยเรา

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

 

ชื่อเรื่อง : พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

ผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ื : ๒๑

ปีที่พิมพ์ :  ๒๔๑๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์มิตรสยาม

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงอนุชิตชาญชัย (อิง สวัสดิ์-ชูโต) ต.จ.

 

             เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เพื่ออธิบายให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจแจ่มแจ้งว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เรียกว่า อริยสัจสี่ ได้แก่ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์และทางไปสู่ความดับทุกข์

ธรรมเนียมราชตระกูลในสยาม
ธรรมเนียมราชตระกูลในสยาม

 

ชื่อเรื่อง : ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลียงเซียงจงเจริญ

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.ต.สิทธิ์  การสุุทธิ์

 

                  พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ได้ทรงอธิบายลักษณะเจ้านายประเภทต่างๆ โดยละเอียดและเปรียบเทียบกับลักษณะของประเทศใกล้เคียง ให้ความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีและรัฐประศาสโนบายในสมัยรัชกาลที่ ๕

ลิลิตพายัพ
ลิลิตพายัพ

 

ชื่อเรื่อง :  ลิลิตพายัพ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

หมายเหตุ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยจัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดีทรงบำเพ็ญในวันคลายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

           หนังสือลิลิตพายับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในปีนั้นการสร้างทางรถไฟสายเหนือสำเร็จตลอดถึงเมืองนครสวรรค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปเบิกทางรถไฟที่สถานีบ้านพาชี แล้วเลยเสด็จประพาสเมืองลพบุรีและมณฑลนครสวรรค์อันเป็นสุดของทางรถไฟต่อไป ได้โปรดฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จไปประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพและทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ใช้พระนามแฝงว่า " หนานแก้วเมืองบูรพ์ "

 

พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีสำคัญในรัชกาลปัจจุบัน
พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีสำคัญในรัชกาลปัจจุบัน

 

ชื่อเรื่อง : พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีสำคัญในรัชกาลปัจจุบัน

ผู็แต่ง :  จินตนา  กระบวนแสง

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๓

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ไอเดียสแควร์

 

                     พัดที่ระลึกในงานต่างๆ หรื่อที่เรียกว่า " พัดรอง" นั้นนิยมสร้างกันอย่างแพร่หลายในราวปีพุทธศักราช ๒๔๒๖ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในงานมงคล เช่น งานพระราชพิธีขึ้นพระที่นั่ง พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น ระยะแรกเริ่มในงานพระราชพิธีก่อนภายหลังจึงแพร่หลายไปในหมู่ขุนนางและชาวบ้านทั่วไป นอกจากในงานมงคลแล้วยังสร้างพัดรองในงานอวมงคลอีกด้วยเรียกว่า " พัดสังเค็ด"

นิราศพระปฐม
นิราศพระปฐม

 

ชื่อเรื่อง : นิราศพระปฐม

ผู้แต่ง  : จขักรปาณี (ฤกษ์) เปรียญ

พิมพ์ครั้งที่ :  ๖

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : เจริญวิทย์การพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์ถวายเป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญอายุครบ ๘๓ ปี พระธรรมสิริชัย (ชิต  ชิตวิปุโล ) เจ้าอาวาทวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

 

          นิราศพระปฐม ให้ความรู้เกี่ยวกับชื่อตำบลและระยะการเดินทางไปจังหวัดนครปฐมในสมัยก่อน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าหลวงจักรปาณี แต่งนิราศ เรื่องนี้ตอนที่ศึกแล้วไม่นานนัก จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ในงานกฐินพระราชทาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นราชศักดิ่สโมสรครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๖ และในการพิมพ์ครั้งนี้ถวายเป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญอายุครบ ๘๓ ปีของท่านเจ้าคุณพระธรรมสิริชัย (ชิต  ชิตวิปุโล )เจ้าอาวาสวัดปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสฐียรโกเศศ
เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสฐียรโกเศศ

 

ชื่อเรื่อง : เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของเสฐียรโกเศศ

ผู้แต่ง : พระาอนุมานราชธน

พิมพ์ครั้งที่  :  ๘

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ :  จงเจเริญการพิมพ์

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายน้อม  ลิมปพัทธ์

 

                  หนังสือเล่าเรื่องในไตรภูมิ ท่านเสฐียรโกเศศได้เก็บข้อความในหนังสือไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหนังสือที่มีถ้อยคำสำนวนอย่างโบราณอ่านเข้าใจยากนำมาเขียนขึ้นใหม่ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับนรกสวรรค์ นอกจากจะมีประโยชน์ในการศึกษาด้านวรรณคดีแล้ว ยังมีคุณค่าทางปรัชญาและจิตวิทยาเพราะเป็นเรื่องที่สอนให้คนทราบถึงบาปบุญคุณโทษ ซึ่งอาจจะช่วยให้ละเว้นไม่ประกอบกรรมชั่วได้

จดหมายเหตุเจมส์ โลว์
จดหมายเหตุเจมส์ โลว์

 

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุเจมส์ โลว์

ผู้แต่ง :  เจมส์  โลว์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

 

              เรื่องจดหมายเหตุเจมส์ โลว์ นี้ร้อยโท เจมส์ โลว์ ได้จดบันทึกเรื่องราวอย่างละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติอันสวยสดงดงามของเมืองชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของไทย เช่น เมืองไทรบุรี ตรัง สตูล ถลาง และพังงาเป็นต้น รวมทั้งเรื่องการเข้าพบสนทนากับเจ้าเมืองต่างๆ เขาได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับนโยบายการปกครองของไทย คตินิยมและคุณสมบัติพิเศษที่ตัวทูตควรจะมีเพื่อให้การเจราจาราบรื่นไแด้วยดี

นิราศตังเกี๋ย
นิราศตังเกี๋ย

 

ชื่อเรื่อง : นิราศตังเกี๋ย

ผู้แต่ง : หลวงนรเนติบัญชากิจ

พิมพ์ครั้งที่ : ๖

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตร

หมายเหตุ: พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาคำนวณคัคณานต์ (ศรี  ปายะนันทน์ ) และงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงอุ่น คำนวณคัคณานต์

 

               นิราศตังเกี๋ยเป็นทำนองจดหมายเหตุ เล่าถึงการเดินทางของข้าหลวงไทยซึ่งร่วมเดินทานไปปราบปรามพวกฮ่อทางเมืองตังเกี๋ยกับกองทัพฝรั่งเศส

เสือเฒ่า
เสือเฒ่า

 

ชื่่่อเรื่อง : เสือเฒ่า

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์ครั้งที่ : ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ : อมรการพิมพ์

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงสพ คุณมาละตะ  กาญจนาคม

 

              บทละครเรื่องเสือเฒ่านี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ขึ้นเป็นบทละครพูดสี่องค์ โดยทรงดัดแปลงมาจากละครภาษาอังกฤษของ เซอร์ช ยอร์ช ฮอดจิสและต.วิตนีย์ เปอร์ชิวัล

พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่๕ พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ
พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่๕ พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ

 

ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานแด่พระเจ้าลูกยาเธอ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจิตรา  ตวันฉาย

 

              หนังสือพระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอนี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค ภาคแรกประกอบด้วยพระบรมราโชวาทพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ๒ ฉบับและพระบรมราโชวาทพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ส่วนภาคที่ ๒ เป็นพระบรมราโชวาทพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ ๔ พระองค์ และหนังสือเรื่องหลักราชการ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นสำหรับแจกข้าราชการในโอกาสตรุษสงกรานต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ส่วนเรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ทรงพระราชนิพนธ์เพื่ออธิบายให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจแจ่มแจ้งว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เรียกว่า " อริยสัจสี่ "

สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและการแสดงตำนานเสือป่า
สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและการแสดงตำนานเสือป่า

 

ชื่อเรื่อง : สุภาษิตพระร่วง คำโคลงและการแสดงตำนานเสือป่า

ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รวมมิตรไทย

หมายเหตุ : จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตำรวจโทหลวงพิชิตธุระการ (หลง  อัศวรักษ์ )

 

             สุภาษิตพระร่วง โดยมาเป็นโคลง สุภาษิตพระร่วงนี้ของเดิมเป็นกลอน ๔ ลิลิตอย่างโบราณมีคนเก่า ๆ ท่องจำขึ้นปากขึ้นใจกันอยู่มากๆ เช่น "เข้าดงอย่าลืมพร้า เข้าป่าจวนค่ำ"

             การแสดงตำนานเสือป่า " เสือป่า" เป็นชื่อหน่วยนักรบของไทยหน่วยหนึ่งแต่โบราณกาลมา มีหน้าที่เป็นกองคอยเหตุหรือและลาดตระเวนสอดแนมฟังดูข่าวคราวของข้าศึกด้วย เป็นกำลังสำคัญของกองทัพเท่ากับเป็นหูเป็นตาของแม่ทัพ มีคำเรียกผู้ทำหน้าที่ชนิดนี้อีกคำหนึ่ง คือ "แมวมอง" เป็นคำคู่กันเรียกว่า " เสือป่าแมวมอง "

การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน
การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน

 

ชื่อเรื่อง : การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน

ผู้แต่ง : ก่องแก้ว  วีระประจักษ์

พิมพ์ครั้งที่ :  ๒

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๓๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : หจก. สามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์

 

             การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำสมุดไทย การเตรียมใบลานและประโยชน์ของหนังสือสมุดไทยและใบลาน

เรื่องฉากลายรดน้ำ ใน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
เรื่องฉากลายรดน้ำ ใน พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 

ชื่อเรื่อง : เรื่องฉากลายรดน้ำ ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ผู้แต่ง : พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร

ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสนั่น  บุณยศิริพันธุ์ บ.ช.,ภปร.ชั้น ๔

 

         เรื่องฉากลายรดน้ำในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แบ่งออกเป็น ๕ ตอน การเขียนใช้ลารักปิดทองทั้ง ๒ ด้านเป็นเรื่องเดียวกัน ในช่องที่ ๑ เป็นภาพเทพชุมนุม ช่องที่ ๒ เป็นบานพระทวาร เป็นภาพที่แสดงว่าดอกไม้ทองเงินหล่นมาจากสวรรค์และบรรดาประชาชนต่างพากันมาเก็บเอาไป ช่องที่ ๓ พิธีอินทราภิเษก ช่องที่ ๔ แสดงต้นกัลปพฤกษ์ ช่องที่ ๕ คือภาพสุดทางขวาแสดงต้นปาริชาตมีพระอินทร์แท่นแวดล้อมไปด้วยเทพีทั้ง ๔ และมีเทวดานางฟ้ามาจับระบำถวาย

พุทธชัยมงคล ๘
พุทธชัยมงคล ๘

 

ชื่อเรื่อง : พุทธชัยมงคล ๘

ผู้แต่ง : พระยาพจนสุนทร ( เรื่อง  อติเปรมานนท์ )

พิมพ์ครั้งที่ :  ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บุ้นกวง

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานทำบุญอายุครบ ๘๐ ปี พระปรีชาเฉลิม (ติลกะเถระ )

 

           พุทธชัยมงคล ๘ เป็นเรื่องชั้ยชนะของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับสวัสดิมงคลของคนทั่วๆไป มีเรื่องพระยามาร เรื่องอาฬวกยักษ์ เรื่องช้างนาฬาคิรี เรื่ององคุลิมาลโจร เรื่องนางจิญจมาณวิกา เรื่องสัจจกนิครถ์ เรื่องนันโทปนันทนาคราช และเรื่องพกาพรหม

บทกวี นิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่
บทกวี นิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่

 

ชื่อเรื่อง :  บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่

ผู้แต่ง : กุลทรัพย์  เกษแม่นกิจ

พิมพ์ครั้งที่ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : นครปฐม

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญธรรม

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเจตน์  ประยูรเวช

 

          บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่ แต่งพรรณนาถึงสถานที่สองฝั่งน้ำ ตั้งแต่ลำคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่่ จังหวัดนนทบุรีมีสถานที่ซึ่งกวีได้พรรณนาถึงตามรายทางที่ผ่านไปดังต่อไปนี้คือ คลองบางกอกน้อย วังหลัง บางว้าน้อยหรือบางหว้าน้อย วัดอมรินทราราม โรงเรือ บ้านบุวัดสุวรรณาราม วัดศรีสุดาราม บางขุนนนท์ บางผักหนาม บางบำหรุ ฯลฯ

 

 

หิโตปเทศวัตถุปกรณัม
หิโตปเทศวัตถุปกรณัม

 

ชื่อเรื่อง : หิโตปเทศวัตถุปกรณัม

ผู็แต่ง :  หิโตปเทศ

พิมพ์ครั้งที่ : ๖

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๒

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : อมรินทร์การพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจสพ นางช้อย  วันวิเวก

 

        หิโตปเทศ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ แปลตามความกับภาษาสันสกฤตประเภทหนึ่งแต่เป็นร้อยแก้วบ้างเป็นลิลิตบ้าง อีกประเภทหนึ่งจำเอาความมาเล่าตามโวหารของผู้เรียบเรียง

 

 

การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษาฯ
การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษาฯ

 

ชื่อเรื่อง : การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา ฯ

ผู็แต่ง : เพลินพิศ    กำราญ

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

 

                  หนังสือเรื่อง การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษาฯได้เรียบเรียงพระราชพิธีที่เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฎิบัติอยู่ในปัจจุบัน

ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

 

ชื่อเรื่อง : ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน

ปีที่พิมพ์ :๒๕๔๑

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญธรรม

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเรือเอกสุนันท์  บูรณะสิน

 

       ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระนี้เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทย แบ่งได้กว้างๆ ๒ ประเภท คือ ๑ ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัวมีเรื่องทำขวัญเดือน เรื่องบวช เรื่องแต่งงาน และเรื่องตาย เป็นต้น และ ๒ ประเพณีเกี่ยวกับส่วนรวมเนื่องด้วยเทศกาล คือคราวสมัยที่กำหนดขึ้นเป็นประเพณีเพื่อทำบุญและรื่นเริง เช่น ตรุษ สงกราณ์ เข้าพรรษา สารท และออกพรรษาเป็นต้น

บทละครชุดเบ็ดเตล็ดในเรื่องรามเกียรติ์
บทละครชุดเบ็ดเตล็ดในเรื่องรามเกียรติ์

 

ชื่่อเรื่อง :  บทละครชุดเบ็ดเตล็ดในเรื่องรามเกียรติ์

พิมพ์ครั้งที่  :  ๒

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางบุญเตือน  ทองเสริม ต.ม.

 

                    บทละครชุดเบ็ดเตล็ดในเรื่องรามเกียรติ์มีหลายชุดด้วยกันคือ บทจับระบำ บทเรื่องพิราพ บทเรื่องพระนารายณ์ปราบนนทุก บทรำดอกไม้เงินทอง บทเบิกโรงเรื่องจับลิงหัวค่ำ บทเบิกโรงเรื่องรำบรรเลง บทเบิกโรงเรื่องยักษ์สองกรวรวิก บทเบิกโรงเรื่องไพจิตราสูรและเรื่องในตอนหนุมานอาสา

 

หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑
หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. ๑๒๑

 

ชื่อเรื่อง : หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์

พิมพ์ครั้งที่ : ๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ประยูรวงศ์

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมพระสังฆาธิการประจำปี ๒๕๒๕ ณ. วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง

 

         เรื่่องจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑ นี้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้เป็นบันทึกจดหมายเหตุรายวันเมื่อคราวเสด็จไปตรวจราชการในมณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร

อิลราชคำฉันท์และสามัคคีเภทคำฉันท์
อิลราชคำฉันท์และสามัคคีเภทคำฉันท์

 

ชื่อเรื่อง : อิลราชคำฉันท์และสามัคคีเถทคำฉันท์

ผู้แต่ง : ศรีสุนทรโวหาร,พระยา

พิมพ์ครั้งที่ : ๑

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก ผล  ศรีสมพงศ์

 

        หนังสือเรื่องอิลราช คำฉันท์และสามัคคีเภทคำฉันท์เป็นหนังสือที่ดีมีคุณค่า มีอรรถรสให้ข้อคิดและคติสอนใจ สมควรจะใช้เป็นตำราเรียนสำหรับนักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจในวรรณคดีกวีนิพนธ์ไทยได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในสุนทรียภาพของวรรณศิลป์ทำให้เกิดความบันดาลใจในการธำรงค์รักษาและจรรโลงเอกลักษณ์ของไทยทางด้านวรรณคดีกวีนิพนธ์อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนสืบไป

ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง
ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง

 

ชื่อเรื่อง : ความรู้เกี่ยวกับพุทธสาสนาและประเพณีบางอย่าง

ผู้แต่ง : ศิลปากร,กรม

พิมพ์ครั้งที่ :  ๒๓

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ตีรณสาร

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนศึกษาการพิศิษฎ์ ( พิศิษฎ์  หะวานนท์)

 

                     หนังสือความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่างนี้ได้รวบรวมเรื่องต่างๆ ไว้ ๗ เรื่องด้วยกันคือ เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา ปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ประเพณ๊ทำบุญ ประเพณีบวชนาค และตำนานกฐิน

จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

ชื่อเรื่อง :  จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

ผู้แต่ง :  ศิลปากร,กรม

พิมพ์ครั้งที่  :  ๑

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรุงสยามการพิมพ์

                       จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นี้รวบรวมจารึก ๔ หลัก พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้สร้างขึ้นเมื่อประดิษฐานไว้ ณ สถานพยาบาลซึ่งพระองค์ให้สร้างไว้ในเมืองต่างๆ รอบอาณาจักร ได้แก่ จารึกปราสาทตาเมียนโตจจารึกด่านประคำ จารึกปราสาท จารึกทั้ง ๓ หลักนี้พบในบริเวณ จังหวัดสุรินทร์และจารึกพิมายพบที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

พระพุทธปฏิมา รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง
พระพุทธปฏิมา รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง

ชื่อเรื่อง :  พระพุทธปฏิมา รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง

ผู้แต่ง  :  ศิลปากร,กรม,กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์

พิมพ์ครั้งที่ :  ๑

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ไอเดีย สแควร์

              หนังสือเรื่อพระพุทธปฎิมา รัชกาลที่ ๙ ทรงสร้าง กรมศิลปากรได้รวบรวมประวัติพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างในการบำเพ็ญพระราชกุศลตามราชประเพณีและส่วนพระองค์ เท่าที่ปรากฏหลักฐานเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภ์

มูลบทบรรพกิจ
มูลบทบรรพกิจ

 

ผู้แต่ง            :  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย  อาจารยางกูล)

ครั้งที่พิมพ์     :  พิมพ์ครั้งที่ ๒๔

สถานที่พิมพ์  :  พระนคร

สถารที่พิมพ์   :  โรงพิมพ์สามมิตร

ปีที่พิมพ์        :  ๒๕๑๕

เรื่องย่อ        :   ข้อความในหนังสือมูลบทบรรพกิจ สันนิษฐานว่าได้เค้าโคลงมาจากหนังสือจินดามณี ซึ่งพระโหราธิบดีแต่งไว้   ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่คงจะนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย นอกจากนี้ยังแทรกเรื่องกาพย์ พระไชยสุริยัน ซึ่งสุนทรภู่เป็นผู้แต่งไว้ด้วย ทั้งนี้เข้าใจว่า พระยาศรีสุนทรโวหารคงจะเห็นกาพย์พระไชยสุริยาเป็นบทประพันธ์ที่ไพเราะ               อ่านเข้าใจง่ายและเป็นคติ จึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจเป็นตอนๆ ไปตั้งแต่แม่ ก กา จนจบ แม่เกย

ปัญหาพยากรณ์
ปัญหาพยากรณ์

ผู้แต่ง                  -

สถานที่พิมพ์ :     พระนคร

สำนักพิมพ์ :       โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ :           2503

 

เรื่องย่อ   ปัญหาพยากรณ์ มีปัญหาพยากรณ์และวิธีแก้ปัญหาพยากรณืที่น่าสนใจมากมาย อาทิ ปัญหาว่าบรรดาตัวอักษรพยัญชนะไทยตัวไหนจะงามกว่าทุกตัว ปัญหาว่าฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูไหนจะสบายกว่ากัน ปํญหาว่าผมเป็นสิ่งให้เกิดความสุขฤาความทุกข์ กินหมากกับสูบบุหรี่จะยอมเว้นอย่างไหนก่อน ซึ่งแต่ละปัญหาจะมีวิธีแก้ปัญหาทุกปัญหา

ธรรมจักร
ธรรมจักร

ผู้แต่ง : ธนิต  อยู่โพธิ์

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

เรื่องย่อ   ให้รายละเอียดเกี่ยวกับธรรมจักรรูปแบบต่างๆ อาทิ ธรรมจักรศิลา วัดคลองขวาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ธรรมจักรหินทรายแดง วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี ธรรมจักรสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16 ในพิพิธภัณฑ์พระนคร           ธรรมจักรหินปูนระเบียงวิหารคตพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

ผู้แต่ง :            สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

สถานที่พิมพ์ :  พระนคร

สำนักพิมพ์:     โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์ :        2508

เรื่องย่อ   หนังสือกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ถวายสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยทางสำนวนโวหาร นับว่าเป็นหนังสือชิ้นเอกในกวีนิพนธ์เรื่องหนึ่ง ว่าด้วยเนื้อความโอวาทานุสาสนีสำหรับสตรีที่พึงปฏิบัติต่อสามี ล้วนเป็นเนื้อความที่ทรงเลือกค้นสิ่งที่เป็นส่ารประโยชน์มาทรงนิพนธ์ไว้

รำพันพิลาป
รำพันพิลาป

ผู้แต่ง :           สุนทรภู่

ครั้งที่พิมพ์ :    พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ :  พระนคร

สำนักพิมพ์ :     โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร

ปีที่พิมพ์ :         2510

 

เรื่องย่อ : รำพันพิลาป เป็นหนังสือของสุนทรภู่ จิตกวีเอกได้เขียนเมื่อท่านอุปสมบทอยู่วัดเทพธิดารามท่านได้เขียนเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง หลักฐานปูชนียวัตถุภายในวัดไว้อย่างละเอียด ทำให้ทราบว่าภายในวัดมีอะไรบ้างและสำคัญอย่างไร

อุตตรกุรุ
อุตตรกุรุ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ :  มหามกุฎราชวิทยาลัยพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดีในการทรงบำเพ็ญพระกุศลวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

อุตตรกุรุ

           พระราชนิพนธ์บทความ อตตรกุรุ ประกอบด้วยโวหารอันเฉียบขาดและชื่นหู เป็นบทความทางการเมืองให้เปิดเผยแก่มหาชน ด้วยเกรงกันว่าจะเหลี่อมลำ้ตราชูแห่งอำนาจของนักการเมืองแต่ละฝ่าย

สมุทรโฆษคำฉันท์
สมุทรโฆษคำฉันท์

 

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 5

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์คุรุสภา

ปีที่พิมพ์ :  2504

 

สมุทรโฆษคำฉันท์

              หนังสือสมุทรโฆษคำฉันท์ นี้มีผู้แต่งถึง 3 สำนวนด้วยกัน คือ สำนวนที่ 1 ของพระมหาราชครู สำนวนที่ 2 ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำนวนที่ 3 ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ศกุนตลา
ศกุนตลา

 

ผู้แต่ง : พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ไทยวัฒนาพานิช

ปีที่พิมพ์ :  2508

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสิทธิพยากรณ์ 

 

ศกุนตลา

          เรื่องศกุนตลานี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นบทละครรำสำนวนหนึ่ง และบทละครร้องหรือบทละครดึกดำบรรพ์อีกสำนวนหนึ่ง 

กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง :  นายมี  มหาดเล็ก

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งแรก

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ไทยอนุเคราะห์ไทย

ปี่ที่พิมพ์ : 2517

หมายเหตุ :  พิมพ์ทูนเกล้า ฯถวายในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

 

กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

       หนังสื่อเรื่องกลอนเพลงยาวสรรเสริญพรเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงลักษณะการที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยประการต่าง ๆ เช่น เรื่องไฟไหม้วัดระฆัง ในรัชกาลที่ 3 อันไม่ปรากฏในจดหมายเหตุอื่น เป็นต้น

แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ
แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ

แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ 

ผู้แต่ง : กรมสิลปากร

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  วัชรินทร์การพิมพ์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๒๕

 

แบบเรียนหนังสืือภาษาโบราณ

              แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของอักษรนั้น ๆ และการเขียนแบบตัวอักษรต่าง ๆ ที่มีด้วยกัน ๘ แบบตัวอักษร

สุภาษิตอิศรญาณ
สุภาษิตอิศรญาณ

สุภาษิตอิศรญาณ

ผู้แต่ง :  หม่อมเจ้าอิศรญาณ

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๗

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  อักษรเพชรเกษม

ปี่ที่พิมพ์ :  ๒๕๑๒

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ร้อยเอกโปร่ง  เมนะชัย

 

สุภาษิตอิศรญาณ

            สุภาษิตอิศรญาณหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณนั้นเป็นของหม่อมเจ้าอิศรญาณในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทราบเรศ เพลงยาวฉบับนี้จัดเป็นสุภาษิตสอนใจได้และนิยมกันแพร่หลายเช่นที่ว่า " ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ "

ประวัติสำนักงานพระคลังข้างทีและบทละคอนเรื่องท้าวแสนปม
ประวัติสำนักงานพระคลังข้างทีและบทละคอนเรื่องท้าวแสนปม

ประวัติสำนักงานพระคลังข้างที และ บทละคอนเรื่องท้าวแสนปม

ผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๐

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายอรุณ  จันทรางศุ

 

ประวัติสำนักงานพระคลังข้างที และ บทละคอนเรื่องท้าวแสนปม

              พระราชนิพนธ์บทละคอนเรื่องทาวแสนปมนี้มี ๒ สำนวน คือ บทละคอนรำ กับบทละคอนดึกดำบรรพ์ ที่ตีพิมพ์ในเล่มนี้คือบทละคอนรำ เริ่มทรงพระราชนิพนธ์ระหว่างเสด็จกลับจากไปทรงสักการะพระเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 

 

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๒ จารึก ทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้
ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๒ จารึก ทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๒ จารึก ทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้

ผู้แต่ง  :  ยอร์ซ เซเดส์ 

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ศิวพร

ปี่ที่พิมพ์ :  ๒๕๐๔

 

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๒ จารึก ทราวดี ศรีวิชัย ละโว้

            หนังสือประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๒ นั้นพรรณนาเกี่ยวกับจารึกซึ่งค้นพบทางภาคใต้ของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในภาคเหนือของแหลมมาลายูที่มีชื่อว่า ทวารวดี ละโว้ ครหิ และตามพรลิงค์

ตำรากงเต๊ก แลตำรากฐิน
ตำรากงเต๊ก แลตำรากฐิน

ตำรากงเต๊ก แลตำรากฐิน

 

ผู้แต่ง :  พระสงฆ์อานัมนิกาย

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ :  ๒๔๖๘

หมายเหตุ : หุ้มแพร พระโสภณอักษรกิจ ( เล็ก  สมิะสิริ ) พิมพ์ทูลเกล้าฯถวายสนองพระเดชพระคุณในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวครบศตมาหะ ณวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๘

 

ตารากงเต๊ก แลตำรากฐิน

             หนังสือตารากงเต๊กแลตำรากฐินมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ตำราพิธ๊กงเต๊ก พิธีชุมนุมเทพดา พิธีชักธงประกาศ พิธีเชิญวิญญาณ พิธีประกาศสวดพระพุทธมนต์ คำสวดพระพุทธมนต์ ฯลฯ

 

โคลนติดล้อ
โคลนติดล้อ

โคลนติดล้อ

 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  หจก อรุณการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๔๙๘

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย  สมบูรณ์

 

โคลนติดล้อ

             ในการกระทำความติดต่อซึ่งกันและกันในหมู่นานาประเทศนั้น บางทีก็เหลือที่จะแก้ไขป้องกันมิให้เครื่องกีดขาวต่าง ๆ มาติดล้อแห่งความเจริญของชาติได้ ของขีดขวางเหล่านี้ในขั้นต้นก็ดูไม่สู้จะสลักสำคัญอะไรนักแต่ครั้นล่วงเวลาไปก็กลับกลายเป็นของใหญ่โตขึ้นทุกทีจนถึงวันหนึ่งเราจึงรู้สึกว่าแทบจะทนทานไม่ได้

 

สุภาษิตสามอย่าง
สุภาษิตสามอย่าง

สุภาษิตสามอย่าง

 

ผู้แต่ง : เพิ่ม  ช่วยประยูร

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : ไทยเขษม

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๓

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายเพิ่ม ช่วยประยูร

 

สุภาษิตสามอย่าง

            หนังสือเรื่องสุภาษิตสามอย่างมีเนื้อหาเกี่ยวกับ สวัสดิรักษา สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรี

ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

 

ผู้แต่ง  :    -

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๔๗๔

หมายเหตุ : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุทิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม

 

ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม

           หนังสือตำนานพระธาตุพยชนมที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้แต่งในภาษาไทยเหนือ มหาเสวกตรี ตำนานพระธาตุพนมนี้ใครจะเป็นผู็แต่งและแต่งเมื่อใดมีความจริงเพียงไหนไม่ได้ความปรากฏชัด แต่เป็นหนังสือที่นิยมกันอยู่ในภูมิประเทศนั้นเรื่อง ๑ ประกอบกับพระเจดีย์สถานธาตุพนมซึ้งเป็นของโบราณและเป็นที่เคราพนับถือของประชาชนทางประเทศแถบนั้นมาช้านาน ราชบัณฑิตยสถานจึงพิมพ์รักษาไว้มิให้ศูนย์เสีย

 

อสุเรนทรจารีต คำพากย์
อสุเรนทรจารีต คำพากย์

อสุเรนทรจารีต

 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์ :  สมุทรปราการ

สำนักพิมพ์ :  อักษรประเสริฐ

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๕

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงนฤบาลวรภาชน์ ( มัยไกรฤกษ์ ) ต.จ. 

 

อสุเรนทรจารีต คำพากย์

               หนังสืออสุเรนทรจารีต คำพากย์ นี้ได้รวบรวมประวัติการของทศกรรฐ์ และในหนังสือเล่มนี้เรื่องราวบางเรื่องก็มีอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์  ฉบับพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๑

            

สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาทและ สุภาษิตสอนสตรี
สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาทและ สุภาษิตสอนสตรี

 

สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนสตรี

 

ผู้แต่ง ; สุนทรภู่

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ไพศาลวิทยา

ปี่ที่พิมพ์ :  ๒๕๑๐

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาแนกิจศพ นางบุญสุทธ์  ณ นคร

 

สวัสดิรักษาคำกลอนเพลงยาวถวายโอวาส และ สุภาษิตสอนสตรี

          กลอนสุภาษิตของสุนทรภู่ ๓ เรื่องที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ คือ ๑ สวัสดิรักษา เรื่องที่ ๒ เพลงยาวถวายโอวาท เรื่องที่ ๓ สุภาษิตสอนสตรี 

 

เรื่องเมืองนครศรีธรรมราช
เรื่องเมืองนครศรีธรรมราช

เรื่องเมืองนครศรีธรรมราช

 

ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  เสรีบรรพกิจ

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๗

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายจรัส  วิเศษธาร

 

เรื่องเมืองนครศรีธรรมราช

             หนังสือรวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราชนี้ ได้มีการรวมเรื่องต่าง ๆ ไว้ ๔ เรื่อง คือ

๑. เรื่องนครศรีธรรมราช ของนายตรี  อมาตยกุล เป็นเรื่องกล่าวถึงประวัติของเมืองนครศรีธรรมราชและประวัติโบราณวัตถุสถานในเมืองนี้

๒  ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เป็นการเล่าเรื่องเหตุการณ์ของเมืองนครศรีธรรมราชแต่โบราณกาลตลอดจนบอกเขตแดนของเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองอู่ทองไว้ด้วย

๓.   พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช ของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร ) เป็นเรื่องพรรณนาเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองนครศรีธรรมราช

๔.  ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ไม่ปรากฏซื่อผู้แต่ง เรื่องนี้จะเป็นตำนานอย่างนิทานประจำท้องที่ และหนังสือรวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช ได้รวบรวมไว้ ๔ เรื่องในเล่มเดียวกันนี้

ประวัติวัดเขมาภิรตาราม
ประวัติวัดเขมาภิรตาราม

ประวัติวัดเขมาภิรตาราม

ผู้แต่ง :  หลวงวิจิตรวาทการ

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  พระจันทร์

ปี่ที่พิมพ์ :  ๒๕๗๗

หมายเหตุ :  พิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน

 

ประวัติวัดเขมาภิรตาราม

              วัดเขมาภิรตารามตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ( ฝั่งตะวันออก ) ของแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตต์จังหวัดนนทบุรีและอยู่ในตัวเมืองนนทบุรี วัดเขมาภิรตารามนี้นามเดิมเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดเขมา" และในบางครั้งถูกเรียกว่า " วัดเข็นมา " ที่ถูกเรียกเช่นนั้นเพราะเป็นวิถีของไทยเราในครั้งก่อน ถ้าได้ขนานนามอันใดซึ่งมิใช่ภาษาไทย และแปลไม่ได้ก็แปลให้เป็นคำไทยเสีย

บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ
บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ

บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ

ผู้แต่ง : สุวรรณ

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  กรุงไทยการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๙

หมายเหตุ :  พิมพ์แจกในการทอดกฐินสามัคคี ณ วัดหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

 

บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ

            หนังสือบทละครเรื่อง พระมเหลเถไถ นอกจากเพื่อแจกเป็นธรรมทานในการทอดกฐินสามัคคีของคณะคุรุสามัคคีแล้วยังคำนึงถึงคุณค่าของบทประพันธ์ด้วยเพื่อช่วยเชิดชูวรรณกรรมยุคก่อน ๆ ให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสพิสูจน์ค่าคุณ อาจจะเป็นการได้มาซึ่งยุคทองของบทประพันธ์ร้อยกรองอีกวาระหนึ่งก็ได้

 

หลักราชการและประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม
หลักราชการและประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม

หลักราชการและประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : ครั้งที่ ๑

ปีที่พิมพ์  :   ๒๕๒๗

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นาย ฮิ้น  ทิวถนอม

 

หลักราชการและประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม

              เรื่องหลักราชการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ขึ้นสำหรับแจกข้าราชการในโอกาสตรุษสงกรานต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ แต่ถึงแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมาจนบัดนี้หนังสือเรื่องนี้ยังทันสมัยและเหมาะสำหรับข้าราชการจะยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอยู่เสมอ เรื่องประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม ผู้ปฏิบัติตนเป็นคนสุจริตมีศีลธรรมประจำใจย่อมได้รับเกียรติเป็นที่นิยมยกย่องจากบุคคลโดยทั่วไป

ประเพณีทำบุญ
ประเพณีทำบุญ

ประเพณีทำบุญ

ผู้แต่ง  :  เสฐียร  พันธรังษี เปรียญ และ หลวงวิจิตรวาทการ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๖๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : สามมิตร

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๔

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ พระอธิการปุ้ย  จนทโชติ

 

ประเพณีทำบุญ

         เรื่องประเพณีทำบุญของนายเสฐียร พันธรังษี นี้เขียนเป็นเรื่องหนึงในหนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตในหนังสือเล่มนี้จะมีเรื่องต่าง ๆ รวมไว้ ๕ เรื่อง คือ เรื่องประเพณีทำบุญ ประเพณีเลี้ยงลูก ประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน และ ประเพณีทำศพ

เรื่องเครื่องยศ
เรื่องเครื่องยศ

เรื่องเครื่องยศ

ผู้แต่ง : สายไหม  จบกลศึก

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ประเสริฐการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๘

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

 

เรื่องเครื่องยศ

            เครื่องยศ คือ เครื่องหมายหรือเครื่องใช้ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นพระราชทานแก่ข้าราชการของพระองค์เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศตามตำแหน่งและความดีความชอบเพิื่อประกาศความสำคัญให้ปรากฏมีหลักฐานว่ามีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและได้ยกเลิกเสียในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๔

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๑๓

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่องจันทร์   เทวกุล

 

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

            หนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร เกิดขึ้นโดยกระแสพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกสรรเรื่องในพระราชพงศาวดารให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพและทรงคิดทำกรอบกระจกสำหรับรูปภาพทั้งปวงนั้นและให้มีโคลงบอกเรื่องพระราชพงศาวดารตรงที่เขียนติดไว้ประจำทุกกรอบ รูปขนาดใหญ่จำนวนโคลงรูปละ ๖ บทรูปขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนโคลงรูปละ ๔ บท

พงศาวดารเมืองพัทลุง
พงศาวดารเมืองพัทลุง

พงศาวดารเมืองพัทลุง

ผู้แต่ง  :  ศรีวรวัตร ( พิณ  จันทโรจวงศ์ )

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ร.พ. เจริญธรรม

ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๕

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายระพี ( สำอางค์ ) จันทโรจวงศ์

 

พงศาวดารเมืองพัทลุง 

        เรื่องพงศาวดารเมืองพัทลุงนี้แบ่งเนื้อหาเรื่องออกเป็น ๖ ตอน คือ สมัยดึกดำบรรพ์ สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนการปกครองและวิธีปกครองบ้านเมืองในสมัยก่อน ตอนท้ายประกอบด้วย แผนที่ลำดับสกุล คำอธิบายศัพท์และสำเนาลายพระหัตถ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีถึงหลวงศรีวรวัตร

เรื่อง วัดชนะสงคราม
เรื่อง วัดชนะสงคราม

เรื่อง วัดชนะสงคราม

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๑

สถานที่พิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๖

หมายเหตุ :  พิมพ์ชำร่วยในการทอดกฐินพระราชทาน

 

เรื่อง วัดชนะสงคราม

          วัดชนะสงครามเป็นพระอารามหลวงชั้้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่จดถนนจักรพงศ์ ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร และหนังสือวัดชนะสงครามเป็นการรวบรวมเอกสารเรื่องวัดชนะสงครามไว้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงตำนานหรือประวัติ แต่ก็นับว่าช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของวัดชนะสงครามได้

บทเห่กล่อมพระบรรทม
บทเห่กล่อมพระบรรทม

บทเห่กล่อมพระบรรทม

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๒

สถานที่่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ชวนพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐

หมายเหตุ : พิมพ์เป็อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเธียร  ปั้นงา

 

บทเห่กล่อมพระบรรทม

            บทเห่กล่อมนี้ เป็นของกวีแต่งขึ้นสำหรับข้าหลวงร้องเห่พระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ เวลาไกวพระอู่ให้บรรทม บทข้าง ๆ ต้นสังเกตว่าเป็นสำนวนสุนทรภู่แต่งเมื่อในรัชกาลที่ ๒ แต่จะแต่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอเป็นสามัญทั่วไปหรือจะแต่งสำหรับกล่อมพระเจ้าลูกเธอเฉพาะองค์ใดในครั้งนั้น

ประวัติวัดดุสิดาราม
ประวัติวัดดุสิดาราม

ประวัติวัดดุสิดาราม

ผู้แต่ง : พระประสิทธิวีริยคุณ เจ้าอาวาสวัดดุสิดาราม

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร

ปีที่พิมพ์ :  ๒๕๐๒

หมายเหตุ :  พิมพ์ชำร่วยในการทอดกฐินพระราชทานของกรมศิลปากร

 

ประวัติวัดดุสิดาราม

        วักดุสิดาราม จังหวัดธนบุรี เป็นพระอารามที่มีศิลปะน่าสนใจแห่งหนึ่ง เพราะมีจิตกรรมเรื่องพุทธประวัติและเรื่องไตรภูมิกับเทพชุมชมและทวารบาล เขียนไว้เป็นภาพสีที่ผนังและบานประตูหน้าต่างภายในพระอุโบสถ และมีจิตกรรมเรื่องพระสมุทโฆษเขียนใส่กรอบกระจกติดไว้เหนือช่องประตูและหน้าต่างภายในกับมีตัวโบสถ์และวิหารเดิมของวัดภุมรินราชปักษี สร้างขึ้นด้วยแบบสถาปัตยกรรมงดงามประณีตมาก ซึ่งบัดนี้เป็นวัดร้างและได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดดุสิดารามแล้ว 

โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส
โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส

โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส

ผู้แต่ง :  สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์

ฉบับพิมพ์ : ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๙

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในการทอดกฐินพระราชทาน 

 

โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส

        หนังสือโคลงพระราชพิธีทวาทศมาสนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ทรงนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อหาในเล่มนี้กล่าวพรรณานาถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ทั้ง ๑๒ เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน ๕ เป็นต้นไป รวมทั้งพิธีต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านได้ปฏิบัติกันเป็นประเพณี เช่นพิธีสงกรานต์ พิธีลอยกระทง เป็นต้น นับว่าเป็นหนังสือซึ่งอำนวยคุณประโยชน์ในด้านความรู้ไว้เป็นอย่างมาก

 

ประชุมเชิญขวัญ
ประชุมเชิญขวัญ

ประชุมเชิญขวัญ

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนายหวอด  คงเที่ยง 

 

ประชุมเชิญขวัญ

          เรื่องประชุมเชิญขวัญนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนภาพ ได้ทรงรวบรวมจากหนังสือ คำขวัญของเก่า ในหอพระสมุดวชิรญาน และนำมาตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

 

เรื่องมหาดเล็ก
เรื่องมหาดเล็ก

เรื่องมหาดเล็ก

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๗

หมายเหตุ  : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกนายวรการบัญชา ( บุญเกิด สุตันตานนท์ )
 

เรื่่องมหาดเล็ก

          หนังสือเรื่องมหาดเล็ก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี  มหาดเล็ก คืือผู้ที่รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายยิ่งกว่าผู้อื่นจำต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้

โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ ๑๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : รุ่งวัฒนา

ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๑๔

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ๋์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุณห์  บัวแก้ว

 

โคลงโลกนิติ

              หนังสือโคลงโลกนิตินี้เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกคาถาสุภาษิต ภาษาบาลีและสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มีเลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้งแล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก ๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตที่นั้บถือกันมาช้านาน

หอสมุดแห่งชาติสาขา วัดดอนรัก สงขลา และวัดดอนรัก จังหวัดสงขลา
หอสมุดแห่งชาติสาขา วัดดอนรัก สงขลา และวัดดอนรัก จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง : ศรีอุทัย เศรษฐพานิช และ ทัศนีย์  พิกุล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ศักดิโสภา การพิมพ์

ปี่ที่พิมพ์  :  2525

หมายเหตุ  : กรมศิลปากรพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติสาขา วัดดอนรัก สงขลา พ.ศ. 2525

 

         หอสมุดแห่งชาติสาขา วัดดอนรัก สงขลา เกิดขึ้นได้ด้วยความกรุณาอนุเคราะห์ของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี พระภัทรธรรมธาดา เจ้าอาวาสวัดดอนรักองค์ปัจจุบัน ตลอดจนบรรดาข้าราชการ ทหาร พลเรือน พ่อค้า คหบดี และประชาชนจังหวัดสงขลา ซึ่งได้เห็นความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นแหล่งวิทยาการ การศึกษาสำหรับประชาชน

โคลงนิราศนรินทร์
โคลงนิราศนรินทร์

ผู้แต่ง : นรินทร์ธิเบศร์ ( อิน)

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 4

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ  : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเพ็ญแข  พิทักษ์มนูศาสตร์

 

            โคลงนิราศนรินทร์นี้ นายอินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) กวีเอกในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบรมมหาเสนานุรักษ์ได้นิพนธ์ขึ้นระหว่างการเดินทางโดยเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบรวมหาเสนานรักษ์ไปรบพม่าซึ่งยกเข้ามาโจมตีเมืองถลางและเมืองชุมพรในปี พ.ศ. 2352 นับเป็นวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่งที่มีจินตนาการและสำนวนโวหารไพเราะจับใจ

 

พระมหาสังข์พิธี
พระมหาสังข์พิธี

ผู้แต่ง : เพลินพิศ  กำราญ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  วิคตอรี่เพาเวอร์ พอยท์ จำกัด

ปีที่พิมพ์ :   2527

หมายเหตุ :  ธนาคารทหารไทย จำกัด จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสเชิญผ้าพระกฐินหลวงพระราชทานโปรดเกล้าถวาย ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุุโลก

 

พระมหาสังข์พิธี

          งานพระราชพิธีและงานมงคลต่าง ๆในทางพุทธศาสนาหรือในพิธีของพราหมณ์มีการใช้สังข์บรรจุน้ำพระพุทธมนต์ น้ำเทพมนต์ หลั่งประสิทธิ์ประสาทพรเพื่่อความเป็นสิริมงคลและเป็นเกียรติ

ประชุมพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ด ( บางเรื่อง )
ประชุมพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ด ( บางเรื่อง )

ผู้แต่ง  :  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์  :   -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ชวนพิมพ์

ปีที่พิมพ์  :  2509

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพัฒน  วงษ์ขจร

 

ประชุมพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ด ( บางเรื่อง )

            พระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพให้ความรู้ทั้งในด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การปกครอง การศาสนา และอื่น ๆ ซึ่งในเล่มนี้ได้เสนอเรื่องราวตำนานการที่ไทยเรียนภาษาอังกฤษ เรื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เรื่อง นิทานเรื่องเลี้ยงเด็ก    เรื่องความเห็นเรื่องวิชาหัดเด็ด และเรื่องหัดใบพูด

สุภาษิตสอนสตรี
สุภาษิตสอนสตรี

ผู้แต่ง  : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ :  -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  กรุงเทพการพิมพ์

ปีที่พิมพ์  : 2510

หมายเหตุ  : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเต๊ก  ตันสงวน และ นางเเหรียญ  ตันสงวน

 

สุภาษิตสอนสตรี

           สุภาษิตสอนสตรีนี้สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่าง พ.ศ. 2380 จน พ.ศ. 2383 ในเวลาเมื่อสึกกลับมาเป็นคฤห์สถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลงลอยเรืออยู่พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่จะแต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป

เอกสารของเฮนรี่ เบอร์นี่ เล่ม ๒ ตอน ๑
เอกสารของเฮนรี่ เบอร์นี่ เล่ม ๒ ตอน ๑

ผู้แต่ง :     -

ฉบับพิมพ์  :   -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์ :  2518

 

เอกสารของเฮนรี่ เบอร์นี่  เล่ม ๒ ตอน ๑

                เอกสารของเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นหนังสือชุดแปลมาจากหนังสือภาษาอังกฤษเรื่อง  Burney Papers   เป็นหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศเป็นประโยชน์ในด้านประวัติศาสตร์ เอกสารของเฮนรี่ เบอร์นี่ มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างไทยกับอังกฤษ ซึ่งพัวพันถึงพวกรัฐมลายูทั้งหลายในขณะนั้น อังกฤษหวาดระแวงว่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจะรุกรานปีนังและสุลังงอร์ เรื่องสงครามระหว่างอังกฤษและพม่าซึ่งอังกฤษได้เคยขอให้ไทยเข้าช่วยรบพุ่งพม่า และเรื่องเกี่ยวกับไทรบุรี เป็นต้น

 

โคลงนิราศสุพรรณ
โคลงนิราศสุพรรณ

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : ศิวพร

ปีที่พิมพ์  : 2510

หมายเหตุ  :  จัดพิมพ์เนื่องในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิดสุนทรภู่

 

โคลงนิราศสุพรรณ

                    โคลงนิราศสุพรรณของท่านสุนทรภู่ มีความไพเราะซาบซึ้งและให้ความสนุกเพลิดเพลิน โคลงนิราศสุพรรณยังช่วยให้ทราบรายละเอียดในเรื่องการเดินทางไปสุพรรณบุรีของท่านซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาชีวประวัติของท่านเพิ่มเติม และได้ช่วยให้ผู้ที่ยังหลงใหลในเรื่องเล่นแร่แปรธาตุ และหายาอายุวัฒนะ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีผู้เชื่อว่ามี ได้ทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ ดังท่านสุนทรภู่ได้แถลงไว้ชัดเจนแล้วในโคลงนิราศสุพรรณของท่านเรื่องนี้

 

สมุดภาพแสดงเครื่่องแต่งกาย
สมุดภาพแสดงเครื่่องแต่งกาย

ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์   :   พิมพ์ครั้งที่ 7

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์สามมิตร

ปีที่พิมพ์  :   2515

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานบรรจุศพ นายสุเทพ  ศรีเสริมวงศ์

 

สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกาย

         เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของมนุษย์นั้นนอกจากจะเป็นเครื่องประกอบและส่งเสริมความงามแล้ว ยังเป็นเครื่องแบ่งแยกประเภทและแสดงถึงศักดิ์และฐานะทางสังคม สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์

จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘
จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘

ผู้แต่ง :  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่1

สถานที่พิมพ์  :  โรงพิมพ์ครุสภา

ปีที่พิมพ์  :  2506

หมายเหตุ  :   -

 

จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘

             จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้  ฉบับที่ 1  เมืองชุมพร ฉบับที่ 2  ท่าไม้ แขวงเมืองชุมพร  ฉบับที่ 3  พระที่่นั่งรัตนรังสรรค์ ระนอง  ฉบับที่ 4 เรือถลาง หน้าเกาะคอยาว ( เมืองตะกั่วป่า ) ฉบับที่ 5  ที่ประทับตำบลสามกอง เมืองภูเก็ต  ฉบับที่ 6  เรือถลาง เดินทางไปพังงา  ฉบับที่ 7 เรือถลางจอดหน้าเกาะอ่าวนาง แขวงเมืองกระบี่ ฉบับที่ 8  ตำหนักจันทน์ เมืองตรัง  ฉบับที่ 9 พลับพลาตำบลทับเที่ยง อำเภอบางรัก แขวงเมืองตรัง  ฉบับที่ 10  พลับพลาอำเภอเขาขาว  แขวงเมืองตรัง  ฉบับที่ 11 ตำบลกะปางแขวงเมืองนครศรีธรรมราช และ  ฉบับที่ 12 เรือถลาง เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร

 

 

 

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ
พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

ผู้แต่ง  :  สมพร   อยู่โพธิ์

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ 11

สถานที่พิมพ์   :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  ชวนพิมพ์

ปีที่พิมพ์   :   2518

หมายเหตุ   :   กรมศิลปากรพิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเทศกาลเข้าพรรษา

 

พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 

           หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 56  ปาง ซึ่งสร้างขึ้นตามคติที่เชื่อถือกันอยู่ในประเทศไทยแล้ว ยังให้ความรู้เรื่องพระพุทธประวัติ เพราะพระพุทธรูปทุกปางสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพุทธประวัติ

 

ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา
ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา

ผู้แต่ง  :  กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์  :  -

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  ประชาช่าง

ปีที่พิมพ์  :   2511

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ  นางสาวนภา  วังส์ไพจิตร

 

ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา

             ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ราชบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จัดการหอสมุดแห่งชาติในสมัยก่อนได้เรียบเรียงขึ้นไว้ 2 ภาคด้วยกัน คือ ตำนานวัตถุสถานรัชกาลที่ 3  ทรงสร้างและตำนานวัตถุสถานรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเป็นหนังสือที่ให้ความรู้เรื่องวัตถุสถานต่าง ๆ เช่น วัดวาอาราม  พระราชวัง พระที่นั่ง หรือสถานที่อื่น ๆ ซึ่งปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ ล้วนแต่สร้างขึ้นใน 2 รัชกาลนี้

 

 

 

อนิรุทธคำฉันท์
อนิรุทธคำฉันท์

ผู้แต่ง  : ศรีปราชญ์

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 4

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา

ปีที่พิมพ์ : 2522

หมายเหตุ :  พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือโท หลวงชาญชยศึก  ( ชื่่่่น   ชาญชยศึก )

 

อนิรุทธคำฉันท์

              อนิรุทธคำฉันท์ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าสูงทางวรรณคดีหนังสืออนิรุทธคำฉันท์ ได้ทำเชิงอรรถ และนำเรื่อง " ที่มาของอนิรุทธคำฉันท์และบทละครเรื่องอุณรุท " ของนายธานิต  อยู่โพธิ์ พร้อมกับบันทึกสอบเทียบอนิรุทธคำฉันท์ฉบับพิมพ์กับฉบับสมุดไทย ๙ เล่ม ของ นายหรีด  เรืองฤทธิ์  เปรียญมาพิมพ์รวมไว้ด้วย

 

ตำนานพระพุทธเจดีย์
ตำนานพระพุทธเจดีย์

ผู้แต่ง :  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ 6

สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  ศิวพร

ปีที่่พิมพ์  :  2510

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสัมฤทธิ์    สุขประยูร

 

ตำนานพระพุทธเจดีย์

            ตำนานพระพุทธเจดีย์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดพระพุทธเจดีย์ ว่าด้วยประวัติพุทธเจดีย์ สมัยแรกพระพุทธศาสนาเป็นประธานของประเทศว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดสร้างพระพุทธรูป ว่าด้วยพระพุทธเจดีย์สมัยคุปตะ ว่าด้วยพุทธเจดีย์ของพวกมหายาน ว่าด้วยพุทธเจดีย์ในนานาประเทศ ว่าด้วยพระพุทธศาสนาในประเทศสยาม และว่าด้วยพุทธเจดีย์ในสยามประเทศ

ประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหาร
ประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหาร

ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :  การศาสนา

ปี่ที่พิมพ์  :  2516

หมายเหตุ  :  พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

ประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหาร

            หนังสือประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดพนัญเชิงวรวิหารชั้นและตำบลที่ตั้ง เขตและอุปจารวัด ข้อสันนิฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้งวัด หลักฐานและตำนานการสร้างวัด เรื่อง เกี่ยวด้วยนามวัด ความสำคัญและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับวัด เรื่องพระพุทธไตรรัตนนายก  การทำรอและเขื่อนกั้นหน้าวัดพนัญเชิง สิ่งสำคัญภายในวัด ศิลปวัตถุภายในวัด การศึกษา  การศึกษาด้านประชาบาล การศึกษาปริยัติธรรมบาลีแผนใหม่ งานเทศกาล ลำดับเจ้าอาวาสและผลประโยชน์ของวัด

 

 

ประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ผู้แต่ง :  -

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ 4

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  การพิมพ์พระนคร

ปีที่พิมพ์  :  2526

หมายเหตุ :    -

 

ประวัติหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และคุณอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อทวด

           ตำนานเกี่ยวกับชีวประวัติของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ประวัติการสร้างพระเครื่่อง และคุณอภินิหารพระเครื่องสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ได้คัดสำเนาหนังสือพงศาวดารจากเทศาภิบาล เล่มที่ 3 - 4 ร.ศ 126  สำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่า ว่าด้วยการพระราชทานที่กัลปนา และยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรม วิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมืองมาลงไว้บางตอน

สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ผู้แต่ง  :  ศุกลรัตน์  ธาราศักดิ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์ :  2531

หมายเหตุ :   -

 

สัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

        หนังสือสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จัดพิมพ์ขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น รายละเอียดหนังสือเป็นเรื่องที่กล่าวย้อนไปถึงความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างประเทศทั้งสอง นับตั้งแต่ที่ผู้คนของทั้งสองชาติได้มีการติดต่อไปมาหาสู่ทำการค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างกันในยุคแรก ๆ ของกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปด้วยดีในยุคสมัยนั้น ๆ

ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 9

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  รัชดารมภ์การพิมพ์

ปีที่พิมพ์ :  2510

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโท หลวงสุนทรเขตพิทักษ์ ( ยิ้ม  รมยะรูป ) 

 

ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต

        ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต มี 5  เรื่อง คือ ประเพณีบุญ  ประเพณีเลี้ยงลูก  ประเพณีบวชนาค   ประเพณีแต่งงาน  และประเพณีทำศพ

นิทานเทียบสุภาษิต
นิทานเทียบสุภาษิต

ผู้แต่ง : พระยาสีหราชฤทธิไกร  ( ทองคำ  สีหอุไร )

ฉบับพิมพ์ :   -

สถานที่พิมพ์  :   กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์   :   พ. พิทยาคาร

ปีที่พิมพ์  :  2508

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพ นายบุญชัย  ตัณฑ์วิไล

 

นิทานเทียบสุภาษิต

            นิทานเทียบสุภาษิตนี้พระยาสีหราชฤทธิไกร ( ทองคำ  สีหอุไร ) ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้มีความจงรักภักดีและถวายบังคมลาออกบวขถวายกุศล ณ วัดราชบพิธ ตั้งแต่วันถวายพระเพลิงพระบรมศพจนได้เป็นพระสุวรรณรัศมี และถึงมรณภาพในสมณเพศ ได้อุตสาหะรวบรวมแต่งเป็นนิทาน 84  เรื่อง กรรมการราชบัณฑิตยสถานได้ตรวจแก้ไขถ้อยคำและอนุญาตให้จัดพิมพ์ออกเป็นภาคได้รวม 8  ภาค

ประเพณีทำศพและประเพณีบวชนาค
ประเพณีทำศพและประเพณีบวชนาค

ผู้แต่ง :  -

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์  :  พระนครศรีอยุธยา

สำนักพิมพ์ :  รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์  :  2507

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเชื่อม  จันทร์สว่าง

 

ประเพณีทำศพ และประเพณีบวชนาค   

           เรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีทำศพ การบอกหนทาง การอาบนำ้ศพ การแต่งตัวศพ การมัดศพ ข้างขึ้นเผาคี่ ข้างแรมเผาคู่ เดินสามหาบ แปรรูปและเก็บอัฐิ ประเพณีบวชนาคนั้นเป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว ความประสงค์ของการบวชนาคเดิมเมื่อแรกเกิดการบวชนาคขึ้น แต่ครั้งพระพุทธเจ้านั้นก็ประสงค์จะทรงทำให้ถึงพระอรหัตผล พ้นจากกิเลส กองทุกข์ทั้งปวง

ตำนานหอพระสมุด
ตำนานหอพระสมุด

ผู้แต่ง :  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์  :  พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  อักษรเจริญทัศน์

ปีที่พิมพ์ :  2512

หมายเหตุ  :  พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอินทเปญญา (สะราคำ  วัตถา ) 

 

ตำนานหอพระสมุด 

            เป็นประวัติโดยละเอียดของหอพระสมุดตั้งแต่แรกเริ่มจนถึง พ.ศ. 2459 ได้อธิบายถึงการรวบรวมหนังสือ การจัดหนังสือ การขยายกิจการงานของหอพระสมุด อุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินงาน

พงศาวดารเมืองสงขลา
พงศาวดารเมืองสงขลา

ผู้แต่ง :  พระยาวิเชียนคีรี

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 10

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ : ส. การพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : 2516

หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานศพพระยาอภิรักษ์  ราชอุทยาน ( ทิตย์  ณ สงขลา )

 

พงศาวดารเมืองสงขลา    ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองสงขลา และประวัติความเป็นมาของต้นสกุล ณ สงขลาสืบต่อกันลงมาในด้านเกียรติประวัติเป็นคู่กันกับเรื่องราวของเมืองสงขลา

ประเพณีบวชนาค
ประเพณีบวชนาค

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์ :  มนตรี

ปีที่พิมพ์  : 2503

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานอุปสมบท นายดำรง เดชะศิริ และนายดำริ  เดชะศิริ

ประเพณีบวชนาค

           คุณประโยชน์ของการบวช การบวชโดยพยัญชนะแปลว่า เว้น คือเว้นเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อมเสียเศร้าหมอง เดือดร้อนทางกายวาจาใจโดยอรรถ หมายถึงการน้อมนำกาย วาจาใจ เข้าอยู่ในกรอบขอบเขตแห่งพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นระเบียบอันประณีตโดยตลอด และเป็นยอดแห่งระเบียบที่ดีทั้งหลาย หรือ หมายถึงการเชื่อมกาย วาจา ใจ นั้นให้ซึมซาบเอิอาบด้วยศีลธรรม

ตำนานพระปริตร
ตำนานพระปริตร

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ ๕

สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๑

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นางชะอุ่ม จุฑาสมิต

ตำนานพระปริตร

                   ตำนานพระปริตร เป็นคำอธิบายมูลเหตุที่จะเกิดมีราชปริตรและลักษณะการสวดพระปริตร ตำนานคณะสาธยาด ตำนานสาธยายธรรม ตำนานสาธยายปริตร พระปริตรภาณวาร ราชปริตรสวดพระพุทธมนต์ในประเทศสยาม สวดสาธยายพระธรรม สวดภาณวาร สวดพระปริตร สวดทำน้ำพระพุทธมนต์ มหาทิพมนต์ สวดพระพุทธมนต์เนื่องกับไสนศาสตร์ และสวดนวคหายุสมธรรม