ปรับขนาดอักษร
  • ประชาสัมพันธ์

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม (แหล่งมรดกโลก) ณ ประเทศเนปาล

๑.ชื่อโครงการ

          โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม (แหล่งมรดกโลก) ณ ประเทศเนปาล

๒. วัตถุประสงค์

          ๒.๑ เพื่อพัฒนาบุคลกรอันเป็นกระบวนการการบริหารบุคลากรภาครัฐแนวใหม่ เป็นการบริหารทุนมนุษย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพยากรบุคคลมีสมรรถนะสูงขึ้น เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร

          ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งมรดกโลกด้านวัฒนธรรมในสถานที่จริงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเปิดมุมมองและโลกทัศน์อันกว้างไกล และนำมาใช้และประยุกต์ให้เข้ากับการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกและงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของประเทศให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับนานาชาติ

 

๓. กำหนดเวลา  วันที่ ๒๑ – ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖

 

๔. สถานที่

    วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๖

           ๑. สนามบินตรีภูวัน

           ๒. เมืองปัคตาปูร์ (BHAKTAPUR CITY)

           ๓. จัตตุรัสปัคตาปูร์ดูร์บาร์ “ BHAKTAPUR DURBAR SQUARE”

           ๔. เดินดูวิถีชีวิตชาวเมืองปัคตาปูร์

           ๕. ที่พัก (THE FORT RESORT)

    วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๖

           ๑. ยอดเขานากาก็อต เมืองนากาก๊อต

           ๒. วัดชางกูนารายันต์ (Changunarayan)

           ๓. อนุสาวรีย์พระเจ้าภูปฏินทรามัลละและพระมเหสี

           ๔.  มหาสถูปเจดีย์ วัดสวยมภูนาถ “SWAYAMBHUNATH “  หรือ วัดลิง

           ๕.  พระราชวังกาฐมัณฑุ“ HANUMANDHOKA OF KATHMANDU DURBAR SQUARE

                 พระราชวังโบราณหนุมานโดการ์ วัดเทพตาเลจู “TALEJU TEMPLE”  พิธีแห่กุมารีเมืองกาฐมัณฑุ

                 ตำหนักกุมารี “KUMARI BAHAL”

           ๖. ภัตตาคารพื้นเมือง UTSAV RESTAURANT

    วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖

           ๑.วัด บ้านกุมารีเมืองปาทัน

           ๒.วัดทองคำ “GOLDEN TEMPLE

           ๓. จัตุรัสปาทัน ดูร์บาร์ “PATAN DURBAR SQUARE” พระราชวังโบราณแห่งเมืองปาทัน 

               “PATAN DURRAR SQUARE  พิพิธภัณฑ์เมืองปาทัน

            ๔. วัดพุทธ

            ๕. เจดีย์พุทธนาท “BoudHANATH”

            ๖. ย่านทาเมล

     วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖

            ๑. วัดปศุปตินาถ “ PASHUPATINATH TEMPLE”

            ๒. กลับสนามบินตรีภูวัน

 

๕. หน่วยงานผู้จัด

            สำนักบริหารกลาง กลุ่มแผนงาน กรมสิลปากร

 

๖. หน่วยงานผู้สนับสนุน

            กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

 

๗. กิจกรรม  

           วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๖ ( กาฐมัณฑุ – พระราชวังภัคตาปูร์ – ที่พักยอดเขานากาก๊อต)

         ออกจาก สนามบินสุวรรณภูมิ ถึง สนามบินตรีภูวัน ประเทศเนปาล ดูแหล่งมรดกโลกเมืองปัคตาปูร์ (BHAKTAPUR CITY)จัตตุรัสปัคตาปูร์ดูร์บาร์ “ BHAKTAPUR DURBAR SQUARE” เดินดูวิถีชีวิตชาวเมืองปัคตาปูร์ตอนเย็นเข้าที่พัก (THE FORT RESORT)บนยอดเขานาการ์ก๊อต

           วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๖

          ออกจากเมืองนากาก๊อต  ดูวัดชางกูนารายันต์ (Changunarayan)  ไปอนุสรีย์พระเจ้าภูปฏินทรามัลละและพระมเหสี  ไปหมู่บ้านบุงกามาติ รับประทานอาหารกลางวันที่ภัตตาคารจีน จากนั้นไปมหาสถูปเจดีย์ วัดสวยมภูนาถ “SWAYAMBHUNATH “  หรือ “วัดลิง”  ออกจากวัดลิงไปกาฐมัณฑุ ดูพระราชวังกาฐมัณฑุ“ HANUMANDHOKA OF KATHMANDU DURBAR SQUARE  ดูพระราชวังโบราณหนุมานโดการ์ ดูวัดเทพตาเลจู “TALEJU TEMPLE”ดูพิธีแห่กุมารีเมืองกาฐมัณฑุ ดูตำหนักกุมารี “KUMARI BAHAL”  ตอนเย็นทานอาหารที่ภัตตาคารพื้นเมือง UTSAV RESTAURANT  เข้า พักโรงแรม THE EVEREST HOTEL

           วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖

          ภาคเช้าดูวัดและบ้านกุมารีเมืองปาทัน  จากนั้นเดินในเมืองปาทัน “Patan”ชมจัตุรัสเมืองปาทัน ดูร์บาร์ “PATAN DURBAR SQUARE”พระราชวังโบราณแห่งเมืองปาทัน “PATAN DURRAR SQUAREไปวัดทองคำ “GOLDEN TEMPLEกลับมาพิพิธภัณฑ์เมืองปาทัน ไปวัดพุทธ  ไปเจดีย์พุทธนาท “BoudHANATH”ทานอาหารกลางวันที่ภัตตาคารเป็นอาหารท้องถิ่นที่หน้าเจดีย์พุทธนาท ช๊อบปิ้งที่ย่านทาเมล ค่ำทานอาหารเย็นที่ภัตตาคารครัวไทย (อาหารไทย)

           วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖

          ภาคเช้าไปวัดฮินดู ดูวัดปศุปตินาถ “ PASHUPATINATH TEMPLE”ไปท่าอากาสยานตรีภูวัน กลับสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย

 

๘. คณะผู้แทนไทย

ส่วนกลาง
      ๑.  นางสุนิสา จิตรพันธ์                                ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง

      ๒. นางสาวนารีรัตน์ อ่ำเจริญ                         หัวหน้าฝ่ายการเงิน กลุ่มคลังและพัสดุ

      ๓. นายสามารถ จินสกุล                               หัวหน้าฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ

สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
      ๔.  นางศาริสา จินวงษ์                                  หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนตรคีรี

สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี
      ๕.  นางสาวสำเนา จาดทองคำ                       งานทะเบียนคลังโบราณวัตถุ

สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
      ๖.  นางนฤมล เก่าเงิน                                   หัวหน้าพิพิธภัณสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
      ๗.  นางเสน่ห์ ประกอบทอง                            หัวหน้าพิพิธภัณสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี

สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
      ๘.  นางสาวธนาพร ชูชื่น                                หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี

สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
      ๙.  นายประพันธ์ ภักตร์เขียว                           หัวหน้าพิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช

สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน
      ๑๐.  นางสาวชลลดา สังวร                              หัวหน้าพิพิธภัฑสถานแห่งชาติ น่าน
      ๑๑.  นายนภดล ภู่ชัย                                      หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ พะเยา

สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่
      ๑๒.  นางสาวศิริพร ภาณุรัตน์                           หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เชียงใหม่

สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น
      ๑๓.  นางธาดา สังข์ทอง                                 หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด
      ๑๔.  นางลัดดาวัลย์ ทิพย์สิงห์                          หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติ นครพนม

สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี
      ๑๕.  นายทัศนะ ภูผาธรรม                               หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน

สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
      ๑๖.  นางชูศรี เปรมสระน้อย                             หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์

สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต
      ๑๗.  นายธราธร ชมเชย                                   หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตรัง

 

๙. สรุปสาระกิจกรรม

       ประเทศเนปาลอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ ๑๔๗,๑๘๑ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ๙ ใน ๑๐ ส่วนของพื้นที่ประเทศเนปาลอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ภูมิประเทศสวนใหญ่เป็นภูเขา การเดินทางและเส้นคมนาคมแต่ละแห่งยากลำบาก เนปาลไม่มีทางออกทะเล มีประชากร ๒๓ กว่าล้านคน ใช้ภาษาเนปาลีและภาษาอังกฤษ เงินตราเป็นสกุลเนปาลีรูปี มีเมืองหลวงชื่อ “กาฐมัณฑุ” มียอดเขาที่รู้จักคือ “ยอดเขาเอเวอร์เรสต์” ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยระหว่างเนปาลตอนเหนือและทิเบต มีสนามบินชื่อ ตรีภูวัน  ชื่อเดียวกับพระมหากษัตริย์ตรีภูวันแห่งเมืองกาฐมัณฑุ แต่ไม่ใหญ่ ศาสนาที่สำคัญของเนปาลมี ๒ ศาสนา คือ “ศาสนาฮินดู”และ”พุทธศาสนานิกายมหายาน”แต่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

       การได้มาศึกษาดูงานครั้งนี้ ทำให้รู้จักประเทศเนปาลดีมากขึ้น ทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การคมนาคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและประเพณี พิธีกรรม โดยเฉพาะแหล่งมรดกโลกทางศิลปวัฒนธรรมในหุบเขากาฐมัณฑุ ซึ่งเป็นนครโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีตจำนวน  ๓ แห่ง  คือ เมืองปัคตาปูร์  เมืองกาฐมัณฑุและเมืองปาทัน นอกจากนี้ยังมี วัด ศาสนสถาน หัตถกรรมพื้นบ้านต่างๆ มากมาย ให้ศึกษาและชมรวมถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและเทศกาลที่มีชื่อเสียงระดับโลกคือพิธีแห่เทพกุมารี