ปรับขนาดอักษร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

กฏหกคำฉันท์
กฏหกคำฉันท์

ผู้แต่ง : หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2472

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอกหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) มีมะเส็ง พ.ศ. 2472

       เป็นหนังสือที่ใช้คำประพันธ์ร้อยกรองคำฉันท์ เพื่อเล่านิทานเรื่องนิบาตชาดก

ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์
ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2554

หมายเหตุ : -

               ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความซึ่งค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลจากประวัติศาสตร์หลักฐานที่ปรากฏในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เป็นหลัก และบางบทความก็เป็นการแสดงความคิดเห็นอันเกิดจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน โดยในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทความเรื่องต่างต่างๆ ได้แก่ บทบาทของอังกฤษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยรัชกาลที่ 3 การเมืองสยามในสายตาของเฮนรี เบอร์นีย์ การเมืองไทยในหัวเมืองปักษ์ใต้ในอดีตกับจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ ปัตตานีในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชกับการทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (กรณีเมืองไทรบุรี) กบฏไทรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 นโยบายของอังกฤษที่สเตรตส์ เซตเทิลเมนตส์ และความสัมพันธ์กับสยาม และประเพณีในราชสำนักที่ปรากฏในเอกสารเบอร์นีย์

พหลาคาวีคำฉันท์
พหลาคาวีคำฉันท์

ผู้แต่ง : หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก)

ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2556

หมายเหตุ : -

               พหลาคาวีคำฉันท์ เป็นผลงานประพันธ์ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) กวีที่มีความสามารถสูงยิ่งผู้หนึ่งในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์ พหลาคาวีคำฉันท์มีที่มาจากปัญญาสชาดกเรื่องพหลาคาวีชาดก ซึ่งเป็นนิทานเก่าแก่ของไทยที่พระภิกษุชาวล้านนานำมาแต่งเป็นชาดกเมื่อราวปีพุทธศักราช 2000-2200 หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) นำเอาเรื่องพหลาคาวีชาดก มาแต่งเป็นคำฉันท์ ประกอบด้วยคำประพันธ์ 6 ชนิด ได้แก่ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 โตฎกฉันท์ 12 วสันตดิลกฉันท์ 14 ฉบังกาพย์ 16 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19 และสุรางคนางค์กาพย์ 28

โขน อัจฉริยะลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย
โขน อัจฉริยะลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ :พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2553

หมายเหตุ : -

               เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ประจำชาติที่มีการพัฒนาสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นมหรสพของหลวงที่เล่นสมโภชในงานพระราชพิธีสำคัญ ๆ โขน เป็นประมวลวิจิตรศิลป์หลายสาขาไว้ด้วยกัน กล่าวคือ กระบวนท่ารำและกระบวนรำจัดเป็นนาฏศิลป์ หน้าโขนหรือหัวโขนที่ผู้แสดงสวมใส่ต้องขึ้นรูปด้วยดินจัดเป็นงานประติมากรรม หัวโขนที่ทำด้วยกระดาษ เขียนลวดลายลงสีเป็นงานจิตรกรรม ส่วนประกอบของอาภรณ์เครื่องประดับต่าง ๆ ปักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงด้วยงานหัตถศิลป์ชั้นสูง เรื่องราวที่นำมาแสดงคือรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่ง และในการแสดงต้องมีวงปี่พาทย์ประกอบ จึงนับว่าเป็นมหรสพที่ประกาศความเป็นอัจฉริยลักษณ์ของงานประณีตศิลป์ไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ

วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง
วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรศรีสมิต

ปีที่พิมพ์ : 2473

หมายเหตุ : พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ์ โปรดให้พิมพ์เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473

                 ทรงพระราชวินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้เข้ามาทางสายภาษาบาลี แต่มาจากหนังสือมหาภารตะ เหมือนเรื่องรามเกียรติ์ที่มาจากสายพราหมณ์เช่นเดียวกัน

 

พระอภัยมณี (ตอนที่ 31-35)
พระอภัยมณี (ตอนที่ 31-35)

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมนัศมานิต (ชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2509

 

                หนังสือเรื่องพระอภัยมณีนี้  เป็นคำกลอน เฉพาะตอนที่ 31-35 ที่มีความไพเราะและมีคุณค่าทางวรรณคดีอย่างยิ่ง ในท้ายเล่มจะมีเรื่องสมบัติกวี  ของศุภร  บุนนาค เฉพาะบางตอนมาตีพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน

ตำนานมูลศาสนา
ตำนานมูลศาสนา

ผู้แต่ง : พระพุทธพุกาม, พระพุทธญาณ.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2482

หมายเหตุ : นายพันตำรวจเอก พระยาทรงพลภาพ พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานประชุมเพลิง คุณหญิงทรงพลภาพ (ชุน พลธร) ณ เมรุวัดจักรวรรดิราชาวาส วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2482

 

               หนังสือตำนานมูลศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติทางพุทธศาสนา และเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประชาชนในแหลมสุวรรณภูมิสมัยโบราณ

พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานไปยังประเทศจีน กับประวัติวัดเศวตฉัตร
พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานไปยังประเทศจีน กับประวัติวัดเศวตฉัตร

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์หญิงเจียน ฉัตรกุล 21 กรกฎาคม 2505          

               พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานไปยังประเทศจีน กับประวัติวัดเศวตฉัตร เล่มนี้ ในตอนต้นกล่าวถึงประวัติวัดเศวตรฉัตร และรวบรวมพระราชสาส์นไปเมืองจีน ครั้งรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีมะโรง ฉศก จุลศักราช 1146 พ.ศ. 2327 เมื่อปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช 1148 พ.ศ. 2329 เมื่อปีจอ โทศก จุลศักราช 1152 พ.ศ. 2333 เมื่อปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 1154 พ.ศ. 2335 เมื่อปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 1157 พ.ศ. 2338 เมื่อปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช 1159 พ.ศ. 2340 เมื่อปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1161 พ.ศ. 2342 พระราชสาส์นพระเจ้าเค่งเกียบอกงานพระบรมศพพระปิตุราช พระราชสาส์นพระเจ้าเค่งเกีย ตอบพระราชสาส์นรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ มีไปเมื่อปีมะเมีย สัมฤทธิศก จุลศักราช 1160 พ.ศ. 2341 พระราชสาส์นพระเจ้าเค่งเกียบอกงานฝังพระบรมศพพระปิตุราช และพระราชสาส์นเมืองจีน มีมาในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 1167 พ.ศ. 2348

พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอังกฤษ
พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอังกฤษ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2502

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทางเพลิงศพ หลวงรัตนเทพ (นพวรรณ บุรณศิริ) 9 พฤษภาคม 2502          

               พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอังกฤษ เล่มนี้ ได้รวบรวมพระราชสาส์น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานมอบเซอร์ยอนโบวริงไปยังกรุงอังกฤษเมื่อครั้งเซอร์ยอนโบวริงเป็นราชทูตเข้ามาทำหนังสือสัญญาอังกฤษ พระราชสาส์น พระราชทานไปยังกรุงอังกฤษ จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398) จ.ศ. 1219 (พ.ศ. 2400) และ จ.ศ. 1223 (พ.ศ. 2404) พระราชสาส์น พระราชทานมาจากสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระบรมราชินีประเทศอังกฤษ จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398) พระราชสาส์น พระราชทานมาจากกรุงอังกฤษ จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398) และ จ.ศ. 1221 (พ.ศ. 2402) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องตั้งกงสุลฝ่ายสยามในกรุงอังกฤษ จ.ศ. 1226 (พ.ศ. 2407) ตอนท้ายเป็นเนื้อหาของคำแปลพระราชสาส์นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ มีพระราชทานไปยังสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย กับสำเนาพระราชสาส์นของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย มีพระราชทานมายังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ขอคัดมาจากหอจดหมายเหตุกรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ. 2502

 

พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส
พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2502

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทิพมณเฑียร (เปลี่ยว วงศาโรจน์) 19 พฤษภาคม 2502          

               พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส เล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมพระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังประเทศอเมริกาครั้งแรก เมื่อ จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอบรับสาส์นจากประธานาธิบดี จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2403) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอบรับบรรณาการแลสาส์นจากประธานาธิบดีอเมริกา จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2403) พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสิ่งของแลช้างไปประเทศอเมริกา พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไปยังกรุงฝรั่งเศส จ.ศ. 1217 (พ.ศ. 2398) พระราชสาส์นถึงกรุงฝรั่งเศส จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399) จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2403) จ.ศ. 1225 (พ.ศ. 2406) จ.ศ. 1227 (พ.ศ. 2408) และ จ.ศ. 1229 (พ.ศ. 2410) พระราชสาส์น พระเจ้านโปเลียนที่ 3 พระราชทานมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399) และพระราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง รับฉากเขียนลายน้ำมันของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส จ.ศ. 1228 (พ.ศ. 2409)

 

เหตุการณ์ตอนต้นรัชชกาลที่ 4
เหตุการณ์ตอนต้นรัชชกาลที่ 4

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2475

หมายเหตุ : เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ปีวอก พ.ศ. 2475          

               เหตุการณ์ตอนต้นสมัยรัชชกาลที่ 4 เล่มนี้ รวบรวมเนื้อหาของคำแปลหนังสือเจ้าเมืองสิงคโปร์ หนังสือเจ้าเมืองพระยาพระคลังตอบเจ้าเมืองสิงคโปร์ บันทึกเล่าเรื่องเปลี่ยนรัชกาล เรื่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 4 การเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค การเสด็จเลียบพระนครทางชลมารค และพระราชพิธีบวรราชาภิเศก

 

ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2473

หมายเหตุ : สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสมาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์เป็นมิตรพลีขึ้นปีใหม่ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473          

               ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ภาคที่ 2 หมวดราชประเพณีโบราณ เล่มนี้ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับราชประเพณีโบราณ โดยนำเสนอเนื้อหาในหมวดโบราณคดี ว่าด้วยราชประเพณีโบราณ ซึ่งประกอบด้วย ประเพณีนำริ้วตรวจทางเสด็จพระราชดำเนิน ประเพณีลงสรงโสกันต์ ประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดและเงินเดือนแก่เจ้านายในพระราชวังบวร ประเพณีพระราชทานเบี้ยหวัดพระราชวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวช ประเพณีพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พ่อค้าต่างประเทศ ประเพณีเสด็จพระราชทานพระกฐินพระอารามหลวงกรุงศรีอยุธยา และประเพณีพระสงฆ์รามัญสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ในพระราชวังชั้นใน

 

บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย
บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิสหล้านภาลัย

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 7 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำปา วัฒนศิริโรจน์ 21 พฤศจิกายน 2508          

               บทละครเรื่องคาวี เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นตอนหนึ่งในเรื่องเสือโค เป็นนิทานโบราณที่มีอยู่ในหนังสือปัญญาสชาดก เรียกว่า “พหลคาวีชาดก” ของเดิมแต่งภาษามคธ ซึ่งมีความเป็นเอกในเรื่องกระบวนกลอนและกระบวนความ ส่วนบทละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัยนั้น เป็นเรื่องโบราณ มีละครเล่นกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น แต่เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย
พระพุทธรูปสมัยต่างๆ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง : หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงประกอบธนกิจ (เปรื่อง อุณหสุวรรณ) 18 ธันวาคม 2504          

               เนื้อหากล่าวถึงมูลเหตุในการสร้างพระพุทธรูป ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยทวารวดี ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยศรีวิชัย ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยลพบุรี ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยเชียงแสน ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยสุโขทัย ลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยอยุธยา และลักษณะพระพุทธรูปและพระพุทธรูปในสมัยสมัยรัตนโกสินทร์

ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 3
ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 3

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2462

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานศพ นางเจียม พิศาลศุภผล ปีมะแม พ.ศ. 2462          

               ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 3 เล่มนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่องการทำนา ของพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ซึ่งให้รายละเอียดความรู้ในเรื่องประโยชน์และวิธีปลูกข้าว และเรื่องทำสวน ของเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ อธิบายถึงลักษณะสวน ตำนานการทำสวนในเมืองไทย

 

จดหมายเหตุเรื่องรับพระยาเศวตรกุญชรช้างเผือกแรกได้ในรัชกาลที่ 2 เมื่อปีวอก พ.ศ. 2355
จดหมายเหตุเรื่องรับพระยาเศวตรกุญชรช้างเผือกแรกได้ในรัชกาลที่ 2 เมื่อปีวอก พ.ศ. 2355

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2470

หมายเหตุ : พิมพ์เนื่องในงานสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกแรกได้ในรัชกาลที่ 7 เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2470          

               เนื้อหากล่าวถึงรายละเอียดเรื่องพิธีรับช้างเผือกไว้อย่างครบถ้วนเริ่มตั้งแต่การแต่งข้าหลวงออกไปชัณสูตรช้างเผือก การพาช้างเผือกเข้ามาพระนคร ลักษณะการแต่งทางรับช้างเผือกข้าพระนคร กระบวนแห่รับช้างเผือก เสด็จรับช้างเผือกสู่โรงสมโภช พิธีสงฆ์สมโภชช้างเผือกชั้นต้น พระราชทานนามช้างเผือก และพิธีพราหมณ์และมหรสพสมโภชช้างเผือก เป็นต้น

นิติสารสาธก
นิติสารสาธก

ผู้แต่ง : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมารศรี ปุณณะกิตติ (มารศรี ชลานุเคราะห์) 28 มกราคม 2503          

               หนังสือเรื่อง “นิติสารสาธก” นี้ มี 2 เล่มต่อกัน เล่มที่ 1 เป็นหนังสืออ่านเทียบแบบสอนตั้งแต่มูลบทไป พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งทูลเกล้าฯ ถวายไว้ให้ใช้ในโรงเรียนหลวง ส่วนเล่ม 2 นั้นปรากฏในโคลงต้นเล่มว่า หม่อมราชวงศ์หนูเป็นผู้แต่งทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นหนังสือที่นับว่าต่อเนื่องกับชุดมูลบทบรรพกิจ ฯลฯ ซึ่งเป็นแบบเรียนยุคแรก

 

อนุโมทนาการฉลองพระอุโบสถวัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 28-29 เมษายน 2476
อนุโมทนาการฉลองพระอุโบสถวัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 28-29 เมษายน 2476

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2476

หมายเหตุ : เจ้าจอมมารดาสว่าง รชชกาลที่ 5 พิมพ์ 1,500 เล่ม

          อนุโมทนาการฉลองพระอุโบสถวัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 28-29 เมษายน 2476 เล่มนี้ ให้รายละเอียดประวัติ และการบูรณปฏิสังขรณ์วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างละเอียด เรียบเรียงโดยพระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส

ระยะของพระบรมธาตุ
ระยะของพระบรมธาตุ

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ทรงธรรม

ปีที่พิมพ์ : 2478

หมายเหตุ : -

          หนังสือระยะของพระบรมธาตุเล่มนี้ กล่าวถึงพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุสถานในบริเวณพระบรมธาตุเจดีย์ไว้อย่างละเอียด

บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 1
บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 1

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : -

 

                 บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 1ตัดตอนมาจากเอกสารภาษาอังกฤษ ถ้อยคำสำนวนเก่า เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนชาวไทยสมัยอยุธยา

นิราศลอนดอน
นิราศลอนดอน

ผู้แต่ง : หม่อมราโชทัย

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำนวน จิปิภพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิริทราวาส 8 เมษายน 2505

 

                 พรรณนาเรื่องราวตั้งแต่ออกนอกกรุงเทพฯ ไปจนกลับและได้กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นในประเทศอังกฤษ ซึ่งบางสิ่งก็เป็นของแปลกใหม่สำหรับประเทศไทยในสมัยนั้นจะอ่านในแง่บันเทิงและอรรถรสทางวรรณคดี นับว่าเป็นเรื่องแต่งดีน่าอ่านอีกเล่มหนึ่ง

มูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงเป็นปกฐกถา ที่สามัคยาจารย์สมาคม เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2471
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงเป็นปกฐกถา ที่สามัคยาจารย์สมาคม เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2471

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

ปีที่พิมพ์ : 2478

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานปลงศพ นางหุ่น แผลงอัคเณย์ ณ วัดน้อยนพคุณ บางซื่อ พระนคร เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2478

                 

                 เป็นปาฐกถากล่าวถึงหลักของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้นำมาสั่งสอนแก่คนทั้งหลาย และมูลเหตุแห่งการสร้างวัดตามประเพณีอันมีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล

ประชุมจาฤกอนุสาวรีย์ ทรงสร้างในรัชกาลที่ 5
ประชุมจาฤกอนุสาวรีย์ ทรงสร้างในรัชกาลที่ 5

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2465

หมายเหตุ : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ โปรดให้พิมพ์ในการบำเพ็ญพระกุศล สนองคุณ เจ้าจอมมารดา เมื่อศพครบ 50 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465

 

                 จารึกหลักที่ 231-233 จารึกบนหินอ่อนในสุสานหลวงวัดราชบพิธ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการระลึกถึงพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาศพระราชธิดา ซึ่งสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

โคลงกวีโบราณและวรรณกรรมพระยาตรัง
โคลงกวีโบราณและวรรณกรรมพระยาตรัง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอกเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505

 

                 พระยาตรังได้รวบรวมบทประพันธ์ที่กวีสมัยโบราณ เช่น พระพระยาเยาวราช พระเทวีสุโขทัย ศรีธนญชัย พญาตรัง เป็นต้น ได้แต่งไว้ได้นำถวายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เมื่อเข้ามารับราชการอยู่ในกรุงเทพฯ คำประพันธ์ทั้งหมดแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ โคลงเบ็ดเตล็ด โคลงกลบทกับโคลงกระทู้ โคลงนิราศของกวีสมัยอยุธยาตอนปลาย และบทประพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 127 บท

รายงานการสร้างและฉลองวัดเขาน้อย พ.ศ. 2479
รายงานการสร้างและฉลองวัดเขาน้อย พ.ศ. 2479

ผู้แต่ง : พระศรีธรรมประสาธน์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์ : 2479

หมายเหตุ : พระศรีธรรมประสาธน์ วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช พิมพ์แจกในคราวกลับจากกรุงเทพฯ พ.ศ. 2479

 

                 รายงานการสร้างวัดเขาน้อย ตำบลร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม เจ้าคณะรองหัวหน้าใต้ผู้บังคับบัญชาการคณะมณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลภูเก็ต ผู้เป็นเจ้าของวัด ขอให้เจ้าคณะจังหวัด 4 จังหวัดในภาคใต้ แถลงความคิดเห็นของคณะเรื่องการสร้างวัดเขาน้อย

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2499

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยารัตนพิมพาภิบาล (หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์ อิศรางกูร) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2499

                  เป็นโคลงภาพเขียนพระราชพงศาวดารไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้แบ่งเป็นตอน จำนวน 92 รูป โคลงที่แต่งมี จำนวน 376 บท แล้วเขียนบรรจุบานกระจกประดับในคราวงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีชัย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง และพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ เมื่อ พ.ศ.2430

กิจจานุกิตย์
กิจจานุกิตย์

ผู้แต่ง : เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายศุข นาคสุวรรณ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง พระนคร วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2508

                 กิจจานุกิจย์ เป็นเรื่องความรู้รอบตัวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา เรื่องการกำหนด นับ วัน เดือน ปี ดินฟ้าอาอาศ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ เป็นต้น

เรื่องประวัติศาสนา
เรื่องประวัติศาสนา

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2499

หมายเหตุ : ในงานฉลองและทำบุญอายุครบ 60 ปี พระภิกษุ กิตฺตินาโค นายพันตำรวจเอก พระราชญาติรักษา (ประกอบ  บุนนาค) ผู้ว่าราชการภาค 7 วันที่ 26 ตุลาคม  2499

                 ว่าด้วยลัทธิศานาต่าง ๆพระเป็นเจ้าทั้ง 3 ประวัติเสนาพราหมณ์ ประวัติพระพุทธศาสนา ประวัติศาสนาคริสต์ ประวัติศาสนาอิสลาม เรื่องพระพุทธศาสนาประดิษฐานในประเทศพม่า ประเทศจีน และลังกาทวีป

พระมหาบุรุษลักษณะ
พระมหาบุรุษลักษณะ

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : คณะศิษยานุศิษย์พิมพ์แจกในงานหล่อพระพุทธรูปปางนาคปรกและรูปพระเทพสังวรวิมล ณ วัดเจริญสุขารามวรวิหาร อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 26-28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2510

 

                เนื้อหากล่าวถึงพระมหาบุรุษลักษณะ กับ ปฐมสมโพธิกถาเฉพาะตอนที่กล่าวถึงมงคล 108 และอนุพยัญชนะ 80 ไว้เสียด้วยเพื่อให้สมบูรณ์และสะดวกในการศึกษา

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนหิรัญปราสาท (ตาบ พรพยัคฆ์) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508  

          อธิบายให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจในปัญหา คือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยเหตุ 4 ประการ ได้แก่ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และทางไปสู่ความดับทุกข์

ประชุมพงศาวดารภาคที่ 37 เรื่อง จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือและพระเจ้าท้ายสระ
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 37 เรื่อง จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือและพระเจ้าท้ายสระ

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2473

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาอาทรธุรศิล์ป (ม.ล. ช่วง กุญชร) ทจ, ทม, ตช, รัตน ว ป ร 3, ร จ พ ฯลฯ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473  

          ประกอบด้วยจดหมายของมองเซนเยอร์ เดอซิเซ กล่างถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกรุงศรีอยุธยา ความต้องการให้ฝรั่งเศสเข้ามาค้าขายในเมืองไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาและอังกฤษ

เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน
เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2510  

          เอกสารที่นำมาจัดพิมพ์เป็นเอกสารสำคัญในด้านประวัติศาสตร์การปกครองของไทย ความคิดริเริ่มที่จะมีการปกครองประเทศไทยตามระบอบประชาธิปไตยมีขึ้นในเมืองไทยมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่ ร.ศ.103 คือ พ.ศ. 2427 เกิดขึ้นจากบรรดาเจ้านายและขุนนาง และการได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์

ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารค
ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารค

ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลิ้นจี่ ชยากร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 8 กุมภาพันธ์ 2504. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารคเล่มนี้ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพรรณนากระบวนแห่ไว้อย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่กระบวนแห่พระกฐินทางสถลมารค กระบวนนำ กระบวนม้าขี่ กระบวนม้าจูง กระบวนรถ กระบวนราบ กระบวนกลองชนะ กระบวนช้างดั้ง กระบวนพระยาช้าง กระบวนช้างพระที่นั่ง พระคชาธารทรงไตรพระกฐิน กระบวนหลัง กระบวนเสด็จพระราชดำเนิน และมีการกล่าวพรรณนารายละเอียดของกระบวนแห่พระกฐินทางชลมารคเรื่อยไปอย่างละเอียด เกี่ยวกับกระบวนต่าง ๆ จนถึงเรือขุนนางตามเสด็จ

เทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ
เทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2500

หมายเหตุ : หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี พิมพ์แจกในงานบำเพ็ญกุศลถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติประวัติ พ.ศ. 2500  

          หนังสือเทศนาพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นลักษณะคำเทศนา มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์และธรรมคดีเป็นอันมาก

 

ประชุมจดหมายเหตุเรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 และเรื่องรัชกาลที่ 4 ประชวรและสวรรคต
ประชุมจดหมายเหตุเรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 และเรื่องรัชกาลที่ 4 ประชวรและสวรรคต

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงศรีสังกร ต.จ. (ตาบ จารุรัตน์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 19 มกราคม พ.ศ. 2510  

          กล่าวถึงจดหมายเหตุเนื่องในรัชกาลที่ 4 รวม 5 เรื่อง ได้แก่ จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ จดหมายเหตุเซอร์แฮรี่ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไทยในรัชกาลที่ 4 ที่ตำบลหัววาน กระแสรับสั่งรัชกาลที่ 4 เรื่องสุริยุปราคา เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2411 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวร ฉบับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง และจดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียง

ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย
ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายมนูเสรี  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ณ เมรุวัดธาตุทอง พระนคร วันที่ 14 ตุลาคม  2505. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เล่มนี้เป็นพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ และวิธีการค้นคว้าและสันนิษฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องพระร่วง เรื่องการไว้ผมของคนไทย เรื่องสำเภาทองลอยพระธาตุ เรื่องบ้านโคนในจังหวัดกำแพงเพชร เรื่องหลักศิลาขอมดำดิน เรื่องเมืองสวรรคโลก เรื่องเชลียง เรื่องวัดจุฬามณี เรื่องทุ่งยั้ง และเรื่องท้าวแสนปม

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 20
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 20

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2487

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงสพ เจ้าจอมเอิบ ท.จ.ว. ไนรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ส. 2487 นะ เมรุวัดเทพสิรินทราวาส.  

          จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 20 เล่มนี้ เป็นจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการออกพระราชบัญญัติ กฎหมาย และการราชการแผ่นดินอื่น ๆ เช่น ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นต้น

พระราชกำหนดครั้งกรุงศรีอยุธยา และประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์
พระราชกำหนดครั้งกรุงศรีอยุธยา และประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโท พระพิเนตรอัยการ (ยิ้ม ทังสุชาติ) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 14 ตุลาคม 2507.    มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          พระราชกำหนดครั้งกรุงศรีอยุธยา และประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์ ว่าด้วยกฎ 11 กฎ ได้แก่ กฎเรื่องร้องฟ้องความซับซ้อนกันหลายศาล กฎว่าด้วยการเรียกสินไหมพินัยคดีความ หมายรับสั่งเรื่องความทุกข์ยากของลูกหมู่ กฎเรื่องลักษณะการปกครองหัวเมือง กฎเรื่องให้รับน้ำพระพิพัฒนสัจจา กฎเรื่องการพิสูจน์เล็บในสำนวนความ กฎเรื่องเจ้าหมู่มูลนายเบิกคู่ความไปใช้ราชการ กฎเรื่องให้จับคุมคนวิวาททำร้ายกันในที่ต่าง ๆ กฎเรื่องการรับฟ้องตามพระธรรมนูญ กฎเรื่องการรับฟ้องต่าง ๆ และกฎเรื่องการรับฟ้องกล่าวโทษตุลาการ ผู้พิจารณาความไม่เที่ยง ในตอนท้ายเป็นประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์เรื่อง ต่าง ๆ 8 เรื่อง คือ 1.เรื่องประกาศรัชกาลที่ 4 2.เรื่องมณเทียรบาลเขมร 3.เรื่องกฎหมายกรุงกัมพูชา 4.เรื่องตั้งทำเนียบศักดินา    5.วิธีตั้งกฎหมายครั้งกรุงศรีอยุธยา 6. วิธีจัดหมวดกฎหมายครั้งกรุงศรีอยุธยา        7.คำอธิบายตั้งส่วยอากรขนอนตลาด และ 8. คำอธิบายเรื่องที่กัลปนา

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหารกับตำนานกรมทหารราบที่ 4
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ตำนานการเกณฑ์ทหารกับตำนานกรมทหารราบที่ 4

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิงวิไลกัญญา ภาณุพันธุ์ ท.จ. ณ เมรุมาศหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 7 กรกฎาคม 2509  

          ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 23 ประกอบด้วยเรื่องตำนานการเกณฑ์ทหารกับตำนานกรมทหารราบที่ 4 เรื่องตำนานการเกณฑ์ทหารนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเรียบเรียงขึ้นถวาย จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลา บรมวงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์ วรเดช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารราบที่ 4

ตำราพิไชยสงคราม
ตำราพิไชยสงคราม

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ (ตลับ บุณยรัตนพันธ์) วันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2512.  

          ตำราพิไชยสงคราม เป็นตำราว่าด้วยยุทธวิธีการรบต่าง ๆ มีตอนที่ว่าด้วยกลศึก 21 กลศึก และว่าด้วยแผนที่ตั้งทัพ

ลิลิตตำรานพรัตน์
ลิลิตตำรานพรัตน์

ผู้แต่ง : ลิลิตตำรานพรัตน์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิญ หังสสูต)  

          หนังสือตำรานพรัตน์นี้ เป็นตำราแก้ว 9 ประการ ประกอบด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย แสดงกำเนิดและลักษณะของนพรัตน์ ลักษณะบางประการอันให้คุณและโทษแก่เจ้าของตามคติซึ่งเชื่อกันมาแต่โบราณ และกล่าวกันถึงค่าของรันตเหล่านี้ด้วย

พระราชสาส์น ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานไปยังประเทศต่าง ๆ ภาค 1
พระราชสาส์น ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานไปยังประเทศต่าง ๆ ภาค 1

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร  

          เป็นพระราชสาส์น ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงติดต่อกับพระเจ้าแผ่นดินประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรุสเซีย ออสเตรีย เดนมาร์ค ฮันลันดา เป็นต้น

โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส
โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส

ผู้แต่ง : สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในการทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดบรมวงศ์อิศรวราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  

          เนื้อความกล่าวพรรณนาถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ทั้ง 12 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่เดือน 5 เป็นต้นไป รวมทั้งพิธีต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านได้ปฏิบัติกันเป็นประเพณี เช่น พิธีสงกรานต์ พิธีลอยกระทง เป็นต้น

หนังสือเรื่องท้าวฮุ่งหรือเจือง
หนังสือเรื่องท้าวฮุ่งหรือเจือง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2486

หมายเหตุ : สมเด็จพระมหาวีรวงส สังคนายก พิมพ์เป็นที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) พระครูวิโรจน์ (นนฺตโร รอด) และในงานฌาปนกิจศพ พระมหารัตน์ รฏฺฐปาโล กับ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี 10-16 เมษายน 2486. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          หนังสือเรื่องท้าวฮุ่ง หรือเจือง เป็นตำนาน แต่งเป็นคำกลอน กล่าวถึงความกล้าหาญในการทำสงครามของท้าวฮุ่ง หรือขุนเจือง แต่สุดท้ายท้าวฮุ่งก็สิ้นพระชนม์ลงด้วยน้ำมือของแถนลอ หรือขุนลอ นอกจากนี้เนื้อหายังกล่าวถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์

สรรพสิทธิ์คำฉันท์
สรรพสิทธิ์คำฉันท์

ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : หน่วยเสริมทัศนศึกษาวัดพระเชตุพนฯ พิมพ์เป็นมุทิตานุสรณ์ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระรัตนเวที เป็น พระราชโมลี และทรงตั้ง พระครูสุนทรโฆสิต (แจ่ม) พระครูวิจิตรโฆษา (ทองใบ) เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท 9 ธันวาคม 2511.  

          สรรพสิทธิ์คำฉันท์ เป็นคำฉันท์ตำราเรื่องเดิมเป็นนิทานอยู่ในปัญญาสชาดก เนื้อเรื่องกล่าวถึงการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็น       พระสรรพสิทธิ์ ได้เสกสมรสกับนางสุพรรณโสภา พระสรรพสิทธิ์มีศิลปะอุรกินท์เรียกดวงจิตออกจากร่าง ในการกรีธาทัพออกทำสงคราม สามารถใช้ศิลปะวิเศษเรียกดวงจิตได้

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 1
พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 1

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2496

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมวาสน์ กมลาสน์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 30 พฤษภาคม 2496  

          พระราชหัตเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 1 เล่มนี้ มีเนื้อหาเฉพาะตอนที่ 1 จากทั้งหมด 6 ตอน เป็นเนื้อหาซึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียนไปถึงผู้อื่น รวม 17 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 พระราชหัตถเลขา ถึงกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เรื่องราชการทัพ ฉบับที่ 2 พระบรมราโชวาท พระราชทานเงินพระเจ้าลูกเธอ ฉบับที่ 3 พระราชหัตถเลขา ถึงองค์สมเด็จพระหริรักษ์ ณ กรุงกัมพูชา ฉบับที่ 4 พระราชหัตถเลขาถึงพระรามัญมุนี ฉบับที่ 5 พระราชหัตถเลขา ถึงองค์พระนโรดมและองค์พระหริราชดนัย ณ กรุงกัมพูชา เป็นต้น

ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช
ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2473

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ต จ ว, ต ช, ต ม, ร จ พ. เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          เป็นตำนานประวัติความเป็นมา และบทบาทของพรามหมณ์ ในนครศรีธรรมราช ตามปรากฏร่องรอยหลักฐาน ตามท้องที่ต่าง ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนรายละเอียดพิธีกรรมต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช

ประวัติสุนทรภู่ นิราศเมืองแกลง และประวัติเมืองแกลง
ประวัติสุนทรภู่ นิราศเมืองแกลง และประวัติเมืองแกลง

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสำลี เกิดลาภผล ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2511.  

          หนังสือประวัติสุนทรภู่ นิราศเมืองแกลง และประวัติเมืองแกลงเล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของสุนทรภู่อย่างละเอียด ตั้งแต่สมัยก่อนรับราชการ  กล่าวถึงวงศ์ตระกูล ประวัติการศึกษา ประวัติชีวิตครอบครัวของสุนทรภู่  ประวัติการเข้ารับราชการ  การออกบวช การเป็นกวี  และเกียรติคุณของสุนทรภู่ นอกจากนี้ในท้ายเล่มจะมี นิราศเมืองแกลงซึ่งเป็นหนังสือที่สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง และมีการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของเมืองแกลง อันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระยองไว้ด้วย

ประวัติปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454)
ประวัติปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454)

ผู้แต่ง : เหรียญ ศรีจันทร์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กิมหลีหงวน

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานศพ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (นายแพทย์เหล็ง  ศรีจันทร์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันอังคารที่ 9 เมษายน  2503  

          หนังสือประวัติปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454)  เป็นบันทึกความทรงจำของ ร.ต.เหรียญ  ศรีจันทร์ และ ร.ต.เนตร  พูนวิวัฒน์  นักปฏิบัติของเมืองไทย ได้บันทึกเกี่ยวกับประวัติการเคลื่อนไหวอันเป็นวีรกรรมของประชาชนเพื่อระบอบประชาธิปไตยในยุคแรก อันเป็นการบุกเบิกการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

นิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม
นิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงประมวญคดี (เมี้ยน วรรธนะภูติ) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          หนังสือนิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1      เห่กล่อมพระบรรทม เนื้อหากล่าวถึง การล่องเรือเดินทางผ่านสถานที่ต่าง ๆ ของสุนทรภู่และลูกชายจนไปถึงเจดีย์ภูเขาทอง ที่แต่งด้วยกลอนนิราศ ในท้ายเล่ม เป็นกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1 ลำนำแห่กล่อมพระบรรทม ที่รวมอยู่ในเล่มเดียวกัน

บทเห่กล่อมพระบรรทม
บทเห่กล่อมพระบรรทม

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเธียร  ปั้นงา ณ ฌาปนสถานวัดอัมพวา ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี วันที่ 14 พฤษภาคม  พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          บทเห่กล่อมนี้เป็นของกวีแต่งขึ้นสำหรับข้าหลวงร้องเห่พระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์ เวลาไกวพระอู่ให้บรรทม บทข้างต้น ๆ สังเกตว่าเป็นสำนวนสุนทรภู่แต่ง เมื่อรัชกาลที่ 2 แต่จะแต่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอเป็นสามัญทั่วไป หรือจะแต่งสำหรับเห่กล่อมพระเจ้าลูกเธอเฉพาะพระองค์ใดในครั้งนั้น

สมุดภาพพุทธจริยาประวัติ ตามภาพ บนผนังโบสถ์วิหารในประเทศไทย
สมุดภาพพุทธจริยาประวัติ ตามภาพ บนผนังโบสถ์วิหารในประเทศไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

ปีที่พิมพ์ : 2500

หมายเหตุ : จัดทำเป็นภาพประกอบคำบรรยายพุทธจริยาประวัติ อำนวยการพิมพ์ขึ้นโดยสำนักข่าวสารอเมริกัน เพื่อบรรณาการแก่ประชากรไทยในนามแห่งประชากรอเมริกันในโอกาสงานฉลองพุทธยี่สิบห้าศตวรรษ พ.ศ.2500  

          สมุดภาพพุทธจริยาประวัติ ตามภาพ บนผนังโบสถ์วิหารในประเทศไทยเล่มนี้ เป็นการรวบรวมภาพพุทธประวัติตอนต่าง ๆ โดยการลอกแบบภาพมาจากภาพเขียนตามฝาผนังโบสถ์วิหารที่ได้เขียนขึ้นตามธรรมเนียมประเพณีไทยในยุคโน้น ที่มีอยู่ในประเทศไทย มาจัดพิมพ์พร้อมทั้งให้คำบรรยายภาพแต่ล่ะภาพด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อันเป็นประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวพระพุทธประวัติ

บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ
บทละครเรื่อง พระมะเหลเถไถ

ผู้แต่ง : คุณสุวรรณ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : คณะคุรุสามัคคี พิมพ์แจกในการทอดกฐินสามัคคี ณ วัดหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี วันที่ 20 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2509  

          บทละครเรื่อง พระมเหลเถไถ เป็นกลอนบทละครที่ประพันธ์โดยคุณสุรรณ กล่าวถึงตัวละครคือพระมะเหลเถไถ ได้เดินทางไปประทับแรมในป่า ได้พบกับนางตะแลงแกง เมื่อพระมเหลเถไถจะพานางตะแลงแกง พร้อมด้วยไพร่พลเดินทางกลับเมือง ได้พบกับยักษ์ชื่อท้าวมะลาก๋อย และเกิดการต่อสู้กันขึ้น

เรื่องพระร่วง
เรื่องพระร่วง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : พ.ต.อ.สำราญ กรัดศิริ จัดพิมพ์ถวายในงานฉลองสมณศักดิ์พระเทพเมธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดโพธาราม นครสวรรค์ 7 มีนาคม  2503  

          หนังสือพระร่วงเล่มนี้ มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย ว่าเคยเป็นมาอย่างไร รวมถึงกล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยสมัยที่ผ่านมาด้วย

เมืองพาราณสี
เมืองพาราณสี

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2502

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเนียร บุนนาค ณ เมรุวัดอนงคาราม วันที่ 25 เมษายน 2502  

          หนังสือเมืองพาราณสีเล่มนี้  เนื้อหาเป็นการถามตอบระหว่างพระอมรโมฬีสถิตวัดประยูรงศาวาส ฯพณฯ โกษาธิบดี หลวงนนทเกษเจ้าท่าพรพราหมณ์ หลวงพิเศษโกษา กับพราหมณ์ชื่ออุจุตะนันนำ ถามตอบกันถึงเรื่องของเมืองพาราณสี และเรื่องตระกูลของพราหมณ์ ว่ามีด้วยกัน 5 ตระกูล และมีการกล่าวถึงขั้นตอนพิธีกรรมในการบวงสรวง บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์

ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ 8 ครั้ง
ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ 8 ครั้ง

ผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

ปีที่พิมพ์ : 2481

หมายเหตุ : -  

          หนังสือประวัติศาสตร์การเสียดินแดนสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ 8 ครั้ง เล่มนี้ กล่าวถึงรายละเอียดการเสียดินแดนของของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ จำนวน 8 ครั้ง นับตั้งแต่ครั้งที่ 1 เกาะปีนังและปรอวินส์เวลเลสลี ครั้งที่ 2 ทะวาย ตะนาวศรี มะริด ครั้งที่ 3 ประเทศเขมร ครั้งที่ 4 แคว้นสิบสองจุไทย ครั้งที่ 5 ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง นครหลวงพระบาง และอาณาเขตต์นครจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก ครั้งที่ 6 อาณาเขตต์หลวงพระบางฝั่งขวา นครจำปาศักดิ์และมโนไพร ครั้งที่ 7 มณฑลบูรพา และครั้งที่ 8 ประเทศราชมะลายู ไทรบุรี ปลิศ กะลันตัน และตรังกานู

พระราชหัตถเลขา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 พระราชทาน เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
พระราชหัตถเลขา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 พระราชทาน เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

ผู้แต่ง : สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชีนีนาถ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา

ปีที่พิมพ์ : 2506

หมายเหตุ : พิมพ์เนื่องในโอกาสจัดงานฉลองวันพระราชสมภพครบรอบร้อยปี ของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2507  

          พระราชหัตถเลขา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 พระราชทาน เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เป็นการนำเอาจดหมายของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ซึ่งได้ทรงมีถึงเจ้าพระยาพระเสดจสุเรนทราธิบดีมาพิมพ์ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการศึกษาของพระราชโอรส และในตอนท้ายจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาของสตรีไทยด้วย

ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน
ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยเอก ขุนวรนิติ์นิสัย (สอน นิธินันทน์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย.  

          หนังสือตำราพิไชยสงคราม คำกลอนให้ความรู้ในกลยุทธ์ด้านทหารของไทยในสมัยโบราณ แฝงแง่คิดด้านเศรษฐกิจ การเมือง และปรัชญาการต่อสู้ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาเรื่อง ตำราพิชัยสงครามจีน ของ ซุนวู ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยจากต้นฉบับภาษาจีน โดย คุณเสถียร วีรกุล ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์ของทหารและการสงคราม ด้วยเช่นกัน

ทำเนียบนาม ภาคที่ 2 และ ทำเนียบข้าราชการวังหลัง
ทำเนียบนาม ภาคที่ 2 และ ทำเนียบข้าราชการวังหลัง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพ นายสุข กันต์ไพเราะ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2511.  

          ทำเนียบนาม ภาคที่ 2 และ ทำเนียบข้าราชการวังหลังเนื้อหาประกอบด้วยตำแหน่งข้าราชฝ่ายพระราชวังบวรสถานพิมุข ได้แก่ กรมมหาดไทย  กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระสุรัสวดี กรมอาลักษณ์ กรมราชบัณฑิตย์ กรมโหร กรมพระภูษามาลา กรมพระแสงใน กรมหมอ กรมชาวที่ใหญ่ กรมทหารเกณฑ์หัดปืนแดง กรมล้อมวัง กรมสนมพลเรือน  กรมพระคลังสินค้า กรมคลังมหาสมบัติ และกรมพระกระลาโหม  นอกจากนี้ประกอบด้วยเนื้อหาทำเนียบข้าราชการวังหลังฝ่ายพลเรือน กรมมหาดไทย และกรมต่าง ๆ

วิวัธนาการ แห่งการทหาน และ สัตราวุธในกองทัพบกสมัยโบราณ
วิวัธนาการ แห่งการทหาน และ สัตราวุธในกองทัพบกสมัยโบราณ

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมแผนที่

ปีที่พิมพ์ : 2486

หมายเหตุ : พิมพ์เนื่องในงานฉลองวันชาติประจำปี พ.ส. 2486  

          วิวัธนาการ แห่งการทหาน และ สัตราวุธในกองทัพบกสมัยโบราณ เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของนักรบไทยสมัยโบราณ ลักษณะและประเภทของอาวุธ หลักการจัดทหานและวิธีรบ และการสดุดีเกียตคุนนักรบไทยในสมัยโบราณ

วาหนิติ์นิกร
วาหนิติ์นิกร

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์ ขุนพรหม      วราทร (สด เรืองหมวก) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร 22 พฤษภาคม 2503  

          วาหนิต์ติกร เป็นหนังสือเสริมความรู้เฉพาะเรื่อง ว่าด้วยเรื่องอักษรนำ ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 บทเป็นส่วนนำเรื่อง ตามด้วยคำอธิบายเรื่องอักษรนำ และอธิบายต่อว่าอักษรสูงนั้นนำได้เฉพาะอักษรต่ำเดี่ยวเท่านั้น การแจกลูกอักษรนำไปโดยละเอียด ทุกมาตรา เช่น ขง ขงัง ขงาง ขงึง ฉง ฉงา ฉงิ ฉงน ถง ถงา ถงึ เป็นต้น

พระราชนิพนธ์ ลิลิตนิทราชาคริต
พระราชนิพนธ์ ลิลิตนิทราชาคริต

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2498

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าจิตรปรีดี ประวิตร  

          พระราชนิพนธ์เรื่องลิลิตนิทราชาคริต เป็นหนังสือที่มีความสมบูรณ์ด้านวรรณคดี มีคติสอนใจ แก่ผู้ครองเรือนโดยทั่วไป และมีคติเตือนใจเรื่องความรักของมารดาที่มีต่อบุตรที่พรรณาไว้อย่างซาบซึ้ง

วัธนธัมไทย เรื่อง ประวัติการทูตของไทย
วัธนธัมไทย เรื่อง ประวัติการทูตของไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : สำนักนายกรัถมนตรี

ปีที่พิมพ์ : 2486

หมายเหตุ : -  

          หนังสือวัธนธัมไทย เรื่อง ประวัติการทูตของไทย กล่าวถึงความสัมพันธ์กับประชาชาชาติใกล้เคียง ตั้งแต่สมัยนานเจา สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และการสัมพันธ์กับชาติยุโรป ได้แก่ โปรตุเกสและสเปน เดนมาร์ก เนอเทอร์แลน อังกริด ฝรั่งเสส และความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

จดหมายเหตุ คัดมาจากรอเยอลกอโลเนี่ยลอินสติติว กรุงลอนดอน = Documents from the royal Colonial Institute London
จดหมายเหตุ คัดมาจากรอเยอลกอโลเนี่ยลอินสติติว กรุงลอนดอน = Documents from the royal Colonial Institute London

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2476

หมายเหตุ : พระพิพิธสุนทร พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี    พระยาวรวิไชยวุฒิกร (เลื่อม  สนธิรัตน) ปีระกา พ.ศ. 2476  

          หนังสือเล่มนี้ พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี ได้แปลมาจากภาษาอังกฤษ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศระหว่างสยามกับนานาประเทศ โดยเฉพาะ ประเทศสยามกับฮอลันดา และปอรตุเกส

บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 2
บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 2

ผู้แต่ง : ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ, ผู้แปล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2513

หมายเหตุ : -  

          หนังสือบันทึกเรื่องสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 2 เล่มนี้ แปลมาจากหนังสือชุด Records of the Relations between Siam and Foreign Countries in the 17th Century เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนชาวไทยสมัยอยุธยา ตลอดจนสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเพศเพื่อนบ้านและประเทศทางตะวันตกด้วย

ชินกาลมาลีปกรณ์
ชินกาลมาลีปกรณ์

ผู้แต่ง : พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร, แปล.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในการบูรณะโบราณสถาน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  

          หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี เป็นหนังสือใบลานจารอักษรขอม จารครั้งแรกสมัยกรุงศรีอยุธยา แปลโดย ร.ต.ท.แสง มนวิทูร เนื้อหากล่าวถึงประวัติของพระพุทธเจ้า พระผู้ซึ่งมีพระนามว่า พระศากยโคดม เป็นลำดับ          จนกระทั่งพระชาติสุดท้ายที่เสด็จมาเป็นมนุษย์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ แล้วทรงบำเพ็ญพุทธกิจ จนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน และคำสั่งสอนของพระองค์ที่เรียกว่า ธรรมวินัย

ประชุมพงศาวดารภาคที่ 30 จดหมายเหตุของพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) เรื่องราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีระกา พุทธศักราช 2404
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 30 จดหมายเหตุของพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) เรื่องราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีระกา พุทธศักราช 2404

ผู้แต่ง : พระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : หม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต พิมพ์สนองรพระเดชพระคุณในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี  

          เป็นบันทึกของพระวิชิตณรงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งตรีทูต จดไว้เมื่อคราว    โปรดฯให้พระยาศรีพิพัฒน์เป็นราชทูตออกไปเจริญทางพระราชไมตรียังราชสำนักพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ในสมัยรัชชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2404 เนื้อความแบ่งออกเป็นตอนๆ ดังนี้ ตอนที่ 1 กล่าวถึงการเดินทางออกจากรุงเทพฯถึงสิงคโปร์ ตอนที่ 2    การเดินทางจากสิงคโปร์จนถึงเกาะลังกา ตอนที่ 3 ออกเดินทางจากเกาะลังกาถึงเมืองเอเดน ตอนที่ 4 ออกเดินทางจากเมืองเอเดนถึงเมืองไกโรและเมืองอาเล็กซันดรี ตอนที่ 5 ออกเดินทางจากเมืองอาเล็กซานดรี ถึงเมืองตุลน เมืองมาเซ เมืองไลยอน และเมืองปารีส ตอนที่ 6 กล่าวถึงราชทูตเข้าเฝ้าเอมเปอเรอฝรั่งเศส ตอนที่ 7 กล่าวถึงการเที่ยวดูสถานที่ต่าง ๆ

ความทรงจำ ที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน
ความทรงจำ ที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน

ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2489

หมายเหตุ : -  

          กล่าวถึง พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระเบียบพระราชานุกิจในรัชกาลที่ 5 และการเสด็จไปเยือนต่างประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2414-2415.

พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ในเวลาที่ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ภาค 1
พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ในเวลาที่ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ภาค 1

ผู้แต่ง : สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ประทานในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก พระยาบุรุณรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส  

          พระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์นี้ เป็นโบราณคดีที่ให้ความรู้ ความเป็นไปในบ้านเมืองต่าง ๆ ตลอดระยะทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จผ่านไปยังยุโรปในสมัย พ.ศ. 2440

บาญชีมหามกุฎราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468
บาญชีมหามกุฎราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468

ผู้แต่ง : นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2468

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกวันสมายุมงคล  

          มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชสัตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี กล่าวถึงรายพระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และ      พระราชนัดดาของพระองค์

โบราณวัตถุสถานในสยาม ตอน สมัยศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ภาค 3
โบราณวัตถุสถานในสยาม ตอน สมัยศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ภาค 3

ผู้แต่ง : หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2477

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท พระศรีปริญญา  (ล้วน  มหาสันทนะ) พ.ศ. 2477  

          มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติพระเจ้าอู่ทองผู้ก่อตั้งศรีอยุธยาเป็นราชธานีของสยามประเทศ และการพรรณนาเกี่ยวกับเรื่องโบราณวัตถุสถานที่สำคัญในสมัยศรีอยุธยา ว่าด้วยการก่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เนื้อหากล่าวถึงโบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่พระราชวัง วัด สถูป พระพุทธรูป ตู้ และหีบใส่หนังสือเป็นต้น

 

 

พระราชหัตถเลขาและหนังสือกราบบังคมทูลเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี แต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระพจนกิจและพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ร.ศ.113 - 118
พระราชหัตถเลขาและหนังสือกราบบังคมทูลเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี แต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระพจนกิจและพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ร.ศ.113 - 118

ผู้แต่ง : เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี ท.จ. 12 เมษายน 2504

          หนังสือเล่มนี้รวบรวมพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมนตรีพจนกิจ ในเวลาเฝ้าไปรเวต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ร.ศ. 112 และรวบรวมบันทึกการเดินทางของพระมนตรีพจนกิจ จากกรุงเทพฯไปประเทศอังกฤษ รวมถึงพระราชหัตถเลขและคำกราบบังคมทูลตั้งแต่เดือนมกราคม ร.ศ. 113 ถึงเดือนกันยาน ร.ศ. 116 และบันทึกพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ทูลเกล้า ถวายเมื่อเสด็จถึงประเทศอังกฤษ พระบรมราโชวาท พระราชทานพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ สำเนาพระบรมราโชวาท พระราชทานพระยานนทบุรีฯ พระราชหัตถเลขและคำกราบบังคมทูล ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ร.ศ. 116 ถึงเดือนพฤศจิกายน ร.ศ. 118

 

 

 

 

เอกสารเกี่ยวกับการปรับปรุงข้อผูกมัดตามสัญญาล้าสมัยของประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เอกสารเกี่ยวกับการปรับปรุงข้อผูกมัดตามสัญญาล้าสมัยของประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง : พระยากัลยาณไมตรี, เรียบเรียง สำราญ กัลยาณมิตร, แปล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : -

          เอกสารเกี่ยวกับการปรับปรุงข้อผูกมัดตามสัญญาล้าสมัยของประเทศไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวเหตุผลที่ไทยประกาศสงครามกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 ความเสียเปรียบของสนธิสัญญาของไทยกับนานาประเทศ การยอมรับปรับปรุงสัญญาระหว่างประเทศมหาอำนาจกับไทย และตัวบทสัญญาต่างๆ ซึ่งแสดงถึงสภาพนอกอาณาเขตและข้อจำกัดในเรื่องอำนาจการเก็บภาษีถึงสภาพนอกอาณาเขตและข้อจำกัดในเรื่องอำนาจการเก็บภาษี

 

 

 

 

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : บริษัท ตั้งท่งฮวด จำกัด บริษัท สยามกลการ จำกัด และลูก หลานเหลน ในตระกูลพรประภา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา 4 กันยายน พ.ศ. 2511  

          หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้ ได้รวบรวมรวบเนื้อหาของตำนานหนังสือพงศาวดาร และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สำหรับในตอนต้นได้กล่าวถึงตำนานหนังสือพงศาวดาร มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา อธิบายเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรลานนาไทย สำหรับพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวความไว้ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กระทั่งถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4 (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) พร้อมอธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระบรมบรมราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรและพระรัฏฐาธิราช รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

 

 

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ตอนที่ 2 หน้า 501-944)
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ตอนที่ 2 หน้า 501-944)

2แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : บริษัท ตั้งท่งฮวด จำกัด บริษัท สยามกลการ จำกัด และลูก หลานเหลน ในตระกูลพรประภา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา 4 กันยายน พ.ศ. 2511               

               หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้ ได้รวบรวมรวบเนื้อหาของตำนานหนังสือพงศาวดาร และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สำหรับในตอนต้นได้กล่าวถึงตำนานหนังสือพงศาวดาร มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา อธิบายเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรลานนาไทย สำหรับพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวความไว้ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กระทั่งถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4 (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) พร้อมอธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระบรมบรมราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรและพระรัฏฐาธิราช รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ตอนที่ 1 หน้า 1-500)
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ตอนที่ 1 หน้า 1-500)

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : บริษัท ตั้งท่งฮวด จำกัด บริษัท สยามกลการ จำกัด และลูก หลานเหลน ในตระกูลพรประภา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา 4 กันยายน พ.ศ. 2511               

               หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้ ได้รวบรวมรวบเนื้อหาของตำนานหนังสือพงศาวดาร และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สำหรับในตอนต้นได้กล่าวถึงตำนานหนังสือพงศาวดาร มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา อธิบายเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรลานนาไทย สำหรับพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวความไว้ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กระทั่งถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4 (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) พร้อมอธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระบรมบรมราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรและพระรัฏฐาธิราช รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน (ตอนที่ 2 หน้า 361-722)
คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน (ตอนที่ 2 หน้า 361-722)

ผู้แต่ง : แสง  มนวิทูร, แปล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : -

               หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ นี้ เป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ แต่งรูปเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยซึ่งจะเริ่มเรื่องด้วยการอภิเษกระหว่างพระเจ้าสุทโธทนกับพระนางสิริมหามายา แต่ลลิตวิสตรจะเริ่มเรื่องด้วยนิทานแสดงเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาลลิตวิสตร สุตตันตปริยาย ต่อจากนั้นจะกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำเนินความเหมือนกันตลอด แต่จะแตกต่างกันในส่วนของสำนวนพรรณนา กล่าวคือลลิตวิสตรนั้นพรรณนาเรื่องไปในทางปาฏิหาริย์และอลังการต่าง ๆ และนำเอาหมวดธรรมและสุภาษิตมาแทรกระหว่างเรื่อง

 

 

คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน (ตอนที่ 1 หน้า 1-360)
คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน (ตอนที่ 1 หน้า 1-360)

ผู้แต่ง : แสง  มนวิทูร, แปล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : -

               หนังสือคัมภีร์ลลิตวิสตระ นี้ เป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ แต่งรูปเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยซึ่งจะเริ่มเรื่องด้วยการอภิเษกระหว่างพระเจ้าสุทโธทนกับพระนางสิริมหามายา แต่ลลิตวิสตรจะเริ่มเรื่องด้วยนิทานแสดงเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาลลิตวิสตร สุตตันตปริยาย ต่อจากนั้นจะกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ดำเนินความเหมือนกันตลอด แต่จะแตกต่างกันในส่วนของสำนวนพรรณนา กล่าวคือลลิตวิสตรนั้นพรรณนาเรื่องไปในทางปาฏิหาริย์และอลังการต่าง ๆ และนำเอาหมวดธรรมและสุภาษิตมาแทรกระหว่างเรื่อง

 

 

ที่ระลึกแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ระลึกแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง : ขุนทรงวรวิทย์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : ไทยเขษม

ปีที่พิมพ์ : 2478

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นการกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช พ.ศ. 2478

          หนังสือที่ระลึกแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้ เป็นการรวบรวมภาพและความเป็นมาของสถานที่สำคัญต่างๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ขุนทรงวรวิทย์มีส่วนในการสร้างสรรค์จนสำเร็จเป็นถาวรสถานที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

 

 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 11
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 11

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2478

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงเผาศพ หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478

          จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 11 นี้ เป็นหนังสือที่รวมเรื่องราวพระราชกิจรายวันในแต่ละวัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหากล่าวถึงการออกพระราชบัญญัติ กฎหมายหรือราชการแผ่นดินอื่นๆ เรื่องเกี่ยวกับการเมือง รัฐประสาสโนบายทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศและการภายในประเทศของไทย

 

 

 

 

 

เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนและเมืองเขมรในรัชกาลที่ 2
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนและเมืองเขมรในรัชกาลที่ 2

ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2494

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงอภัยสงคราม (รัมภา โชติดิลก) วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494

          เนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนและเมืองเขมรหรือกัมพูชาในปัจจุบัน กล่าวถึงการเข้ามาของทูตญวนครั้งที่ 1 การขอเข้าเมืองไผทมาศของญวน เขมรตีเมืองพัตบอง ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าลอง และเรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย

 

 

 

 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 23
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 23

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบันลือ รักวานิช 26 มีนาคม พ.ศ. 2510

          จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 23 นี้ เป็นหนังสือที่รวมเรื่องราวพระราชกิจรายวันในแต่ละวัน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเกจ้าอยู่หัว มีเนื้อหากล่าวถึงการออกพระราชบัญญัติ กฎหมายหรือราชการแผ่นดินอื่นๆ เรื่องเกี่ยวกับการเมือง รัฐประสาสโนบายทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับต่างประเทศและการภายในประเทศของไทย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำประเทศไทยผ่านมรสุมทางการเมืองด้วยความยากลำบาก ซึ่งเป็นทิฏฐานุคติแก่นักการเมืองรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่
บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่

ผู้แต่ง : กุลทรัพย์ ชื่นรุ่งโรจน์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่เชื่ม พึ่งเกตุ 8 กรกฎาคม 2505

          บทกวีนิราศตามคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่ นี้ รวบรวมบทร้อยกรองของกวีคนสำคัญที่แต่งขึ้นเพื่อพรรณนาถึงสถานที่สองฝั่งน้ำ ตั้งแต่ลำคลองบางกอกน้อยถึงบางใหญ่ เพื่อใช้เป็นคู่มือแก่ผู้ร่วมวรรณคดีสัญจร คราวที่กรมศิลปากรนำชมคลองบางกอกน้อย บางใหญ่ และไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนตรงข้ามตลาดขวัญ เมื่อเดือนตุลาคม 2504

 

 

 

 

พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5
พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยืนยง วรโพธิ์ และเด็กหญิงสุภาวดี วรโพธิ์ วันที่ 17 มิถุนายน 2508

          พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นี้ เนื้อหาว่าด้วยคำอธิบายว่าด้วยการเสด็จเมืองเหนือ และพระราชหัตถเลขารวมทั้งสิ้น 26 ฉบับ กล่าวความตั้งแต่การเสด็จไปจากบางปะอินถึงเมืองอ่างทอง เมืองสิงหบุรี จังหวัดชัยนาท เมืองไชยนาท เมืองมโนรมณ์ เมืองนครสวรรค์ เมืองพิจิตร เมืองพิษณุโลก เมืองฝาง และการเสด็จกลับจากเมืองอุตรดิษฐ กระทั่งถึงพระราชวังบางปอิน

 

 

 

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 81 จดหมายเหตุ เรื่อง การจราจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 81 จดหมายเหตุ เรื่อง การจราจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง : หลวงจินดาสหกิจ (ละม้าย ธนะศิริ), แปล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : พระนคร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : ธนาคารแห่งประเทศไทย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. ทองเถา ทองแถม 18 ธันวาคม 2510

          จดหมายเหตุ เรื่อง การจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้ ได้รวบรวมจดหมายต่างๆ ที่เขียนขึ้นในระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231) ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1689 (พ.ศ. 2232) ซึ่งส่งไปจากประเทศสยามและจากฝั่งคอร์มันเดล (Cormandel) เนื้อความในจดหมายเหตุเรื่องนี้ ตอนต้นกล่าวถึงชีวประวัติโดยย่อของคอนสแตนติน ฟอลคอน ตอนท้ายกล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการจลาจลครั้งใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนการขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจาอยุธยาหลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคต และพระเพทราชาปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา

 

 

 

 

 

ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 19 ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก ครั้งกรุงศรีอยุธยา
ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 19 ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก ครั้งกรุงศรีอยุธยา

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2474

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2474

          ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 19 ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนัก ครั้งกรุงศรีอยุธยา นี้ ในตอนต้นกล่าวถึงตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีทั้งกระบวนเสด็จโดยทางชลมารคและกระบวนเสด็จทางสถลมารค สำหรับกระบวนเสด็จทางสถลมารคนั้นประกอบไปด้วยกระบวนราบ กระบวนช้าง และกระบวนม้า กล่าวถึงกระบวนเสด็จพระพุทธบาท และการรักษาพระนครเวลาเสด็จไม่อยู่ และในตอนปลายกล่าวถึงตำราหน้าที่มหาดเล็ก ตำราหน้าที่ชาวที่ ตำราหน้าที่ตำรวจ ตำราหน้าที่กรมวัง ตำราราชาภิเษกครั้งกรุงศรีอยุธยา ตำราอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต และพระตำราทรงเครื่องต้น

 

 

 

 

 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง : ชิน อยู่ดี

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510

          เนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยในยุคสมัยหินเก่า สมัยหินหลาง สมัยหินใหม่ และยุคโลหะ กล่าวถึงวัฒนธรรมดองซอน วัฒนธรรมหินใหญ่ ศิลปกรรมในถ้ำ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ ภาพจำหลักบนผนังถ้ำ และการกำหนดยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

 

 

 

 

 

พิธีไหว้ครูและพิธีสืบทอดผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ครูดนตรี และครูช่าง ของกรมศิลปากร
พิธีไหว้ครูและพิธีสืบทอดผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ครูดนตรี และครูช่าง ของกรมศิลปากร

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2553

หมายเหตุ : -

          นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพิธีไหว้ครูและพิธีสืบทอดผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ครูดนตรี และครูช่าง ของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมมาแต่โบราณ เพื่อสืบสานและอนุรักษ์สืบทอดจารีตประเพณี คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชาติไทย และเป็นการเผยแพร่พัฒนาความรู้และคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมสู่บุคลากรรุ่นต่อไป

 

 

 

 

 

ประชุมนิราศภาคใต้ นิราศนครศรีธรรมราช นิราศปักษ์ใต้ และนิราศแพรกไพร
ประชุมนิราศภาคใต้ นิราศนครศรีธรรมราช นิราศปักษ์ใต้ และนิราศแพรกไพร

ผู้แต่ง : อรสรา สายบัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2556

หมายเหตุ : -

          "ประชุมนิราศภาคใต้" เป็นหนังสือรวบรวมวรรณกรรมนิราศ 3 เรื่อง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาคใต้ ได้แก่ นิราศนครศรีธรรมราช ซึ่งนายแก้ว กรมพระคลังสวน แต่งพรรณนาการเดินทางตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก เมื่อพุทธศักราช 2402 นิราศปักษ์ใต้ ซึ่งพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมรมนตรี ทรงพระนิพนธ์เรื่องการเดินทางตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเดียวกับกับนิราศนครศรีธรรมราช และนิราศแพรกไพร ซึ่งพระครูคง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารแต่งพรรณนาการเดินทางกลับจากนครศรีธรรมราชถึงกรุงเทพมหานครหลังจากไปจำพรรษาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองตะกั่วทุ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 

 

 

 

 

 

9 เส้นทางมรดกทางวัฒนธรรม
9 เส้นทางมรดกทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2552

หมายเหตุ : -

          หนังสือ 9 เส้นทางมรดกทางวัฒนธรรม นี้ นำเสนอข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งปรากฏในประเทศไทย อันได้แก่ แหล่งโบราณสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร โดยแยกเป็นเส้นทางมรดกวัฒนธรรมบ้านเชียง ทวารวดี ศรีโคตรบูรณ์ - ล้านช้าง ลพบุรี ศรีวิชัย ล้านนา สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน อันจะเป็นการเสริมสร้างความนิยมในการท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมและสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติทางหนึ่ง

 

 

 

 

โบราณศึกษา และวิธีสอนหนังสือไทย
โบราณศึกษา และวิธีสอนหนังสือไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2502

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางพวงเพ็ชร  เอี่ยมสุกล 

                 โรงโบราณศึกษา กล่าวถึงวิธีการสอนและการศึกษาเล่าเรียนในสมัยโบราณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อใหญ่ ๆ 8 ข้อ เรียกว่ามาติกา มาติกาต่าง ๆ เหล่านี้ว่าด้วยเรื่อง ตำบที่เล่าเรียน สถานที่โรงเรียน จำนวนนักเรียนและครู เวลาเรียนและหยุด เครื่องเล่าเรียน วิชาหนังสือ วิชาเลข และข้อบังคับการเรียน ส่วนเรื่องวิธีสอนหนังสือไทย กล่าวถึงวิธีสอนและวิธีเรียนหนังสือในสมัยก่อน

ราชพิพิธภัณฑ์
ราชพิพิธภัณฑ์

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2483

หมายเหตุ : พิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2483

                 รวบรวมเรื่องราวการจัดแสดง และระเบียบการเข้าชมราชพิพิธภัณฑ์ ที่ตึกศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2483

ทุคตะสอนบุตร
ทุคตะสอนบุตร

ผู้แต่ง : กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ :  พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพื : 2507

หมายเหตุ  : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยก  กุยศรีกุล มีรูปและประวัติผู้ตาย

              หนังสือทุคตะสอนบุตรเล่มนี้ เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ประกอบด้วยเนื้อหา 3 เรื่อง ได้แก่ ทุคตะสอนบุตร พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส มรรยาทเล่มน้อย ของคุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุล และเรื่องการใช้ราชาศัพท์ จากหนังสือพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

              

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช มรดกธรรม นำสู่มรดกโลก ภาพลักษณ์จากวรรณกรรม
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช มรดกธรรม นำสู่มรดกโลก ภาพลักษณ์จากวรรณกรรม

ผู้แต่ง : วิมล  ดำศรี

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช

สำนักพิมพ์ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ปีที่พิมพ์ : 2557

หมายเหตุ : -

          นำเสนอเนื้อหาสาระสำคัญ คือ  เรื่องวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช มรดกธรรมนำสู่มรดกโลก กุศโลบายการทำนุบำรุงพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภาพลักษณ์จากวรรณกรรมมุขปาฐะ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภาพลักษณ์จากวรรณกรรมลายลักษณ์ และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ภาพลักษณ์จากวรรณกรรมสมัยใหม่          

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระบรมธาตุสู่มรดกโลก
พระบรมธาตุสู่มรดกโลก

ผู้แต่ง : ฉัตรชัย  ศุกระกาญจน์ 

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4

สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช

สำนักพิมพ์ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ปีที่พิมพ์ : 2559

หมายเหตุ : -

          นำเสนอเรื่องราวของพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เพื่อเป็นคู่มือแนะนำพระบรมธาตุโดยสังเขป ซึ่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์นั้น ถือเป็นมรดกพุทธศิลป์ที่มีประวัติศาสตร์การสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ยิ่งใหญ่หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางศาสนา มิติทางวัฒนธรรม มิติทางสถาปัตยกรรม และมิติทางประวัติศาตร์ ซึ่งสิ่งเหล่่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางความเชื่อ ความคิด และภูมิปัญญาของคนในอดีตที่มีคุณค่ายิ่ง

 

 

 

 

 

พระบรมธาตุสู่มรดกโลก
พระบรมธาตุสู่มรดกโลก

ผู้แต่ง : ฉัตรชัย  ศุกระกาญจน์ และคณะ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช

สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ปีที่พิมพ์ : 2552

หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชขึ้นทะเบียนมรดกโลก วันที่ 2 กันยายน 2552

          รวบรวมบทความเกี่ยวกับพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้แก่ เรื่องพระพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์กับการตั้งรัฐนครศรีธรรมราช ความรู้เรื่องพระธาตุเจย์ พระมหากษัตริย์กับวัดพระมหาธาตุฯ และนครศรีธรรมราช การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารกับบทบาทการทำนุบำรุงพระบรมธาตุ ปูชนียสถานและพิพิธภัณฑสถานวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร กุศโลบายการทำนุบำรุงพระบรมธาตุของชาวนครศรีธรรมราช          

 

 

 

 

 

โคลงกวีโบราณ
โคลงกวีโบราณ

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2506

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายฉลุมาศ  อักษรมัต ณ เมรุ    วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 15 พฤศจิกายน  2503

           โคลงกวีโบราณ เป็นหนังสือที่รวบรวมโคลงของกวีที่มีชื่อเสียงแต่โบราณ  เป็นโคลงที่แต่งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
โคลงนิราศกรุงเก่า
โคลงนิราศกรุงเก่า

ผู้แต่ง : หลวงจักรปราณี (ฤกษ์)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางนุ่ม  กฤษณกาญจน์  ณ ฌาปนสถานกองทัพบก  วัดโสมนัสวิหาร  26  กุมภาพันธ์  2514. มีรูปและประวัติ     ผู้ตาย    

       โคลงนิราศกรุงเก่า เป็นโคลงนิราศเรื่องหนึ่งที่แต่งโดย หลวงจักรปราณี หรือ มหาฤกษ์  กวีที่มีชื่อเสียงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โคลงนิราศกรุงเก่าบางบทมีสำนวนโวหารที่โลดโผน

พระจันทกินรี คำฉันท์
พระจันทกินรี คำฉันท์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี               พระยาวงศาภรณ์ภูษิต (รื่น วัชโรทัย) ท.ม. ท.จ. ต.ช. ณ เมรุวัดมุกฎกษัตริยาราม     วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2507. มีรูปและประวัติผู้ตาย    

       เป็นเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับฉันท์ เรื่อง พระจันทกินรี คำฉันท์

ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2

ผู้แต่ง : จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสาย ศรีธวัช ณ อยุธยา ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 22 มีนาคม  พุทธศักราช 2512  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 หมวดปกิณณกะ ภาค 2 นี้ มี 18 เรื่อง เช่น เรื่องระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเมืองไชยนาท จ.ศ. 1222 (พ.ศ. 2503), เรื่องทรงมอบอำนาจในการรักษาพระนครแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าหัว, เรื่องประกาศพระเจดีย์ที่ถ้ำประทุน, เรื่องประกาศเรื่องพระสถูปเจดีย์ศิลาที่ทรงสถาปนาขึ้นไว้ ณ ถ้ำประทุน เป็นต้น

ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์
ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเข็ม  บุนนาค          

        เป็นการรวบรวมสุภาษิตจากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าไว้ด้วยกัน โดยจัดไว้เป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้แก่ ไตรสรณคมน์  ธรรม ความชั่ว ความฉลาด ความเขลา ประมาท โลภ ความอกตัญญู กล้าหาญ ภักดี  ความเพียร ความรู้สึกผิด ฯลฯ

จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  2

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2518

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีดัด เดชะชาติ  ม.ว.ม., ป.ช. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 21  ธันวาคม  พุทธศักราช 2518 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ มีเนื้อหาอธิบายถึงลักษณะพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังอธิบายถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชต่าง ๆ ได้แก่ พิธีทำน้ำมนต์อภิเษก การแต่งตั้งเตรียมพระราชพิธีในกรุงเทพฯ การรับแขกเมืองต่างประเทศ พิธีทรงตรึงธงชัยเฉลิมพล และการเลี้ยงถวายเฉลิมพระเกียรติยศนายกเสือป่า เป็นต้น

บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
บทละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  19

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2519

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายาในรัชกาลที่ 6          

        พระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์ มีตัวละครชาวฟ้า และชาวดิน ลำดับฉากตั้งแต่ องก์ที่ 1 จนถึงจบเรื่องมัทนะพาธา ในองก์ที่ 5

เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา, 2431-2512.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นบรรณาการ ในงานฌาปนกิจศพ นางโสภณ อักษรกิจ (หยิน  สมิตะสิริ)          

        เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ นี้  ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทย ประกอบด้วย 9 เรื่อง คือ เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลสารท เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลออกพรรษา ไปพระบาท อัคนีกรีฑา เทศกาลลอยกระทง ประเพณีมีงานเทศน์มหาชาติ และ เรื่องประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ราชสกุลวงศ์
ราชสกุลวงศ์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  7

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเนย  อิศรางกูร ณ อยุธยา ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 1 พฤศจิกายน 2509. มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        ราชสกุลวงศ์  มีเนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ประกอบด้วยเรื่อง ลำดับปฐมวงศ์  พระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์เจ้าหลานเธอ ในราชวงศ์จักรี ประกาศคำนำหน้านามพระบรมวงศานุวงศ์ รายนามราชสกุลวงศ์ และสารบาญค้นพระนามและนามเจ้านาย  เจ้าจอมมารดา จอมมารดา

บทละคอนเรื่องพระสมุท
บทละคอนเรื่องพระสมุท

ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ, 2381-2428.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางละม้าย  จุลดุลย์ มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        หนังสือบทละครเรื่องพระสมุท และ ประชุมคำพากย์รามเกียรติ ภาค 7 และ 8 และภาค 9 นี้  เป็นการรวมเนื้อหาของทั้งสองเรื่องเข้าไว้ในเล่มเดียวกัน นับเป็นวรรณคดีสำคัญที่มีความไพเราะน่าอ่าน

ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ปัจจุบันพยาบาล
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ปัจจุบันพยาบาล

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 64

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2514

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาผัน  เปรมมณี ต.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง  พระโขนง  วันที่  30  สิงหาคม  พุทธศักราช  2514. มีรูปและประวัติผู้ตาย

      ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต และ ปัจจุบันพยาบาล ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง ต่าง ๆ รวม 5 เรื่อง ได้แก่ ประเพณีทำบุญ  ประเพณีบวชนาค ประเพณีแต่งงาน ประเพณีทำศพ และปัจจุบันพยาบาล

นิราศปลูกฝี จังหวัดสตูล
นิราศปลูกฝี จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง : รื่น จันทรมณี (เปรียญ)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ศรีหงส์

ปีที่พิมพ์ : 2478

หมายเหตุ : -          

        เป็นการบรรยายการเดินทางของผู้ที่มีอาชีพเป็นหมอ ต้องจากภรรยาสุดที่รัก เพื่อเดินทางไปทำการรักษา ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ ด้วยความยากลำบากและอันตราย ได้พบปะกับผู้คนมากมาย หลากหลายอาชีพ และมีเหตุการณ์ตื่นเต้น ต่าง ๆ หลายเหตุการณ์

ประวัติวัดสุวรรณคูหา ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ประวัติวัดสุวรรณคูหา ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง : พระครูวินัยสารนิเทศน์

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.

สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.

หมายเหตุ : -           

        มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดสุวรรณคูหา ตลอดจนบุคคลสำคัญของวัด และโบราณวัตถุของวัด

ประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเนื่องในการตาย

ผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) 2431-2512.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  8

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2517

หมายเหตุ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูพนมคณารักษ์ (สัมฤทธิ์  โพธิ์สป)  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        ประเพณีเนื่องในการตาย ประกอบด้วยเนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เหตุที่ต้องทำศพ ประกอบด้วยเรื่องเหตุของการตาย วิญญาณ  เจตภูต ผี เป็นต้น ตอนที่ 2 พิธีทำศพ ประกอบด้วยเรื่อง บอกหนทาง เฝ้าผี  เรื่องแมว  อาบน้ำศพ แต่งตัวศพ เป็นต้น ตอนที่ 3  เผาศพ ประกอบด้วยเรื่อง ปลงศพ เผาฝังไม่ได้ ยกศพออกจากเรือน  ตีหม้อน้ำและหม้อไฟนำหน้าศพ เอาโลงกระแทกเชิงตะกอน  และการทำบุญ 7 วัน ภายหลังวันเผา เป็นต้น

เสภาเรื่องอาบูหะซัน
เสภาเรื่องอาบูหะซัน

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  4

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันโทขาบ  นิลกุล ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 28 มกราคม  พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย.          

        หนังสือเสภาเรื่องอาบูหะซันนี้ นิทานเดิมอยู่ในหนังสืออาหรับราตรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นลิลิต เรียกว่านิทราชาคริต แล้วโปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ร่วมกับกวีอีก 10 คน แต่งเป็นเสภา สำหรับใช้ขับร้องถวายในเวลาทรงเครื่องใหญ่

ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  49

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโท หลวงสุนทรเขตพิทักษ์ (ยิ้ม  รมยะรูป) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 14  พฤษภาคม  พุทธศักราช 2510.  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตเล่มนี้ มีเนื้อหา รวม 4 เรื่อง คือ 1.ประเพณีทำบุญ กล่าวถึง เรื่องทาน ศีล และภาวนา 2.ประเพณีบวชนาค 3. ประเพณีแต่งงาน และ 4. ประเพณีทำศพ

รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต
รัตนพิมพวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสุภาพ  ตาละลักษมณ์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 14 กันยายน  พุทธศักราช 2512. มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เรื่องรัตนพิมพวงศ์ ว่าด้วยเรื่องตำนานพระแก้วมรกตนี้ พระภิกษุชื่อ พระพรหมราชปัญญา ได้แต่งไว้เป็นภาษาบาลี ต่อมาพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เปรียญ ได้แปลเป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. 2449 ในเล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนอุปัตติกถา พระนาคเสน ตอน 2 รัตนพิมพกรณกถา  ตอน 3 พระรัตนพิพกถาวรรณนา และตอนตั้งแต่ออกจากเมืองชิรายมาสู่เมืองนคร (ลำปา) และท้ายเล่มเป็นตำนานพระแก้วมรกต ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ สำหรับอาลักษณ์อ่านในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันสวดมนต์เย็นพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล และมีดุษฎีสังเวย ฉันท์กล่อมพระแก้วมรกตด้วย

อสุเรนทรจารีต คำพากย์
อสุเรนทรจารีต คำพากย์

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2515

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงนฤบาลวรภาชน์ (มัย  ไกรฤกษ์) ต.จ. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ 18 เมษายน  พุทธศักราช 2515.  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        หนังสืออสุเรนทรจารีตคำพากย์นี้ มีเนื้อหาจัดเป็น 14 ขันธ์ ได้แก่ ขันธ์ที่ 1    อสุรพงศ์ ขันธ์ที่ 2 กุเวรสมภพ ขันธ์ที่ 3 อสุเรนทรสมภพ ขันธ์ที่ 4 ภาดายุทธ์ ขันธ์ที่ 5 อสุเรนทรเยี่ยมพิภพ ขันธ์ที่ 6 อสุเรนทรเยี่ยมบาดาล ขันธ์ที่ 7 อสุเรนทรเยี่ยมฟ้า ขันธ์ที่ 8 ประเวศลงกา ขันธ์ที่ 9 อสุเรนทรเยี่ยมไกลาศ ขันธ์ที่ 10 เทวาสุรสงคราม ขันธ์ที่ 11 พญาราพณ์กับพระอรชุน ขันธ์ที่ 12 พญาราพณ์กับพาลี ขันธ์ที่ 13 วานรพงศ์  และขันธ์ที่ 14 หรหมบุตรทำนาย

ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง
ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2515

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนศึกษาการพิศิษฎ์ (พิศิษฎ์ หะวานนท์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่  12  มิถุนายน  พุทธศักราช  2515. มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาและประเพณีบางอย่าง ได้รวมเรื่องต่าง ๆ ไว้ 7 เรื่อง ได้แก่ เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ประวัติพระพุทธศาสนา ปาฐกถาเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ประเพณีทำบุญ ประเพณีบวชนาค และตำนานกฐิน

สุบินคำกาพย์
สุบินคำกาพย์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอภิพัฒนภักดี            (ตา เจริญยิ่ง) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 11  ธันวาคม  2509 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เรื่องสุบินคำกาพย์นี้ มีเนื้อเรื่องเป็นนิทานคติธรรมสอนใจให้เห็นโทษของการทำบาป และเห็นคุณของการทำบุญ ชักจูงใจให้ประพฤติแต่ความดี

พระประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2493

หมายเหตุ : ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2493          

        เรื่องพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเรื่องแสดงถึงบุคคลสำคัญผู้เกิดมาบำเพ็ญประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศชาติ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย

มงคลสูตรคำฉันท์ ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์ และบทละครดึกดำบรรพ์ ชุด อรชุนกับทศกรรฐ์
มงคลสูตรคำฉันท์ ประมวลสุภาษิตพระราชนิพนธ์ และบทละครดึกดำบรรพ์ ชุด อรชุนกับทศกรรฐ์

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2502

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกโท พระยาราชสาส์นโสภณ (อาจ ชูโต) มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ ประมวลโคลงกลอนสุภาษิต และบทโขนเรื่องพระอรชุนกับทศกัณฐ์ อันเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 3 เรื่อง ในเล่มเดียวกัน

นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร
นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2514

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายชุน  พรรณเชษฐ์ มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        นิทานคำกลอนเรื่องโคบุตร ประกอบด้วยเนื้อหา ทั้ง 14 ตอน ได้แก่ กำเนิดโคบุตร ราชปุโรหิตชิงบัลลังค์เมืองพาราณสี นางมณีสาคร และพระอรุณไปพบยักษ์ 4 ตน โคบุตรมาช่วย ชุบชีวิตท้าวพรหมทัตและพระมเหสี แล้วขอลาไปเที่ยวป่า   และโคบุตรได้นางอำพันมาลาเป็นชายา  เป็นต้น

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 32-38
สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 32-38

ผู้แต่ง : สามก๊ก

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ นายเตียง และ นางหวาน  จิราธิวัฒน์ ณ สุสานตำบลสุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วันที่ 25 มกราคม  พุทธศักราช 2512 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นหนังสือบันเทิงคดี ที่แปลมาจากภาษาจีน เป็นความเรียงที่มีความไพเราะงดงาม สละสลวย และได้รสทางวรรณคดีเป็นอย่างยิ่ง ในเล่มนี้จัดพิมพ์เนื้อหาเฉพาะตอนที่ 32-38

เมืองไทยจงตื่นเถิด และลัทธิเอาอย่าง
เมืองไทยจงตื่นเถิด และลัทธิเอาอย่าง

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  7

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2513

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางพร้อม  ขวัญบุญจันทร์          

        เรื่อง เมืองไทยจงตื่นเถิด และลัทธิเอาอย่าง เป็นบทความซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อพระราชทาน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทย โดยใช้พระนามแฝงว่า “อัศวพาหุ” มีเนื้อหาเป็นบทปลุกใจคนไทยให้สำนึกในภัยของชนต่างชาติในประเทศไทย และให้คนไทยพยายามปรับตัวเพื่อให้เป็นประเทศพึ่งตัวเองและเลี้ยงตัวเอง ประกอบด้วยเรื่อง ความหลงอย่างไร ชาวต่างภาษา  การที่เราอาศัยพวกจีน การที่เราต้องอาศัยต่างประเทศ วิธีที่จะแก้ไข กรณียกิจของเราต่อชาติ และเรื่องลัทธิเอาอย่าง

มหานิบาตชาดก เรื่องที่ห้า มโหสธชาดก
มหานิบาตชาดก เรื่องที่ห้า มโหสธชาดก

แต่ง : ชาดก 

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  4

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางหวัง  อโนทัยวงศ์ มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        มหานิบาตชาดก เรื่องที่ห้า มโหสธชาดก เป็นเรื่องราวทั้งหมดของ มโหสธชาดกที่ 5 นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ทั้งในด้านพระศาสนาและด้านวรรณคดีเป็นอย่างมาก

พระจุฬามณีเจดีย์ สัตว์ต่าง ๆ ในสวรรค์และอสูรพิภพทวีปทั้งสี่ กับ เรื่องสัตว์นรกและเปรตวิสัย
พระจุฬามณีเจดีย์ สัตว์ต่าง ๆ ในสวรรค์และอสูรพิภพทวีปทั้งสี่ กับ เรื่องสัตว์นรกและเปรตวิสัย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางกิมหยี  หริตวร ณ เมรุวัดไตรมิตรวิทยาราม วันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2509.  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        พระจุฬามณีเจดีย์นี้ เป็นการรวบรวมมาจากหนังสือต่าง ๆ มาเรียงติดต่อกันให้เป็นระเบียบ โดย พระสาสนโสภณ  เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระราชประสงค์ นอกจากนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเมืองสวรรค์ เมืองดาวดึงส์  เรื่องสัตว์ต่าง ๆในสวรรค์และอสูรพิภพ เรื่องทวีปทั้งสี่ อันประกอบด้วย ชมพูทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป และบุพพวิเทหทวีป ในเล่มยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเรื่องสัตว์นรกและเปรตวิสัยด้วย

ประเพณีทำศพ
ประเพณีทำศพ

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 71

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2517

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางลำจวน  อบเชย  ณ เมรุวัดศรีประวัติ ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี วันที่ 31 มีนาคม  พุทธศักราช 2517  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        รวบรวมเนื้อหาของประเพณีทำศพ ของหอสมุดแห่งชาติ เรื่องน้ำนมแม่ โดยนายแพทย์ เสนอ อินทรสุขศรี เรื่องแรงศรัทธาของลูก โดย ส.ศิวาลัย เรื่องความเป็นมาของพระไตรปิฎก โดย ส.ศิวาลัย เรื่องพุทธทำนาย ของเก่า  เรื่องควรวางจิตอย่างไรใกล้ตาย ของ แนบ มหานีรานนท์ เรื่องรำพึงถึงป่าช้า โดย พระยาอุปกิตศีลปสาร และเรื่องย่อความเกี่ยวกับตัณหา โดย พระทิพย์ปริญญา

เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย
เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย

ผู้แต่ง : อิทธิเทพสรรค์  กฤดากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  4

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโทมานิต อุทัยวรรณ์ และ พันตำรวจตรี สุเทพ  สัมปัตตะวนิช ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 12 มิถุนายน  พุทธศักราช 2511. มีรูปและประวัติผู้ตาย.

                กล่าวถึงศิลปะแห่งการสร้างงานสถาปัตยกรรม
เรื่อง เมขลา-รามสูร
เรื่อง เมขลา-รามสูร

ผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), 2431-2512.

ฉบับพิมพ์ : -

 

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวไขศรี  ชิตินทร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 28 มิถุนายน  2507. มีรูปและประวัติผู้ตาย.          

        เป็นเรื่องเล่าพร้อมทั้งข้อสันนิษฐานบางประการ คละเคล้ากัน เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องเมขลา-รามสูร

ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ
ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ

ผู้แต่ง : ธนิต  อยู่โพธิ์ 

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเดือนลอย  บุนนาค ณ เมรุ      วัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ    มีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติของศรีปราชญ์ โคลงกำศรวลศรีปราชญ์

บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน
บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน

ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนอง  ตุลยพานิช  ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 27  ตุลาคม  2509  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เป็นเนื้อหาของบทละครเรื่อง พญาราชวังสัน ตลอดทั้งเรื่องจนจบ

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติ และ บทร้อยกรองบางเรื่อง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติ และ บทร้อยกรองบางเรื่อง

ผู้แต่ง : ธนิต  อยู่โพธิ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  3

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายกสิณ  ทักษาดิพงศ์ ต.ช., ต.ม. ณ เมรุวัดมกุฎกษัติริยาราม วันที่  22 กันยายน  พ.ศ.2512  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เป็นการรวบรวมบทพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ มารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน  ประกอบด้วย บทเห่เรือ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาส และเห่ครวญ กาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลง นิราศธารทองแดง และเพลงยาว

ชุมนุมวรรณกรรมพระยาตรัง
ชุมนุมวรรณกรรมพระยาตรัง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางน้อม  กรณีศรีสำรวจ ณ เมรุ    วัดเทพศิรินทราวาส 28  พฤศจิกายน  2507  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        มีเนื้อหาเป็นวรรณกรรมของพระยาตรัง รวม 4 เรื่อง คือ โคลงนิราศพระยาตรัง โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ เพลงยาวพระยาตรัง

โคลงรามเกียรติ์ (ภาค 2)
โคลงรามเกียรติ์ (ภาค 2)

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2496

หมายเหตุ : จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ ท่านผู้หญิงละเมียด  พิบูลสงคราม พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ  พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตร วันที่ 14  มิถุนายน  พุทธศักราช 2496  มีรูปและพระประวัติผู้สิ้นพระชนม์          

        กล่าวถึงเป็นโคลงเรื่องรามเกียรติ์ จารึกอยู่ที่เสาพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาค 2 เริ่มตั้งแต่ห้องที่ 26 จนจบถึงห้องที่ 62 ประกอบด้วยโคลง 980 บท

สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และ สุภาษิตสอนสตรี
สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และ สุภาษิตสอนสตรี

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายโอ้  สุนทรศารทูล ณ เมรุ    วัดห้วยจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 3 กรกฎาคม 2508  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        สุภาษิตอิศรญาณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ ประกอบด้วย เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ และสุภาษิตสอนใจ สอนเด็ก สอนสตรี ที่มีความคมคาย

สาวิตรี ความเรียง และ บทละครร้อง
สาวิตรี ความเรียง และ บทละครร้อง

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสมศักดิ์  ตามไท  ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 15 พฤศจิกายน  2508  มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        สาวิตรี เป็นเรื่องแสดงถึงอำนาจแห่งความรัก และความภักดีอันยิ่งใหญ่ที่ภริยามีต่อสามี ท้ายเล่มมีบทเพลงที่ใช้ร้อง

ลิลิตพระลอ
ลิลิตพระลอ

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 10

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท นายแพทย์สวน  กมลนาวิน ร.น.  ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส 20 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2510 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        ลิลิตพระลอเล่มนี้ เป็นหนังสืออันมีค่าในทางวรรณคดี เนื้อหาประกอบด้วยร่ายและโคลง ของเรื่องลิลิตพระลอจนจบเรื่อง

เรื่อง กรมพระราชวังหลัง
เรื่อง กรมพระราชวังหลัง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : จัดพิมพ์เป็นบรรณาการในงานบำเพ็ญกุศล ฉลองอายุครบรอบ ๗๕ ปี บริบูรณ์ ของ พระปรีชาเฉลิม  (ติลกะเถระ) (ม.ล.ยิ้ม  ปาลกะวงศ์)  ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี วันที่ 16 มีนาคม  พุทธศักราช 2509          

        มีประวัติพระปรีชาเฉลิม (ม.ล. ยิ้ม  ปาลกะวงศ์)  และพระราชประวัติกรมพระราชวังหลัง ด้านพระกำเนิดและการศึกษา  การสถาปนาเป็นกรมพระราชวังหลัง การราชการสงคราม  เรื่องพระโอรสและพระธิดา และตอนท้ายมีภาคผนวกอธิบายถึงคำว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(กรมพระราชวังหลัง)  และเรื่องการตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งคัดมาจากประชุมพงศาวดารภาคที่ 26 เรื่องตำนานวังเก่า

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 31 จดหมายเหตุเรื่องมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาประเทศไทย
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 31 จดหมายเหตุเรื่องมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาประเทศไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2493

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ   (วัน  ชูถิ่น) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 30 ธันวาคม  พ.ศ. 2493 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตำราพระโอสถพระนารายณ์
ตำราพระโอสถพระนารายณ์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายจอน  ศุภลักษณ์  ณ เมรุ      วัดแก้วฟ้าล่าง วันที่ 8  กุมภาพันธ์  2508 มีรูปและประวัติผู้ตาย          

        เป็นตำราพระโอสถตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต้นฉบับเป็นหนังสือลานผูก ๑  มีตำราพระโอสถที่หมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลายขนาน ได้แก่ ลักษณะเตโชธาตุออกจากกาย ยาแก้เตโชธาตุพิการ ยากแก้โรคไฟธาตุเย็น ยาแก้ลมป่วง ยาโลหิตกำเริบ ยาจำเริญพระธาตุ ชูพระกำลัง ยาแก้ขัดปัสสาวะ ฯลฯ

นิราศพระยามหานุภาพ ไปเมืองจีน ครั้งธนบุรี ปีฉลู พ.ศ.2324
นิราศพระยามหานุภาพ ไปเมืองจีน ครั้งธนบุรี ปีฉลู พ.ศ.2324

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ :

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายฉลุมาศ อักษรมัต ณ เมรุ     วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 15 พฤศจิกายน 2503          

        นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน มีเนื้อหาทั้งทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์การทูตสมัยกรุงธนบุรี กับพระเจ้ากรุงจีน

บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย
บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย

ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2423-2468.

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2500

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวกิ้มลี้ กรัยวิเชียร ณ เมรุวัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 24 มีนาคม 2500          

        ประกอบด้วยบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 สองเรื่อง คือ เรื่องไม่โกรธ และเรื่องไม่ตาย บรรยายถึงฉากการแสดงละคร ออกเป็นชุด ๆ ตั้งแต่ชุดที่ 1  จนจบเรื่องทั้งสองเรื่อง

 
การละเล่นของไทย
การละเล่นของไทย

ผู้แต่ง : มนตรี  ตราโมท

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  2

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2518

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนพ บุณยเกียรติ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 19 มีนาคม พุทธศักราช 2518         

         เป็นการรวบรวมศิลปะการแสดงต่าง ๆ ของไทยตามลักษณะของแต่ล่ะท้องถิ่น ได้แก่ ละคร หุ่นละครเล็ก เสภาทรงเครื่อง เพลงพื้นเมือง ลิเก ลำตัด การแสดงเบญจพรรณ ละครร้อง สวดคฤหัสถ์ และหนังใหญ่  ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เคยนำออกมาแสดง ณ สังคีตศาลา สถานที่จัดแสดงดนตรีและศิลปะการแสดงด้านต่าง ๆ ของ    กรมศิลปากร

 

มอญที่เกี่ยวกับไทย
มอญที่เกี่ยวกับไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  6

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงชุติมา สุริยสัตย์ จ.จ.

          เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงเรื่องมอญที่เกี่ยวกับไทย ซึ่งคัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 ประกอบด้วยเรื่อง พระนเรศวรหงสา เรื่องมะกะโท เรื่องไทยได้พระธรรมศาสตร์มาจากมอญ เรื่องกรุงศรีอยุธยาแต่งข้าราชการให้นำเครื่องสักการะไปบูชาพระมาลีเจดีย์ เมืองหงสาวดี เรื่องพระยาเกียรติ พระยาพระราม สวามิภักดิ์ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เรื่องครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นตัวประกันอยู่เมืองหงสาวดี เรื่องลงโทษรามัญและปราบเมืองหงสาวดี ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2136 เรื่องเมืองเมาะลำเลิงสวามิภักดิ์และเรื่องปกครองหัวเมืองมอญ ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องมอญเมืองเมาะตะมะเข้ามาสวามิภักดิ์ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เรื่องมอญใหม่กบฎ เรื่องรามัญอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารครั้งกรุงธนบุรี เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมีในรัชกาลที่ 2 กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

   

สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์และประมวลบทพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะ
สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์และประมวลบทพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญส่ง บรรจงโพธิกลาง และฌาปนกิจศพ นายสุรชัย บรรจงโพธิกลาง

          เนื้อหากล่าวถึงเครือลำดับวงศ์กษัตริย์สืบราชสมบัติโปลันด์ การเลือกพระราชาธิบดีโปลันด์ เรื่องล้อมเมืองดันซิค เรื่องเสปญปราบราชอาณาจักรสิซิลีทั้งสอง เรื่องการยุทธ์ในลุ่มแม่น้ำไรน์ นอกจากนี้ยังรวมบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ เรื่องโคลนติดล้อ ความเข้าใจผิด มะพร้าวตกตื่น และเรื่องอื่น ๆ ไว้ด้วย

   

ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 (นิทานทองอิน ภาคที่ 2)
ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 (นิทานทองอิน ภาคที่ 2)

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2506

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์ตรี พระธราธรพิทักษ์ (อั๋น กนิษฐะเสน)

          เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงนิทานทองอิน ภาคที่ 2 ประกอบด้วยเรื่อง ผู้ร้ายฆ่าคนที่บางขุนพรหม นายจรูญเศรษฐี ระเด่นลันได และเรื่องสร้อยคอร้อยชั่ง

จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช และจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่องคณะฑูตลังกาเข้ามาประเทศสยาม
จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช และจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่องคณะฑูตลังกาเข้ามาประเทศสยาม

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางทองอยู่ วีระเวศม์เลขา (สามสูตร)

          จดหมายเหตุการเดินทางของราล์ฟ ฟิตช นับเป็นบันทึกการเดินทางของชาวอังกฤษรุ่นแรกที่ได้มีโอกาสเข้ามาพบเห็นสภาพบ้านเมืองตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางเอเชียอาคเนย์ ราล์ฟฟิตช ได้เขียนข้อความพรรณาถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้พบเห็นอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพภูมิประเทศ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติต่าง ๆ ตลอดจนสินค้าพื้นเมืองของประเทศตะวันออก ส่วนจดหมายเหตุของวิละภาเคทะระ เรื่องคณะฑูตลังกามาประเทศสยามนั้น เป็นตอนที่พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงค์ได้แต่งราชฑูตเชิญพระราชสาส์น เครื่องราชบรรณาการเข้ามาขอพระสงฆ์ไทยให้ออกไปอุปสมบทแก่ชาวลังกา เมื่อ พ.ศ. 2293   

 

 

ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา
ตำนานวัตถุสถานต่าง ๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสาวนภา วังส์ไพจิตร

          เนื้อหากล่าวถึงมูลเหตุแห่งการสร้างวัตถุสถานต่าง ๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์ วัตถุสถานสำหรับบำรุงพระศาสนา พระอารามทรงสร้างขึ้นใหม่ พระอารามทรงบูรณะ วัดที่ทรงอุปการและปฏิสังขรณ์ ทรงสร้างพุทธเจดีย์ และวัตถุสถานที่ทรงสร้างเฉลิมพระราชอิสริยยศ

   

พงศาวดาร มอญ พม่า คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1
พงศาวดาร มอญ พม่า คัดจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาศัลยเวทยวิศิษฏ์ ป.ม., ท.ช.

          เนื้อหากล่างถึงพงศาวดารมอญ และพม่า ที่คัดต้นฉบับมาจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1

   

ปาฐกถาเรื่องสงวนรักษาของโบราณ จดหมายเหตุเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งรัชกาลที่ 3 และการซ่อมภาพผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. 2425
ปาฐกถาเรื่องสงวนรักษาของโบราณ จดหมายเหตุเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครั้งรัชกาลที่ 3 และการซ่อมภาพผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. 2425

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  4

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2516

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเล็ก ณ สงขลา จ.ช., จ.ม.

          เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงความรู้ทางด้านโบราณคดีเกี่ยวกับการตรวจค้นและการสงวนรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ในประเทศไทย รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ท้ายเล่มให้รายละเอียดเรื่องการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงคด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในตอนท้ายกล่าวถึงหลักการบูรณะโบราณสถานกับทัศนะต่างประเทศว่าด้วยการสงวนรักษาของโบราณในประเทศไทย และประเทศภาคพื้นเอเชีย

   

นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  13

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสะลูไร ตุลยายน

          เนื้อหาในตอนต้นกล่าวถึงเรื่องมนุษยชาติ ต่อมากล่าวถึงประวัติของนพมาศ ซึ่งบิดามารดาได้นำนางนพมาศถวายทำราชการในสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้เป็นพระสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และมีการพรรณนาถึงหน้าที่ข้าราชการฝ่ายใน ตลอดจนแบบวิถี 12 เดือน ซึ่งเป็นราชประเพณีในครั้งกรุงสุโขทัย

ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ

ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ขุนคลองเตยบริบาล (เสริม เข็มขจร)

          เนื้อหากล่าวถึงประเพณีการทำบุญของไทย ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ วันมงคลและวังอวมงคล การตกแต่งสถานที่และจัดอาสนสงฆ์ การตั้งที่สักการะบูชา การจับด้ายสายสิญจน์ วิจารณ์เรื่องด้ายสายสิญจน์ การสวดมนต์เย็น วิจารณ์เรื่องการหยดเทียน เรื่องพระปริต เรื่องเลี้ยงพระ และวิจารณืเรื่องการกรวดน้ำ

   

โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2512

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระนนทปัญญา (โต มกรานนท์)

          โคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาตั้งแต่โบราณครั้งกรุงเก่า ซึ่งนำมาจากคาถาสุภาษิตภาษาบาลี ภาาาสันสกฤต ที่มีอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ คือ คัมภีร์ คือ คัมภีร์โลกนิติ คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบท โดยเลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้ง แล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก ๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติ เป็นสุภาษิตที่นับถือกันมาช้านาน

ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย
ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  6

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2515

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาตรี ขุนฤทธิไกรรณการ ต.ม., จ.ช.

          เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม และชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย สำหรับเรื่องประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยามนั้น กล่าวถึงเรื่องพระร่วงตามตำนานและโดยสันนิษฐานโบราณคดี เรื่องไว้ผมของคนไทย เรื่องสำเภาทองลอยพระธาตุ เรื่องบ้านโคนในจังหวัดกำแพงเพชร เรื่องหลักศิลาขอมดำดิน เรื่องเมืองสวรรคโลก เรื่องเมืองเชลียง เรื่องวัดจุฬามณี เรื่องทุ่งแย้ และเรื่องท้าวแสนปม ส่วนเรื่องชาติพันธุ์วิทยาว่าด้วยชนชาติเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทยนั้น กล่าวถึงชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ นิกริโต พวกอินโดเนเซียน มอญ-เขมร ญวน ตระกูลธิเบต-พม่า ชาวไทย เผ่าจีน และผีตองเหลืองหรือยุมบุรี 

 

   

อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ 7 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ 7 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2481

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ แส กนิษฐดิษ

          เนื้อหาของอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ เล่มนี้ ครอบคลุมเนื้อหา 7 จังหวัดภาคใต้ เป็นลักษณะอักขรานุกรมภูมิศาสตร์เฉพาะจังหวัด ประกอบไปด้วยจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

   

ละครพูดเรื่องกลแตก
ละครพูดเรื่องกลแตก

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2510

หมายเหตุ : คณะกรรมกาาอำนวยการราชตฤณมัยสมาคมฯ พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พลออก, พลเรือเอกเจ้าพระยารามราฆพ

          เนื้อหากล่าวถึงบทละครพูดเรื่องกลแตก ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เสร็จเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2462 ทรงใช้นามแฝงว่า “ศรีอยุธยา” เป็นละคอนพูด 4 องก์จบ และคณะละคอนศรีอยุธยาได้แสดง

   

โคลนติดล้อ
โคลนติดล้อ

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  5

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2517

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย สมบูรณ์

          เนื้อหากล่าวถึงบทพระราชนิพนธ์เรื่องโคลนติดล้อ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า "อัศวพาหุ" บทความในเรื่องมีทั้งหมด 12 บท ซึ่งกล่าวถึงข้อบกพร่องของคนไทยที่เปรียบเทียบเป็นโคลนติดล้อหรือปัญหาที่ทำให้ประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญได้ช้าลง โดยมีพระราชประสงค์ คือ เพื่อปลุกใจให้คนไทยรักชาติ รักความเป็นไทย ชี้ให้คนไทยเห็นข้อบกพร่องของตนเองที่ทำให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าช้าลง

เรื่องพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
เรื่องพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง : หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2492

หมายเหตุ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุทฺธสรเถร) พิมพ์เป็นของชำร่วยแก่ผู้มีศรัทธาบริจาคทรัพย์บำรุงพระพุทธบาท

          เนื้อหากล่าวถึงเรื่องพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ ความหมายของรอยพระพุทธบาท ตำนานพระพุทธบาทตามนัยพระบาลีในปุณโณวาทะสูตร์ ตำนานพระพุทธบาทตามหนังสือพระราชพงศาวดาร และความรู้เบ็ดเตล็ดเรื่องพระพุทธบาท

   

บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ
บทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์และบทละคอนเรื่องพระลอ

ผู้แต่ง : กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  7

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2511

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางศรจิตติโยธิน (สดใส ศรจิตติ)         

               กล่าวถึงเนื้อหาของบทละคอนเรื่องพระลอนรลักษณ์ และบทละคอนเรื่องพระลอ ที่คัดจากต้นฉบับสมุดไทย

 

   

ลำดับราชินิกุลบางช้าง
ลำดับราชินิกุลบางช้าง

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ.ขุนวารินทรสัญจร (ขาว ณ บางช้าง)

          เนื้อหากล่าวถึงความหมายของราชินิกุล ลำดับราชินิกุลบางช้าง ลำดับราชินิกุลบางช้างสายตรง ลำดับราชินิกุลบางช้างสายสาขา ราชินิกุลสาขาสายชิด (ราชินิกุลฝ่ายพระชนก) ราชินิกุลสาขาสายห่าง (ราชินิกุลฝ่ายพระชนก) ลำดับราชินิกุลฝ่ายพระชนนี ราชินิกุลฝ่ายพระชนนีสายชิด และราชินิกุลฝ่ายพระชนนีสายห่าง

   

ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง
ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2517

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางฉลวย สมบูรณ์

          ยุทธภัยและความเป็นชาติโดยแท้จริง เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นบทปลุกใจให้คนไทยมีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นบทความที่ตีพิมพ์ในระหว่าง พ.ศ. 2457-2461 ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงมหาสงครามโลกครั้งที่ 1

 

 

   

เทศนาเสือป่า 17 กัณฑ์
เทศนาเสือป่า 17 กัณฑ์

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.ท.ขุนจิตต์จรูญ (จิตต์ จารุภัตติ์)

          รวบรวมเเนื้อหาของเทศนาเสือป่า จำนวน 17 กัณฑ์ ได้แก่ กัณฑ์ที่ 1 ความจำเป็นที่จะมีศาสนา กัณฑ์ที่ 2 กำเนิดแห่งศาสนา กัณฑ์ที่ 3 ศาสนาพราหมณ์ กัณฑ์ที่ 4 ศาสนายิวกับศาสนาคริสตัง กัณฑ์ที่ 5 ความภักดีต่อศาสนา กัณฑ์ที่ 6 ปาฏิหาริย์ กัณฑ์ที่ 7 ศาสนาเป็นของสำหรับชาติ กัณฑ์ที่ 8 ประวัติการแห่งพระพุทธศาสนา กัณฑ์ที่ 9 ความประพฤติแห่งพุทธศาสนา กัณฑ์ที่ 10 การอุปสมบท กัณฑ์ที่ 11 พระไตรสรณคมณ์ กัณฑ์ที่ 12 ประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม กัณฑ์ที่ 13 หลักแห่งความประพฤติชอบ กัณฑ์ที่ 14 ปฐมสิกขาบท กัณฑ์ที่ 15 ทุติยสิกขาบท กัณฑ์ที่ 16 ตติยะ, จตุตถ, และเบญจมะสิกขาบท และกัณฑ์ที่ 17 จตุภริยสัจจ์ ในตอนท้ายมีเนื้อหาของมงคลสูตรและกาลามสูตรรวมอยู่ด้วย

ธรรมจักร
ธรรมจักร

ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : กรมศิลปากร พิมพ์ถวายพระภิกษุและสสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2508

          เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงธรรมจักร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และธรรมจักรที่ค้นพบในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย พร้อมคำอธิบายประกอบหลักธรรมจักรแต่ละหลัก

   

พรหมสี่หน้า
พรหมสี่หน้า

ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : กรมศิลปากร พิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2509

          เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงเรื่องพระพรหมสี่หน้า ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และมีเนื้อหาเกี่ยวกับรูปเขียน รูปปั้น รูปหล่อ รูปแกะสลัก ของพระพรหมที่พบในประเทศไทย

   

เรื่องตู้ลายรดน้ำ
เรื่องตู้ลายรดน้ำ

ผู้แต่ง : ศิลป พีระศรี

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณร ซึ่งเข้ามาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2503             

               มีเนื้อเกี่ยวกับลายรดน้ำ ซึ่งเป็นงานศิลปะชั้นสูงในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ใช้สำหรับตกแต่งเครื่องใช้ในพระศาสนา และสิ่งของเครื่องใช้ของชาวบ้าน

 

 

ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2519

หมายเหตุ : กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พุทธศักราช 2519

              เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นในโอกาสงานกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอื่นในวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม เช่น วิหารพระทรงม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม พระวิหารทับเกษตร วิหารคด เจดีย์รอบองค์พระธาตุ พระวิหารหลวง พระพุทธบาทจำลอง และประตูเยาวราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องพระมหากษัตริย์กับวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร การปกครองและการศึกษาภายในวัด และลำดับเจ้าอาวาสของวัดไว้ด้วย

โคลงเรื่องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5
โคลงเรื่องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่  1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2553

หมายเหตุ : -

          เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องเมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และโคลงเรื่องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 นั้น ประกอบด้วยเรื่องโคลงพิธีถือน้ำแลคเชนทรัสวสนาน และโคลงพระราชพิธีแห่โสกันต์

   

หนังสือที่ระลึกพิธีประดิษฐานและสมโภชพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
หนังสือที่ระลึกพิธีประดิษฐานและสมโภชพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผู้แต่ง : กองทัพภาคที่ 4

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช

สำนักพิมพ์ : กองทัพภาคที่ 4

ปีที่พิมพ์ : 2548

หมายเหตุ : -

               นำเสนอเรื่องราวข้อมูลประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งในส่วนของพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บอกเล่าที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเมืองนครศรีธรรมราช เก๋งจีนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และมีเนื้อหาของกองทัพภาคที่ 4 รวมอยู่ด้วย

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 50 เรื่อง ตำนานเมืองระนอง
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 50 เรื่อง ตำนานเมืองระนอง

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย

ปีที่พิมพ์ : 2474

หมายเหตุ : มหาอำมาตย์ตรี พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) พิมพ์แจกในงานยืนชิงช้า พ.ศ. 2474

          บรรยายถึงตำนานเมืองระนองในสมัยโบราณ อาชีพราษฎรและการตั้งเจ้าภาษีแร่ดีบุก การยกเมืองระนองขึ้นเป็นเมืองจัตวา วิธีการปกครองหัวเมืองในสมัยนั้น ภาษีผลประโยชน์และการประมูลภาษี การตั้งข้าหลวงตรวจรับส่งเงินหลวง การรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสำเนาตราตั้งผู้ปกครองเมืองระนอง และลำดับวงศ์สกุล ณ ระนอง

กฎมนเทียรบาลพะม่า นับเป็นลัทธิธรรมเนียม ภาคที่ 26
กฎมนเทียรบาลพะม่า นับเป็นลัทธิธรรมเนียม ภาคที่ 26

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2479

หมายเหตุ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดให้ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์

          กล่าวถึงราชประเพณีของพม่า ได้แก่ พิธีบรมราชาภิเษกราชกุมารศักดิ์ พระราชานุกิจ ขนบธรรมเนียมในราชสำนัก ราชบัลลังก์ พิธี 12 เดือน พิธีปลงพระบรมศพ

ที่ระลึกงานเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2504
ที่ระลึกงานเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2504

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ศิษย์เพาะช่าง

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : -

          กล่าวถึงความเป็นมาของงานเดือนสิบ จังหวัดนครศรีธรรมราช เขียนโดย ขุนอาเทศคดี ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช และเรื่องจันพอ โดยขุนพันธรักษ์ราชเดช

ปาฐกถาสงเคราะห์เรื่องมหาวาตภัย
ปาฐกถาสงเคราะห์เรื่องมหาวาตภัย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประยูรการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : -

          เป็นปาฐกถาของท่านภิกขุปัญญานันทมุนี วัดชลประทานรังสฤษฎิ์ เกี่ยวกับการเกิดเหตุวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช

นามพระที่นั่ง นามประตู แลป้อม
นามพระที่นั่ง นามประตู แลป้อม

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงเรียนมหาดเล็ก

ปีที่พิมพ์ : 2448

หมายเหตุ : -

          รายชื่อนามพระนั่งในพระบรมมหาราชวัง และต่างจังหวัด รายชื่อนามประตูรอบพระบรมมหาราชวังและพระบรมราชวัง รายชื่อป้อมรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง ป้อมตามกำแพงพระนครชั้นนอก ตามลำน้ำเจ้าพระยาในเขตเมืองสมุทรปราการ

เล่าเรื่องในไตรภูมิ
เล่าเรื่องในไตรภูมิ

ผู้แต่ง : เสฐียรโกเศศ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : จงเจริญการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : 2518

หมายเหตุ : -

          หนังสือเล่าเรื่องไตรภูมิของเสฐียร เรียบเรียงมาจากหนังสือไตรภูมิพระร่วง โดยเขียนให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับนรก สวรรค์ กล่าวเริ่มต้นด้วยเรื่องเมืองนรก ตอนที่ 2 เรื่องติรัจฉานภูมิ เปตภูมิ หรือแดนแห่งเปรต อสูรกายภูมิ มนุษยภูมิ และสวรรคภูมิ

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อนิรุทธิ์ พันธุ์พิทย์แพทย์
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อนิรุทธิ์ พันธุ์พิทย์แพทย์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.

สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

ปีที่พิมพ์ : 2538

หมายเหตุ : -

          กล่าวถึงเกร็ดประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช เช่น ตำนานเมือง เพลงประจำจังหวัด ขนบธรรมเนียมประเพณี โบราณวัตถุและโบราณสถาน ศิลปกรรมและนาฏกรรม และการดูยามยาตราประจำวัน

ไหว้พระธาตุ ไหว้สัสดีใหญ่ ไหว้อาลักษณ์
ไหว้พระธาตุ ไหว้สัสดีใหญ่ ไหว้อาลักษณ์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.

สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.

หมายเหตุ : -

          เอกสารถ่ายสำเนา คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ

ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาค 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี (ฉะบับร่าง)
ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาค 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี (ฉะบับร่าง)

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์

ปีที่พิมพ์ : 2480

หมายเหตุ : -

          จำนานสมาชิกเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรีที่มีสกุลสายตรงรวม 8 สกุล คือ สินสุข อินทรโยธิน พงษ์สิน ศิลานนท์ รุ่งไพโรจน์ โกมารกุล ณ นคร และจาตุรงคกุล

 

ข่าวตอนต้นรัชชกาลที่ 3 ตามรายงานราชการอังกฤษ
ข่าวตอนต้นรัชชกาลที่ 3 ตามรายงานราชการอังกฤษ

ผู้แต่ง : กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2475

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานทรงบำเพ็ญพระราชกุศลหน้าพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ครบ 7 วัน

          กล่าวถึงสำเนาจดหมาย 2 ฉบับ คือ สำเนาจดหมายมิศเตอรกีลลีซ์ และสำเนาคำแปลจดหมายพระคลัง หรือเสนาบดีว่าการต่างประเทศ เป็นการรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ของประเทศไทยในขณะนั้น

 

เรื่องของชาติไทย
เรื่องของชาติไทย

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยเขษม

ปีที่พิมพ์ : 2483

หมายเหตุ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดปทุมวนาราม

          กล่าวถึงอาณาจักรไทยเดิมในภาคต่าง ๆ ของประเทศจีน ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรไทยกับจัน การตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน ลานนาไทย และสิ้นสุดลงเมื่อพม่าเข้ามามีอำนาจในการปกครองลานนาไทย

 

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2472

หมายเหตุ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์

          ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บรรยายเหตุการณ์เมื่อรัชกาลที่ 4 เริ่มตั้งแต่เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เหตุการณ์ขณะทรงประชวร พระราชกระแสดำรัสเรื่องสืบราชสมบัติและเหตุการณ์อื่น ๆ ก่อนและหลังสวรรคต การปรึกษาถวายราชสมบัติ จนถึงการประดิษบานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ประมวลหลักฐานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ภาค 1
ประมวลหลักฐานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ภาค 1

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์ : 2481

หมายเหตุ : -

          เนื้อหามี 2 เรื่อง คือ บทเฉลิมพระเกียรติสรรเสริญสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งรวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ เรื่องที่ 2 คือ แผ่นดินสยามครั้งกรุงธนบุรี แสดงถึงแผ่นดินอาณาเขตของไทยที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้และก่อสร้างไว้ให้แก่ชาติไทยในครั้งนั้น

ประวัติสุนทรภู่
ประวัติสุนทรภู่

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรนิติ

ปีที่พิมพ์ : 2470

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาสิทธิโชคชุมนุม (อ้น สิทธิสุข)

          กล่าวถึงประวัติของสุนทรภู่ ฝ่ายพระบรมราชวังในรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่เกิดเมื่อ พ.ศ. 2329 จนกระทั่งถึงแก่กรรมในรัชกาลที่ 4 รวมทั้งผลงานและบทประพันธ์ของสุนทรภู่ด้วย

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุกับสำเนากระแสพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา และประกาศการศึกษามรสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุกับสำเนากระแสพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา และประกาศการศึกษามรสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่เอม หิมะทองคำ

          พระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ โอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2428 ให้ทรงประพฤติที่ทรงสั่งสอนไว้ แล้วยังได้พระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาสและเกษียณอายุ

คำปราสัยของพนะท่าน ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์
คำปราสัยของพนะท่าน ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเหร็ดราชการแทนพระองค์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พานิชศุภผล

ปีที่พิมพ์ : 2487

หมายเหตุ : -

          คำปราศรัยของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนองค์พระมหากษัตริย์กล่าวต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในวันที่ 8 สิงหาคม 2487 ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี (นายควง อภัยวงศ์) และคณะรัฐมนตรีได้เข้าถวายบังคมพระบรมรูป ถวายสักการะต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น

ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาคที่ 2
ลำดับสกุลเก่า บางสกุล ภาคที่ 2

ผู้แต่ง : พระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส รัตนกุล)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2465

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยารัตนกุลอดุลยภักดี (จำรัส รัตนกุล)

          กล่าวถึงลำดับสกุลไกรฤกษ์ วัชรกุล สกุลท่านขรัวทอง (ภมรสูต) และอมาตยกุล

ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 2
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ 2

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทย

ปีที่พิมพ์ : 2457

หมายเหตุ : พิมพ์พระราชทานในงานศพ ฟักทอง ราชินีกุล

          รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นเหตุการณ์ในทางประวัติศาสตร์และแบบแผนประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติในสมัยก่อน และกล่าวถึงพงศาวดารเมืองถลาง ไทรบุรี ตรังกานู และกลันตัน ให้รายละเอียดเกี่ยวกับด้านการปกครอง ประเพณีวัฒนธรรม สภาพความเป็นอยู่ และเหตุการณ์สำคัญ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับไทย

เกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย
เกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อำพลวิทยา

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพิษณุ แช่มบาง 

          รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับเรื่องดนตรีของไทย ได้แก่ ลักษณะเพลงไทย ลักษณะวงดนตรีไทย เพลงโหมโรง ปี่พาทย์ประกอบเทศน์มหาชาติ เพลงเรื่องทำขวัญ อธิบายเพลงเขมรไทรโยค 3 ชั้น อธิบายเพลงโสมส่องแสงเถา รำหน้าพาทย์ และประเพณีและพิธีไหว้ครู

เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนและเมืองเขมรในรัชกาลที่ 2
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนและเมืองเขมรในรัชกาลที่ 2

ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ตีรณสาร

ปีที่พิมพ์ : 2494

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงอภัยสงคราม (รัมภา โชติดิลก)

          ตอนต้นกล่าวถึงประวัติคุณหญิงอภัยสงครามโดยสรุป และเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับเขมร และเวียดนามหรือญวน นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องที่น่าสนใจ เช่น เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2366 เรื่องพระเจ้ายาลอง (องค์เชียงสือ) สิ้นพระชนม์ เรื่องเขมรตีเมืองพัตบองจากไทย เป็นต้น

นิราศเมืองเพชร
นิราศเมืองเพชร

ผู้แต่ง : สุนทรภู่

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเล็ก จินดาสิริ ณ เมรุวัดพลับพลาชัย จังหวัดเพชรบุรี

          ตอนต้นกล่าวถึงประวัติของสุนทรภู่และประวัตินายเล็ก จินดาสิริ จากนั้นจึงเป็นเนื้อความของนิราศเมืองเพชรที่สุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้สุนทรภู่เดินทางไปเมืองเพชรบุรี

สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 43)
สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 43)

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2501

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ ประยูร อิศรศักดิ์) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส     2 เมษายน 2501

           หนังสือสาส์นสมเด็จนี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพ เมื่อทรงวางภาระทางราชการงานเมืองและทรงพักผ่อนอย่างเงียบๆ เนื้อหากล่าถึงแขนงวิชาศิลป วรรณคดี และการปกครอง

มหรสพของไทย
มหรสพของไทย

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2526

หมายเหตุ : จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส วันเด็กแห่งชาติ 2526 วันที่ 8 มกราคม พุทธศักราช 2526

           ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมหรสพไทย นาฏศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ ได้แก่ โขน ละครนอก ละครใน ละครพันทาง ลิเก หนังใหญ่  ฟ้อนเล็บ ซอ หนังตะลุง รองเง็ง มะโย่ง กลองยาวรำภูไท และการแสดงอื่น ๆ ที่เป็นวัฒนธรรมทางศิลปะการแสดงประจำถิ่น ซึ่งมีลักษณะรูปแบบคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัย ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมประจำถิ่น  เป็นต้น          

ไม้แกะสลัก
ไม้แกะสลัก
ผู้แต่ง : อ่ำ  ศรีสัมพุทธ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2532
หมายเหตุ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เผยแพร่เนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย ปี 2532       
 
                 รวบรวมผลงานของนายอ่ำ  ศรีสัมพุทธ ศิลปินแห่งชาติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาฝีมือการช่างของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแหล่งหาความรู้ของประชาชน
 
ข้อแนะนำเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ข้อแนะนำเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้แต่ง : บรรจบ  เทียมทัด
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2517
หมายเหตุ : พิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2517       
 
                  หนังสือเรื่องข้อแนะนำเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กฎบัตรสากลแห่งเมืองเวนิช เพื่อการสงวนรักษาและบูรณะอนุสาวรีย์และโบราณสถาน เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในงานโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
 
 
The Royal Monasteries and Their significance
The Royal Monasteries and Their significance
ประชุมนิพนธ์เบ็ดเตล็ด (บางเรื่อง) ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ประชุมนิพนธ์เบ็ดเตล็ด (บางเรื่อง) ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2509
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพัฒน วงษ์ขจร
         พระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดเล่มนี้รวบรวมสาระความรู้ทั้งในด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การปกครอง การศาสนา และอื่นๆ มีทั้งสิ้น 55 เรื่อง
ทองคำที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2538
ทองคำที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2538

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2547

หมายเหตุ : -

          รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ทั้งข้อมูลสถานที่ตั้ง ลักษณะขององค์พระบรมธาตุ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุวรมหาวิหาร การบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและองค์พระบรมธาตุเจดย์ การซ่อมบูรณะกลีบบัวทองคำ (บัวกาบปลี) องค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ใน พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2537 - 2538 รวมถึงเรื่องของทองคำที่ใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช

การบูรณะปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช สิ้นสุดครึ่งแรกตามแผนงาน
การบูรณะปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช สิ้นสุดครึ่งแรกตามแผนงาน

ผู้แต่ง : นพวัฒน์ สมพื้น

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์  : 2537

หมายเหตุ : -


          พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชตั้งอยู่ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในภาคใต้ของไทย องค์พระบรมธาตุเจดีย์นั้นอายุเกือบพันปีจึงเป็นเรื่องปกติที่ต้องชำรุด เสื่อมสภาพจึงมีความจำเป็นที่จะต้องซ่อมความมั่นคงของแกนปลียอดอีกอย่างแผ่นทองที่หุ้มอยู่รอบปลียอดนั้นส่วนใหญ่มีส่วนผสมของทองแดงและเงิน ทำให้เกิดสนิมผุกร่อน นอกจากนี้ลายประดิษฐ์อันประณีตที่ชำรุดเสียหายต้องซ่อมอีกมาก เม็ดพลอยที่เป็นเครื่องประดับได้หลุดหายด้วยเหตุดังกล่าวจึงจำเป็นต้องทำการซ่อมบูรณะปฏิสังขรณ์งานศิลปกรรมและแผ่นทองคำขึ้นใหม่ดังนั้นการบูรณะในครั้งนี้จึงเป็นทั้งการบูรณะปฏิสังขรณ์ทางสถาปัตยกรรมและทางศิลปกรรม

การบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์
การบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.

หมายเหตุ : -


          กล่าวถึงการบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจสภาพทางสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการตกแต่ง ผลการสำรวจปลียอดส่วนหุ้มทองคำของเจดีย์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช สรุปผลการเจาะสำรวจ การบูรณะ การปฏิสังขรณ์ วิธีการและขั้นตอนบูรณะปฏิสังขรณ์

รายงานสรุปการสำรวจและล้างทำความสะอาด กลีบบัวทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
รายงานสรุปการสำรวจและล้างทำความสะอาด กลีบบัวทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ 

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : -

หมายเหตุ : -


          นำเสนอรายงานสรุปการสำรวจและล้างทำความสะอาด กลีบบัวทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครศร๊ธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และการบูรณะฯ โดยสังเขป
ประวัติการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และการบูรณะฯ โดยสังเขป

ผู้แต่ง : สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช

ฉบับพิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : -

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : -

หมายเหตุ : -


          นำเสนอเนื้อหาเรื่องประวัติการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช โดยสังเขป

จินดามณี
จินดามณี

ผู้แต่ง : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2503

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี ป.ม., ท.จ.ว.


          หนังสือจินดามณีเล่มนี้  เป็นเล่ม 2  นิพนธ์เป็นคำโคลง  ตอนท้ายมีพระนิพนธ์กาพย์และโคลงกระทู้สุภาษิต  มีความไพเราะ  และยังเป็นสุภาษิตที่ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติได้ดีจนถึงทุกวันนี้

ตำนานเรื่องสามก๊ก
ตำนานเรื่องสามก๊ก

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายนาถ  สิงหศักดิ์


          ประวัติความเป็นมาของการเริ่มตีพิมพ์หนังสือเรื่องสามก๊ก และว่าด้วยการแปลหนังสือสามก๊กเป็นภาษาต่าง ๆ แล้วได้มีการพิมพ์แพร่หลายในประเทศจีน และฉบับต่อไปในประเทศอื่น ๆ

เล่าเรื่องไปสุมาตรา เมื่อ พ.ศ. 2476
เล่าเรื่องไปสุมาตรา เมื่อ พ.ศ. 2476

 ผู้แต่ง :  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2507

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางโต๊ะ  รักรุ่งเรือง และ นายส่ง  รักรุ่งเรือง


          เนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องราวการเดินทางระหว่างปีนังถึง ถึงเมืองเมดันซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลสุมาตรา เพื่อไปส่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จต่อไปยังยุโรปและอเมริกา กล่าวถึงเส้นทางการเดินทาง ชีวิตความเป็นอยู่ และภาษาที่ใช้ของพลเมืองในเกาะสุมาตรา

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์

ผู้แต่ง :  สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. (พิเศษ) ทรง  บุรานนท์


          หนังสือกฤษณาสอนน้องคำฉันท์  เป็นหนังสือที่กรมสมเด็จพรปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าด้วยสำนวนโวหาร  นับเป็นหนังสือชั้นเอกในกวีนิพนธ์เรื่องหนึ่ง  ประกอบด้วยเนื้อความโอวาทานุสาสนี สำหรับสตรีที่จะพึงปฏิบัติต่อสามี เป็นคติสำหรับกุลสตรีที่พึงปฏิบัติ

คำกลอนสุภาษิต และ ทุกกฏะสอนบุตร
คำกลอนสุภาษิต และ ทุกกฏะสอนบุตร

ผู้แต่ง :  -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2480

หมายเหตุ : พิมพ์แจกในงานปลงศพ ขุนพินิจทัณฑกิจ (มาลัย  บุรารักษ์)


          หนังสือคำกลอนสุภาษิต และทุกกฏะสอนบุตร  มีต้นฉบับเป็นหนังสือสมุดไทย นำเสนอเรื่องราวที่เป็นคติสอนใจแก่ผู้คนโดยทั่วไป และเรื่องราวการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดีมีความกตัญญู จนประสบความสำเร็จในชีวิต

กากีกลอนสุภาพและสมบัติอมรินทร์คำกลอน
กากีกลอนสุภาพและสมบัติอมรินทร์คำกลอน

ผู้แต่ง : เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2504

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประยัติ เวชพงษ์


          กากีกลอนสุภาพและสมบัติอมรินทร์คำกลอน นิพนธ์ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) กวีเอกผู้หนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวรรณคดีที่มีความไพเราะและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย

นำเที่ยวเมืองสุโขทัย
นำเที่ยวเมืองสุโขทัย

ผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2508

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวิญญูประเทศ (พอน อยู่สุข)


          นำเที่ยวเมืองสุโขทัยเล่มนี้ นำเสนอเรื่องของภูมิประเทศและสภาพทั่วไปของเมืองสุโขทัย ตำนานเมือง โบราณสถานต่าง ๆ ได้แก่ ศาลแม่ย่า กำแพงเมืองสุโขทัยเก่า วัดตระพังทอง เนินปราสาทพระร่วง วัดพระมหาธาตุ วัดตระพังเงิน ศาลหลักเมือง วัดชนะสงคราม วัดสระสี วัดศรีสวาย วัดตะกวน ศาลเทพารักษ์ วัดศรีชุม วัดพระพายหลวง เตาทุเรียง วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง วัดช้างล้อม อรัญญิกของพ่อขุนรามคำแหง วัดป่ามะม่วง หอเทวาลัยมหาเกษตรพิมาน วัดเจดีย์งาม วัดเขาพระบาทน้อย วัดสะพานหิน และยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของโรควัณโรค การบำบัด วัณโรคในสัตว์และการป้องกันรวมอยู่ด้วย

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางริ้ว ประกาศสุขการ และนายสุธี ประกาศสุขการ


          นำเสนอเรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศและสภาพทั่วไปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โบราณสถานสำคัญต่าง ๆ เช่น ป้อมและปราการรอบกรุง พระราชวังและตำหนักต่าง ๆ ประตูและกำแพงวัง วัดต่าง ๆ และประวัติและโบราณสถานในเกาะบางปะอิน

สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล
สมบัติศิลปจากบริเวณเขื่อนภูมิพล

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2509

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ นายนกยูง พงษ์สามารถ


          นำเสนอรายละเอียดการขุดค้นโบราณวัตถุสถานในบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล โดยเริ่มสำรวจและขุดค้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก และได้ไปสำรวจและขุดค้นตั้งแต่อำเภอฮอด ในจังหวัดเชียงใหม่เรื่อยลงมาตามลำน้ำแม่ปิง จนถึงบริเวณที่สร้างเขื่อนในอำเภอสามเงา มีการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุได้กว่า 500 ชิ้น ได้แก่ พระพุทธรูปที่ขุดได้จากบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล พระแก้วกรุเจดีย์ศรีโขง พระบฏในกรุพระเจดีย์วัดดอกเงิน ตุง กลองสะบัดชัย ของเบ็ดเตล็ดจากกรุฮอด และเครื่องถ้วยจีน

อนุสสรเมืองสงขลา
อนุสสรเมืองสงขลา

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2484

หมายเหตุ : พิมพ์แจกเป็นที่ระฤกในงานพิธีเปิดที่มำการใหม่ศาลจังหวัดสงขลา วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484


          นำเสนอรายงานการสร้างที่ทำการใหม่ ศาลจังหวัดสงขลา เรื่องศาลยุติธรรมจังหวัดสงขลาที่เขียนโดยพระยาศรีธรรมราช ประวัติการสร้างที่ทำการใหม่ ศาลจังหวัดสงขลา โดยหลวงจำรูญ เนติศาสตร์ พงศาวดารเมืองสงขลา ภาคที่ 1 โดยพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) และพงศาวดารเมืองสงขลา ภาคที่ 2 โดยพระยาสวัสดิ์คีรี (เย็น สุวรรณปัม)

โคลงเรือลอยพระประทีป
โคลงเรือลอยพระประทีป

ผู้แต่ง : -

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ปีที่พิมพ์ : 2466

หมายเหตุ : -


           โคลงเรือลอยพระประทีปเล่มนี้ หลวงสารประเสริฐ นุช แต่งเมื่อแรกสร้างเรือพระประทีปขึ้น พรรณนาชื่อเรือและชื่อผู้ทำเรือถวายทุก ๆ ลำ เป็นเหมือนบัญชีรายชื่อเรือพระประทีปที่มำในครั้งนั้น

เรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง
เรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2493

หมายเหตุ : สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


          นำเสนอเรื่องราวของพระลัญจกรซึ่งประกอบด้วยพระราชลัญจกรที่เป็นของเก่าและพระราชลัญจกรที่โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ เนื้อหายังกล่าวถึงเรื่องตราประจำตัวประจำตำแหน่งของกระทรวงต่าง ๆ ของไทย

ตำรายาของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
ตำรายาของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

ผู้แต่ง : พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 5

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2482

หมายเหตุ : ขุนวิจิตรวรรณกร พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นายโล้น นางเปลี่ยน นาคะนาท ผู้บิดามารดา


          รวมตำรายาและสรรพคุณยาของพะรวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (หมอสาย) ที่ได้รับการถ่ายทอดจากพระบิดา กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ที่ได้กำกับหมอหลวงมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 และ 4 และสืบทอดมายังพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

เรื่องเลิกทาสในรัชกาลที่ 5
เรื่องเลิกทาสในรัชกาลที่ 5

 

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2499

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอุเมนเทพโกสินทร์ (ประสาน บุรณศิริ)


          นำเสนอเรื่องราวของทาส ตั้งแต่กฎหมายทาส พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยเรื่องทาวและเกษียณอายุ พระราชบัญญัติพิกัดเกษียนอายุลูกทาสลูกไทย ประกาศลูกทาศ ประกาศเกษียณลูกทาสลูกไทย และเรื่องการเลิกทาส ย่อความตามพระราชบัญญัติและประกาศต่าง ๆ ที่ออกภายหลังพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับกรมศิลปากร
พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับกรมศิลปากร

 

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ 

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2518

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่ทองอยู่ ศิลปเดช จ.ม.


          พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เล่มนี้ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ด้วยกัน ตอนแรกเป็นพระราชประวัติที่คัดมาจากหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ส่วนตอนหลังเป็นพระราชประวัติบางตอนคัดมาจากสมุดไทยเรื่องพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเขียนด้วยอักษรดินสอขาว ทั้งสองตอนมีความละเอียดน่าศึกษาอย่างยิ่ง

อธิบายเรื่องธงไทย
อธิบายเรื่องธงไทย

 

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประเสริฐสมุด

ปีที่พิมพ์ : 2476

หมายเหตุ : พิมพ์ในงานปลงศพนางเปี่ยม เทศสอาด และพระราชทานเพลิงศพนายร้อยโทเปรื่อง เทศสอาด


          อธิบายเรื่องธงไทยเล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้เมื่อคราวยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกราชบัณฑิตย์สภา โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมวดธงประจำพระองค์ หมวดธงแผ่นดิน หมวดธงประจำกอง หมวดธงประจำตำแหน่ง และธงหมายยศ 

รวมเรื่องสั้นของเสฐียรโกเศศ
รวมเรื่องสั้นของเสฐียรโกเศศ

 

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2500
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.อ.หลวงมานิตรัฐยา (ทองศุข จิตรภักดี)

         
          หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทประพันธ์สั้น ๆ ของเสฐียรโกเศศ ซึ่งเคยลงพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ โดยบทประพันธ์มีเนื่อเรื่องไปในทำนองของการค้นคว้าเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และเกร็ดความรู้ต่าง ๆ และในเล่มนี้รวบรวมไว้ 3 เรื่อง คือ เรื่องกินโต๊ะจีน เรื่องกินหมากในแง่อักษรศาสตร์ และเรื่องไปพระบาท

ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ภาค 2
ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ภาค 2

 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1

สถานที่พิมพ์ : พระนคร

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2505

หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายกลั่น ณ นคร
 

          หนังสือประชุมนิทานพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 ภาค 2 เล่มนี้ รวบรวมนิทานพระราชนิพนธ์จำนวน 3 เรื่อง ด้วยกัน คือ เรื่องนากพระโขนงที่สอง เรื่องนายสุวรรณถูกขโมย และเรื่องความลับแผ่นดิน

ตำนานและคำไหว้พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
ตำนานและคำไหว้พระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์ : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์ : 2554
หมายเหตุ : พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ พระนครกุลเชษฐ์มเหศรภักดี


          เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช บทสวดไหว้พระธาตุซึ่งเป็นอักษรขอม-ไทย ภาษาบาลี-ไทย จากคัมภีร์ใบลาน ปริวรรตถ่ายถอดมาเป็นภาษาไทยปัจจุบัน

รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช
รวมเรื่องเมืองนครศรีธรรมราช
 

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2505
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร)


          รวบรวมเนื้อหาของนครศรีธรรมราช ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งรัชกาลที่ 2 พระประวัติสังเขปพระเจ้านครศรีธรรมราช หมายรับสั่งในการเฉลิมพระยศพระเจ้านครศรีธรรมราช เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานไปยังเจ้าปัทมราช เมืองนครศรีธรรมราช พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จถึงเมืองนครศรีธรรมราช และจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตอนเสด็จถึงเมืองนครศรีธรรมราช

จดหมายเหตุเสด็จประพาสเกาะชวา ในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 1 และ 2
จดหมายเหตุเสด็จประพาสเกาะชวา ในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 1 และ 2
 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2514
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมเกษร สนิทวงศ์


          การเสด็จประพาสเกาะชวาเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเสด็จเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2413 เวลานั้นเพิ่งเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติได้ 3 ปี เสด็จเป็นทางการ ตามเสด็จแต่กระบวนข้าราชการฝ่ายหน้า เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่ 2 เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 115 ตรงกับปีวอก พ.ศ. 2439 เสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ กระบวนตามเสด็จทั้งฝ่ายในและฝ่ายหน้า เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่ 3 เสด็จเมื่อ ร.ศ. 120 ตรงกับปีฉลู พ.ศ. 2444 เสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิรอยาบถ 

พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452)
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452)
 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2499
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.อ. ประธาน โชติวรรณ


          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดการประพาสภายในพระราชอาณาเขต เพื่อตรวจตราการปกครอง และพระราชนิพนธ์เล่าเรื่องความเป็นมาของบ้านเมืองนั้น  ในครั้งนี้เป็นการเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ก็ได้กล่าวถึงเรื่องราวขณะเสด็จประพาส

เรื่องมหาดเล็ก
เรื่องมหาดเล็ก
 

ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2517
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกนายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม.


          เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และข้อที่บรรดามหาดเล็กพึงปฏิบัติต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขนบธรรมเนียมและกิจพิธีต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ปัจจุบันบางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลสมัย

ตำนานศุลกากร
ตำนานศุลกากร
 

ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2494
หมายเหตุ : พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเหมงกิจ และนางจันทร์ ซิมตระกูล


          กล่าวถึงเรื่องภาษีอากร พระคลังสินค้า การค้าด้วยสำเภา ภาษีภายใน การตั้งด่านภาษี การศุลกากรสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 การศุลกากรก่อนสมัยกรมศุลกากร กรมศุลกากรสมัยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช การตรวจเก็บภาษีศุลกากร การศุลกากรหัวเมือง และการเก็บภาษีสุรา

ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ
ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ

 

ผู้แต่ง : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2496
หมายเหตุ : -


          นำเสนอเรื่องราวของพระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ เช่น พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธบุษยรัตน์ พระแก้วมรกตน้อย พระนิรันตราย พระพุทธเพชรญาณ พระพุทธนรสีห์ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช เป็นต้น

ตำนานเรือรบไทย
ตำนานเรือรบไทย

 

ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486.
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2496
หมายเหตุ : ต้นฉบับจากกรมศิลปากร พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนาวาอากาศเอก พระประพิณพนยุทธ์ (พิณ พลชาติ)
 
          กล่าวถึงประวัติเรือรบไทยตั้งแต่สมัยโบราณ  2 ชนิด คือ เรือรบใช้สำหรับทางแม่น้ำและเรือรบใช้สำหรับทางทะเล
พงศาวดารเมืองสงขลา และพงศาวดารเมืองพัทลุง
พงศาวดารเมืองสงขลา และพงศาวดารเมืองพัทลุง

 

ผู้แต่ง : พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา), หลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์)
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2498
หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงจรูญบุรกิจ (จรูญ ณ สงขลา)
 
          รวบรวมเนื้อหาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติพุทธศาสนา
ประวัติพุทธศาสนา

 

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2492
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนเกษมกรรณสูต (ระเส็ง กรรณสูต)
 
          นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ ปฐมสังคายนา ทุติยสังคายนา ตติยสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนามาถึงสุวรรณภูมิ และกล่าวถึงกำเนิดพุทธศาสนามหายาน
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 21 จดหมายเหตุเรื่องเจรจาความเมืองระหว่างไทยกับพม่า
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 21 จดหมายเหตุเรื่องเจรจาความเมืองระหว่างไทยกับพม่า
 
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2505
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุขุม เมาลานนท์
 
          ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 21 นี้เป็นจดหมายเหตุเรื่องเจรจาความเมืองระหว่างไทยกับพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ครั้ง ซึ่งมีรายละเอียดได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้แล้ว
ชุมนุมพระนิพนธ์และนิทานโบราณคดี (บางเรื่อง) และประเพณีทำบุญ
ชุมนุมพระนิพนธ์และนิทานโบราณคดี (บางเรื่อง) และประเพณีทำบุญ

 

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2504
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายร้อยตำรวจเอก ขุนผลาญไพรินทร์ (เลื่อน นวลักษณ์)
 
          รวบรวมเรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ การอำนวยพร เรื่องโจรแปลกประหลาด พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และประเพณีทำบุญของกรมศิลปากร
ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น
ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น

 

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระศุลีสวามิภักดิ์ (เศวตร์ พราหมณะนันทน์)

 
          กล่าวถึงเรื่องราวประวัติของเครื่องโต๊ะและเครื่องถ้วยปั้น เครื่องถ้วยที่มีในเมืองไทยและเรื่องของการปั้นเครื่องถ้วย
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และสุภาษิตพระร่วง
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 และสุภาษิตพระร่วง

 

ผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453, กรมศิลปากร
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2508
หมายเหตุ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์สนัด สุวรรณะบุณย์ ต้นฉบับจากกรมศิลปากร มีรูปและชีวประว้ติผู้ตาย
 
          โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ในโอกาสต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้พสกนิกร ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม เมตตา กรุณา ซื่อสัตย์สุจริต    ส่วนสุภาษิตพระร่วงหรือบัญญัติพระร่วง   คัดจากประชุมจารึกวัด เชตุพล เล่ม 2 กล่าวกันว่าเป็นพระราโชวาทของพระร่วงเจ้า หรือพ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชน ให้รู้จักหลักการดำเนินชีวิต
ตำราฟ้อนรำ
ตำราฟ้อนรำ

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2510
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางยวง  อังศุสิงห์
 

          ว่าด้วยตำรารำไทย ประกอบด้วยรูปแสดงท่ารำต่างๆ เช่น เทพประนม ปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลา ช้านางนอน ผาลาเพียงไหล่ พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อน ภมรเคล้า เป็นต้น

ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช

 

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2503
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางยุพิน ไตรภักดิ์
 

          เป็นหนังสือที่พิมพ์ตามต้นฉบับเดิมซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เป็นตำนานเมืองและการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ของเมืองนครศรีธรรมราช

อตีตังสญาณ หรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต
อตีตังสญาณ หรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต

 

ผู้แต่ง : ธนิต อยู่โพธิ์
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2511
หมายเหตุ : กรมศิลปากรพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2511
 

          เป็นหนังสือสารคดีที่จัดพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณรซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในเทศกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี ต่อมาได้มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในต่างจังหวัดหลายแห่ง และได้เลือกเรื่องอตีตังสญาณ หรือเครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต จัดพิมพ์ถวายเป็นธรรมบรรณาการแก่พระภิกษุและสามเณร โดยแปลความหมายของคำว่าญาณในทางพุทธศาสนาว่าคือความหยั่งรู้ แต่ความหมายในหนังสือเล่มนี้เน้นในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยอาศัยจดหมายเหตุ เอกสารพงศาวดาร ตำนานและจารึก ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อช่วยในการค้นคว้าเป็นที่ยอมรับและทันสมัย

ชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่างๆ ภาค 7
ชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่างๆ ภาค 7

 

ผู้แต่ง : สมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์  กรมพระยาภานุฟันธุวงศ์วรเดช
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2511
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแจ่ม ยงใจยุทธ


          เป็นหนังสือที่กล่าวถึงคุณความดีแห่งการท่องเที่ยวในที่ต่างๆ และรายงานระยะทางที่เสด็จไปยังหัวเมืองชายทะเลตะวันตกในบริเวณอ่าวไทย เมื่อ พ.ศ. 2547 ตามที่ได้ทรงบันทึกไว้ในเวลาเมื่อเสด็จไปในเมืองนั้นๆ เนื้อหายังกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆ สภาพบ้านเมือง ความเป็นอยู่ขนบประเพณี ตลอดจนการอาชีพและภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นในอดีตได้เป็นอย่างดี

คำไหว้พระธาตุ นครศรีธรรมราช
คำไหว้พระธาตุ นครศรีธรรมราช

 

ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์ : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์ : 2555
หมายเหตุ :


          ต้นฉบับเดิมของหนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารโบราณของพิพิธภัณฑ์วัดพัทธสีมา ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการจารไว้ด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี-ไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทไหว้พระพุทธเจ้า บทบูชาพระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ และสิ่งสำคัญต่าง ๆ หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ได้นำมาปริวรรตเป็นอักษรไทยปัจจุบันและจัดพิมพ์ โดยมีนายชินเวส สารสาส สนับสนุนงบประมาณ

พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง
พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

 

ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ : 2464
หมายเหตุ : พระโสภณอักษรกิจ พิมพ์สนองพระคุณท่านเจ้าพระยารามราฆพฯ ในงานฉลองสุพรรณบัฎ


          นำเสนอเนื้อหาของพระราชนิพนธ์ กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง

นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2324
นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน ครั้งกรุงธนบุรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2324

 

ผู้แต่ง : พระยามหานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
ปีที่พิมพ์ : 2461
หมายเหตุ : จางวางเอก พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ พิมพ์แจกในงานยืนชิงช้า ปีมะเมีย พ.ศ. 2461


          กล่าวถึงเรื่องราวครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีต่อพระเจ้ากรุงจีน แผ่นดินเขี้ยนหลง ณ กรุงปักกิ่ง

เครื่องสายไทย
เครื่องสายไทย

 

ผู้แต่ง : มนตรี ตราโมท
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2503
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายสาคร วิชยาภัย


          กล่าวถึงเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องสายของไทย ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 58 เรื่องโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาคที่ 2
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 58 เรื่องโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาคที่ 2

 

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ลหุโทษ
ปีที่พิมพ์ : 2475
หมายเหตุ : -

 

          กล่าวถึงการเดินทางของราชทูต (โกศาปาน) ที่เดินทางไปประเทศฝรั่งเศสตามเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่บทที่ 49 - 64 ได้แก่ มณฑลฟลังดร์ เมืองแซงต์เดอนีส์ เมืองอาราส เมืองกาแลส์ เมืองดึงแกร์ก เมืองตูเนย์ เมืองวาลังเซียนส์ เมืองเดอแนง เมืองดูแอย์ เมืองกังแบรย์ เมืองเปรอน เมืองแซงต์กันแตง เมืองลาแฟร์ เมืองซวาซงส์ และเมืองวิแลร์ก็อตเตรต์ ซึ่งเป็นการบรรยายถึงเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะเดินทาง

ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่
ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่

 

ผู้แต่ง : สุนทรภู่
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
ปีที่พิมพ์ : 2471
หมายเหตุ : -

 

          เป็นหนังสือรวบรวมสุภาษิตของสุนทรภู่ โดยคัดจากนิราศต่าง ๆ เช่น นิราศพระบาท นิราศอิเหนา นิราศพระแท่นดงรัง และจากวรรณคดีที่เป็นบทประพันธ์ของสุนทรภู่ที่ให้ข้อคิดและคติเตือนใจ เช่น
          "อันกำเนิดเกิดมาในหล้าโลก  สุขกับโศกมิได้สิ้นอย่างสงสัย"  หรือ
          "การนินทากาเลเหมือนเทน้ำ  ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน"  (จากเรื่องพระอภัยมณี)

เรื่องเที่ยวไทรโยค คราวสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เสด็จประพาส เมื่อ พ.ศ. 2464
เรื่องเที่ยวไทรโยค คราวสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เสด็จประพาส เมื่อ พ.ศ. 2464

 

ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2497
หมายเหตุ : 

 

          เหตุที่สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข จะเสด็จประพาสไทรโยคในคราวนี้ เนื่องจากกรมทหารราบที่ 4 ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษอยู่นั้น ได้รับรางวัลในการยิงเป้าในปี พ.ศ. 2464 จึงจัดให้มีงานฉลองโล่ที่ได้รับเป็นรางวัลขึ้นที่จังหวัดราชบุรี พระองค์จึงเสด็จไปประทับเป็นประธานในงานนั้น และทรงบำเพ็ญพระกุศลในอภิลักขิตสมัย ตรงกับวันประสูติด้วย ครั้งเสร็จการฉลองโล่ครั้งนั้นแล้ว สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข ได้เสด็จขึ้นไปตรวจทหารที่เมืองกาญจนบุรี แล้วเลยเสด็จประพาสทางลำน้ำน้อยขึ้นไปจนถึงเมืองไทรโยค ได้โปรดให้เรือเอก หลวงสุนาวินวิวัฒน์ (เหลียง สุนาวิน) จดรายวันการเสด็จประพาสไว้

       

หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. 121
หนังสือจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. 121

ระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. 121 นี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้เป็นบันทึกจดหมายเหตุรายวัน เมื่อคราวเสด็จไปตรวจราชการในมณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร ในครั้งนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ พระประสงค์ในการเดินทางไปตรวจราชการครั้งนั้นก็เพื่อจะได้ทรงทราบถึงข้อ บกพร่องในการปฏิบัติงาน และเพื่อพัฒนาการไปรษณีย์ให้ก้าวหน้าขึ้น เนื่องจากได้ทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น ตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานของข้าราชการในแต่ละท้องถิ่นเหล่านั้น ซึ้งเป็นมูลเหตุให้ทรงเข้าพระทัยถึงปัญหาทั้งในด้านบุคคลและงานมณฑลต่าง ๆ ที่กำลังประสบอยู่ ทำให้สามารถจัดการแก้ไขพัฒนาทั้งงานและบุคคลได้ผลดี

 

ผู้เขียน: 
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานประชุมพระสังฆาธิการประจำปี 2525 ณ วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 3
ประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ และประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
ประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ และประเพณีเกี่ยวกับชีวิต

        กล่าวถึงประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งตัดตอนมาจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 และเรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตที่ตีพิมพ์อยู่ในเล่มนี้ มี 3 เรื่อง คือ ประเพณีทำบุญ ของนายเสฐียร  พันธรังษี เปรียญแต่งร่วมกับพันเอกหลวงวิจิตรวาทการ ประเพณีบวชนาค พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงนิพนธ์ และประเพณีทำศพ พระจรูญชวนะพัฒน์ กับหลวงวิศาลดรุณกร เรียบเรียง

ผู้เขียน: 
-
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพันตำรวจเอก หลวงไววิชิต (ประสงค์ โกมลชนก) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 18 กันยายน 2504
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1

 

พระราชวังหลัง
พระราชวังหลัง

          กล่าวถึงตำนานวังหลัง  เจ้าต่างกรมในกรมพระราชวังหลัง พระโอรสธิดาในกรมพระราชวังหลัง กรมหมื่นนราเทเวศร์สิ้นพระชนม์  ปราบกบฏเวียงจันท์

 

ผู้เขียน: 
-
คำอธิบาย: 
ที่ระลึกในงานประชุมเพลิงศพ พระภิกษุ ม.ล. จำเริญ ปาลกวงศ์ ณ วัดมหาพฤกฒาราม วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2484
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
เรื่องก่อนประวัติศาสตร์
เรื่องก่อนประวัติศาสตร์

        เป็นเรื่องราวกล่าวถึงมนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ เมื่อครั้งยังไม่รู้จักจดเอาไว้เป็นหนังสือ หนทางที่จะทราบเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงอยู่ที่การศึกษา ให้รู้จักใช้ สังเกต พิจารณาลักษณะของวัตถุที่ขุดค้นพบ แล้ววินิจฉัยลงข้อสันนิษฐานหาเหตุผลแวดล้อมประกอบกับวัตถุที่ขุดค้นได้ วิธีที่นักปราชญ์ชาวตะวันตกใช้เป็นแนวทาง แนวพิจารณาหาความรู้ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างชัดเจน

 

ผู้เขียน: 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ รองเสวกเอก หลวงราชเนตร์รักษา (เพ็ชร์ พุกกะคุปต์)
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 2
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม

        ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอธิบายลักษณะเจ้านายประเภทต่าง ๆ โดยละเอียด และเปรียบเทียบกับลักษณะของประเทศใกล้เคียง ให้ความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีและรัฐประศาสโนบายในสมัยรัชกาลที่ 5

 

ผู้เขียน: 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำอธิบาย: 
คณะพระภิกษุสามเณร วัดบวรนิเวศวิหาร พิมพ์อุทิศถวายส่วนกุศล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2501
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
ลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์
ลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์

        เรื่องลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์นี้ แต่งเป็นกาพย์ฉบัง 16 เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึง รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บอกจำนวนปีและ พ.ศ. ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทุกรัชกาล

 

ผู้เขียน: 
-
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสาวอรวรรณ เลขะกุล ณ เมรุวัดหัวลำโพง พระนคร
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 2
เด็กไทยสมัยก่อนเก่ากับเด็กเราสมัยนี้
เด็กไทยสมัยก่อนเก่ากับเด็กเราสมัยนี้

         เผยแพร่ความรู้ให้เด็กไทยในปัจจุบันได้เข้าถึงพื้นฐาน วัฒนธรรมประเพณี ความคิดและความเชื่อของคนไทยในอดีต เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้คิดช่วยกันจรรโลงลักษณะของความเป็นคนไทยที่มี ลักษณะโดดเด่น เพียบพร้อมไปด้วยความมีน้ำใจไมตรีให้อยู่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยตลอด ไป

 

ผู้เขียน: 
กรมศิลปากร
คำอธิบาย: 
กรมศิลปากรจัดพิมพ์ประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ 2533
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
เรื่องสังเค็ด
เรื่องสังเค็ด

สังเค็ด หรือ เครื่องสังเค็ด หมายถึง สิ่งของ มีตู้โต๊ะ สำหรับทำบุญเป็นทานวัตถุถวายเทศน์ หรือพระบังสุกุลที่หน้าศพ เพื่ออุทิศแก่ผู้ตาย

 

ผู้เขียน: 
พระยาอนุมานราชธน
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเตียน ประยูรรักษ์ ณ เมรุวัดหัวลำโพง พระนคร วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2504
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
กฎหมายรัชกาลที่ 1 ฉบับตรา 3 ดวง ลักษณะอาญาหลวงแลลักษณะอาญาราษฎร์
กฎหมายรัชกาลที่ 1 ฉบับตรา 3 ดวง ลักษณะอาญาหลวงแลลักษณะอาญาราษฎร์

กฎหมายตราสามดวง ที่เลือกมาเฉพาะลักษณะอาญาหลวง และลักษณะอาญาราษฎร์ คือกฎหมายที่มีการลงโทษทางอาญา และยังรวถึงการวิวาท ลักษณะโจร ลักษณะมูลคดีวิวาท ลักษณะโจรห้าเส้น ลักษณะขบถศึก พระราชกำหนดเก่าและพระราชกำหนดใหม่ กฎหมายพระสงฆ์ เป็นต้น

คำอธิบาย: 
พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์เืรืองศักดิ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2474
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
นิราศพระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
นิราศพระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

เป็นพระราชนิพนธ์กล่าวถึงการเสด็จไปรบพม่าที่เมืองนครศรีธรรมราช ปีมะเมีย พ.ศ. 2329 และกล่าวถึงการเสด็จไปตีเมืองพม่า ปีฉลู พ.ศ. 2336 เป็นการบรรยายการเดินทางตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกข้องผู้ประพันธ์ขณะเดินทาง

 

ผู้เขียน: 
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
คำอธิบาย: 
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าศีลวราลังการ (เนตร) วัดชนะสงคราม เมื่อปีขาล พ.ศ. 2469
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 52 จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต

        กล่าวถึงการเกิดปรากฎการณ์สุริยอุปราคา (สุริยปราคา) ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ตั้งพลับพลาสำหรับดูสุริยุปราคา โดยมีเซอร์แฮรีออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ และโหรของรัฐบาลฝรั่งเศสเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

 

ผู้เขียน: 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ภาค 1) และพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช
จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ภาค 1) และพงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช

         มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เรื่องพงศาวดาริอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 และเกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตอนที่ 2 เป็นจดหมายหลวงอุดมสมบัติเขียนจดหมายกราบเรียนพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เมืองไทรบุรียกกำลังมาตีเมืองสงขลาในปีะ พ.ศ. 2381 ตอนที่ 3 พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่หลวงสิทธินายเวรมหาดเล็ก (หนู) พระปลัดเมืองนครผู้รักษาราชการเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้านคร และได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นชุมนุมเจ้านคร ส่วนท้ายเล่มกล่าวถึงประวัติพระยานคร (น้อย) และจดหมายบอกข่าวราชการจากกรุงเทพฯ ถึงเจ้าพระยานคร (น้อย)

 

คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุทธิพงษ์ บุญฉลอง ณ ฌาปนสถานวัดพระพิเรนทร์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2503
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
พระบรมราโชวาท ในรัชกาลที่ 5
พระบรมราโชวาท ในรัชกาลที่ 5

        พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดพิมพ์ในเล่ม นี้  เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งมีไปพระราชทานพระบรมโอรสาธิราช  ขณะประทับศึกษาอยู่  ณ  ต่างประเทศภาคหนึ่ง  และอีกภาคหนึ่งเป็นพระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ  เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา  ณ  ต่างประเทศ  เมื่อพุทธศักราช  2428  พระบรมราโชวาทภาคหลังนี้แม้จะทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเฉพาะสำหรับแนะนำสั่งสอน พระเจ้าลูกยาเธอในกาละหนึ่ง  แต่เนื้อความล้วนเป็นคติสอนใจที่เป็นผลได้แก่ผู้อ่านทั่วไป  โดยเฉพาะกุลบุตร  กุลธิดา  ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียน  ทั้งที่ศึกษาอยู่ในบ้านเมืองของเรา  และที่ออกไปศึกษาอยู่  ณ  ต่างประเทศ  ส่วนพระบรมราโชวาทภาคแรกนั้น  นอกจากเนื้อความอันเป็นคติสอนใจที่ดีเยี่ยมแล้ว  ผู้อ่านยังได้มีโอกาสทราบถึงความจริงในพระราชหฤทัยของพระองค์ที่ทรงมีต่อ การดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติ  รวมทั้งความห่วงใยที่พระองค์มีต่อพระบรมราชโอรส  ซึ่งจะเป็นผู้สืบต่อตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นด้วย

 

ผู้เขียน: 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอนุศาสน์โศภณ (เอียด วรรณบวร) ณ เมรุวัดนิคมประทีป อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์
ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์

ตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์นี้  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ขึ้น  โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับตำนานเครื่องมโหรีปี่พาทย์  ต้นตำราเครื่องสังคีต  เรื่องตำนานเครื่องมโหรี  เรื่องตำนานมโหรีเครื่องสาย  เรื่องตำนานเครื่องปี่พาทย์  เรื่องตำนานกลองแขก  เรื่องตำนานปี่ซอและแคน  รวมถึงเครื่องมโหรีปี่พาทย์ของไทย

 

ผู้เขียน: 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นาวาตรี หลวงจักรวิธานนิเทศ (สนธิ์ วังศะสนธิ) ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม 19 พฤษภาคม 2504
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
บทดอกสร้อยสวรรค์ ครั้งกรุงเก่า
บทดอกสร้อยสวรรค์ ครั้งกรุงเก่า

เป็นหนังสือรวบรวมบทดอกสร้อย ซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งมีมาแต่สมัยโบราณเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก หรือเทศกาลทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ผู้มีบรรดาศักดิ์มักพาบริวารพร้อมโทนทับกรรับฉิ่ง พร้อมสำรับ ลงเรือไปเที่ยว เมื่อไปพบปะกับเรือลำอื่นก็ร้องลำนำโต้ตอบกันไปมา เป็นการละเล่นที่เรียกว่า ดอกสร้อย ซึ่งผิดกับการเล่นสักวาตรงที่ ดอกสร้อยเล่นแค่ 2 วง ชายหนึ่งวง หญิงหนึ่งวง มีบทร้องยากกว่าสักวา ส่วนสักวาจะเล่นกี่วงก็ได้และมีบทร้องง่ายกว่าดอกสร้อย

 

คำอธิบาย: 
พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช ณ วัดโปรดเกศ พ.ศ. 2463
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
ตำหนักแพ
ตำหนักแพ

เรื่องตำหนักแพ  เป็นคำใหม่ไม่ใช่คำโบราณ  ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงอธิบายว่าคำที่เรียกตำหนักแพ คือ ท่าที่ประทับเรือพระที่นั่งของพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระมหาอุปราช  แต่ก่อนมีชื่อว่าพระฉนวนน้ำประจำท่าพระราชวังหลวงหรือพระราชวังบวรฯ
          ทรงกล่าวถึงพระฉนวนน้ำประจำท่าพระราชวังหลวงว่ามีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรี อยุธยา  สมัยกรุงธนบุรีก็มีการสร้างพระฉนวนน้ำประจำท่าพระราชวังหลวงที่เหนือปากคลอง บางกอกใหญ่ เรียกกันว่า ตำหนักน้ำ
          ครั้นเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระฉนวนน้ำพระราชวังหลวงให้เจ้าพนักงานทำแพลอยหนุนไม้ไผ่ ราษฎร เรียกกันว่า ตำหนักแพ  ทรงเล่าว่าครั้งหนึ่งกรมพระราชวังในรัชกาลที่ 1 เสด็จลงมาประทับที่พระตำหนักแพลอย พร้อมด้วยพระสนมข้างใน เพื่อทอดพระเนตรกระบวนกฐินเรือในพระราชวังหลวง ครั้งนั้นเกิดลมพายุใหญ่พัดมาต้องพระตำหนักแพลอยเสาหัก ขณะนั้นพระสนมชื่อชู ทรงครรภ์ครบถ้วนทศมาสเฝ้าอยู่ในพระตำหนักแพลอยด้วย ได้ประสูตรพระกุมารองค์ หนึ่ง คือ พระองค์เจ้าเพชรหึง  ภายหลังรับสั่งให้เลิกถอนพระตำหนักแพลอย  ก่อสร้างเป็นพระตำหนักน้ำแทน แต่ราษฎรยังคงเรียกขานกันว่า
ตำหนักแพ

 

ผู้เขียน: 
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
คำอธิบาย: 
จัดพิมพ์เนื่องในงานฌาปณกิจศพ นางรัฐสถานพิทักษ์ (เจิม กาญจนะหุต) และนายประดิษฐ์ ตุงคะเศรณี ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2490
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พระนคร, 2490
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 19 จดหมายเหตุหอสาตราคม จดหมายเหตุเรื่องสุริยอุปราคา ปีมะโรง พ.ศ. 2411 และพระราชนิพนธ์ฯ
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 19 จดหมายเหตุหอสาตราคม จดหมายเหตุเรื่องสุริยอุปราคา ปีมะโรง พ.ศ. 2411 และพระราชนิพนธ์ฯ

          ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 19 นี้ มีจดหมายเหตุ 3 เรื่องด้วยกันคือ
           1.จดหมายเหตุหอสาตราคม เริ่มบันทึกเหตุการณ์ในปีวอก พ.ศ.2403 สมัยรัชกาลที่4 เป็นบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในวโรกาสต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
           2.จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรง พ.ศ.2411 บันทึกเหตุการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงคำนวณการเกิด สุริยุปราคา ใน พ.ศ.2411 และการเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง เพื่อทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
           3.จดหมายเหตุของเซอร์แฮรีออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลก่อน ที่ตำบลหัววาน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2411

 

คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงบริบูรณ์วีหิพรรณ (ม้าน นัจจะนันทน์) วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 3
ว่าด้วยแม่น้ำที่มีในประเทศสยาม
ว่าด้วยแม่น้ำที่มีในประเทศสยาม

         เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ในสมัยนั้น ซึ่งพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วีรยสิริ) ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นหลวงเทศาจิตรพิจารณ์ ปลัดกรมแผนที่ได้ไปทำการรางวัด
ให้ความรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของม่น้ำสายสำคัญๆ ของประเทศ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) นอกจากจะให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศริม ฝั่งแม่น้ำและวิถีชีวิตของประชาชนในสมัยก่อน

 

ผู้เขียน: 
พระยามหาอำมาตธิบดี (เส็ง วีรยสิริ)
คำอธิบาย: 
พิมพ์ในงานปลงศพ นายหนึง สุวารี
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 2
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. 107 และ 108
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. 107 และ 108

          กล่าวถึงการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศหลายประการ ทำให้ทราบถึงความเป็นอยู่ ทุกข์ สุข ของราษฎรตามหัวเมือง ซึ่งในคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู เมื่อ ร.ศ.108 ได้ทรงพบว่าราษฎรที่เมืองพัทลุงเป็นไข้ทรพิษตายกันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุงส่งคนเข้าไปฝึกหัดปลูกฝีที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แล้วให้รับหนองโคออกมาปลูกฝีที่เมืองพัทลุงให้ราษฎรทุกปี
           นอกจากจะเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติยศและความเป็นเอกราชของไทยแล้ว พระองค์ยังได้นำแบบฉบับวิธีการปกครอง การทำนุบำรุงบ้านเมือง และแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีบางประการที่เหมาะสมกับประเทศไทยมาปรับปรุง แก้ไขและใช้บริหารประเทศ ซึ่องก่อให้เกิดผลดีแก่บ้านเมืองเป็นอันมาก

 

ผู้เขียน: 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
มูลบทบรรพกิจ
มูลบทบรรพกิจ

          หนังสือมูลบรรพกิจฉบับนี้  พระยาศรีสุนทรโวหาร  น้อย  ต้นสกุลอาจารยางกูร  แต่เมื่อยังเป็นหลวงสารประเสริฐ  ปลัดกรมพระอาลักษณ์  แต่งขึ้นสำหรับใช้เป็นแบบสอนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง  เมื่อราว  พ.ศ. 2414  เมื่อแต่งแล้วได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง  จำนวน  2,000  ฉบับ  สำหรับเป็นแบบเรียนให้กุลบุตร  กุลธิดา  ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยในสมัยนั้น

 

ผู้เขียน: 
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
คำอธิบาย: 
พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก พระยามหาโยธา (ฉ่าง แสง - ชูโต) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2489
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1

 

 

ที่ระลึกในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2509
ที่ระลึกในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2509

          จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหนังสือที่ระลึกเพื่อแจกเป็นอภินันทนาการแก่บรรดาผู้ที่ ไปร่วมงานในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้  เนื้อรวบรวมข้อมูลตำนานเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของพระยาโกมารกุลมนตรี  ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารของพระครูปลัดวิริยะวัฒน์  (สมภพ  ป.)  วัดราชผาติการาม  กับตำนานเรื่องพระครูกา

 

ผู้เขียน: 
กรมชลประทาน
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1
นิยายพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช
นิยายพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช

        นิยายพระบรมธาตุ  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นหนังสือที่กล่าวถึงประวัติและตำนานของพระบรมธาตุ  เริ่มเมื่อตอนแบ่งปันพระบรมธาตุเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน  ณ  เมืองกสินารา  มีกษัตริย์เมืองต่าง ๆ  มาขอแบ่งปันพระธาตุนำไปก่อพระสถูปไว้ทุก ๆ  นคร  พร้อมจัดงานสมโภชพระบรมธาตุ
          ตอนต่อมากล่าวถึงตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชและตอนก่อพระธาตุจังหวัด นครศรีธรรมราช  ราว  พ.ศ. 233 - 234  การส้รางบ้านสร้างเมืองที่หาดทรายแก้วและตำนานการก่อกำแพงเมืองของพระศรี ธรรมโศกราช

 

ผู้เขียน: 
เขียน พยัฆมาศ
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 2
ตำนานกฐิน
ตำนานกฐิน

     กล่าวถึงความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในเรื่องกฐิน  วิธีทอดกฐินตามแบบแผนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงวางแผนไว้  เมื่อครั้งที่ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรขึ้น  วิธิกราลกฐินที่วางไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕  อานิสงส์สำหรับผู้ทอดกฐิน และความเป็นมาของกฐินหลวง  ซึ่งเป็นราชประเพณีที่มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี...

 

ผู้เขียน: 
วิจิตรวาทการ, หลวง.
คำอธิบาย: 
พระโสภณอักษรกิจ พิมพ์ช่วยในการทอดกฐินสามัคคี ณ วัดราชโยธา (ลาดบัวขาว) วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ ๓.-- พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๙.

 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4 - ต้นรัชกาลที่ 5)
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พ.ศ. 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4 - ต้นรัชกาลที่ 5)

        เป็นจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันตั้งแต่ปีมะโรง  จ.ศ. 1230  (พ.ศ. 2411  ยังเป็นรัชกาลที่ 4)  จนถึงวันพุธ  แรม  12  ค่ำ  ปีมะโรง  จ.ศ. 1230  (พ.ศ. 2411  ยังเป็นรัชกาลที่ 5)  ต้นฉบับเป็นสมุดไทยดำ  เขียนดินสอขาว  มีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติเพียงเล่มเดียว  นายยิ้ม  ปัณฑยางกูร  ผู้เชี่ยวชาญทางจดหมายเหตุได้พบและให้คัดต้นฉบับรักษาไว้

คำอธิบาย: 
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิง วิมลปัทมราช จิรประวัติ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 16 พฤษภาคม 2508
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พิมพ์ครั้งที่ 1

 

เพลงดนตรีประวัติศาสตร์ (หลวงวิจิตรวาทการ)
เพลงดนตรีประวัติศาสตร์ (หลวงวิจิตรวาทการ)

     เพลงดนตรีประวัติ ศาสตร์ เป็นบทร้อยกรองบรรยายเรื่องราวในประวัติศษสตร์ของชนชาติไทย ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการแต่งเป็นคำกลอนสำหรับขับร้อง และบรรเลงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ความรู้ความเป็นมาของชนชาติไทย และปลูกจิตสำนึกความรักชาติแก่ประชาชน...

 

ผู้เขียน: 
หลวงวิจิตรวาทการ
คำอธิบาย: 
กรมศิลปากร พิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณรในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๑
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พระนคร : โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์, ๒๔๘๑.
โคลงกวีโบราณ
โคลงกวีโบราณ

          โคลงกวีโบราณ  เป็นหนังสือประชุมโคลงกวีโบราณที่แต่งขึ้นตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  และเป็นที่ยอมรับนับถือกันในหมู่กวีแต่ครั้งโบราณว่าเป็นโคลงกวีชั้นดี  โคลงโบราณที่รวบรวมพิมพ์ไว้ในเล่มนี้  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า เข้าใจว่าพระยาตรังรวบรวมถวายกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เมื่อครั้งกลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ...

 

ผู้เขียน: 
-
คำอธิบาย: 
พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ณ วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๖๗
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
๒.-- โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๗
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสหัวเมืองในแหลมมลายู รัตนโกสินทรศก 117-118-119
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสหัวเมืองในแหลมมลายู รัตนโกสินทรศก 117-118-119

กล่าวถึงการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ในแหลมมลายู อาทิ เกาะพงัน เมืองสงขลา เมืองกลันตัน ตรังภานู สายบุรี นครศรีธรรมราช เป็นต้น เป็นการเสด็จประพาส 3 ครั้ง คือ เมื่อรัตนโกสินทรศก 117, 118 และ 119

ผู้เขียน: 
-
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
-
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา
ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา

ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา

ตำนานพระพุทธสิหิงค์
ตำนานพระพุทธสิหิงค์

          ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และเข้าสู่เมืองไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันมีพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ คือ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
           เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีผู้สงสัยว่าองค์ไหนคือพระพุทธสิหิงค์ที่มาจากเมืองลังกา ในหนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์เล่มนี้ หลวงวิจิตรวาทการได้รวบรวมข้อสันนิษฐานและหลักฐานที่ปรากฎ ซึ่งผู้รู้หลายท่านได้เรียบเรียงไว้  จากหลักฐานดังกล่าวมีข้อมูลสอดคล้องตรงกันว่าพระพุทธสิหิงค์ที่มาจากลังกา คือ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์

 

ผู้เขียน: 
วิจิตรวาทการ, หลวง.
คำอธิบาย: 
-
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
พระนคร : โรงพิมพ์วัฒนาพานิช
จดหมายเหตุ เรื่อง เปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือ และ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา
จดหมายเหตุ เรื่อง เปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือ และ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา

บันทึกเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟสายตะวันออก(ถึง ฉะเชิงเทรา)และสายเหนือ(ถึงพิษณุโลก)  ณ  พลับพลาพระราชพิธีสถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 3 โมงเศษ  แล้วเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถไฟพิเศษสายตะวันออกผ่านสถานีบางกระสัน คลองแสนแสบ บ้านหัวหมาก บ้านทับช้าง สถานีที่ 2 หัวตะเข้ คลองหลวงแพ่ง คลองพระยาเดโช ถึงสถานีฉะเชิงเทรา เวลาเช้า 5 โมงเศษ  เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่งแล้วเสด็จลงเรือประทับล่องไปตามลำน้ำบางปะกงถึง ที่ว่าการมณฑล เสด็จประทับห้องประชุม พระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมือง แล้วจึงเสด็จประทับเรือพระที่นั่ง ประทับแรม ณ ตำหนักพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์เพื่อประพาสเมืองฉะเชิงเทรา
          วันที่ 30 มกราคม ร.ศ. 126 เวลาเช้า 2 โมงเศษ เสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร โดยเสด็จประทับในเรือพระที่นั่งแจวขึ้นไปตาม แม่น้ำบางปะกง เข้าลองท่าไข คลองนครเนื่องเขตร เวลาค่ำประทับแรมที่วัดปากบึงในคลองนั้น รุ่งเช้าเสด็จพระราชดำเนินเข้าคลองแสนแสบ เวลาค่ำประทับแรมที่เมืองมีนบุรี เวลาเช้าเสด็จพระราชดำเนินจากเมืองมีนบุรีมาตามคลองแสนแสบ ถึงประตูน้ำ ปทุมวัน เสด็จฯ มาตามคลองมหานาค เลี้ยวไปตามคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวเข้าคลองเม่งเสง ไปเสด็จขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เวลาบ่าย 5 โมงเศษ

 

ผู้เขียน: 
-
คำอธิบาย: 
เจ้าจอมมารดาอ่อนรัชกาลที่ 5 พิมพ์ในการบำเพ็ญกุศลหน้าพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ ครบ 100 วัน วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2476
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
โรงพิมพ์พระจันทร์, 2476
ราชอาณาจักร์ทะเลใต้
ราชอาณาจักร์ทะเลใต้

เป็นหนังสือจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานกฐินพระราชทาน วัดพระธาตุไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 เนื้อหาโดยย่อประกอบด้วยสำเนาหนังสือที่กรมศิลปากรแจ้งเหตุผลในการยกฐานะวัด พระธาตุไชยาจากวัดราษฎร์เป็นวัดหลวงและคำแสดงปาถกฐาของ ดร.จอร์จส์ เซเดส์ ที่สยามสมาคม เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2486 เรื่องราชอาณาจักร์ทะเลใต้กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อประมาณ 1200 - 1800 ปีมาแล้วมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ดังความตอนหนึ่งกล่าวว่า
          "...ที่เมืองปาเล็มบังในภาคตะวันออกเฉียงใต้แห่งเกาะสุมาตราที่บนเนินสูงบา ตังหรี และที่เกาะบังกาได้พบศิลาจารึกเป็นภาษามาลายูโบราณ ซึ่งกล่าวใน พ.ศ. นั้นๆ ได้มีพุทธศาสนิกอาณาจักรเกิดขึ้นใหม่แถบปาเล็มบัง อาณาจักร์นี้ตีได้มาลายู(ชัมพี) กับเกาะบังกาและกำลังเตรียมจะส่งทหารไปตีชะวา ดาราดวงใหม่นี้ คือ อาณาจักรศรีวิชัย..."
          นอกจากนี้ได้กล่าวถึง ชื่อเมืองที่เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัยไว้ตอนหนึ่งว่า
          "...ตามศิลาจารึกที่เมืองตันจูร (Tanjore) ฝ่ายโจฬะได้ยกทัพมาโจมตีศรีวิชัยจับมหาราชาไปและยึดแดนปาเนและแดนมาลายูกับ ทั้งเมืองขึ้นของศรีวิชัย... คือ ตักโกลา (ตะกั่วปา) ตามพรลึงค์ (นครศรีธรรมราช) ลามูรี (อาแจ) หมู่เกาะนิโคบาร์และกฎาห (เกดะห์ - ไทรบุรี)..."

 

 

ผู้เขียน: 
เซเดส์, จอรจส์
คำอธิบาย: 
-
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
-
ประวัติพระผงบารมีพระบรมธาตุ 84000 องค์
ประวัติพระผงบารมีพระบรมธาตุ 84000 องค์

กล่าวถึงประวัติพระผงบารมี พระบรมธาตุ 84000 องค์ ที่ใช้ในการทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องของอาจารย์ชุม ไชยคีรี  อำเภอเขาไชยสน จังหวัดพัทลุง  เป็นผู้สร้างถวายพระบรมธาตุ  ก่อนทำพิธีปลุกเสก อาจารย์ชุม ได้ตระเวนไปตามเมืองต่างๆ ที่ปรากฎตามประวัติศาสตร์ว่าเป็นสถานที่ซึ่งเคยสร้างพระเครื่องลางของขลัง  เพื่อรวบรวมผงวิเศษ 108 กรุ ทั่วประเทศ  เมื่อหาผงได้ครบ 108 กรุ แล้วก็นำมายังเมืองนครศรีธรรมราช  ขอเชิญวิญญาณของอาจารย์คง  ซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผนมาเข้าทรง  ณ  โรงพิธีพระวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ  จัดสร้างพระพิมพ์ตามแบบเก่าของเมืองนครศรีธรรมราช เช่น แบบพระวัดนางกราทรงนาคปรก  แบบวัดท่าเรือทรงเรือนแก้วมีปรกโพธิ์  และพระพุทธลีลาแบบสุโขทัย
     นอกจากผง 108 กรุแล้ว  ยังมีผงวิเศษอื่นๆ อีก เช่น ผงพระมหาว่าน ของอาจารย์เฒ่าวัดเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง  ผงพระเทพนิมิตรของอาจารย์ชุม ผงว่าน 108 ชนิด ผงพระหักป่น ผงวิเศษจากสำนักอาจารย์ผู้เฒ่า  ซึ่งขุนพันธรักษ์ฯ รวบรวมไว้มาผสมเพื่อพิมพ์เป็นองค์พระ

 

ผู้เขียน: 
ชุม ไชยคีรี,ขุนพันธรักษ์ราชเดช
ครั้งที่พิมพ์ : Edition: 
โรงพิมพ์ศิริสวัสดิ์,2497