ปรับขนาดอักษร

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

แหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
แหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ชื่อผู้แต่ง : พยุง วงษ์น้อย          

ชื่อเรื่อง : แหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร   ผลการศึกษาทางโบราณคดีระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๖- ๒๕๕๘

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

          เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านสภาพทางภูมิศาสตร์ของแหล่งที่เรืออับปางลง ประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้และการดำเนินงานทางโบราณคดี การวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณคดีที่พบจากการขุดศีกษาทางโบราณคดีแหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ พร้อมทั้งสรุปผลการศึกษาเรือโบราณพนม-สุรินทร์ ระยะแรก นับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของแหล่งเรืออับปางแก่ผู้ที่สนใจโบราณคดี การกอบกู้แหล่งมรดกวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีข้ามสมุทร และการติดต่อทางวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี มีทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ท้ายเล่มมีบรรณานุกรมประกอบ

หนามยอกเอาหนามบ่ง สำนวนแรกและวิวาหพระสมุท
หนามยอกเอาหนามบ่ง สำนวนแรกและวิวาหพระสมุท

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : หนามยอกเอาหนามบ่ง สำนวนแรกและวิวาหพระสมุท

ครั้งที่พิมพ์ : ๑๑

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย

          จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นละครชวนหัวสลับลำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยใช้พระนามแฝงว่า ศรีอยุธยา  ทรงมีพระราชประสงค์จัดแสดงเป็นละครประกอบบทเพลง ดังนั้นจึงทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์ไว้ในเรื่องนี้ถึง ๓๗ บท วิวาหพระสมุท  เป็นละครพูดสลับลำ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อพระราชทานแก่คณะเสือป่า โดยใช้พระนามแฝงว่า ศรีอยุธยา ซึ่งในการพิมพ์ทั้งเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง สำนวนแรกและวิวาหพระสมุทนี้ ได้รักษาตัวสะกดการันต์ตามต้นฉบับเดิมไว้ทุกประการ เพื่อให้เห็นพระราชนิยมของผู้ทรงพระราชนิพนธ์

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง

ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน          

             เฉลิมพระเกียรติ   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 

ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

          หนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองตรัง เนื้อหาภายในเล่มแบ่งเป็นบทๆ ทั้งหมด ๗ บทด้วยกัน ได้แก่ บทที่ ๑ สภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสังคม บทที่ ๒ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตรัง บทที่ ๓ มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมฯลฯ นอกจากนี้ท้ายเล่มยังประกอบด้วย เชิงอรรค บรรณานุกรม เอกสารจดหมาเหตุ ข้อมูลการสัมภาษณ์ คำสั่งต่างๆ พร้อมกับภาพประกอบ

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครศรีธรรมราช
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน

            เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 

ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

          วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์โดยการสนับสนุนของกรมศิลปากรเพื่อเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการค้นคว้าอ้างอิงแก่เยาวชนและประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ประกอบกับปีพุทธศักราช  ๒๕๔๒ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ จึงได้จัดพิมพ์เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื้อหากล่าวถึง ความเป็นมาของ นครศรีธรรมราช ว่ามีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาวนานหลายพันปี ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงเป็นนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและมีประโยชน์สำหรับชาวนครศรีธรรมราชและผู้ที่สนใจ ซึ่งได้ถ่ายทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชน ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ของจังหวัด อันจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความรักท้องถิ่นอันเป็นมาตุภูมิเพื่อจะได้ช่วยกันดำรงรักษาและพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ ๗ ถึงรัชกาลปัจจุบัน
นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ ๗ ถึงรัชกาลปัจจุบัน

ชื่อผู้แต่ง : รัชนี  ทรัพย์วิจิตร 

ชื่อเรื่อง : นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ ๗ ถึงรัชกาลปัจจุบัน

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

          เป็นหนังสือที่รวบรวมนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลต่างๆ  และแก่ผู้ที่ขอพระราชทานนามสกุล โดยได้พระราชทานนามสกุล  วรรณโกมล เป็นนามสกุลแรก เรื่องราวภายในเล่มประกอบด้วย คำนำ สารบาญ บทนำ นามสกุลพระราชทานใน ร.๗ ถึงรัชกาลปัจจุบัน ตั้งแต่ ก-ฮ ดรรชนีราชทินนาม ดรรชนีนามเดิม ภาคผนวก เปรียบเทียบนามสกุลกับชื่อแซ่ และพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับบรรณานุกรมประกอบ

ทำเนียบพระพุทธไสยาสน์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ทำเนียบพระพุทธไสยาสน์ในเขตกรุงเทพมหานคร

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : ทำเนียบพระพุทธไสยาสน์ในเขตกรุงเทพมหานคร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๘

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

          ทำเนียบพระพุทธไสยาสน์ในเขตกรุงเทพมหานคร รวบรวมและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธไสยาสน์ในประเทศไทย เกี่ยวกับความเป็นมาและคติการสร้างพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธไสยาสน์ที่ปรากฏในประเทศไทยตลอดจนดินแดนต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา รวมทั้งได้รวบรวมเป็นทำเนียบพระพุทธไสยาสน์ในเขตกรุงเทพมหานคร ประวัติวัดที่ประดิษฐ์พระพุทธไสยาสน์ พร้อมทั้งมีบรรณานุกรม แผนผังแสดงตำแหน่ง วัดที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ตารางแสดงรายละเอียดพระพุทธไสยาสน์ในเขตกรุงเทพมหานคร อภิธานศัพท์และภาพประกอบ

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมือง สทิงพระ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมือง สทิงพระ จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมือง สทิงพระ จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

          คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยอันเป็นชุมทรัพย์ทางปัญญาที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้เลือกสรร ปรุงแต่งพัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา พร้อมกับได้ดำเนินการส่งเสริมครูภูมิปัญญาโดยการจัดเก็บองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญาที่จะถ่ายทอดให้กับเด็ก เยาวชนและผู้สนใจตามโครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง ๒๕๕๕  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอสทิงพระ หลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษามาลายู

 

ดรรชนีนิตยสารศิลปากรเล่มที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๕
 ดรรชนีนิตยสารศิลปากรเล่มที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๕

ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร 

ชื่อเรื่อง           ดรรชนีนิตยสารศิลปากรเล่มที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๕

ปีที่พิมพ์          ๒๕๕๖

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        กรมศิลปากร

 

                    สำนักหอสมุดแห่งชาติมีภารกิจหลักในการรวบรวมจัดเก็บ สงวนรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และเอกสารโบราณ เพื่อให้บริการค้นคว้า วิจัย  ดรรชนีนิตยสารศิลปากร เล่ม ๓ พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๕๕ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ กล่าวถึง บรรณานุกรม ส่วนที่ ๒ กล่าวถึงดรรชนีผู้แต่ง

Shadow Play (The Nan)
Shadow Play (The Nan)

ชื่อผู้แต่ง : H.H. PRINCE DHANINIVAT KROMAMUN BIDYALABH BRIDHYAKORN

ชื่อเรื่อง : SHADOW PLAY (THE  NAN)

ครั้งที่พิมพ์ : ๘

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๘

สถานที่พิมพ์ : BANGKOK

สำนักพิมพ์  : THE FINE ARTS DEPARTMENT

          เป็นหนังสือชุดวัฒนธรรมไทย จัดทำเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ให้กับชาวต่างประเทศและผู้ที่สนใจได้เข้าใจวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น  เนื้อหากล่าวถึงการเล่นหนัง ได้แก่ความหมาย ต้นกำเนิด  ความเป็นมา การทำรูปตัวหนัง ตลอดจนการเข้ามาของการเล่นหนังในประเทศไทย ทั้งหนังใหญ่และหนังตะลุงทางภาคใต้ พร้อมภาพประกอบ

นิบาตชาดกเล่ม ๑ เอกนิบาต
นิบาตชาดกเล่ม ๑ เอกนิบาต

ชื่อผู้แต่ง                 กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง                   นิบาตชาดกเล่ม ๑ เอกนิบาต

พิมพ์ครั้งที่              -

 สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๔๑   

จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัย ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙  หนังสือ ชุดนิบาตชาดก เป็นวรรณกรรมเอกทางพระพุทธศาสนา ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้แปลเป็นไทย ซึ่งนิบาตชาดกทั้งหมดแฝงด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเล่ม๑ เอกนิบาต ประกอบด้วย  ๑๐ วรรค รวม ๑๐๐ เรื่อง

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง                 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง                   คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่              -

สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๕๔   

 โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕  ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น)หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถานที่ท่องเที่ยว ทำเนียบครูภูมิปัญญา และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอำเภอนาทวี มีทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามาลายู

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบางกล่ำ  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง                 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง                   คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่              -

สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๕๔   

โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕  ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น)หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางกล่ำ  จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  สถานที่ท่องเที่ยว  ทำเนียบครูภูมิปัญญา  และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอำเภอบางกล่ำ  มีทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามาลายู

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง                 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง                   คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่              -

 สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๕๔  

 โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น) หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  สถานที่ท่องเที่ยว  ทำเนียบครูภูมิปัญญา  และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอำเภอสะบ้าย้อย  มีทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามาลายู

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง                 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

 ชื่อเรื่อง                  คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ  จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่              -

สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

 ปีที่พิมพ์                  ๒๕๕๔    

 โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕  ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่นหนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาพภูมิศาสตร์  ลักษณะภูมิประเทศ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ สถานที่ท่องเที่ยว  ทำเนียบครูภูมิปัญญา  และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอำเภอหาดใหญ่ มีทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามาลายู

THE EXCAVAGION OF BAN NON WAT (แหล่งโบราณคดีบ้านเนินวัด)
THE EXCAVAGION OF BAN NON WAT (แหล่งโบราณคดีบ้านเนินวัด)

ชื่อผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง :  THE EXCAVAGION OF BAN NON WAT (แหล่งโบราณคดีบ้านเนินวัด)

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๓

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

    แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด คือแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ นับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภายในได้มีการขุดพบหลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ และไหโบราณลวดลายงดงาม ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานีเล็กน้อยมีอายุประมาณ 6,000 ปี และในอนาคตจะมีการสนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกด้วย

ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร ล.๓ (พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙)
ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร ล.๓ (พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙)

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร ล.๓ (พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙)

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

            ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร ล.๓ (พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙) เล่มนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีของชาติที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙) ต่อจากหนังสือทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร ล.๑ (พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๕๒๓) และทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร ล.๒ (พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๓๓) อีกทั้งยังได้จัดทำภาคผนวก อันประกอบด้วยประกาศราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๙ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงรายชื่อโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีที่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๕๓๓ เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีผังดัชนีและภาพประกอบอีกด้วย

นิบาตรชาดก เล่ม ๒. เอกนิบาต ทุกนิบาต
นิบาตรชาดก เล่ม ๒. เอกนิบาต ทุกนิบาต

ชื่อผู้แต่ง : ชาดก

ชื่อเรื่อง : นิบาตรชาดก เล่ม ๒.เอกนิบาต ทุกนิบาต

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

            จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ นับเป็นวรรณกรรมเอกทางพุทธศาสนา เป็นชาดกที่ได้ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า สามารถนำไปเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ให้ข้อคิดทางศีลธรรมและให้คติธรรม จริยธรรม เช่น ความสามัคคี ความกตัญญูกตเวที ความมีสัจจะและความเสียสละ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่องานศิลปวัฒนธรรมของชาติหลายแขนง  รวมทั้งคติความคิดของคนไทยในยุคต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

พระมหากษัตริย์ของไทย
พระมหากษัตริย์ของไทย

ชื่อผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง :  พระมหากษัตริย์ของไทย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๖๐

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กลุ่มหนังตัวเขียนและจารึก   

 

                 หนังสือพระมหากษัตริย์ของไทย จะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์เล่มสำคัญของชาติที่ทำให้คนไทยได้มีความรู้ความเข้าใจ พระราชประวัติ พระราชกรณีย์กิจ และวีรกรรมของบูรพมหากษัตริยาธิราชทุกพระองค์

ที่ทรงก่อสร้างบ้านเมือง ปกป้องอริราชศัตรูสรรค์สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั้งชาติไทยมีความเป็นปึกแผ่น

มั่นคง ประชาชนจึงอยู่เย็นเป็นสุข และสามารถแสดงความเป็นชาติอารยะ ให้ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก  รวมทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย อันจะก่อให้เกิดความภูมิใจในชาติและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

 

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอควนเนียง  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอควนเนียง   จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

          คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอควนเหนียง   จังหวัดสงขลา เป็นภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยอันเป็นชุมทรัพย์ทางปัญญาที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้เลือกสรร ปรุงแต่งพัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา พร้อมกับได้ดำเนินการส่งเสริมครูภูมิปัญญาโดยการจัดเก็บองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญาที่จะถ่ายทอดให้กับเด็ก เยาวชนและผู้สนใจตามโครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง ๒๕๕๕  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอควนเหนียง  หลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่น  

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอะนะ จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

          คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา เป็นภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยอันเป็นชุมทรัพย์ทางปัญญาที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้เลือกสรร ปรุงแต่งพัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา พร้อมกับได้ดำเนินการส่งเสริมครูภูมิปัญญาโดยการจัดเก็บองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญาที่จะถ่ายทอดให้กับเด็ก เยาวชนและผู้สนใจตามโครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง ๒๕๕๕  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเกี่ยวกับอำเภอควนเหนียง หลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่น  

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา สตูล
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา สตูล

ชื่อผู้แต่ง          คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน  เฉลิมพระเกียรติ   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 

ชื่อเรื่อง           วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา สตูล

ปีที่พิมพ์          ๒๕๔๔

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

                    หนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสตูล กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองตรัง เนื้อหาภายในเล่มแบ่งเป็นบทๆ ทั้งหมด ๗ บทด้วยกัน ได้แก่ บทที่ ๑ สภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสังคม บทที่ ๒ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดตรัง บทที่ ๓ มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมฯลฯ นอกจากนี้ท้ายเล่มยังประกอบด้วย เชิงอรรค บรรณานุกรม เอกสารจดหมาเหตุ ข้อมูลการสัมภาษณ์ คำสั่งต่างๆ พร้อมกับภาพประกอบ

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ชื่อผู้แต่ง          คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน

                   เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 

ชื่อเรื่อง           วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปีที่พิมพ์          ๒๕๔๔

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

 

 

                    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดพิมพ์โดยการสนับสนุนของกรมศิลปากรเพื่อเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการค้นคว้าอ้างอิงแก่เยาวชนและประชาชนชาวสุราษฏร์ธานี  ประกอบกับปีพุทธศักราช  ๒๕๔๒ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ จึงได้จัดพิมพ์เป็นกรณีพิเศษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื้อหากล่าวถึง ความเป็นมาของ สุราษฏร์ธานี ว่ามีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาวนานหลายพันปี ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงเป็นนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและมีประโยชน์สำหรับชาวนครศรีธรรมราชและผู้ที่สนใจ ซึ่งได้ถ่ายทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชน ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ของจังหวัด อันจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความรักท้องถิ่นอันเป็นมาตุภูมิเพื่อจะได้ช่วยกันดำรงรักษาและพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป

บรรณานุกรมหนังสือภาคตะวันออก
บรรณานุกรมหนังสือภาคตะวันออก

ชื่อผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติชลบุรี 

ชื่อเรื่อง : บรรณานุกรมหนังสือภาคตะวันออก

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๒

สถานที่พิมพ์ : ชลบุรี

สำนักพิมพ์  : หอสมุดแห่งชาติชลบุรี

          บรรณานุกรมหนังสือภาคตะวันออก รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือที่จัดพิมพ์ในภาคตะวันออก ๒๒๑ รายการ เป็นโครงการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดทำห้องหนังสือท้องถิ่นและภาษาไทย เพื่อเป็นการเผยแพร่ ค้นข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ โบราณคดี โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน สถานที่สำคัญ สถาบันศึกษา ความเชื่อ ศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ฯลฯ ของจังหวัดชลบุรีและจังหวัดในภาคตะวันออกของไทย  พร้อมกับมีคำแนะนำวิธีค้น บรรณานุกรมดรรชนีชื่อเรื่องและดรรชนีหัวเรื่องประกอบ

 

นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔ ตอนที่ 3
นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔ ตอนที่ 3

ชื่อผู้แต่ง        สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง          นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     บริษัท ยูเนี่ยนอุลตร้าไวโอเลต จำกัด

ปีที่พิมพ์         ๒๕๕๖   จำนวนหน้า   ๑๔๒๑  หน้า

หมายเหตุ       หนังสือนิทานวชิรญาณเล่ม ๓-๔ เป็นนิทานที่ตรวจชำระจากหนังสือวชิรญาณ ประเภทต่างๆ ซึ่งกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ จำนวน ๖๒ เรื่อง และ เล่ม ๔ จำนวน ๑๓๙ รวมนิทาน ๒๐๑ เรื่อง

บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ส่วนที่๒)
บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ส่วนที่๒)

แต่ง :   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรื่อง : บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๕

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

 

                   หนังสือ บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

นี้ รวบรวมบทพระราชนิพนธ์บทละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๙ เรื่อง

คือ ๑.ตั้งจิตคิดคลั่ง ๒.ท้าวแสนปม ๓.ธรรมะมีชัย ๔.พระเกียรติรถ ๕.พระยศเกตุ ๖.พระร่วง ๗.มิตรมีชัย ๘.ศกุนตลา ๙.สาวิตรี มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔ ตอนที่ 2
นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔ ตอนที่ 2

ชื่อผู้แต่ง        สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร           

ชื่อเรื่อง          นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     บริษัท ยูเนี่ยนอุลตร้าไวโอเลต จำกัด

ปีที่พิมพ์         ๒๕๕๖  จำนวนหน้า       ๑๔๒๑  หน้า

หมายเหตุ       หนังสือนิทานวชิรญาณเล่ม ๓-๔ เป็นนิทานที่ตรวจชำระจากหนังสือวชิรญาณ ประเภทต่างๆ ซึ่งกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ จำนวน ๖๒ เรื่อง และ เล่ม ๔ จำนวน ๑๓๙ รวมนิทาน ๒๐๑ เรื่อง

นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔ ตอนที่ 1
นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔ ตอนที่ 1

ชื่อผู้แต่ง        สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง          นิทานวชิรญาณ เล่ม ๓ – ๔

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     บริษัท ยูเนี่ยนอุลตร้าไวโอเลต จำกัด

ปีที่พิมพ์         ๒๕๕๖ จำนวนหน้า  ๑๔๒๑ หน้า

หมายเหตุ                  หนังสือนิทานวชิรญาณเล่ม ๓-๔ เป็นนิทานที่ตรวจชำระจากหนังสือวชิรญาณ ประเภทต่าง ซึ่งกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๓ จำนวน ๖๒ เรื่อง และ เล่ม ๔ จำนวน ๑๓๙ รวมนิทาน ๒๐๑ เรื่อง

คู่มือการแยกศัพท์อักษรขอม
คู่มือการแยกศัพท์อักษรขอม

ชื่อผู้แต่ง :  กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : คู่มือการแยกศัพท์อักษรขอม

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๙

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กลุ่มหนังตัวเขียนและจารึก   

                   สำนักหอสมุดแห่งชาติ กลุ่มหนังสือตัวเขียน และจารึก กรมศิลปากร มีความตระหนัก  และให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการเขียนรู้อักษรขอมที่บันทึกเอกสารโบราณ จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อประกอบการเรียนรู้  ทั้งฝึกเขียน การฝึกจำลูกคำศัพท์ต่างๆ ที่บันทึกในเอกสารโบราณ  และได้แนะนำวิธีการเขียนอักษรขอมเบื้องต้น การฝึกแจกคำศัพท์ ภาษาบาลี  ให้แก่ผู้ที่สนใจ พร้อมแบบฝึกหัดอย่างชัดเจน

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมืองสงขลา  จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๕

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

          คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเมืองสงขลา   จังหวัดสงขลา เป็นภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยอันเป็นชุมทรัพย์ทางปัญญาที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้เลือกสรร ปรุงแต่งพัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา พร้อมกับได้ดำเนินการส่งเสริมครูภูมิปัญญาโดยการจัดเก็บ

หอสมุดแห่งชาติสาขาประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์
หอสมุดแห่งชาติสาขาประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อผู้แต่ง :  หอสมุดแห่งชาติสาขาประโคนชัย

ชื่อเรื่อง : หอสมุดแห่งชาติสาขาประโคนชัยจังหวัดบุรีรัมย์

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  :กรมศิลปากร

ปี่ที่พิมพ์   : ๒๕๒๘

               กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสเปิดหอสมุดแห่งชาติ สาขาประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๘ และได้รวบรวมเกี่ยวกับประวัติ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงระเบียบการใช้บริการ  

สถานการณ์ปัจจุบันคู่มือคนไทย
สถานการณ์ปัจจุบันคู่มือคนไทย

ชื่อผู้แต่ง          ปาฐกถาพิเศษ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์

ชื่อเรื่อง           สถานการณ์ปัจจุบันคู่มือคนไทย

ปีที่พิมพ์          ๒๕๔๕

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์        กรมศิลปากร

จำนวนหน้า      36  หน้า

 

               ปาฐกถาพิเศษ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ โดย คุณชาติศิริ  โสภณพนิช  เมื่อวันที่ 19  ธันวาคม  2544 เพื่อเป็นคู่มือให้คนไทย 4 ประการ ในการดำเนินชีวิต  คือ รู้รักสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

 

บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ส่วนที่๑)
บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ส่วนที่๑)

ผู้แต่ง :   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรื่อง : บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๕

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

 

                   หนังสือ บทละครร้อง ๙ เรื่อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นี้ รวบรวมบทพระราชนิพนธ์บทละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๙ เรื่อง คือ ๑.ตั้งจิตคิดคลั่ง ๒.ท้าวแสนปม ๓.ธรรมะมีชัย ๔.พระเกียรติรถ ๕.พระยศเกตุ ๖.พระร่วง ๗.มิตรมีชัย ๘.ศกุนตลา ๙.สาวิตรี มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมตำบลคลองแห
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมตำบลคลองแห

ผู้แต่ง :   ประเสริฐ รักษ์วงศ์

ชื่อเรื่อง : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตำบลคลองแห

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖

สถานที่พิมพ์  :  สงขลา

สำนักพิมพ์  :  ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช คลองแห กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

 

                   หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตำบลคลองแหนี้ รวบรวม บันทึก องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ ถ่ายทอด องค์ความรู้เหล่านี้ให้แก่เด็กและเยาวชนได้ทราบถึงสาระสำคัญอันเป็นแก่นแท้อย่างจริงจัง รวมถึงสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ได้ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะดำรงมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป

นิบาตชาดก เล่ม ๔
นิบาตชาดก เล่ม ๔

ชื่อผู้แต่ง  : กองวรรณกรรมปละประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง  : นิบาตชาดก เล่ม ๔ ปัญจกนิบาต  ฉักกนิบาต สัตตกนิบาต  อัฏฐกนิบาต

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐

   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

 

         จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเถลิงราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙  หนังสือนิบาตชาดกนี้ เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของชาติ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นความสำคัญว่าเป็นชาดกที่ได้รับประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมทั้งนิทานที่เป็นตัวอย่างที่มีคุณค่า สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

ชีวประวัติขุนละหาร ประชาเชษฐ์
ชีวประวัติขุนละหาร ประชาเชษฐ์

ผู้แต่ง :   รัศมินทร์ นิติธรรม

ชื่อเรื่อง : ชีวประวัติขุนละหาร นิฮาแว นิกือจิ (ซูกอระยะ)

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๕

สถานที่พิมพ์  :  ปัตตานี

สำนักพิมพ์  :  พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร

 

 

                   หนังสือ ชีวประวัติขุนละหาร นิฮาแว นิกือจิ (ซูกอระยะ)นี้ รวบรวมเรื่องราว ความทรงจำ คำบอกเล่า จากญาติพี่น้อง ชาวบ้านในพื้นที่ยี่งอ เกี่ยวกับ ท่านขุนละหารประชาเชษฐ์ หรือ นายนิฮาแว นิกือจิ (ซูกอระยะ)รวมทั้งให้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ อันเป็นรากฐานสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้ทราบ และเข้าใจความเป็นมาของท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น

โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 1
โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 1

ชื่อผู้แต่ง          ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศสกุล และคณะ

ชื่อเรื่อง           โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 1

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์          2551

 

รายละเอียด     

หนังสือเกี่ยวกับโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมและปรับปรุงใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการบูรณะ ขุดแต่ง ขุดค้น โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกรมศิลปากรได้ระดมผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ อันประกอบด้วย นักโบราณคดี นักอักษรศาสตร์ นักภาษาโบราณ ภัณฑารักษ์ นายช่างศิลปกรรม มาศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงขึ้นเป็นต้นฉบับเมื่อปี พ.ศ. 2547 ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงขึ้นจากต้นฉบับชุดเดิมที่เคยตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งหนังสือชุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 เล่ม คือ เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 2

ทีฆราชย์แห่งสยาม
ทีฆราชย์แห่งสยาม

ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร  สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

ชื่อเรื่อง           ทีฆราชย์แห่งสยาม

ครั้งที่พิมพ์        2

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์          2559

รายละเอียด

                    หนังสือ เรื่อง “ทีฆราชย์แห่งสยาม”  จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนาน ในประวัติศาสตร์ไทยรวม ๙ พระองค์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ชาติไทย และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทย เพื่อให้คนไทยเกิดความรัก ความหวงแหนและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อร่วมธำรงรักษาไว้เป็นสถาบันหลักอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป

การอนุรักษ์คัมภีร์อัลกรุอาน
การอนุรักษ์คัมภีร์อัลกรุอาน

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : การอนุรักษ์คัมภรีอัลกรุอาน

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๗

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

            กรมศิลปากร เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐที่มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และสืบทอดทรัพย์สินมรดกวัฒนธรรมทั้งด้านภาษา ศาสนา จารีตประเพณี และศิลปะของชาติ คัมถรีอัลกรุอาน เป็นมรดกวัฒนธรรมอันล่ำค่าของมสลิมที่ทุกคนศรัทธา และถือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เป็นไปบทบัญญัติที่ระบุไว้ในคัมภรี และเพื่อรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้  

 

นิบาตชาดกเล่ม 5 นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาวสกนิบาต ทวาทสกนิบาต เตรสกนิบาต
นิบาตชาดกเล่ม  5 นวกนิบาต  ทสกนิบาต  เอกาวสกนิบาต  ทวาทสกนิบาต  เตรสกนิบาต

ชื่อผู้แต่ง          กองวรรณกรรมปละประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง           นิบาตชาดกเล่ม  5 นวกนิบาต  ทสกนิบาต  เอกาวสกนิบาต  ทวาทสกนิบาต  เตรสกนิบาต

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์            2540

 

รายละเอียด     

                                จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเถลิงราชสมบัติครบ 50 ปี                          ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่งคลองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติชาติไทย   พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ                        เพื่อความผาสุกสมบูรณ์ แห่งอาณาประชาราษฎร์  นิบาติชาดก เป็นวรรณกรรมที่เขียนเป็นคาถาหรือบทร้อยกลองภาษาบาลี                        ล้วน หรือที่คนไทยเรียกว่า พระเจ้า 500 ชาติ

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา

306.08995911     ชื่อผู้แต่ง                  กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย  

ค 123วสข             ชื่อเรื่อง                    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา

                            พิมพ์ครั้งที่                ๑

                            สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯ

                            สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

                            ปีที่พิมพ์                  ๒๕๔๕   จำนวนหน้า  ๓๔๑หน้า

                            หมายเหตุ                หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  ๖  รอบ

                                                           ๕ธันวาคม ๒๕๔๒

หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ มรดกทางธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โบราณสถาน โบราณวัตถุ การละเล่นพื้นบ้าน บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาท้องถิ่น

ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อของชาวพะเยา
ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อของชาวพะเยา

ชื่อผู้แต่ง                  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

ชื่อเรื่อง                    ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อของชาวพะเยา

พิมพ์ครั้งที่              ๑

สถานที่พิมพ์          พะเยา

สำนักพิมพ์             หจก. เยิน หยาง การพิมพ์

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๖๐   จำนวนหน้า  ๘๖หน้า

หมายเหตุ               หนังสือประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อของชาวพะเยา เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวพิธีกรรม    ความเชื่อ  ของชาว                                     จังหวัดพะเยา ทั้งพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ  พิธีกรมทางศาสนาคริสต์ พิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม    และพิธีกรรมของชน                               เผ่าเมี่ยน

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

306.08995911     ชื่อผู้แต่ง                  กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย  

ค 123วปจ             ชื่อเรื่อง                    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด

                ประจวบคีรีขันธ์

                            พิมพ์ครั้งที่                ๑

                            สถานที่พิมพ์             กรุงเทพฯ

                            สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

                            ปีที่พิมพ์                  ๒๕๔๔   จำนวนหน้า  ๒๓๕ หน้า

                            หมายเหตุ                หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  ๖  รอบ

                                                           ๕ธันวาคม ๒๕๔๒

หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ มรดกทางธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โบราณสถาน โบราณวัตถุ การละเล่นพื้นบ้าน บุคคลสำคัญในท้องถิ่น และพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาท้องถิ่น

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง            สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง             คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่         -

สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ

 สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ปีที่พิมพ์           ๒๕๕๔   จำนวนหน้า  ๑๘๕หน้า

หมายเหตุ         โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น)

                       หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางกล่ำ  จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  สถานที่ท่องเที่ยว  ทำเนียบครูภูมิปัญญา  และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอำเภอบางกล่ำ  มีทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามาลายู

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่

306.08995911         ชื่อผู้แต่ง                  กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย  

ค 123วกบ            ชื่อเรื่อง                    วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่

                                พิมพ์ครั้งที่              ๑

                                สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

                                สำนักพิมพ์             โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

                                ปีที่พิมพ์                  ๒๕๕๒   จำนวนหน้า  ๔๐๙หน้า

                                หมายเหตุ               หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  ๖  รอบ

                                                                ๕ธันวาคม ๒๕๔๒

หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่ เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ มรดกทางธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคคลสำคัญในท้องถิ่นและพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาท้องถิ่น

The Tosachat in Thai Painting
The Tosachat in Thai Painting

ชื่อผู้แต่ง                  LYONS,ELIZABETH.

ชื่อเรื่อง                    The Tosachat in Thai Painting

พิมพ์ครั้งที่              -

สถานที่พิมพ์          กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์             กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์                  ๒๕๕๔    จำนวนหน้า  ๒๔ หน้า

หมายเหตุ               หนังสือเรื่อง The Tosachat in Thai Painting เป็นสือชุด ๒๕ เล่ม เล่มนี้เป็นชุดที่ ๒๒   เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวและศิลปะ จิตรกรรมฝาผนัง ของวัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา โดยได้มีการลงรูปภาพจิตรกรรมที่สวยงาม และบรรยายด้วย ภาษาอังกฤษหมดทั้งเล่ม

ทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง  : ทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๕

          ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง พิกัดแผนที่ประวัติโดยสังเขปของทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะรูปแบบของศิลปากร ลักษณะการถือครองที่ดิน สภาพปัจจุบัน การขึ้นทะเบียน การระวางแนวเขต ตลอดจนภาพถ่ายและแผนผังของโบราณสถาน

จดหมายเหตุประเทศไทยพุทธศักราช๒๕๕๗
จดหมายเหตุประเทศไทยพุทธศักราช๒๕๕๗

ชื่อผู้แต่ง  : กรมศิลปากร. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุประเทศไทยพุทธศักราช๒๕๕๗

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๙

          จดหมายเหตุประเทศไทยพุทธศักราช 2557 เป็นหนังสือที่รวบรวมบันทึกเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับ ประเทศไทยในปีพุทธศักราช 2557 ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการต่างประเทศ การเตรียมความพร้อมเข้าสู้ประชาคมอาเซียน นอกจากนั้นยังได้บันทึกการด้านพบนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

นิบาตชาดก เล่ม ๓ ติกนิบาต จตุกกนิบาต
นิบาตชาดก เล่ม ๓ ติกนิบาต  จตุกกนิบาต

ชื่อผู้แต่ง  : ชาดก

ชื่อเรื่อง  : นิบาตชาดก เล่ม ๓ ติกนิบาต  จตุกกนิบาต

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐

          เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของชาติ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นความสำคัญว่าเป็นชาดกที่ได้รับประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมทั้งนิทานที่เป็นตัวอย่างที่มีคุณค่า สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

ศรีชไมยาจารย์
ศรีชไมยาจารย์

ชื่อผู้แต่ง  : -

ชื่อเรื่อง : ศรีชไมยาจารย์

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๖

          รวบรวมผลงานทางวิชาการของศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ ประเสริษฐ์ ณ นคร และศาสตราจารย์วิสุทธิ์  บุษยกุล เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๔ ภาค ภาคที่ ๑ รวบรวมบทความพิเศษ ภาคที่ ๒ บทความด้านภาษาและวรรณกรรมของนักวิชาการชั้นนำ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์เจตนา นาควัชระ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์อุดม วโรฒม์สิขดิตถ์ ภาคที่ ๓ รวบรวมกฎหมายตราสามดวงและประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ภาคที่ ๔ เอกสารทางประวัติศาสตร์และผลการศึกษาเอกสารขั้นต้นทางประวัติศาสตร์

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดยะลา
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดยะลา

ชื่อผู้แต่ง  :  คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ

ชื่อเรื่อง  : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดยะลา

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔

          

           ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสังคมของจังหวัดยะลา พัฒนาการทางประวัติของจังหวัดยะลา มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม  ท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น บุคคลสำคัญของท้องถิ่น ตลอดจนจนพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาท้องถิ่น

คู่มือการถ่ายทอดอง์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดอง์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดอง์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

          ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอำเภอสิงหนคร ตลอดจนหลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น และทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่น

พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชวังจันทน์
พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชวังจันทน์

ชื่อผู้แต่ง  :  รัตติยา ไชยวงศ์

ชื่อเรื่อง :  พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชวังจันทน์

ครั้งที่พิมพ์  : -

สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  ม.ป.ท.

ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.

 

          เนื้อหาประกอบด้วย ๓ ภาค ภาคที่ ๑ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของเมืองพิษณุโลก สภาพภูมิศาสตร์ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ภาคที่ ๒ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์จากหลักฐานเอกสารงาน                                                                             ด้านโบราณคดีและการอนุรักษ์วัดในเขตพระราชวังจันทน์ และภาคที่ ๓ ให้ราย                                                                       ละเอียดเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เจ้านายวังจันท์สู่ความเป็นวีรกษัตริย์                                                                     ผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย

วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ฯเอกลักษณ์และภูมิปัญญา จ.ระนอง
วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ฯเอกลักษณ์และภูมิปัญญา จ.ระนอง

ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ

ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดระนอง

ครั้งที่พิมพ์ : -

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯ

สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔

          ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสังคมของจังหวัดระนอง พัฒนาการทางประวัติของจังหวัดระนอง มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่นเอกลักษณ์ของจังหวัดระนอง บุคคลสำคัญของท้องถิ่น ตลอดจนจนพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาท้องถิ่น

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต
วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง        กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย                  

ชื่อเรื่อง           วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์         2544  

ลายละเอียด   

หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕    ธันวาคม  ๒๕๔๒  ในรัชกาลที่ ๙  หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นมรดกธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น บุคคลสำคัญของท้องถิ่นและพระมหากรุณาธิคุณ ในการพัฒนาท้องถิ่นของ ร.๙

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง :   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์  :  [๒๕๕๕]

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

พิมพ์ที่  :  โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

 

 

                   คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น) โดยการจัดเก็บองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญา ในเขตอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้ถึงคุณค่าความเสียสละ และความดีงามของครูภูมิปัญญา เป็นแนวคิดให้ชนรุ่นหลังนำความรู้ไปทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไป

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนราธิวาส
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง :   คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนราธิวาส

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๔

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

     

            หนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนราธิวาสนี้ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย ได้มอบภารกิจให้กรมศิลปากรปฏิบัติหน้าที่เลขานุการในการดำเนินงานประสานกับฝ่ายต่างๆในจังหวัดเพื่อกำหนดโครงสร้างหนังสือให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระของท้องถิ่นอย่างกว้างๆประกอบด้วยเรื่องภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี และโครงการตามพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพัฒนาชนบทให้อยู่ดีกินดี หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนแนวทางในการเรียนรู้ท้องถิ่นเบื้องต้น

 

 

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชุมพร
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง :   คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชุมพร

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๔

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร            

 

                      หนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชุมพร นี้ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย ได้มอบภารกิจให้กรมศิลปากรปฏิบัติหน้าที่เลขานุการในการดำเนินงานประสานกับฝ่ายต่างๆในจังหวัดเพื่อกำหนดโครงสร้างหนังสือให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระของท้องถิ่นอย่างกว้างๆประกอบด้วยเรื่องภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี และโครงการตามพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพัฒนาชนบทให้อยู่ดีกินดี หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนแนวทางในการเรียนรู้ท้องถิ่นเบื้องต้น

 

รายงานประจำปี ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่
รายงานประจำปี ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่

ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : รายงานประจำปี ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๖

            เชียงใหม่

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๙

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

 

 

                   รายงานประจำปี ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ จัดทำขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและภารกิจต่างๆ ของ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปทราบถึงภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ ที่มีต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และเป็นสื่อสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ ความร่วมมืออันดีกับท้องถิ่นในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงอยู่สืบไป

 

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง        สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา       

ชื่อเรื่อง         คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์        2558         

ลายละเอียด    

โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น )   หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอ ระโนด จังหวัด สงขลา ประกอบด้วยเรื่อง ความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลทั่วไปของอำเภอระโนด  และหลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษามลายู

ต้นร่างรูปภาพขรัวอินโข่ง
ต้นร่างรูปภาพขรัวอินโข่ง

ผู้แต่ง :   สำนักหอสมุดแห่งชาติ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก

ชื่อเรื่อง : ต้นร่างรูปภาพขรัวอินโข่ง

ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๙

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์  :  กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

 

                                กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรได้จัดทำหนังสือ “ต้นร่างขรัวอินโข่ง” ขึ้นเพื่อรวบรวม ต้นฉบับการร่างลายเส้นรูปภาพของ “ขรัวอินโข่ง” ซึ่งเป็นจิตรกรเอกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเพศบรรพชิตตลอดชีวิต มีความสามารถในการวาดภาพจิตรกรรมไทยโบราณ และเป็นจิตรกรไทยคนแรกที่นำแนวคิดการวาดภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกมาใช้เป็นต้นแบบในการวาดภาพ ซึ่งกรมศิลปากรหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังตระหนักรักษาเอกสารโบราณให้คงอยู่ต่อไป

 

 

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพังงา
วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพังงา

ชื่อผู้แต่ง          กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย                  

ชื่อเรื่อง          วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพังงา

พิมพ์ครั้งที่       -

สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์          2544          

ลายละเอียด        

หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕    ธันวาคม  ๒๕๔๒  ในรัชกาลที่ ๙  หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพังงา ประกอบด้วย เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นมรดกธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น บุคคลสำคัญของท้องถิ่นและพระมหากรุณาธิคุณ ในการพัฒนาท้องถิ่นของ ร.๙

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง :   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์  :  [๒๕๕๕]

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

พิมพ์ที่  :  โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

               

                คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น) โดยการจัดเก็บองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญา ในเขตอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เพื่อกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้ถึงคุณค่าความเสียสละ และความดีงามของครูภูมิปัญญา เป็นแนวคิดให้ชนรุ่นหลังนำความรู้ไปทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไป

 

 

70 สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา
70 สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา

ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร  สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

ชื่อเรื่อง           70 สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์          2559

รายละเอียด

                   หนังสือ 70 สัมพัจฉร์ฉลองรัชธรรมราชา เป็นหนังสือกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติฯ พรรณนาพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระราชกรณียกิจนานัปการรวมทั้ง เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนาน ในประวัติศาสตร์ไทยรวม ๙ พระองค์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ชาติไทย และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อสังคมไทย เพื่อให้คนไทยเกิดความรัก ความหวงแหนและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อร่วมธำรงรักษาไว้เป็นสถาบันหลักอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง        สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา       

ชื่อเรื่อง         คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์         2554          

ลายละเอียด     

โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น )   หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอรัตภูมิจังหวัด สงขลา ประกอบด้วยเรื่อง ความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลทั่วไปของอำเภอรัตภูมิ  และหลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษามลายู

 

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาหม่อม จังหวัด สงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาหม่อม จังหวัด	   สงขลา

ผู้แต่ง :   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์  :  [๒๕๕๕]

สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ

พิมพ์ที่  :  โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

 

                   คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น) โดยการจัดเก็บองค์ความรู้จากครูภูมิปัญญา ในเขตอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา เพื่อกระตุ้นให้สังคมได้รับรู้ถึงคุณค่าความเสียสละ และความดีงามของครูภูมิปัญญา เป็นแนวคิดให้ชนรุ่นหลังนำความรู้ไปทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไป

สาวิตรี ความเรียงและบทละครร้อง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สาวิตรี ความเรียงและบทละครร้อง  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อผู้แต่ง          กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง           สาวิตรี ความเรียงและบทละครร้อง  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งที่พิมพ์        7

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        ไทยร่มเกล้า จำกัด

ปีที่พิมพ์          2529

รายละเอียด      

                   "สาวิตรี" เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีมาในคัมภีร์มหาภารตอันเป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่องหนึ่งของอินเดีย คัมภีร์มหาภารตกล่าวถึงเรื่องสงครามระหว่างกษัตริย์พวกปาณฑพกับกษัตริย์พวกเการพซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันจนทั้งสองฝ่ายต้องล้มตายเป็นจำนวนมากและในที่สุดพวกปาณฑพเป็นฝ่ายชนะ

รายงานการดำเนินงานประจำปี 2541 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ หอศิลป
รายงานการดำเนินงานประจำปี  2541 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ  หอศิลป

ชื่อผู้แต่ง          สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง           รายงานการดำเนินงานประจำปี  2541 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ  หอศิลป

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จำกัด

ปีที่พิมพ์          2541

ลายละเอียด      -

                   เป็นการรวบรมข้อมูลการปรับปรุงอาคารสิ่งก่อสร้าง  เช่น  การปรับปรุงอาคารหอภาพยนตร์แห่งชาติเดิมให้เป็นสำนักงานและห้องบรรยาย  ปรับปรุงลานจอดรถ  และการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในอาคารนิทรรศการถาวรและชั่วคราว  เป็นต้น 

 

จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ
จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ

ชื่อผู้แต่ง          คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรม มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

ชื่อเรื่อง           จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ

ครั้งที่พิมพ์        -

สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์        ม.ป.ท.

ปีที่พิมพ์          ม.ป.ป.

รายละเอียด      -

                   เป็นการแสดง “ปาฐกถา” ของรัฐบุรุษผู้ห่วงใยในอนาคตของบ้านเมือง  ของความเป็นไทย  นั้นคือ “จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ”  โดย ฯพลฯ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  ทุกครั้งที่  ฯพลฯ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ    แสดงปาฐกถา  หรือ  สุนทรพจน์  ณ  ที่ใด  ทางสำนักงานรัฐบุรุษ  จะส่งคำบรรยายหรือต้นฉบับมารวบรวมไว้ที่ฝ่ายจดหมายเหตุ  และหอเกียรติยศมูลนิธิรัฐบุรุษซึ่งรวบรวมไว้เป็นเอกสารมีค่าทางประวัติศาสตร์

 

 

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปัตตานี
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปัตตานี

306.08995911              ชื่อผู้แต่ง            กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย   

123 วพท                   ชื่อเรื่อง              วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปัตตานี

                      พิมพ์ครั้งที่        -

                      สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

                     สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์คุรุสาลาดพร้าว

                     ปีที่พิมพ์           ๒๕๔๔๓                              

                     หมายเหตุ         หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวา ๒๕๔๒ ในรัชกาลที่ ๙

หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นมรดกทางธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น บุคคลสำคัญของท้องถิ่นและพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาท้องถิ่นของ ร.๙

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง         สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา     

ชื่อเรื่อง           คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ปีที่พิมพ์          ๒๕๕๔        จำนวนหน้า  ๑๗๗  หน้า      

หมายเหตุ       โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ส่งเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น )

                       หนังสือคู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอ กระแสสินธุ์ จังหวัด สงขลา ประกอบด้วยเรื่อง ความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลทั่วไป อำเภอ กระแสสินธุ์และหลักสูตรการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่นทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษามลายู

คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้อำเภอสะเดาจังหวัดสงขลา
คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้อำเภอสะเดาจังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง         สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สงขลา

ชื่อเรื่อง           คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอสะเดา จังหวัด สงขลา

 พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ปีที่พิมพ์          ๒๕๕๔     จำนวนหน้า  ๑๘๑  หน้า       

 หมายเหตุ    โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ในพื้นที่ ๕  จังหวัดชายแดนภาคใต้( สงเสริมครูภูมิปัญญาท้องถิ่น )

                     หนังสือคู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอ สะเดา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยเรื่องความเป็นมาและความสำคัญของคู่มือฯ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลทั่วไปอำเภอสะเดาและหลักการการถ่ายทอดครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำเนียบครูภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษามลายู

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด พัทลุง
วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด พัทลุง

ชื่อผู้แต่ง         กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย                   

ชื่อเรื่อง          วัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัด พัทลุง

พิมพ์ครั้งที่      -

สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ปีที่พิมพ์         ๒๕๔๔     จำนวนหน้า  ๓๔๖  หน้า

หมายเหตุ       หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ  ๕  ธันวาคม   ๒๕๔๒ ในรัชกาลที่ ๙

                      หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสังคม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นมรดกธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น บุคคลสำคัญของท้องถิ่นและพระมหากรุณาธิคุณ ในการพัฒนาท้องถิ่นของ ร.๙

คนศิลปากรกับสำนักทางสุนทรียะ
คนศิลปากรกับสำนักทางสุนทรียะ

701                                ชื่อผู้แต่ง           นิคม มูสิกะคามะ  

553 ค                       ชื่อเรื่อง               คนศิลปากรกับสำนักทางสุนทรียะ     

                      พิมพ์ครั้งที่        1

                      สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ

                      สำนักพิมพ์       สนง.ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

                      ปีที่พิมพ์           ๒๕๕๒                  จำนวนหน้า ๑๖๓หน้า

                      หมายเหตุ         จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสจัดงานบนเส้นทางสาศตวรรษกรมศิลปากร

                หนังสือคนศิลปากรกับสำนักทางสุนทรียะเป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องสุนทรียะทางศิลปกรรมของผู้เชี่ยวชาญและศิลปินหลายท่านรวมทั้งประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนจากประสบการณ์ตรงจากการทำงานในกรมศิลปกร ประกอยด้วยเรื่องความหมาย ประวัติและพัฒนาการทางสุนทรียะภาพและงานวิจิตรศิลปากร ปริศนาแห่งสุนทรียะ ศิลปะและสุนทรียะและผลงานทางวิชาการของผู้เขียน

รัฐบุรุษฃื่อเปรม
รัฐบุรุษฃื่อเปรม

ชื่อผู้แต่ง         นพ พิณสายแก้ว
ชื่อเรื่อง           รัฐบุรุษชื่อเปรม
ครั้งที่พิมพ์        -
สถานที่พิมพ์     บริษัท เจ. พลัส อิมเมจ แอนด์พับลิชิ่ง จำกัด
สำนักพิมพ์        กรุงเทพ
ปีที่พิมพ์           2538
จำนวนหน้า     765  หน้า
หมายเหตุ        -

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติของ พณฯ ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทั้งทางด้านการปกครอง  การทหาร  การเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารราชการแผ่นดิน  ตลอดจนเรื่องราวต่างๆเอาไว้

รัฐบุรุษฃื่อเปรม 2
รัฐบุรุษฃื่อเปรม 2

ชื่อผู้แต่ง         นพ พิณสายแก้ว
ชื่อเรื่อง           รัฐบุรุษชื่อเปรม
ครั้งที่พิมพ์        -
สถานที่พิมพ์     บริษัท เจ. พลัส อิมเมจ แอนด์พับลิชิ่ง จำกัด
สำนักพิมพ์        กรุงเทพ
ปีที่พิมพ์           2538
จำนวนหน้า     765  หน้า
หมายเหตุ        -

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติของ พณฯ ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทั้งทางด้านการปกครอง  การทหาร  การเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารราชการแผ่นดิน  ตลอดจนเรื่องราวต่างๆเอาไว้

เกิดถิ่นใต้
เกิดถิ่นใต้

ชื่อผู้แต่ง        ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง         เกิดถิ่นใต้
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์     ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์         2546
จำนวนหน้า     100  หน้า
หมายเหตุ     -

เกิดถิ่นใต้เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเกียรติประวัติ  ของ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย  กล่าวถึงประวัติอันดีงามของท่าน  ประวัติการรับราชการ  ประวัติการศึกษา  และผลงานต่างๆของท่านไว้

การปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์ เอกสารโบราณภาคใต้ ประเภทหนังสือบุดดำ (ฉบับหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ) เรื่อง คาถาและตำรายา
การปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์  เอกสารโบราณภาคใต้  ประเภทหนังสือบุดดำ  (ฉบับหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ) เรื่อง คาถาและตำรายา

ชื่อผู้แต่ง   หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง     การปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์  เอกสารโบราณภาคใต้  ประเภทหนังสือบุดดำ  (ฉบับหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ) เรื่อง คาถาและตำรายา
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์     นครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์         2558
จำนวนหน้า     180  หน้า
หมายเหตุ     -

หนังสือเรื่องคาถาและตำรายา  จัดทำขึ้นเพื่อรักษาคุณค่า  และเอกลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบต่อไป  เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วยคาถาและตำรายา  ความสำคัญของเอกสารโบราณและหนังสือบุ

ชม ซ๊อป ซิม ซิลล์
ชม ซ๊อป ซิม  ซิลล์

ชื่อผู้แต่ง        เทศบาลนครหาดใหญ่
ชื่อเรื่อง     ชม ซ๊อป ซิม  ซิลล์
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     ม.ป.พ.
สำนักพิมพ์     ม.ป.ท.
ปีที่พิมพ์         ม.ป.ป
จำนวนหน้า     50  หน้า
หมายเหตุ     -

ชม ซ๊อป ซิม  ซิลล์  ป็นคู่มือหนังสือการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว  ของจังหวัดสงขลา เช่น  ที่พัก  ร้านอาหาร  ห้างสรรพสินค้า  สถานบันเทิง  บริษัทรถเช่า  รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญๆเอาไว้

จุลสารแนะนำศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
จุลสารแนะนำศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้  วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ชื่อผู้แต่ง        ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้  วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง     จุลสารแนะนำศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้  วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     กรุงสยามการพิมพ์
สำนักพิมพ์     กรุงเทพ
ปีที่พิมพ์         2522
จำนวนหน้า     36  หน้า
หมายเหตุ     -
จุลสารแนะนำศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้  วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช  จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสารสารสนเทศทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม  สำหรับใช้เป็นเครื่องมือติดต่อ  ประชาสัมพันธ์ระหว่างศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้

คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ชื่อผู้แต่ง        กรมศิลปากร  สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่อง     คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับงานพระราชพิธีพระบรมศพ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ครั้งที่พิมพ์    2
สถานที่พิมพ์     สุวรรณภูมิ  เฮอริเทจ  จำกัด
สำนักพิมพ์     กรุงเทพ
ปีที่พิมพ์         2559
จำนวนหน้า     60  หน้า
หมายเหตุ     -

คำศัพท์ต่างๆที่รวบรวมในหนังสือเล่มนี้  แสดงให้เห็นภาพรวมของงานพระราชพิธีพระบรมศพตั้งแต่การบำเพ็ญราชกุศล  รวมถึงคำศัพท์ในราชพิธีที่ปรากฏตามสื่ออยู่เสมอ  เช่นการบำเพ็ญพระราชกุศลในแต่ละช่วงเวลา  การศึกษาโบราณราชประเพณี  รวมถึงคติความเชื่อที่ไม่ปรากฏแล้วในพระราชประเพณีปัจจุบัน

20 ปี ธรรมโฆสิต โรงเรียนธรรมโฆสิต กิ่งอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
20 ปี ธรรมโฆสิต โรงเรียนธรรมโฆสิต  กิ่งอำเภอนาหม่อม  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้แต่ง        โรงเรียนธรรมโฆสิต
ชื่อเรื่อง         20 ปี ธรรมโฆสิต โรงเรียนธรรมโฆสิต  กิ่งอำเภอนาหม่อม  จังหวัดสงขลา
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     -
สำนักพิมพ์     -
ปีที่พิมพ์         2537
จำนวนหน้า     70  หน้า
หมายเหตุ     -

เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของโรงเรียน ธรรมโฆษิต  รวมถึงคณะผู้บริหารโรงเรียนทั้งในอดีตและปัจจุบัน

แหล่งศิลปกรรม จังหวัดยะลา
แหล่งศิลปกรรม จังหวัดยะลา

ชื่อเรื่อง : แหล่งศิลปกรรม จังหวัดยะลา
ผู้แต่ง :  สถาบันราชภัฎจังหวัดยะลา
พิมพ์ครั้งที่ : 2
ปีที่พิมพ์ : 2539
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท
สำนักพิมพ์ : หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดยะลา

จังหวัดยะลามีความเป็นมายาวนาน มีหลักฐานทางโบราณคดี โบราณวัตถุ แต่เนื่องจากความเสี่อมโทรมทำให้ต้องมีการปรับปรุง  แต่ปัญหาที่ตามมาคือไปทำลายธรรมชาติ โดยรู้เท่าไม่ถึงกาล หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดยะลา จึงตั้งคณะกรรมการขี้นเพื่อขยายความคิดเชิงอนุรักษ์ขึ้น

เส้นทางมังกรเมืองสงขลา
เส้นทางมังกรเมืองสงขลา

ชื่อเรื่อง :เส้นทางมังกรเมืองสงขลา
ผู้เรียบเรียง : นพนนท์  นฟปิยะกุล
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ :  ประชาสัมพันธ์หอการค้าจังหวัดสงขลา

สงขลามีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของสงขลาก็คือ ไซน่าทาวน์ ป็นประวัติศาสตร์ชุมชนชาวจีนที่อพยพเข้ามาเมืองไทย และสามารถเชื่อมโยงไปกับคนจีนจำนวนมากในประเทศไทย

สมุดภาพสงขลา
สมุดภาพสงขลา

ชื่อเรื่อง : สมุดภาพสงขลา
ผู้เรียบเรียง :    อเนก นาวิกมูล, จรัล  จันทร์พรหมรัตน์
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ :  คณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา ครั้งที่ 36
    
รวบรวมภาพเก่าจากอาจารย์จรัส  จันทร์พรหมรัตน์ อัลบั้มเที่ยวสงขลายุค 2480  ภาพถ่าย 2500-2510  จิตกรฝาผนังวัดมัชฌิมาวาส จ.สงขลา


 

สงขลาที่ข้าเกิด
สงขลาที่ข้าเกิด

ชื่อเรื่อง : สงขลาที่ข้าเกิด
ผู้เรียบเรียง :   สัญญา  วัชรพันธุ์
ปีที่พิมพ์ : 2538
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ :  เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี นาถ  เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา2548

รวบรวมประวัติความเป็นมาของเมืองสงขลา ประวัติพลเอกเปรม ตินสูลานนท์ องค์คมนตรีและรัฐบุรุษ  ประวัติบ้านศรัทธา ประวัติเขาเทวดา  ซี่งรวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์



 

วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)จังหวัดภูเก็ต
วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)จังหวัดภูเก็ต

ชื่อเรื่อง : วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง)จังหวัดภูเก็ต
ผู้เรียบเรียง :  คณะกรรมการวัดฉลอง  
ปีที่พิมพ์ : 2537
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : นานาสิ่งพิมพ์

ประวัติความเป็นมาของวัดฉลอง เพื่อออกเผยแพร่แก่ประชาชน  เพื่อระสึกเกียรติคุณของพ่อท่านวัดฉลอง  


 

ลิเกป่า
ลิเกป่า

ชื่อเรื่อง :  ลิเกป่า
ผู้แต่ง :    กลิ่น  คงเหมือนเพชร
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : กระบี่
สำนักพิมพ์ :  ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่

ลิเกป่า เป็นการละเล่นพื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในในแถบชายฝั่งทะเลตะวันตก  เป็นการศึกษาที่เน้นในจังหวัดกระบี่  เป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ในการศึกาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ

 

ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ชุดที่ 4
ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ชุดที่ 4

ชื่อเรื่อง : ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ชุดที่ 4
ผู้แต่ง :  เถกิงศักดิ์  พัฒโน และคณะ
พิมพ์ครั้งที่ :  
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : สมิหลาไทมส์

เป็นการ รวบรวมค้นคว้า รากเหง้า หรือ เรื่องราว ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ทั้งทางกว้าง และทางลึก  ทั้งจากคำบอกเล่า  จากทางสายคุณ ปู คุณ ตา ของท่านเถกิง  พัฒโน เพื่อเป็นหลักฐานเอกสารทางราชการ

พระราชินีของเราเรื่องเล่าจากแผ่นดินใต้
พระราชินีของเราเรื่องเล่าจากแผ่นดินใต้

ชื่อเรื่อง :พระราชินีของเราเรื่องเล่าจากแผ่นดินใต้  
ผู้เรียบเรียง :  กระทรวงศึกษาธิการ  
ปีที่พิมพ์ : 2548
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ :  เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี นาถ  เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา2548

พระราชินีของเราเรื่องเล่าจากแผ่นดินใต้  จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2548 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
 

แผนการลงทุนจังหวัดสงขลา
แผนการลงทุนจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : แผนการลงทุนจังหวัดสงขลา
ผู้แต่ง :  สำนักงานจังหวัดสงขลา
พิมพ์ครั้งที่ :  
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ม.ป.ท.

จังหวัดสงขลา  มีเนื้อที่ 7,393.9 ตารางกิโลเมตร  มีอาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
พัทลุง ปัตตานี  ยะลา กล่าวถึงจุดเด่น ของจังหวัดสงขลา ทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ  การลงทุน

นิบาตชาดกเล่มที่ 7
นิบาตชาดกเล่มที่ 7

ชื่อเรื่อง : นิบาตชาดกเล่มที่ 7
ผู้เรียบเรียง :  กองวรรณกรรมปละประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2540
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเถลิงราชสมบัติครบ 50 ปี  ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 ซึ่งคลองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติชาติไทย   พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความผาสุกสมบูรณ์ แห่งอาณาประชาราษฎร์  นิบาติชาดก เป็นวรรณกรรมที่เขียนเป็นคาถาหรือบทร้อยกลองภาษาบาลีล้วน หรือที่คนไทยเรียกว่า พระเจ้า 500 ชาติ

บันทึกผลสัมฤทธิ์ : การพัฒนาสมรรถทางการบริหาร “ดร. สนธิ เตชานันท์” ผู้ว่าจังหวัดสงขลา
บันทึกผลสัมฤทธิ์ : การพัฒนาสมรรถทางการบริหาร “ดร. สนธิ เตชานันท์” ผู้ว่าจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง : บันทึกผลสัมฤทธิ์ : การพัฒนาสมรรถทางการบริหาร “ดร. สนธิ เตชานันท์” ผู้ว่าจังหวัดสงขลา
ผู้แต่ง :   สนธิ  เตชานันท์
ปีที่พิมพ์ : 2552
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ไอคิว มีเดีย

กล่าวถึงนักบริหาร ดร.สนธิ  เตชานันท์ มีกรอบ แนวความคิด ผลงานด้านต่างๆ  ทำให้ชุมชน น่าอยู่ ตามคำขวัญ บำบัดทุกข์  บำรุงสุข  และการบริหารในด้านต่างๆ ของจังหวัดสงขลา ที่ประสบความสำเร็จ

คลองแห
คลองแห

ชื่อเรื่อง : คลองแห
ผู้แต่ง :  ประเสริฐ  รักษ์วงค์
ปีที่พิมพ์ : 2556
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช คลองแห

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดโครงการ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 84 พรรษา และได้คัดเลือกศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชคลองแห เป็นศูนย์วัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ในภูมิภาคภาคใต้

คนเฒ่าเล่าขานตำนานคลองแห
คนเฒ่าเล่าขานตำนานคลองแห

ชื่อเรื่อง :คนเฒ่าเล่าขานตำนานคลองแห
ผู้แต่ง :   ชีพ  แก้วนิล
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ม.ป.ท.

เป็นเรื่องเล่าสมัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราชสร้างพระเจดีย์  ได้รวบรวม เงิน อุปกรณ์ต่างๆเพื่อนำไปบริจาค ในการสร้างพระเจดีย์  พร้อมบรรยายถึงการเดินทาง

เข้าใจจังหวัดสงขลา
เข้าใจจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง :เข้าใจจังหวัดสงขลา
ผู้เรียบเรียง : สำนักงานจังหวัดสงขลา
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ม.ป.ท

ภูมิหลังการตั้งถิ่นฐานของชุมชน  สภาพเศรษฐกิจ สังคม  การเมือง การปกครอง ทำให้สงขลาเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ของภาคใต้ เป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้รวบรวบข้อมูลที่สำคัญ จากกลุ่มสภาพภูมิศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค  และข้อมูลสำคัญของจังหวัดสงขลา

อาสันนะโยคะ
อาสันนะโยคะ

ชื่อเรื่อง : อาสันนะโยคะ
ผู้แต่ง :  กรมศิการฝึกหัดครู
ปีที่พิมพ์ : 2521
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

หนังสือ อาสันนะโยคะ ประกอบด้วยเรื่องน่าสนใจ คือ ท่าฤาษีดัดตน พร้อมด้วยคำโคลงบรรยายซึ่งปรากฏอยู่ใน ศาลาฤาษี วัดมัชฌิมมาวาส อันเป็นสมบัติล้ำค่าและของดีของชาวสงขลาตอนหนึ่ง และ ท่าดัดตน อเสนาโยคา ของอินเดีย ซึ่งเขียนเป็นลายเส้นไว้อีกตอนหนึ่ง ซึ่งกรมการฝึกหัดครูจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดมัชฌิมมาวาส จังหวัดสงขลา ปี 2521

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูมงคลสมาธิวัตร(แอบ ผ่องแผ้ว) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรก วัดมงคลเทพาราม
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูมงคลสมาธิวัตร(แอบ ผ่องแผ้ว) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรก วัดมงคลเทพาราม

ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูมงคลสมาธิวัตร(แอบ ผ่องแผ้ว) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรก วัดมงคลเทพาราม
ผู้แต่ง : -
ที่พิมพ์ : 2530
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูมงคลสมาธิวัตร(แอบ ผ่องแผ้ว) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรก
วัดมงคลเทพาราม รวบรวมข้อมูล ประวัติของพระครูมงคลสมาธิวัตร ตั้งแต่ชาติกำเนิด จนถึงปัจฉิมวัย และในเล่มจะมี คำบรรยายธรรมะ คู่มือทำวัตรสวดมนต์ แปล เช้า – เย็น รวมถึงคำกรวดน้ำตอนเย็น

สันติวิธี เพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สันติวิธี เพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ชื่อเรื่อง : สันติวิธี เพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้แต่ง :  โภคิน พลกุล
ปีที่พิมพ์ : 2547
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

 กระทรวงมหาดไทย ได้นำคำบรรยายของ ดร.โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาจัดพิมพ์ขึ้น เพราะเป็นการบรรยายพิเศษเรื่องแนวทางการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาแบบสันติวิธี แนวคิดในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานอย่างบูรณาการของเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชนทุกหมู่เหล่า

สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ.2558
สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ.2558

ชื่อเรื่อง : สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ.2558
ผู้แต่ง :  อเนก นาวิกมูล และ จรัส จันทร์พรหมรัตน์
ปีที่พิมพ์ : 2558
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : พิมพ์ดี

สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ พ.ศ.2558 เป็นหนังสือที่ระลึกงานชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ ครั้งที่ 37 พ.ศ.2558 ซึ่งรวบรวมประมวลภาพและเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดสงขลาและโรงเรียนมหาวชิราวุธ โดยรวบรวมจากหลายแหล่งข้อมูล เช่น รูปจากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นครศรีธรรมราช หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ เป็นต้น

ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เนื่องจากอุทกภัยภาคใต้ มกราคม 2518
ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เนื่องจากอุทกภัยภาคใต้ มกราคม 2518

ชื่อเรื่อง : ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เนื่องจากอุทกภัยภาคใต้ มกราคม 2518
ผู้แต่ง :  ชุมพล โลหะชาละ
ปีที่พิมพ์ : 2518
สถานที่พิมพ์ : นนทบุรี
สำนักพิมพ์ : กรมประชาสงเคราะห์

ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เนื่องจากอุทกภัยภาคใต้ มกราคม 2518 เล่มนี้ รวบรวมเรื่องราวของอุทกภัยในจังหวัดภาคใต้ เมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2518 อย่างละเอียด เริ่มจากสาเหตุการเกิดอุทกภัย ความเสียหายต่างๆ และ การพิจารณาความช่วยเหลือของรัฐบาล นอกจากนั้น ยังรายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เนื่องจากอุทกภัยภาคใต้ในการบรรเทาทุกข์ รวมทั้งความร่วมมือของหน่วยราชการอื่นๆ องค์การสังคมสงเคราะห์เอกชน นักศึกษา และความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

วัตถุมงคลหลวงพ่อลิ้นดำ วัดนารังนก ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
วัตถุมงคลหลวงพ่อลิ้นดำ วัดนารังนก ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

ชื่อเรื่อง : วัตถุมงคลหลวงพ่อลิ้นดำ วัดนารังนก ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
ผู้แต่ง :  พระครูสิริเขมากร
ปีที่พิมพ์ : 2556
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : กันยาการพิมพ์

วัตถุมงคลหลวงพ่อลิ้นดำ วัดนารังนก ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เล่มนี้ จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานในงานทอดกฐินสามัคคี ปี 2556 มีเนื้อหาประกอบด้วย ประวัติวัดนารังนก ประวัติอุโบสถวัดนารังนก ประวัติหลวงพ่อลิ้นดำ และประมวลภาพวัตถุมงคลของหลวงพ่อลิ้นดำทุกรุ่น เพื่อบ่งบอกถึงอภินิหาร ความปาฏิหาริย์ ความอัศจรรย์ ความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง และปรากฏการณ์ต่างๆ ของหลวงพ่อลิ้นดำ เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐานและสะดวกในการค้นคว้าหาความรู้ของอนุชนรุ่นหลังสืบไป

วัดสระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาดีเด่น
วัดสระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาดีเด่น

ชื่อเรื่อง : วัดสระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาดีเด่น
ผู้แต่ง : รัชนี พึ่งพาณิชย์กุล
ปีที่พิมพ์ : 2548
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

หนังสือ วัดสระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาดีเด่น เล่มนี้ เกิดจากการ ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจัดทำโครงการนำร่องการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมของวัด ซึ่ง วัดสระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นวัดดีเด่นด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ และจัดพิมพ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวัดที่จัดการศึกษาและเผยแผ่ศาสนธรรม หน่วยงาน สถานศึกษา นักวิชาการและพุทธศาสนิกชนทั่วไป

รวมปาฐกถาทางวิชาการ วิทยาลัยครูสงขลา
รวมปาฐกถาทางวิชาการ วิทยาลัยครูสงขลา

ชื่อเรื่อง : รวมปาฐกถาทางวิชาการ วิทยาลัยครูสงขลา
ผู้แต่ง :  ชุมนุมสังคมวัฒนธรรม องค์การนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลา
ปีที่พิมพ์ : 2514
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : ร.พ.สงขลา

หนังสือ รวมปาฐกถาทางวิชาการ วิทยาลัยครูสงขลา จัดทำขึ้นโดย ชุมนุมสังคมวัฒนธรรม องค์การนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลา โดยวามอนุเคราะห์ของมูลนิธิเอเชีย รวบรวมปาฐกถาจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (เสรีไทยสมัยสงครามโลกครั้วที่ 2) พ.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร (พระราชจริยวัตรของสองล้นเกล้า) พุทธทาสภิกขุ (อุดมการณ์ของครูกับโลกสมัยปัจจุบัน) สมชัย วุฒิปรีชา (ยุทธศาสตร์การศึกษา) และ ปัญญานันทมุนี (ธรรมของครู)

ร่มเกล้าชาวใต้
ร่มเกล้าชาวใต้

ชื่อเรื่อง : ร่มเกล้าชาวใต้
ผู้แต่ง :  กรมประชาสัมพันธ์
ปีที่พิมพ์ : 2547
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

กรมประชาสัมพันธ์ รวบรวมพระราชกรณียกิจและพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงช่วยเหลือประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้พ้นจากความทุกข์เดือดร้อนและความยากจน เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติ

ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ ตอน ๒ เกิดรากเหง้า ชาวบ้านพื้นถิ่นเชื้อสายนักรบ
ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ ตอน ๒ เกิดรากเหง้า ชาวบ้านพื้นถิ่นเชื้อสายนักรบ

ชื่อเรื่อง : ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ ตอน ๒ เกิดรากเหง้า ชาวบ้านพื้นถิ่นเชื้อสายนักรบ
ผู้แต่ง :  เถกิงศักดิ์ พัฒโน และคณะ
ปีที่พิมพ์ : 2554
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : สมิหลาไทมส์

ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ ตอน ๒ เกิดรากเหง้าชาวบ้านพื้นถิ่นเชื้อสายนักรบ เล่มนี้ เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าจากบันทึกชาวบ้านและคำเล่าขานต่อๆกันมา โดยลำดับเหตุการณ์รบบริเวณสมรภูมิทุ่ง(ท่า) หาดใหญ่ โดยละเอียด ทั้งจากเอกสารราชการและเอกสารท้องถิ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชื่อบ้านนามเมืองในปัจจุบัน 

ประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช
ประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช

ชื่อเรื่อง : ประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง : น้อม อุปรมัย  
ปีที่พิมพ์ : 2550
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.

ประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช เล่มนี้ ผู้รวบรวมข้อมูลต้นฉบับคือ คุณครูน้อม อุปรมัย ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ชื่อดังของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มอบให้นายสมัคร พฤกษ์เสถียร เพื่อนำไปถ่ายทอด ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อปลูกฝังและสร้างสำนึกให้ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชมีความกตัญญูรู้คุณต่อแผ่นดิน

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๒ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๒ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อเรื่อง : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๒ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง :  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2559
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๒๒ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสที่กรมศิลปากรนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง วัดแจ้งวรวิหาร เนื้อหาในเล่มว่าด้วยเรื่องของวัดแจ้งวรวิหาร  ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองเอกทางภาคใต้ ที่มีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนครศรีธรรมราช งานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนข้อมูลภารกิจของกรมศิลปากรในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

บ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
บ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ชื่อเรื่อง : บ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
บรรณาธิการ :  ทีมงานโครงการศึกษาพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในชุมชนกรณีศึกษาต้นแบบชุมชนสมานฉันท์ภาคใต้
ปีที่พิมพ์ : 2547
สถานที่พิมพ์ : ปัตตานี
สำนักพิมพ์ : หน่วยประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง

บ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เล่มนี้ บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชนบ้านเชิงเขา การสร้างบ้านแปลนเมือง ลำดับการขยับขยายของชุมชน พัฒนาการด้านการปกครองในชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และความเชื่อ การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ระหว่างสองศาสนา

บันทึกน้ำใจไมตรี กรณีช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ
บันทึกน้ำใจไมตรี กรณีช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ

ชื่อเรื่อง : บันทึกน้ำใจไมตรี กรณีช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ
ผู้แต่ง :  คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ปีที่พิมพ์ : 2548
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำหนังสือ บันทึกน้ำใจไมตรี กรณีช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ เพื่อแสดงกรณีตัวอย่างในการแสดงน้ำใจไมตรีของคนไทยที่มีต่อคนไทยด้วยกัน รวมไปถึงชาวต่างประเทศ และจะช่วยให้เกิดการปลูกฝังความมีน้ำใจไมตรีขึ้นในคนไทยสืบต่อไป เพราะน้ำใจไมตรีนั้นมีคุณค่าอาจกล่าวได้ว่าไม่มีอิทธิพลหรืออานุภาพใดจะเทียบเท่าน้ำใจไมตรีที่มนุษย์จะมีต่อกัน

ตำนานการละเล่นและภาษาชาวใต้
ตำนานการละเล่นและภาษาชาวใต้

ชื่อเรื่อง : ตำนานการละเล่นและภาษาชาวใต้
ผู้แต่ง :  ประพนธ์ เรืองณรงค์
ปีที่พิมพ์ : 2519
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โอเดียนสโตร์

ตำนานการละเล่นและภาษาชาวใต้ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับท้องถิ่นชายแดนภาคใต้ เช่น ตำนานว่าด้วยจังหวัดปัตตานี ภาษามลายูและภาษาไทย การละเล่นคือหนังตะลุง มโนห์รา และมีการละเล่นของไทยมุสลิมอีกด้วย แสดงถึงว่า แม้จะมีความต่างด้วยศาสนาที่นับถือ แต่ศิลปวัฒนธรรมหลายประการมีความละม้ายคล้ายคลึงกัน

เขาคูหาและพังพระ
เขาคูหาและพังพระ

ชื่อเรื่อง : เขาคูหาและพังพระ
ผู้เรียบเรียง :  ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์
ปีที่พิมพ์ : 2543
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา กรมศิลปากร

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10 สงขลา กรมศิลปากร จัดพิมพ์หนังสือ เขาคูหาและพังพระ ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งโบราณสถาน เพื่อเป็นสื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดความหวงแหนในสมบัติของชาติ

มัสยิดกรือแซะในประวัติศาสตร์นครปตานี
มัสยิดกรือแซะในประวัติศาสตร์นครปตานี

ชื่อเรื่อง : มัสยิดกรือแซะในประวัติศาสตร์นครปตานี
ผู้แต่ง :  ครองชัย หัตถา
ปีที่พิมพ์ : 2553
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มัสยิดกรือแซะในประวัติศาสตร์นครปตานี เล่มนี้ นอกจากจะมีเรื่องราวของมัสยิดกรือแซะแล้ว ยัง รวบรวมข้อมูลสถานที่สำคัญ ร่วมสมัยอีกหลายแห่ง เช่น คูเมืองโบราณ ที่ตั้งพระราชวังในอดีต สุสานเจ้าเมืองและบุคคลสำคัญ สถานที่หล่อปืนใหญ่ ท่าเรือถ่ายสินค้า เป็นต้น เป็นข้อมูลที่สนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญของชาติ ในฐานะที่ปตานีเคยได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น “มหานคร”ของภูมิภาคนี้ในอดีต

รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๑ จังหวัดภูเก็ต
รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๑ จังหวัดภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง : -
ชื่อหนังสือ : รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๕๑ จังหวัดภูเก็ต
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : ภูเก็ต
สำนักพิมพ์ : บ.ภูเก็ตบูลเลทิน จำกัด
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๑

ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่๙ กับจังหวัดภูเก็ต
ผู้บริหารจังหวัดภูเก็ต ตราสัญญาลักษณ์ประจำจังหวัดภูเก็ต ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภูเก็ต การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การขับเคลื่อนจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก การพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ อทิ ด้านสุขภาพ ด้านกีฬา ด้านศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ตลอดจนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแดล้อม

มหาวชิราวุธ สงขลา ๒๕๕๘
มหาวชิราวุธ สงขลา ๒๕๕๘

ชื่อผู้แต่ง : อเนก  นาวิกมูล
ชื่อหนังสือ : มหาวชิราวุธ สงขลา ๒๕๕๘
ครั้งที่พิมพ์ : -
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : บ. พิมพ์ดี จำกัด
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๘

ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติโรงเรียนมหาวชิราวุธ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้ากับภาษา และหนังสือ เอกบุรุษรัตนโกสินทร์ ภาพการทำงานของ ฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ภาพแห่งศรัทธา เพลงประจำโรงเรียนมหาวชิราวุธ เศรษฐกิจไทยสมัยรัฐบาลท่านเปรม ตลอดจนบันทึกเด็กวัดยางทอง จากดุรัยบรรณสู่มหาวชิราวุธ จากเด็กวัสู่ผู้บริหาร วัดเบ้าหลอมชีวิต และเล่าเรื่องเมืองสงขลา

นิบาตชาดก เล่ม๑๐ ภาคผนวก
นิบาตชาดก เล่ม๑๐ ภาคผนวก

ชื่อผู้แต่ง : -
ชื่อหนังสือ : นิบาตชาดก เล่ม๑๐ ภาคผนวก
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ :๒๕๔๐

เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคล  สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙  เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย นิบาตชาดก เป็นวรรณกรรมเอกทางพระพุทธศาสนาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้แปลเป็นภาษาไทย ช้ำนิบาตชาดกเล่ม ๑๐ นี้เป็นภาคผนวก  เป็นคู่มือในการศึกษาค้าคว้า เปรียบเทียบของผู้ที่ต้องการหาความรู้ในศาสนา และส่งเสริมศิลธรรมแก่ประชาชน ซึ้งสามารถนำธรรมะจากชดกไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง เพื่อความสุขของตน

ตามพรลิงค์สู่นครศรีธรรมราช
ตามพรลิงค์สู่นครศรีธรรมราช

ชื่อผู้แต่ง : -
ชื่อหนังสือ : ตามพรลิงค์สู่นครศรีธรรมราช
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์ : สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๓

เนื้อหาภายในเล่มเป็นบทความที่รวบรวมเป็นเล่ม จากผู้เขียนที่มีความรู้หลายๆท่าน  โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพลิกแผ่นหา  ตามพรลิงค์  ผ่านร้อยลูกปัดจากร้อยลูกปัด บนคาบสมุทรไทยที่ภาคใต้ เครื่องถ้วยจีน ผลิตผลทางการค้า
ระห่างจีนตามพรลิงค์ รุปแบบการปกครองของราชวงค์ศรีธรรมาโศกราช  พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มรดกธรรมสู่มรดกโลก  ตลอดจนประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ พระพุทธสิหิงค์พระประจำเมืองนคร
 

การบูรณะปรียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช สิ้สุดครั้งแรกตามแผนงาน
การบูรณะปรียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช สิ้สุดครั้งแรกตามแผนงาน

ชื่อผู้แต่ง : นพวัฒน์  สมพื้น
ชื่อหนังสือ : การบูรณะปรียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช สิ้สุดครั้งแรกตามแผนงาน
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เนื้อหาให้รายละเอียดเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นครศรีธรรมราช การบูรณะปฏิสังขรองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช การซ่อมกลีบบัวทองคำ เป็นที่มาของการซ่อมปรียอดทองคำ การสำรวจ การเตรียมการ การปฎิบัติการบูรณะปฏิสังขรปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ตลอดจนการบูรณะความมั่นตงส่วนแกนปลียอด
การตรวจราชการและตรวจเยี่ยมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ พระญาณโมลี (ประณีต ฐิตธมฺมเถร)
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ พระญาณโมลี (ประณีต  ฐิตธมฺมเถร)

ชื่อผู้แต่ง : -
ชื่อหนังสือ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลงศพ พระญาณโมลี (ประณีต  ฐิตธมฺมเถร)
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป

เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระญาณโมลี (ประณีต  ฐิตธมฺมเถร )
โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติ พระญาณโมลี (ฐิตธมฺมเถร) ตั้งแต่การศึกษา เรียนธรรม และบาลีที่วัดเลียบ ตำแหน่งตราตั้งและสมานศักดิ์ งานก่อสร้างซ่อมแซมตลอกจนวาระสุดท้าย นอกจากนั้นยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับพุทธวจนะในธรรมบท
 

คู่มือการท่องเที่ยวนิเวศทางทะเลเกาะฝั่งอันดามันเหนือ : ระนอง พังงา ภูเก็ต
คู่มือการท่องเที่ยวนิเวศทางทะเลเกาะฝั่งอันดามันเหนือ : ระนอง พังงา ภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ชื่อหนังสือ : คู่มือการท่องเที่ยวนิเวศทางทะเลเกาะฝั่งอันดามันเหนือ : ระนอง พังงา ภูเก็ต
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๒
สำนักพิมพ์ : กองอนุรักษ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

เป็นคู่มือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ไปที่ใหน พักอย่างไร เกี่ยวกับอุทยาน
การเดินทาง กิจกรรมบนหาดทราย ห้องเรียนในป่าเลน ท่องโลกแนวปะการัง นอกจากนั้นยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับ อุทยานแห่งชาติ แหลมสนและหมู่เกาะกำ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา และหมู่เกาะชายฝั่งภูเก็ต ตลอดจนอธิบายอันตรายที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวทางทะเล ขอน้ำใจคืนน้ำใส ให้ทะเลสวย

ย้อนรอยอดีตนครหาดใหญ่ ชุดที่๑
ย้อนรอยอดีตนครหาดใหญ่ ชุดที่๑

ชื่อผู้แต่ง : นาย เถลิงศักดิ์  พัฒโน
ชื่อหนังสือ : ย้อนรอยอดีตนครหาดใหญ่ ชุดที่๑
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : สมิหลาไทมส์
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๒

ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ หาดใหญ่ไม่ไร้ราก รัฐ - ประชาร่วมพัฒนา ร่วมสร้างรากของเมือง การตั้งหลักแหล่งในพื้นที่นครหาดใหญ่ ของฝากจากเขาคอหงส์ เขาคอหงส์ จ้าวพ่อคอหงส์ เขาคอหงส์และจ้าวพ่อย้อนอดีต สายน้ำ - สายชีวิต
จากเขาคอหงส์และเขาดินหลาว แก้มลิง ณ อ้อมโอบเขาคอหงส์ และเขาคันหลาว สู่สวนสาธารณะเขาคอหงส์ นอกจากนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับ พระศรีมหาโพธิ์ พระพุทธมงคลมหาราช ต้นสละ พระโพทธิสัตว์กวนอิม ตลอดจนท้าวมหาพรหมแห่งเขาชุมสัก และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่๕

ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา
ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง :         ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา
ผู้แต่ง :           สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
ปีที่พิมพ์ :        ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์  : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
              
ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณยกย่องเชิดชูเกียรติ เผยแพร่ประวัติชีวิตและผลงานของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม เนื้อหาภายในเล่ม แบ่งเป็น ๔ ตอน ได้แก่ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๕๔๕  ศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๕๔๗ และศิลปินดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๕๔๘  แต่ละตอนจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติ การศึกษา ผลงานและเกียรติคุณ ของศิลปินต่างๆ  พร้อมภาพประกอบ
 

อนุสรณ์สถานบรรพชน หอตระกูลลิ้ม
อนุสรณ์สถานบรรพชน หอตระกูลลิ้ม

ชื่อเรื่อง :        อนุสรณ์สถานบรรพชน หอตระกูลลิ้ม
ปีที่พิมพ์ :        ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท
สำนักพิมพ์  :   ม.ป.พ
    
อนุสรณ์สถานบรรพชน หอตระกูลลิ้ม  ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ภูมิหลังตระกูลลิ้ม โบตั๋น ช้าง ห้าขุนเขา ดอกบัว สามสหายแห่งเหมันต์ ไผ่ สน เหมย เป็นต้น โดยแต่ละเรื่องจะมีตัวอักษรจีนกำกับ พร้อมคำอ่าน ประวัติความเป็นมาและความหมาย ท้ายเล่มมีประมวลภาพในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานบรรพชนหอตระกูลลิ้ม พร้อมภาพประกอบ
 

แหล่งศิลปกรรมและแหล่งประวัติศาสตร์ภูเก็จ
แหล่งศิลปกรรมและแหล่งประวัติศาสตร์ภูเก็จ

ชื่อเรื่อง :         แหล่งศิลปกรรมและแหล่งประวัติศาสตร์ภูเก็จ
ครั้งที่พิมพ์ :     ๔
ปีที่พิมพ์ :        ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์ : ภูเก็ต
สำนักพิมพ์  : หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น
    
แหล่งศิลปกรรมและแหล่งประวัติศาสตร์ภูเก็จ จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านวิชาการแก่หน่วยงานของทางราชการและเพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย แหล่งข้อมูลศิลปกรรมต่างๆ ที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ของจังหวัดภูเก็ต ๙๔ แห่ง  อาทิเช่น จวนเจ้าคุณถลางหนู วัดท่าเรือ วัดไชยธาราราม เป็นต้น แต่ละแห่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับ อาณาเขต เส้นทางคมนาคม สภาพภูมิประเทศ โบราณสถาน สภาพแวดล้อมโดยรอบ ประวัติและข้อเสนอแนะ ท้ายเล่มมีแผนที่จังหวัดภูเก็ต ดรรชนี พร้อมภาพประกอบ

ประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด)
ประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด)

ชื่อเรื่อง :        ประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด)
ปีที่พิมพ์ :        ๒๕๒๑.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : ไทยสังฆภัณฑ์การพิมพ์
    
ประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด) จัดเรียงหน้าตั้งแต่ ก-ฒ  กล่าวถึงประวัติวัดพระทอง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และประวัติของหลวงพ่อพระทอง (พระผุด) ท้ายเล่มมีประกาศอนุโมทนารายนามผู้มีจิตศรัทธาบริจาคจตุปัจจัยสร้างหนังสือประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด)

พืชสมุนไพรภาคใต้ ฉบับชาวบ้าน เล่ม ๒
พืชสมุนไพรภาคใต้ ฉบับชาวบ้าน เล่ม ๒

ชื่อเรื่อง :         พืชสมุนไพรภาคใต้ ฉบับชาวบ้าน เล่ม ๒
ชื่อผู้แต่ง :       ชุติมา  เกื้อเส้ง  
ปีที่พิมพ์ :         ๒๕๕๑.
สถานที่พิมพ์ :   สงขลา
สำนักพิมพ์  :     บริษัทเอสพริ้นท์ (๒๐๐๔) จำกัด
    
รวบรวมความรู้ประสบการณ์การใช้สมุนไพรจริงของหมอพื้นบ้านทั่วภาคใต้ ที่มีประสบการณ์รักษาโรคกับผู้ป่วยจริงๆ โดยจัดทำร่วมกันกับเครือข่ายหมอพื้นบ้าน โดยหมอพื้นบ้านในเครือข่ายช่วยกันให้ความรู้ สอบทานความถูกต้อง จัดประชุม ตามหาพืชสมุนไพรหายากในป่าต่างๆ ทั่วภาคใต้ เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับพืชสมุนไพร พืชสมุนไพรต่างๆ อาทิเช่น ยายปลวก ตาเสือ ส้มคางคก ฯลฯ โดยจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อท้องถิ่น ลักษณะพืช ส่วนที่ใช้เป็นยา รส/สรรพคุณ ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านภาคใต้ ท้ายเล่มประกอบด้วย ของฝากจากชาวบ้าน  ๗ เกร็ดยา เบื้องหลังการทำงานในการจัดการความรู้ สุขภาพ ๔ มิติ แนวคิดภูมิปัญญาไทยและ พ.ร.บ.สุขภาพ

บูรพาจารย์รำลึก
บูรพาจารย์รำลึก

ชื่อเรื่อง :        บูรพาจารย์รำลึก  
ปีที่พิมพ์ :        ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : ชุมพร
สำนักพิมพ์  :   ชุมพรการพิมพ์
    
พิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่พุทธบริษัทผู้มาร่วมทำบุญในงานฉลองมณฑปบูรพาจารย์ ประกอบด้วยประวัติการสร้างวัด เสนาสนะ – ศาสนสมบัติ ศิลปวัตถุ ปูชนียสถานที่สำคัญตลอดจนประวัติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัด ความเป็นมา สถานะและเขตที่ตั้งของวัด เป็นต้น ท้ายเล่มมีรายนามผู้บริจาคเพื่อสร้างมณฑปบูรพาจารย์ ทำเนียบวัดและพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์และคณะผู้จัดทำ พร้อมภาพประกอบ

ธรรมาธรรมะ สงคราม มัทนะพาธาและท้าวแสนปม
 ธรรมาธรรมะ สงคราม มัทนะพาธาและท้าวแสนปม

ชื่อเรื่อง :       ธรรมาธรรมะ สงคราม มัทนะพาธาและท้าวแสนปม
ชื่อผู้แต่ง :     โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา
ปีที่พิมพ์ :       ๒๕๔๐.
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์  :  โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา
    
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย     บทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓ เรื่อง ได้แก่ ธรรมาธรรมะ สงคราม มัทนะพาธาและท้าวแสนปม นับว่าเป็นการรวบรวมพิมพ์ในเล่มเดียวกันเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีพระราชประวัติโดยสังเขป พระนามแฝง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสาราณียกรแถลงผนวกไว้ท้ายเล่ม

ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

ชื่อเรื่อง :        ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร.
ปีที่พิมพ์ :        ๒๕๔๓.
สถานที่พิมพ์ : ภูเก็ต  
สำนักพิมพ์  :   องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
  
 รวบรวมเนื้อหาสาระจากการสัมมนาระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๓๙ เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วย ๓ ภาค ภาคหนึ่งเป็นการบันทึกการสัมมนาประวัติศาสตร์ ครั้งที่ ๒ ทั้งหมด ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างสมบูรณ์ ภาคสอง เป็นเอกสารประกอบการสัมมนา ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเมืองถลางและ ภาคสาม เป็นส่วนผนวก เนื้อหาเกี่ยวกับทำเนียบผู้เข้าร่วมสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง ครั้งที่ ๒ พร้อมภาพประกอบ

ช่วยอันดามัน เที่ยวอันดามัน คู่มือแหล่งเที่ยว ๖ จังหวัดอันดามัน
ช่วยอันดามัน เที่ยวอันดามัน คู่มือแหล่งเที่ยว ๖ จังหวัดอันดามัน

ชื่อเรื่อง :         ช่วยอันดามัน เที่ยวอันดามัน คู่มือแหล่งเที่ยว ๖ จังหวัดอันดามัน
ชื่อผู้แต่ง :      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  
ปีที่พิมพ์ :        ๒๕๔๘.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :   การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  
 หนังสือ ช่วยอันดามัน เที่ยวอันดามัน คู่มือแหล่งเที่ยว ๖ จังหวัดอันดามัน เล่มนี้ รวบรวมแหล่งท่องเที่ยวของ ๖ จังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทย ซึ่งมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่ยังไม่รู้จักมากนักและแหล่งท่องเที่ยวเก่าที่สวยงาม  สะอาดและน่าท่องเที่ยว  ได้แก่  ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ระนองและพังงา โดยแต่ละที่จะบอกข้อมูลการเดินทาง วันเวลาที่แนะนำ การเดินทางและสถานที่พร้อมเบอร์โทร เป็นต้น พร้อมกับภาพประกอบ

เดือนสิบ’๒๖ : ที่ระลึกในการจัดงานเทศกาลเดือนสิบ ประจำปี ๒๕๒๖ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
 เดือนสิบ’๒๖ : ที่ระลึกในการจัดงานเทศกาลเดือนสิบ ประจำปี ๒๕๒๖ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อเรื่อง :        เดือนสิบ’๒๖ : ที่ระลึกในการจัดงานเทศกาลเดือนสิบ ประจำปี ๒๕๒๖ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้แต่ง :      จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่พิมพ์ :        ๒๕๒๖.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :   กรุงสยามการพิมพ์
    
จัดพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึกในการจัดงานสำคัญอันเป็นธรรมเนียมนิยมของการประกอบการใหญ่ๆ และยังมุ่งหมายให้เป็นบันทึกจดหมายเหตุของจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกทั้งให้เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์กิจการของจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย เนื้อหาจะเน้นหนักในเรื่องภาษาและวรรณกรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นสำคัญ ได้แก่ บนเส้นทางแห่งการศึกษาจารึกภาคใต้ : จากตามพรลิงค์สู่ศรีธรรมราช ภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช มองประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากวรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นต้น ปกหลังมีเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบ

รวมนิราศของ ฉิ้ว ทิพย์วารี นักกลอนชาวบ้านแห่งทุ่งกระแสสินธุ์
รวมนิราศของ ฉิ้ว ทิพย์วารี นักกลอนชาวบ้านแห่งทุ่งกระแสสินธุ์

ชื่อเรื่อง :       รวมนิราศของ ฉิ้ว ทิพย์วารี นักกลอนชาวบ้านแห่งทุ่งกระแสสินธุ์  
ชื่อผู้แต่ง :     สถาบันราชภัฎสงขลา  
ปีที่พิมพ์ :       ๒๕๔๑.
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์  :   สถาบันราชภัฎ สงขลา
  
 เป็นกวีนิพนธ์ประเภทนิราศที่มีความผสมกลมกลืนกับอารมณ์และจินตนาการอยู่เป็นระยะๆ ทำให้น่าอ่านทั้งยังให้ความรู้ทางโบราณคดีและคติชนวิทยา เนื้อหาประกอบด้วย บทกลอนแห่งทุ่งกระแสสินธุ์ นิราศนางเรียม นิราศเกาะใหญ่ นิราศเกาะยอ ประสบการณ์การอ่านกลอนพื้นบ้านภาคใต้และอนุกรมท้องถิ่น ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทรงคุณค่าอันน่าภูมิใจของชาวทุ่งกระแสสินธุ์และจังหวัดสงขลา
 

คู่มือประกอบการนำเที่ยว จังหวัดชายแดนภาคใต้
คู่มือประกอบการนำเที่ยว จังหวัดชายแดนภาคใต้

ชื่อเรื่อง :            คู่มือประกอบการนำเที่ยว จังหวัดชายแดนภาคใต้  
ชื่อผู้แต่ง :          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  
ปีที่พิมพ์ :           ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ :    กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

เป็นหนังสือคู่มือการท่องเที่ยวของจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “เมืองสงขลา” ในด้านต่างๆ ได้แก่  ความเป็นมาในอดีตและปัจจุบัน หน่วยงานต่างๆ  ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา แผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว แผนที่เทศบาลเมืองสงขลา กำแพงเมืองสงขลา เมืองสงขลาหัวเขาแดง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณีวัฒนธรรม และบุคคลสำคัญต่างๆ ได้แก่ สุลต่าน สุไลมาน เป็นต้น รวมทั้ง สตูล ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ถึงเรื่องราวความเป็นมาในอดีตและปัจจุบัน สภาพภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ ประเพณีและวัฒนธรรมของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ พร้อมภาพประกอบ ท้ายเล่มมีรายชื่อที่พักและร้านอาหารประกอบ

ของดีปักษ์ใต้
ของดีปักษ์ใต้

ชื่อเรื่อง :        ของดีปักษ์ใต้  
ชื่อผู้แต่ง :      มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.  
ปีที่พิมพ์ :        ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ :  สงขลา
สำนักพิมพ์  :    โรงพิมพ์ไทยนำ.
    
ของดีปักษ์ใต้ เป็นหนังสือที่ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา จัดพิมพ์ขึ้น เนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึงศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของมหาวิทยาลัยด้านต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานของศูนย์ส่งเสริมฯ หน่วยส่งเสริมและเผยแพร่ ฯลฯ โดยมีทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  พร้อมภาพประกอบ

๑๐๕ ปี หนังกั้น ทองหล่อ : หนังสือที่ระลึกโครงการ ๑๐๕ ปี หนังกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ หนังตะลุงภาคใต้
๑๐๕ ปี หนังกั้น ทองหล่อ : หนังสือที่ระลึกโครงการ ๑๐๕ ปี หนังกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ                        หนังตะลุงภาคใต้

ชื่อเรื่อง :        ๑๐๕ ปี หนังกั้น ทองหล่อ : หนังสือที่ระลึกโครงการ ๑๐๕ ปี หนังกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ
                       หนังตะลุงภาคใต้
ปีที่พิมพ์ :         ๒๕๕๙.
สถานที่พิมพ์ :   สงขลา
สำนักพิมพ์  :     ดรีมบล๊อกซ์
    
จัดพิมพ์ในวาระครบ ๑๐๕ ปี ชาตกาลหนังกั้น ทองหล่อ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเหล่าคณะศิษยานุศิษย์ของหนังกั้น ทองหล่อ หนังนครินทร์ ชาทอง และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม นับว่าเป็นส่วนหนึ่งในการรำลึกถึงหนังกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติ โดยได้นำเอาเนื้อหาจากหนังสือ “หนังกั้นรำลึก “ ที่จัดพิมพ์ขึ้นในวัน “หนังกั้น ทองหล่อ ๒๕๔๐” มาพิมพ์อีกครั้ง เนื้อหาประกอบด้วย ๕ บท ได้แก่ หนังกั้น ทองหล่อ รำลึก คิดถึงพ่อ หนังกั้น ทองหล่อ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงหนังตะลุงคนแรก นายหนังศิลปะศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์คนแรกในวงการหนังตะลุงไทย เป็นต้น ท้ายเล่มมีเอกสารอ้างอิงประกอบ

สมบัติเมืองสงขลา (THE HERITAGE OF SONGKHLA)
สมบัติเมืองสงขลา (THE HERITAGE OF SONGKHLA)

ชื่อผู้แต่ง       อเนก นาวิกมูล
ชื่อเรื่อง         สมบัติเมืองสงขลา (THE HERITAGE OF SONGKHLA)
สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์     บริษัท ฟิลสไตล์ จำกัด
ปีที่พิมพ์        2550 จำนวนหน้า 396 หน้า
หมายเหตุ     หนังสือที่ระลึกงานชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ ครั้งที่ 29 และเฉลิมฉลอง 111 ปี มหาวชิราวุธ (2439-2550)
    
หนังสือที่ระลึกโดยการสนับสนุนทุนในการจัดพิมพ์โดยคณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา พ.ศ. 2550 หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือภาพส่วนใหญ่ มีคำบรรยายสั้นๆ โดยสรุปประกอบด้วยเรื่องที่มาเมืองสงขลา ประวัติโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา อาคารบ้านเรือน สภาพในบ้าน ในพิพิธภัณฑ์ และวัดวาอารามในจังหวัดสงขลา นอกจากนั้นประกอบด้วยหมายเหตุการทำงาน หน้าขอบพระคุณ รายชื่อคณะกรรมการการจัดงาน ประวัติและผลงานของผู้เขียน
 

ย้อนรอยชะอวด
ย้อนรอยชะอวด

ชื่อผู้แต่ง      กมล เต็มรัตน์
ชื่อเรื่อง        ย้อนรอยชะอวด
สถานที่พิมพ์ นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์ชะอวดการพิมพ์
ปีที่พิมพ์        2542 จำนวนหน้า 34 หน้า
หมายเหตุ       -

 ย้อนรอยชะอวดเป็นเอกสารกรณีศึกษาในการศึกษาค้นคว้า เรื่องราวของอำเภอชะอวด ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ดังนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติความเป็นมา ทำไมชื่อ ชะอวด ชะอวดดินแดนจากสองเมือง ชะอวดกับประวัติศาสตร์ไทย การก่อตั้งถึงอำเภอและยกฐานะเป็นอำเภอและปิดท้ายด้วยชะอวดในปัจจุบัน

รรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2538-2539
 รรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2538-2539

ชื่อผู้แต่ง    สิ่งแวดล้อมภาคใต้, สำนักงาน
ชื่อเรื่อง       รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา พ.ศ. 2538-2539
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์    -
ปีที่พิมพ์       2540 จำนวนหน้า 33 หน้า
หมายเหตุ    -

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรายงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาปสงขลาของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคใต้เป็นปีแรกเนื่องจากทะเลสาบสงขลาได้รับผลกระทบหลายด้านเนื้อหาจะประกอบด้วย สภาพทั่วไปของทะเลสาบสงขลา การติดตาม การตรวจคุณภาพน้ำโดยกำหนดจุดเก็บตัวอย่าง ระยะเวลาและเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด

ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์
ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง      เถลิงศักดิ์ พัฒโน
ชื่อเรื่อง        ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๓ ยุคปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์
ครั้งที่พิมพ์     –
สถานที่พิมพ์ สงขลา
สำนักพิมพ์    เอส.พี การพิมพ์
ปีที่พิมพ์       2556 จำนวนหน้า 212 หน้า
หมายเหตุ    -

หนังสือผู้ย้อนอดีตนครหาดใหญ่เล่มนี้ เป็นชุด ๓ ตอน ๓ ภาค ๒ จากจำนวนรวม ๗  ชุด เนื้อหารายละเอียดเล่มนี้กล่าวซึ่ง ภาค 1 สมรภูมิการรบที่สะเดา การัม ทุ่ง(ท่า) หาดใหญ่และน้ำกระจาย จากพงศาวดารเมืองสงขลา  ภาค2 กล่าวถึง การเดิมทางสืบค้นย้อนรอยอดีต ในเส้นทางหลายเส้นทาง

 

ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๒ : ยุคก่อนปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์
ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๒ : ยุคก่อนปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง       เถลิงศักดิ์ พัฒโน
ชื่อเรื่อง         ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ ชุด ๒ : ยุคก่อนปรากฏชื่อหาดใหญ่ในประวัติศาสตร์
พิมพ์ครั้งที่      2
สถานที่พิมพ์   บริษัทสมิหลาไทมส์ จำกัด
สำนักพิมพ์      สงขลา
ปีที่พิมพ์         2552 จำนวนหน้า 122 หน้า
หมายเหตุ       -

หนังสือย้อนอดีตนครหาดใหญ่เล่มนี้เป็นชุด ๒ จากจำนวน ๗ ชุด โดยเล่มนี้เนื้อหารายละเอียดส่วนใหญ่ กล่าวถึงประวัติบุคคลสำคัญต้นตระกูลคนรุ่นเก่าในอำเภอหาดใหญ่ คือทวดทอง ซึ่งอนุสรณ์สถานทวดทองตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลหาดใหญ่

 

เดือนสิบ’๒๗
 เดือนสิบ’๒๗

ชื่อผู้แต่ง      นครศรีธรรมราช, จังหวัด.
ชื่อเรื่อง        เดือนสิบ’๒๗
สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์    กรุงสยามการพิมพ์
ปีที่พิมพ์        2527 จำนวนหน้า 101 หน้า
หมายเหตุ     หนังสือที่ระลึกในการจัดงานเทศกาลเดือนสิบประจำปี 2527 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
    
 หนังสือเดือนสิบ’๒๗ เกิดจากการจัดงานเทศกาลเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากอินเดียและจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้จัดงานเดือนสิบมาตั้งแต่ พ.ศ. 2466 เนื้อหาประกอบด้วยจากตามพรลิงค์ถึงนครศรีธรรมราช  ความรู้เรื่องเมืองนคร  พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และเรื่องอื่นๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน เช่น อาจารย์ปรีชา นุ่นสุข ขุนอาเทศคดี และอีกหลายท่าน

พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวปัตตานี
พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวปัตตานี

ชื่อผู้แต่ง         สมาคมชาวปัตตานี
ชื่อเรื่อง           พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวปัตตานี
สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์       บริษัทอมรินทร์พริ้นดิ้ง แอนท์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
ปีที่พิมพ์           2555 จำนวนหน้า 480 หน้า
หมายเหตุ       จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
  
 หนังสือที่ระลึกในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ ของ ร.9 ประกอบด้วยเรื่อง การดำเนินโครงการและการเสด็จของ ร.9 ในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2502-2554

บันทึกประวัติพระบรมธาตุทักษิณเจดีย์ศรีโสภณ ณ วัดคลองเปล (น้ำผุด)
บันทึกประวัติพระบรมธาตุทักษิณเจดีย์ศรีโสภณ ณ วัดคลองเปล (น้ำผุด)

ชื่อผู่แต่ง       พระครูโสภณคุณากร
ชื่อเรื่อง         บันทึกประวัติพระบรมธาตุทักษิณเจดีย์ศรีโสภณ ณ วัดคลองเปล (น้ำผุด)
ครั้งที่พิมพ์      –
สถานที่พิมพ์   สงขลา
สำนักพิมพ์     บริษัท แมกซ์ มีเดีย วาย ทู เด เพรส จำกัด
ปีที่พิมพ์        2550 จำนวนหน้า 62 หน้า
หมายเหตุ     จัดการพิมพ์เพื่อบูชาคุณองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าถวาย เป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสที่ ร.9 มีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา
  
 หนังสือที่ระลึกในโอกาสปิดทอง ยกช่อฟ้า ฝั่งลูกนิมิตและผูกพัทธสีมาวัดคลองเปล(น้ำผุด) เนื้อหาประกอบด้วยประวัติวัดคลองเปลเป็นบทร้อยกรอง ประวัติความเป็นมาและรูปลักษณะพร้อมขนาด พระบรมธาตุทักษิณ เจดีย์ศรีโสภณ

นิราศเมืองไทยภาคใต้
นิราศเมืองไทยภาคใต้

ชื่อผู้แต่ง         คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,สำนักงาน
ชื่อเรื่อง           นิราศเมืองไทยภาคใต้
สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ.
สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์           2546 จำนวนหน้า 108 หน้า
หมายเหตุ         -

หนังสือนิราศเมืองไทยภาคใต้เล่มนี้เกิดจากสำนักงานสถานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ดำเนินโครงการ  การแต่งนิราศประจำจังหวัด โดยปีแรกเป็นการประกวดได้ 10 จังหวัด ครั้งต่อมาเป็นการเชิญผู้ที่มีความรู้แต่ละจังหวัดและมีความสามารถในการแต่งนิราศครั้งนี้ได้ 50 จังหวัด และอีก 6 จังหวัด ในปีถัดไปแล้วนำมารวมจังหวัดแต่ละภาค รวม 4 ภาค




 

ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้
ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้

ชื่อผู้แต่ง        อุดม หนูทอง
ชื่อเรื่อง          ดนตรีพื้นเมืองภาคใต้
สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์
ปีที่พิมพ์           2524 จำนวนหน้า 112 หน้า
หมายเหตุ        จัดการพิมพ์เนื่องในโอกาสงานส่งเสริมดนตรีไทย ภาคใต้ครั้งที่ 1  24-25 ม.ค. 2524 ณ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สงขลา
   
 หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ในงานส่งเสริมดนตรีไทย ภาคใต้ ครั้งที่ 1 ณ .มศว.สงขลา เมื่อ 24-25 ม.ค. 2524 เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นเมืองภาคใต้: เจ้าแห่งจังหวะ โดย อ.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ กาหลอและปืด โดย อ.ชวน เพชรแก้ว ดนตรี หนังตะลุง โดย อุดม หนูทอง เป็นต้น
 

ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย
ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย

ชื่อผู้แต่ง    ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
ชื่อเรื่อง      ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย
ครั้งที่พิมพ์   พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ สมุทรปราการ
สำนักพิมพ์    มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
ปีที่พิมพ์        2551 จำนวนหน้า 141 หน้า
หมายเหตุ      -

หนังสือรายงานการวิจัยจากปัญหาความรุนแรงในเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้ ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
จากการยึดอำนาจของ “คณะปฎิรูปการปกคลองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

 

เสด็จเมืองนคร นครศรีธรรมราช นครอันงามสง่า แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม
เสด็จเมืองนคร นครศรีธรรมราช  นครอันงามสง่า  แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม

ชื่อผู้แต่ง        องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง         เสด็จเมืองนคร นครศรีธรรมราช  นครอันงามสง่า  แห่งพระราชาผู้ทรงธรรม
ครั้งที่พิมพ์      -
สถานที่พิมพ์   -
สำนักพิมพ์      -
ปีที่พิมพ์         2548
จำนวนหน้า    56  หน้า
หมายเหตุ       -
        
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้จัดทำหนังสือเสด็จเมืองนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจ  พระราชดำรัส  ที่ได้เสด็จฯเยี่ยมและพระราชทานแกพสกนิกรชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
       

วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัทลุง
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัทลุง

ชื่อผู้แต่ง        สำนักวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่อง          วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัทลุง
ครั้งที่พิมพ์       -
สถานที่พิมพ์    หจก.สำนักพิมพ์ ใบไม้
สำนักพิมพ์       พัทลุง
ปีที่พิมพ์           ม.ป.ป
จำนวนหน้า      70  หน้า
หมายเหตุ          -
        
หนังสือ  วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง  จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่  ประชาสัมพันธ์  อนุรักษ์  สืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงามให้คงอยู่สืบต่อไป

แลหลังเมืองตรัง ใต้ร่มพระบารมี
แลหลังเมืองตรัง  ใต้ร่มพระบารมี

ชื่อผู้แต่ง        เทศบาลนครตรัง
ชื่อเรื่อง          แลหลังเมืองตรัง  ใต้ร่มพระบารมี
ครั้งที่พิมพ์        -
สถานที่พิมพ์    บริษัท  เวิร์คพอยท์  พับลิชชิ่ง  จำกัด
สำนักพิมพ์       กรุงเทพ
ปีที่พิมพ์          2549
จำนวนหน้า    132  หน้า
หมายเหตุ        -

 แลหลังเมืองตรัง  ใต้ร่มพระบารมี  เป็นหนังสือที่สำคัญสำหรับประชาชนทุกคนในจังหวัดตรัง  เป็นบันทึกประวัติศาสตร์รากเหง้าความเป็นตรัง  เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า  สร้างความรักความภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิด  และเหนือสิ่งอื่นใดคือความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง  ที่ปกแผ่บารมีสร้างความร่มเย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ทั่วแผ่นดิน  รวมทั้งแผ่นดินตรัง

ประวัติวัดไชยธาราม (วัดฉลอง) ภูเก็ต อนุสรณ์ครบรอบ 100 ปี หลวงพ่อแช่ม (2451 – 2551)
ประวัติวัดไชยธาราม (วัดฉลอง) ภูเก็ต  อนุสรณ์ครบรอบ  100 ปี หลวงพ่อแช่ม (2451 – 2551)

ชื่อผู้แต่ง        คณะกรรมการวัดฉลอง
ชื่อเรื่อง     ประวัติวัดไชยธาราม (วัดฉลอง) ภูเก็ต  อนุสรณ์ครบรอบ  100 ปี หลวงพ่อแช่ม (2451 – 2551)
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     Mild  Grblishing Co.,Ltd.
สำนักพิมพ์     ภูเก็ต
ปีที่พิมพ์         2550
จำนวนหน้า     36  หน้า
หมายเหตุ     -

จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี  หลวงพ่อแช่ม เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551  ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดฉลอง  เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่อนุชนได้รับรู้  และน้อมรำลึกคุณงามความดีของหลวงพ่อแซ่มอันเป็นที่เคารพยิ่งสืบไป


 

นิทรรศการมรดกวัฒนธรรมไทย 15 – 19 มกราคม 2522 ณ วิทยาลัยครู สงขลา
นิทรรศการมรดกวัฒนธรรมไทย  15 – 19 มกราคม 2522  ณ วิทยาลัยครู สงขลา

ชื่อผู้แต่ง        กองวัฒนธรรม  กรมศาสนา
ชื่อเรื่อง     นิทรรศการมรดกวัฒนธรรมไทย  15 – 19 มกราคม 2522  ณ วิทยาลัยครู สงขลา
ครั้งที่พิมพ์    -
สถานที่พิมพ์     โรงพิมพ์การศาสนา
สำนักพิมพ์     ม.ป.ท.
ปีที่พิมพ์         2522
จำนวนหน้า     36  หน้า
หมายเหตุ     -

วิทยาลัยครูสงขลาได้ร่วมกับจังหวัดสงขลาศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้  กองวัฒนธรรม
กรมศาสนา  จัดงานนิทรรศการมรดกวัฒนธรรมไทย  15 – 19 มกราคม 2522  ณ วิทยาลัยครู สงขลา  ครั้งที่ 2 เพื่อธำรงไว้และสืบทอดวัฒนธรรมไทย  และได้จัดทำหนังสือที่ละลึกรวบรวมเรื่องราวอันแสดงวัฒนธรรมของปักษ์ใต้ที่น่าสนใจและศึกษาไว้

 

รายการการสำรวจโบราณสถาน เมืองภูเก็ต
รายการการสำรวจโบราณสถาน เมืองภูเก็ต

ชื่อผู้แต่ง : กกรมศิลปากร
ชื่อหนังสือ : รายการการสำรวจโบราณสถาน เมืองภูเก็ต
ครั้งที่พิมพ์ :
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.   

ภูเก็ตนับเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของไทย จากข้อมูลประวัติศาสตร์ ภูเก็ตมีการติดต่อค้าขายกับหลายๆประเทศ ที่เห็นได้ชัด คือ สถาปัตยกรรมย่านการค้าใจกลางเมืองภูเก็ต โดยภายในเล่มให้รายละเอียดเกี่ยวกับจังหวัดภูเก็ต ประวัติความเป็นมาของเมืองภูเก็ต  อาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมในเมืองภูเก้  ตลอดจนโบราณสถาน และแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลาง
 

มุทิตานุสรณ์ พระครูอมรสมานคุณ
มุทิตานุสรณ์ พระครูอมรสมานคุณ

ชื่อผู้แต่ง : -
ชื่อหนังสือ : มุทิตานุสรณ์ พระครูอมรสมานคุณ
ครั้งที่พิมพ์ : -
สานที่พิมพ์ : สงขลา
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ ไทยนำ
ปี่ที่พิมพ์ : ๒๕๒๐

เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้น ในโอกาสที่พระครูอมร สมานคุณ ได้รับสมศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร คณะศิษย์ได้แสดงมุทิตาจิตด้วยการพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัด โคกสมานคุณ อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
เนื่องในที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์
ในพระราชพิธี ทรงยกช่อฟ้าอุโบสกวัดโคกสมานคุณ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๐

จังหวัดภูเก็ต อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
จังหวัดภูเก็ต อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ชื่อผู้แต่ง : ศิวะ  ศิริเสาวลักษณ์
ชื่อหนังสือ : จังหวัดภูเก็ต อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : ภูเก็ต
สำนักพิมพ์ : สำนักงาน จังหวัดภูเก็ต
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๕

เนื้อหาประกอบด้วย ภูเก็ตในอดีต ประวัติศาสตร์ละความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต ประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดภูเก็ต ภูเก็ตในปัจจุบันสภาพทั่วไปของจังหวัด สภาพทางการเมือง การปกครอง และบริหาร สภาพทางสังคมจิตวิทยา สภาพทางเศรษฐกิจ  สภาพปัญหาของจังหวัดภูเก็ต การพัฒนาจังหวัดภูเก็ต การดำเนินงาน กรอ จังหวัดภูเก็ต และหอการค้าจังหวัดภูเก็ต และภูเก็ตในอนาคต

ราชาธิราช
ราชาธิราช

ชื่อเรื่อง :  ราชาธิราช
ผู้แต่ง :   เจ้าพระยาพระคลังหน
ปีที่พิมพ์  :๒๔๒๓
ครั้งที่พิมพ์  :  ครั้งที่  ๑๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โสภณการพิมพ์

เรื่อง ราชาธิราช เป็นหนังสือที่มีต้นเรื่องจากพงศาวดารมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลและเรียบเรียงขึ้นเพื่อสืบทอดตามพระราชประสงค์ที่จะทรงสร้างหนังสือให้คงมีไว้เป็นต้นฉบับสำหรับพระนครตั้งแต่ก่อนโดยเฉพาะฝ่ายพระราชอาณาจักร เช่น เรื่อง พระราชกำหนดกฎหมาย ตำราราชประเพณีตลอดจนพระราชพงศาวดาร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมลูกขุนและบุคคลซึ่งรู้แบบแผนเรื่องราวโบราณแต่ดั้งเดิมช่วยกันเรียบเรียงขึ้น โดยทรงตรวจแก้ไขอีกชั้นหนึ่ง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี

ชื่อเรื่อง :  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี
ผู้แต่ง :  นิภา  สังคนาคินทร์
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  พรทรัพย์การพิมพ์

หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  สุพรรณบุรี  จะช่วยอำนวยประโยชน์แก่
นักท่องเที่ยวและประชาชน  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  เห็นคุณค่าและสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป

พระอภัยมณี เล่ม ๒
พระอภัยมณี  เล่ม ๒

ชื่อเรื่อง :  พระอภัยมณี  เล่ม ๒
ผู้แต่ง :   สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โสภณการพิมพ์

หนังสือพระอภัยมณี เล่ม ๔ นี้  ได้นำเอาประวัติของสุนทรภู่ พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มารวบรวมไว้ด้วย  รวมทั้งตัวละครและเหตุการณ์ต่างๆ  เนื้อหาภายในเล่มแบ่งเป็นตอนๆ  พระอภัยมณี  เล่ม ๒  นี้  เริ่มตั้งแต่ตอนที่  ๓๖    ถึงตอนที่  ๖๔  ซึ่งจบลงด้วยคำกลอนเล่าเรื่องพระอภัยมณี  นางสุวรรณมาลี  และนางละเวงวัณฬา  ไปบวช  ณ  เขาสิงคุตร

พระอภัยมณี เล่ม ๑
พระอภัยมณี  เล่ม ๑

ชื่อเรื่อง :  พระอภัยมณี  เล่ม ๑
ผู้แต่ง :   สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โสภณการพิมพ์

พระอภัยมณี เล่ม ๑ นี้ มีทั้งหมด  ๓๕ ตอน ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการกล่าวขานว่า
เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของสุนทรภู่ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพราะสุนทรภู่วางโครงเรื่องให้มีความแปลกใหม่จากขนบการแต่งวรรณคดีโบราณหรือนิทานจักรๆวงศ์ๆ ทั่วไปมีจินตานาการให้ผู้อ่านได้ติดตามการผจญภัยของตัวละครที่จะได้พบกับ ผีเสื้อสมุทร นางเงือก โจรสลัด ฤาษี ชีเปลือย ม้านิลมังกร สัตว์พิสดารต่างๆ ผู้อ่านจะได้รับความสนุกสนานและความรู้ต่างๆ มากมาย

พระธาตุเจ้าดอยตุง : บันทึกว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา
พระธาตุเจ้าดอยตุง : บันทึกว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา

ชื่อเรื่อง :  พระธาตุเจ้าดอยตุง : บันทึกว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนา
ผู้แต่ง :   พิเศษ  เจียจันทร์พงษ์  และคณะ
ปีที่พิมพ์  :๒๕๕๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  ถาวรกิจการพิมพ์  จำกัด   

เป็นหนังสือที่ได้นำเสนอทั้งบันทึกและตำนานประกอบการวิเคราะห์  ผลการศึกษาทางวิชาการทั้งในด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์  ศิลปะ  และบันทึกมวลเหตุการณ์และหลักฐานในการดำเนินงานการอนุรักษ์และพัฒนาพระธาตุดอยตุง

กรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม อดีต ปัจจุบัน แลอนาคต
กรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม  อดีต ปัจจุบัน แลอนาคต

ชื่อเรื่อง :  กรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม  อดีต ปัจจุบัน แลอนาคต
ผู้แต่ง :   นายอารักษ์  สังหิตกุล   
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สมาพันธ์  จำกัด

นับตั้งแต่การสถาปนากรมศิลปากรขึ้นเมื่อวันที่  ๒๗  มีนาคม  พ.ศ.๒๔๕๔  จนถึงปัจจุบัน  นับเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ  ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  ได้บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิในการอนุรักษ์  ฟื้นฟู  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะและวัฒนธรรมอันดีของชาติ  เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว  กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานภาครัฐและมีหน้าที่โดยตรงจึงต้องเตรียมการและดำเนินการจัดทำกรอบแนวทางการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม

หอสมุดแห่งชาติสาขาชลบุรี
หอสมุดแห่งชาติสาขาชลบุรี

ชื่อเรื่อง :  หอสมุดแห่งชาติสาขาชลบุรี
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๒๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  อมรินทร์การพิมพ์

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสเปิดหอสมุดแห่งชาติสาขาชลบุรี  เมื่อวันที่  ๙  ธันวาคม  ๒๕๒๖ ซึ่งได้บอกเล่าประวัติความเป็นมาของหอสมุดแห่งนี้  พร้อมทั้งทั้งบริการต่างๆ 

โรเมโอและจูเลียต
โรเมโอและจูเลียต

ชื่อเรื่อง: โรเมโอและจูเลียต.  
ผู้แต่ง : เช็คส์เปียร์ , วิลเลี่ยมส์.  
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔.
สถานที่พิมพ์ : กรุเทพฯ
สำนักพิมพ์  : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.

โรเมโอและจูเลียตเป็นพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงแปลและประพันธ์เป็นภาษาไทยจากต้นฉบับบทละครของวิลเลียม เซ็คส์เปียร์ กวีชาวอังกฤษ เนื้อเรื่องมาจากนิทานที่เกิดขึ้นจริง  เป็นละครสลด ของหนุ่มสาวที่ครัวครัวเป็นอริกัน ทั้งคู่กลับมีความรักซึ่งกันและกันแต่ไม่สมปรารถนา ทั้งคู่ต้องถึงแก่ความตาย เป็นความรักอมตะ นอกจากได้รับความบันเทิงแล้วละครเรื่องนี้ยังให้สารประโยชน์ที่แฝงด้วยอรรถรสคุณค่าทางวรรณศิลป์พร้อมทั้งข้อคิดคติธรรมที่ดีอีกด้วย

พหลาคาวีคำฉันท์
พหลาคาวีคำฉันท์

ชื่อเรื่อง:พหลาคาวีคำฉันท์.
ผู้แต่ง : ธรรมาภิมณฑ์ (ถึก  จิตรกถึก), หลวง.  
ปีทีพิมพ์ :๒๕๕๖.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร.  

พหลาคาวีคำฉันท์  มีที่มาจากปัญญาสชาดก แต่งเป็นคำฉันท์  ประกอบด้วยคำฉันท์   ๖ ชนิด ได้แก่ อินทรวิเชียร ฉันท์  ๑๑ โตฎกฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ฉบังกาพย์ ๑๖ สัททุลวิกกีฟิตฉันท์ ๑๙ และสุรางคนางค์กาพย์ ๒๘  โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น คำนำ สารบาญ ประวัติผู้แต่ง ปัญญาสชาดกเรื่องพหลาคาวีขชาดก พหลาคาวีคำฉันท์  ภาคผนวกและคำนำเอกสารสมุดไทย

พระอภัยมณี เล่ม ๓
พระอภัยมณี เล่ม ๓

ชื่อเรื่อง : พระอภัยมณี เล่ม ๓.  
ผู้แต่ง : สุนทรภู่.  
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร.

พระอภัยมณี เล่ม ๓  นี้แต่งขึ้นโดยถือเอาประโยชน์ทางวรรณคดีเป็นสำคัญ
เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำนำเมื่อพิมพ์ครั้งแรก  ปกิณกะประวัติของสุนทรภู่  พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระอภัยมณี เล่ม ๓ ตั้งแต่ตอนที่  ๖๕ พระบาทหลวงพาพระมังคลาหนีทัพไปเมืองกำพลเพชรถึงตอนที่ ๑๐๐ สินสมุทรตีทัพพระบาทหลวงจนถูกยาเบื่อ 

โบราณคดีหนองราชวัตร ๑ ผลการดำเนินงานทางโบราณคดี ปี ๒๕๔๖
โบราณคดีหนองราชวัตร ๑ ผลการดำเนินงานทางโบราณคดี ปี ๒๕๔๖

ชื่อเรื่อง : โบราณคดีหนองราชวัตร ๑ ผลการดำเนินงานทางโบราณคดี ปี ๒๕๔๖.
ผู้แต่ง :   สุภมาศ ดวงสกุล.  
ปีทีพิมพ์ :  ๒๕๕๒.
สถานที่พิมพ์ : สุพรรณบุรี.
สำนักพิมพ์  : สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร.

ประมวลผลการขุดค้นและศึกษาวิเคราะห์โบราณวัตถุที่ได้จากการดำเนินงาน  ซึ่งกล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุพรรณบุรี ข้อมูลทั่วไปแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร ผลการขุดค้นและชั้นดินทางโบราณคดี หลักฐานที่พบจากการขุดค้นรวมถึงการแปลความทางโบราณคดีและสรุปผล

นานาสาระวัฒนธรรมไทย เล่ม ๒
นานาสาระวัฒนธรรมไทย เล่ม ๒

ชื่อเรื่อง : นานาสาระวัฒนธรรมไทย เล่ม ๒.  
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔.  
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

รวบรวมบทความที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุศึกษาในรายการเก็บเก่ามาเล่าใหม่
เป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและกรมการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทย ความเชื่อ วิถีชีวิต การแต่งกาย ศิลปกรรม  ศิลปะการแสดง  การละเล่น  นาฏศิลป์  ดนตรี  และกีฬา

ทุ่งเศรษฐี โบราณคดีสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรี
ทุ่งเศรษฐี โบราณคดีสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรี

ชื่อเรื่อง  : ทุ่งเศรษฐี โบราณคดีสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรี.
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๓.
สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร.

เนื้อหาเน้นการศึกษารูปแบบของโบราณวัตถุสถานที่พบตลอดจนพัฒนาการของชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจังหวัดเพชรบุรีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการติดต่อค้าขายและความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชุมชนหรือเมืองโบราณในบริเวณใกล้เคียงอันได้แก่ ชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี ชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็นต้น เพื่อแสดงภาพพัฒนาการของชุมชนโบราณทวารวดีในภูมิภาคนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูปของหอสมุดแห่งชาติ
ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูปของหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง : ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยสำเร็จรูปของหอสมุดแห่งชาติ.  
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๗.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ในการจัดหมวดหมู่หนังสือสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งคือการกำหนดเลขประจำตัวผู้แต่งหนังสือแต่ละเล่ม  การจัดทำคู่มือเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์หมวดหมู่และทำบัตรรายการเพื่อกำหนดเลขประจำตัวผู้แต่งหนังสือ  ตารางเลขนี้เรียงชื่อผู้แต่งตามพจนานุกรมโดยมีเลข ๓ หลักควบคู่กับชื่อเรื่อง

ชุมชนร่วมรัฐ: กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม
ชุมชนร่วมรัฐ: กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม

ชื่อเรื่อง : ชุมชนร่วมรัฐ: กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม
บ้านหมอสอ จังหวัดกาญจนบุรี
ผู้แต่ง : วสันต์  เทพสุริยานนท์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๒.  
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : องค์การบริหารส่วนตำบลพระแท่นและสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร.  

เป็นงานวิจัย  ศึกษาแนวคิดที่ประมวลเอาปรัชญาการพัฒนาชุมชน  หลักการมีส่วนร่วมในงานพัฒนา  หลักการโบราณคดีชุมชนและแนวคิดประชารัฐเข้าไว้ด้วยกัน  โดยเน้นให้คนในชุมชนที่มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมดำรงอยู่ในท้องถิ่นของตนรวมตัวกันเพื่อที่จะร่วมกับรัฐ  ดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น บทนำ แนวคิดปฏิบัติการ ชุมชนบ้านหมอสอ เตาโบราณบ้าน
หมอสอ กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายและบทสรุป

คู่มือการดูแล บำรุงรักษาอนุสาวรีย์ (เบื้องต้น)
คู่มือการดูแล บำรุงรักษาอนุสาวรีย์ (เบื้องต้น)

ชื่อเรื่อง:  คู่มือการดูแล บำรุงรักษาอนุสาวรีย์ (เบื้องต้น).  
ผู้แต่ง: มานพ  อมรวุฒิโรจน์.
ปีที่พิมพ์: ๒๕๕๐.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร.

เป็นหนังสือที่รวบรวมเกี่ยวกับอนุสาวรีย์ในฐานะเป็นมรดกอันล้ำค่า เพื่อให้อนุสาวรีย์ทรงความสง่า มีคุณค่าทางศิลปะและเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยเนื้อหาประกอบด้วย การดูแลบำรุงรักษาอนุสาวรีย์ ภาคผนวก ได้แก่ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติและการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. ๒๕๒๐ บัญชีรายนามพระพุทธรูปสำคัญ ขั้นตอนการขออนุญาตสร้างอนุสาวรีย์และขั้นตอนการขออนุญาตจำลองพระพุทธรูปสำคัญ

สมบัติอมรินทร์คำกลอน
สมบัติอมรินทร์คำกลอน

ชื่อเรื่อง : สมบัติอมรินทร์คำกลอน.  
ผู้แต่ง : คลัง (หน), เจ้าพระยาพระ.  
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๓.
สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพฯ
 สำนักพิมพ์ : อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)  เรียบเรียงขึ้นด้วยความประณีตงดงามตามแบบฉบับของวรรณคดีไทยและงานศิลป์ไทย แต่งขึ้นด้วยวรรครับตามแบบกลอนเพลงยาว  มีความยาวทั้งสิ้น ๓๗๐ คำกลอน  นับเป็นนิทานคำกลอนเรื่องแรกของประวัติศาสตร์วรรณคดีไทย เนื้อเรื่องมาจากอรรกถาธรรมบท  ได้พรรณนาถึงความวิจิตรอลังการของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานปราสาทและทิพยสมบัติของพระอินทร์  โดยละเอียด

เสภาเรื่องขุนช้างขุนช้างขุนแผน เล่ม ๒.
เสภาเรื่องขุนช้างขุนช้างขุนแผน เล่ม ๒.

ชื่อเรื่อง :  เสภาเรื่องขุนช้างขุนช้างขุนแผน เล่ม ๒.
ผู้แต่ง :    กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :   ศิลปาบรรณาคาร

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ร่วมกับกวีแห่งราชสำนัก  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม  ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและเข้าห้องนางแก้วกิริยา  ตอนนางวันทองหึงกับนางลาวทอง  สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร ได้นำ "ตำนานเสภา ว่าด้วยชำระหนังสือเสภา"  พระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มารวมพิมพ์ไว้ด้วย

เสภาเรื่องขุนช้างขุนช้างขุนแผน เล่ม ๑.
เสภาเรื่องขุนช้างขุนช้างขุนแผน เล่ม ๑.

ชื่อเรื่อง :  เสภาเรื่องขุนช้างขุนช้างขุนแผน เล่ม ๑.
ผู้แต่ง :    กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :   ศิลปาบรรณาคาร

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ร่วมกับกวีแห่งราชสำนัก  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม  ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและ ตอนนางวันทองหึงกับนางลาวทอง  สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร  ได้นำ "ตำนานเสภา ว่าด้วยชำระหนังสือเสภา"  พระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มารวมพิมพ์ไว้ด้วย

ศิลปากรบริการงานศิลปวัฒนธรรม: ๑๐๐ (ร้อย)
ศิลปากรบริการงานศิลปวัฒนธรรม: ๑๐๐  (ร้อย)

ชื่อเรื่อง :  ศิลปากรบริการงานศิลปวัฒนธรรม: ๑๐๐  (ร้อย)   
ผู้แต่ง :    กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

กรมศิลปากร   เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของชาติภารกิจหน้าที่
ของกรมศิลปากรที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสถาบันองค์กร ที่ทำงานด้านวัฒนธรรมในนานาประเทศทั่วโลก ในประเทศทั่วโลก  ในปี พ.ศ.  2552

รวมนิทาน สุภาษิต และบทเห่กล่อม ของสุนทรภู่
รวมนิทาน สุภาษิต และบทเห่กล่อม ของสุนทรภู่

ชื่อเรื่อง :  รวมนิทาน สุภาษิต และบทเห่กล่อม ของสุนทรภู่  
 ผู้แต่ง :    กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :    สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

รวมวรรรณกรรมของสุนทรภู่ คือนิทาน คำกลอนเรื่อง โคบุตร  เสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม  นิทานคำกลอนเรื่อง สิงหไกรภพ ลักษณวงค์  กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา  เสภาเรื่องพระราช พงศาวดาร บทละครเรื่องอภัยนุราช สวัสดิรักษาคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาท  สุภาษิตสอนสตรี และบทเห่กล่อมพระบรรทม เหเรื่องระบำ เหเรื่องกากี เป็นต้น

นบพระภูมิบาลบุญดิเรก ลิลิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นบพระภูมิบาลบุญดิเรก ลิลิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ชื่อเรื่อง :  นบพระภูมิบาลบุญดิเรก ลิลิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 ผู้แต่ง :    กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :    สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

กวีสำคัญของชาติ จำนวน 32 คน ร่วมรังสรรค์วรรณกรรม ร้อยกรองประเภทลิลิต  พรรณนาพระราชประวัติ  พระอัจฉริยภาพพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนพระราชกรณียกิจ ที่ทรงปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อความผาสุกร่มเย็นของปวงชนชาวไทย  และเพื่อความเจริญมั่นคงของประเทศไทย  ตามหัวข้อที่ประมวล รวม 33 เรื่อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติและสืบทอดประเพณีการประพันธ์วรรณกรรมสดุดี พระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ

สารพันมรดกไทย
สารพันมรดกไทย

ชื่อเรื่อง :  สารพันมรดกไทย  
 ผู้แต่ง :    กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๓๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

เพื่อเผยแพร่ ความรู้ทางศิลปะที่งดงามของงานมรดกช่างศิลปะไทย ประเภทเครื่องใช้ในพุทธศาสนา อัฐบริขาร ราชรถราชยาน  คานหาม และอาวุธโบราณ เป็นต้น

พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

ชื่อเรื่อง : พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2558
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า วังหน้า เป็นสถานที่สำคัญ และมีความงดงาม      กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่ ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล ตลอดจนพระราชประวัติ พระประวัติ ของผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนให้เห็นรากฐานทางวัฒนธรรมของชาติ กรมศิลปากรหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้สนใจได้รู้จักและเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและประวัติบุคคลสำคัญของชาติตามสมควร

พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 2
พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 2

ชื่อเรื่อง : พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 2
ปีที่พิมพ์ : 2545   
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวมพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เพลงยาวแลสักรา กลอนทรงค่อนข้าราชการวังหน้า ตำราปืนใหญ่ และเพลงยาวสามชาย และพระราชนิพนธ์ของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ เช่น นิราศเมืองนครศรีธรรมราชคำฉันท์ บทละครเรื่องพระสมุท และบทเล่นหุ่นจีน พร้อมภาคผนวกพระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระโอรสธิดาในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ

พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 1
พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 1

ชื่อเรื่อง : พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 1
ปีที่พิมพ์ : 2545   
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวมพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เช่น เพลงยาวรบพม่าที่นครศรีธรรมราช  พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เช่น เพลงยาวกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เช่น เพลงยาวกรมศักดิ์ฯ บทละครเรื่อง พระลอนรลักษณ์ พร้อมภาคผนวกรายนามพระราชโอรสธิดา

พระธาตุหริภุญไชย
พระธาตุหริภุญไชย

ชื่อเรื่อง : พระธาตุหริภุญไชย
ผู้แต่ง :  เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์.
ปีที่พิมพ์ : 2553
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เนื้อหาเกี่ยวกับตำนานและประวัติความเป็นมาของพระธาตุหริภุญไชย การวิเคราะห์รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมและโบราณสถานภายในวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร บันทึกจดหมายเหตุการณ์การบูรณปฏิสังขรณ์และปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถาน และความสำคัญของพระธาตุหริภุญไชยที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดของ “จอมเจดีย์” แห่งสยาม และเป็นหนี่งใน “สัตตมหาสถาน” ของประเทศไทย

ผลงานวิชาการ “โครงการสืบทอดองค์ความรู้ด้านกฎหมายมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากฎหมาย” เรื่อง “มาตรการและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสู่การปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบัน” เล่ม 1
 ผลงานวิชาการ “โครงการสืบทอดองค์ความรู้ด้านกฎหมายมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากฎหมาย” เรื่อง “มาตรการและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสู่การปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบัน” เล่ม 1

ชื่อเรื่อง : ผลงานวิชาการ “โครงการสืบทอดองค์ความรู้ด้านกฎหมายมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากฎหมาย” เรื่อง “มาตรการและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสู่การปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบัน” เล่ม 1
ผู้แต่ง :  เรวดี สกุลพาณิชย์.
ปีที่พิมพ์ : 2553
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวบรวมองค์ความรู้ด้านกฎหมายว่าด้วย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ที่ใช้บังคับในการปกป้องคุ้มครองโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มาตรการทางกฎหมายและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พ.ศ.2504 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535

นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เล่ม 2
นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เล่ม 2

ชื่อเรื่อง : นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เล่ม 2
ปีที่พิมพ์ : 2556
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ นานาสาระประวัติศาสตร์จากเอกสารต่างประเทศ เป็นหนังสือรวบรวมบทความที่เขียนโดยนักวิชาการจากลุ่มแปลและเรียบเรียง ซี่งข้อมูลหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงส่วนใหญ่นำมาจากหนังสือและเอกสารที่เขียนและบันทึกโดยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่ออำนวยประโยชน์ ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้า

การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในเขตความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในเขตความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4

ชื่อเรื่อง : การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในเขตความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4
ผู้แต่ง :  พิเศษ เจียจันทร์พงษ์.
ปีที่พิมพ์ : 2525
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เนื้อหาเกี่ยวกับโบราณสถาน ในบริเวณจังหวัดแพร่ น่าน พะเยา เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ประวัติความเป็นมา ลักษณะทางภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์โบราณคดี และการดูแลรักษาโบราณสถาน พร้อมแผนผังและภาพประกอบ 

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ ประเภทเรือนที่อยู่อาศัย
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ ประเภทเรือนที่อยู่อาศัย

ชื่อเรื่อง : สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคเหนือ ประเภทเรือนที่อยู่อาศัย
ผู้แต่ง : อรศิริ ปาณินท์ สามารถ สิริเวชพันธุ์ และประสงค์ เอี่ยมอนันต์
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : บริษัทสยามบุ๊คส์ แอนท์พัมลิเคชั่น จำกัด

เนื้อหาประกอบด้วย ลักษณชุมชนและบ้านเรือนพื้นถิ่นภาคเหนือตอนบน เรือนพื้นถิ่นภาคเหนือและแนวทางการอนุรักษ์เรื่อนพื้นถิ่นภาคเหนือ

วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๓
วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๓

ชื่อหนงสือ : วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๓
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร กองวรรณกรรมและประวัติศาตร์
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประเภทวิชาการซึ่งดำเนินการรวบรวม วรรณกรรมเก่ามาตรวจชำระและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่แบ่งตามยุคสมัย เล่มนี้เน้นวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๓ (หมวดศาสนจักร)เรื่องสังดีติยวงศ์

วรรณกรรมพระยาตรัง
วรรณกรรมพระยาตรัง

ชื่อเรื่อง : วรรณกรรมพระยาตรัง
ผู้แต่ง : พระยาตรัง คภูมาภิบาล
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : หจก. จงเจริญการพิมพ์

หนังสือวิชาการเล่มนี้นำวรรณกรรมของพระยาตรังเจ้าเมืองตรังเป็นกวีสำคัญที่มีผลงานในช่วงรัชกาลที่ ๑ – ๒  เนื้อหาประกอบด้วยประวัติพระยาตรังและวรรณกรรมจำนวน ๔ เรื่องประกอบด้วย ๑ เพลงยาวพระยาตรัง ๒ เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุนิราศไปตรัง ๓ โคลงดั้นนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อยและ ๔ โคลงนิราศพระยาตรัง

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ ตอน ๑
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ ตอน ๑

ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ ตอน ๑
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๕
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรนิติ

เนื้อหาประกอบด้วยพงศาวดารในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๑ พระเจ้าทรงธรรม พ.ศ.๒๑๔๕ จนถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบนมราชาที่ ๓ พระที่นั่งสุริยานรินทร์ พ.ศ. ๒๓๑๐ จนถึงเหตุการจลาจล พ.ศ. ๒๓๑๑   

ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน
ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน

ชื่อเรื่อง : ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๔๖
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนซับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)

หนังสือที่ระลึกถวายพระภิกษุและสามเณรในโอกาสเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เทศกาลเข้าพรรษาเนื้อหาเน้นเรื่องทวารบาล เทพชั้นรองมีหน้าที่เฝ้ารักษาประตูตามคติทางศาสนาพุทธและพราหมณ์ ประกอบด้วยเรื่องคติความเชื่อเกกี่ยวกับทวารบาล พัฒนาการทางประติมาณวิทยาของทวารบาล ในประเทศไทยและทวารบาลในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านายฉะบับมีพระรูป
เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านายฉะบับมีพระรูป

ชื่อเรื่อง : เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านายฉะบับมีพระรูป
ผู้แต่ง : ราชบัณฑิตยสภา
ปีที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ.
สำนักพิมพ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิปชิ่ง จำกัด

เนื้อหาประกอบด้วย ประกาศพระบรมราชโองการฯ ทรงยกย่องพระเกียรติคุณความดีความชอบอันเป็นเหตุให้เจ้านายพระองค์นั้นๆ ได้รับพระราชทานยศบรรดาศักดิตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมรูปภาพเท่าที่หามาได้.

จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔
จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรธรรมและอักษรไทย  พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔

ชื่อเรื่อง : จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ อักษรธรรมและอักษรไทย  พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔
ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๙
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ การจัดทำหนังสือชุดจารึกในประเทศไทย ทะเบียนจารึก ประวัติรูปแบบอักษรขอมในประเทสไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ ทะเบียนจารึก ภาพอักษรบนจารึก ทำจารึกและทำแปลอักษรขอม อักษรขอม และอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๔ รวม ๖๙ หลัก.

จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ อักษรขอมพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘
จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ อักษรขอมพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘

ชื่อเรื่อง : จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ อักษรขอมพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘
ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๗
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ การจัดทำหนังสือชุดจารึกในประเทศไทย ทะเบียนจารึกประวัติรูปแบบอักษรขอมในประเทศไทย ทะเบียนจารึก ภาพอักษรบนจารึกคำจารึกและทำแปลจารึกอักษรขอมในประเทศไทยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จำนวน ๑๔ หลัก พุทธศตวรรษที่ ๑๘ จำนวน ๑๗ หลัก รวม ๓๓ หลัก.

จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖
จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖

ชื่อเรื่อง : จารึกในประเทศไทย เล่ม ๓ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖
ผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๙
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ.
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ การจัดทำหนังสือชุดจารึกในประเทศไทย ทะเบียนจารึก ประวัติรูปแบบอักษรขอมในประเทศไทย ทะเบียนจึก. ภาพอักษรบนจารึก. ทำจารึกและทำแปลจารึกอักษรขอมในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๕ จำนวน ๑๕ หลักพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จำนวน ๒๓ หลัก รวม ๓๘ หลัก.

จารึกในประเทศไทยเล่น ๒ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๒
จารึกในประเทศไทยเล่น ๒ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๒

ชื่อเรื่อง   : จารึกในประเทศไทยเล่น ๒ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๒๑
ผู้แต่ง  : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์     :  ๒๕๒๙
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมจารึกที่พบในประเทศไทยนำมาอ่านและแปลโดยนักภาษาโบราณผู้ทรงคุณวุฒิของฝ่ายบริการหนังสือโบราณ หอสุมดแห่งชาติแยกพิมพ์ตามรูปแบบจารึก และของการจัดสร้างจารึก สำหรับเล่นที่ ๒ เล่มนี้ เป็นอักษรปัสสวะและอักษรมอญพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๒๑

การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน วัดชมภูเวก อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี
การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน วัดชมภูเวก อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี

ชื่อเรื่อง : การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน วัดชมภูเวก อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี
ผู้แต่ง : อรุณศักดิ์   กิ่งมณี
ปีที่พิมพ์ :   ๒๕๕๐
สถานที่พิมพ์ : นนทบุรี่
สำนักพิมพ์ : บริษัทไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด

เนื้อหาประกอบด้วยประวัติวัดและประวัติการบูรณะโบราณสถานในวัด โบราณสถานที่สำคัญและรายละเอียดในการบูรณะโบราณสถานในวัดชมภูเวกในปี พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๐.

หนองราชวัตร : ชุมชนร่วมรัฐในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี
หนองราชวัตร :  ชุมชนร่วมรัฐในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี

ชื่อเรื่อง :  หนองราชวัตร :  ชุมชนร่วมรัฐในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี
ผู้แต่ง :   วสันต์  เทพสุริยานนท์
ปีที่พิมพ์  :๒๕๕๔
สถานที่พิมพ์  :  สุพรรณบุรี
สำนักพิมพ์  :  สำนักศิลปากรที่  ๒  สุพรรณบุรี

หนองราชวัตรเป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ  เป็นพื้นที่ในการสร้างให้มีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์  ทั้งในด้านคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ  โดยได้ปฏิบัติการภายในกรอบแนวคิด  ทฤษฏี  และวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องนำมาแปลความหมายและประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์

สาระสังเขปเอกสารจดหมายเหตุ จังหวัดสุพรรณบุรี (เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาล ๕ – รัชกาลที่ ๗)
สาระสังเขปเอกสารจดหมายเหตุ  จังหวัดสุพรรณบุรี (เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาล ๕ – รัชกาลที่ ๗)

ชื่อเรื่อง : สาระสังเขปเอกสารจดหมายเหตุ  จังหวัดสุพรรณบุรี (เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาล ๕ – รัชกาลที่ ๗)
ผู้แต่ง :   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  จังหวัดสุพรรณบุรี
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับจังหวัดสุพรรณบุรีจากเอกสารกรมราชเลขาธิการ  รัชกาล ๕ – รัชกาลที่ ๗  ที่จัดเก็บและบริการในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  กรุงเทพ  พร้อมทั้งประมวลภาพ  และแผนที่ที่เกี่ยวข้องรวมไว้ด้วยกัน

พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร
พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร

ชื่อเรื่อง :  พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร
ผู้แต่ง :   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๕๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระคเณศให้สาธารณชนได้ทราบถึงบทบาทและความสำคัญ  แล้วร่วมกันอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติสืบไป

ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ เล่ม ๕
ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ  เล่ม ๕

ชื่อเรื่อง :  ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ  เล่ม ๕
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๓๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

รวบรวมและบันทึกประวัติผู้มีผลงานทรงคุณค่าทางศิลปะวิทยาการ  โดยการค้นคว้ารวบรวมจากเอกสาร  การส่งแบบสอบถาม  การสัมภาษณ์ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องลาทายาทผู้ใกล้ชิด  เป็นการเชิดชูเกียรติ  ประวัติและผลงานบุคคลผู้มีความสามารถในการสร้างงานศิลปะ

รวมผลงานแปลเรื่องบันทึกการเดินทางของเมนเดส ปินโต
รวมผลงานแปลเรื่องบันทึกการเดินทางของเมนเดส ปินโต

ชื่อเรื่อง :  รวมผลงานแปลเรื่องบันทึกการเดินทางของเมนเดส ปินโต
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่  ประเพณี  รวมถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย  ผ่านการเล่าเรื่องโดย  เฟอร์เนา  เมนเดส  ปินโต  นักเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก  ชาวโปรตุเกส  ในช่วง  ค.ศ.๑๕๑๐ – ๑๕๘๓  โดยตัดตอนเฉพาะที่เกี่ยวกับสยาม

คุณลักษณะในจิตรกรรมไทย
คุณลักษณะในจิตรกรรมไทย

ชื่อเรื่อง :  คุณลักษณะในจิตรกรรมไทย
ผู้แต่ง :   นิรมล  เรืองสม และภูธิปนิธิศร์  คงโภคานันทน์
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ กรมศิลปากร

ข้อมูลความรู้ด้านจิตรกรรมไทย  จิตรกรรมสมัยอยุธยา  สมัยรัตนโกสินทร์  โดยทั้งสองสมัยมีการศึกษารูปแบบ  แนวความคิดลวดลาย  และเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อพัฒนาจิตรกรรมไทย  จิตรกรรมบนเครื่องปั้นดินเผา  จิตรกรรมบนสมุดข่อย  บนเครื่องถม  พร้อมการวิเคราะห์ผลงานที่ปรากฏในงานศิลปกรรม  เพื่อพัฒนาศิลปกรรมด้านจิตรกรรมไทย

ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ
ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ

ชื่อเรื่อง :  ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๕๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

หนังสือ “ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ”  นี้  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากรจัดพิมพ์ประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง  “ คติไตรภูมิ : อิทธิพลต่อวิถีสังคมไทย ” เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไตรภูมิ  โดยมุ่งหวังให้คนในชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของเนื้อหาอันเป็นปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนา  และน้อมนำเป็นแนวปฎิบัติในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขอย่างยั่งยืน

จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑
จารึกในประเทศไทย  เล่ม ๑

ชื่อเรื่อง :  จารึกในประเทศไทย  เล่ม ๑
ผู้แต่ง :   สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์  :๒๕๒๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  หอสมุดแห่งชิติกรมศิลปากร

รวบรวมจารึกต่างๆที่พบในประเทศไทย  อ่านถ่ายทอดตัวอักษรและแปล  จัดกลุ่มตามรูปแบบตัวอักษรที่ปรากฏในจารึก  เล่ม  ๑  อักษรปัลลวะ  หลังปัลลวะจัดทำรายการทะเบียน  รายละเอียด  อักษรภาษา  ประวัติ  อายุสมัย  สถานที่พบความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของจารึกเพื่อสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์ภูมิหลังของจารึก

จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ของราล์ฟ ฟิตช
จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ของราล์ฟ  ฟิตช

ชื่อเรื่อง :  จดหมายเหตุการณ์เดินทาง ของราล์ฟ  ฟิตช
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เป็นกานบันทึกเรื่องราวของราล์ฟ  ฟิตช  พ่อค้าชาวอังกฤษเดินทางออกจากกรุงลอนดอนพร้อมกับเพื่อน  ๔  คน  ซึ่งมีอาชีพต่างกัน  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเดินทางมาเที่ยวประเทศต่างๆ  นับเป็นบันทึกการเดินทางของชาวอังกฤษรุ่นแรกที่ได้มีโอกาสเข้ามาพบเห็นสภาพบ้านเมืองตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภูมิประเทศ  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ตลอดจนสิ้นค้าพื้นเมือง

การเสด็จเยือนประเทศสยาม ของพระเจ้านิโคลาสที่ ๒ แห่งรัชเชีย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ค.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๘๙๑ เล่ม ๒
การเสด็จเยือนประเทศสยาม ของพระเจ้านิโคลาสที่ ๒ แห่งรัชเชีย  เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ค.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๘๙๑ เล่ม ๒

ชื่อเรื่อง :  การเสด็จเยือนประเทศสยาม ของพระเจ้านิโคลาสที่ ๒ แห่งรัชเชีย  เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร ค.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๘๙๑ เล่ม ๒
ผู้แต่ง :   ออคทอมสกี้ , อี
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร

การบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ต่างๆ  เป็นภาษารัชเชียของเจ้านิโคลาสที่  ๒  ขณะดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร  เนื้อเรื่องเป็นการบรรยายรายละเอียดของเหตุการณ์  สถานที่ต่างๆตลอดเส้นทางการเสด็จเยือนประเทศสยาม

ก่อนจะมาเป็นเพลง
ก่อนจะมาเป็นเพลง

ชื่อเรื่อง :  ก่อนจะมาเป็นเพลง
ผู้แต่ง :   สถาพร  นิยมทอง
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เกิดจากแนวความคิดในการสร้างสรรค์สิ่งที่จะยังประโยชน์  และมีคุณค่าเกี่ยวกับศิลปะการ
ดนตรีแก่เยาวชน  เป็นกิจกรรมที่นำเรื่องราว  และเกร็ดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีสากล  ลักษณะของเพลง  และลักษณะของเครื่องดนตรีสากลประเภทต่างๆ  รวมทั้งการบรรเลง

กรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
กรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม  อดีต  ปัจจุบัน และอนาคต

ชื่อเรื่อง :  กรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม  อดีต  ปัจจุบัน และอนาคต
ผู้แต่ง :  อารักษ์  สังหิตกุล
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

การจัดพิมพ์หนังสือกรมศิลปากรกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม  อดีต  
ปัจจุบัน และอนาคต  เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  มีความสำคัญ  มีคุณค่าที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของชนชาติ  ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจแก่ท้องถิ่น  แก่ชาติบ้านเมือง  เพื่อให้ท้องถิ่นได้ตระหนักถึงบทบาทภารกิจ  รูปแบบและความเข้าใจต่อการบริหารจัดการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของรัฐและของชุมชน 

กรมพระยาราชวังบวรสถานมงคล สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กรมพระยาราชวังบวรสถานมงคล  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อเรื่อง :  กรมพระยาราชวังบวรสถานมงคล  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ผู้แต่ง :   สุนิสา  มั่นคง และสิทธิชัย  พูดดี
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
พระราชประวัติพระราชกรณียกิจของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)  ในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๑ – ๕)  รวมทั้งสิ่งก่อสร้างในพระราชวังบวรสถานมงคลและรายละเอียดการขุดแต่งโบราณสถานในพื้นที่พระราชวังบวรสถานมงคล

สมุดภาพงานมัณฑนศิลป์ ในพระนครคีรี พระราชวังจันทร์เกษม และพระนารายณ์ราชนิเวศน์
สมุดภาพงานมัณฑนศิลป์   ในพระนครคีรี พระราชวังจันทร์เกษม และพระนารายณ์ราชนิเวศน์

ชื่อเรื่อง : สมุดภาพงานมัณฑนศิลป์   ในพระนครคีรี พระราชวังจันทร์เกษม และพระนารายณ์ราชนิเวศน์
ปีที่พิมพ์ : 2538
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

สมุดภาพงานมัณฑนศิลป์   ในพระนครคีรี พระราชวังจันทร์เกษม และพระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีเนื้อหาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ร่วมของงานมัณฑศิลป์ในพระราชวัง ทั้ง 3  แห่ง กับงานมัณฑนศิลป์ อินเดีย ยุโรป และอเมริกา

โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร
โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร

ชื่อเรื่อง : โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร.
ปีที่พิมพ์ : 2538
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร  สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นองค์ที่ 3 ของโลก  และเป็นองค์เดียวที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบัน  มีพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประวัติสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี และการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธปางต่างๆ
พระพุทธปางต่างๆ

ชื่อเรื่อง : พระพุทธปางต่างๆ
ปีที่พิมพ์ : 2558
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ หนังสือพระพุทธรูปปางต่างๆ เพื่อนำเสนอเรื่องราว เกี่ยวกับเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป และการคลีคลายคติ ความเชื่อ ในการสร้างพระพุทธรูป จากอินเดีย มาสู่ไทย ชิ่งถือเป็นมรดกของบรรพชนที่ทรงคุณค่ายิ่ง

ปกิณกคดีประวัติศาสตร์ไทยเล่ม ๒
ปกิณกคดีประวัติศาสตร์ไทยเล่ม ๒

ชื่อเรื่อง :ปกิณกคดีประวัติศาสตร์ไทยเล่ม ๒.
ปีที่พิมพ์ : 2554
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ  ปกิณกคดีประวัติศาสตร์ไทยเล่ม ๒  เล่มนี้ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร
ได้รวบรวมบทความทางประวัติศาสตร์  ประวัติบุคคล ประวัติสถานที่  เบ็ดเตล็ด รวมทั้งสิ้น 41 บทความ พร้อมจัดทำบรรณนุกรม

ปกิณกวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
ปกิณกวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง :ปกิณกวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
ปีที่พิมพ์ : 2559
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
    
เนื้อหาประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของและที่ตั้งของวัดโคกสมานคุณ ประวัติจังหวัดสงขลา ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม แหล่งอารยธรรมและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสาระน่ารู้เกี่ยวกับงานกรมศิลปากร

โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดและศาสนสถานสำคัญ ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดและศาสนสถานสำคัญ ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ชื่อเรื่อง :โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดและศาสนสถานสำคัญ ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ปีที่พิมพ์ : 2559
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
    
รวบรวมประวัติและข้อมูลด้านต่างๆ ของโบราณสถานและศาสนสถาน  จำนวน 150 แห่ง  โดยแบ่งตามประเภท ดังนี้ วัดประจำรัชกาล วัดพระธาตุ พระมหาธาตุ วัง พระที่นั่ง มัสยิด ศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาซิกต์ และศาสนาคริสต์  วัดสังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกาย วัดสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ศาลเจ้า
โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร โบราณสถานทั่วราชอาณาจักร

ทำเนียบราชทินนามและดรรชนีขุนนางไทย
ทำเนียบราชทินนามและดรรชนีขุนนางไทย

ชื่อเรื่อง :ทำเนียบราชทินนามและดรรชนีขุนนางไทย.
ปีที่พิมพ์ : 2559
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
    
ราชทินนามของขุนนางไทยเล่มนี้ ได้แบ่ง เนื้อหา ออกเป็น 2 ตอน ตอนที่1  แบ่งส่วนที่ 1 เป็นขุนนางฝ่ายใน ตลอดจนชาวต่างชาติ ส่วนที่ 2 นามขุนนางที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ตอนที่ 2 เป็นดรรชนีต่างๆ ประกอบด้วย  1. ดรรรชนีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม 2.ดรรชนีนามบุคคล และชื่อสกุล ดรรชนี มณฑล เมือง จังหวัด 4. ดรรชนีกระทรวง กรมกอง  ที่ขุนนางข้าราชการนั้นสังกัด

จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

ชื่อเรื่อง :จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
ปีที่พิมพ์ : 2549
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

บันทึกเหตุการณ์พระประสูติกาลและพระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ  พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมาร และพระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศม์ พระวรชายา  ตั้งแต่พระประวัติ การเตรียมงานพิธีสมโภชเดือน และขึ้นพระอู่ พิธีสอยพระเกศา พิธีฝังพระสกุล พระฉายาลักษณ์ สิ่งของพระราชทาน เนื่องในพระประสูติกาล

คู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศหอสมุดแห่งชาติ
คู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง : คู่มือคัดเลือก จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศหอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2553
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หอสมุดแห่งชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า จากอดีต ถึงปัจจุบัน หอสมุดสมุดแห่งชาติจึงได้ดำเนินการ คัดเลือก  จัดหา และรวบรวมทรัพยากร สารสนเทศ ทุกประเภท เพื่อการจัดเก็บเป็นคลังสิ่งพิมพ์ของชาติ และไว้บริการทางการศึกษาค้นคว้า

รายงานโครงการขุดแต่งศึกษาสระน้ำในโบราณสถานประเภท อโรคยศาล โบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์
รายงานโครงการขุดแต่งศึกษาสระน้ำในโบราณสถานประเภท อโรคยศาล โบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์

ชื่อเรื่อง : รายงานโครงการขุดแต่งศึกษาสระน้ำในโบราณสถานประเภท อโรคยศาล โบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2558
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ รายงานโครงการขุดแต่งศึกษาสระน้ำในโบราณสถานประเภท อโรคยศาล โบราณสถานปรางค์บ้านปรางค์ เป็นภารกิจสำคัญภารกิจหนึ่งของสำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ที่มุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และได้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ รวมทั้งรูปแบบการดำเนินงาน การจัดการแหล่งมาดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

พระนารายณ์ราชนิเวศน์
พระนารายณ์ราชนิเวศน์

ชื่อเรื่อง : พระนารายณ์ราชนิเวศน์
ปีที่พิมพ์ : 2531
สถานที่พิมพ์ : กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ พระนารายณ์ราชนิเวศน์  เล่มนี้ กรมศิลปากรเรียบเรียง ขึ้นเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความสำคัญของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ แก่ผู้เยี่ยมชม ผู้ที่สนใจค้นคว้าความรู้

ประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุราษฎร์ธานี
ประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุราษฎร์ธานี

ชื่อเรื่อง : ประวัติศาสตร์และโบราณคดีสุราษฎร์ธานี
ผู้แต่ง : นงคราญ สุขสม
ปีที่พิมพ์ : 2545
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ 11 นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เนื้อหาสาระเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์จังหวัดสุราษฎร์ธานีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยประวัติศาสตร์ และนำเสนอมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ควรรู้ทั้ง โบราณสถาน โบราณวัตถุ พร้อมทั้งวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นแนวความคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดี

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 15
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 15

ชื่อเรื่อง : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 15
ผู้แต่ง : สันติ เล็กสุขุม และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์ : 2552
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระประโทนเจดีย์วรวิหาร จังหวัดนครปฐมและข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี โบราณสถานศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของจังหวัดนครปฐม รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวนครปฐม

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 12
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 12

ชื่อเรื่อง : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 12
ผู้แต่ง : ฉวีงาม มาเจริญ และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์ : 2549
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดลำปางในด้านต่างๆ ได้แก่ ภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สถานที่ และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี แหล่งโบราณคดี โบราณสถานสำคัญ และเรื่องเกี่ยวกับการทอดกฐิน

บูชาครูดุริยเทพ
บูชาครูดุริยเทพ

ชื่อเรื่อง : บูชาครูดุริยเทพ
ผู้แต่ง :  พูนผล อรุณรักถาวร
ปีที่พิมพ์ : 2550
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวบรวมเรื่องราวของเทพ 3 องค์ คือ พระวิศวกรรม เทพผู้สร้างสรรค์สร้างเครื่องดนตรี พระปัญจสิงขร เทพผู้บรรเลงขับร้อง และ พระปรคนธรรพ เทพผู้ควบคุมดูแลการบรรเลงดนตรี ซึ่งนักดนตรีและนาฎศิลปินทั้งหลายต่างเคารพยกย่อง รวมทั้งเรื่องการเตรียมพิธีและการไหว้ครูดนตรีไทย เพลงที่ใช้ประกอบในพิธีไหว้ครู

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 4
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 4

ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 4
ปีที่พิมพ์ : 2540   พิมพ์ครั้งที่ 9
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีต้นกำเนิดจากคัมภีร์รามายณะของอินเดีย บทละครเรื่องนี้เป็นกวีนิพนธ์  คำกลอน มุ่งแต่งเพื่อใช้ในการแสดงละครรำ เนื้อหาเริ่มตั้งแต่นางมณโฑเข้าเฝ้าท้าวจักรวรรดิ จนจบเรื่องรามเกียรติ์

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 3
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 3

ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 3
ปีที่พิมพ์ : 2540   พิมพ์ครั้งที่ 9
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีต้นกำเนิดจากคัมภีร์รามายณะของอินเดีย บทละครเรื่องนี้เป็นกวีนิพนธ์  คำกลอน มุ่งแต่งเพื่อใช้ในการแสดงละครรำ เนื้อหาเริ่มตั้งแต่องคตชูพานแว่นฟ้ารับเศียรอินทรชิต จนถึงตอนให้จองจำท้าวทศศิริวงศ์

เฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการบันทึกเสียงในสยาม 2445 - 2545
เฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการบันทึกเสียงในสยาม 2445 - 2545

ชื่อเรื่อง : เฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการบันทึกเสียงในสยาม 2445 - 2545
ผู้แต่ง :  พูนผล อรุณรักถาวร
ปีที่พิมพ์ : 2545
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

การเฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการบันทึกเสียงในสยาม เพื่อการอนุรักษ์ส่งเสริม สืบสาน เผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติและเพื่อเป็นการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์กว้างไกลในด้านเพลง และดนตรีอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติไทย โดยมีเนื้อหาต่างๆ เช่น เพลงพื้นบ้านบนแผ่นเสียง แรกมีแผ่นเสียงในสยาม การบันทึกเสียงในกรุงสยามครั้งแรก ณ วัดบ้านหม้อ เป็นต้น

รายงานประจำปี ๒๕๔๙ กรมศิลปากร
รายงานประจำปี  ๒๕๔๙  กรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง :  รายงานประจำปี  ๒๕๔๙  กรมศิลปากร.  
ผู้แต่ง    :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๐
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

รายงานประจำปี ๒๕๔๙  กรมศิลปากร  เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานตามภารกิจของกรมศิลปากรที่ตอบสนองยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรมและผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมศิลปากร  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย ๔ ส่วน กับภาคผนวก ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ภาพรวมกรมศิลปากร ส่วนที่ ๒ การดำเนินงานของกรมศิลปากรที่ตอบสนองยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรม ส่วนที่ ๓ โครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และส่วนที่ ๔ ผลการปฏิบัติราชการ

รายงานผลการวิจัยเรื่อง การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปใน ดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี
รายงานผลการวิจัยเรื่อง การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปใน ดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี

ชื่อเรื่อง : รายงานผลการวิจัยเรื่อง  การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปใน ดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี
 ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๓
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

รายงานผลการวิจัยเรื่อง  การประดิษฐานพระพุทธศาสนาจากลังกาทวีปในดินแดนประเทศไทยสมัยวัฒนธรรมทวารวดี  นับเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศศรีลังกามายังดินแดนประเทศไทยให้กระจ่างยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนไหวของผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีความหลากหลายเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ตลอดจนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาจากอินเดียและศรีลังกาซึ่งผู้คนในดินแดนสุวรรณภูมิได้เลือกรับและปรับเปลี่ยนจนเป็นพุทธศาสนามีลักษณะเฉพาะแต่ละท้องถิ่นก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบเดียวกันตามรัฐชาติในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้เข้าใจประวัติความเป็นมาของผู้คนที่หลากหลาย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  อย่างยั่งยืนต่อไป

พระอภัยมณี เล่ม ๔
พระอภัยมณี เล่ม ๔

ชื่อเรื่อง : พระอภัยมณี เล่ม ๔
ผู้แต่ง    : สุนทรภู่
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : ศิลปาบรรณาคาร

หนังสือพระอภัยมณี เล่ม ๔ นี้  ได้นำเอาประวัติของสุนทรภู่ พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มารวบรวมไว้ด้วย  รวมทั้งตัวละครและเหตุการณ์ต่างๆ  ในเรื่องรามเกียรติ์  ของธนิต  อยู่โพธิ์  เนื้อหาภายในเล่มแบ่งเป็นตอนๆ  ทั้งหมด  ๓๒  ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑๐๑-๑๓๒  อาทิ  ตอนที่ ๑๐๑  พระอภัยมณีเยือนลังกา   ตอนที่ ๑๐๒  พระบาทหลวงปล่อยโคมไฟไปตกเมืองลังกาจนถึงพระอภัยมณีห้ามทัพ  ตอนที่ ๑๐๓  หกกษัตริย์ตีโต้ทัพพระบาทหลวงล่าไปเมืองปตาหวี  ฯลฯ

ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๔
ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๔

ชื่อเรื่อง : ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๔
ผู้แต่ง    : ทองเพียร  สารมาศ
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

เป็นหนังสือคู่มือสำหรับใช้ประกอบการศึกษาเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณผลงานของนักเขียนไทยให้เป็นที่ประจักษ์  จำนวน  ๓๐ คน  ได้แก่ นักเขียนนวนิยาย  เรื่องสั้น สารคดี บทละครวิทยุ บทละครโทรทัศน์และบทภาพยนตร์ โดยเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำนำ ดัชนีค้นนามปากกานักเขียนเพิ่มเติม ตั้งแต่ ก-ฮ  ท้ายเล่มมีบรรณานุกรมประกอบ

ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๓
ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๓

ชื่อเรื่อง : ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๓
ผู้แต่ง    : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

ประวัตินักเขียนไทย เล่ม ๓ เป็นหนังสือที่รวบรวมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ของชาติและเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณผลงานของนักเขียนไทยให้เป็นที่ประจักษ์ โดยเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำนำ ดัชนีค้นนามปากกานักเขียนตั้งแต่ ก-ฮ   ท้ายเล่มมีบรรณานุกรมประกอบ

เที่ยวตามทางรถไฟ
เที่ยวตามทางรถไฟ

ชื่อเรื่อง : เที่ยวตามทางรถไฟ
ผู้แต่ง    : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๗
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร
    เที่ยวตามทางรถไฟ  เป็นหนังสือเก่าที่มีคุณค่ายิ่งในด้านประวัติศาสตร์ เนื้อหาสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าในระยะแรกของกิจการรถไฟไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยนำเสนอเรื่องราวของบ้านเมืองและสถานที่สำคัญต่างๆ  ตามที่เส้นทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่านได้อย่างเพลิดเพลินและมีสาระประโยชน์ จึงเปรียบเสมือนคู่มือการเดินทางท่องเที่ยวฉบับแรกๆ ในประวัติศาสตร์ไทย  ที่ยังประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าแก่อนุชนรุ่นหลังอีกด้วย

โคลงเรื่อง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕
โคลงเรื่อง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕

ชื่อเรื่อง : โคลงเรื่อง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕.  
ผู้แต่ง    : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๓
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

เนื่องในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักปราชญ์ที่ทรงมีพระราชคุณูปการใหญ่หลวงต่องานด้านวรรณคดีและอักษรศาสตร์ของชาติ   กรมศิลปากรจึงได้จัดพิมพ์หนังสือ “โคลงเรื่องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕”ขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติในสมเด็จพระปิยมหาราช  โดยเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยเรื่องโคลงพิธีถือน้ำแลคเชนทรัศวสนานและโคลงพระราชพิธีแห่โสกันต์  พร้อมกันนี้ได้อันเชิญพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเรื่อง เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิทเซอร์แลนด์ มาพิมพ์ไว้ต่อจากคำชี้แจงอีกด้วย

การขุดค้นที่เนินอุโลกและโนนเมืองเก่า
การขุดค้นที่เนินอุโลกและโนนเมืองเก่า

ชื่อเรื่อง :  การขุดค้นที่เนินอุโลกและโนนเมืองเก่า.  
ผู้แต่ง    :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๕๒
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  : กรมศิลปากร

หนังสือ การขุดค้นที่เนินอุโลกและโนนเมืองเก่า จัดพิมพ์เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางศิลปมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าให้แก่คนไทยอย่างกว้างขวาง  โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิเฮนรี ลูช (the Henry Luce Foundation) ร่วมกับ the America Council of Learned Societies จากสหรัฐอเมริกา เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ สารบาญเรื่องและสารบาญภาพ ส่วนท้ายเล่มมีเอกสารอ้างอิงประกอบ  ผู้สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของประเทศไทย ซึ่งร่ำรวยไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมได้ในหนังสือเล่มนี้

สูจิบัตรเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๗ มกราคม ๒๕๔๗
สูจิบัตรเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๗  มกราคม ๒๕๔๗

ชื่อเรื่อง :  สูจิบัตรเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๗  มกราคม ๒๕๔๗
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร  สำนักการสังคีต
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

หนังสือที่ระลึกงานวันตรงกับวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จ  พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื้อหาสาระประกอบด้วยพระราชประวัติสมเด็จ  พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๔  ตั้งแต่ทรงพระ  เยาว์วัย ทรงผนวช  บังคับบัญชาทหารปืนใหญ่  ผู้บัญชาการทหารเรือ  ทรงโปรดเครื่องดนตรี พระราชนิพนธ์ จนทรงประชวรและสวรรคตเมื่อ  พระชนมายุ ๔๘ พรรษา

สีเขียนภาพผนังถ้ำยุคโบราณในประเทศไทย
สีเขียนภาพผนังถ้ำยุคโบราณในประเทศไทย

ชื่อเรื่อง :  สีเขียนภาพผนังถ้ำยุคโบราณในประเทศไทย  
ผู้แต่ง :   นพวัฒน์  สมพื้น
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัท เอ พี กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์จำกัด

หนังสือวิชาการด้านโบราณคดีเรื่องศิลปกรรมผนังในประเทศไทย เช่น ภาพเขียน รอยขูดขีดและงานสลักบนหินและตามถ้ำต่างๆทุก  ภาคของไทยดำเนินการศึกษา ค้นคว้าจากความรู้เดิมและได้เสนอ  แนวความคิด ความรู้  จากการทดลองและวิเคราะห์ อันเป็นประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนจัดพิมพ์นำเสนอในรูปแบบหนังสือวิชาการ

ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ ยะรัง จังหวัดปัตตานี สงขลา
ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ ยะรัง  จังหวัดปัตตานี สงขลา

ชื่อเรื่อง :  ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ ยะรัง  จังหวัดปัตตานี สงขลา
ผู้แต่ง :   สำนักโบราณคดี   สำนักศิลปากรที่ ๑๓ สงขลา   
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  ไทยเจริญการพิมพ์

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสที่กรมศิลปากรทำพิธีเปิด  ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณยะรังและถ่ายโอนภารกิจด้านการบริหารจัดการ ให้แก่เทศบาลตำบลยะรัง เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่ง  ราชอาณารจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และแผนปฏิบัติการของกรม  ศิลปากรในการถ่ายโอนภารกิจเพื่อกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ไวพจน์ประพันธ์และ พิศาลการันต์
ไวพจน์ประพันธ์และ พิศาลการันต์

ชื่อเรื่อง :  ไวพจน์ประพันธ์และ พิศาลการันต์
ผู้แต่ง :   ศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร) ,พระยา  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๓๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัทประชาชน  จำกัด

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๔ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิง  ศพนางทิพย์  นิยมเหตุ  ไวพจน์ประพันธ์และพิศาลการันต์เป็นหนังสือ    แบบเรียนหลวงชุด ๖ เรื่องในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นแบบหัดอ่านภาษาไทย

วิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ครูเฉลย ศุขะวณิช
วิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ครูเฉลย  ศุขะวณิช

ชื่อเรื่อง :  วิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ครูเฉลย  ศุขะวณิช
ผู้แต่ง :   ไพโรจน์  ทองคำสุก
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์

หนังสือรายงานการวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาวิจัยประวัติและผลงานของศิลปินอาวุโสซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอด  อบรมสั่งสอนนาฏศิลป์  โขน-ละคร  คุณครูเฉลย  สุขะวณิช  ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง  (นาฏศิลป์)ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๐

ลำนิทานท้าวพญาคันคาก
ลำนิทานท้าวพญาคันคาก

ชื่อเรื่อง :  ลำนิทานท้าวพญาคันคาก
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร  สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัท เอดิสันเพรสโพรดักส์

ลำนิทานท้าวพญาคันคากวรรณกรรมของภาคอีสานต้นฉบับ        คัมภีร์ใบลานได้รับมาจากวัดด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี  แต่งเป็นร้อยกรองประเภทกลอนสังวาสอีสานเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ของคนอีสานในสมัยก่อนและมีคติธรรมสอนใจ เรื่องนี้มีเค้าโครงมาจากนิทานชาดกในพุทธศาสนาเป็นเรื่องของท้าวพญาคันคากเป็นราชโอรสของกษัตริย์ต่อมาได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อพระบิดา  พระองค์ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม  บำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนอย่างใกล้ชิด บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข  นักปราชญ์ชาวอีสานมีความเชื่อว่าท้าวพญาคันคากเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งซึ่งจุติจากเทวโลกลงมาเกิดเรื่องนี้ทำการถ่ายทอด  โดย นายเกษียร  มะปะโม   ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร

รวมเรื่องพระร่วง
รวมเรื่องพระร่วง

ชื่อเรื่อง :  รวมเรื่องพระร่วง  
ผู้แต่ง :   มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๒๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย

หนังสือที่ระลึกที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรม
ราชูปถัมภ์จัดพิมพ์ขึ้นโดยเสด็จกุศลซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา  สิริโสภาพัณณวดี  ทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์รวมเรื่องพระร่วงประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้ ๑. เที่ยวเมืองพระร่วง ๒. ตำนานเรื่องเสือป่า  ๓. บทละครรำเรื่องพระร่วงหรือขอมดำดิน ๔.บทละครพูดคำกลอนเรื่อง  พระร่วงและ๕. บทละครเรื่องพระร่วง เรื่องเกี่ยวกับพระร่วงทั้งหมดทร ได้เค้าโครงเรื่องจากพงศาวดารดาวเหนือ

มูลบทบรรพกิจ
มูลบทบรรพกิจ

ชื่อเรื่อง :  มูลบทบรรพกิจ
ผู้แต่ง :   ศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร) ,พระยา  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทาน  เพลิงศพ นาย เรือง  เจริญชัย มูลบทบรรพกิจเป็นหนังสือแบบหัดอ่าน    ภาษาไทยเบื้องต้น เล่ม ๑ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หลวงประเสริฐเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔  เพื่อใช้เป็นตำราสอนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง

พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร มหาราช
 พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร มหาราช

ชื่อเรื่อง :  พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร มหาราช
ผู้แต่ง :   ดำรง ราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยาฯ
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดง

หนังสือที่ระลึกเพื่อเป็นอนุสรณ์ในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรี่ย์  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่บันทึกพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและวีรกรรมที่ทรงกอบกู้เอกราชและปกป้องบ้านเมือง.

พระมาลัยในศิลปกรรมไทย
พระมาลัยในศิลปกรรมไทย

ชื่อเรื่อง :  พระมาลัยในศิลปกรรมไทย   
ผู้แต่ง :   เด่นดาว   ศิลปานนท์  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน)

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อถวายพระภิกษุ  สามเณร  ที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนครเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา  พ.ศ. ๒๕๔๖  เนื้อหาสาระเรื่องพระมาลัยวรรณกรรมเกี่ยวกับพุทธ    ศาสนา

พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

ชื่อเรื่อง :  พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  
ผู้แต่ง :   วิจิตดำรงราชานุภาพ,  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระ  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  ห้างหุ้นส่วนจำกัดป.สัมพันธ์พาณิชย์

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่  ๗  ในงานพระราชทานเพลิง    ศพหม่อมเจ้าแขไขจรัส เกษมศรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา  เทวะวงศ์วโรปการ เป็นพระบรมวงศ์ที่มีส่วนสำคัญในการปฏิรูป    ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การศาลและการต่างประเทศในรัชกาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕

พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน
พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน

ชื่อเรื่อง :  พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน
ผู้แต่ง :   วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) , ม.ร.ว.
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัทวัชรินทร์การพิมพ์ จำกัด

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๖ เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทาน    เพลิงศพเจ้านางโสทัศนารี ณ จำปาศักดิ์ สาระโสภณ ( นาง อักษร การวิจิตร )     พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานนี้แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งที่ผู้แต่งดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลอีสาน

ประณีตศิลป์ไทยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิมพ์ครั้งที่ ๒
ประณีตศิลป์ไทยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิมพ์ครั้งที่ ๒

ชื่อเรื่อง :  ประณีตศิลป์ไทยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิมพ์ครั้งที่ ๒
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร    สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัทเอ.พี.กราฟฟิคดีไซน์และการพิมพ์จำกัด

หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี  พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้รับความ    สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากรจึงจัดพิมพ์ใหม่    เป็นครั้งที่ ๒โดยปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนกล่าวคือให้มีสาระสังเขปนำเสนอภาพโบราณวัตถุสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

อักษรประโยค สังโยคพิธานไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์
อักษรประโยค สังโยคพิธานไวพจน์พิจารณ์  พิศาลการันต์

ชื่อเรื่อง :  อักษรประโยค สังโยคพิธานไวพจน์พิจารณ์  พิศาลการันต์
ผู้แต่ง :  ศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร) ,พระยา  มูลบทบรรพกิจ  วาหนิติ์ นิกร
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๒๙
ครั้งที่พิมพ์ : ครั้งที่ ๑๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

หนังสือแบบเรียนหลวงชุดนี้มี ๖ เล่ม พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ส่วนครั้งนี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๑๗ งานฌาปนกิจศพนาสันติ  ประกอบสันติสุข หนังสือแบบเรียนหลวงชุดนี้เป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยที่ใช้ในรัชสมัยรัชกาลที่  ๕

ทองคำที่ใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘
ทองคำที่ใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘

ชื่อเรื่อง :  ทองคำที่ใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘  
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร   สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัท ดอกเบี้ย  จำกัด

หนังสือเล่มนี้นำเสนอเนื้อหาวิชาการในการบูรณปฏิสังขรณ์ปลี ยอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  อำเภอเมือง   จังหวัด นครศรีธรรมราช  ระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำรัสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จินดามณี
จินดามณี

ชื่อเรื่อง :  จินดามณี  
ผู้แต่ง :   วงษาธิราชสนิท, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมหลวง  
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

คณะอนุกรรมการจัดทำเอกสารและบทความสดุดี บุคคลสำคัญในคณะกรรมการ
เอกลักษณ์ของชาติเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเก่าๆที่มีคุณค่า  เช่น  จินดามณีแบบเรียนที่แต่งในสมัยอยุธยารัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  โดยพระโหราธิบดีแต่งถวายให้พระ    ราชกุมารทรงศึกษาเล่าเรียนตั้งแต่เริ่มหัดอ่านจนถึงขั้นการใช้อักษรขั้นสูง    ต่อมามีการคัดลอกใช้ดุลทับแบบเรียนอักขร    สมัยและปรากฏมีหลายฉบับ  กรมศิลปากรได้ตรวจชำระใหม่และจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อการอนุรักษ์วรรณกรรมที่มีคุณค่าต่อไป

โครงสุภาษิตนฤทุมนาการ สุรินทร์
โครงสุภาษิตนฤทุมนาการ  สุรินทร์

ชื่อเรื่อง :  โครงสุภาษิตนฤทุมนาการ  สุรินทร์
ผู้แต่ง :   จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ  
ปีที่พิมพ์  : ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท

หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นาย พัฒนา  ผ่องใส ขออนุญาตกรมศิลปากรจัดพิมพ์โครงสุภาษิตนฤทุมนาการพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลมาจากภาษาอังกฤษ  กล่าวถึงกิจ ๑๐ ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจได้แก่  การทำความดี  การไม่พูดร้ายต่อใครฯและเรื่องมงคลสูตรคำฉันทร์พระราชนิพนธ์ใน  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทรงแปลทั้งคาถาขัดตำนาน  ทั้งพระสูตร

ครูจำเรียง พุธประดับ ศิลปินแห่งชาติรูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอด นาฏศิลป์ไทยแบบโบราณ
ครูจำเรียง พุธประดับ  ศิลปินแห่งชาติรูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอด นาฏศิลป์ไทยแบบโบราณ

ชื่อเรื่อง :  ครูจำเรียง พุธประดับ  ศิลปินแห่งชาติรูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอด นาฏศิลป์ไทยแบบโบราณ
ผู้แต่ง :   ไพโรจน์  ทองคำสุก  ครูจำเรียง พุธประดับ  
ปีที่พิมพ์  :๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  โรงพิมพ์ดอกเบี้ย

หนังสือรายงานการวิจัยเล่มนี้เป็นการศึกษาวิจัยจากการรวบรวมผลงานของครูจำเรียง พุธประดับศิลปินแห่งชาติพร้อมทั้งวิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูไทยแบบโบราณ ซึ่งมีลักษณะการถ่ายทอดเฉพาะตัวตลอดจนการสร้างสรรค์ผลงานต้นนาฏศิลป์ไทย

การศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกาย ยืนเครื่องโขน-ละครรำ
การศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกาย  ยืนเครื่องโขน-ละครรำ

ชื่อเรื่อง :  การศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกาย  ยืนเครื่องโขน-ละครรำ
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากรสำนักการสังคีต
ปีที่พิมพ์  :๒๕๕๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)   

หนังสือรายงานการศึกษาวิจัยเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิ    พลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปีและเจริญพรชนมพรรษา  ๘๐ พรรษาและเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา  วิวัฒนาการของการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละคร  ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนสินทร์

การอภิปรายเรื่อง ๒๐๐ ปี พระราช สมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
การอภิปรายเรื่อง ๒๐๐ ปี พระราช สมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อเรื่อง :  การอภิปรายเรื่อง ๒๐๐ ปี พระราช สมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร   หอสมุดแห่งชาติ   
ปีที่พิมพ์  :๒๕๓๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์

หนังสือที่ระลึกจัดพิมพ์ในโอกาสวันพระราชสมภพครบ ๒๐๐ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพุทธศักราช ๒๕๓๐ เนื้อหาสาระเป็นการถอดเทปการอภิปรายเรื่อง ๒๐๐ ปี พระราชสมภพระบาทสมเด็จ  พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยมีผู้ร่วมอภิปราย ประกอบด้วย  ม.ร.ว แสงสูรย์ ลดาวัลย์ นายทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา นายสุเมธ  ชุมสาย ณ อยุธยาดำเนินการอภิปรายโดย น.ส.สุภาพรรณ ณ บางช้าง

ครูเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ : รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดและสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย
ครูเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ : รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดและสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย

ชื่อเรื่อง : ครูเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ : รูปแบบความเป็นครูผู้ถ่ายทอดและสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย
ผู้แต่ง :  ไพโรจน์ ทองคำสุก
ปีที่พิมพ์ : 2548
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือเล่มนี้ เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ของครูเสรี หวังในธรรม โดยรวบรวมข้อมูลจากประวัติ บทบาท และผลงานของท่านในด้านการถ่ายทอดและกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งทัศนะของกลุ่มผู้สืบทอด ภาคผนวก ประกอบด้วยภาพผลงานการแสดง และ บทวิดีทัศน์ประวัติและผลงานของท่าน

ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์แผนที่
ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์แผนที่

ชื่อเรื่อง : ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์แผนที่
ผู้แต่ง :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2558
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือด้านการอนุรักษ์ซ่อมแซมแผนที่ เนื่องจากแผนที่ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากกระดาษ จึงมักมีการชำรุดฉีกขาด ร่อยรอยความเสียหาย และกระบวนการซ่อมต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ กลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ จึงเรียบเรียงองค์ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์แผนที่ขึ้น เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สนใจและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพซ่อม

ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป
ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป

ชื่อเรื่อง : ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือทั่วไป
ผู้แต่ง :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2555
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นคู่มือด้านการอนุรักษ์หนังสือทั่วไป  โดยมอบหมายให้ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ โดยนายการุณ โรหิตรัตนะ นายช่างพิมพ์อาวุโส หัวหน้ากลุ่มงานสงวนรักษาหนังสือ และคณะทำงาน  ร่วมกันเรียบเรียงองค์ความรู้ด้านการซ่อมอนุรักษ์หนังสือ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สนใจและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรฐานในการดูแลรักษาและซ่อมอนุรักษ์หนังสือให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิชาการ

เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาจังหวัดบุรีรัมย์
เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาจังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อเรื่อง : เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาจังหวัดบุรีรัมย์
ผู้แต่ง :  มิรา ปราชาบาล
ปีที่พิมพ์ : 2532
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เครื่องถ้วยบุรีรัมย์เดิมเรียกกันหลายแบบ เช่น เครื่องถ้วยเขมร เครื่องถ้วยลพบุรี และเครื่องถ้วยบ้านกรวด มีลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรมเป็นแบบเดียวกับศิลปะสมัยลพบุรี มีอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 14 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 และมีบางส่วนคล้ายคลึงกับเครื่องถ้วยจีน เวียดนาม ญี่ปุ่นและอินเดีย จากการสำรวจแหล่งเตาเผาอื่นๆ พบว่าเตาเผาโบราณในจังหวัดบุรีรัมย์เกือบทุกแหล่งได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบทางศิลปะเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งน่าจะมีอายุอยู่ในระยะเวลาร่วมสมัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 1
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 1

ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 1
ปีที่พิมพ์ : 2540   พิมพ์ครั้งที่ 9
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีต้นกำเนิดจากคัมภีร์รามายณะของอินเดีย บทละครเรื่องนี้เป็นกวีนิพนธ์  คำกลอน มุ่งแต่งเพื่อใช้ในการแสดงละครรำ เนื้อหาเริ่มตั้งแต่หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน จนถึงทศกัณฑ์พาสีดาไปไว้ที่อุทยานกรุงลงกา

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 2
บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 2

ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม 2
ปีที่พิมพ์ : 2540   พิมพ์ครั้งที่ 9
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รามเกียรติ์ เป็นวรรณกรรมที่มีต้นกำเนิดจากคัมภีร์รามายณะของอินเดีย บทละครเรื่องนี้เป็นกวีนิพนธ์  คำกลอน มุ่งแต่งเพื่อใช้ในการแสดงละครรำ เนื้อหาเริ่มตั้งแต่พระรามเที่ยวตามหาสีดา จนถึงองคตขอพานแว่นฟ้าพระพรหม

พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา
พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา

ชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา
ปีที่พิมพ์ : 2556
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

กรมศิลปากรเรียบเรียง หนังสือพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา เนื่องในโอกาสที่ได้ดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ และเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ผู้ที่สนใจค้นคว้าความรู้ เกี่ยวกับเรื่องช้างต้นพระราชพาหนะคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย

ภูมิปัญญาคนนครฯ ด้านเอกสารโบราณ
ภูมิปัญญาคนนครฯ ด้านเอกสารโบราณ

ชื่อเรื่อง : ภูมิปัญญาคนนครฯ ด้านเอกสารโบราณ
ผู้แต่ง :  ชัยวัฒน์ สีแก้ว
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : นครศรีธรรมราช : หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช กรมศิลปากร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ภูมิปัญญาคนนครฯ ด้านเอกสารโบราณ ฉบับรายงานการสำรวจและดูแลเอกสารโบราณหอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช เล่มนี้ จัดทำเพื่อบันทึกแหล่งข้อมูลทางด้านเอกสารโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าความรู้ด้านเอกสารโบราณ 

ศาลาไทยในต่างประเทศที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร
ศาลาไทยในต่างประเทศที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร

ชื่อเรื่อง : ศาลาไทยในต่างประเทศที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

    หนังสือ ศาลาไทยในต่างประเทศที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร เล่มนี้ รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของศาลาไทย สถานที่ตั้ง วัตถุประสงค์ในการสร้าง ประวัติการก่อสร้าง ผู้ออกแบบ แนวความคิดในการออกแบบ การใช้ประโยชน์จากศาลาไทย รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพิธีเปิดศาลาไทยหลายแห่ง เพื่อเป็นบันทึกจดหมายเหตุที่สามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทย 

หกทศวรรษแห่งการสร้างสรรค์ ใต้ร่มพระบารมี
หกทศวรรษแห่งการสร้างสรรค์ ใต้ร่มพระบารมี

ชื่อเรื่อง : หกทศวรรษแห่งการสร้างสรรค์ ใต้ร่มพระบารมี
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2549
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

    หนังสือ หกทศวรรษแห่งการสร้างสรรค์ ใต้ร่มพระบารมี เล่มนี้ รวบรวมผลงานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และมัณฑนศิลป์ของกรมศิลปากร พ.ศ.2489 – 2549 แบ่งเป็น 6 ทศวรรษ เป็นงานสร้างสรรค์ด้านสถาปัตยกรรม เช่น พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ยังปรากฏหลักฐานอยู่หลายแห่งตามโบราณสถานและสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยรัตนโกสินทร์เสด็จพระราชดำเนินไปตรวจตราหัวเมืองตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ  แสดงให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร พร้อมกับทอดพระเนตรโบราณสถาน

เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของ กระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส) เกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๑ ค.ศ. ๑๖๘๔ – ๑๖๙๙
เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของ กระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส) เกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๑ ค.ศ. ๑๖๘๔ – ๑๖๙๙

สันต์ ท.โกมลบุตร,ผู้แปล เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของ กระทรวงการทหารเรือ(ฝรั่งเศส) เกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๑ ค.ศ. ๑๖๘๔ – ๑๖๙๙. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ๒๒๔๙,๒๕๔๗ ๔๐๔ หน้า
    หนังสือแปลบันทึกเอกสารสำคัญของทางราชการในเรื่องความสัมพันธ์ของประเทศสยามกับประเทศฝรั่งเศสในสมัยอยุธยาซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้คัดเอกสารเหล่านี้ จากเรื่อง Archives Nationales แบ่งเป็น ๘ เล่ม ต่อกรมศิลปากรมอบนายสันต์ ท.โกมลบุตร แปล เฉพาะตอนที่เกี่ยวกับประเทศไทยและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก. เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔.

เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงทหารเรือ(ฝรั่งเศส) เกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๒ ค.ศ.๑๖๘๔ - ๑๗๐๐
เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงทหารเรือ(ฝรั่งเศส) เกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๒ ค.ศ.๑๖๘๔ - ๑๗๐๐

สันต์ ท.โกมลบุตร ผู้แปล. เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงทหารเรือ(ฝรั่งเศส) เกี่ยวกับประเทศสยาม เล่ม ๒ ค.ศ.๑๖๘๔ - ๑๗๐๐. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงทพฯ : บริษัทมาร์ค แอนท์ ทเวน มีเดียส์ จำกัด, ๒๕๔๗ ๑๓๘ หน้า.
    หนังสือแปลบันทึก.เอกสารสำคัญของทางราชการในเรื่องความสัมพันธ์ของประเทศสยามกับประเทศฝรั่งเศสในสมัยอยุธยาซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้คัดเอกสารเหล่านี้จากเรื่อง Archives Nationales โดยแบ่งเป็น ๘ เล่ม กรมศิลปากรมอบนาย สันต์ ท.โกมลบุตร แปลเฉพาะตอนที่เกี่ยวกับประเทศไทยและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๔

อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเล่มที่ ๒
อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเล่มที่ ๒

สำนักโบราณคดี กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม  อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังเล่มที่ ๒  กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมฑ์ (๑๙๗๗) จำกัด,๒๕๕๑ ๒๐๐ หน้า ภาพประกอบ.
    หนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นจากการดำเนินการอนุรักษ์บูรณปฎิสังขรณ์ พระอารามและศาสนสถานต่างๆ เนื่องในปีมหามงคลฉลองทรงครอบสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของรัชกาลที่ ๙ และได้รับดำเนินการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังด้วยหลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดสำหรับเล่น ๒. จำนวน ๗ วัด ประกอบด้วยวัดประตูสาร วัดหน่อพุทธางกูร จังหวัดสุพรรณบุรี วัดชมพูเวก วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนายโรง และวัดนางนองวรวิหาร กรุงเทพฯ.

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล : ผู้มีคุณูปการต่อ ประเทศชาติ
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล : ผู้มีคุณูปการต่อ ประเทศชาติ

กรมศิลปากร สำนักหอสมุดแห่งชาติ. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล : ผู้มีคุณูปการต่อ ประเทศชาติ. กรุงเทพ ฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ , ๒๕๔๖ ๗๖ หน้า
    หนังสือที่ระลึกเนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล นักการศึกษาและศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์และได้ รับการเชิดชูจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรมและการสื่อสาร

เสือโคคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก ทุคคตะสอนบุตร
เสือโคคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก ทุคคตะสอนบุตร

พระมหาราชครู เสือโคคำฉันท์ สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก ทุคคตะสอนบุตร. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์หัตถศิลป์, ๒๕๒๙ ๑๐๓ หน้า
    เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางชะเอม บูรกสิกรขออนุญาตกรมศิลปากรจัดพิมพ์วรรณกรรม ๔ เรื่อง ประกอบด้วย เสือโคคำฉันท์ พระมหาราชครูแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยนำเค้า โครงเรื่องมาจากปัญญาชาดก สุภาษิตอิศรญาณหรือเพลงยาวอิศรญาณแต่งโดย หม่อมเจ้าอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็กและทุคคตะสอนบุตร พร้อมทั้งเรื่องขอมแม่ นำพลและเรื่องอาน์สงฆ์หน้าศพ

สุนทรียศาสตร์ทฤษฎีแห่งวิจิตรศิลปากร ฉบับที่ ๑
สุนทรียศาสตร์ทฤษฎีแห่งวิจิตรศิลปากร ฉบับที่ ๑

กรมศิลปากร สุนทรียศาสตร์ทฤษฎีแห่งวิจิตรศิลปากร ฉบับที่ ๑ กรุงเทพ ฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนท์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๗ ๓๗๕ หน้า ภาพประกอบ
    หนังสือที่ระลึกจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ เนื้อหา ของฉบับที่ ๑ ประกอบด้วย ๓ ตอน ตอนที่ ๑ วัฒนธรรมและสุนทรียภาพ ตอนที่๒ สุนทรียภาพคืออะไร และตอนที่ ๓ องค์ประกอบแห่งสุนทรียภาพ

สมุทรโฆษคำฉันท์
สมุทรโฆษคำฉันท์

สมุทรโฆษคำฉันท์. พิมพ์ครั้งที่ ๖ กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖. ๒๓๘ หน้า
    หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระศีลาวารพิพัฒน์ (แจ่ม ธุวาโภ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร ประธานจัดงานได้จัดพิมพ์สมุทรโฆษคำฉันท์ วรรณคดีเก่าแก่ที่มีคุณค่าของไทยแต่ง โดยผู้แต่ง ๓ ท่าน ประกอบด้วย พระมหาราชครูกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแต่งใน ภาคแรกและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรสโดยนำนิทานชาดก เรื่อง สมุทรโฆษชาดกในคัมภีร์ปัญญาชาดก

สถาปัตยกรรมสุโขทัย
 สถาปัตยกรรมสุโขทัย

ธาดา สุทธิธรรม. สถาปัตยกรรมสุโขทัย. กรุงเทพฯ : บริษัทฉลองรัตน จำกัด ,๒๕๓๖ ๑๕๑ หน้า
    หนังสือวิชาการสถาปัตยกรรมสุโขทัย เขียนโดยสถาปนิกที่มีประสบการณ์การ ทำงานสถาปัตยกรรมสุโขทัยโดยเฉพาะและเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยเรื่องประวัติและกำเนิดของสถาปัตยกรรม ลักษณะเมืองและผังเมืองสมัยสุโขทัย วัดและผังวัด อาคารประเภทต่างๆและเอก ลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย

วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม ๑
วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม ๑

กรมศิลปากร กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ ฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด จงเจริญ-การพิมพ์,๒๕๓๙ ๓๘๓ หน้า
    หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นจากการนำวรรณกรรมเก่าๆมาตรวจชำระและทำ การศึกษาเปรียบเทียบจัดทำเป็นวรรณกรรมแบ่งตามยุคสมัย วรรณกรรมสมัยธนบุรีเล่ม ๑ ประกอบด้วยวรรณกรรม ๖ เรื่อง คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ลิลิตเพช มงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ โคลงยอพระเกียรติ์พระเจ้ากรุงธนบุรี กฤษณาสอนน้องคำ ฉันท์และนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระธิดา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานครสวรรค์วรพินิตในคราวเสด็จประพาสเกาะชวา เมื่อปีมะเส็งพ.ศ.๒๔๗๒
พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระธิดา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานครสวรรค์วรพินิตในคราวเสด็จประพาสเกาะชวา เมื่อปีมะเส็งพ.ศ.๒๔๗๒

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระธิดา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานครสวรรค์วรพินิตในคราวเสด็จประพาสเกาะชวา เมื่อปีมะเส็งพ.ศ.๒๔๗๒. พระนคร: โรงพิมพ์ อักษรนิต, ๒๔๗๒ ๑๕๒ หน้า
    หนังสือที่ระลึกที่พระธิดาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงพิมพ์แจกเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณในงานอัญเชิญพระบรมอัษฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับคืนสู่กรุงเทพพระมหานครเป็นพระราชหัตถเลขาการเสด็จประพาสเกาะชวาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๗๒

เปรียญรัชกาลที่ ๕
เปรียญรัชกาลที่ ๕

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา เปรียญรัชกาลที่ ๕ . กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด , ๒๕๔๐ ๗๗ หน้า
    หนังสือที่จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนายจุมพล สมรรคนัฏ เป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อพระภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญเป็นข้อเขียนได้ในปีต่างๆ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ – ๒๔๔๓ จำนวน ๑๓ ครั้ง

ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๒
ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๒

กรมศิลปากร กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ประวัติและผลงานของ ชาวต่างชาติในประเทศไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด, ๒๕๓๙ ๒๒๖ หน้า.
    เป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติของชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตก ที่เข้ามารับราชการในประเทศเรื่องตามระยะเวลา เล่ม ๒ จำนวน ๑๐ ท่าน ประกอบด้วย เยเรเมียส ฟอน ฟลีต พระยาวิสูตรสาทรดิษฐ์ (กัปตัน จอร์น บุช) พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (กัปตันริเชอลิเยอ แฮร์โดลมาน เจส.สเลด โทคิชิ มาซาโอะ เอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล คาร์ล ดอห์ริ่ง ศาสตราจารย์ ซี. ริโกลี ศาสตราจาร์ยอร์จ เซเดส์.

บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกัปนานา ประเทศในคริสศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓
บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกัปนานา ประเทศในคริสศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓

สุภรณ์ อัศวสันโสภณ,ผู้แปล  บันทึกเรื่องสัมพันธภาพระหว่างกรุงสยามกัปนานา ประเทศในคริสศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์, ๒๕๒๒ ๔๘๕ หน้า.
    หนังสือที่แปลจากหนังสือชุด Records of the Relation between Siam and Foreign Countries in the 17th Century เป็นจดหมายโต้ตอบรายงานและบันทึกเกี่ยวกับการค้าของพ่อค้าต่างประเทศที่เข้ามาค้าขายในกรุงสยามในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศทางตะวันตกตลอดจนเป็นหลักฐานสำคัญต้นประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศสยามสมัยกรุงศรีอยุธยา.

บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ไข่มุกด์ มิลินทะเลข บรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเรื่องที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ ; โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปร ดักชั่น, ๙๒ หน้า
    หนังสือที่ระลึกวันฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. คณะอนุกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ ได้รวบรวม พระราชนิพนธ์โดยความร่วมมือของหน่วงงานห้องสมุดรวม ๓๓ แห่ง ให้ความร่วมมือในการค้นคว้า. โดยหน่วยงานแต่ละที่จะจัดส่งรายชื่อพระราชนิพนธ์ที่มีในห้องสมุด หรือศูนย์ข้อมูล และคณะอนุกรรมการฯ นำชื่อย่อหน่วงงานในวงเล็บหลังรายการบรรณานุกรมพระราชนิพนธ์ในแต่ละเล่ม

บรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน
บรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน

กรมศิลปากร หอสุมดแห่งชาติ. บรรณานุกรมงานนิพนธ์ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน. กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชา พาณิชย์, ๒๕๓๑. ๑๖๕ หน้า
    หนังสือที่ระลึก ครบรอบ ๑๐๐ ปี ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์ทางมานุษยวิทยา และเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติในฐานะบุคคลสำคัญ เป็นหนังสือที่รวบรวมบรรณานุกรม งานนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

คู่มือนิทรรศการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
คู่มือนิทรรศการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมศิลปากร คู่มือนิทรรศการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ :บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งกรุพจำกัด, ๒๕๓๐ ๑๕๖หน้า
    หนังสือที่ระลึกในวโรกาสวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ ๒๐๐ ปีเนื้อหาเป็นพระราชกรณียกิจตลอดระยะเวลา ๒๗ ปี ที่ ทรงครองราชย์ ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงของชาติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการ ศึกษา ด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านอื่นๆ

จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

กรมศิลปากร จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๕ ๘๕ หน้า ภาพประกอบ
    หนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฉลอง ๑๐๐ ปี วันพระราชสมภพ ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสที่องค์ การ ยูเนสโกประเทศให้เป็นบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นประจำปี ๒๕๔๓ เนื้อหาประกอบด้วยพระราชประวัติ การประกวดจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ระเบียบการประกวด รายชื่อผู้เข้าร่วมประกวด และผู้ชนะการประกวด ภาพที่ ชนะการระกวด และภาพที่ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ.

จดหมายเหตุพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ร.ศ. ๑๒๖, ๑๒๗
จดหมายเหตุพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ร.ศ. ๑๒๖, ๑๒๗

กรมศิลปากร กองจดหมายเหตุแห่งชาติ จดหมายเหตุพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ร.ศ. ๑๒๖, ๑๒๗ กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น, ๒๕๒๗ ๒๒๗หน้า  
    หนังสือเล่มนี้จัดทำขี้นจากการรวบรวมเอาสารจดหมายเหตุในพระราชพิธีรัชมังคลา ภิเษกซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้พระราชพิธีดังกล่าวแก่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ในรัชสมัยนั้น

คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากร สารสนเทศเอกสารโบราณประเภทจารึก
คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากร สารสนเทศเอกสารโบราณประเภทจารึก

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากร สารสนเทศเอกสารโบราณประเภทจารึก กรุงเทพฯ : บริษัททรงสิทธิวรรณ จำกัด ๒๕๕๑ ๖๐ หน้า ภาพประกอบ
  หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงานการสำรวจจัดหาและรวบรวม เอกสารโบราณประเภทจารึกของข้าราชการเจ้าหน้าที่รวมทั้งเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น เนื้อหาประ กอบด้วยเรื่องความหมายความสำคัญ คุณค่าและประโยชน์ของจารึก ประเภทและลักษณะของจารึกและแนวทางการสำรวจและการรวบรวมเอกสารโบราณประเภทจารึก

การอนุรักษ์พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
การอนุรักษ์พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

กรมศิลปากร  กองโบราณคดี   การอนุรักษ์พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี, ๒๕๓๔  ๑๓๖ หน้า  ภาพประกอบ
    หนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นประกอบโครงการสำหรับการอนุรักษ์พระราชนิเวศน์  เนื้อหาประกอบด้วยมูลเหตุที่มาของการก่อสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  ลักษณะสถาปัตยกรรมและการบูรณะ

รายงานเบื้องต้นการสำรวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
รายงานเบื้องต้นการสำรวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน

กรมศิลปากร  สำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน  รายงานเบื้องต้นการสำรวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน   เชียงใหม่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดกู๊ดพริ้น พริ้นติ้งเชียงใหม่ , ๒๕๕๑  ๑๐๐  หน้า  ภาพประกอบ.
    หนังสือรายงานการสำรวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ตามโครงการสำรวจและศึกษา ถ้ำและเพิงผาแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย จังหวัด น่าน ของสำนักศิลปากรที่ ๗ น่าน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านเนื้อหาประกอบด้วย  ลักษณะทางภูมิศาสตร์จังหวัดน่าน  ก่อนประวัติในจังหวัดน่าน  สภาพภูมิประเทศและธรณีวิทยาในเขตอำเภอเวียงสาและอำเภอนาน้อย หลักฐานทางโบราณคดีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และถ้ำและเพิงผา  
ผลการสำรวจและศึกษาเบื้องต้นและบทสรุปและข้อเสนอแนะ

การบรรยายพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
การบรรยายพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

กรมศิลปากร กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์  การบรรยายพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.  กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์,  ๒๔๓๐.  ๑๗๗ หน้า.    
    หนังสือที่ระลึกเนื่องในวาระที่ปีพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวครบรอบ ๒๐๐ ปี กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ได้จัดการบรรยายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจสำคัญบางประการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและนำมาจัดพิมพ์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ ๓.

อสุเรนทรจารีตคำพากย์
อสุเรนทรจารีตคำพากย์

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  อสุเรนทรจารีตคำพากย์.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๑๖.  ๕๔ หน้า. 
    อสุเรนทรจารีตคำพากย์  จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน  พุทธศักราช ๒๖๑๖  โดยมีโครงเรื่องไว้เป็นขันธ์ รวม ๑๖ ขันธ์  ได้แก่  ขันธ์ที่ ๑ อสุรพงศ์  ขันธ์ที่ ๒ กุเวรสมภพ  ขันธ์ที่ ๓ อสุเรนทรสมภพ  ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีบทนมัสกฤติกถา  อารัมภกถา  ประกอบอีกด้วย

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๘ จังหวัดยโสธร
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๘ จังหวัดยโสธร

กรมศิลปากร.  ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๘ จังหวัดยโสธร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๕๕  ๑๘๔ หน้า.  ภาพประกอบ.
    หนังสือ ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๘ จังหวัดยโสธรที่จัดพิมพ์ในพุทธศักราชปี ๒๕๕๕ นี้นับเป็นเล่มที่ ๑๘ มีเนื้อหาประกอบด้วย วัดมหาธาตุพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ ณ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นวัดที่กรมศิลปากรได้นำผ้าพระกฐินพระราชทานมาทอดถวายในปีนี้  ประวัติความเป็นมาของจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน  มีประเพณีบุญบั้งไฟโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เทศกาลงานประเพณีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวยโสธรตลอดจนข้อมูลภารกิจของกรมศิลปากรในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร

ศิลปะถ้ำเขาสามยอด
ศิลปะถ้ำเขาสามยอด

พยุง  วงษ์น้อย.  ศิลปะถ้ำเขาสามยอด.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,   ๒๐๐ หน้า. ภาพประกอบ.
    เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทั้งสภาพภูมิประเทศ สถานที่สำคัญ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีและศึกษาวิเคราะห์ถึงศิลปะเขาสามยอดซึ่งเนื้อหาและรูปแบบของภาพเขียนผนังถ้ำนี้เป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตและพิธีกรรมของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในสังคมกสิกรรมที่อาศัยในพื้นที่ราบโดยรอบเทือกเขาสามร้อยยอด เช่นภาพการไล่ต้อนฝูงวัว ภาพบุคคลที่มีลักษณะการแต่งกายเป็นพิเศษด้วยการสวมหัวหรือเขาสัตว์บนศีรษะ เป็นต้น ซึ่งภาพเหล่านี้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของคนสมัยนั้น

ลายรดน้ำกับพัฒนาการ
ลายรดน้ำกับพัฒนาการ

กรมศิลปากร.  ลายรดน้ำกับพัฒนาการ.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๘. ๔๒๘ หน้า. ภาพประกอบ.
    ลายรดน้ำกับพัฒนาการ  เป็นผลงานวิจัยที่ได้จัดทำเป็นเอกสารวิชาการที่เน้นให้เห็นประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของงานช่างลายรดน้ำ  ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงเนื้อหาและการวางองค์ประกอบของภาพในงานจิตรกรรมประเภทลายรดน้ำ ซึ่งมีทั้งลวดลายไทยอย่างเดียวกับมีภาพประกอบเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติและเรื่องในอุดมคติ  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำนำ คำชี้แจง
บทคัดย่อภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ สารบัญ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๕ บท คือ บทนำ อดีตและพัฒนาการของลายรดน้ำ ตู้ลายรดน้ำ (ตู้ลายทอง) ข้อมูลภาพลายรดน้ำและการวิเคราะห์  สรุปผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะ

มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของกรมศิลปากร
มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของกรมศิลปากร

กรมศิลปากร.  มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของกรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๕๑.  ๘๐ หน้า.  ภาพประกอบ.
มาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของกรมศิลปากร เป็นหนังสือที่รวบรวมมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการ  เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรและกระทรวงวัฒนธรรม  รวมทั้งจัดทำจรรยาบรรณวิชาชีพให้ครบตามสายวิชาชีพของบุคลากรในกรมศิลปากร  เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและประโยชน์สุขของประชาชน อีกทั้งเพื่อเป็นคู่มือและเครื่องเตือนใจในการปฏิบัติราชการให้ประสบความสำเร็จและได้รับการนิยมยกย่องตลอดไป

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์ไทย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์ไทย

กรมศิลปากร.  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์ไทย. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๓๖.  ๑๙๙ หน้า.  ภาพประกอบ.
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์ไทย จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวโรกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี พระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่องานด้านศิลปวัฒนธรรมและกิจการพิพิธภัณฑสถานของชาติ โดยเนื้อหาประกอบด้วย คำนำ พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ย้อนอดีตพิพิธภัณฑ์ไทยถึงสมัยพระปกเกล้าฯ พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครก้าวต่อไปหลังสมัยพระปกเกล้าฯ ฯลฯ ท้ายเล่มมีบรรณานุกรมและคำสั่งต่างๆ ประกอบอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์

กรมศิลปากร. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพิพิธภัณฑ์.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๗.  ๗๗ หน้า.  ภาพประกอบ.
    กล่าวถึง พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปิดโลกแห่งการเดินทาง พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อกิจการพิพิธภัณฑ์ไทย โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  และบรรณานุกรม  เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อชาติบ้านเมือง

พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กรมศิลปากร.  พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.  กรุงเทพฯ : กรม, ๑๙๒ หน้า.  ภาพประกอบ, ตาราง.
    เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างบุคคลทั่วไปและข้าราชการกรมศิลปากรเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาติและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันของคนในชาติและเพื่อเป็นการผดุงรักษา อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปะวิทยาการ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมของชาติในทุกๆ ด้านให้คงอยู่สืบไป เนื้อหาภายในเล่ม ประกอบด้วยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ พร้อมทั้งประกาศต่างๆ  เป็นต้น

ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย
ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย

เอิบเปรม  วัชรางกูร.  ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๔.  ๑๕๒ หน้า.  ภาพประกอบ.
    ในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี  กรมศิลปากรจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก โดยเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย บทต่างๆ ๗ บท ได้แก่ การขนส่งทางน้ำเป็นรากฐานการพัฒนาโลก การค้าทางทะเลในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ นอกจากนี้ท้ายเล่มยังประกอบด้วยบรรณานุกรมอีกด้วย

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๑.
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๑.

กรมศิลปากร.  ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๑๑.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๘.  ๑๖๐ หน้า. ภาพประกอบ.
    กล่าวถึงความเป็นมาของวัดศรีอุบลรัตนาราม  พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  และเรื่องราวของจังหวัดอุบลราชธานีในฐานะเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมอีสานตอนล่าง โดยเน้นความสำคัญของจังหวัด พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ประเพณีฮีตสิบสอบ คองสิบสี่ ไหลเรือไฟ แห่เทียนพรรษา  หัตถกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การทำเครื่องทองเหลือง การทอผ้า ฯลฯ อีกทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับหน่วยงานของกรมศิลปากรในจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย

ตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสารของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสารของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

กรมศิลปากร.  ตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสารของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๕๕.  ๑๑๒ หน้า.  ภาพประกอบ.
    เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการดำเนินงานการจัดการเอกสารและเป็นกรอบในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งเป็นการลดพื้นที่อุปกรณ์ในการจัดเก็บเอกสาร เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บและดูแลรักษาเอกสาร  ทำให้เกิดความเป็นระเบียบและประหยัดงบประมาณอีกด้วย

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

กรมศิลปากร.  เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๒๓.  ๑๔๘ หน้า.  ภาพประกอบ.
จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในอภิลักขิตมหามงคลสมัยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระชนมายุ ๔๘ พรรษา  เป็นวาระที่ประชาชนชาวไทยต่างชื่นชมโสมนัสด้วยทรงดำรงพระองค์ดุจ “มารดา” ของอาณาประชาราษฎร ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเจริญรอยพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเกื้อกูล บำบัดทุกข์บำรุงสุขของอาณาประชาราษฎรทั่วทุกภูมิภาค โดยมิได้เลือกเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ กรมศิลปากร สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม จึงได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสน้อมเกล้าฯ ร้อยกรองบทกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติขึ้นเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้ปรากฏแผ่ไพศาล ขอให้ทรงพระเกษมสำราญชั่วนิรันดร์กาลเทอญ

จดหมายหลวงอุดมสมบัติ
จดหมายหลวงอุดมสมบัติ

อุดมสมบัติ,หลวง.  จดหมายหลวงอุดมสมบัติ.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. ภาพประกอบ.
    กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสมหามงคลวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ ๒๐๐ ปี  นับว่าเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องหนึ่งที่ให้ความรู้ทั้งงานราชการบ้านเมืองและสะท้อนให้เห็นพระราชอิริยาบทและพระราชอัชฌาสัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยชาติบ้านเมืองอย่างชัดเจน พร้อมทั้งได้เพิ่มเติมสาระสำคัญในเอกสารเป็นเชิงอรรถประกอบเพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

กรมศิลปากร.  คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๘. ๑๒๔ หน้า.  ภาพประกอบ.
หนังสือ คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  นี้ได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ซึ่งได้รับการปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยได้จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๗ และได้ใช้เป็นเอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานพิพิธภัณฑ์ทุกด้านทั้งในด้านพิพิธภัณฑสถานวิทยาและพิพิธภัณฑ์สำหรับหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน โดยเนื้อหาภายในเล่มแบ่งเป็น ๘ บทด้วยกัน ได้แก่  บทที่ ๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์  บทที่ ๒ แนวการศึกษาค้นคว้าวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นต้น

๙ อุทยานประวัติศาสตร์
๙ อุทยานประวัติศาสตร์

กรมศิลปากร.  ๙ อุทยานประวัติศาสตร์.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๓๑.  ๗๓ หน้า. ภาพประกอบ.
    ๙ อุทยานประวัติศาสตร์.  เป็นหนังสือแนะนำอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง ๙ แห่ง เพื่อเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ชี้นำให้ประชาชนได้รู้จักและเข้าใจในอุทยานประวัติศาสตร์ ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นต้น  โดยมีทั้งภาคภาษาไทยและภาคภาษาอังกฤษ

เรือพระราชพิธี
เรือพระราชพิธี
กรมศิลปากร.   เรือพระราชพิธี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,  ๒๕๓๑.  ๑๖๙ หน้า.    ภาพประกอบ.
เรือพระราชพิธี เป็นเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค อันเป็นริ้วกระบวนเรือ ที่จัดขึ้นเมื่อ พระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ  เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธี หรือในการส่วนพระองค์ในที่ต่างๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา  เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมและสืบทอดงานศิลปกรรมของไทย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรือพระราชพิธีโบราณ กรมศิลปากรจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรือพิธีขี้น
 
รายงานผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเครื่องปั้นดินเผา บนคาบสมุทรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา- กรุงรัตนโกสินทร์
รายงานผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเครื่องปั้นดินเผา บนคาบสมุทรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา- กรุงรัตนโกสินทร์
รายงานผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเครื่องปั้นดินเผา บนคาบสมุทรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา- กรุงรัตนโกสินทร์.  กรุงเทพฯ:  กรมศิลปากร. พ.ศ. ๒๕๕๓. ๒๔๐ หน้า. ภาพประกอบ.
สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของประเทศไทย เพื่อยกระดับให้งานด้านโบราณคดีและองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นที่ยอมรับของอารยประเทศ จึงได้จัดทำโครงการวิจัยห้วข้อ รายงานผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเครื่องปั้นดินเผาบนคาบสมุทรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา- กรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นเพื่อให้เข้าใจวิถีการดำรงชีวิต ค่านิยมในการใช้เครื่องปั้นดินเผา ในชีวิตประจำวัน และการใช้วัสดุก่อสร้างประเภทดินเผา ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้อย่างชัดเจน
 
รัตนมงคลคำฉันท์ เฉลิมพระเกียรติ สมด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
รัตนมงคลคำฉันท์  เฉลิมพระเกียรติ สมด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
รัตนมงคลคำฉันท์  เฉลิมพระเกียรติ สมด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ/ บุญเตือน  ศรีวรพจน์.  กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร, ๒๕๔๗. ๒๑๓ หน้า. ภาพประกอบ. (พิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ
๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗)
เป็นการอธิบายความหมายของมงคล ๑๐๘ ประการในรอยพระพุทธบาท ซึ่งคัมภรีพุทธปาทลักขณะ สมัยอยุธยาเรียกว่ารัตนมงคล หมายถึงมงคลอันประเสริฐ พุทธศาสนิกชนไทยมีความศรัทธาเลื่อมใสในรอยพระพุทธบาทมาช้านาน  ถือว่าเป็นสิ่งสักการแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  การนำเรื่องความหมายของรัตนมงคลมาประพันธ์เป็นคำฉันท์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง  จึงเปรียบเหมือนการอัญเชิญมงคลอันสุงสุดของแผ่นดินน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
 
พัฒนาอารยธรรมไทย
พัฒนาอารยธรรมไทย
พัฒนาอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ:  กองพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรมศิลปากร, ๒๕๓๖.๒๘๘ หน้า. ภาพประกอบ. (จัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลเฉลิมเกียรติ ๑๐๐ ปี วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ๘ พฤศจิกายน  ๒๕๓๖)
อารยธรรมแรกเริ่มบนผื่นแผ่นดินไทย  ลักษณะชุมชนโบราณศาสนาและความเชื่อในสังคม  ศิลปะสมัยทวาราวดี สถาปัตยกรรมศิลปะแบบศรีวิชัย วัฒนธรรมร่วมแบบเขมรในประเทศไทย คนไทยกับการก่อร่างสร้างเมืองพุทะศตวรรษที่ ๑๘ ล้านนาถิ่นฐานวัฒนธรรมไทยภาคเนือ วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์สมัยแห่งการปฎิบัติสู่โลกใหม่ ยุคประชาธิปไตย
 
พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย เล่ม ๒
พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย เล่ม  ๒
พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย เล่ม  ๒.    กรุงเทพฯ:     กรมศิลปากร,  ๒๕๕๐.  ๒ เล่ม    ภาพประกอบ. (พิมพ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสน้อมเกล้าฯ  ถวายพระราชสมัยญาพระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย)
     เล่ม ๒ กล่าวถึงพระราชอัจฉริยภาพ ด้านการอนุรักษ์ และ สร้างสรรค์ งานศิลปกรรมด้านต่างๆ จิตรกรรม ประติกรรม สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม  หัตถศิลป์  ดนตรี  นาฏศิลป์  ดุริยางคศิลป์ ภาษา   และหนังสือ       
 
พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย เล่ม ๑
พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย เล่ม ๑

พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย เล่ม ๑  กรุงเทพฯ:     กรมศิลปากร,  ๒๕๕๐.  ๒ เล่ม    ภาพประกอบ. (พิมพ์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสน้อมเกล้าฯ  ถวายพระราชสมัยญาพระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย)
            เล่ม ๑ กล่าวถึงพระอัจฉริยภาพและปรีชาสามารถ  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมในส่วนของกรมศิลปากรที่ได้รับพระราชทานพระมหาจากพระบรมราชวินิจฉัยและแนวพระราชดำริต่างๆ ในการพื้นฟูจารีตราชประเพณี  เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธี  เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ    พระราชพิธีพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ  เป็นต้นด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  พิพิธภัณฑ์

แนวทางอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับพระสงฆ์.
แนวทางอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับพระสงฆ์.

แนวทางอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับพระสงฆ์.  กรุงเทพฯ:  สำนักโบราณคดี  กรมศิลปากร,  ๒๕๕๐. ๑๗๖ หน้า.  ภาพประกอบ.
               จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งหมายเสริมสร้างความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของวัดและชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม  ตลอดจนหลักการและแนวทางอนุรักษ์โบราณวัตถุโบราณสถาน ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  และให้เกิดการสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้เกิดการสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้เกิดแก่พระสงฆ์และชุมชน

จดหมายเหตุเรื่องทรงพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒
จดหมายเหตุเรื่องทรงพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒

จดหมายเหตุเรื่องทรงพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒.  กรุงเทพฯ:. กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ๓๕๒  หน้า.  ภาพประกอบ. (หนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราช)
           จดหมายเหตุเรื่องนี้มีเนื้อหาเริ่มตั้งการตั้งพระบรมวงศานุวงในรัฐกาลที่ ๖ ถึงรัฐกาลปัจุบัน ตั้งแต่ปี จอ  พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึงปีกุน พ.ศ ๒๕๓๘ โดยเฉพาะปีขาล พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้มีประกาศสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม

จดหมายเหตุเรื่องทรงพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑
จดหมายเหตุเรื่องทรงพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑

จดหมายเหตุเรื่องทรงพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑.  กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ๔๕๙ หน้า.  ภาพประกอบ. (หนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราช)
           จดหมายเหตุเรื่องนี้มีเนื้อหาเริ่มตั้งแต่การอธิบายว่าด้วยยศเจ้า  ตั้งแต่สมัยกรุงศรีฮยุธยาจนถึงกรุงธนบุรี  ประเพณีตั้งกรมเจ้านาย  และการตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ในรัชกาลที่ ๑ ถึงรัฐกาลที่ ๕     ตั้งแต่  ปีขาล   พ.ศ.  ๒๓๒๕ ถึงปีระกา  พ.ศ. ๒๔๕๒  

เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา
เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา

เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ ๓ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช  ๒๕๕๘.  ๑๒๐ หน้า.  ภาพประกอบ.
        เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา สมบัติอันล้ำค่าของชาติ  เป็นงานประณีตศิลป์ ที่มีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง เป็นการบ่งบอกถึงความสามารถของช่างและเป็นหลักฐานทางโบราณคดี  หนังสือเล่มนี้ได้บันทึกถึงความยิ่งใหญ่และความรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา  ตลอดจนเผยแพร่งานมรดกวัฒนธรรมแขนงนี้อย่างกว้างขวาง

๙๙ ปีกรมศิลปากรกรมศิลปากร
๙๙  ปีกรมศิลปากรกรมศิลปากร

๙๙  ปีกรมศิลปากรกรมศิลปากร.     กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,  ๒๕๔๘.  ๑๖๐ หน้า. ภาพประกอบ.

        99 แห่งการสถาปนากรมศิลปากร  นับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบศตวรรษ ที่กรมศิลปากรรับบทบาทหน้าที่ บำรุงรักษา และผดุงส่งเสริมวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทยให้ดำรงต่อไป การพัฒนาองค์กร ที่ผ่านมามีทั้งการเปลื่ยนแปลงย้ายสังกัด ปรับปรุงและขยายโครงสร้างส่วนราชการภารกิจกรมศิลปากรขยายขอบเขตกว้างขึ้น มาเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติหลายสาขา ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่งานงานด้านโบราณคดี   พิพิธภัณฑ์   สถาปัตยกรรม  ประติมากรรม จิตกรรม ช่างประณีตศิลป์ นาฎศิลป์และดนตรี จดหมายเหตุ หอสมุด วรรณกรรม ประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี

อิลราชคำฉันท์
อิลราชคำฉันท์

ชื่อเรื่อง : อิลราชคำฉันท์
ผู้แต่ง :   บุญเตือน  ศรีวรพจน์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

 อิลราชคำฉันท์ถือเป็นกวีนิพนธ์คำฉันท์  ชั้นครู  ประกอบด้วย  ฉันท์และกาพย์  จำนวน  ๑๗  ชนิด  คือ  กมล  คำฉันท์  ๑๒  ฉบัง  กาพย์  ๑๖   โตฎก  ฉันท์  ๑๒  ภุชงคประยาต  ๑๒  มาณวก
ฉันท์  ๘  มาลินี  ฉันท์  ๑๕  วสันตดิลก  ฉันท์  ๑๔  สัททุลวิกกีฬัต  ฉันท์  ๑๙  สิทธรา  ฉันท์  ๒๑  ลาลินี  ฉันท์  ๑๑  สุรนางคนางค์  ฉันท์  ๒๘  อินทรวิเชียร  ฉันท์  ๑๑  อินทรวงค์  ฉันท์  ๑๒  อีทิงสัง  ฉันท์  ๒๐  อุปชาติ  ฉันท์  ๑๑  อุปฎฐิตา  ฉันท์  ๑๑  และอุเปนทรวิเชียร  ฉันท์  ๑๑

สังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕
สังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕

ชื่อเรื่อง : สังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕
ผู้แต่ง :   กองจดหมายเหตุแห่งชิกรมศิลปาการ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

    หนังสือประมวลภาพถ่ายประวัติศาสตร์ที่มีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕  พระรูปเจ้านาย  ข้าราชการ  ภาพเกี่ยวกับพระราชพิธีและประเพณีของชาวบ้าน  ซึ่งแสดงถึงความเป็นอยู่ของครอบครัวชาวไทย  การแต่งกาย  การศึกษา  ศาสนา  รวมทั้งการสาธารณสุขและสาธารณูปโภค

สมุดภาพปฤษณาธรรม
สมุดภาพปฤษณาธรรม

ชื่อเรื่อง :  สมุดภาพปฤษณาธรรม
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร

หนังสือเล่มนี้แสดงภาพฤษณาธรรมที่บันทึกไว้ในสมุดไทย  ตามภูมิปัญญาของคนไทยโบราณเพื่อสอนให้คนได้รู้ดี  รู้ชั่ว  บาป  บุญ  คุณโทษ  และยังเป็นการเผยแพร่ธรรมทางภาพเขียน

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ

ชื่อเรื่อง :  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ
ผู้แต่ง :   สุนิสา  มั่นคง  และ  สิทธิชัย  พูดดี
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดี  กรมศิลปากร

ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า  ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และสมัยรัตนโกสินทร์  พระราชประวัติ  พระราชกรณียกิจ  และพระปรีชาสามารถด้านกวีของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ที่ตั้งพระราชวังบวรสถานมงคล  และสถานที่สำคัญที่ทรงสร้าง  การขุดแต่ง  ขุดค้นทางด้านโบราณคดีในพระราชวังบวรสถานมงคล  ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

เวียงกุมกาม
เวียงกุมกาม

ชื่อเรื่อง :  เวียงกุมกาม
ผู้แต่ง :   สายันต์  ไพรชาญจิตร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดี  กรมศิลปากร

เวียงกุมกามโบราณสถานแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์ชองเมืองเชียงใหม่  จึงควรศึกษาค้นคว้า  บูรณะซ่อมแซม  แหล่งประวัติศาสตร์แห่งนี้ไว้แล้วประชาสัมพันธ์ถึงความรุ่งเรือง  และความสำคัญในอดีตเพื่อจะได้เป็นวิธีการหนึ่งในการยับยั้งการบุกรุกแหล่งประวัติศาสตร์อันมีค่ามหาศาล

แลหลัง...เมืองตรัง
แลหลัง...เมืองตรัง

ชื่อเรื่อง :  แลหลัง...เมืองตรัง
ผู้แต่ง :   สุนทรี  สังข์อยุทธ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  ตรัง
สำนักพิมพ์  :  หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถตรัง  สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  กรมศิลปากร

เป็นหนังสือสมุดภาพที่ได้รวบรวมภาพถ่ายสำคัญของจังหวัดตรัง  ใช้เป็นคู่มือในการศึกษาค้นคว้า  วิจัย  เอกสารจดหมายเหตุประเภทภาพถ่ายที่สามารถสะท้อนภาพสังคม  วัฒนธรรม  และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ได้อย่างชัดเจน  เป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย  และเป็นสื่อแห่งความรู้  สื่อแห่งความรัก  สื่อแห่งความสุข  นอกจากนี้ยังได้จัดทำบัญชีภาพแนบท้ายเล่มโดยบอกแหล่งที่มาของภาพ

โบราณสถานปราสาททอง
โบราณสถานปราสาททอง

ชื่อเรื่อง :  โบราณสถานปราสาททอง
ผู้แต่ง :   สมเดช  ลีลามโนธรรม
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักศิลปากรที่  ๑๒  นครราชศรีมา

เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐาน  การนับถือศาสนาของคนในชุมชนในวัฒนธรรมเขมรโบราณ  นอกเหนือจากแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา  แหล่งโลหะกรรม  โบราณสถานและแหล่งโบราณคดีเหล่านี้  สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหายทางวัฒนธรรมในอดีต  พื้นที่ดังกล่าว

โบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นโบราณคดี
โบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นโบราณคดี

ชื่อเรื่อง :  โบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นโบราณคดี
ผู้แต่ง :   วสันต์  เทพสุริยานนท์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  นครสวรรค์
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร

บ้านดอนตาเพชรเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนระวัติศาสตร์ตอนลายยุคโลหะ  ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนวัดสาลวนาราม  ตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี  เป็นชุมชนโบราณที่มีความเจริญและพัฒนาการทางสังคม  มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนโบราณภายนอก  โดยเฉพาะอินเดีย  นับเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงชุมชน

แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ
แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ

ชื่อเรื่อง : แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

จัดพิมพ์เพื่อให้ผู้ศึกษาค้นคว้าละผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับภาษาโบราณสามารถใช้ศึกษาเพิ่มเติม  และเป็นการรักษาภาษาโบราณ  และภาษาพื้นเมือง  อันได้แก่  แบบเรียนอักษรธรรมล้านนา  อักษรธรรมอีสาน  อักษรไทยน้อย  อักษรไทยโบราณ  อักษรขอม  อักษรเชรียง (เจรียง)  แบบเรียนภาษามอญ  อักษรสิงหล  อักษรเทวนาครี  อักษรฝักขาม  เป็นต้น

บทละครนอกเรื่องยุขัน
 บทละครนอกเรื่องยุขัน

ชื่อเรื่อง :  บทละครนอกเรื่องยุขัน
ผู้แต่ง :   ธิดาเพ็ญ  เข็มสว่าง
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

บทละครนอกเรื่องนี้เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนบทละครไม่ทราบชื่อผู้แต่งและระยะเวลาที่แต่ง  ได้เค้าโครงเรื่องจากนิทานสุภาษิตเปอร์เชีย  เรื่องสิบสองเหลี่ยม  หรือนิทานอิหร่านราชธรรมซึงปรากฏบนทะเบียนระบุชื่อสมุดไทยว่า  ยุขัน  ผู้เรียบเรียงใช้หนังสือเรื่อง  ยุขัน  พิมพ์  จ.ศ. ๑๒๔๐  เป็นฉบับหลักในการคัดลอกและตรวจสอบชำระเอกสารต้นฉบับสมุดไทย  เรื่อง  ยุขัน  จำนวน ๔๔  เล่ม  ปรับอักขรวิธีบางส่วนให้สอดคล้องกับภาษาเขียนในปัจจุบัน

ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ
ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ

ชื่อเรื่อง :  ทุ่งตึกเมืองท่าการค้าโบราณ
ผู้แต่ง :   บุณยฤทธิ์  ฉายสุวรรณ  และ  เรไร  นัยวัฒน์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักศิลปากรที่  ๑๕  ภูเก็ต กรมศิลปากร

แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก  มีความสำคัญต่อการอธิบายภาพรวมของชุมชนโบราณแถบภาคใต้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก  โดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์  และหลักฐานทางโบราณคดีเห็นชัดว่าทุ่งตึกเป็นหนึ่งท่าการค้าที่อยู่ในเส้นทางขนถ่านสิ้นค้าไปมาระหว่างทะเลอันดามันและอ่าวไทย  โบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้จึงเป็นสินค้าชั้นดี เช่นเครื่องประดับทองคำเครื่องถ้วยจีน  ลูกปัดและหินแก้ว

ไตรภูมิกถา พญาลิไทย
ไตรภูมิกถา  พญาลิไทย

ชื่อเรื่อง :  ไตรภูมิกถา  พญาลิไทย
ผู้แต่ง :   บุญเลิศ  เสนานนท์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

ไตรภูมิกถา  หรือ  ไตรภูมิพระร่วง  เป็นวรรณคดีดีเด่นในสมัยสุโขทัย  เนื่องจากมีสำนวนโวหารดีเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทย  ประกอบกับคติเรื่องไตรภูมิมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ทั้งทางด้านศิลปวัฒนธรรม  วรรณกรรม  จิตรกรรม  ประติมากรรม  คีตกรรม  ตลอดจนประเพณีในราชสำนักและประเพณีพื้นบ้านทั่วไป

ไตรภูมิฉบับภาษาเขมร
ไตรภูมิฉบับภาษาเขมร

ชื่อเรื่อง : ไตรภูมิฉบับภาษาเขมร
ผู้แต่ง :   อำไพ  คำโท  แปล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
    
กล่าวถึงกามภูมิ  รูปภูมิ  และอรูปภูมิ  นอกจากนี้ยังมีแผนที่แสดงที่ตั้งเมืองต่างๆ
ในชมพูทวี  เกาะลังกา  ประเทศไทย  และประเทศอื่นๆภูมิประเทศในป่าหิมพานต์  สระอโนดาต  เขาพระสุเมรุ  ภูเขากำพลนาคราช  และอดีตชาติของพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ตำนานพระพุทธสิหิงค์
ตำนานพระพุทธสิหิงค์

ชื่อเรื่อง :  ตำนานพระพุทธสิหิงค์
ผู้แต่ง :   กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

ตำนานพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ  มีขนาดสูง  ๗๙ ซ.ม. หน้าตักกว้าง  ๖๓ ซ.ม. พระสรีระที่งดงามมาก  ทั้งนี้ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาในการสร้าง  และการอัญเชิญมาประเทศไทยตลอดจนความศักดิ์สิทธิ์  และพุทธานุภาพขององค์พระพุทธสิหิงค์  และยังได้กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติในการคลายความทุกข์เพื่อให้เกิดความสุขทั้งกายและใจ  ต่อหน้างองค์พระพุทธสิหิงค์ไว้ด้วย

เด็กไทยสมัยก่อนเก่ากับเด็กเราสมัยนี้
เด็กไทยสมัยก่อนเก่ากับเด็กเราสมัยนี้

ชื่อเรื่อง : เด็กไทยสมัยก่อนเก่ากับเด็กเราสมัยนี้
ผู้แต่ง :   สมชาย  ณ ครพนม  และ  ภัทรวรรณ  ภาครส  
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร

    เนื้อหาเปรียบเทียบชีวิตของเด็กในช่วงเวลาที่แตกต่างกันในด้านการศึกษา  ประเพณีความเชื่อ  ของเล่นและการละเล่นของเด็ก  รมทั้งการแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย  ทำให้เด็กไทยในปัจจุบันได้เข้าใจถึงพื้นฐานวัฒนธรรมประเพณี  เอกลักษณ์ของความเป็นไทย

ดนตรีในราชพิธี
ดนตรีในราชพิธี

ชื่อเรื่อง :  ดนตรีในราชพิธี
ผู้แต่ง :   บุญตา  เขียนทองกุล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักสังคีต  กรมศิลปากร

    รวบรวมพระราชพิธีต่างๆ  ที่มีดนตรีเข้าไปเกี่ยวเนื่องด้วยประโคประกอบราชพิธี  รัฐพิธี  และพิธีที่จัดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๔๖  และพิธีในวาระพิเศษต่างๆ  ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๐  –  ๒๕๔๘  เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของงานพระราชพิธีกับการประโคมดนตรีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  ซึ่งจะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงสมัย

ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนา
ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนา

ชื่อเรื่อง :  ชื่อเรื่องและชื่อแบบฉบับหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนา
ผู้แต่ง :   สวาท  เหล่าอุด
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร

    รายชื่อของหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนา  ประกอบด้วยชื่อเรื่องละชื่อแบบฉบับ  ซึ่งเป็นหมวดในเนื้อหาพระไตรปิฎกได้  ๑๔ หมวด  การจัดทำเป็นหลักเกณฑ์การจัดหมวด  และการเรียกชื่อหนังสือตัวเขียนทางพระพุทธศาสนา  เพื่อใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานทางบัญชี  บัตรรายการ  และการศึกษาค้นคว้าหนังสือตัวเขียนประเภทหนังสือใบลาน  หรือคัมภีร์ใบลาน

การศึกษารูปแบบปฏิมกรรมจากแหล่งโบราณคดีเนินพระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
การศึกษารูปแบบปฏิมกรรมจากแหล่งโบราณคดีเนินพระ อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อเรื่อง :  การศึกษารูปแบบปฏิมกรรมจากแหล่งโบราณคดีเนินพระ อำเภอสามชุก  จังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้แต่ง :   นิภา  สังคนาคินทร์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี กรมศิลปากร
    โบราณวรรณคดีเนินพระ  มีรูปแบบประติมากรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา  และเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการนำออกมาเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับรู้และตะหนักถึงความสำคัญของโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ

การป้องกันและกำจัดแมลงในพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน และห้องสมุด
การป้องกันและกำจัดแมลงในพิพิธภัณฑ์  โบราณสถาน  และห้องสมุด

ชื่อเรื่อง :  การป้องกันและกำจัดแมลงในพิพิธภัณฑ์  โบราณสถาน  และห้องสมุด
ผู้แต่ง :   จิราภรณ์  อรัณยะนาค
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
    
    คู่มือปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์  โบราณสถาน  และห้องสมุด  มีหลักการป้องกันและกำจัดแมลง  รายละเอียดของแมลงชนิดต่างๆ  แมลงที่เป็นตัวทำลายวัตถุทางวัฒนธรรม  เช่น  ปลวก  แมลงสาบ  มอด  แมลงสามง่าม  ด้วง  วิธีการป้องกันและกำจัดแมลง  ต้องศึกษาว่าเป็นแมลงที่อาศัยในวัตถุหรือนอกวัตถุ  เพื่อจะได้หาวิธีการกำจัดแมลงได้ถูกวิธี  เพราะยาฆ่าแมลงที่ใช้จะมีทั้งประโยชน์และโทษ

การประกาศนโยบายด้านวัฒนธรรมของนครเม็กชิโก องค์การยูเนสโก้
การประกาศนโยบายด้านวัฒนธรรมของนครเม็กชิโก  องค์การยูเนสโก้

ชื่อเรื่อง :  การประกาศนโยบายด้านวัฒนธรรมของนครเม็กชิโก  องค์การยูเนสโก้
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

    องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์  และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)  ได้เคยประกาศเรื่องนโยบายด้านวัฒนธรรมระหว่างชาติ  ณ  นครแม็คชิโก  เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๒๕  แต่เนื้อหาในประกาศนั้นยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย  กรมศิลปากรไดแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย  และจัดพิมพ์เผยแพร่ประกาศนโยบายด้านวัฒนธรรมระหว่างชาติให้ประชาชนคนไทยได้เข้าใจระบบและกระบวนการวัฒนธรรมตามแนวคิดของสังคมโลก  เพื่อการพัฒนาตน  สืบเนื่องไปถึงประเทศชาติโดยส่วนรวมต่อไป

ศิลปะถ้ำสมัยประวัติศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศิลปะถ้ำสมัยประวัติศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศิลปะถ้ำสมัยประวัติศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/อมรา  ศรีสุชาติ.  กรุงเทพ:   กรมศิลปากร, ๒๕๓๕. ๘๖ หน้า ภาพประกอบ.แผนทีประกอบ.
 
เป็นเอกสารวิชาการทางโบราณคดี ได้แก่การนำเสนอศิลปะถ้ำต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชึ่งบอกถึงภูมิ
ที่ตั้ง เส้นทาง ลักษณะทางศิลปกรรม 
 
รายงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม
รายงานนิพนธ์ของนายอาคม  สายาคม
รายงานนิพนธ์ของนายอาคม  สายาคม  /    พิมพ์ครั้งที่ ๒   กรุงเทพ:     กรมศิลปากร,  ๒๕๕๑.  ๔๐๘ หน้า 
ภาพประกอบ,
 
รวมความรู้เกี่ยวกับนาฏดิยางศิลป์ไทยของนาอาคม  สายาคม ผู้เขี่ยวชาญนาฏศิลป์ ผู้สร้างและประดิษฐ์ท่ารำนาฎศิลป์  และการประพันธ์เพลง ความสำคัญของหัวโขน  หนังใหญ่ นาฏศัพท์ ภาพลายเส้น คำร้อง ทำนอง และโน้ตเพลง
พร้อมประวัตินายอาคม สายาคม
 
คู่มือภาษามือ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
คู่มือภาษามือ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
คู่มือภาษามือ ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย   กรุงเทพ:  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร,  ๒๕๕๐ .๒๖๕   หน้า. ภาพประกอบ.
 
รวบรวมคำศัพท์ พื้นฐาน ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย พร้อมคำอธิบาย  จำแนกคำศัพท์ด้านนาฏศิลปะ ดนตรี โบราณคดี พิพิธภัณฑ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม พร้อมทำดรรชนนีคำค้น
 
เงาะป่า
เงาะป่า
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระบาทสมเด็จพระ ๒๓๙๖-๒๔๕๓. เงาะป่า.  กรุงเทพ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐. ภาพประกอบ.
 
เป็นวรรณคดีเป็นศิลปะทางภาษาและเป็นวรรณคดีเอก มีความเป็นเลิศทั้งในทางเชิงกวี นิพนธ์ บทขับรอง บทละคร และความรู้เกี่ยวกับเงาะป่า ชึ่งพระบาทสมเด็จพระปิมหาราช ทรงกวี  จึงนับเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ต้องควรอนุรักษ์ไว้
 
คู่มือการอ่านถ่ายทอดลายสือไทย พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช
คู่มือการอ่านถ่ายทอดลายสือไทย พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช
คู่มือการอ่านถ่ายทอดลายสือไทย พ่อขุนรามคำแห่งมหาราช.   กรุงเทพ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร, ๒๕๕๔ ภาพประกอบ.
 
อักษรไทยโบราณที่พ่อขุนรามคำแห่งทรงประดิษฐขึ้น ดังปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ ชึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติ  และเป็นจุดเริ่มต้นเริ่มต้นของอักษรไทย สืบมาถึงปัจจุบัน
 
คำฉันท์ดุษฏีสังเวย คำฉันท์กล่อมช้าง ครั้งกรุงเก่าและคำฉันท์คชกรรมประยูร
คำฉันท์ดุษฏีสังเวย  คำฉันท์กล่อมช้าง ครั้งกรุงเก่าและคำฉันท์คชกรรมประยูร
คำฉันท์ดุษฏีสังเวย  คำฉันท์กล่อมช้าง ครั้งกรุงเก่าและคำฉันท์คชกรรมประยูร. กรุงเทพ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. กรมศิลปากร,   ๒๕๔๕. ๒๐๐ หน้า ภาพประกอบ.
 
คำฉันท์ดุษฏีสังเวย  เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับระกอบพิธีคชกรรม  และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคกวีที่แต่ง จึงสามารถจะศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้  
 
การอนุรักษ์ประติมากรรม
การอนุรักษ์ประติมากรรม
การอนุรักษ์ประติมากรรม/ สมศักดิ์  แตงพันธ์ ละคนอื่น.   กรุงเทพ:  สำนักโบราณคดี  กรมศิลปากร,  ๒๕๕๑.๒๐๐ หน้า ภาพประกอบ
 
กล่าวถึงการอนุรักษ์บูรณะปฎิสังขรณ์วัด ๔    ได้แก่   การอนุรักษ์ประติมากรรมของวัดพระศรีมหาธาตุ  จังหวัดลพบุรี และวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี การอนุรักษ์พระพุทธรูปขาว วัดพระมหาวรวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัด พระธาตุแซ่แห้ง จังหวัดแพร่
 
เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมคมวรรณคดี
เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมคมวรรณคดี
ชื่อเรื่อง : เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมคมวรรณคดี
ผู้แต่ง :   ธนิต  อยู่โพธ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๑๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  คุรุสภาลาดพร้าว
 
เรื่องอ่านหนังสือวรรณคดีและสมคมวรรณคดีจัดแปลและเรียบเรียงจาก On  Reading  in  Relation  to  Literature  และเรื่อง  Note  Upon   the  Abuse anD  USE  of Lintcrary  Socichcs ของลาฟคาดิโอ  เธอร์นซางบรรยายแก่นิสิตนักศึกษาชาวญี่ปุ่น  ในมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล  กรุงโตเกียว  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒
 
เรื่องพระราชวังสงขลาแหลมทรายรัชการที่ ๔
เรื่องพระราชวังสงขลาแหลมทรายรัชการที่  ๔
ชื่อเรื่อง : เรื่องพระราชวังสงขลาแหลมทรายรัชการที่  ๔
ผู้แต่ง :  บันเทิง  พูนศิลป์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๑๙
สถานที่พิมพ์  : ม.ป.ม.
สำนักพิมพ์  : ม.ป.ท.
 
พระราชวังสงขลาแหลมทรายเป็นพลับเพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่  ๔  ครั้งเสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองสงขลาครังแรก  เมื่อวันที่  ๒๐  สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๔๐๒
 
เรื่องพระราชลัญจกรประจำตัวประจำตำแหน่ง
เรื่องพระราชลัญจกรประจำตัวประจำตำแหน่ง
ชื่อเรื่อง : เรื่องพระราชลัญจกรประจำตัวประจำตำแหน่ง
ผู้แต่ง :  อุมาณราชชน,พระยา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๔๙๓
สถานที่พิมพ์  :  พระนคร
สำนักพิมพ์  :  พระจันทร์
 
แบ่งออกเป็น  ๒  ภาค  สำหรับภาคที่ ๑  เป็นพระราชลัญจกรที่เป็นของเก่า  ประกอบด้วยพระราชลัญจกรมหาโองการ  พระราชลัญกรพระครุฑพาหพระราชลัญกรหงสพิมาน  และพระราชลัญจกรไอราพต  ภาคที่ ๒  ภาคประจำตัวประจำตำแหน่ง  ตราเครื่องหมายประจำกระทรวงต่างๆ ประกอบด้วย  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงกลาโหม  กระทรวงการคลัง  ตราปักษาวายุภักษ์ กระทรวงกรต่างประเทศ  กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงคมนาคม  กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงยุติธรรม  กระทรวงการอุตสาหกรรม  และกระทรวงสาธารณสุข
 
การสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี
การสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี
ชื่อเรื่อง : การสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี   
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  บริษัทพรีสเกล  จำกัด
 
รายงานสรุปสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี   เรื่องราชอาณาจักรไทยในรอบ ๕  ทศวรรษแห่งการครองราชย์  เมื่อ ๗ – ๙  สิงหาคม  ๒๕๓๗  ณ  โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ
 
เพลงดนตรีประวัติศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมะลายู
เพลงดนตรีประวัติศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมะลายู
ชื่อเรื่อง : เพลงดนตรีประวัติศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมะลายู
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๔๘๕
สถานที่พิมพ์  : พระนคร
สำนักพิมพ์  :  ยิ้มศรี
 
เพลงดนตรีประวัติศาสตร์ เรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมลายู  เจ้าหน้าที่กองวรรณคดีและกองดุริยางค์ศิลป์  กรมศิลปากรจัดทำขึ้นสำหรับส่งกระจายเสียงทางวิทยุส่วนที่นำมาจัดพิมพ์เป็นเพียงตอนต้น  เนื้อเรื่องเกี่ยวกับตำนานและประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยมลายู
 
พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์บางเรื่องในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์บางเรื่องในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง : พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์บางเรื่องในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว.
ผู้แต่ง :  อุมาณราชชน,พระยา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๐
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  รุ่งเรืองธรรม
 
พระบวรราชานุสาวรีย์  พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์บางเรื่องในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเรื่องที่คัดมาจากหนังสือต่างๆ  ดังนี้๑.พระบวรราชานุสาวรีย์  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. พระราชประวัติตั้งแต่บวรราชาภิเษกจนเสด็จสวรรคต ๓.พระราชประวัติจากการประชุมศาวดาร  ภาคที่  ๓๑  ๔.พระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕.  บทแวเรื่องนิทานคำสอน  และ๖. ตำราปืนใหญ่
 
พงศาวดารเมืองสงขลา พระยาศรีธรรมาธิเบศ
พงศาวดารเมืองสงขลา พระยาศรีธรรมาธิเบศ

พงศาวดารเมืองสงขลา พระยาศรีธรรมาธิเบศ

พงศาวดารเมืองสงขลา
พงศาวดารเมืองสงขลา
ชื่อเรื่อง : พงศาวดารเมืองสงขลา  
ผู้แต่ง :  วิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา)
ปีที่พิมพ์  :  ๒๔๖๗
สถานที่พิมพ์  : พระนคร
สำนักพิมพ์  :  โสภณพิพรรณธนากร
 
พงศาวดารเมืองสงขลา  ฉบับพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา)  จัดทำขึ้นเรียบเรียงขึ้นตั้งใจจะให้เป็นพงศาวดารตระกูล ณ สงขลา  และมีข้อความที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายแห่งเมื่อเทียบกับพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๑  และจดหมายหลวงอุดมสมบัติ  ในความเห็นของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  แต่เห็นว่าเป็นความพยายามของคนในตระกูล ณ สงขลา  จึงมอบเรื่องเพื่อจัดพิมพ์ในงานพระราชทานพลิงศพ  อำมาตย์เอก พระยาเพชราภิบาลนฤเบศรฯ (พ่วง ณ สงขลา)
 
พงศาวดารเมืองพัทลุง ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๕
พงศาวดารเมืองพัทลุง ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๑๕
ชื่อเรื่อง : พงศาวดารเมืองพัทลุง ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๑๕
ผู้แต่ง :  ศรีวรวัตร (พิณ  จันทโรจน์วงศ์)
ปีที่พิมพ์  :  ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์  : ม.ป.ม.
สำนักพิมพ์  :  ม.ป.ท.
 
พงศาวดารเมืองพัทลุงฉบับหลวงศรีวรวัตร (พิณ  จันทโรจน์วงศ์) แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔  ตอน  ดังนี้  ตอนที่ ๑  สมัยดึกดำบรรพ์  พ.ศ. ๑๔๘๐  ตอนที่  ๒  ครั้งกรุงเก่า  พ.ศ. ๒๐๕๗  ตอนที่  ๓  ครั้งกรุงธนบุรี  พ.ศ. ๒๓๑๑  ตอนที่  ๔  ๕รั้งกรุงรัตนโกสินทร์  พ.ศ. ๒๓๒๕และเรื่องวิธีการป้องกันบ้านเมืองโบราณ
 
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชการที่ ๔ ภาคปกิณณกะ ภาคที่๑
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชการที่  ๔  ภาคปกิณณกะ  ภาคที่๑
ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชการที่  ๔  ภาคปกิณณกะ  ภาคที่๑
ผู้แต่ง :  จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๔๙๓
สถานที่พิมพ์  :  พระนคร
สำนักพิมพ์  :  พระจันทร์
 
ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๔  ภาคปกฺณณกะเป็นหนังสือที่โปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์พระราชทานในงานพระศพ  พระเจ้าวรวงค์เธฮ  พระงองค์เจ้าสร้องสวางค์  มี ๕  เรื่อง  คือ ๑.เรื่องช้างต้นเป็นสมุดไทยดำเส้นดินสอขาว  ๒. เรื่องช้างเผือกกับนางงาม  ๓.เรื่องแผ่นดินเขมร  ๔.  เรื่องแหวนนพเก้า  และ๕  เรื่องนับปีตามสุริยคติกาล
 
ประชุมพงศาวารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๖
ประชุมพงศาวารฉบับกาญจนาภิเษก  เล่ม  ๖
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวารฉบับกาญจนาภิเษก  เล่ม  ๖
ผู้แต่ง :  กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
จัดพิมพ์เป็นที่ละรึกเนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติ  ๕๐  ปี   ประกอบด้วย  เรื่องตำนานเมืองรนอง  พงศาวดารเมืองไชยา  พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช  ครั้งรัชกาลที่  ๒  พงศาวดารเมืองกลาง  พงศาวดารเมืองพัทลุง  พงศาวดารเมืองสงขลา  พงศาวดารเมืองปัตตานี  พงศาวดารเมืองไทรบุรี  พงศาวดารเมืองกลันตัน  และพงศาวดารเมืองตรังนู
 
บุรพภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุรพภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง : บุรพภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้แต่ง :   จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  เลี่ยงเชียง
 
บุรพภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เริ่มตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑  ว่าด้วยเรื่องสันติวงศ์  กัณฑ์ที่  ๒  ว่าด้วยพระประวัติก่อนเสด็จดำรงสิริราชสมบัติ  และกัณฑ์ที่  ๓  ว่าด้วยพระราชประวัติเมื่อเด็จดำรงสิริราชสมบัติ
 
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ ๑๐๗ และ๑๐๘
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสแหลมมลายู  คราว ร.ศ ๑๐๗ และ๑๐๘
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสแหลมมลายู  คราว ร.ศ ๑๐๗ และ๑๐๘
ผู้แต่ง :  สมมตอมรพันธุ์,กรมพระ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๔๖๗
สถานที่พิมพ์  : พระนคร
สำนักพิมพ์  :  โสภณพิพรรณธนากร
 
เมืองที่เสด็จประพาสคราว ร.ศ ๑๐๗ เสด็จจากกรุงเทพฯ  เสด็จประทับแรมเกาะสีชัง  เสด็จเมืองปราณ เมืองชุมพร  เกาะพงัน  เมืองสงขลา  เมืองกลันตัน  เมืองการังกานู  เสด็จกลับเกาะริดังเมืองตานี  เมืองนครศรีธรรมราชและเด็จกลับถึงกรุงเทพเสด็จประพาสคราว ร.ศ. ๑๐๘  เสด็จจากกรุงเทพ  เกาะหลัก  เมืองชุมพร  เมืองสงขลา  เมืองพัทลุง  กลับมาเมืองสงขลา  เมืองหนองจิก  เมืองสาย  เมืองตานี  เมืองเทพา เมืองไชยา  เมืองหลังสวน  เสด็จกลับกรุงเทพฯ  
 
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๙ ร.ศ.๑๑๗ .ร.ศ. ๑๑๙ ร.ศ.๑๒๔ ร.ศ๑๒๘
จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู  คราว ร.ศ. ๑๐๙ ร.ศ.๑๑๗   .ร.ศ. ๑๑๙  ร.ศ.๑๒๔  ร.ศ๑๒๘
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู  คราว ร.ศ. ๑๐๙ ร.ศ.๑๑๗   .ร.ศ. ๑๑๙  ร.ศ.๑๒๔  ร.ศ๑๒๘
ผู้แต่ง :  พงศาวดารเมืองพัทลุง ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๑๕
ปีที่พิมพ์  :  ๒๔๖๗
สถานที่พิมพ์  : พระนคร
สำนักพิมพ์  :  โสภณพิพรรณธนากร
 
ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓) เสด็จเมืองสิงคโปร์ผ่านเมืองชุมพร  เมืองกระบุรี  ฝั่งตะวันตก  และเสด็จกลับทางฝั่งตะวันออก  ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ.๒๔๔๑) เสด็จเมืองตรังกานูผ่านทางฝั่งตะวันออกและเสด็จกลับทางฝั่งตะวันออก  ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) เสด็จเมืองตรังกานูทางฝั่งตะวันออก  เสด็จกลับทางฝั่งตะวันออก ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) เสด็จเมืองหลังสวนผ่านทางฝั่งตะวันออกและเสด็จกลับกรุงเทพ
 
สมคิด โชติกวณิชย์ อธิบดีกรมศิลปากร ประวัติและผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม
สมคิด โชติกวณิชย์ อธิบดีกรมศิลปากร ประวัติและผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม

ชื่อเรื่อง :  สมคิด โชติกวณิชย์ อธิบดีกรมศิลปากร ประวัติและผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม
ผู้แต่ง :     สมคิด โชติกวณิชย์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองโบราณคดี   กรมศิลปากร

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติ  ประวัติการรับราชการ ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม  ผลงานการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร และคำไว้อาลัยของอธิบดีสมคิด  โชติกวณิชย์  ประวัติกรมศิลปากร รวบรวมรวบรวมข่าวการเสียชีวิตจากหนังสือพิมพ์ จำนวน ๑๗ ฉบับ

จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒  จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

ชื่อเรื่อง :  จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒  จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ผู้แต่ง :      จารึกล้านนา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :   กรมศิลปากร

รวบรวมจารึกที่พบในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ๔ จังหวัด ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักร์ล้านนา  เนื้อหาว่าด้วยจารึกอักษรธรรมล้านนา  อักษรฝักขาม และอักษรไทยสุโขทัยที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน พร้อมภาคผนวกเนื้อหาภาษาอังกฤษ เกร็ดข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ในเอกสารโบราณ  ลำดับจารึกที่ปรากฏศักราชและปรากฏศักราช และศัพทานุกรม

สุนทรียศาสตร์ทฤษฏีแห่งวิจิตรศิลปากร,ฉบับที่ ๒
สุนทรียศาสตร์ทฤษฏีแห่งวิจิตรศิลปากร,ฉบับที่ ๒
นิคม  มูสิกะคามะ,  ผู้เรียบเรียง.  สุนทรียศาสตร์ทฤษฏีแห่งวิจิตรศิลปากร,ฉบับที่ ๒  .กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์  พริ้นติ้ง  แอนท์  พับลิชชิ่ง  จำกัด(มหาชน), ๒๕๔๗  ๔๐๘  หน้า. ภาพประกอบ
 
สุนทรียศาสตร์ทฤษฎีแห่งวิจิตรศิลปากร ฉบับที่ ๒ ประกอบด้วย ๔ ตอน ตั้งแต่ตอนที่ ๓ สุนทรียภาพด้านนาฏทุริยยางค์ศิลป์  ตอนที่ ๔    กรอบการวิพากษ์วิจารณ์ศิลปะทั่วไป  ตอนที่ ๕  ทฤษฎีแห่งความตามอุทบคติไทยและตอนที่ ๖  ทำอย่างไรจึงปลูกฝังความงามทางสุนทรียภาพในจิตใจและอารมณ์ของคนไทยได้ หนังสือสุนทรียศาสตร์ทั้ง ๒  ฉบับ  กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  ๖  รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
พิพิธวิทยากร
พิพิธวิทยากร
กรมศิลปากร  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.  พิพิธวิทยากร . รวบรวมบทความวิชาการด้านโบราณคดีประวัติศาสตร์ ศิลปะและพิพิธภัณฑ์วิทยา.  นนทบุรี : บริษัทไทภูมิ  พัชลิชชิ่ง  จำกัด ,  ๒๕๕๗  ๑๕๘  หน้า
 
พิพิธวิทยาการเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นจากการสัมมนาเสนอผลงานทางวิชาการพิพิธภัณฑ์ของสำนักพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  กรมศิลปากรแล้วคัดเลือกบทความเด่นประจำปีนั้นมาจัดพิมพ์  สำหรับปี  ๒๕๕๖  ประกอบด้วย  เรื่อง  พระพุทธรูปประจำพระองค์  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์  โดย ณัฏฐภัทร  จันทวิช  พุทธปรัชญาในพุทธลีลาโดย ดร. อมรา ศรีสุชาติ ความลับใต้ฐานศิวลึงค์ โดย ศุภวรรณ  นงนุชและอื่นๆ อีก  ๔  บทความ                  
 
พระราชหัตเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ .๑๐๗ ๑๒๐ รวม ๔ คราว
พระราชหัตเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ .๑๐๗ ๑๒๐ รวม ๔ คราว
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  พระราชหัตเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ .๑๐๗ ๑๒๐ รวม ๔ คราว. พระนคร: โรงพิมพ์ไท ,  ๒๔๖๘  ๒๒๖  หน้า.
 
พระราชหัตถเลขาฯ เล่มนี้(ฉบับสำเนา) เป็นหนังสือที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าจัดพิมพ์พระราชทานในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ  เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ศิริพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เป็นพระราชนิพนธ์บอกข่าวการเสด็จประพาส ทั้ง ๔ ครั้ง  มายังผู้รักษาพระนคร.
 
ประเพณีรับราชฑูต
ประเพณีรับราชฑูต
กรมศิลปากร กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.  ประเพณีรับราชฑูต.พิมพ์ครั้งที่ ๒ .  กรุงเทพฯ:บริษัทสหธรรมมิก จำกัด,  ๒๕๓๘  ๖๙  หน้า  
 
เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเรื่องความสัมพันธ์ในเชิงการทูตของไทยกับนานาประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์  ธรรมเนียมการรับราชทูตตามระเบียบแบบแผนของราชสำนักไทย  การจัดการต้อนรับการอำนวยความสะดวก  การจัดขบวนแห่และการเสด็จออกรับราชทูตของพระมหากษัตริย์ไทย  หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ  นาย  ไพบูลย์  เมาลานนท์
 
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๗ ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๗ ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน
ชูศรี สาธร , ผู้แปล. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๗ ประวัติศาสตร์ยูนนานและทางไมตรีกับจีน.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาดไทย,  ๒๕๐๔  ๑๓๑ หน้า.
 
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานเขียนของนาย เอมิล โรเชร์  พิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในนิตยสารตุงเปาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ ใช้ชื่อ Histoire des princes du Yun-nan et Leurs relation arec La Chine จัดแปลโดยนาง ชูศรี สาธร  หัวหน้าแผนกแปลกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์การพิมพ์ครั้งนี้ นายถนัด  ทอมันตร์  รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์งานฌาปนิจศพ นายเป๋า  วีรางกูร
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๓ พงศาวดารเมืองสงขลา พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช พงศาวดารเมืองพัทลุง
ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๕๓  พงศาวดารเมืองสงขลา  พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช  พงศาวดารเมืองพัทลุง
ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๕๓  พงศาวดารเมืองสงขลา  พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช  พงศาวดารเมืองพัทลุง .  พระนคร:โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๓  ๑๓๕  หน้า.
 
ประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  ๕๓  ( ฉบับสำเนา ) เล่มนี้ นาง สวิง เสวตะทัตจัดพิมพ์ในงานพรัราชทานเพลิงศพนายพันตำรวจเอก  พระยาอาชญาพิทักษ์ (เกษ  สุนทรรัตน์)  บิดา  ประกอบด้วยพงศาวดาร ๓ เรื่อง  คือ  พงศาวดารเมืองสงขลา  ฉบับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(บุญสังข์) พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชของหลวง อนุสรสิทธิกรรม ( บัว  ณ  นคร )  และพงศาวดารเมืองพัทลุงของหมื่นสนิทภิรมณ์
 
บทเสภาเรื่องพญาราชวังสันกับสามัคคีเสวก
บทเสภาเรื่องพญาราชวังสันกับสามัคคีเสวก
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ.  บทเสภาเรื่องพญาราชวังสันกับสามัคคีเสวก. กรุงเทพ:โรงพิมพ์กรุงเทพ(๑๙๘๔),๒๕๒๙  ๖๘  หน้า
 
บทเสภาเรื่องพญาราชวังสันทรงพระราชนิพนธ์ โดยทรงเอาโครงเรื่องจากเรื่อง “โอเท็ลโล” ของเชคล์เปียร์และพระราชนิพนธ์เป็นบทละครไทย ส่วนเรื่องสามัคคีเสวกพระราชนิพนธ์เพื่อเสด็จพักผ่อนที่พระราชวังสนามจันทร์  หนังสือเล่มนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร โปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ   พระนางเจ้าสุวัทนา  พระวรราชเทวี  ในรัชกาลที่ ๖
 
บทละครเรื่องน้ำใจเด็ดเดี่ยวและปลอมกาย
บทละครเรื่องน้ำใจเด็ดเดี่ยวและปลอมกาย
ทศศิริวงศ์,  พลโท  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้า.  บทละครเรื่องน้ำใจเด็ดเดี่ยวและปลอมกาย. พระนคร:โรงพิมพ์ตีรณสาร,๒๔๙๓  ๒๐๘  หน้า
 
เรื่องน้ำใจเด็ดเดี่ยวเป็นบทละครร้อง ๑๐  องก์ ทรงนิพนธ์เพื่อให้ทหารบก  กองพลทหารบกที่ ๕  แสดงเพื่อหารายได้บำรุงสภากาชาดไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑  ส่วนเรื่องปลอมกายเป็นบทละครพูด  มี  ๔  องค์  ทรงนิพนธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔  หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  พลโท  พระวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
 
ตำรากงเต๊กแลตำรากฐินของพระสงฆ์อานัมนิกาย
ตำรากงเต๊กแลตำรากฐินของพระสงฆ์อานัมนิกาย
พระครูคณานัมสมณาจารย์(บี๊)และหลวงอานัมสังฆการ(หงวน  เหวียงตั๊น).  ตำรากงเต๊กแลตำรากฐินของพระสงฆ์อานัมนิกาย. พระนคร :โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร,  ๒๔๖๘  ๕๘  หน้า.
 
ตำรากงเต๊กและตำรากฐินของพระสงฆ์อานัมนิกายเล่มนี้  หุ้มแพร  พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก  สมิตะสิริ) จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ  ถวายในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบศตมาหะ
 
ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา และ ลิลิตญวนพ่าย
ตำนานพระพุทธชินราช  พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา และ ลิลิตญวนพ่าย
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ.  ตำนานพระพุทธชินราช  พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา และ
ลิลิตญวนพ่าย.  กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์  พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน),๒๕๓๗  ๑๖๕  หน้า 
 
ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดา  เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดพิษณุโลก ส่วนลิลิตยวนพ่าย  เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้นว่าด้วยการศึกสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนาแต่งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประพันธ์เป็นแบบลิลิตประกอบด้วยร่ายดั้น ๒ บทนำ  ตามด้วยโครงดั้น ๓๖๕ บท หนังสือทั้ง ๒ เรื่องนี้จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเจริญ ฐ. วิทยศักดิ์
 
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ
ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หมวดวรรณคดีและหมวดโบราณคดีและประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ.  กรุงเทพ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  ๒๕๔๑ ๒๗๖ หน้า.
 
หนังสือเล่มนี้มี  ๒  เรื่อง เรื่องแรก ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์ ๒ หมวด คือ หมวดวรรณคดีมี ๓ ตอน ว่าด้วยอักษรและศัพท์ นามข้าราชการและนามสถานที่ หมวดโบราณคดีมี ๔ ตอน ว่าด้วยราชประเพณีโบราณ ราชจารีตโบราณ โบราณสถานและราณวัตถุ เรื่องที่ ๒ ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณกะ จัดพิมพ์ ๒ ภาค ภาคแรกมี ๕ เรื่อง คือ ช้าง ช้างเผือก กับนางงาม แผ่นดินเขมรเป็น ๔ ภาค แหวนนพเก้าและเรื่องนับปีตามสุริยกาล ภาคที่ ๒ มี ๑๔ เรื่อง ทั้ง ๒ เรื่อง พิมพ์เป็นอนุสรณ์  งานพระราชทานเพลิงศพ นาย สนั่น สุมิตร  
 
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้
ศรีวรวงศ์(ม.ร.ว จิตร สุทัศน์) ,พระยา.  จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๕๘  ๓๗๙ หน้า  ภาพประกอบ.
 
จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฉบับสำเนาเล่มนี้ เป็นบันทึกการเสด็จพระราชดำเนิน รายวันและจัดส่งลงหนังสือพิมพ์ไทย  ตั้งแต่เริ่มเสด็จพระราชดำเนินวันที่ ๔ มิถุนายน ถึง วันที่ ๕ สิงหาคม  พ.ศ.๒๔๕๘ และ นำทั้งหมดมารวมเป็นเล่ม
 
จดหมายเหตุการณ์แพร่ศาสนาและการเดินทางของบรรดาพระสังฆราชประมุขมิสซัง และของพระสงฆ์ในปกครอง ในปี ค.ศ. ๑๖๗๒- ค.ศ.๑๖๗๕
จดหมายเหตุการณ์แพร่ศาสนาและการเดินทางของบรรดาพระสังฆราชประมุขมิสซัง และของพระสงฆ์ในปกครอง ในปี ค.ศ. ๑๖๗๒- ค.ศ.๑๖๗๕
ปอล  ซาเวียร์, ผู้แปล. จดหมายเหตุการณ์แพร่ศาสนาและการเดินทางของบรรดาพระสังฆราชประมุขมิสซัง และของพระสงฆ์ในปกครอง ในปี ค.ศ. ๑๖๗๒- ค.ศ.๑๖๗๕.
 
เป็นหนังสือที่แปลจากหนังสือภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ Relation et des voyages des Evesques Vicaires Apostoliques, et de leurs Ecclesiastiques  es  annees 1672  1673  1674 et,1675 พิมพ์ที่ปารีส  ค.ศ.๑๖๘๐ โดยตัดตอนแปลเฉพาะตอนที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย.
 
การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองสงขลา
การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองสงขลา
สกรรจ์  จันทรรัตน์และสงบ  ส่งเมือง.  การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองสงขลาเก่า.  กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สัมพันธ์พาณิชย์, ๒๕๓๔  ๕๙  หน้า . ภาพประกอบ
 
หนังสือรายงานการวิจัยเรื่องการเริ่มต้นและการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองสงขลาเก่าโดยหน่วยศิลปากรที่ ๙  สงขลา  เนื้อหารวม ๔  บท  ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาในระยะแรก  เมืองสงขลาเก่า(หัวเขาแดง)  เมืองสงขลาฝั่งแหลมสนและตำบลบ่อยางและบทสรุปผลการวิจัย
 
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 3 (พ.ศ.2540 - 2554)
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 3 (พ.ศ.2540 - 2554)
ชื่อเรื่อง : เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 3 (พ.ศ.2540 - 2554)
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2555
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 3 (พ.ศ.2540 - 2554) เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ พร้อมทั้งสาระสังเขปและแสดงภาพหนังสือที่หน่วยงานในกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ.2540 – 2554 ซึ่งการพิมพ์หนังสือดังกล่าวนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี การสถาปนากรมศิลปากร  
 
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 2 (พ.ศ.2489 - 2539)
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 2 (พ.ศ.2489 - 2539)
ชื่อเรื่อง : เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 2 (พ.ศ.2489 - 2539)
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2555
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 2 (พ.ศ.2489 - 2539) เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ พร้อมทั้งสาระสังเขปและแสดงภาพหนังสือที่หน่วยงานในกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ.2489 – 2539  ซึ่งการพิมพ์หนังสือดังกล่าวนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี การสถาปนากรมศิลปากร  
 
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 1 (พ.ศ.2454 - 2488)
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 1 (พ.ศ.2454 - 2488)
ชื่อเรื่อง : เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 1 (พ.ศ.2454 - 2488)
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2555
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
เรียงร้อยบรรณสารศิลปากรในรอบศตวรรษ เล่ม 1 (พ.ศ.2454 - 2488) เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ พร้อมทั้งสาระสังเขปและแสดงภาพหนังสือที่หน่วยงานในกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2454 – 2488 ซึ่งการพิมพ์หนังสือดังกล่าวนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี การสถาปนากรมศิลปากร  
 
ระบบชลประทานเมืองสุโขทัย
ระบบชลประทานเมืองสุโขทัย
ชื่อเรื่อง : ระบบชลประทานเมืองสุโขทัย
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
พิมพ์ครั้งที่ : 2
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
เนื่องจากระบบชลประทานเมืองสุโขทัย เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความรุ่งเรือง ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเอกลักษณ์ในเชิงวิทยาการชั้นสูงเพื่อการกักเก็บน้ำ กรมศิลปากรได้จัดทำเอกสารเผยแพร่แก่ผู้สนใจทางด้านชลประทานเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานทางวิชาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของประวัติศาสตร์โบราณคดีสุโขทัย
 
พระราชบับัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2539 พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบับัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2539 พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ชื่อเรื่อง : พระราชบับัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2539 พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
พิมพ์ครั้งที่ : 11
ปีที่พิมพ์ : 2549
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
พระราชบับัญญัติฉบับนี้ มีทั้งหมด 5 หมวด ประกอบด้วย หมวดโบราณสถาน หมวดโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ หมวดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หมวดกองทุนโบราณคดี หมวดทวิ การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต หมวดบทกำหนดโทษ สาระสำคัญของพระราชบับัญญัติและโทษของการฝ่าฝืน กฎกระทรวง ประกาศของคณะปฏิวัติ ประกาศและคำสั่งกระทรวง ประกาศ ระเบียบ คำสั่งกรมศิลปากร และคำสั่งของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องพร้อมภาคภาษาอังกฤษประกอบ
 
โบราณวัตถุชิ้นเด่น ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
โบราณวัตถุชิ้นเด่น ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
ชื่อเรื่อง : โบราณวัตถุชิ้นเด่น ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
ผู้เรียบเรียง : เบญจพร สาวพรม
ปีที่พิมพ์ : 2556
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา มีการจัดแสดงโบราณวัตถุที่มีความโดดเด่นด้าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะ และได้คัดเลือกโบราณวัตถุชิ้นเด่นจำนวน 12 รายการ เพื่อจัดทำเป็นเอกสารประกอบการจัดแสดง เป็นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้าชม  
 
คู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classics
คู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classics
ชื่อเรื่อง : คู่มือช่วยค้นคว้า : บรรณานุกรมเพลงสากล Classics
ผู้เรียบเรียง : พูลผล อรุณรักถาวร
ปีที่พิมพ์ : 2552
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
 
รวบรวมรายชื่อเพลงสากล Classics ของนักประพันธ์เพลง 25 คน จัดเรียงตามอักษร B – D รวมซีดี188 แผ่น ภายใต้รายการบรรณานุกรม ประกอบด้วย ชื่อแผ่น ประเภทเพลง ผู้ประพันธ์ ชื่อเพลง ผู้เล่น ผู้อำนวยเพลง / วง วัน เดือน ปี สถานที่ บริษัทผู้ผลิต หลายเลขห้องสมุด จำนวนแผ่น 
 
สุธนูกลอนสวด
สุธนูกลอนสวด
กรมศิลปากร. สุธนูกลอนสวด.    กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  ๒๕๔๗  ๑๗๑ หน้า.ภาพประกอบ.
 
สุธนูกลอนสด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นเมื่อใด และใครเป็นคนแต่ง เรื่องนี้มีคุณค่าต่อการศึกษา
ด้านอักษรศาสตร์  และวัฒนธรรมประเพณีไทยโบราณ  สะท้อนถึงความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิต  และความเป็นไปของสังคมไทยยุคสมัยในเรื่องนั้นๆ ข้อมูลต่างๆ ที่สอดแทรกอยู่ในวรรณกรรมเล่มนี้ จึงมีประโยชน์อยากยิ่งต่อการศึกษาเรื่องราวในอดีต      
 
รอยอดีตสกลนคร
รอยอดีตสกลนคร
รอยอดีตสกลนคร. อรุณศักดิ์  กิ่งมณี และคนอื่นๆ. กรุงเทพ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และกรมศิลปากร, ๒๕๔๐.  ๑๘๔ หน้า  ภาพประกอบ.
 
รวบรวมและเผยแพร่แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่จังหวัดสกลนคร ผลการขุดค้นและศึกษาทางโบราณคดีวัดชัยมงคล ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีบ้านดอยธงชัย ปราสาทหินและศิลปะขอมเมืองสกลนคร และแห่งเตาลุ่มน้ำสงครามกับความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในแอ่งสกลนคร
 
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรมศิลปากร. พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร                   ๒๕๕๕.  ๕๘๘  หน้า . ภาพประกอบ.
 
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้กล่าวถึงต้นรัชสมัยการปฏิรูปการปกครอง การตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน การเลิกทาส การจัดระบบการเงินและการคลังของประเทศพร้อมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคข้อเท็จจริงที่ปรากฎในพระราชหัตถเลขา ซึ่งได้นาจัดทำคำอธิบายให้มีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
 
พระรถคำฉันท์
พระรถคำฉันท์
พระรถคำฉันท์.  กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. กรมศิลปากร, ๒๕๔๘.  ๑๑๗  หน้า  ภาพประกอบ.
 
พระรถคำฉันท์สันนิษฐานว่าหน้าจะแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีสำนวนโวหารไพเราะ ต้นฉบับเป็นเอกสารสมุทัยเก็บรักษาที่หอสมุดแห่งชาติ เป็นนิทานพื้นบ้านที่ชาวไทยรู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สืบเนื่องมาจากปัจจุบันกวีไทยนำมาสร้างสรรค์เป็นวรรณกรรมร้อยกรองหลายรูปแบบ สำนวนที่พิมพ์ในหนังสือนี้เริ่มเนื้อความตั้งแต่นางเมรี บรรทมตื่นไม่พบพระรถเสน ก็ออกติดตามและดำเนินเรื่องไปจนจบ
 
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคิรี
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคิรี
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคิรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๔๒. ๑๘๔ หน้า. ภาพประกอบ.
 
กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของพระนครคิรีตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง เพื่อเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันพระนครคิรีได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อการศึกษาหาความรู้ การท่องเที่ยว และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีภาคภาษาอังกฤษ
 
ประวัติศาสตร์โบราณคดี-กัมพูชา
ประวัติศาสตร์โบราณคดี-กัมพูชา
นิคม  มุสิกะคามะ.ประวัติศาสตร์โบราณคดี-กัมพูชา.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๖.    ๔๓๐ หน้า. ภาพประกอบ.
 
ข้อมูลจากเอกสารจารึก ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของกัมพูชา  แต่ละยุดแต่ละสมัย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดีย ในอดีต ประวัติศาสตร์ โบราณคดีกัมพูชา  ลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งในอินโดจีน ระหว่างไทย กัมพูชา ญวนจากพงศาวดาร การสร้างบ้านแปลงเมือง เทคนิคการการสร้างประสาทขอม
และบัญชี โบราณสถานขอมที่ขึ้นบัญชีมรดกโลก
 
โน้ตเพลง เล่ม 1 พร้อมคำอธิบาย
โน้ตเพลง เล่ม 1 พร้อมคำอธิบาย
มนตรี  ตราโมท. โน้ตเพลง เล่ม 1 พร้อมคำอธิบาย.    กรุงเทพ , กรมศิลปากร  ๒๕๓๙  ๒๕๒ หน้า .  ภาพประกอบ .
 
อธิบายถึงลักษณะเพลงไทย  หน้าประทับประจำเพลง  โน้ตเพลงไทย  พร้อมอธิบายความเป็นมา ลักษณะการบรรเลง เนื้อร้อง รวมทั้งบทนิพนธ์ และบทเพลงเก่าที่บรมครูได้แต่งไว้
 
จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดสุพรรณบุรี
จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดสุพรรณบุรี
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี และสำเนา วาดทองคำ.จิตรกรรมฝาผนัง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,๒๕๔๘.  ๑๒๐ หน้า. ภาพประกอบ.
 
จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น จิตรกรรมฝาผนังวัดหน่อพุทธางกูร จิตรกรรมฝาผนังวัดประยูรสาร จิตรกรรมฝาผนังวัดจรรย์ จิตรกรรมฝาผนังวัดเดิมบาง จิตรกรรมฝาผนังแต่ละแห่งกล่าวถึงภูมิหลังประวัติความเป็นมาของวัด และบันทึกเรื่องราวและภาพถ่ายของจิตรกรรมฝาผนังทางศาสนาเป็นสำคัญ
 
เครื่องประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
เครื่องประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
เครื่องประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๕๕. ๔๐๐ หน้า. ภาพประกอบ.
 
จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพระคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี เพื่อเป็นหนังสือที่ระลึก มีพระประวัติ พระกรณียากิจ และพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เพื่อจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเผยแพร่แก่สาธารณชน
 
สรุปผลการสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง และการอนุรักษ์พระพุทธรูป
สรุปผลการสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง และการอนุรักษ์พระพุทธรูป
สรุปผลการสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง และการอนุรักษ์พระพุทธรูป. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๓๓. ๑๙๘ หน้า. ภาพประกอบ.
 
สรุปผลการสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง และการอนุรักษ์พระพุทธรูป หลักการบูรณะโบราณสถาน กฎบัตรสากลแห่งเมืองเวนิช ว่าด้วยการสงวนรักษาและการบูรณะอนุสรณ์สถานและแหล่งที่ตั้ง พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ และระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถานแห่งชาติ การอนุญาตในส่งออก หรือนำเข้าโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุออกนอกราชอาณาจักร
 
การปฏิวัติปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา
การปฏิวัติปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา
กรมศิลปากร. การปฏิวัติปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร (๒๕๔๘)  ,  ๑๐๓  หน้า .ภาพประกอบ.
 
เอกสารทั้งสองเรื่องดั้งกล่าวนี้แปลและเรียบเรียงโดยแม้นมาส  ชวลิต เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ชาวฝรั่งเศษได้เข้ามีบทบาทอย่างมากโดยเน้นรายละเอียดที่สมเด็จเด็จเพทราชาได้เข้ายึดอำนาจและเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อมา
 
องค์ความรู้การประพันธ์โคลง
องค์ความรู้การประพันธ์โคลง
กรมศิลปากร.  องค์ความรู้การประพันธ์โคลง.  กรุงเทพฯ : กรม, ๑๕๕๓.  ๑๗๙ หน้า.
 
หนังสือเรื่อง องค์ความรู้การประพันธ์โคลง เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพื้นฐานการประพันธ์ร้อยกรองไทย ประเภทโคลง เพื่อรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับร้อยกรองไทย ประเภทโคลง โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ภาคคือ ภาคที่ ๑ ตำราการแต่งโคลงในอดีต เป็นการรวบรวมตำราสำคัญที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าเรื่องการแต่งโคลงตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ ๒ องค์ความรู้การแต่งโคลง ๔ สุภาพ กล่าวถึงความเป็นมาและพัฒนาการของโคลงและองค์ความรู้การแต่งโคลง ๔ สุภาพ  เพื่ออธิบายกลวิธีในการแต่งโคลง ๔ สุภาพโดยละเอียด สามารถใช้เป็นคู่มือในการแต่งโคลงให้แก่ผู้สนใจได้เป็นอย่างดี พร้อมกับภาคผนวก
 
ฐานข้อมูลโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเก่า
ฐานข้อมูลโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเก่า
สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี.  ฐานข้อมูลโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเก่า.  กรุงเทพฯ : สำนัก, ๒๕๕๒.  ๑๓๙ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
เป็นหนังสือที่ประมวลความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมบ้านเก่าจากเอกสารต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์และยังเป็นฐานข้อมูลสำคัญเพื่อพัฒนาต่อยอดการศึกษาเชิงลึกของนักวิชาการ  โดยเนื้อหาประกอบด้วย คำนำ  วัฒนธรรมบ้านเก่า : อดีตถึงปัจจุบัน  การศึกษาและงานสำรวจแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเก่า ส่วนท้ายเล่มมีบรรณานุกรมพร้อมกับรูปภาพที่สวยงามอีกด้วย
 
ราชสดุดีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ราชสดุดีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
กรมศิลปากร.  ราชสดุดีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.  กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและ
ประวัติศาสตร์, ๒๕๓๙.  ๒๘๐ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
ราชสดุดีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ เมรุมาศ ท้องสนามหลวง ในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๙  นับว่าเป็นงานวรรณกรรมอันเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดิน  เนื้อหาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติ การร้อยกรองเป็นแบบแผนฉันทลักษณ์  สืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ไทยสมบูรณ์ด้วยสุนทรียรส ซึ่งจะมีส่วนปลูกฝังและเสริมสร้างภูมิปัญญาด้านกวีนิพนธ์ให้แก่ประชาชนและเยาวชนได้เป็นอย่างดี  ทั้งยังแสดงถึงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาวไทยที่มีกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ  หนังสือราชสดุดีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีคือ พระราชานุสาวรีย์  ที่คนไทยบรรจงสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้ปรากฏยั่งยืนอยู่คู่ชาติไทย
 
โบราณคดีและประวัติศาสตร์สุโขทัย ความรู้เรื่องสุโขทัยใน ๔ทศวรรษ
โบราณคดีและประวัติศาสตร์สุโขทัย ความรู้เรื่องสุโขทัยใน ๔ทศวรรษ
สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย.  โบราณคดีและประวัติศาสตร์สุโขทัย ความรู้เรื่องสุโขทัยใน ๔ทศวรรษ.  กรุงเทพฯ : สำนัก, ๒๕๔๗.  ๑๗๒ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
เนื้อหาประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ ส่วนที่ ๑ บทบรรยายในการประชุมสัมมนา ได้แก่ คำกล่าวรายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง โบราณคดีและประวัติศาสตร์สุโขทัย ความรู้เรื่องสุโขทัยใน ๕ ทศวรรษ  ปาฐกถาพิเศษเรื่อง โบราณคดีและประวัติศาสตร์สุโขทัย : ผลการศึกษาในอดีตและปัจจุบัน ฯลฯ ส่วนที่ ๒ บทความประกอบการประชุมสัมมนา ได้แก่ คำบาลีสันสกฤตในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ ๑) พ.ศ. ๑๘๓๕  ร่องรอยภาษาเขมรโบราณในจารึกสุโขทัย ฯลฯ พร้อมภาพประกอบ
 
โบราณคดีเมืองอู่ทอง
โบราณคดีเมืองอู่ทอง
อาวุธ  เงินชูกลิ่น.  โบราณคดีเมืองอู่ทอง.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๕.๑๖๒ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
โบราณคดีเมืองอู่ทอง กล่าวถึงประวัติการดำเนินงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง อู่ทอง : พัฒนาการก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๒  พัฒนาการของเมืองอู่ทองหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พัฒนาการของเมืองอู่ทองหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญของเมืองอู่ทอง พร้อมกับภาคผนวกและบรรณานุกรม
 
ตำราแบบทำเนียบในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับพระวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตำราแบบทำเนียบในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับพระวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตำราแบบทำเนียบในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยากับพระวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ ๓.  กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ๒๕๓๙.  ๗๗ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
นับเป็นหนังสือหายากที่ทรงคุณค่ายิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากตีพิมพ์ไม่กี่ครั้ง เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ด้านขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีไทยครั้งสมัยโบราณ เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ตอนคือ ตอนต้นและตอนที่ ๒ ตอนต้นว่าด้วยเรื่องตำรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินครั้งกรุงศรีอยุธยาและกระบวนเสด็จในพระพุทธบาท ตอนที่ ๒ ว่าด้วยเรื่อง ตำราหน้าที่มหาดเล็ก ตำราหน้าที่ชาวที่ ตำราหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น
และพระวิจารณ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
 
๙๐ ปี กรมศิลปากร
๙๐ ปี กรมศิลปากร
กรมศิลปากร.  ๙๐ ปี กรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม., ๒๕๔๔.  ๑๔๓ หน้า.
 
๙๐ ปี กรมศิลปากร เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวาระครบ ๙๐ ปี การสถาปนากรมศิลปากร เพื่อเป็นหลักฐาน ประวัติการอนุรักษ์ พัฒนา และสืบทอดงานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติตามภารกิจหน้าที่ของกรมศิลปากร  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  โดยเนื้อหาในเล่มประกอบด้วย เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวกรมศิลปากร ย้อนพินิจภารกิจของกรมศิลปากร พัฒนาการและงานสำคัญของกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ
 
เอกสารเฮนรี่ เบอร์นีย์ เล่ม ๑๕(การหวนระลึกถึงนโยบายของอังกฤษ จากช่วงแรกสถาปนาปีนัง วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๗๘๖ – ๑๘๓๙)
เอกสารเฮนรี่ เบอร์นีย์ เล่ม ๑๕(การหวนระลึกถึงนโยบายของอังกฤษ  จากช่วงแรกสถาปนาปีนัง วันที่  ๑๗     กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๗๘๖ – ๑๘๓๙)
ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี่ เบอร์นีย์ เล่ม ๑๕(การหวนระลึกถึงนโยบายของอังกฤษ  จากช่วงแรกสถาปนาปีนัง วันที่  ๑๗    
กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๗๘๖ – ๑๘๓๙)
ผู้แต่ง :   วันชัย  พรประสิทธิ์  แปล 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักวรรณกรรมและประวัฒิศาสตร์  กรมศิลปากร
 
เป็นหนังสือที่แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ  เล่มที่ ๕  ภาคที่ ๑  ซึ่งถือเป็นเล่มสุดท้ายของหนังสือชุดนี้   เป็นบทวิเคราะห์ย้อนหลังสัมพันธภาพไทย – อังกฤษ 
 
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี  เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อเรื่อง : หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี  เฉลิมพระเกียรติ
ผู้แต่ง :   สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี  เฉลิมพระเกียรติ  ข้อมูลประกอบด้วยประวัติความเป็นมา  งบประมาณ  วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง  รวมทั้งโบราณคดี  และประวัติศาสตร์ของเมืองสุพรรณบุรี
 
โสวัตกลอนสวด
โสวัตกลอนสวด
ชื่อเรื่อง : โสวัตกลอนสวด
ผู้แต่ง :   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
เป็นวรรณกรรมร้อยกรองที่มีคุณค่าต่อการศึกษาด้านอักษรศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีไทยโบราณ  เรื่อนี้เป็นนิทานไทยโบราณเป็นที่รูจักในสังคมไทยสมัยอยุธยาสืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
วิธีอนุรักษ์ พระบฎ กระดาษ หนังสือสมุดไทย หนังสือใบลาน และแผนที่
วิธีอนุรักษ์  พระบฎ กระดาษ หนังสือสมุดไทย หนังสือใบลาน และแผนที่
ชื่อเรื่อง : วิธีอนุรักษ์  พระบฎ กระดาษ หนังสือสมุดไทย หนังสือใบลาน และแผนที่
ผู้แต่ง :   นิยะดา ทาสุคนธ์  และ ก่องแก้ว  วีระประจักษ์ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
เป็นหนังสือที่รวบรวมวิธีการซ่อมหนังสือ พระบฎ กระดาษ วิธีอนุรักษ์หนังสือสมุดไทย วิธีอนุรักษ์เอกสาร วิธีอนุรักษ์หนังสือใบลาน และวิธีอนุรักษ์แผนที่  รวมถึงขั้นตอนการรักษาและการซ่อมต่างไว้
 
วิถีแห่งสุวรรณลิงค์ จากทิพยมายาสู่โลกปรากฏการณ์
วิถีแห่งสุวรรณลิงค์ จากทิพยมายาสู่โลกปรากฏการณ์
ชื่อเรื่อง : วิถีแห่งสุวรรณลิงค์ จากทิพยมายาสู่โลกปรากฏการณ์
ผู้แต่ง :   อมรา  ศรีสุชาติ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
 
บอกเล่าความเป็นมาของศิวลึงค์ทองคำจากถ่ำเขาพลีเมือง  ทั้งนี้ยังได้อธิบายบ่อเกิด  คตินิยมการสร้างและการบูชาศิวลึงค์ในประเทศอินเดีย  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รวมทั้งประเทศไทยและยังวิเคราะห์ให้ประจักษ์ถึงความหมายและความสำคัญของการสร้างและบูชาศิวลึงค์ทองคำในอดีตด้วย
 
เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองกรุงสุโขทัยและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์
เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองกรุงสุโขทัยและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่อง : เมืองราดของพ่อขุนผาเมืองกรุงสุโขทัยและรอยเชื่อมในประวัติศาสตร์ 
ผู้แต่ง :   พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด
 
เป็นบทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ในประเด็นที่ไม่ค่อยมีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นไปอย่างมีระเบียบและวิธีการชี้ให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของหลักฐานในการที่จะตั้งเป็นข้อสมมติฐานเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งเมืองราด
 
พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีสำคัญในราชกาลปัจจุบัน
พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีสำคัญในราชกาลปัจจุบัน
ชื่อเรื่อง : พัดรองที่ระลึกงานพระราชพิธีสำคัญในราชกาลปัจจุบัน
ผู้แต่ง :   จินตนา  กระบวนแสง 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
 
ประวัติความเป็นมาการจัดทำพัดรองที่จัดทำขึ้นในงานพระราชพิธีสำคัญในรัชกาลปัจจุบัน  วาระที่จัดสร้างพัด  ความหมายและลักษณะของพัด
 
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ผู้แต่ง :   เพลินพิศ  กำราญ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  จงเจริญการพิมพ์
 
เป็นเรื่องราวการบันทึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  และราชประเพณี  สำหรับการศึกษาค้นคว้าสืบไป
 
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
พระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
ชื่อเรื่อง : พระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผู้แต่ง :   สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
 
พระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕  เป็นกฎหมายสำคัญที่กรมศิลปากรในการอนุรักษ์  ปกป้องคุ้มครอง และรักษาโบราณสถาน จึงสมควรที่จะเผยแพร่แก่ประชาชนชาวไทยให้ได้รับความรู้
 
พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
พระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
ชื่อเรื่อง : พระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผู้แต่ง :   สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
 
พระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ  และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕  เป็นกฎหมายสำคัญที่กรมศิลปากรในการอนุรักษ์  ปกป้องคุ้มครอง และรักษาโบราณสถาน จึงสมควรที่จะเผยแพร่แก่ประชาชนชาวไทยให้ได้รับความรู้
 
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๑๙ จังหวัดตราด
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๑๙ จังหวัดตราด
ชื่อเรื่อง : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๑๙ จังหวัดตราด
ผู้แต่ง :   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
เนื้อหาวัดโยธานิมิตพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิดสามัญ  ตั้งอยู่  ณ  ตำบลวังกระแจะ  อำเภอเมืองตราด  จังหวัดตราด  ซึ่งเป็นวัดที่กรมศิลปากรได้นำผ้ากฐินพระราชทานทอดถวาย  และมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมายาวนาน เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว  รวมทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
 
บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม
บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม
ชื่อเรื่อง : บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม
ผู้แต่ง :   เพียงฤทัย  วาสบุญมา แปล 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
 
เป็นบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา  ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม  ประเพณี  วิถีความเป็นอยู่   อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่  เหตุการณ์ด้านการเมืองการปกครองตลอดจนความมั่งคั่งของราชอาณาจักรสยามและกรุงศรีอยุธยา
 
บรรณนิทัศน์หนังสือบุดหอสมุดแห่งชาติภาคใต้ (สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง)
บรรณนิทัศน์หนังสือบุดหอสมุดแห่งชาติภาคใต้ (สงขลา  นครศรีธรรมราช  ตรัง)
ชื่อเรื่อง : บรรณนิทัศน์หนังสือบุดหอสมุดแห่งชาติภาคใต้ (สงขลา  นครศรีธรรมราช  ตรัง)
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  สงขลา
สำนักพิมพ์  :  หาดใหญ่พริ้นติ้ง
 
บรรณนิทัศน์หนังสือบุดหอสมุดแห่งชาติภาคใต้ (สงขลา  นครศรีธรรมราช  ตรัง)  เป็นผลการศึกษาค้นคว้ารวบรวม  เอกสารโบราณประเภทหนังสือบุด  ที่มีให้บริการอยู่ในหน่วยงานหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง  หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเอกสารโบราณ
 
แนวพระราชดำหริในการเสด็จประพาสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แนวพระราชดำหริในการเสด็จประพาสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง : แนวพระราชดำหริในการเสด็จประพาสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้แต่ง :   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชนิยมในการเสด็จประพาสตามสถานที่โอกาสต่างๆ  ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งมีผลต่อการดำเนินพระบรมวิเทโศบายด้านการปกครองและการเมืองระหว่างประเทศ
 
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง : นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ผู้แต่ง :   สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
 
เป็นคู่มือการนำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  ทั้งทางประวัติศาสตร์ วัดที่อยู่เขตต่างๆ ในอุทยานประวัติศาสตร์ 
 
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง : นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง :   ณัฏฐภัทร  จันทวิช
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
 
จัดทำขึ้นเพื่อนำชมนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช  รวมทั้งห้องจัดชมนิทรรศการ ต่างๆเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนได้
 
นกกระจาบกลอนสวด
นกกระจาบกลอนสวด
ชื่อเรื่อง : นกกระจาบกลอนสวด
ผู้แต่ง :   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
 
แต่งขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ต้นฉบับเป็นเอกสารสมุดไทยซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเป็นนิทานไทยโบราณมีเค้าเรื่องปรากฏใน “สรรพสิทธิชาดก” ที่เคยรู้จักแพร่หลายในสังคมไทย  มีคุณค่าต่อการศึกษาด้านอักษรศาสตร์  คติชนวิทยา  และขนบธรรมเนียมประเพณี
 
ตำนานวังหน้า
ตำนานวังหน้า
ชื่อเรื่อง : ตำนานวังหน้า
ผู้แต่ง :   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  แสงดาว
 
ตำนานวังหน้ากล่าวถึงวังที่ประทับสร้างโดยมหาอุปราชและใช้เป็นวังที่ประทับสืบต่อกันมา ซึ่งในบางรัชสมัยนั้นแม้ว่าจะได้ทรงขึ้นครองราชย์พระมหากษัตริย์แล้วยังคงเสด็จประทับที่วังหน้าอันเป็นพระราชวังที่ประทับเดิมของพระองค์ 
 
ตำนานวังเก่า
ตำนานวังเก่า
ชื่อเรื่อง : ตำนานวังเก่า
ผู้แต่ง :   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  แสงดาว
 
เรียบเรียงมาจากประชุมพงศาวดาร  ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๕  ของกรมศิลปากร เนื้อหามีการบรรยายถึงพระราชวังต่างๆ อย่างละเอียด โดยเนื้อหาครอบคลุมทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมาสถานที่ตั้งเจ้านายทุกองค์ที่ได้ประทับวังนั้นๆ
 
ช่างสิบหมู่
ช่างสิบหมู่
ชื่อเรื่อง : ช่างสิบหมู่
ผู้แต่ง :   บุหลง  ศรีกนก  และภูธิปนิธิศร์  คงโภคานันทน์ 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร
 
เป็นหนังสือประมวนความรู้ในเชิงประวัติและพัฒนาการของกรมช่าง  ที่มาของกรมช่างสิบหมู่  การไหว้ครูช่างรายละเอียดและการจำแนกประเภทของงานช่างตามลักษณะความชำนิชำนาญ  และขั้นตอนการทำงานของช่างสิบหมู่
จดหมายเหตุรายวันจดรายงานราชการของข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ร.ศ. ๑๒๑
จดหมายเหตุรายวันจดรายงานราชการของข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ร.ศ. ๑๒๑
ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุรายวันจดรายงานราชการของข้าหลวง เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ร.ศ. ๑๒๑
ผู้แต่ง :   ธีราธร ชมเชย 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  ตรัง
สำนักพิมพ์  :  เอสพริ้นท์ (2004) 
 
หนังสือเล่มนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นแนวคิดและผลการปฏิบัติงาน  การพัฒนาบ้านเมือง  และชีวิตผู้คนในช่วง ร.ศ.๑๒๑ ( พ.ศ. ๒๔๔๕) ของมณฑลภูเก็ตได้เป็นอย่างดี
 
คำภีร์ใบลานหลวงสมัยรัตนโกสินทร์
คำภีร์ใบลานหลวงสมัยรัตนโกสินทร์
ชื่อเรื่อง : คำภีร์ใบลานหลวงสมัยรัตนโกสินทร์
ผู้แต่ง :   ก่องแก้ว  วีระประจักษ์  และอุนนาทรวรางกรู
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
 
จัดพิมพ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหนังสือใบลาน  กรรมวิธีจารใบลาน  เรื่องที่จารในหนังสือใบลาน  อักษรที่ใช้จาร  การสร้างคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น
 
กุมารคำฉันท์
กุมารคำฉันท์
ชื่อเรื่อง : กุมารคำฉันท์
ผู้แต่ง :   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้ามณฑา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระเจ้าอุบล 
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
 
เป็นเรื่องราวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร  พระเวสสันดรบำเพ็ญเพียรบริจาคบุตรเป็นมหากุฎทาน  ทรงพระนิพนธ์เป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์  จัดพิมพ์เพื่อฟื้นฟูภาษาและวรรณกรรมของชาติ
กระบวนพยุหยาตร : ประวัติและพระราชพิธี
กระบวนพยุหยาตร : ประวัติและพระราชพิธี
ชื่อเรื่อง : กระบวนพยุหยาตร : ประวัติและพระราชพิธี
ผู้แต่ง :   ก่องแก้ว  วีระประจักษ์  และนิยะดา  ทาสุคนธ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
 
กล่าวถึงประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดกระบวนพระยุหยาตราของพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ  ในตอนแรกเริ่มใช้กับงานพระราชสงครามคือการจัดกระบวนทัพ  ต่อมายุทธวิธีแห่งการศึกสงครามเปลี่ยนไประเบียบวิธีการจัดการจัดกระบวนพยุหยาตราจึงเปลี่ยนรูปแบบเป็นราชพิธี  เพื่อการการเสด็จพระราชดำเนินในพระราชกรณียกิจต่างๆ
 
บทละครเรื่องอภัยนุราช
บทละครเรื่องอภัยนุราช
สุนทรภู่.  บทละครเรื่องอภัยนุราช.  พิมพ์ครั้งที่ ๓.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,๒๕๓๙.  ๒๙ หน้า.
 
บทละครเรื่องอภัยนุราช เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา  พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบทละครสั้นๆ ขนาด ๑ เล่ม สมุดไทย ที่อ่านแล้วให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน  โดยถ่ายทอดเนื้อหาเป็นบทกลอน  นับว่าเป็นหนังสือหายากเล่มหนึ่ง กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร  จึงเห็นควรจัดพิมพ์เผยแพร่ขึ้น
 
ลิลิตจันทกินร
ลิลิตจันทกินร

ลิลิตจันทร จันทกินร จันทกินรคำฉันท์ จันทกินรคำกลอน.  กรุงเทพ:   กรมศิลปากร, ๒๕๕๗. ๑๖๐ ภาพประกอบ.

นำกวีเค้าโครงนิบาตชาดก มาประพันธ์ เป็นร้อยกรอง  ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่สันนิฐานว่าแต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น

เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม
เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม
เรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖.  ๙๒ หน้า.
 
หนังสือเรื่องราวของคณะสังฆราชฝรั่งเศสในราชอาณาจักรสยาม แปลมาจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ภาค คือภาคเรื่องราวจากราชอาณาจักรสยาม จากอาณาจักรโคจินจีน จากอาณาจักรเขมรและจากอาณาจักรตังเกี๋ย  สำหรับในหนังสือเล่มนี้ กรมศิลปากรได้เลือกแปลเฉพาะภาคแรกคือ ภาคเรื่องราวจากราชอาณาจักรสยาม เนื้อหาบรรยายถึงการเดินทางของบรรดาบาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่เดินทางบุกบั่นเข้ามาสู่ประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากเรื่องทำให้ทราบถึงเส้นทางการเดินทางโดยเรือจากยุโรปมาสู่ประเทศไทยในสมัยนั้น ความยากลำบากในการเดินทาง สอดแทรกไว้ด้วยเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ผ่านมาจวบจนถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องราวของประเทศไทย ชนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ สถานะของศาสนาคริสต์ ตลอดจนบทบาทของบาทหลวงในสมัยนั้นอีกด้วย
 
บทละครเรื่องระเด่นลันได
บทละครเรื่องระเด่นลันได
มหามนตรี,พระ.  บทละครเรื่องระเด่นลันได.  พิมพ์ครั้งที่ ๑๐.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๖.  
 
เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นจากชีวิตจริงของขอทานคนหนึ่งชื่อ ลันได เป็นแขกมาอาศัยอยู่ใกล้โบสถ์พราหมณ์บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม  โดยใช้ถ้อยคำสำนวนเหมือนบทละครเรื่องอิเหนาและใช้ราชาศัพท์ทั้งที่ตัวละครเป็นเพียงขอทานหรือสามัญชน  นับว่าเป็นเรื่องตลกขบขันที่แต่งดี  โดยประพันธ์แบบกลอนสุภาพและนำเอาถ้อยคำขบขันเข้าสอดแทรกและใช้สำนวนต่ำช้าให้สมกับตัวบทโดยผสมผสานกันได้ดี
 
รวมนิราศเบ็ดเตล็ด
รวมนิราศเบ็ดเตล็ด
รวมนิราศเบ็ดเตล็ด.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘.  ๑๓๙ หน้า.
 
ประกอบด้วยเรื่องนิราศ พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้า  กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและ นิราศวังบางยี่ขัน ของคุณพุ่ม  เนื้อหากล่าวถึงคำอธิบายเรื่องกลอนนิเทศ นิราศกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถเสด็จไปปราบพม่าเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี มะเมีย พ.ศ. ๒๓๒๙ และนิราศอื่นๆ เพลงยาวนิราศกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จไปตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖  พระราชวิจารณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น สำหรับนิราศบางยี่ขันเป็นนิราศเรื่องสั้นๆ ที่มีสำนวนโวหารและการเปรียบเทียบดี นอกจากนั้นยังช่วยให้ทราบสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
 
เมืองพิมาย ( Phimai)
เมืองพิมาย ( Phimai)
กรมศิลปากร.  เมืองพิมาย ( Phimai).  พิมพ์ครั้งที่ ๔.  กรุงเทพฯ : กรม., ๒๕๓๑. ๑๐๔ หน้า.  ภาพประกอบ, แผนผัง.
 
เป็นหนังสือพิมพ์เนื่องในโอกาสเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของปราสาทหินพิมาย และเป็นหนังสือนำชมให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายนี้ โดยกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปราสาทหินพิมาย ประวัติการบูรณะ เป็นต้จ ท้ายเล่มมีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างประเทศ บรรณานุกรม  อีกทั้งภาพประกอบที่สวยงามอีกด้วย 
 
เมืองประเทศราชของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์
เมืองประเทศราชของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์
เบาริง, เซอร์ จอห์น. เมืองประเทศราชของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๘.  ๑๓๔ หน้า.  ภาพประกอบ,แผนที่.
 
เป็นหนังสือที่ผู้แต่งได้เก็บเล็กผสมน้อยจากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในช่วงสมัย ร.๓ และร.๔ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อของชนกลุ่มต่างๆ ในดินแดนที่เป็นเมืองประเทศราชของสยามในเวลานั้น ได้แก่ ลาวพุงขาว ลาวพุงดำ เขมรและกระเหรี่ยง เป็นต้น กรมศิลปากรได้แปลและเรียบเรียงเผยแพร่เป็นภาคภาษาไทย โดยได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำไว้เป็นเชิงอรรถในบางแห่ง ซึ่งได้เขียนท้ายคำอธิบายว่า (กวป.) เพื่อมิให้ปะปนกับเชิงอรรถในต้นฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งจัดหาภาพประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
 
เมืองน่าน (Muang Nan)
เมืองน่าน (Muang Nan)
กรมศิลปากร.  เมืองน่าน (Muang Nan).  กรุงเทพฯ : กรม., ๒๕๓๐.  ๙๖ หน้า.ภาพประกอบ.
 
เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  เพื่อเผยแพร่และสื่อความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองน่าน โดยเนื้อหาในเล่มจะมีภาพรวมกว้างๆ ใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย แต่มิได้ด้อยในเนื้อหาทางวิชาการ พร้อมทั้งภาพประกอบสวยงาม เพื่อสื่อความรู้ความเข้าใจอีกด้วย
 
พระปิยะโสทรเชษฐภคินี
พระปิยะโสทรเชษฐภคินี
พระปิยะโสทรเชษฐภคินี.  กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.  ๓๐๐ หน้า. ภาพประกอบ.
 
จัดพิมพ์เพื่อถวายเป็นกัลยานุสรณ์เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นหนังสือร้อยกรองประเภทกวีวัจนะ  ประมวลคำประพันธ์ หลากหลาย ได้แก่ ร่าย โคลง กาพย์ กลอน ฉันท์  ร้อยสัมผัสต่อเนื่องกันในแต่ละหัวข้อโดยผู้ร้อยกรองจักรังสรรค์ผลงานตามหัวเรื่องที่กำหนด นำเสนอเนื้อหาตามความเป็นจริง ผสานกับจินตนาการที่ผู้ร้อยกรองจักสร้างสรรค์ขึ้นอย่างสอดคล้องกันโดยพรรณนาพระประวัติ พระกรณียกิจและพระจริยวัตรอันงดงาม สมพระเกียรติแห่งพระปิยโสทรเชษฐภคินีที่ทรงปฏิบัติมาตลอดพระชนมชีพ พร้อมภาพประกอบที่สวยงาม
 
ปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทเมืองต่ำ
กรมศิลปากร, สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙. 
ปราสาทเมืองต่ำ.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๐.  ๘๔ หน้า.  ภาพประกอบ,ตาราง.
 
เป็นหนังสือที่จัดเรียบเรียงขึ้นในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์สถานปราสาทเมืองต่ำ เนื่องในมหามงคลสมัยแห่งปีกาญจนาภิเษก ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยเนื้อหาประกอบด้วย บทนำ ภูมิหลัง อดีตสู่ปัจจุบันและปราสาทเมืองต่ำ ศิลปะและสถาปัตยกรรม เป็นต้น
 
ปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทพนมรุ้ง
กรมศิลปากร.  กองโบราณคดี.  ปราสาทพนมรุ้ง.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๓๑. ๑๐๔ หน้า. ภาพประกอบ.
 
จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม  ๒๕๑๑  เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่  ภูมิหลังของอีสาน  ปราสาท  เทพเจ้า  ประวัติศาสตร์จากจารึกและจากวันนั้นถึงวันนี้   ท้ายเล่มมีบรรณานุกรมประกอบ พร้อมกับภาพประกอบที่สวยงาม
 
ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา
ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา

ประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๗
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๗
กรมศิลปากร.  ปกิณกศิลปวัฒนธรรม ล.๗.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๔.  ๑๕๙ หน้า.ภาพประกอบ.
 
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๗ เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสพิธีนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวาย ณ วัดพระแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย  เพื่อเผยแพร่คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม เอกลักษณ์ที่สำคัญของวัดพระแก้วและจังหวัดเชียงราย รวมทั้งงานของกรมศิลปากร โดยเนื้อหาประกอบด้วยเรื่อง การทอดกฐิน-ทอดผ้าป่า วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย  จังหวัดเชียงราย สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรมท้องถิ่น เอกลักษณ์เมืองเชียงราย เรื่องเมืองเชียงแสน พร้อมกันนี้ท้ายเล่มยังมีบรรณานุกรม ภาคผนวก สาระน่ารู้เกี่ยวกับกรมศิลปากรและรายชื่อพระอารามหลวงที่กรมศิลปากรนำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายอีกด้วย 
 
โบราณคดีเมืองศรีฯ
โบราณคดีเมืองศรีฯ

โบราณคดีเมืองศรีฯ

โบราณคดีแบบชุมชนร่วมรัฐที่วัดบางพระ
โบราณคดีแบบชุมชนร่วมรัฐที่วัดบางพระ
วสันต์  เทพสุริยานนท์.  โบราณคดีแบบชุมชนร่วมรัฐที่วัดบางพระ.  กรุงเทพฯ : สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี, ๒๕๕๒.  ๙๔ หน้า.
 
โบราณคดีแบบชุมชนร่วมรัฐที่วัดบางพระ เป็นหนังสือที่ประกอบด้วย เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๖ ส่วนได้แก่ ส่วนที่ ๑ บทนำ  กล่าวถึประวัติความเป็นมาของโครงการ  ส่วนที่ ๒ ชุมชนร่วมรัฐ  กล่าวถึงที่มาและแนวคิด กระบวนการบูรณะพระอุโบสถโดยมีชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน พร้อมทั้งร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงทุน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผลและที่สำคัญเมื่อโบราณสถานแล้วเสร็จคนในชุมชนจะร่วมกันปกป้องดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่อย่างมีคุณค่าต่อไป ส่วนที่ ๓ วัดบางพระ กล่าวถึง ที่ตั้งและประวัติความสำคัญของวัด ส่วนที่ ๔ การขุดศึกษาทางโบราณคดี กล่าวถึงขอบเขตการดำเนินงาน  ส่วนที่ ๕ การวิเคราะห์และสรุป และส่วนที่ ๖ การบูรณะอุโบสถ เป็นต้น พร้อมทั้งบทคัดย่อทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ท้ายเล่มมีบรรณานุกรม บทความและเอกสารอื่นอีกด้วย
 
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่.  ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม  พุทธศักราช  ๒๕๓๒.  กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด, ๒๕๓๒.  ๒๔๔ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม  ๒๕๓๒  โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ เพื่อบันทึกประวัติหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อบันทึกคุณงามความดีของผู้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริจาคทุนทรัพย์และเพื่อให้ข้อมูลสังเขปของ ๑๗ จังหวัดภาคเหนืออีกด้วย พร้อมภาพประกอบ
 
เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะศิลปะของแผ่นดิน
เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะศิลปะของแผ่นดิน

สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร .  เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะศิลปะของแผ่นดิน  . กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์(๑๙๗๗)  จำกัด , ๒๕๕๐  ๒๕๑  หน้า . ภาพประกอบ.

หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์  ครบ ๖๐  ปี  วันที่  ๙  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๔๙  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องทองวัดราชบูรณะและประวัติวักราชบูรณะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

ทะเบียนข้อมูลวิพิธทัศนาชุดระบำรำฟ้อน
ทะเบียนข้อมูลวิพิธทัศนาชุดระบำรำฟ้อน

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร . ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน. กรุงเทพฯ : บริษัทไทภูมิพับลิชชิ่ง จำกัด , ๒๕๔๙ ๒๗๖ หน้า. ภาพประกอบ.

หนังสือวิพิธทัศนาเป็นรายงานการวิจัยของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เริ่มจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ รวบรวมภาพและทำการบรรยายชุดการแสดงรวม ๑๑๗ ชุด ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่มนี้ ปี ๒๖ ชุด.

กรมศิลปากร ปีที่ ๗๔. ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๘
กรมศิลปากร ปีที่ ๗๔. ๒๗ มีนาคม  ๒๕๒๘
กรมศิลปากร.  กรมศิลปากร ปีที่ ๗๔. ๒๗ มีนาคม  ๒๕๒๘.  กรุงเทพฯ : กรม.,ม.ป.ป.  ๕๗ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสวันสำคัญยิ่งต่อการสถาปนากรมศิลปากรครบ ๗๔ ปี เนื้อหาประกอบด้วย บทความเกี่ยวกับพระราชพิธีพระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครูโขนละคร การอนุรักษ์โบราณสถาน การสงวนรักษาเอกสารโบราณ งานสำคัญของกรมศิลปากร ตลดอจนบทความทางวิชาการอื่นๆ ที่น่าสนใจ ผนวกกับผลงานสำคัญในรอบปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ของกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ทราบ พร้อมภาพประกอบ
 
๑๐๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
๑๐๒  ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร

กรมศิลปากร. ๑๐๒  ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง  จำกัด (มหาชน) , ๒๕๕๖  ๒๐๐  หน้า  ภาพประกอบ.

หนังสือที่ระลึกครบรอบ  ๑๐๒  ปี  กรมศิลปากร  ปีพ.ศ.  ๒๕๕๖  เนื้อหาประกอบด้วย  เรื่องการเพิ่มมูลค่าให้แก่ทุนทางวัฒนธรรม  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  ประวัติ  ผลงานสำคัญในรอบปีที่ผ่านมา  แผนงานในอนาคต  หน่วยงานต่างๆสังกัดกรมศิลปากร  หน้าหลังทำเนียบนามผู้บริหารกรมศิลปากร

๑๐๐ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
 ๑๐๐ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร

กรมศิลปากร. ๑๐๐ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร .  กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด ,๒๕๕๔  ๒๐๐  หน้า .ภาพประกอบ.

หนังสือที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี กรมศิลปากร  ปี พ.ศ.  ๒๕๕๔  เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องประวัติและภารกิจของสำนักต่างๆ  กรอบการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปะวัฒนธรรม  ประวัติและภารกิจของหน่วยงานต่างๆในสังกัดองค์ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ด้านการสำรวจเอกสารโบราณ  ด้านนาฏศิลป์  ดนตรี  และต้นการสร้างลวดลายในงานโลหะ  ฐานานุศักดิ์  ในงานสถาปัตยกรรมไทยและด้านหลังเป็นทำเนีบนามผู้บริหารกรมศิลปากร

๙๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
๙๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
กรมศิลปากร.  ๙๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๕๐.  ๑๘๔ หน้า. ภาพประกอบ.
 
จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๙๖ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร กล่าวถึง ประวัติกรมศิลปากรและภารกิจของหน่วยงานในสังกัด  ภารกิจและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานในกรมศิลปากร บทความพิเศษได้แก่ แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับมรดกของแผ่นดิน การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ห้องเงินตราและธนบัตร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท้ายเล่มมีรายนามผู้บริหาร  ผู้เชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญของกรมศิลปากร คำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะทำงานจัดทำหนังสือ ๘๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร พร้อมกับภาพประกอบที่สวยงาม
 
๙๘ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร
๙๘ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร
กรมศิลปากร.  ๙๘ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๕๒. ๑๖๐ หน้า.  ภาพประกอบ.
 
ในโอกาสครบรอบ ๙๘ ปี แห่งการสถาปนา  กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกขึ้นเพื่อแสดงผลงานสำคัญบางส่วน ในรอบปีที่ผ่านมาของหน่วยงานเพื่อเผยแพร่และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานของกรมศิลปากรให้แพร่หลาย โดยเนื้อหาในเล่มประกอบด้วย คำนำ วิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของกรมศิลปากร  แผนภูมิโครงสร้างกรมศิลปากร  ผลงานสำคัญของกรมศิลปากร ปี ๒๕๕๑  และหน่วนงานต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมศิลปากร  ท้ายเล่มมีรูปภาพของผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งรายชื่อหนังสือที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ในปี ๒๕๕๑ อีกด้วย พร้อมภาพประกอบ
 
๙๐ ปี กรมศิลปากร
๙๐ ปี กรมศิลปากร
กรมศิลปากร.  ๙๐ ปี กรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม., ๒๕๔๔.  ๑๔๓ หน้า.
 
๙๐ ปี กรมศิลปากร เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวาระครบ ๙๐ ปี การสถาปนากรมศิลปากร เพื่อเป็นหลักฐาน ประวัติการอนุรักษ์ พัฒนา และสืบทอดงานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติตามภารกิจหน้าที่ของกรมศิลปากร  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  โดยเนื้อหาในเล่มประกอบด้วย เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวกรมศิลปากร ย้อนพินิจภารกิจของกรมศิลปากร พัฒนาการและงานสำคัญของกองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ
 
๘๙ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร
๘๙ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร

กรมศิลปากร.  ๘๙ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๓.  หน้า. ๑๗๖ หน้า.  ภาพประกอบ.

จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบรอบ ๘๙ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร เป็นการเล่าถ่ายทอดประวัติศาสตร์ บทบาทหน้าที่ ภารกิจของกรมศิลปากร ในระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งเป็นการประมวลเหตุการณ์เกี่ยวกับการดำเนินการที่สำคัญในพระราชพิธี รัฐพิธีหรือพิธีการต่างๆ ที่กรมศิลปากรมีส่วนร่วมในการจัดทำสร้างสรรค์ผลงานในรอบปี ๒๕๔๒ ให้กับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เกี่ยวเนื่องในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๕๔๒ รวบรวมเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่ประชาชน ชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างจิตสำนึกที่จะร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอด สร้างสรรรค์ มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ พร้อมภาพประกอบที่สวยงาม

๘๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
๘๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร

กรมศิลปากร.  ๘๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๕๐.  ๑๘๔ หน้า. ภาพประกอบ.

จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๖ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร กล่าวถึง ประวัติกรมศิลปากรและภารกิจของหน่วยงานในสังกัด  ภารกิจและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานในกรมศิลปากร บทความพิเศษได้แก่ แนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับมรดกของแผ่นดิน การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ห้องเงินตราและธนบัตร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ท้ายเล่มมีรายนามผู้บริหาร  ผู้เชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญของกรมศิลปากร คำสั่งแต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะทำงานจัดทำหนังสือ ๘๖ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร พร้อมกับภาพประกอบที่สวยงาม

๘๗ ปี แห่งการสถาปนา กรมศิลปากร
๘๗ ปี แห่งการสถาปนา กรมศิลปากร
กรมศิลปากร.  ๘๗ ปี แห่งการสถาปนา กรมศิลปากร.  กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๑.  ๗๙ หน้า.  ภาพประกอบ
 
จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๗ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร 
โดยมีเนื้อหาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำนำ   ๘๓ ปี กรมศิลปากร การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ ๒๔๕๔-๒๕๔๑  การปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของกรมศิลปากร จาก พ.ศ. ๒๔๗๖-ปัจจุบัน แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘  เป็นต้น อีกทั้งได้ปรับเนื้อหาสาระให้เป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมและข้อมูลด้านอื่นๆ ที่ควรรู้  ด้วยรูปเล่มที่กะทัดรัดอีกด้วย
 
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 9 (กุมภาพันธ์ ค.ศ.1825 ถึง ตุลาคม ค.ศ.1827)
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 9 (กุมภาพันธ์ ค.ศ.1825  ถึง ตุลาคม  ค.ศ.1827)
ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 9 (กุมภาพันธ์ ค.ศ.1825  ถึง ตุลาคม  ค.ศ.1827)
แปลโดย สวัสดิ์ ชื่นพิศาล  
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 9 แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 ภาค 5 ว่าด้วยความสัมพันธ์ไทย – อังกฤษ ในช่วง ค.ศ. 1826 – 1840 (พ.ศ. 2369 - 2383)  ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากที่ไทย และอังกฤษได้ตกลงทำสนธิสัญญาร่วมกันแล้ว เน้นเรื่องราวของบรรดารัฐมลายูเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐเกดะห์หรือไทรบุรี
 
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 8 (มิถุนายน ค.ศ.1824 ถึง มิถุนายน ค.ศ.1827)
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 8 (มิถุนายน ค.ศ.1824  ถึง มิถุนายน ค.ศ.1827)
ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 8 (มิถุนายน ค.ศ.1824  ถึง มิถุนายน ค.ศ.1827)
แปลโดย ลินจง สุวรรณโภคิน  
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 8 แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 ภาค 4 ว่าด้วยรายงานครั้งสุดท้าย ของเฮนรี เบอร์นีย์ ที่สรุปสาระสำคัญในการปฏิบัติภารกิจทางการทูตในราชสำนักสยาม รวมทั้งเอกสารอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง
 
สุริยพันธุ์คำกลอน
สุริยพันธุ์คำกลอน
ชื่อเรื่อง : สุริยพันธุ์คำกลอน
ผู้ตรวจสอบชำระ :  นางดาวรัตน์ ชูทรัพย์ 
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2556
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
สุริยพันธุ์คำกลอนนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงนิพนธ์ขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2431 โดยทรงมีพระดำริจะให้เป็นเรื่องแบบแนว “สมัยใหม่” ดำเนินเรื่องตามความเป็นจริง มีการสอดแทรกขนบธรรมเนียมประเพณีสำคัญของไทย ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่แต่งไว้ด้วย ดังนั้นนอกจากสุริยพันธุ์คำกลอนจะมีคุณค่าด้านวรรณคดีกวีนิพนธ์แล้ว ยังมีคุณค่าในด้านที่เป็นแหล่งค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์และจารีตประเพณีอีกด้วย
 
เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ลงใต้ – ไปเหนือ
เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ลงใต้ – ไปเหนือ
ชื่อเรื่อง : เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ลงใต้ – ไปเหนือ 
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
 
หนังสือ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม เป็นหนังสือชุด 4 เล่ม ซึ่ง เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ลงใต้ – ไปเหนือ เป็นเล่มที่ 4 ให้ข้อมูลการท่องเที่ยว 4 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ท่องเที่ยวเมืองสงขลา (เก่า) เส้นทางที่ 2 ศรีวิชัย – ศรีธรรมาโศกราช : ไหว้ 4 พระธาตุ 4 จังหวัด เส้นทางที่ 3 เยือนประวัติศาสตร์หริภุญไชยสู่ล้านนา และ เส้นทางที่ 4 ท่องเที่ยวเมืองเก่าน่าน นอกจากนั้นภายในเล่มยังมีข้อมูล ในการติดต่อสอบถามเพื่อการเข้าชม รวมทั้งภูมิหลังความเป็นมาของแต่ละสถานที่โดยสังเขป 
 
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ๗ จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สุราษฎร์ธานี
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ๗ จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สุราษฎร์ธานี
ราชบัณฑิตยสถาน.  อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ๗ จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สุราษฎร์ธานี.  พระนคร:โรงพิมพ์ไทยเกษม, ๒๔๘๑  ๑๔ หน้า
 
อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ๗ จังหวัดเล่มนี้(สำเนา)เป็นหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจศพนางแส กนิษฐดิษ ณ วัดยานนาวา เนื้อหาแต่ละจังหวัดประกอบด้วย ที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ศาสนา อาชีพ ประวัติความเป็นมาของอำเภอและอธิบายคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละจังหวัด ตามลำดับตัวอักษร แบบพจนานุกรม / ก-ฮ พร้อมทั้งบอกเล่าประวัติสั้นๆ
หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
กรมศิลปากร.  หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร. ราชบุรี : กรมศิลปากร,  ๒๕๔๓  ๑๖๐ หน้า ภาพประกอบ
 
หนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครอบ  ๑๐๐ ปี  พ.ศ.๒๕๔๐ เนื่อเรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ  นโยบายและการบริหารงานด้านต่างๆของหอพระสมุดวชิรญาณ  สำหรับพระนคร ภาคผนวกเสนอเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระสมุดฯ  ประวัติการจัดพิมพ์หนังสือโบราณคดีและวรรณคดีสโมสรฯ
ละครวังสวนกุหลาบ
ละครวังสวนกุหลาบ
ประเมษฐ์  บุณยะชัย.   ละครวังสวนกุหลาบ. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขานุการกรม กรมศิลปากร, ๒๕๔๓  ๘๗  หน้า.  ภาพประกอบ
 
หนังสือละครวังสวนกุหลาบจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นหนังสือที่ลึกงานคุรุปูชนีย์ ๙๖ ปี คุณครูเฉลย ศุขะวนิช เมื่อวันที่  ๑๐-๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๓ เนื้อหาว่าด้วยเรื่อง ความเป็นมาวังสวนกุหลาบ คณะละครและตัวละคร  การฝึกหัดนาฏศิลป์ในวังสวนกุหลาบ  อิทธิพลของละครวังสวนกุหลาบที่มีต่อวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ภาคผนวก บทละคร ๔ เรื่องและบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอนองคตสื่อสาร สุครีพหักฉัตร์และศึกไวยราพ
เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม ๒ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม ๒ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม ๒ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ครั้งที่ ๓  กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์กรุงเทพ, ๒๕๓๔  ๔๐๒  หน้า   ภาพประกอบ.
 
เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านายเล่ม ๒(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)กองทัพเรือจัดพิมพ์เพื่อถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา เนื่องในพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยศักดิ์และบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ ในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นหนังสือรวมทำประกาศสถาปนาพระอิสริยยศพระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๓๘ พร้อมพระฉายาลักษณ์
พระราชนิพนธ์พระจุลจอมเกล้า
พระราชนิพนธ์พระจุลจอมเกล้า
พงศาวดารเมืองสงขลาและพัทลุง
พงศาวดารเมืองสงขลาและพัทลุง
วิเชียรคีรี(ชม ณ สงขลา),พระยา, ศรีวรวัตร(พิณจันทโรจน์วงศ์),หลวง และกรมศิลปากร.  พงศาวดารเมืองสงขลาและพัทลุง.  กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เจริญผลการพิมพ์, ๒๕๐๕  ๑๔๒ หน้า
 
พงศาวดารเมืองสงขลาและพัทลุงเล่มนี้ป็นหนังสือที่ระลึกงานฌาปนกิจศพคุณหญิงแข เพ็ชราภิบาล ( แข ณ สงขลา ) พงศาวดารเมืองสงขลฉบับพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา ) แต่งไว้และเจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศร์ ( จิตร ณ สงขลา ) กับพระยาสวัสดิ์คีรีตรวจแก้ไข ชำระข้อความที่ยังคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องสมบูรณ์ ส่วนพงศาวดารเมืองพัทลุงฉบับหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจน์วงศ์ ) แต่งไว้และกรมศิลปากรตรวจสอบ และทำเชิงอรรถไว้เพื่อให้ตรงกันกับชื่อสถานที่ที่ใช้เรียกในปัจจุบัน
ผ้าทอพื้นเมืองภาคเหนือ(ล้านนา)
ผ้าทอพื้นเมืองภาคเหนือ(ล้านนา)
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร.  ผ้าทอพื้นเมืองภาคเหนือ(ล้านนา).  กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,๒๕๔๗  ๔๖๑  หน้า.  ภาพประกอบ.
 
หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินาถ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗  เนื้อหาเป็นเรื่องการศึกษาผ้าทอพื้นเมือง ๙ จังหวัดภาคเหนือ และประวัติผ้าทอของชวไทยยวน ไทยพวน กะเหรี่ยงและไทยลื้อ
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่๓
ประชุมพงษาวดาร ภาคที่๓
วิเชียรคีรี ( ชม ณ สงขลา ), พระยาและศรีสิงหเทพ(หรุ่น), พระยา.  ประชุมพงษาวดาร ภาคที่๓. กรุงเทพ:โรงพิมพ์ไทย,๒๔๕๗  ๑๑๒  หน้า
 
ประชุมพงษาวดารภาคที่๓(ฉบับสำเนา) เล่มนี้ พระยาลภัยราชามหายุติธรรมธรฯ วัดพิมพ์เพื่อแจกในงานศพหม่อมเจ้าอรชร ประกอบท้ายพงศาวดารเมืองปัตตานี พงศาวดารเมืองสงขลา เรียบเรียงโดยพระยาวิเชียรคีรี(ชม ณ สงขลา)และพงษาวดารเมืองนครเชียงใหม่เรียบเรียงโดยพระยามหาอำมาตย์(หรุ่น)
ทำเนียบนามภาคที่ ๒ ทำเนียบข้าราชการวังหลังและทำเนียบสมณศักดิ์
ทำเนียบนามภาคที่ ๒ ทำเนียบข้าราชการวังหลังและทำเนียบสมณศักดิ์
กรมศิลปากรและกรมการศาสนา. ทำเนียบนามภาคที่ ๒ ทำเนียบข้าราชการงังหลังและทำเนียบสมณศักดิ์. พระนคร:โรงพิมพ์ไทยแบบเรียน, ๒๕๑๑ ๑๐๙ หน้า
 
หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพรองเสวกตรี ขุนนาถจำนง(เจริญ นาถจำนง) ณ เมรุวัดมงกุฎกษัตริยาราม จัดพิมพ์หนังสือเรื่องทำเนียบนาม ภาคที่๒ ตำราตำแหน่งข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลและทำเนียบข้าราชการงังหลังและเรื่องทำเนียบสมณศักดิ์ฉบับของกรมศาสนามารวมพิมพ์ไว้ด้วย
จันทกุมารชาดก
จันทกุมารชาดก
จันทบุรีนฤนาถ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ,  ผู้แปล.   จันทกุมารชาดก.   กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๓๐  ๖๖ หน้า
 
จันทกุมารชาดกเล่มนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถทรงแปลจากภาษบาลีแล้วประทานแก่ราชบัณฑิตยสภาพิมพ์ไว้ในหนังสือนิบาตชาดกเล่ม ๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
จดหมายเหตุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ พ.ศ.๒๔๕๒
จดหมายเหตุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ พ.ศ.๒๔๕๒
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ พระ.  จดหมายเหตุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘ พ.ศ.๒๔๕๒. พระนคร:โรงพิมพ์มหามกุฏ ,๒๕๑๐  ๙๒  หน้า
 
จดหมายเหตุสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมารเสด็จหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ เล่มนี้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีโปรดให้พิมพ์เพื่อแจกในงานถวายผ้ากฐินพระราชทาน ณ วัดมัชฌิมาวาส สงขลา วัดมหาธาตุ นครศรธรรมราชและวัดมงคลนิมิตร ภูเก็ตเป็นฉบับลายพระหัตรกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕)   
 
การต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรฐ
การต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรฐ
ขจร สุขพานิช.  การต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรฐ. พระนคร:โรงพิมพ์ไทยเขษม, ๒๕๐๔  ๑๖ หน้า
 
หนังสือการต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรฐเป็นบทความทางวิชาการแสดงหลักฐานปีศักราชที่ถูกต้องสมัยสมเด็จพระเอกาทศรฐจากพงศาวดารของไทยสมัยอยุธยาและนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศแถบยุโรปรวมทั้งอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาเปรียบเทียบ
การตรวจและจัดราชการในมณฑลกรุงเก่าและมณฑลปาจิณบุรี
การตรวจและจัดราชการในมณฑลกรุงเก่าและมณฑลปาจิณบุรี
มรุพงศ์ ศิริพัฒน์, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น .  การตรวจและจัดราชการในมณฑลกรุงเก่าและมณฑลปาจิณบุรี. นครหลวงฯ:โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๑๕ ๑๑๕ หน้า
 
การตรวจและจัดราชการในมณฑลกรุงเก่าและมณฑลมาจิณบุรีเล่มนี้ หม่อมเจ้าวัฒนานุวัฒน์ วัฒนวงศ์ ทรงจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์งานศพ นางเฮี้ยะ ศิริทรัพย์ มารดา ณ เมรุวัดธาตุทอง เป็นรายงานการตรวจและวัดราชการของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ เมืองอ่างทอง เมืองพรหมบุรี เมืองสิงคบุรี เมืองอินทบุรีและเมืองลพบุรี ในมณฑลกรุงเก่า พ.ศ.๒๔๓๙ เมืองนครนายก เมืองปาจินบุรี เมืองฉะเชิงเทราและเมืองชลบุรี มณฑลปาจิณบุรี พ.ศ.๒๔๔๖
กรรมพิธี-ช้าหงส์และวรรณคดุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
กรรมพิธี-ช้าหงส์และวรรณคดุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชครูวามเทพมุนีและตรี อมาตยกุล. กรรมพิธี-ช้าหงส์และวรรณคดุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์.พระนคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร,๒๕๐๕  ๓๑ หน้า
 
กรรมพิธี-ช้าหงส์โดยพระราชครู เป็นวรรณกรรมประเภทสัญจัย คือ ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสบางอย่าง และบทความเรื่องวรรณคดียุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยนายตรี อมาตยกุล หัวหน้ากองวรรณคดีละประวัติศาสตร์ทั้งสองเรื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกในการจัดงานสัปดาห์แห่งวรรณคดีในปี พ.ศ.๒๕๐๕
๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.  ๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย.  กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, ๒๕๕๕  ๒๐๗  หน้า

๑๕๐ ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยเล่มนี้เป็นหนังสือที่ระลึกในวาระครบ ๑๕๐ ปี วันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื้อหาเป็นคำถอดความคำบรรยายจากวิทยากร จำนวน ๕ ท่าน ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ๑๕๐ ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

อาชีพนักเขียน
อาชีพนักเขียน

ชื่อเรื่อง : อาชีพนักเขียน
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

บันทึกการอภิปรายของนักเขียนที่มีชื่อเสียง  คือ  นายสุวัฒน์  วรดิลก, นายแมน  สุนิติ,  นายอุปถัมภ์  กองแก้ว,  นายวาณิช  จรุงกิจอนันต์  และนางขวัญดี  อัตวาวุฒิชัย  เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

อตีตังสญาณ หรือ เครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต
อตีตังสญาณ  หรือ  เครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต

ชื่อเรื่อง : อตีตังสญาณ  หรือ  เครื่องวิทยาการกำหนดรู้เรื่องในอดีต
ผู้แต่ง :   ธนิต  อยู่โพธิ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๑๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
อตีตังสญาณ  หมายถึง  เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี  ซึ่งย้อนยุคถอยหลังไปในอดีตกาล  โดยนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี  แต่ก่อนได้อาศัยข้อมูลจากจดหมายเหตุ  เอกสารพงศาวดาร  ตำนาน  และจารึก  ตลอดจนหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน  ซึ่งในปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์ค้นคิดทดสอบขึ้นใหม่  และสามารถใช้เครื่องวิทยาการกำหนดรู้และคำนวณอายุสมัยของโบราณวัตถุโบราณสถาน  ท้ายเล่มมีคำศัพท์อธิบายวิทยาศาสตร์

องค์เอกอัครอุปถัมภ์ มรดกช่างศิลปไทย
องค์เอกอัครอุปถัมภ์  มรดกช่างศิลปไทย

ชื่อเรื่อง : องค์เอกอัครอุปถัมภ์  มรดกช่างศิลปไทย
ผู้แต่ง :   กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมไทยแขนงต่างๆ  ที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ทรงปลูกฝังและพระราชทานแนวทางการสืบสานงานศิลป์  เช่น  งานถม  งานเครื่องเงิน  เครื่องปั้นงานจักสาน  ทอผ้าไหมมัดหมี่ ฯลฯ  รวมทั้งพระราชกรณียกิจที่ทรงเผยแพร่งานทั้งภายในและต่างประเทศ

องค์ความรู้และภูมิปัญญาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้
องค์ความรู้และภูมิปัญญาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้

ชื่อเรื่อง : องค์ความรู้และภูมิปัญญาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก  สงขลา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๗
สถานที่พิมพ์  :  นครศรีธรรมราช
สำนักพิมพ์  :  ประยูรการพิมพ์

องค์ความรู้และภูมิปัญญาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้  ที่ปริวรรตจากเอกสารภาษาโบราณ  เพื่อสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น

สุภาษิตพระร่วง และ สุภาษิตอิศรญาณ
สุภาษิตพระร่วง  และ  สุภาษิตอิศรญาณ

ชื่อเรื่อง : สุภาษิตพระร่วง  และ  สุภาษิตอิศรญาณ
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  บรรณกิจ

สุภาษิตพระร่วงจดเป็นวรรณกรรมประเภทร่ายส่วนตอนท้ายจบลงด้วยโคลงกระทู้ ๑  บท  ประกอบด้วยภาษิต  คำสอนที่มีคุณค่า  และเป็นความจริงทุกยุค  ทุกสมัย  พึงยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติตนตามวิถีทางที่ถูกที่ควรเพื่อความสงบสุขในชีวิต  เป็นเรื่องที่นิยมอ่านกันแพร่หลาย  จดจำกันได้ข้นใจในหมู่คนไทย

สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน
สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน

ชื่อเรื่อง : สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน
ผู้แต่ง :   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  กรมศิลปากร

เพื่อจัดเป็นคู่มือประกอบการค้นคว้าเอกสาร  ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนภาคกลาง  การประกอบอาชีพ  การศึกษา  ศาสนา  สาธารณูปโภค  การสาธารณสุข  ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งภาพเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมของคนในอดีต บอกเล่าอดีตและความเป็นมาได้อย่างชัดเจน

ความสัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเทศกับประเทศสยาม พ.ศ.๒๒๒๓- ๒๔๕๐
ความสัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเทศกับประเทศสยาม  พ.ศ.๒๒๒๓- ๒๔๕๐

ชื่อเรื่อง : ความสัมพันธภาพของประเทศฝรั่งเทศกับประเทศสยาม  พ.ศ.๒๒๒๓- ๒๔๕๐
ผู้แต่ง :   โชฟ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น  ๓  ภาค  เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในประเทศสยาม  ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสในสมัยจักรพรรดินโปเลียน   และความสัมพันธ์ฝรั่งเศสในสมัยสาธารณรัฐที่ ๓  เกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะกันอย่างรุนแรงในลาว

การวิจัยเรื่องวัดช้างล้อม
การวิจัยเรื่องวัดช้างล้อม

ชื่อเรื่อง : การวิจัยเรื่องวัดช้างล้อม
ผู้แต่ง :   กองโบราณคดี กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
การศึกษารูปแบบศิลปกรรมวัดช้างล้อม  เก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ  และโบราณคดี  เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถาน  ศึกษาเปรียบเทียบการขุดค้นทางโบราณคดีมาศึกษาวิเคราะห์  วิจัย

วยาการศตกัม สุภาษิตร้อยกรองของวยาส
วยาการศตกัม  สุภาษิตร้อยกรองของวยาส

ชื่อเรื่อง : วยาการศตกัม  สุภาษิตร้อยกรองของวยาส
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

คัมภีร์วยาการศตกัม   เป็นหนึ่งใบบรรดาคำภีร์ภาษาสันสกฤตเพียงไม่กี่คัมภีร์ที่จารเป็นอักษรขอมลงในใบลาน  บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู  และพุทธศาสนานิกายมหายานมักใช้เขียนในรูปอักษรเทวนาครีซึ่งหมายถึงอักษรที่ใช้สื่อภาษาพูกันในเมืองเทวดา 

ราชพิธีสมโภช ๓ วัน สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่
ราชพิธีสมโภช ๓  วัน  สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

ชื่อเรื่อง : ราชพิธีสมโภช ๓  วัน  สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่
ผู้แต่ง :   เพลินพิศ  กำราญ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณคดีประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

เนื่องในวโรการสพระราชพิธี สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่  พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา   ในสมเด็จพระบรมโอรสธิราช  เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ  สยามมกุฎราชกุมาร  และพระเจ้าวรวงศ์ธฮ  พระองค์เจ้าโสมสวลี  พระวรชายา  เมื่อวันที่  ๑๑  มกราคม  ๒๕๕๒

ประเพณีการไว้จุกและการโกนจุกของเด็กไทย
ประเพณีการไว้จุกและการโกนจุกของเด็กไทย

ชื่อเรื่อง : ประเพณีการไว้จุกและการโกนจุกของเด็กไทย
ผู้แต่ง :   นันทวัน  สาวนายน
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร    

เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา  และเรื่องราวของการไว้จุกและการโกนจุก  ให้เห็นถึงพิธีกรรมตั้งแต่การโกนผมไฟซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการไว้จุกจนถึงพิธีโกนจุกทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร  รวทั้งประโยชน์ของการโกนจุก

ประชุมนิราศภาคใต้ : นิราศนครศรีธรรมราช นิราศปักษ์ใต้ และนิราศแพรกไพร
ประชุมนิราศภาคใต้ : นิราศนครศรีธรรมราช  นิราศปักษ์ใต้  และนิราศแพรกไพร

ชื่อเรื่อง : ประชุมนิราศภาคใต้ : นิราศนครศรีธรรมราช  นิราศปักษ์ใต้  และนิราศแพรกไพร
ผู้แต่ง :   อรสรา  สายบัว
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  เอดิสัน  เพรส  โพรดักส์  จำกัด

“ประชุมนิราศภาคใต้”  เป็นหนังสือรวบรวมวรรณกรรมนิราศ  ๓  เรื่อง  ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาคใต้  และจะกล่าวถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง  เช่น  สภาพบ้านเมืองหรือแหล่งชุมชน  ขนบธรรมเนียมประเพณี  ความคิด  ความเชื่อ  ตลอดจนประวัติศาสตร์  ตำนานสถานที่ของท้องถิ่น

ปรมัตถมงคล
ปรมัตถมงคล

ชื่อเรื่อง : ปรมัตถมงคล
ผู้แต่ง :   ชนินท์  สุขเกษี
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านพุทธศาสนา   โดยต้นฉบับเดิมจารลงใบลานด้วยอักษรขอม  เป็นภาษาบาลี  แสดงหลักธรรมอันเป็นมงคลหลายประการ  เช่น  พระรัตนตรัย  ศีล  การบริจาคทาน  การบวชและอนิสงส์ของธรรมะ

โบราณสถานสระมรกต
โบราณสถานสระมรกต

ชื่อเรื่อง : โบราณสถานสระมรกต
ผู้แต่ง :   พีรพน  พิสณุพงศ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

รายงานเกี่ยวการขุดแต่งโบราณสถานสระมรกต  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองศรีโหสถ  จังหวัดปราจีนบุรี  ให้รายละเอียดทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์  โบราณสถาน  เครื่องปั้นดินเผา  โบราณวัตถุประเภทหินและแร่  เครื่องโลหะ วัฒนธรรมของภาคตะวันออกของไทย  ภาพประกอบและแผนที่  แผนผัง  แสดงการขุดแต่งโบราณสถาน

ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ ๑๖ จังหวัดสตูล
ปกิณกศิลปวัฒนธรรม  เล่มที่  ๑๖  จังหวัดสตูล

ชื่อเรื่อง : ปกิณกศิลปวัฒนธรรม  เล่มที่  ๑๖  จังหวัดสตูล
ผู้แต่ง :   ฤดีรัตน์  กายราศ  และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดชนาธิปเฉลิม  พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ  และสิ่งสำคัญภายในวัด  รวมทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จังหวัดสตูล  ลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศ   วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิม  และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสตูล 

บายศรี : สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต
บายศรี : สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

ชื่อเรื่อง : บายศรี : สัญลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต
ผู้แต่ง :   เบญจมาส  แพทอง
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร

เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงความหมายของบายศรี  ลักษณะและชนิดของบายศรี  บายศรของราษฎร  ของหลวงและภาคต่างๆ  เช่น  ภาคเหนือ  ภาคใต้  ภาคอีสาน  ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของบายศรี  โอกาสที่ใช้  เช่น  การทำขวัญ  การบวงสรวงสังเวย  การไหว้ครู  การสมโภช  ความสำคัญของบายศรี

บทละครนอก เรื่องพิกุลทอง
บทละครนอก  เรื่องพิกุลทอง

ชื่อเรื่อง : บทละครนอก  เรื่องพิกุลทอง
ผู้แต่ง :   ธิดาเพ็ญ  เข็มสว่าง
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  เอดิสัน  เพรส  โพรดักส์  จำกัด
    
บทละครนอก  เรื่องพิกุลทอง  เป็นนิทานไทยเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวหับผู้แต่ง  กรมศิลปากรพิจารณาเห็นแล้วว่า  บาทละครนอกเรื่องพิกุลทองเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องราวค่านิยมทางสังคม  อีกทั้งประเพณีและความเชื่อของสังคมไทยในอดีต  ตลอดจนสภาพแวดล้อม  ความเป็นอยู่ของสังคมไทยในอดีตได้เป็นอย่างดี

นิทานกถา พระพุทธประวัติตอนต้น ฉบับพระพุทธโฆสเถระ
นิทานกถา  พระพุทธประวัติตอนต้น  ฉบับพระพุทธโฆสเถระ

ชื่อเรื่อง : นิทานกถา  พระพุทธประวัติตอนต้น  ฉบับพระพุทธโฆสเถระ
ผู้แต่ง :   ธนิต  อยู่โพธิ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

นิทานกถา  พระพุทธประวัติตอนต้น  ฉบับพระพุทธโฆสเถระ  จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น  ๓  ตอน  ตอนที่  ๑  ทุเรนิทาน (นิทานในระยะกาลไกล)  เริ่มที่สุเมธดาบสประพฤติปฏิบัติธรรมจนได้ฌานสมาบัติและอภิญญาปรารถนาพุทธภูมิ  อุบัติพระโพธิสัตว์บำเพ็ญพระบารมีเกิดเป็นคน  และสัตว์  ในชาติต่างๆ  ตอนที่  ๒  อวิทูเรนิทาน (นิทานระยะกาลไม่ไกล)  พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกบำเพ็ญพระบารมี  บรรลุพระสัพพัญตญาณ  ตอนที่  ๓  สันติเกนิทาน (นิทานในระยะกาลใกล้)  ทรงเผยแผ่ศาสนาและเสด็จสวรรคตดับขันธปรินิพาน

ธรรมจักร
ธรรมจักร

ชื่อเรื่อง : ธรรมจักร
ผู้แต่ง :   ธนิต  อยู่โพธิ์
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๐๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
กรมศิลปากรมีกำหนดเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร  ให้พระภิกษุสามเณรเข้าชมในเทศการเข้าพรรษา  ณ  วันแรม  ๔ ค่ำ  และแรม  ๕  ค่ำ  เป็นประเพณีประจำปีตลอดมา  และในโอกาสนี้ได้จัดพิมพ์หนังสือสารคดีถวาย  เพื่อประดับสติปัญญา  ตามฐานานุรูป  จึงขอนำเรื่อง  “ธรรมจักร” ที่นำมาพิมพ์ในครั้งนี้ ได้ตัดเป็นบทตอนแบ่งเป็นบทความให้จบลงในแต่ละตอนด้วยเวลาจำกัด

ดุริยางค์แห่งราชสำนัก
ดุริยางค์แห่งราชสำนัก

ชื่อเรื่อง : ดุริยางค์แห่งราชสำนัก
ผู้แต่ง :   พัชรินทร์  ศุขประมูล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กลุ่มวิจัย  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาการของดนตรีในประเทศ  และเครื่องดนตรีชิ้นสำคัญที่เป็นงานประณีตศิลป์ของราชสำนักให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณธชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

การอภิปรายเรื่อง ชีวิตและผลงานของศิลปินแห่งชาติ
การอภิปรายเรื่อง  ชีวิตและผลงานของศิลปินแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง : การอภิปรายเรื่อง  ชีวิตและผลงานของศิลปินแห่งชาติ
ผู้แต่ง :   ชเต็มสิริ  บุณญสิงห์ และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
บันทึกการอภิปรายชีวิตและความเป็นมาของผลงานศิลปินแห่งชาติ  คือ  ท่านผู้หญิงแผ้ว  สนิทวงศ์เสนีย์  นายเฟื้อ  หริพิทักษ์  นายมนตรี  ตราโมท  ซึ่งดำเนินการอภิปราย  คุณหญิงเต็มสิริ  บุญยสิงห์  จัดขึ้น  ณ  หอสมุดแห่งชาติ  เมื่อวันที่  ๒๙พฤษภาคม  ๒๕๒๙

จารึกสมัยสุโขทัย
จารึกสมัยสุโขทัย

ชื่อเรื่อง : จารึกสมัยสุโขทัย
ผู้แต่ง :   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เป็นการศึกษาจากจารึก  โดยจัดกลุ่มจารึกตามลักษณะของตัวอักษรซึ่งจำแนกได้ ๕  กลุ่ม    จารึกแต่ละกลุ่มอักษรได้จัดลำดับตามศักราช  ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดอายุของยุคสมัย

จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒  จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน

ชื่อเรื่อง :  จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒  จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ผู้แต่ง :      จารึกล้านนา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :   กรมศิลปากร

รวบรวมจารึกที่พบในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ๔ จังหวัด ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักร์ล้านนา  เนื้อหาว่าด้วยจารึกอักษรธรรมล้านนา  อักษรฝักขาม และอักษรไทยสุโขทัยที่พบในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน พร้อมภาคผนวกเนื้อหาภาษาอังกฤษ เกร็ดข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ในเอกสารโบราณ  ลำดับจารึกที่ปรากฏศักราชและปรากฏศักราช และศัพทานุกรม

ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย – เขมร
ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย – เขมร

ชื่อเรื่อง : ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย – เขมร
ผู้แต่ง :   ศานติ  ภักดีคำ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  อัมรินทร์

ความสัมพันธ์วรรณคดีไทย – เขมร  เป็นความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา  เป็นความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่สืบเนื่องยาวนานและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย  กรุงศรีอยุธยา  และสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ความรู้ด้านการอนุรักษ์หนังสือหายาก
ความรู้ด้านการอนุรักษ์หนังสือหายาก

ชื่อเรื่อง : ความรู้ด้านการอนุรักษ์หนังสือหายาก
ผู้แต่ง :   สำนักหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

รวบรวมข้อมูลด้านการอนุรักษ์หนังสือหายาก  เพื่อใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  และผู้ปฏิบัติงานด้านการสงวนรักษาหนังสือทั่วไป  มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะประเภทของหนังสือหายาก  หลักการพิจารณาหนังสือหายาก  การชำรุดเสื่อมสภาพ  การดูแลและการซ่อมรวมถึงขั้นตอนและวิธีการอนถรักษ์อย่างถูกต้อง

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 (สิงหาคม ค.ศ.1830 ถึง มิถุนายน ค.ศ.1840) ตอนที่2
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 (สิงหาคม ค.ศ.1830  ถึง มิถุนายน ค.ศ.1840) ตอนที่2

ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 (สิงหาคม ค.ศ.1830  ถึง มิถุนายน ค.ศ.1840)
แปลโดย ลินจง สุวรรณโภคิน  
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 4 ภาค 1 ว่าด้วยบันทึกรายวันของนายแพทย์ ดี.ริชาร์ดสัน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียได้ส่งเข้ามาปฏิบัติภารกิจที่กรุงเทพฯและเชียงใหม่ ระหว่าง ค.ศ. 1836 – 1839 (พ.ศ. 2381 - 2382) อันเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของอังกฤษในพม่าที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางบกกับไทย

คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๑ เล่มที่ ๒
คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๑ เล่มที่ ๒

ชื่อเรื่อง : คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน
ผู้แต่ง :  แสง  มนวิทูร ผู้แปล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๑๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เป็นหนังสือทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ  แต่งเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยต่างกันที่นักปราชญ์ไทย รวบรวมจากคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฎกมาแต่งขึ้นเป็นคัมภีร์หนึ่ง  แต่ลลิตวิสูตร  เป็นพระพุทธวัจนที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาด้วยพระองค์เอง  ถือว่าเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่สำคัญ ช่วยให้ผู้สนใจศึกษาเรื่องพุทธประวัติ หรือพุทธศาสนา ได้ใช้ศึกษาเปรียบเทียบและหาความรู้เพิ่มเติมได้

คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๑ เล่มที่ ๑
คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๑ เล่มที่ ๑

ชื่อเรื่อง : คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน
ผู้แต่ง :  แสง  มนวิทูร ผู้แปล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๑๒
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เป็นหนังสือทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ  แต่งเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยต่างกันที่นักปราชญ์ไทย รวบรวมจากคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฎกมาแต่งขึ้นเป็นคัมภีร์หนึ่ง  แต่ลลิตวิสูตร  เป็นพระพุทธวัจนที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาด้วยพระองค์เอง  ถือว่าเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่สำคัญ ช่วยให้ผู้สนใจศึกษาเรื่องพุทธประวัติ หรือพุทธศาสนา ได้ใช้ศึกษาเปรียบเทียบและหาความรู้เพิ่มเติมได้

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 (สิงหาคม ค.ศ.1830 ถึง มิถุนายน ค.ศ.1840) ตอนที่1
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 (สิงหาคม ค.ศ.1830  ถึง มิถุนายน ค.ศ.1840) ตอนที่1

ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 (สิงหาคม ค.ศ.1830  ถึง มิถุนายน ค.ศ.1840)
แปลโดย ลินจง สุวรรณโภคิน  
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 13 แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 4 ภาค 1 ว่าด้วยบันทึกรายวันของนายแพทย์ ดี.ริชาร์ดสัน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียได้ส่งเข้ามาปฏิบัติภารกิจที่กรุงเทพฯและเชียงใหม่ ระหว่าง ค.ศ. 1836 – 1839 (พ.ศ. 2381 - 2382) อันเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของอังกฤษในพม่าที่เกี่ยวข้องกับการค้าทางบกกับไทย

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล

ชื่อเรื่อง :   หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล  
ผู้แต่ง :      ปิ่น  มาลากุล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร
 
 หนังสือนี้แบ่งออกเป็น ๓ ภาค ภาคแรกเป็นประวัติและหน้าที่การงานของฯพณฯ ตลอดจนความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ภาค๒ ว่าด้วยผลงานของ ฯพณฯ ที่มีต่อกรมศิลปากร ภาคที่๓ ว่าด้วยบรรณนิทัศน์งานพนธ์ของ ฯพณฯ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา
ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา

ชื่อเรื่อง : ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา
ผู้แต่ง :   วัฒนา  บุญจับ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์  :  กรมสิลปากร
    
คู่มือในการดำเนินโครงการค่ายอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในการใช้ภาษา โดยมุ่งให้มีเนื้อหา ครอบคลุมการใช้ภาษา ทั้งระบบ ประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การคัดลายมือ และการคิด ที่เป็นระเบียบตลอดเลยไปถึงผลงานวรรณกรรม มีคุณภาพ

รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านส่วย อำเภอพิมาย จังนครราชสีมา
รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านส่วย อำเภอพิมาย  จังนครราชสีมา

ชื่อเรื่อง :   รายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านส่วย อำเภอพิมาย  จังนครราชสีมา
ผู้แต่ง :     รัชนี  ทศรัตน์ และอำพัน  กิจงาม  
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :   กรมศิลปากร

เป็นผลงานการศึกษาทางโบราณคดีตั้งแต่ระยะแรกของโครงการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองพิมาย  รวมทั้งผลการศึกษาทางด้านอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ กระดูกมนุษย์ กระดูกปลา และเปลือกหอย  ทำให้ทราบถึงความซับซ้อนของกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในอดีตได้ชัดเจน  รวมทั้งจะอำนวยประโยชน์ให้เกิดความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าชองแหล่งโบราณคดีมากยิ่งขี้น

รายงานการขุดแต่ง เมืองดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
รายงานการขุดแต่ง เมืองดงละคร  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก

ชื่อเรื่อง : รายงานการขุดแต่ง เมืองดงละคร  อำเภอเมือง  จังหวัดนครนายก
ผู้แต่ง :   อานัส  บำรุงวงค์และคนอื่นๆ  
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองโบราณคดี    กรมศิลปากร    

ประวัติความการดำเนินงานทางโบราณคดี ที่เมืองดงละครก่อนและการขุดค้นแต่งที่เมืองดงละครในปี ๒๕๓๒-๒๕๓๓  ความเป็นมา  ข้อมูลจากการขุดแต่งโบราณ  รวมถึงผลการดำเนินงานลัแนวความคิดเกี่ยวกับดงละคร

มหาชาติสำนวนอีสาน
มหาชาติสำนวนอีสาน

ชื่อเรื่อง : มหาชาติสำนวนอีสาน
ผู้แต่ง :    หอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

มหาชาติสำนวนอีสานที่คัดเลือกมาจากคัมภีร์ใบลาน จารด้วยอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย เป็นเรื่องของพระเวสสันดรโดยตอนต้นกล่าวถึงเรื่องมาลัยหมื่น  มาลัยแสน และกล่าวถุงอานิสงส์มหาชาติไว้ท้ายเรื่อง

ผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถาน มงคล (วังหน้า)
ผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถาน มงคล (วังหน้า)

ชื่อเรื่อง : ผ้าและการแต่งกายในสมัยโบราณจากจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถาน มงคล (วังหน้า)
ผู้แต่ง :   ณัฎฐภัทร  จันทวิช
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๕
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
กล่าวถึงผ้าและลักษณะการแต่งกายในสมัยโบราณ  ผ้าสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ้าสมัยประวัติศาสตร์ก่อนและหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ คติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้า  ลักษณะของผ้าโบราณ  ที่ศึกษารายละเอียด จากภาพจิตรกรรมฝาผนังบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์พระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)  นอกจากนี้ยังมีเนื้อหา เกี่ยวกับพระพระวัติสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท รวมทั้งตัวอย่างภาพฝาผนัง และภาพพระพุทธประวัติ  พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีการใช้ผ้าจากจิตรกรรมฝาผนัง

ผลการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จ.ชลบุรี
ผลการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จ.ชลบุรี

ชื่อเรื่อง : ผลการวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จ.ชลบุรี
ผู้แต่ง :   ประพิศ  ชูศิริ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

การศึกษาทางมานุษยวิทยาว่าด้วยกายภาพของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากแหล่งโบราณคดีพนมดี  จังหวัดชลบุรี  วิเคาระวิจัยเพื่อให้ได้ทราบถึงลักษณะของคนในสมัยก่อนประวัติสาสตร์  ชีวิตความเป็นอยู่  ขนบธรรมเนียมประเพณีโดยศึกษาจากการวิเคาระห์โครงกระดูกมนุษย์

ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย
ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย

ชื่อเรื่อง : ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติในประเทศไทย
ผู้แต่ง :   นันทนา วรเนติวงค์  และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

ประวัติและผลงานของชาวต่างชาติที่สร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยในเล่มนี้กล่าวถึง  ดร. จอห์น  ครอเฟิด, คาร์ล  ออก์สตัส ฟรัดร์ด ฤตสตาฟฟ์, สังฆราชปาลเลอกัวช, แจ๊สซี แคสเวลล์, เซอร์ จอห์น เบาริง, พรณิเทศชลธี, เจมส์ แมคคาธี , ยอร์ซ ปาดู และเอินสท์  อัลท์มันน์

ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๔
ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๔

ชื่อเรื่อง : ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๔
ผู้แต่ง :   เบญจมาส  แพทองและคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
รวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของวัดมหาธาตุจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวถึงสถานที่ตั้งประวัติการสร้างและการบูรณะปฎิสังขรณ์  การส่งเสริมด้านศาสนา  การศึกษา ประเพณีของวัด การบูรณะเจดีย์วัดมหาธาตุ นอกจากนี้ยังมีเกร็ดประวัติความเป็นมา ของจังหวีดเพชรบูรณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว สถานที่สำคัญ อาหารพื้นเมือง บุคคลสำคัญของจังหวัด และอุทยานประวัติสาสตร์ศรีเทพ

ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๓
ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๓

ชื่อเรื่อง :  ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๓
ผู้แต่ง :   นันทวัน สาวนายนและสถาพร  ดงขุนทด
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เนื้อหาประกอบด้วยประวัติความเป็นอยู่มาของวัดกลางประวัติจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม  แหล่งอารยธรรมและแหล่งท่องเที่ยว  และตลอดจนสาระน่ารู้เกี่ยวกับงานของกรมศิลปการในด้านต่างๆ

ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๖
ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๖

ชื่อเรื่อง :  ปกิณกศิลปวัฒนธรรมเล่ม ๖
ผู้แต่ง :   ราตรี  โตเพ่งพัฒน์,และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๓
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร
    
กล่าวถึงกฐินพระราชทานและวิธีถวายผ้ากฐินพระราชทาน ประวัติวัดศรีมงคล ซิ่งเป็นพระอารามหลวง
ชั้นตรี ชนิดสามัญสิ่งสำคัญภายในวัด และข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัด มุกดาหาร  เช่น ที่ตั้งลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กาปกครอง การคมนาคม ประวัติความเป็นมา ของจังหวัด  กลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดมุกดาหาร และประวัติอำเภอต่างๆ แหล่งโบราณและประวัติศาสตร์  แหล่งท่องเที่ยว แหล่งหัตถกรรม ทอผ้าพื้นเมือง

โบราณคดีของสังคมเกษตรกรรม...จากบ้านเก่าถึงหนองราชวัตร
โบราณคดีของสังคมเกษตรกรรม...จากบ้านเก่าถึงหนองราชวัตร

ชื่อเรื่อง :   “โบราณคดีของสังคมเกษตรกรรม...จากบ้านเก่าถึงหนองราชวัตร”/สุภมาศ  ดวงสุวรรณ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

บ้านเก่า  เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่    เป็นชุมชนโบราณ  นักโบราณคดี  ได้ทำโครงการร่วมสำรวจทางวรรณคดีไทย- เดนมาร์ก  พ.ศ 2503-2505  และสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรีได้ดำเนินการขุดค้น  มาตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2556  ทำให้สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนในวัฒนธรรมบ้านเก่า  กับที่  หนองราชวัตร  จนนำไปสู่การรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

โน้ตเพลงไทย เล่ม ๒ พร้อมคำอธิบายเพลง
โน้ตเพลงไทย เล่ม ๒ พร้อมคำอธิบายเพลง

ชื่อเรื่อง :  โน้ตเพลงไทย เล่ม ๒ พร้อมคำอธิบายเพลง/มนตรี  ตราโมท.
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

คำอธิบายเพลงไทย (เดิม) ลักษณะเพลงไทย  หน้าทับประจำเพลง  โน็ตเพลงไทยของครูเพลง  สืบต่อจากเล่ม ๑ พร้อมคำอธิบายความหมาย ความเป็นมาเนื้อร้อง ทำนองอย่างละเอียด

โน้ตเพลงไทย เล่ม ๓ พร้อมคำอธิบายเพลง
โน้ตเพลงไทย เล่ม ๓  พร้อมคำอธิบายเพลง

ชื่อเรื่อง :  โน้ตเพลงไทย เล่ม ๓  พร้อมคำอธิบายเพลง/มนตรี  ตราโมท.
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๙
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

คำอธิบายเพลงไทย (เดิม) ลักษณะเพลงไทย  หน้าทับประจำเพลง  เพลงไทยที่มีชื่อเป็นภาษา ต่างๆ โน็ตเพลงไทย  พร้อมคำอธิบายความหมาย ความเป็นมา เนื้อร้องทำนองอย่างละเอียด เป็นเล่มสุดท้ายของชุด

ที่ระลึกในพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง
ที่ระลึกในพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง

ชื่อเรื่อง :  ที่ระลึกในพิธีเปิด วังเจ้าเมืองพัทลุง
ผู้แต่ง :   พิบูลย์  จันทโรจวงค์, พลตรี และคนอื่นๆ
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กองโบราณคดี   กรมศิลปากร

เจ้าเมืองพัทลุงเป็นอาคารทรงไทย  เดิมเป็นบ้านพักของพระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย  จันทวงค์)  ต่อมาทายาทได้ยกวังเจ้าเมืองพัทลุงให้เป็นโบราณสถานของชาติ  นอกจากประวัติและแผนที่เมืองพัทลุงแล้วยังมีประวัติสกุล จันทโรจวงค์ด้วย

ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา

ชื่อเรื่อง :  ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
ผู้แต่ง :   หอสมุดแห่งชาติ   
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๐
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินสูลานนท์  องคมนตรี และรัฐบุรุษ  เป็นประธานนพิธีเปิดอาคาร  เนื้อหาประกอบด้วยพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชและพลเอกเปรม ติณลูลานนท์ เกี่ยวกับการดำเนินงานก่อสร้างหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา และเรื่องราวคนดีศรีทักษิณฯพณฯ  พลเอกเปรม  ติณลูลานนท์  องคมนตรีและรัฐบุรุษ

คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย ซออู้
คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย ซออู้

ชื่อเรื่อง : คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย ซออู้
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๕๖
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

หนังสือในโครงการปลูกฝังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เยาวชนผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส      กล่าวถึงเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย  วิวัฒนาการของดนตรีไทย  วงเครื่องสาย   ความเป็นมาของซออู้  การฝึกปฎิบัติในการเล่นซออู้เบื้องต้น บทเพลงที่ใช้ในการฝึกทักษะและศัพท์สังคีต

คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทยซอด้วง
คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทยซอด้วง

ชื่อเรื่อง :  คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทยซอด้วง  
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๗
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

หนังสือในโครงการปลูกฝังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เยาวชนผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส      กล่าวถึงเรื่องความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย วิวัฒนการของดนตรีไทย  วงเครื่องสาย   ความเป็นมาของซอด้วง   การฝึกทักษะและศัพท์สังคีต

คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย จะเข้
คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย จะเข้

ชื่อเรื่อง : คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย จะเข้
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

หนังสือในโครงการปลูกฝังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เยาวชนผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส      กล่าวถึงความรู้เรื่องเครื่องสาย   ประวัติความเป็นมาและส่วนประกอบ  แบบฝึกหัดทักษะการดีดจะเข้    บทเพลงที่ใช้ในการฝึกทักษะและศัพท์สังคีต

คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย ขลุ่ยและโทน – รำมะนา
คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย ขลุ่ยและโทน – รำมะนา

ชื่อเรื่อง :  คู่มือการเรียนและฝึกปฎิบัติดนตรีไทย ขลุ่ยและโทน – รำมะนา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๔๘
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

หนังสือในโครงการปลูกฝังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เยาวชนผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส      กล่าวถึงเรื่องความรู้   วงเครื่องสาย    ประวัติความเป็นมาและส่วนประกอบ  แบบฝึกหัดทักษะการเป่าขลุ่ย  การตีโทน-รำมะนา     บทเพลงที่ใช้ในการฝึกหัดและศัพท์สังคีต

คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๒
คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๒

ชื่อเรื่อง : คัมภีร์ ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน ตอนที่ ๒
ผู้แต่ง :  แสง  มนวิทูร ผู้แปล
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๑๔
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :  กรมศิลปากร

เป็นหนังสือทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ  แต่งเรื่องทำนองหนังสือปฐมสมโพธิ์ของไทยต่างกันที่นักปราชญ์ไทย รวบรวมจากคัมภีร์ต่างๆ ในพระไตรปิฎกมาแต่งขึ้นเป็นคัมภีร์หนึ่ง  แต่ลลิตวิสูตร  เป็นพระพุทธวัจนที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาด้วยพระองค์เอง  ถือว่าเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่สำคัญ ช่วยให้ผู้สนใจศึกษาเรื่องพุทธประวัติ หรือพุทธศาสนา ได้ใช้ศึกษาเปรียบเทียบและหาความรู้เพิ่มเติมได้

การอนุรักษ์ จิตกรรมฝาผนัง พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม
การอนุรักษ์  จิตกรรมฝาผนัง  พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม

ชื่อเรื่อง :   “ การอนุรักษ์  จิตกรรมฝาผนัง  พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม/วรรณิภา ณ สงขลา
ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๓๑
สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพ
สำนักพิมพ์  :    กรมศิลปากร

จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส การจัดนิทรรศการ และเปิดป้ายโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารหลวง วัดสุทันศเทพวราราม  ซึ่งเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าและความสำคัญสูงสุด ทางด้านศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม และโบราณคดี  และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆในอดีดอย่างละเอียด ทั้งทางรูปธรรมและนามธรรม

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 11 (มีนาคม ค.ศ.1827 ถึง มิถุนายน ค.ศ.1833)
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 11 (มีนาคม ค.ศ.1827 ถึง มิถุนายน ค.ศ.1833)

ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 11 (มีนาคม ค.ศ.1827 ถึง มิถุนายน ค.ศ.1833)
แปลโดย ลินจง สุวรรณโภคิน  
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 11 แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 3 ภาค 1 ว่าด้วยความสัมพันธ์ไทย – อังกฤษ ในช่วง ค.ศ. 1826 – 1840 (พ.ศ. 2369 - 2383) ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากที่ไทยและอังกฤษได้ตกลงทำสนธิสัญญาร่วมกันแล้ว เน้นเรื่องราวของบรรดารัฐมลายูเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐเกดะห์หรือไทรบุรี

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 10 (มกราคม ค.ศ.1826 ถึง กุมภาพันธ์ ค.ศ.1831)
เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 10 (มกราคม ค.ศ.1826 ถึง กุมภาพันธ์ ค.ศ.1831)

ชื่อเรื่อง : เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 10 (มกราคม ค.ศ.1826 ถึง กุมภาพันธ์ ค.ศ.1831)
แปลโดย ดง เรียมศิริ  
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์   กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2551
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 10 แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เล่ม 2 ภาค 6 ว่าด้วยความสัมพันธ์ไทย – อังกฤษ ในช่วง ค.ศ. 1826 – 1840 (พ.ศ. 2369 - 2383) ซึ่งเป็นเหตุการณ์หลังจากที่ไทยและอังกฤษได้ตกลงทำสนธิสัญญาร่วมกันแล้ว เน้นเรื่องราวของบรรดารัฐมลายูเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐเกดะห์หรือไทรบุรี

แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง

ชื่อเรื่อง : แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2545
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

คู่มือการทัศนศึกษาของโครงการท่องเที่ยวทัศนศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน โดยคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ศิลปวัฒนธรรม ศาสนสถาน พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน ส่วนราชการ ศูนย์วิทยบริการ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยให้ข้อมูลเนื้อหา ภูมิหลังความเป็นมาโดยสังเขปของแต่ละที่ รวมทั้งข้อมูลในการติดต่อสอบถามเพื่อการเข้าชม

เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : วัง เวียง วัด
เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : วัง เวียง วัด

ชื่อเรื่อง : เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : วัง เวียง วัด
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม เป็นหนังสือชุด 4 เล่ม ซึ่ง เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : วัง เวียง วัด จัดเป็นเล่มแรกของหนังสือชุดนี้ เนื้อหาประกอบด้วยเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมที่น่าสนใจ มีการแนะนำการเดินทางด้วยแผนที่ซึ่งแสดงข้อมูลที่จำเป็นเพื่อวางแผนการเดินทาง การตัดสินใจเลือกสถานที่ รวมทั้งข้อมูลในการติดต่อสอบถามเพื่อการเข้าชม

รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ ๕
รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ ๕

ชื่อเรื่อง : รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ ๕
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2554
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

รวมผลงานแปล 9 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง สยามในทรรศนะของกงสุลอังกฤษ หนังสือ เรื่อง เยือนเมืองเชียงตุงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2431 เรื่อง ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับประเทศสยามและพระมหากษัตริย์สยาม จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสวีเดน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2440 เรื่อง สยามและความสัมพันธ์กับมาเก๊า เรื่อง การค้าภายในประเทศสยาม เรื่อง การศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อง การศาสนาในประเทศไทย เรื่อง งานพระเมรุมาศในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และ เรื่อง การโกนจุกของเด็กชาวสยาม

เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : พระพุทธบาทกับบรรยากาศน้ำ
เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : พระพุทธบาทกับบรรยากาศน้ำ

ชื่อเรื่อง : เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : พระพุทธบาทกับบรรยากาศน้ำ
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม เป็นหนังสือชุด 4 เล่ม ซึ่ง เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : พระพุทธบาทกับบรรยากาศน้ำ เป็นเล่มที่ 2 ให้ข้อมูลการท่องเที่ยว 5 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 รัตนโกสินทร์ ถิ่นเพชรบุรี เส้นทางที่ 2 แสวงบุญ บูชาพระพุทธบาท เส้นทางที่ 3 เส้นทางโบราณคดีสีคราม จากผืนดินสู่แผ่นน้ำ เส้นทางที่ 4 วัฒนธรรมสัญจร ย้อนรอยทวารวดีลุ่มแม่น้ำแม่กลอง – ท่าจีน และ เส้นทางที่ 5 ล่องเจ้าพระยานที ชมวิถีรามัญชน ผ่านเส้นทางโบราณสถานเมืองนนท์ และปทุมธานี และแต่ละสถานที่ จะมีข้อมูล ในการติดต่อสอบถามเพื่อการเข้าชม รวมทั้งภูมิหลังความเป็นมาโดยสังเขป

พระปรมาภิไธยที่พบในประเทศไทย
พระปรมาภิไธยที่พบในประเทศไทย

ชื่อเรื่อง : พระปรมาภิไธยที่พบในประเทศไทย
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2554
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ พระปรมาภิไธยที่พบในประเทศไทย เล่มนี้ กล่าวถึง พระปรมาภิไธยและอักษรพระนามในแง่ของจารึกของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ยังปรากฏหลักฐานอยู่หลายแห่งตามโบราณสถานและสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยรัตนโกสินทร์เสด็จพระราชดำเนินไปตรวจตราหัวเมืองตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ  แสดงให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร พร้อมกับทอดพระเนตรโบราณสถาน

ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์
ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์

ชื่อเรื่อง : ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2554
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

ประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เป็นการนำบทความที่ค้นคว้าเรียบเรียงโดยอาศัยข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เป็นหลัก และบางบทความเป็นการแสดงความคิดเห็นอันเกิดจาก

เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ตามรอยขอมถึงริมโขง
เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ตามรอยขอมถึงริมโขง

ชื่อเรื่อง : เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ตามรอยขอมถึงริมโขง
ผู้แต่ง :  กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร

หนังสือ เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม เป็นหนังสือชุด 4 เล่ม ซึ่ง เที่ยวท่องส่องวัฒนธรรม : ตามรอยขอมถึงริมโขง เป็นเล่มที่ 2 ให้ข้อมูลการท่องเที่ยว 5 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 เส้นทางอารยธรรมขอมโบราณเบื้องบูรพา เส้นทางที่ 2 อารยธรรมลุ่มน้ำมูล เส้นทางที่ 3 เส้นทางท่องเที่ยว วัฒนธรรมสำริด ชิดขอบโขง เส้นทางที่ 4 ตามรอยสิมอีสานไหว้พระธาตุสำคัญ  และ เส้นทางที่ 5 ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมชาติพันธ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแต่ละสถานที่ จะมีข้อมูล ในการติดต่อสอบถามเพื่อการเข้าชม รวมทั้งภูมิหลังความเป็นมาโดยสังเขป

งานมัณฑนศิลป์สำคัญในประวัติศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์
งานมัณฑนศิลป์สำคัญในประวัติศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์

ชื่อเรื่อง : งานมัณฑนศิลป์สำคัญในประวัติศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์
ผู้แต่ง :  สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2557
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : สำนักสถาปัตยกรรม

งานมัณฑนศิลป์สำคัญในประวัติศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นหนังสือที่รวบรวมงานมัณฑนศิลป์สำคัญตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากการศึกษา ค้นคว้า นำองค์ความรู้ และลักษณะพิเศษของงานมัณฑนศิลป์สำคัญมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมัณฑนศิลป์ เป็นการบูรณาการภารกิจของหน่วยงานในกรมศิลปกรเพื่อเพิ่มมูลค่าของมรดกทางศิลปวัฒนธรรม

การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนา กำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ
การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนา กำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ

ชื่อเรื่อง :การวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือพุทธศาสนากำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ

ผู้แต่ง :  สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ปีที่พิมพ์ : 2557

สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ

สำนักหอสมุดแห่งชาติได้จัดทำโครงการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้เรื่อง การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือพุทธศาสนากำหนดโดยหอสมุดแห่งชาติ เพื่อดำเนินการขยายและสร้างตัวเลขในหมวด 294.3 ขึ้นใหม่ เพื่อให้บรรณารักษ์ห้องสมุดที่ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือเกี่ยวกับหมวดพุทธศาสนาใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน