ปรับขนาดอักษร
  • เกี่ยวกับเรา

ประวัติและบทบาทหน้าที่ของสำนักช่างสิบหมู่

 

สำนักช่างสิบหมู่
อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๘
 
๑. ผดุงรักษา ฟื้นฟู และสืบทอดศิลปวิทยาการด้านช่างฝีมือและเป็นศูนย์ข้อมูลด้านศิลปกรรมของชาติ
๒. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนางานด้านช่างศิลปกรรมของชาติ
๓. ดำเนินการด้านช่างและงานศิลปะในการบูรณะ ซ่อมแซม เพื่อการอนุรักษ์งานศิลปกรรมที่มีคุณค่าของชาติ
๔. ดำเนินการสร้างสรรค์งานช่างสิบหมู่ งานจิตรกรรม และงานประติมากรรม รวมทั้งงานศิลปประยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
๕. ดำเนินการเกี่ยวกับการสารวจ ออกแบบ เขียนแบบ งานด้านศิลปกรรม และประมาณราคา ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ วัด สถาบันและองค์กรต่าง ๆ
๖. ควบคุม ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมบูรณะ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสาคัญ
๗. ควบคุม ดูแล การสร้างพระพุทธรูปที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
๘. เผยแพร่ สนับสนุน ส่งเสริม เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการทางการศึกษางานด้านศิลปกรรมแก่สถานศึกษา ชุมชน และสังคม
๙. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
................................................................................................
 
หน้าที่ความรับผิดชอบ
สานักช่างสิบหมู่ 
 
ฝ่ายบริหารทั่วไป
๑. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ และเลขานุการการประชุมของหน่วยงาน
๒. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงินและบัญชีเบื้องต้นของหน่วยงาน
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ งานอาคารสถานที่ และงานยานพาหนะของหน่วยงาน
๔. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบุคคลในเบื้องต้นของหน่วยงาน
๕. ดำเนินการเกี่ยวกับงานแผนงาน/โครงการและงานงบประมาณของหน่วยงาน
๖. ดำเนินการในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติและการจำลองพระพุทธรูปสาคัญ รวมทั้งจัดเก็บทะเบียนอนุสาวรีย์แห่งชาติและพระพุทธรูปสาคัญตามบัญชีแนบท้ายระเบียบว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสาคัญ
๗. จัดทำทะเบียน สถิติรูปแบบรายการ แท่นฐานอนุสาวรีย์ แบบตราสัญลักษณ์หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ และแบบงานศิลปกรรม
๘. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มประณีตศิลป์
๑. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวกับงานช่างประณีตศิลป์ (งานในลักษณะงานช่างสิบหมู่ประเภทต่าง ๆ เช่น ช่างเขียน ช่างลายรดน้ำ ช่างแกะสลัก ช่างไม้ประณีต ช่างโลหะประณีต ช่างศิราภรณ์
ช่างปิดทอง ช่างประดับกระจก ช่างมุก ช่างสนะ และช่างปั้นปูน ฯลฯ)
๒. ออกแบบ เขียนแบบ และสร้างสรรค์งานประณีตศิลป์
๓. ซ่อมและสร้างเชิงอนุรักษ์งานศิลปกรรม และงานประณีตศิลป์
๔. พัฒนาเทคนิคฝีมือและศักยภาพด้านช่างประณีตศิลป์
๕. จัดทำเอกสารทางวิชาการงานช่างประณีตศิลป์
๖. ให้บริการความรู้ข้อมูลทางวิชาการด้านช่างประณีตศิลป์
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มประติมากรรม
๑. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูล งานประติมากรรมร่วมสมัย และประติมากรรมไทย
๒. สร้างสรรค์งานประติมากรรมร่วมสมัยและประติมากรรมไทย
๓. สำรวจสถานที่ ออกแบบประติมากรรมร่วมสมัย และประติมากรรมไทย
๔. ควบคุมการติดตั้งอนุสาวรีย์
๕. พัฒนาเทคนิคฝีมืองานด้านประติมากรรมและเทคโนโลยีการหล่อ
๖. ซ่อมบำรุงรักษาพระพุทธรูปปละอนุสาวรีย์ของชาติ
๗. จัดทำเอกสารทางวิชาการด้านประติมากรรม
๘. ให้บริการความรู้ข้อมูลทางวิชาการด้านประติมากรรม
๙. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มจิตรกรรม
๑. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูล งานด้านจิตรกรรมไทยและจิตรกรรมร่วมสมัย
๒. สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ คัดลอกภาพ จิตรกรรมไทยและจิตรกรรมร่วมสมัย
๓. สร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทย และจิตรกรรมร่วมสมัย
๔. พัฒนาเทคนิคฝีมืองานด้านจิตรกรรม
๕. จัดทำเอกสารทางวิชาการด้านจิตรกรรม
๖. ให้บริการความรู้ข้อมูลทางวิชาการด้านจิตรกรรม
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือทื่ได้รับมอบหมาย
 
กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา
๑. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ ข้อมูล งานด้านศิลปประยุกต์ และเครื่องเคลือบดินเผา
๒. สารวจ ออกแบบ เขียนแบบงานด้านศิลปประยุกต์ และเครื่องเคลือบดินเผา
๓. สร้างสรรค์งานด้านศิลปประยุกต์ และเครื่องเคลือบดินเผา
๔. พัฒนาเทคนิคฝีมืองานด้านศิลปประยุกต์ และเครื่องเคลือบดินเผา
๕. จัดทำเอกสารทางวิชาการด้านศิลปประยุกต์ และเครื่องเคลือบดินเผา
๖. ให้บริการความรู้ข้อมูลทางวิชาการงานด้านศิลปประยุกต์ และเครื่องเคลือบดินเผา
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย
๑. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรม
๒. จัดทำเอกสาร ตารา คู่มือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสารสนเทศด้านศิลปกรรม
๓. จัดกิจกรรม ประชุม สัมมนา อภิปรายและการฝึกอบรมทางวิชาการ เกี่ยวกับงานศิลปกรรม แก่บุคลากรภายในหน่วยงานและบุคคลภายนอก
๔. จัดทำทำเนียบสกุลช่างฝีมือสาขาต่าง ๆ
๕. เผยแพร่และบริการความรู้ด้านศิลปกรรม
๖. ดำเนินการด้านสารสนเทศทางศิลปกรรมของสานักช่างสิบหมู่
๗. สร้างเครือข่ายด้านศิลปกรรม
๘. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
*********************************************