ปรับขนาดอักษร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมและทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
ภาพรวมและทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)

 

 

 

 

จินางค์กูร โรจนนันต์

ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

26 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) กรมศิลปากร

ประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสำหรับตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ประสบการณ์ในงานที่หลากหลายสำหรับตำแหน่งประเภทอำนวยการ

 

 

 

 

วันที่ ๒๙ มกราคาม พ.ศ. ๒๕๕๙

The Royal
The Royal
ร่วมด้วยช่วยกัน :การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่น
ร่วมด้วยช่วยกัน :การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่น

       ร่วมด้วยช่วยกัน:การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในงานพัฒนาชุมชน (Participatory Action Research in Community Development) โดย ใช้การทำงานโบราณคดี พิพิธภัณฑ์และวิถีวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน กระบวนการ ในพื้นที่ตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร และพื้นที่ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างปี พ.ศ. 2550-2555 พบว่า

        การที่ชุมชนจะสามารถ จัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในท้องถิ่นร่วมกันได้ สมาชิกผู้เกี่ยวข้องควรได้รับการพัฒนาทั้งในด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชน ท้องถิ่น         ด้วยกิจกรรมต่างๆที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นนั้น เพื่อเสริมสร้างความรู้สึกไว้วางใจและเชื่อมั่นระหว่างกัน ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน เกิดการรวมกลุ่มที่แน่นเหนียว และเข้าใจว่าทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นมีประโยชน์ทั้งในด้านคุณค่าทาง สังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนต้องร่วมกันจัดการเพื่อให้วัฒนธรรมของชุมชน ท้องถิ่นยังคงดำรงอยู่สืบไป

         การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ในชุมชนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นมักอยู่ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ย่านประวัติศาสตร์หรือแหล่งโบราณสถาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงร่วมกัน จะช่วยให้คนในชุมชนท้องถิ่นมองเห็นแนวทางการจัดการที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นตนและสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง สามารถพึ่งตนเองได้และพี่งพาอาศัยกันเองได้ทั้งในทางความคิด การตัดสินใจและวิธีการปฏิบัติที่เกิดผลได้จริง อันจะสามารถก่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นร่วมกันได้ อย่างยั่งยืน

ผู้เขียน: 
สุกัญญา เบาเนิด และ วสันต์ เทพสุริยานนท์
คำอธิบาย: 
โครงการเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม ปี2555
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
1

 

โครงการองค์ความรู้เรื่อง ใบเสมาอิสาน เล่มแรก (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)
โครงการองค์ความรู้เรื่อง ใบเสมาอิสาน เล่มแรก (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)

โครงการองค์ความรู้เรื่อง  ใบเสมาอิสาน เล่มแรก  (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)

 

ผู้เขียน: 
สำนักศิลปากรที่ 9,10 ,11 ,12
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
เล่มแรก
ร่วมด้วยช่วยกัน: การจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ร่วมด้วยช่วยกัน: การจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

           ร่วมด้วยช่วยกัน: การจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการถอดประสบการณ์จากการเสริมสร้างกระบวนการเครือข่ายมรดกศิลปวัมนธรรม ซึ่งสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี โดย นางสาวสุกัญญา เบาเนิด และ นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ นักโบราณคดีชำนาญการ ร่วมกับชุมชนตำบลเจียด ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔ โดยใช้งานโบราณคดี งานพิพิธภัณฑ์ และงานเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากองค์ความรู้ทางโบราณคดี เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกระบวนการ

 

ผู้เขียน: 
สุกัญญา เบาเนิด และ วสันต์ เทพสุริยานนท์
คำอธิบาย: 
พ็อกเก็ตบุ๊ก ปกพิมพ์4สี 230 หน้าไม่รวมปก เนื้อในพิมพ์สีเดียวด้วยกระดาษถนอมสายตา
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554 จำนวน 1000 เล่ม
การจัดการความรู้ :กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม
การจัดการความรู้ :กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม

การจัดการความรู้:กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม ทำการถอดประสบการณ์เป็นบทเรียนจากผู้ปฏิบัติงานเสริมสร้างเครือข่ายมรดก ศิลปวัฒนธรรมในแต่ละสำนักศิลปากรพื้นที่จำนวน 10 คน 14 โครงการ ที่ดำเนินงานอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 เพื่อเรียบเรียงเป็นองค์ความรู้หนึ่งของกรมศิลปากร ด้วยการตอบแนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งพบว่า

           ผู้ปฏิบัติงานเริ่มต้นโครงการด้วยเห็นความสำคัญและอยากจะอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุหรือแหล่งโบราณคดีในพื้นที่เป็นสำคัญ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนในท้องถิ่นนั้น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด ชาวบ้านและโรงเรียน เป็นต้น อยากจะร่วมอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ใน รูปแบบของแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แต่ยังขาดความรู้และทิศทางที่ชัดเจน

            กิจกรรมสำคัญในโครงการจึงเริ่มด้วยการให้ความรู้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงเป็นการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ กำหนดแนวทางปฏิบัติงานเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น ร่วมกัน การสามารถสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน การร่วมกันปฏิบัติและร่วมรับผลที่เกิดขึ้น ได้นำไปสู่ความเป็นเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมระหว่างกรมศิลปากรและชุมชน ท้องถิ่นนั้น

         ผลผลิตที่เกิดขึ้นจาก กิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น มักจะเห็นได้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น และย่านประวัติศาสตร์โบราณคดี ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและเป็นระบบโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก

          ความเป็นเครือข่ายระหว่างกันจะดำรงอยู่ได้จาก การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องด้วยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้กรมศิลปากรควรมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการสนับสนุนกลุ่มเครือข่าย มรดกศิลปวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชน ท้องถิ่นหรือย่านประวัติศาสตร์โบราณคดี และมีการติดตามประเมินผลความเป็นเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง

 

ผู้เขียน: 
วสันต์ เทพสุริยานนท์ และ สุกัญญา เบาเนิด
คำอธิบาย: 
โครงการจัดการความรู้ของกรมศิลปากร ปี2555
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
1
โครงการองค์ความรู้เรื่อง ใบเสมาอิสาน เล่มสอง (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)
โครงการองค์ความรู้เรื่อง ใบเสมาอิสาน เล่มสอง (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)

โครงการองค์ความรู้เรื่อง  ใบเสมาอิสาน เล่มสอง  (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๒)

ร่วมด้วยช่วยกัน อนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ร่วมด้วยช่วยกัน อนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลนาอุดม อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นผลผลิตหนึ่งจากกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมของสำนัก ศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ที่ดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าวระหว่างปี ๒๕๕๐-๒๕๕๒ ซึ่งเป็นการทอดบทเรียนจากประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่โดยใช้แนวคิดแบบ "ชุมชนร่วมรัฐในงานวัฒนธรรม" ที่มีขั้นตอน(๑)การศึกษาชุมชนและประเมินศักยภาพ(๒)การสร้างความไว้ วางใจ(๓)การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน(๔)การมีกิจกรรมร่วมกัน(๕)มีปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอและวิธีการทางโบราณคดีเป็นเครื่องมือในการ สร้างกระบวนการเครือข่าย

ผลการดำเนินงานพบว่าสามารถเสริมสร้างความเป็นเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งโบราณคดีโนนหนองหอได้กับกลุ่มสมาชิกในชุมชนได้ในระดับที่น่า พอใจ โดยมีผู้นำชุมชน คือ พระอธิการธานินทร์ วิสุทธิสาโร เจ้าอาวาสวัดนาอุดมวนาราม เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี และ ชาวชุมชนนาอุดม ได้เป็นอย่างดีบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น จนเกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม-โนนหนองหอร่วมกัน อีกทั้งยังสามารถสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีให้กับสมาชิก ในชุมชนได้ จนเกิดความรู้สึก "เสียดาย" ที่แหล่งเคยถูกทำลายลงไป แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานต่างๆที่ยังเหลืออยู่ก็ยังสามารถนำมาจัดแสดงเป็นองค์ ความรู้ร่วมกันในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนได้ ซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการแหล่งโบราณคดีที่เสื่อมสภาพจากการถูก ทำลายต่อไป

 

ผู้เขียน: 
สุกัญญา เบาเนิด และ วสันต์ เทพสุริยานนท์
คำอธิบาย: 
เครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ ๑
โครงการองค์ความรู้เรื่อง ธาตุอิสาน (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๓)
โครงการองค์ความรู้เรื่อง ธาตุอิสาน (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๓)

โครงการองค์ความรู้เรื่อง  ธาตุอิสาน (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๓)

 

ผู้เขียน: 
สำนักศิลปากรที่ 9,10 ,11 ,12
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
เล่มแรก